question
stringlengths
6
751
answer
stringlengths
3
12.6k
relevant_laws
listlengths
1
1
reference_answer
stringlengths
2
1.9k
reference_laws
listlengths
0
51
ถ้ามีคนประกอบกิจการในลักษณะเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยไม่ได้รับใบอนุญาตต้องระวางโทษอย่างไร
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546", "section_content": "พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 มาตรา 132 ผู้ใดประกอบกิจการในลักษณะเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ได้จดทะเบียนตามมาตรา 54 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน", "section_num": "132" } ]
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546", "section_content": "พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 มาตรา 54 ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัดและได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.\nศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เปิดให้เฉพาะผู้ลงทุนสถาบันซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดและจดทะเบียนกับสำนักงาน ก.ล.ต.\nการขออนุญาต การขอจดทะเบียน การออกใบอนุญาต และการรับจดทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด", "section_num": "54" } ]
ถ้าผู้ิยู่ในปกครองได้ยินยอมในการกระทำของผู้ปกครองจะทำให้ผู้ปกครองหลุดพ้นจากความรับผิดหรือเปล่า
การที่ผู้อยู่ในปกครองได้ยินยอมด้วยนั้นไม่ได้คุ้มครองผู้ปกครองให้พ้นจากความรับผิด
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/5\nถ้าผู้อยู่ในปกครองรู้จักผิดชอบและมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์เมื่อผู้ปกครองจะทำกิจการใดที่สำคัญ ให้ปรึกษาหารือผู้อยู่ในปกครองก่อนเท่าที่จะทำได้\nการที่ผู้อยู่ในปกครองได้ยินยอมด้วยนั้นหาคุ้มผู้ปกครองให้พ้นจากความรับผิดไม่", "section_num": "1598/5" } ]
การที่ผู้อยู่ในปกครองได้ยินยอมด้วยนั้นไม่ได้คุ้มครองผู้ปกครองให้พ้นจากความรับผิด
[]
ถ้าผู้รับประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัยต้องทำอย่างไร
ผู้เอาประกันภัยจะเรียกให้หาประกันอันสมควรให้แก่ตนก็ได้ หรือจะบอกเลิกสัญญาก็ได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 876\nถ้าผู้รับประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัยจะเรียกให้หาประกันอันสมควรให้แก่ตนก็ได้ หรือจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้\nถ้าผู้เอาประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ท่านให้ใช้วิธีเดียวกันนี้บังคับตามควรแก่เรื่อง แต่กระนั้นก็ดี ถ้าเบี้ยประกันภัยได้ส่งแล้วเต็มจำนวนเพื่ออายุประกันภัยเป็นระยะเวลามากน้อยเท่าใดไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยบอกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลานั้นสุดลง", "section_num": "876" } ]
ผู้เอาประกันภัยจะเรียกให้หาประกันอันสมควรให้แก่ตนก็ได้ หรือจะบอกเลิกสัญญาก็ได้
[]
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนให้ความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่งเป็นการลงหุ้นแล้วทรัพย์สินเกิดชำรุดบกพร่องต้องบังคับใช้ตามกฎหมายใด
ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยซื้อขาย
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1030\nถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่งเป็นการลงหุ้นด้วยไซร้ ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซมก็ดี ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องก็ดี ความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิก็ดี ข้อยกเว้นความรับผิดก็ดี ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยซื้อขาย", "section_num": "1030" } ]
ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยซื้อขาย
[]
ถ้ามีการรับชำระหนี้ตามสัญญา นายหน้ามีอำนาจจะรับชำระหนี้ไว้หรือไม่
รับชำระหนี้อันจะต้องชำระตามสัญญานั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่านายหน้าย่อมไม่มีอำนาจที่จะรับแทนผู้เป็นคู่สัญญา
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 849\nการรับเงินหรือรับชำระหนี้อันจะพึงชำระตามสัญญานั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่านายหน้าย่อมไม่มีอำนาจที่จะรับแทนผู้เป็นคู่สัญญา", "section_num": "849" } ]
นายหน้าย่อมไม่มีอำนาจที่จะรับแทนผู้เป็นคู่สัญญา
[]
ถ้าผู้ให้หลักประกันจะนำทรัพย์สินที่ตนมีสิทธิจะได้มาในอนาคตตามสัญญามาใช้เป็นหลักประกันได้หรือไม่
ผู้ให้หลักประกันจะนำทรัพย์สินที่ตนมีสิทธิอยู่ที่จะได้มาในอนาคตตามสัญญามาใช้เป็นหลักประกันก็ได้
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558", "section_content": "พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 มาตรา 9 ผู้ให้หลักประกันจะนำทรัพย์สินที่ตนมีสิทธิอยู่ในปัจจุบันหรือที่จะได้มาในอนาคตตามสัญญาหรือนิติสัมพันธ์ใด ๆ มาใช้เป็นหลักประกันก็ได้ แต่สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสิทธิที่เป็นหลักประกันตามสัญญาจะมีขึ้นเมื่อผู้ให้หลักประกันได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้น", "section_num": "9" } ]
ผู้ให้หลักประกันจะนำทรัพย์สินที่ตนมีสิทธิอยู่ที่จะได้มาในอนาคตตามสัญญามาใช้เป็นหลักประกันก็ได้
[]
การเช่าถือสวนมีระยะเวลากี่ปี
การเช่าถือสวนมีระยะเวลาหนึ่งปี
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 565\nการเช่าถือสวนนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเช่ากันปีหนึ่ง\nการเช่านาก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเช่ากันตลอดฤดูทำนาปีหนึ่ง", "section_num": "565" } ]
การเช่าถือสวนมีระยะเวลาหนึ่งปี
[]
ผู้เยาว์สามารถเป็นบุตรบุญธรรมของคนหลายคนในเวลาเดียวกันได้หรือไม่
สามารถเป็นบุตรบุญธรรมบุคคลอื่นได้มากกว่าหนึ่งคนแต่ต้องเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมถ้าไม่เข้าเงื่อนไขทั้งหมดนี้เป็นไม่ได้ คำอธิบายขยายความเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/26 ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/26\nผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม\nถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยจะต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมอยู่แล้วและมิให้นำมาตรา 1598/21 มาใช้บังคับ", "section_num": "1598/26" } ]
สามารถเป็นบุตรบุญธรรมบุคคลอื่นได้มากกว่าหนึ่งคนแต่ต้องเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมถ้าไม่เข้าเงื่อนไขทั้งหมดนี้เป็นไม่ได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/21\nการรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองต้องได้รับความยินยอมของมารดาหรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง\nถ้าไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หรือมีแต่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ หรือไม่ให้ความยินยอมและการไม่ให้ความยินยอมนั้นปราศจากเหตุผลอันสมควรและเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพ ความเจริญหรือสวัสดิภาพของผู้เยาว์ มารดาหรือบิดาหรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมตามวรรคหนึ่งก็ได้", "section_num": "1598/21" } ]
การลงรายการในบัญชีผู้ทำบัญชีต้องทำอย่างไรบ้าง
(1) ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้ (2) เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ ตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543", "section_content": "พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 21 ในการลงรายการในบัญชี ผู้ทำบัญชีต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้\n(1) ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้\n(2) เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ ตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน", "section_num": "21" } ]
(1) ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้ (2) เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ ตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน
[]
ลูกหนี้จะถือเอาประโยชน์ของเรื่องเวลาเริ่มต้นหรือเวลาสิ้นสุดไม่ได้ในกรณีใดบ้าง
(1) ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (2) ลูกหนี้ไม่ให้ประกันในเมื่อจำต้องให้ (3) ลูกหนี้ได้ทำลาย หรือทำให้ลดน้อยถอยลงซึ่งประกันอันได้ให้ไว้ (4) ลูกหนี้นำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาให้เป็นประกันโดยเจ้าของทรัพย์สินนั้นไม่ได้ยินยอมด้วย
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193\nในกรณีดังต่อไปนี้ ฝ่ายลูกหนี้จะถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุดมิได้\n(1) ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย\n(2) ลูกหนี้ไม่ให้ประกันในเมื่อจำต้องให้\n(3) ลูกหนี้ได้ทำลาย หรือทำให้ลดน้อยถอยลงซึ่งประกันอันได้ให้ไว้\n(4) ลูกหนี้นำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาให้เป็นประกันโดยเจ้าของทรัพย์สินนั้นมิได้ยินยอมด้วย", "section_num": "193" } ]
(1) ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (2) ลูกหนี้ไม่ให้ประกันในเมื่อจำต้องให้ (3) ลูกหนี้ได้ทำลาย หรือทำให้ลดน้อยถอยลงซึ่งประกันอันได้ให้ไว้ (4) ลูกหนี้นำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาให้เป็นประกันโดยเจ้าของทรัพย์สินนั้นไม่ได้ยินยอมด้วย
[]
ตราสารซึ่งเจ้าพนักงานรัฐบาลต้องลงนามห้ามให้เจ้าพนักงานทำอะไรบ้าง
ห้ามไม่ให้เจ้าพนักงานลงนามรับรู้ ยอมให้ทำหรือบันทึกไว้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว
[ { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 119 ตราสารซึ่งเจ้าพนักงานรัฐบาลหรือเทศบาลต้องลงนามหรือรับรู้ก็ดี ตราสารซึ่งต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานรัฐบาลหรือเทศบาลก็ดี ตราสารซึ่งต้องให้เจ้าพนักงานรัฐบาลหรือเทศบาลลงบันทึกก็ดี ห้ามมิให้เจ้าพนักงานลงนามรับรู้ ยอมให้ทำหรือบันทึกไว้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114", "section_num": "119" } ]
ห้ามไม่ให้เจ้าพนักงานลงนามรับรู้ ยอมให้ทำหรือบันทึกไว้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว
[ { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 114 โดยการตรวจสอบตามความในมาตรา 123 ก็ดี โดยการกล่าวหาแจ้งความของบุคคลใด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าพนักงานรัฐบาลหรือมิใช่ก็ดีถ้าปรากฏว่า\n(1)มิได้มีการออกใบรับในกรณีที่ต้องออกใบรับตามความในมาตรา 105 หรือมาตรา 106ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกเก็บเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรอีกเป็นจำนวน6 เท่าของเงินอากร หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า\n(2)ตราสารมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ โดย\n(ก) มิได้ปิดแสตมป์เลยให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกเก็บเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรอีกเป็นจำนวน6 เท่าของเงินอากรที่ต้องเสีย หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า\n(ข) ปิดแสตมป์น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกเก็บเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอีกเป็นจำนวน 6เท่าของเงินอากรที่ขาด หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า\n(ค) ในกรณีอื่นให้เจ้าพนักงานมีอำนาจเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรเป็นจำนวน 1เท่าของเงินอากรที่ต้องเสีย หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า\nวรรคสอง (ยกเลิก)", "section_num": "114" }, { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 113 ตราสารใดมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือผู้ทรงตราสารหรือผู้ถือเอาประโยชน์ ชอบที่จะยื่นตราสารนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอเสียอากรได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับตราสารแล้ว ให้อนุมัติให้เสียอากรภายในบังคับแห่งบทบัญญัติต่อไปนี้\n1. ถ้าตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์นั้น เป็นตราสารที่กระทำขึ้นในประเทศไทย เมื่อผู้ขอเสียอากรได้ยื่นตราสารนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเสียอากรภายใน 15 วันนับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ ก็ให้อนุมัติให้เสียเพียงอากรตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้\n2. ถ้ากรณีเป็นอย่างอื่น ก็ให้อนุมัติให้เสียอากร และให้เรียกเก็บเงินเพิ่มอากร ดังต่อไปนี้อีกด้วย\n(ก) ถ้าปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ตราสารมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นเวลาไม่พ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มอากรเป็น 2 เท่าจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 4 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า\n(ข) ถ้าปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ตราสารมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นเวลาพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มอากรเป็น 5 เท่าจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 10 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า", "section_num": "113" } ]
ข้อสัญญาว่าจะไม่รับผิดของผู้ขายไม่ครอบคลุมความรับผิดไปถึงกรณีใด
ไม่อาจคุ้มความรับผิดของผู้ขายในผลของการอันผู้ขายได้กระทำไปเอง หรือผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่แล้วและปกปิด
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 485\nข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มความรับผิดของผู้ขายในผลของการอันผู้ขายได้กระทำไปเอง หรือผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่แล้วและปกปิดเสีย", "section_num": "485" } ]
ไม่อาจคุ้มความรับผิดของผู้ขายในผลของการอันผู้ขายได้กระทำไปเอง หรือผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่แล้วและปกปิด
[]
ภาระจำยอมซึ่งเจ้าของรวมที่ดินที่ได้รับผลประโยชน์จากที่ดินที่เป็นภาระจำยอมคนหนึ่งได้มา ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร
ถือว่าเจ้าของรวมได้มาหรือใช้อยู่ด้วยกันทุกคน
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1396\nภาระจำยอมซึ่งเจ้าของรวมแห่งสามยทรัพย์คนหนึ่งได้มา หรือใช้อยู่นั้น ท่านให้ถือว่าเจ้าของรวมได้มาหรือใช้อยู่ด้วยกันทุกคน", "section_num": "1396" } ]
ถือว่าเจ้าของรวมได้มาหรือใช้อยู่ด้วยกันทุกคน
[]
ในการขายทอดตลาดผู้ทอดตลาดที่ไม่ใช่ส่วนราชการซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องออกใบอะไร
ให้ผู้ทอดตลาดที่ไม่ใช่ส่วนราชการออกใบกำกับภาษีหรือใบรับตามมาตรา 105 แล้วแต่กรณี ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน
[ { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 86/3 ในการขายทอดตลาดตามมาตรา 83/5 ให้ผู้ทอดตลาดที่มิใช่ส่วนราชการซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษีหรือใบรับตามมาตรา 105 แล้วแต่กรณี ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน", "section_num": "86/3" } ]
ให้ผู้ทอดตลาดที่ไม่ใช่ส่วนราชการออกใบกำกับภาษีหรือใบรับตามมาตรา 105 แล้วแต่กรณี ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน
[ { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 105 ในกรณีต่อไปนี้ ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้รับเงิน หรือผู้รับชำระราคาต้องออกใบรับให้แก่ผู้ซื้อ ผู้เช่าซื้อ ผู้จ่ายเงินหรือผู้ชำระราคา ในทันทีทุกคราวที่รับเงินหรือรับชำระราคาไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ก็ตาม\n(1) การรับเงินหรือรับชำระราคาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4 และการรับเงินหรือรับชำระราคาจากการกระทำกิจการของผู้ประกอบกิจการที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 ซึ่งรวมเงินหรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้งเกินจำนวนเงินตามที่อธิบดีกำหนด แต่อธิบดีจะกำหนดเกินหนึ่งพันบาทไม่ได้\n(2) การรับเงินหรือรับชำระราคาในกรณีอื่นซึ่งรวมเงิน หรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้งเกินจำนวนเงินตามที่อธิบดีกำหนด แต่อธิบดีจะกำหนดเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้\nถ้าการรับเงินหรือรับชำระราคาในกรณีเดียวกันมีจำนวนเกินกว่าที่อธิบดีกำหนดตาม (1) หรือ (2) แต่มีเงื่อนไขให้รับเงินหรือรับชำระราคาในภายหลังเป็นหลายงวด ให้ออกใบรับทุกคราวในทันทีที่รับเงินหรือรับชำระราคานั้น\nผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้ออกใบกำกับภาษีที่มีข้อความแสดงว่าได้รับเงินหรือรับชำระราคาแล้ว จะถือเอาใบกำกับภาษีนั้นเป็นใบรับที่ต้องออกตามมาตรานี้ก็ได้\nมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การจำหน่ายแสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาลที่ยังมิได้ใช้", "section_num": "105" }, { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 83/5 ในการขายทอดตลาด ให้ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องเสีย\nให้ผู้มีหน้าที่นำส่งตามวรรคหนึ่ง นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยยื่นรายการตามแบบนำส่งภาษีที่อธิบดีกำหนด ณ สถานที่และกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 52 และให้นำมาตรา 54 และมาตรา 55 มาใช้บังคับโดยอนุโลม\nให้ผู้ทอดตลาดที่เป็นส่วนราชการ ออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ซื้อในการขายทอดตลาด และจัดทำสำเนาให้กับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เพื่อเป็นหลักฐาน\nในกรณีที่ส่วนราชการขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด ให้นำความในมาตรานี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม\nใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ตามวรรคสาม และวรรคสี่ ให้ถือเป็นใบกำกับภาษี เว้นแต่ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 82/16 ไม่ให้ถือเป็นใบกำกับภาษี", "section_num": "83/5" } ]
ถ้าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการจะบอกเลิกสัญญาแต่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาจ้างว่าจะจ้างนานเท่าไร จะต้องบอกเลิกสัญญาอย่างไร
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็อาจทำได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสามเดือน
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582\nถ้าคู่สัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร ท่านว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็อาจทำได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสามเดือน\nอนึ่ง ในเมื่อบอกกล่าวดังว่านี้ นายจ้างจะจ่ายสินจ้างแก่ลูกจ้างเสียให้ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวนั้นทีเดียว แล้วปล่อยลูกจ้างจากงานเสียในทันทีก็อาจทำได้", "section_num": "582" } ]
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็อาจทำได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสามเดือน
[]
ถ้ามีมติของที่ประชุมใหญ่ให้อำนาจผู้ชำระบัญชีให้ชำระบัญชีแยกกันได้ต้องนำความไปจดทะเบียนภายในกี่วัน
ต้องนำความจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันลงมติ
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1262\nถ้ามีมติของที่ประชุมใหญ่หรือคำบังคับของศาลให้อำนาจผู้ชำระบัญชีให้ทำการแยกกันได้ ท่านว่าต้องนำความจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันลงมติหรือออกคำบังคับนั้น", "section_num": "1262" } ]
ต้องนำความจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันลงมติ
[]
ถ้าผู้ประกอบการอยู่นอกประเทศไทยใครจะเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมกับผู้ประกอบการและผู้นำเข้า
ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการ รวมถึง ลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทนซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในประเทศไทยเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
[ { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 82/2 ในกรณีผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการ รวมตลอดถึง ลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทนซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมกับบุคคลตามมาตรา 82", "section_num": "82/2" } ]
ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการ รวมถึง ลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทนซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในประเทศไทยเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
[ { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 82 ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามบทบัญญัติในหมวดนี้\n(1) ผู้ประกอบการ\n(2) ผู้นำเข้า", "section_num": "82" } ]
ถ้าตกลงกันในสัญญาให้อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญาด้วยเงื่อนไขถ้าได้ศึกษาต่อต่างประเทศสามารถบอกเลิกสัญญาเช่ารถแม้จะไม่ครบกำหนดได้หรือไม่
ได้ แต่เมื่อได้แสดงเจตนาในการเลิกสัญญานั้นแล้ว จะยกเลิกการบอกเลิกสัญญากันไม่ได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386\nถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง\nแสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่", "section_num": "386" } ]
ได้ แต่เมื่อได้แสดงเจตนาในการเลิกสัญญานั้นแล้ว จะยกเลิกการบอกเลิกสัญญากันไม่ได้
[]
อายุความในการฟ้องลูกหนี้ได้สิ้นสุด ผู้ค้ำประกันจะยกข้อต่อสู้กับเจ้าหนี้ได้หรือไม่
ได้ นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ซึ่งเป็นข้อต่อสู้ของลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ เช่น ผู้ค้ำประกันอาจยกอายุความของลูกหนี้ชั้นต้นที่ขาดอายุความแล้วขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694\nนอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย", "section_num": "694" } ]
ได้ นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ซึ่งเป็นข้อต่อสู้ของลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ เช่น ผู้ค้ำประกันอาจยกอายุความของลูกหนี้ชั้นต้นที่ขาดอายุความแล้วขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้
[]
ถูกขมขู่ให้ต้องทำพินัยกรรม จะสามารถเพิกถอนพินัยกรรมนั้นได้หรือไม่
ได้ เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพินัยกรรมนั้นจะร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนพินัยกรรมที่ได้ทำขึ้นเพราะเหตุข่มขู่ก็ได้ แต่หากหลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมถูกข่มขู่มให้ทำพินัยกรรมนั้น ได้พ้นจากการข่มขู่แล้วและมีชีวิตอยู่ต่อเกิน 1 ปี จะร้องขอเพิกพินัยกรรมนั้นไม่ได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1708\nเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนพินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นเพราะเหตุข่มขู่ก็ได้ แต่หากผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ต่อมาเกินหนึ่งปีนับแต่ผู้ทำพินัยกรรมพ้นจากการข่มขู่แล้ว จะมีการร้องขอเช่นว่านั้นไม่ได้", "section_num": "1708" } ]
ได้ เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพินัยกรรมนั้นจะร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนพินัยกรรมที่ได้ทำขึ้นเพราะเหตุข่มขู่ก็ได้ แต่หากหลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมถูกข่มขู่มให้ทำพินัยกรรมนั้น ได้พ้นจากการข่มขู่แล้วและมีชีวิตอยู่ต่อเกิน 1 ปี จะร้องขอเพิกพินัยกรรมนั้นไม่ได้.
[]
ในที่ดินมีกรรมสิทธิ์ร่วมทั้งหมด 3 คน จะนำที่ดินขายและเอาเงินที่ขายมาแบ่งกันได้หรือไม่
ได้ โดยเจ้าของร่วมต้องตกลงกันที่จะขายที่ดินดังกล่าวและเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ถ้าไม่ได้ตกลงกันว่าจะแบ่งที่ดินอย่างไร เจ้าของรวมคนหนึ่งจะขอให้ศาลสั่งแบ่งที่ดินนั้นก็ได้ ถ้าการแบ่งที่ดินไม่เท่ากันศาลจะสั่งให้ทดแทนเป็นเงินก็ได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364\nการแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน\nถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอ ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าส่วนที่แบ่งให้ไม่เท่ากันไซร้ จะสั่งให้ทดแทนกันเป็นเงินก็ได้ ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนักก็ดี ศาลจะสั่งให้ขายโดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้", "section_num": "1364" } ]
ได้ โดยเจ้าของร่วมต้องตกลงกันที่จะขายที่ดินดังกล่าวและเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ถ้าไม่ได้ตกลงกันว่าจะแบ่งที่ดินอย่างไร เจ้าของรวมคนหนึ่งจะขอให้ศาลสั่งแบ่งที่ดินนั้นก็ได้ ถ้าการแบ่งที่ดินไม่เท่ากันศาลจะสั่งให้ทดแทนเป็นเงินก็ได้.
[]
ถ้าของรับฝากหายเพราะเหตุสุดวิสัย เหตุเกิดขณะที่ผู้รับฝากได้ฝากของให้กับคนอื่นเก็บรักษาของฝากไว้เป็นการช่วงคราว ผู้รับฝากต้องรับผิดหรือไม่
ต้องรับผิด ถ้าผู้ฝากทรัพย์ไม่ได้อนุญาตให้คนอื่นนอกจากผู้รับฝากต้องเก็บรักษาทรัพย์นั้นแล้ว ถึงแม้ว่าของที่หายจะเป็นเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับฝากจะต้องรับผิดเมื่อทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นสูญหาย
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 660\nถ้าผู้ฝากมิได้อนุญาต และผู้รับฝากเอาทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นออกใช้สอยเอง หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือให้บุคคลภายนอกเก็บรักษาไซร้ ท่านว่าผู้รับฝากจะต้องรับผิดเมื่อทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นสูญหายหรือบุบสลายอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง", "section_num": "660" } ]
ต้องรับผิด ถ้าผู้ฝากทรัพย์ไม่ได้อนุญาตให้คนอื่นนอกจากผู้รับฝากต้องเก็บรักษาทรัพย์นั้นแล้ว ถึงแม้ว่าของที่หายจะเป็นเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับฝากจะต้องรับผิดเมื่อทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นสูญหาย.
[]
ทำสัญญาจะซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดิน แต่ผู้ขายยังสร้างอาคารพาณิชย์ไม่เสร็จตามสัญญา ผู้จะซื้อยังไม่ชำระค่าก่อสร้างได้หรือไม่
ได้ ผู้จะซื้อจะไม่ยอมชำระหนี้ในการชำระราคาซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินให้กับผู้จะขาย จนกว่าผู้จะขายจะส่งมอบอาคารพาณิชย์ตามกำหนดในสัญญาก็ได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369\nในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้ หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด", "section_num": "369" } ]
ได้ ผู้จะซื้อจะไม่ยอมชำระหนี้ในการชำระราคาซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินให้กับผู้จะขาย จนกว่าผู้จะขายจะส่งมอบอาคารพาณิชย์ตามกำหนดในสัญญาก็ได้
[]
จำนองที่ดินก่อนสร้างบ้าน บ้านหลังดังกล่าวได้อยู่ในส่วนการจำนองที่ดินด้วยหรือไม่
ไม่ การจำนองที่ดินไม่ครอบไปถึงบ้านที่สร้างลงในที่ดินภายหลังวันจำนอง เว้นแต่จะมีข้อความในสัญญาระบุโดยเฉพาะว่าให้ครอบไปถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 719\nจำนองที่ดินไม่ครอบไปถึงเรือนโรงอันผู้จำนองปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันจำนอง เว้นแต่จะมีข้อความกล่าวไว้โดยเฉพาะในสัญญาว่าให้ครอบไปถึง\nแต่กระนั้นก็ดี ผู้รับจำนองจะให้ขายเรือนโรงนั้นรวมไปกับที่ดินด้วยก็ได้ แต่ผู้รับจำนองอาจใช้บุริมสิทธิของตนได้เพียงแก่ราคาที่ดินเท่านั้น", "section_num": "719" } ]
ไม่ การจำนองที่ดินไม่ครอบไปถึงบ้านที่สร้างลงในที่ดินภายหลังวันจำนอง เว้นแต่จะมีข้อความในสัญญาระบุโดยเฉพาะว่าให้ครอบไปถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย
[]
ค่าประเมินความเสียหายของรถเป็นค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัย บริษัทประกันภัยออกค่าใช้จ่ายดังกล่าวเองหรือไม่
ใช่ ผู้รับประกันภัย คือ บริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ต้องเป็นผู้ออกใช้ค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัยนั้น
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 878\nค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัยนั้น ท่านว่าผู้รับประกันภัยต้องเป็นผู้ออกใช้", "section_num": "878" } ]
ใช่ ผู้รับประกันภัย คือ บริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ต้องเป็นผู้ออกใช้ค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัยนั้น
[]
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ต้องมีพยานรับรองลายมือชื่อด้วยหรือไม่
ใช่ ต้องมีพยานรับรองลายมือชื่อการรับโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้นๆ โดยทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอน มีพยานหนึ่งคนเป็นอย่างน้อย และตราสารนั้นต้องแถลงหมายเลขของหุ้นซึ่งโอนกันด้วย
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129\nอันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น\nการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ อนึ่ง ตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย\nการโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น", "section_num": "1129" } ]
ใช่ ต้องมีพยานรับรองลายมือชื่อการรับโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้นๆ โดยทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอน มีพยานหนึ่งคนเป็นอย่างน้อย และตราสารนั้นต้องแถลงหมายเลขของหุ้นซึ่งโอนกันด้วย
[]
ช่างรับเหมาก่อสร้างได้ทำการก่อสร้างยังไม่เสร็จดี และอยู่ในระยะเวลาของสัญญาจ้าง เจ้าของบ้านได้บอกเลิกสัญญากลางคัน ผู้รับเหมาสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของบ้านที่ว่าจ้างได้หรือไม่
ได้ หากงานยังเสร็จผู้ว่าจ้างย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้ เพียงแต่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญา ซึ่งอาจจะเป็นเฉพาะเช่น ค่าวัสดุอุปกรณ์ ต้นทุน ค่าเสียเวลา เสียโอกาส แต่อาจไม่รวมถึงกำไรที่ผู้รับจ้างคาดว่าจะได้รับ ซึ่งหากมีการเรียกร้องกันจริงก็ต้องมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันและพิสูจน์ความเสียหาย ทำให้ในทางปฏิบัติภาคเอกชนอาจจะกำหนดสิทธิให้ผู้ว่าจ้างไม่อาจเลิกสัญญาฝ่ายเดียวด้วยเหตุนี้ได้ ซึ่งถ้าไม่ระบุในสัญญาว่าห้ามเลิกสัญญาฝ่ายเดียว ผู้รับเหมาขอให้เจ้าของบ้านผู้ว่าจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญาได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605\nถ้าการที่จ้างยังทำไม่แล้วเสร็จอยู่ตราบใด ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น", "section_num": "605" } ]
ได้ หากงานยังเสร็จผู้ว่าจ้างย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้ เพียงแต่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญา ซึ่งอาจจะเป็นเฉพาะเช่น ค่าวัสดุอุปกรณ์ ต้นทุน ค่าเสียเวลา เสียโอกาส แต่อาจไม่รวมถึงกำไรที่ผู้รับจ้างคาดว่าจะได้รับ.
[]
จะขอให้คนถือตั๋วเงินแลกเงินรับเงินก่อนตั๋วเงินถึงกำหนดได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิแลกเงินก่อนตั๋วเงินถึงกำหนดจ่าย ถ้าผู้จ่าย จ่ายเงินก่อนตั๋วเงินถึงกำหนด ผู้จ่ายต้องรับความเสี่ยงจากการจ่ายเงินในตั๋วเงินก่อนถึงกำหนดเอง
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 942\nอันจะบังคับให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินรับเงินใช้ก่อนตั๋วเงินถึงกำหนดนั้น ท่านว่าหาอาจจะทำได้ไม่\nอนึ่ง ผู้จ่ายคนใดใช้เงินไปแต่ก่อนเวลาตั๋วเงินถึงกำหนด ท่านว่าย่อมทำเช่นนั้นด้วยเสี่ยงเคราะห์ของตนเอง", "section_num": "942" } ]
ไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิแลกเงินก่อนตั๋วเงินถึงกำหนดจ่าย ถ้าผู้จ่าย จ่ายเงินก่อนตั๋วเงินถึงกำหนด ผู้จ่ายต้องรับความเสี่ยงจากการจ่ายเงินในตั๋วเงินก่อนถึงกำหนดเอง.
[]
อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์ เริ่มนับตั้งแต่อายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายใช่หรือไม่
ใช่ อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์ อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/21\nอายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือของคนไร้ความสามารถหรือของคนเสมือนไร้ความสามารถ ที่จะฟ้องร้องผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ของตนนั้น ถ้าจะครบกำหนดลงในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ลุถึงความสามารถเต็มภูมิ หรือในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหรือได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าอายุความสิทธิเรียกร้องนั้นมีระยะเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี ก็ให้นำกำหนดระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นมาใช้แทนกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีดังกล่าว", "section_num": "193/21" } ]
ใช่ อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์ อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ
[]
เกินหกเดือนแล้วจะฟ้องคดีผู้สลักหลังตั๋วเงินได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากการฟ้องคดีผู้สลักหลังทั้งหลายฟ้องไล่เบี้ยกันเองและไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายตั๋วเงินนั้น ห้ามไม่ให้ให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน หรือนับแต่วันที่ผู้สลักหลังนั้นเองถูกฟ้อง
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003\nในคดีผู้สลักหลังทั้งหลายฟ้องไล่เบี้ยกันเองและไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายแห่งตั๋วเงิน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน หรือนับแต่วันที่ผู้สลักหลังนั้นเองถูกฟ้อง", "section_num": "1003" } ]
ไม่ได้ เนื่องจากการฟ้องคดีผู้สลักหลังทั้งหลายฟ้องไล่เบี้ยกันเองและไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายตั๋วเงินนั้น ห้ามไม่ให้ให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน หรือนับแต่วันที่ผู้สลักหลังนั้นเองถูกฟ้อง.
[]
สิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินหรือไม่
ใช่ ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ดังนั้นสิทธิในเครื่องหมายทางการค้านั้นเป็นทรัพย์สินประเภทสังหาริม มีราคาและถือเอาได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138\nทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้", "section_num": "138" } ]
ใช่ ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ดังนั้นสิทธิในเครื่องหมายทางการค้านั้นเป็นทรัพย์สินประเภทสังหาริม มีราคาและถือเอาได้
[]
เจ้าหนี้แสดงต่อสำนักงานวางทรัพย์ว่าจะรับทรัพย์ที่ลูกหนี้ได้วางไว้ ลูกหนี้จะยังคงมีสิทธิถอนทรัพย์ที่วางนั้นได้อยู่หรือไม่
ไม่มีสิทธิถอนการวางทรัพย์นั้น แม้ลูกหนี้มีสิทธิจะถอนทรัพย์ที่วางนั้นได้ ถ้าลูกหนี้ถอนทรัพย์ ถือเสมือนว่าไม่ได้วางทรัพย์ไว้เลย
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 334\nลูกหนี้มีสิทธิจะถอนทรัพย์ที่วางนั้นได้ ถ้าลูกหนี้ถอนทรัพย์นั้น ท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้วางทรัพย์ไว้เลย\nสิทธิถอนทรัพย์นี้เป็นอันขาดในกรณีต่อไปนี้\n(1) ถ้าลูกหนี้แสดงต่อสำนักงานวางทรัพย์ว่าตนยอมละสิทธิที่จะถอน\n(2) ถ้าเจ้าหนี้แสดงต่อสำนักงานวางทรัพย์ว่าจะรับเอาทรัพย์นั้น\n(3) ถ้าการวางทรัพย์นั้นได้เป็นไปโดยคำสั่งหรืออนุมัติของศาลและได้บอกกล่าวความนั้นแก่สำนักงานวางทรัพย์", "section_num": "334" } ]
ไม่มีสิทธิถอนการวางทรัพย์นั้น
[]
สั่งของมาแล้วได้รับของไม่ตรงตามตัวอย่างที่สั่งไว้ ฟ้องได้หรือไม่
ได้ แต่ต้องฟ้องในข้อรับผิดเพื่อการส่งของไม่ตรงตามตัวอย่าง ภายในกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบ
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 504\nในข้อรับผิดเพื่อการส่งของไม่ตรงตามตัวอย่าง หรือไม่ตรงตามคำพรรณนานั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบ", "section_num": "504" } ]
ได้ แต่ต้องฟ้องในข้อรับผิดเพื่อการส่งของไม่ตรงตามตัวอย่าง ภายในกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบ
[]
กักปลาในที่น้ำสาธารณะ ปลาที่กักได้นั้นเป็นของคนที่ทำกำดักกักปลาใช่หรือไม่
ใช่ ผู้ที่ทำกำดักกักปลานั้นย่อมมีสิทธิในปลาที่อยู่ในกำดักบ่อนั้นดีกว่าผู้อื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบ่อปลานั้น
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1321\nภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ผู้ใดจับสัตว์ป่าได้ในที่รกร้างว่างเปล่าหรือในที่น้ำสาธารณะก็ดี หรือจับได้ในที่ดิน หรือที่น้ำมีเจ้าของโดยเจ้าของมิได้แสดงความหวงห้ามก็ดี ท่านว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของสัตว์", "section_num": "1321" } ]
ใช่ ผู้ที่ทำกำดักกักปลานั้นย่อมมีสิทธิในปลาที่อยู่ในกำดักบ่อนั้นดีกว่าผู้อื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบ่อปลานั้น
[]
สร้างหลังคาที่จอดรถยนต์ที่บ้านเช่าซึ่งเป็นที่ดินของผู้ให้เช่า หลังจากที่หมดสัญญาเช่าผู้เช่าจะได้ค่าสิ่งปลูกที่สร้างโรงรถด้วยหรือไม่
ได้ เนื่องจากผู้เช่าสร้างโรงจอดรถยนต์ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างติดกับที่ดินของผู้ให้เช่าซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน และการสร้างนั้นเจ้าของบ้านได้ทราบและอนุญาตให้ผู้เช่าก่อสร้างได้ เช่นนี้ เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสัมภาระที่สร้างหลังคาที่จอดรถยนต์ และต้องใช้ค่าวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างหลังคาที่จอดรถยนต์ให้ผู้เช่าเนื่องจากผู้เช่าเป็นคนออกเงินจากให้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1315\nบุคคลใดสร้างโรงเรือน หรือทำการก่อสร้างอย่างอื่นซึ่งติดที่ดิน หรือเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติในที่ดินของตนด้วยสัมภาระของผู้อื่น ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของสัมภาระ แต่ต้องใช้ค่าสัมภาระ", "section_num": "1315" } ]
ได้ เนื่องจากผู้เช่าสร้างโรงจอดรถยนต์ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างติดกับที่ดินของผู้ให้เช่าซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน และการสร้างนั้นเจ้าของบ้านได้ทราบและอนุญาตให้ผู้เช่าก่อสร้างได้ เช่นนี้ เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสัมภาระที่สร้างหลังคาที่จอดรถยนต์ และต้องใช้ค่าวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างหลังคาที่จอดรถยนต์ให้ผู้เช่าเนื่องจากผู้เช่าเป็นคนออกเงินจากให้
[]
เช่าตึกแถว ต่อมาเจ้าของตึกแถวปล่อยในคนอื่นปิดป้ายโฆษณาในส่วนบนดาดฟ้าของตึก เช่นนี้เจ้าของตึกทำได้หรือไม่
ไม่ได้ ซึ่งต้องตีความว่า สัญญาเช่าตึกแถวแม้ไม่ได้ระบุว่าให้เช่าส่วนไหนบ้าง ก็ให้หมายความว่าให้เช่าทั้งหน้าตึกและหลังคาตึกแถวด้วยซึ่งเป็นไปตามประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปรกติประเพณีด้วย ผู้ให้เช่าจะปล่อยส่วนหลังคาให้คนอื่นเช่าทำอย่างอื่นต่อไม่ได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368\nสัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปรกติประเพณีด้วย", "section_num": "368" } ]
ไม่ได้ ซึ่งต้องตีความว่า สัญญาเช่าตึกแถวแม้ไม่ได้ระบุว่าให้เช่าส่วนไหนบ้าง ก็ให้หมายความว่าให้เช่าทั้งหน้าตึกและหลังคาตึกแถวด้วยซึ่งเป็นไปตามประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปรกติประเพณีด้วย ผู้ให้เช่าจะปล่อยส่วนหลังคาให้คนอื่นเช่าทำอย่างอื่นต่อไม่ได้
[]
ถ้าเข้าเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด จำเป็นต้องลงแค่เงินเพื่อเข้าเป็นหุ้นส่วนอย่างเดียวใช่หรือไม่
ไม่ใช่ การเข้าเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ไม่จำเป็นต้องลงเงินเพื่อเข้าเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดเสมอไป สามารถลงทรัพย์ที่มีมูลค่าตายตัวอย่างอื่นก็นอกจากเงินได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1083\nการลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้น ท่านว่าต้องให้ลงเป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่น ๆ", "section_num": "1083" } ]
ไม่ใช่ การเข้าเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ไม่จำเป็นต้องลงเงินเพื่อเข้าเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดเสมอไป สามารถลงทรัพย์ที่มีมูลค่าตายตัวอย่างอื่นก็นอกจากเงินได้.
[]
ขับรถชนกันโดยประมาทร่วมกัน ต้องใช้ค่าเสียหายเท่ากันทั้งสองฝ่ายใช่หรือไม่
ไม่ใช่ การประมาทร่วมกัน ศาลจะพิจารณาฝ่ายไหนก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด ถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ไม่ได้เอาความเสียหายมากน้อยมาเป็นเกณฑ์ หากต่างฝ่ายต่างละเมิดต่อกัน และได้ประมาทเท่ากันให้รับผิดค่าเสียหายเท่ากัน ถ้าฝ่ายหนึ่งประมาทมากกว่าไม่มีสิทธิที่จะฟ้องให้อีกฝ่ายซึ่งผิดน้อยกว่าให้รับผิดในความเสียหายในส่วนของตนเองได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442\nถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม", "section_num": "442" } ]
ไม่ใช่ การประมาทร่วมกัน ศาลจะพิจารณาฝ่ายไหนก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด ถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ไม่ได้เอาความเสียหายมากน้อยมาเป็นเกณฑ์ หากต่างฝ่ายต่างละเมิดต่อกัน และได้ประมาทเท่ากันให้รับผิดค่าเสียหายเท่ากัน ถ้าฝ่ายหนึ่งประมาทมากกว่าไม่มีสิทธิที่จะฟ้องให้อีกฝ่ายซึ่งผิดน้อยกว่าให้รับผิดในความเสียหายในส่วนของตนเองได้.
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223\nถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร\nวิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้แม้ทั้งที่ความผิดของฝ่ายผู้ที่เสียหายจะมีแต่เพียงละเลยไม่เตือนลูกหนี้ให้รู้สึกถึงอันตรายแห่งการเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจจะรู้ได้ หรือเพียงแต่ละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วย อนึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา 220 นั้นท่านให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม", "section_num": "223" } ]
พยานในพินัยกรรมรับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดไม่ให้พยานมีสิทธิรับทรัพย์ในพินัยกรรม เมื่อได้รับเป็นพยานในพินัยกรรมนั้นแล้ว
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653\nผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้\nให้ใช้บทบัญญัติในวรรคก่อนบังคับแก่คู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมด้วย\nพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้จดข้อความแห่งพินัยกรรมที่พยานนำมาแจ้งตามมาตรา 1663 ให้ถือว่าเป็นผู้เขียนพินัยกรรมตามความหมายแห่งมาตรานี้", "section_num": "1653" } ]
ไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดไม่ให้พยานมีสิทธิรับทรัพย์ในพินัยกรรม เมื่อได้รับเป็นพยานในพินัยกรรมนั้นแล้ว
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1663\nเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม บุคคลนั้นจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้\nเพื่อการนี้ ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น\nพยานสองคนนั้นต้องไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอโดยมิชักช้าและแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้น ทั้งต้องแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ด้วย\nให้กรมการอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อไว้ หรือมิฉะนั้น จะให้เสมอกับการลงลายมือชื่อได้ก็แต่ด้วยลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคน", "section_num": "1663" } ]
ถ้านายจ้างเสียชีวิต จะทำให้สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลงด้วยหรือไม่
ไม่เสมอไป ถ้านายจ้างเสียชีวิต เป็นเหตุให้สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดไป ต้องเป็นกรณีที่การจ้างแรงงานนั้นมีสาระสำคัญอยู่ที่ตัวนายจ้าง การเสียชีวิตของนายจ้างก็จะทำให้สัญญาจ้างแรงงานนั้นระงับไปด้วย
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 584\nถ้าจ้างแรงงานรายใดมีสาระสำคัญอยู่ที่ตัวบุคคลผู้เป็นนายจ้าง ท่านว่าสัญญาจ้างเช่นนั้นย่อมระงับไปด้วยมรณะแห่งนายจ้าง", "section_num": "584" } ]
ไม่เสมอไป ถ้านายจ้างเสียชีวิต เป็นเหตุให้สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดไป ต้องเป็นกรณีที่การจ้างแรงงานนั้นมีสาระสำคัญอยู่ที่ตัวนายจ้าง การเสียชีวิตของนายจ้างก็จะทำให้สัญญาจ้างแรงงานนั้นระงับไปด้วย
[]
ได้จดทะเบียนสิทธิเก็บกินเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคือโรงงาน แต่โรงงานมีรอยรั่วขนาดใหญ่ แจ้งให้เจ้าของโรงงานซ่อมแซมได้หรือไม่ หรือต้องซ่อมเอง
ได้ แจ้งให้เจ้าของทราบและทำการซ่อมแซ่มได้ ถ้าจำเป็นต้องซ่อมแซมใหญ่ เพื่อรักษาสภาพของโรงงาน ถ้าเจ้าของทราบแล้วแต่ไม่ทำการซ่อม ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจะจัดทำการซ่อมแซมหลังคาที่รั่วไปก่อนได้โดยให้เจ้าของทรัพย์สินออกค่าใช้จ่ายก็ได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1424\nผู้ทรงสิทธิเก็บกินจำต้องสงวนภาวะแห่งทรัพย์สินมิให้เปลี่ยนไปในสาระสำคัญ กับต้องบำรุงรักษาปกติและซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย\nถ้าจำเป็นต้องซ่อมแซมใหญ่ หรือมีการสำคัญอันต้องทำเพื่อรักษาทรัพย์สินไซร้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิเก็บกินต้องแจ้งแก่เจ้าของทรัพย์สินโดยพลัน และต้องยอมให้จัดทำการนั้น ๆ ไป ถ้าเจ้าของทรัพย์สินละเลยเสีย ท่านว่าผู้ทรงสิทธิเก็บกินจะจัดทำการนั้นไปโดยให้เจ้าของทรัพย์สินออกค่าใช้จ่ายก็ได้", "section_num": "1424" } ]
ได้ แจ้งให้เจ้าของทราบและทำการซ่อมแซ่มได้ ถ้าจำเป็นต้องซ่อมแซมใหญ่ เพื่อรักษาสภาพของโรงงาน ถ้าเจ้าของทราบแล้วแต่ไม่ทำการซ่อม ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจะจัดทำการซ่อมแซมหลังคาที่รั่วไปก่อนได้โดยให้เจ้าของทรัพย์สินออกค่าใช้จ่ายก็ได้
[]
ร้องขอเป็นผู้จัดการทำศพของผู้ตายได้หรือไม่
ได้ แต่ต้องปรากฏว่าผู้ตายไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดก หรือตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ทั้งทายาทก็ตกลงกันไม่ได้ที่จะมอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพอำนาจและหน้าที่นี้จึงตกได้แก่ผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนมากที่สุด และกรณีนี้ถ้าผู้มีส่วนได้เสียเห็นว่า ผู้ได้รับมรดกเป็นจำนวนมากที่สุดนั้นไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายจึงอาจร้องขอต่อศาลได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649\nผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะจัดการทำศพของผู้ตาย เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการดังว่านั้น\nถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น", "section_num": "1649" } ]
ได้ แต่ต้องปรากฏว่าผู้ตายไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดก หรือตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ทั้งทายาทก็ตกลงกันไม่ได้ที่จะมอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพอำนาจและหน้าที่นี้จึงตกได้แก่ผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนมากที่สุด และกรณีนี้ถ้าผู้มีส่วนได้เสียเห็นว่า ผู้ได้รับมรดกเป็นจำนวนมากที่สุดนั้นไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายจึงอาจร้องขอต่อศาลได้.
[]
ฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเก็บกิน ถ้าเกิน 1 ปี ฟ้องได้หรือไม่
ไม่ได้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิเก็บกินต้องฟ้องไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่สิทธิเก็บกินสิ้นสุดลง แต่ถ้าไม่อาจรู้ได้ว่าสิทธิเก็บกินสุดลงเมื่อใด ให้นับอายุความ 1 ปี นั้นตั้งแต่เวลาที่ได้รู้ หรือควรได้รู้ว่าสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลง
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1428\nคดีอันเกี่ยวกับสิทธิเก็บกินในระหว่างเจ้าของทรัพย์สินกับผู้ทรงสิทธิเก็บกิน หรือผู้รับโอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อเกินปีหนึ่งนับแต่วันสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลง แต่ในคดีที่เจ้าของทรัพย์สินเป็นโจทก์นั้น ถ้าเจ้าของไม่อาจรู้ว่าสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลงเมื่อใด ท่านให้นับอายุความปีหนึ่งนั้นตั้งแต่เวลาที่เจ้าของทรัพย์สินได้รู้ หรือควรรู้ว่าสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลง", "section_num": "1428" } ]
ไม่ได้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิเก็บกินต้องฟ้องไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่สิทธิเก็บกินสิ้นสุดลง แต่ถ้าไม่อาจรู้ได้ว่าสิทธิเก็บกินสุดลงเมื่อใด ให้นับอายุความ 1 ปี นั้นตั้งแต่เวลาที่ได้รู้ หรือควรได้รู้ว่าสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลง
[]
หุ้นส่วนที่ออกจากห้างไปแล้วมีสิทธิให้เอาชื่อของตนออกจากห้างได้หรือไม่
ได้ ถ้ามีชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไป แล้วยังคงใช้เรียกเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนอยู่ ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นจะให้เอาชื่อตัวเองออกจากห้างนั้นได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1047\nถ้าชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วยังคงใช้เรียกขานติดเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนอยู่ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นชอบที่จะเรียกให้งดใช้ชื่อของตนเสียได้", "section_num": "1047" } ]
ได้ ถ้ามีชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไป แล้วยังคงใช้เรียกเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนอยู่ ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นจะให้เอาชื่อตัวเองออกจากห้างนั้นได้
[]
คู่สมรสที่ได้รู้เห็นเป็นใจในเหตุของการถูกฟ้องเพิกถอนการสมรส ซึ่งทำให้อีกฝ่ายมีรายได้ลดลงตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส เช่นนี้คู่สมรสที่ถูกฟ้องจะต้องรับผิดในค่าเลี้ยงชีพหรอไม่
ได้ กฎหมายกำหนดหากคู่สมรสฝ่ายซึ่งไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในเหตุแห่งโมฆียะ ต้องยากจนลง และไม่มีรายได้พอจาากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส ซึ่งเป็นไปตามหลักการลงโทษคู่สมรสที่เป็นฝ่ายผิดที่เป็นต้นเหตุให้การสมรสเป็นโมฆียะ
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1513\nถ้าปรากฏว่าคู่สมรสที่ถูกฟ้องเพิกถอนการสมรสได้รู้เห็นเป็นใจในเหตุแห่งโมฆียะกรรม คู่สมรสนั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รับต่อกาย ชื่อเสียงหรือทรัพย์สิน เนื่องจากการสมรสนั้น และให้นำมาตรา 1525 มาใช้บังคับโดยอนุโลม\nถ้าหากการเพิกถอนการสมรสตามวรรคหนึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง และไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส คู่สมรสที่ถูกฟ้องนั้นจะต้องรับผิดในค่าเลี้ยงชีพดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1526 ด้วย", "section_num": "1513" } ]
ได้ กฎหมายกำหนดหากคู่สมรสฝ่ายซึ่งไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในเหตุแห่งโมฆียะ ต้องยากจนลง และไม่มีรายได้พอจาากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส ซึ่งเป็นไปตามหลักการลงโทษคู่สมรสที่เป็นฝ่ายผิดที่เป็นต้นเหตุให้การสมรสเป็นโมฆียะ
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1525\nค่าทดแทนตามมาตรา 1523 และมาตรา 1524 นั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ โดยศาลจะสั่งให้ชำระครั้งเดียวหรือแบ่งชำระเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้\nในกรณีที่ผู้จะต้องชำระค่าทดแทนเป็นคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ศาลคำนึงถึงจำนวนทรัพย์สินที่คู่สมรสนั้นได้รับไปจากการแบ่งสินสมรสเพราะการหย่านั้นด้วย", "section_num": "1525" }, { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526\nในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติมาตรา 1598/39 มาตรา 1598/40 และมาตรา 1598/41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม\nสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดีหย่านั้น", "section_num": "1526" } ]
เอาผลไม้ในสวนผลไม้ของตัวเอง ทำการขายทอดตลาดและเอาเงินวางแทนหนี้ได้หรือไม่
ได้ บางกรณีแทนที่จะวางทรัพย์ไว้ อาจขายทอดตลาดทรัพย์นั้น แล้วเอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาวางก็ได้ ได้แก่ ทรัพย์ที่เป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้นเกือบจะเสื่อมเสีย หรือทำลายหรือบุบสลายได้ เช่นของสดต่างๆ ที่อาจเน่าเสียได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 336\nถ้าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้ไม่ควรแก่การจะวางไว้ก็ดี หรือเป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้นเกลือกจะเสื่อมเสีย หรือทำลาย หรือบุบสลายได้ก็ดี เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล บุคคลผู้ชำระหนี้จะเอาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาด แล้วเอาเงินที่ได้แต่การขายวางแทนทรัพย์นั้นก็ได้ ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ค่ารักษาทรัพย์จะแพงเกินควรนั้นด้วย", "section_num": "336" } ]
ได้ บางกรณีแทนที่จะวางทรัพย์ไว้ อาจขายทอดตลาดทรัพย์นั้น แล้วเอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาวางก็ได้ ได้แก่ ทรัพย์ที่เป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้นเกือบจะเสื่อมเสีย หรือทำลายหรือบุบสลายได้ เช่นของสดต่างๆ ที่อาจเน่าเสียได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล
[]
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการสภาพเดียวกันกับห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ เรียกเอากำไรจากหุ้นส่วนคนนั้นได้หรือไม่
ได้ กฎหมายห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน ประกอบกิจการซึ่งมีสภาพเดียวกันกับห้างหุ้นส่วนฯ แต่ไม่ได้ห้ามที่จะไปร่วมลงหุ้นกับบุคคลอื่น โดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ก็มีสิทธิเรียกผลกำไรทั้งหมดที่ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ทำการฝ่าฝืนหามาได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1038\nห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งมีสภาพดุจเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่น โดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ\nถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดทำการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรานี้ไซร้ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรซึ่งผู้นั้นหาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่ห้างหุ้นส่วนได้รับความเสียหายเพราะเหตุนั้น แต่ท่านห้ามมิให้ฟ้องเรียกเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันทำการฝ่าฝืน", "section_num": "1038" } ]
ได้ กฎหมายห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน ประกอบกิจการซึ่งมีสภาพเดียวกันกับห้างหุ้นส่วนฯ แต่ไม่ได้ห้ามที่จะไปร่วมลงหุ้นกับบุคคลอื่น โดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ ก็มีสิทธิเรียกผลกำไรทั้งหมดที่ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ทำการฝ่าฝืนหามาได้
[]
ให้ตัวแทนจัดการงานแทนบริษัทเป็นการทั่วไปในส่วนของงานบริษัท ตัวแทนดังกล่าวมีอำนาจในการประนีประนอมยอมความแทนบริษัทได้หรือไม่
ทำไม่ได้ เนื่องจากการที่ตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไป ตัวแทนสามารถจัดการทำงานแทนตัวการได้ทุกอย่าง ยกเว้นการประนีประนอมยอมความตัวแทนไม่สามารถแทนบริษัทได้ บริษัทต้องมอบอำนาจในการกระการแทนอีกต่างหาก
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801\nถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไป ท่านว่าจะทำกิจใด ๆ ในทางจัดการแทนตัวการก็ย่อมทำได้ทุกอย่าง\nแต่การเช่นอย่างจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าหาอาจจะทำได้ไม่ คือ\n(1) ขายหรือจำนองอสังหาริมทรัพย์\n(2) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์กว่าสามปีขึ้นไป\n(3) ให้\n(4) ประนีประนอมยอมความ\n(5) ยื่นฟ้องต่อศาล\n(6) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา", "section_num": "801" } ]
ทำไม่ได้ เนื่องจากการที่ตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไป ตัวแทนสามารถจัดการทำงานแทนตัวการได้ทุกอย่าง ยกเว้นการประนีประนอมยอมความตัวแทนไม่สามารถแทนบริษัทได้ บริษัทต้องมอบอำนาจในการกระการแทนอีกต่างหาก.
[]
ตกลงกันว่าส่วนในงานของห้างหุ้นส่วนฯ จะต้องเป็นไปตามคะแนนเสียงข้างมาก ซึ่งจำนวนหุ้นที่ลงมีผลต่อคะแนนเสียงหรือไม่
ไม่มีผล ผู้เป็นหุ้นส่วนหนึ่งคนมีเสียงเป็นหนึ่งคะแนน โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ลงหุ้นด้วยมากหรือน้อย
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1034\nถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าการงานของห้างหุ้นส่วนนั้นจักให้เป็นไปตามเสียงข้างมากแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนไซร้ ท่านให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ลงหุ้นด้วยมากหรือน้อย", "section_num": "1034" } ]
ไม่มีผล ผู้เป็นหุ้นส่วนหนึ่งคนมีเสียงเป็นหนึ่งคะแนน โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ลงหุ้นด้วยมากหรือน้อย
[]
การประกันภัยในการรับขนคิดความเพียงแค่เฉพาะราคาค่าสินค้าเท่านั้นหรือไม่
ไม่ใช่ รวมถึงค่าระวางขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่น ๆแล้วแต่กรณี โดยให้เพิ่มค่าระวางส่งของไปยังสถานที่ส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง กับทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เนื่องด้วยการส่งของไปนั้นเข้าด้วย
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 884\nถ้าของซึ่งขนส่งนั้นได้เอาประกันภัยเมื่ออยู่ในระหว่างส่งเดินทางไปท่านให้คิดมูลประกันภัยในของนั้นนับรวมทั้งราคาของ ณ สถานที่และในเวลาที่ผู้ขนส่งได้รับของ และให้เพิ่มค่าระวางส่งของไปยังสถานที่ส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง กับทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เนื่องด้วยการส่งของไปนั้นเข้าด้วย\nกำไรอันจะพึงได้ในเวลาเมื่อส่งมอบของนั้น ย่อมจะคิดรวมเข้าเป็นมูลประกันภัยได้ต่อเมื่อได้มีข้อตกลงกันไว้เช่นนั้นชัดแจ้ง", "section_num": "884" } ]
ไม่ใช่ รวมถึงค่าระวางขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่น ๆแล้วแต่กรณี โดยให้เพิ่มค่าระวางส่งของไปยังสถานที่ส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง กับทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เนื่องด้วยการส่งของไปนั้นเข้าด้วย
[]
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ซึ่งได้ออกจากเป็นหุ้นส่วนของห้างแล้ว 1 ปี ต้องรับผิดเกี่ยวกับหนี้ซึ่งเป็นของห้างฯ หรือไม่
ใช่ ยังต้องรับผิดเกี่ยวกับหนี้ของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนซึ่งได้เกิดขึ้นก่อนที่จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนฯ นั้นอยู่ โดยมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วนฯ
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068\nความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน อันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนนั้น ย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน", "section_num": "1068" } ]
ใช่ ยังต้องรับผิดเกี่ยวกับหนี้ของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนซึ่งได้เกิดขึ้นก่อนที่จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนฯ นั้นอยู่ โดยมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วนฯ
[]
หุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน จะไปเปิดธุรกิจเดียวกับกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ตนเองเป็นหุ้นส่วนได้หรือไม่
ไม่ได้ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนมีกฎหมายห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบการแข่งขันกับกิจการของห้างไว้ คือห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนแล้วยังห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเข้าไปเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่น ซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1066\nห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรือไปเข้าเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่น ซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้น เว้นไว้แต่จะได้รับคำยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมด\nแต่ข้อห้ามเช่นว่ามานี้ ท่านว่าจะไม่พึงใช้ได้ ถ้าหากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายได้รู้อยู่แล้วในเวลาเมื่อลงทะเบียนห้างหุ้นส่วนนั้นว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งได้ทำกิจการ หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วนอื่นอันมีวัตถุที่ประสงค์อย่างเดียวกัน และในสัญญาเข้าหุ้นส่วนที่ทำไว้ต่อกันนั้นก็ไม่ได้บังคับให้ถอนตัวออก", "section_num": "1066" } ]
ไม่ได้ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนมีกฎหมายห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบการแข่งขันกับกิจการของห้างไว้ คือห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนแล้วยังห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเข้าไปเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่น ซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน.
[]
ผู้สลักหลังตั๋วเงินที่ถูกไล่เบี้ย ซึ่งได้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว ขีดฆ่าชื่อตัวเองที่หลักหลังตั๋วนั้นได้หรือไม่
ได้ ผู้สลักหลังทุกคนซึ่งเข้าถือเอาและใช้เงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว จะขีดฆ่าคำสลักหลังของตนเองและของเหล่าผู้สลักหลังภายหลังตนนั้นเสียก็ได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 970\nคู่สัญญาทุกฝ่ายซึ่งต้องรับผิดและถูกไล่เบี้ย หรืออยู่ในฐานะจะถูกไล่เบี้ยได้นั้น อาจจะใช้เงินแล้วเรียกให้เขาสละตั๋วเงินให้แก่ตนได้ รวมทั้งคำคัดค้านและบัญชีรับเงินด้วย\nผู้สลักหลังทุกคนซึ่งเข้าถือเอาและใช้เงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว จะขีดฆ่าคำสลักหลังของตนเองและของเหล่าผู้สลักหลังภายหลังตนนั้นเสียก็ได้", "section_num": "970" } ]
ได้ ผู้สลักหลังทุกคนซึ่งเข้าถือเอาและใช้เงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว จะขีดฆ่าคำสลักหลังของตนเองและของเหล่าผู้สลักหลังภายหลังตนนั้นเสียก็ได้
[]
ชำระหนี้ไม่ตรงตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญา ต้องเสียเบี้ยปรับตามที่ระบุไว้ในสัญญาด้วยหรือไม่
ไม่ต้อง เนื่องจากการชำระหนี้ตามสัญญาไม่สมบูรณ์ และในสัญญาได้ตกลงกันด้วยข้อเบี้ยปรับเอาไว้ เบี้ยปรับเพราะเหตุผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นเรื่องของคู่สัญญาซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญาไว้ต่อกันว่าลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร การที่ตกลงกันด้วยข้อเบี้ยปรับในการไม่ปฏิบัติตามสัญญานั้นก็ย่อมไม่สมบูรณ์ดุจกัน แม้ถึงคู่กรณีจะได้รู้ว่าข้อสัญญานั้นไม่สมบูรณ์
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 384\nถ้าการชำระหนี้ตามที่สัญญาไว้นั้นไม่สมบูรณ์ การที่ตกลงกันด้วยข้อเบี้ยปรับในการไม่ปฏิบัติตามสัญญานั้นก็ย่อมไม่สมบูรณ์ดุจกัน แม้ถึงคู่กรณีจะได้รู้ว่าข้อสัญญานั้นไม่สมบูรณ์", "section_num": "384" } ]
ไม่ต้อง
[]
ดอกเบี้ยเงินเก็บที่ได้จากการเก็บเงินเป็นสินสมรสหรือไม่
ใช่ เป็นสินสมรส กฏหมายกำหนดให้ดอกผลส่วนตัวเป็นสินสมรสนับแต่สมรสกัน โดยดอกเบี้ยเป็นดอกผลนิตินัย แต่อย่างไรก็ตามต้นเงินเก็บก็ยังคงเป็นสินส่วนตัว แต่ดอกเบี้ยที่ได้หลังจากสมรสเป็นสินสมรส
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474\nสินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน\n(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส\n(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส\n(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว\nถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส", "section_num": "1474" } ]
ใช่ เป็นสินสมรส กฏหมายกำหนดให้ดอกผลส่วนตัวเป็นสินสมรสนับแต่สมรสกัน โดยดอกเบี้ยเป็นดอกผลนิตินัย แต่อย่างไรก็ตามต้นเงินเก็บก็ยังคงเป็นสินส่วนตัว แต่ดอกเบี้ยที่ได้หลังจากสมรสเป็นสินสมรส.
[]
ผู้จัดมีจัดงานสัมนาได้สั่งชุดเบรคจากผู้ประกอบธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่มไปใช้ในงานสัมนาดังกล่าว แต่ยังไม่ได้จ่ายค่าชุคเบรค เช่นนี้ จะให้ผู้ประกอบธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่มที่จ่ายเงินค่าอาหารหรือเครื่องดื่ม เรียกค่าบริการกับผู้จัดงานสัมนาได้หรือไม่
ได้ โดยสิทธิเรียกร้องเรียกเอาค่าที่พัก อาหารหรือเครื่องดื่ม ค่าบริการหรือค่าการงานที่ได้ทำให้แก่ผู้มาพักหรือใช้บริการ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป ให้มีกำหนดอายุความสองปี
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34\nสิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี\n(1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรมหรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง\n(2) ผู้ประกอบเกษตรกรรมหรือการป่าไม้ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบอันเป็นผลิตผลทางเกษตรหรือป่าไม้ เฉพาะที่ใช้สอยในบ้านเรือนของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง\n(3) ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสาร เรียกเอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป\n(4) ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมหรือหอพัก ผู้ประกอบธุรกิจในการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม หรือผู้ประกอบธุรกิจสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการเรียกเอาค่าที่พัก อาหารหรือเครื่องดื่ม ค่าบริการหรือค่าการงานที่ได้ทำให้แก่ผู้มาพักหรือใช้บริการ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป\n(5) ผู้ขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือสลากที่คล้ายคลึงกัน เรียกเอาค่าขายสลาก เว้นแต่เป็นการขายเพื่อการขายต่อ\n(6) ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เรียกเอาค่าเช่า\n(7) บุคคลซึ่งมิได้เข้าอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน (1) แต่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำงานการต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป\n(8) ลูกจ้างซึ่งรับใช้การงานส่วนบุคคล เรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นเพื่อการงานที่ทำ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป\n(9) ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว หรือลูกจ้างรายวัน รวมทั้งผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป\n(10) ครูสอนผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค่าฝึกสอนและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นตามที่ได้ตกลงกันไว้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป\n(11) เจ้าของสถานศึกษาหรือสถานพยาบาล เรียกเอาค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ หรือค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป\n(12) ผู้รับคนไว้เพื่อการบำรุงเลี้ยงดูหรือฝึกสอน เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป\n(13) ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนสัตว์ เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป\n(14) ครูหรืออาจารย์ เรียกเอาค่าสอน\n(15) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป\n(16) ทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย รวมทั้งพยานผู้เชี่ยวชาญเรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือคู่ความเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป\n(17) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ผู้สอบบัญชี หรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือผู้ว่าจ้างให้ประกอบการงานดังกล่าวเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป", "section_num": "193/34" } ]
ได้ โดยสิทธิเรียกร้องเรียกเอาค่าที่พัก อาหารหรือเครื่องดื่ม ค่าบริการหรือค่าการงานที่ได้ทำให้แก่ผู้มาพักหรือใช้บริการ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป ให้มีกำหนดอายุความสองปี
[]
ตัวแทน ต้องรับผิดในการกระทำของตัวแทนช่วงหรือไม่
รับผิดแค่บางกรณี เช่นนายจ้างได้ระบุให้ตัวแทนของนายจ้างให้ตัวแทนสามารถตั้งตัวแทนช่วง ตัวแทนผู้นั้นจะต้องรับผิดในกรณีที่ตนได้รู้ว่าตัวแทนช่วงนั้นเป็นผู้ที่ไม่เหมาะแก่การ หรือเป็นผู้ที่ไม่สมควรไว้วางใจแล้วและไม่ได้แจ้งความนั้นให้ตัวการทราบหรือไม่ได้เลิกถอนตัวแทนช่วงนั้น
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 813\nตัวแทนผู้ใดตั้งตัวแทนช่วงตามที่ตัวการระบุตัวให้ตั้ง ท่านว่าตัวแทนผู้นั้นจะต้องรับผิดแต่เพียงในกรณีที่ตนได้รู้ว่าตัวแทนช่วงนั้นเป็นผู้ที่ไม่เหมาะแก่การ หรือเป็นผู้ที่ไม่สมควรไว้วางใจแล้วและมิได้แจ้งความนั้นให้ตัวการทราบหรือมิได้เลิกถอนตัวแทนช่วงนั้นเสียเอง", "section_num": "813" } ]
รับผิดแค่บางกรณี เช่นนายจ้างได้ระบุให้ตัวแทนของนายจ้างให้ตัวแทนสามารถตั้งตัวแทนช่วง ตัวแทนผู้นั้นจะต้องรับผิดในกรณีที่ตนได้รู้ว่าตัวแทนช่วงนั้นเป็นผู้ที่ไม่เหมาะแก่การ หรือเป็นผู้ที่ไม่สมควรไว้วางใจแล้วและไม่ได้แจ้งความนั้นให้ตัวการทราบหรือไม่ได้เลิกถอนตัวแทนช่วงนั้น.
[]
ทำสัญญาซื้อขายที่ดิน ส.ป.ก. ได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการซื้อขายที่ดิน ส.ป.ก. นั้น วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัย ซึ่งต้องห้าม พ.ร.บ. ปฏิรูปที่ดินฯ มาตรา 39
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150\nการใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ", "section_num": "150" } ]
ไม่ได้
[]
หลังจากที่บริษัทจดทะเบียน และบริษัทต้องการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัท บริษัทสามารถทำได้หรือไม่
ทำได้ แต่บริษัทต้องไปจดทะเบียนภายในกำหนดสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติพิเศษที่ได้ลงมติให้เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมหน้าข้อบังคับของบริษัทนั้น เพื่อต้องการให้บุคคลภายนอกที่มาติดต่อกับบริษัททราบข้อบังคับของบริษัทว่ามีข้อบังคับอย่างไรบ้างเมื่อต้องทำสัญญากับบริษัทจะทราบถึงข้อบังคับและทราบว่าปฏิบัติอะไรได้บ้างจากข้อบังคับนั้นๆ
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1146\nบรรดาข้อบังคับอันได้ตั้งขึ้นใหม่ หรือได้เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะจัดให้ไปจดทะเบียนภายในกำหนดสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติพิเศษ", "section_num": "1146" } ]
ทำได้ แต่บริษัทต้องไปจดทะเบียนภายในกำหนดสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติพิเศษที่ได้ลงมติให้เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมหน้าข้อบังคับของบริษัทนั้น
[]
เจ้าของบ้านเช่า ขายบ้านให้กับคนอื่น คนเช่าต้องออกจากบ้านเช่านั้นหรือไม่
ไม่ต้องออกจากบ้านเช่า เนื่องจากการที่เจ้าของบ้าน ขายบ้านต่อให้กับคนอื่น คนที่ซื้อต่อบ้านนั้นจะได้รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของบ้านเดิม ถ้าเจ้าของบ้านเดิมมีกับผู้เช่าอยู่แล้ว และในระหว่างการโอนกรรมสิทธิ์ซื้อขายบ้านหลังนั้นสัญญาเช่ายังไม่ได้หมดไป หรือยังไม่ถึงกำหนดของสัญญาเช่าเช่นนี้ การโอนบ้านเปลี่ยนเจ้าของบ้านไม่ได้ทำให้สิทธิในการเช่าเดิมไม่ได้ระงับด้วย ทั้งนี้คนที่ซื้อบ้านซึ่งเป็นเจ้าของบ้านคนใหม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าเดิมที่มีไว้กับผู้เช่าต่อจนกว่าจะหมดสัญญาเช่านั้น
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569\nอันสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่า\nผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่านั้นด้วย", "section_num": "569" } ]
ไม่ต้องออกจากบ้านเช่า เนื่องจากการที่เจ้าของบ้าน ขายบ้านต่อให้กับคนอื่น คนที่ซื้อต่อบ้านนั้นจะได้รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของบ้านเดิม ถ้าเจ้าของบ้านเดิมมีกับผู้เช่าอยู่แล้ว และในระหว่างการโอนกรรมสิทธิ์ซื้อขายบ้านหลังนั้นสัญญาเช่ายังไม่ได้หมดไป หรือยังไม่ถึงกำหนดของสัญญาเช่าเช่นนี้ การโอนบ้านเปลี่ยนเจ้าของบ้านไม่ได้ทำให้สิทธิในการเช่าเดิมไม่ได้ระงับด้วย ทั้งนี้คนที่ซื้อบ้านซึ่งเป็นเจ้าของบ้านคนใหม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าเดิมที่มีไว้กับผู้เช่าต่อจนกว่าจะหมดสัญญาเช่านั้น.
[]
ค่าใช้สอยในการตรวจงานบริษัทและการทำรายงาน ผู้ยื่นเรื่องขอให้ตรวจต้องทำการออกเองค่าใช้สอยในการตรวจเองหรือไม่
ใช่ ผู้ยื่นเรื่องราวขอให้ตรวจต้องใช้ค่าใช้สอยที่เกี่ยวกับค่าใช้สอยในการตรวจการตรวจงานบริษัทและการทำรายงาน เว้นแต่ถ้าบริษัทในการประชุมใหญ่ครั้งแรก เมื่อตรวจสำเร็จลงแล้วได้ยินยอมว่าจะจ่ายจากสินทรัพย์ของบริษัทนั้น
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1218\nค่าใช้สอยในการตรวจเช่นนี้ ผู้ยื่นเรื่องราวขอให้ตรวจต้องใช้ทั้งสิ้น เว้นแต่ถ้าบริษัทในคราวประชุมใหญ่ครั้งแรกเมื่อตรวจสำเร็จลงแล้วได้ยินยอมว่าจะจ่ายจากสินทรัพย์ของบริษัทนั้น", "section_num": "1218" } ]
ใช่ ผู้ยื่นเรื่องราวขอให้ตรวจต้องใช้ค่าใช้สอยที่เกี่ยวกับค่าใช้สอยในการตรวจการตรวจงานบริษัทและการทำรายงาน เว้นแต่ถ้าบริษัทในการประชุมใหญ่ครั้งแรก เมื่อตรวจสำเร็จลงแล้วได้ยินยอมว่าจะจ่ายจากสินทรัพย์ของบริษัทนั้น.
[]
กู้ยืมเงินแล้วคิดดอกเบี้ยเกินที่กฎหมายกำหนด สัญญานั้นตกเป็นโมฆะทั้งหมดหรือไม่
ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งหมด การตกลงดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ตกเป็นโมฆะเฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด แต่ส่วนเงินต้นยังคงสมบูรณ์ ซึ่งผู้ให้กู้มีเจตนาที่จะแบ่งแยกการกู้เงินออกเป็นสองส่วน คือส่วนที่เป็นเงินดอกเบี้ย และส่วนที่เป็นเงินต้นแยกส่วนกัน ส่วนนิติกรรมการกู้ยืมยังคงสมบูรณ์อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 หนี้กู้ยืมส่วนเงินต้นจึงเป็นหนี้ที่สมบูรณ์
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173\nถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น เว้นแต่จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้", "section_num": "173" } ]
ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งหมด การตกลงดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ตกเป็นโมฆะเฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด แต่ส่วนเงินต้นยังคงสมบูรณ์
[]
พ่อ แม่ที่หย่ากัน แล้วลูกต้องอยู่กับแม่ พ่อต้องจ่ายเงินค่าเทอมหรือค่ากินอยู่ให้ลูกไหม
พ่อยังต้องอุปการะเลี้ยงดูลูก ถ้าลูกเป็นลูกโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือพ่อได้รับรองบุตรไว้ แม้พ่อกับแม่ได้หย่าร้างกันไปแล้วก็ตาม
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584\nการที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด ไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นพ้นจากหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตามกฎหมาย", "section_num": "1584" } ]
พ่อยังต้องอุปการะเลี้ยงดูลูก ถ้าลูกเป็นลูกโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือพ่อได้รับรองบุตรไว้ แม้พ่อกับแม่ได้หย่าร้างกันไปแล้วก็ตาม
[]
ขับรถชนกันโดยที่ประมาททั้งคู่ และต้องการเรียกใช้ค่าสินไหมทดแทน จะเอาเรื่องความเสียหายมากหรือน้อยที่ขึ้นมาเป็นเกณฑ์เพื่อกำหนดค่าเสียหายได้ ใช่หรือไม่
ไม่ใช่ การเรียกกำหนดค่าเสียหาย จะพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันอย่างไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ไม่ได้เอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์กำหนดค่าความเสียหาย
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223\nถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร\nวิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้แม้ทั้งที่ความผิดของฝ่ายผู้ที่เสียหายจะมีแต่เพียงละเลยไม่เตือนลูกหนี้ให้รู้สึกถึงอันตรายแห่งการเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจจะรู้ได้ หรือเพียงแต่ละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วย อนึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา 220 นั้นท่านให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม", "section_num": "223" } ]
ไม่ใช่ การเรียกกำหนดค่าเสียหาย จะพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันอย่างไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ไม่ได้เอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์กำหนดค่าความเสียหาย.
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 220\nลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในความผิดของตัวแทนแห่งตนกับทั้งของบุคคลที่ตนใช้ในการชำระหนี้นั้นโดยขนาดเสมอกับว่าเป็นความผิดของตนเองฉะนั้น แต่บทบัญญัติแห่งมาตรา 373 หาใช้บังคับแก่กรณีเช่นนี้ด้วยไม่", "section_num": "220" } ]
เช็คที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม ธนาคารเป็นผู้ต้องรับผิดเองหรือไม่
ใช่ ธนาคารต้องเป็นผู้รับผิดเอง เนื่องจากกฎหมายประสงค์ให้ธนาคารใช้ความระมัดระวังในเรื่องลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายยิ่งกว่าในเรื่องลายมือชื่อของผู้รับเงิน หรือผู้สลักหลัง และกฎหมายให้ความคุ้มครองแก่ธนาคารที่จ่ายเงินไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตปราศจากประมาทเลินเล่อเฉพาะในกรณีที่ลายมือชื่อผู้รับเงินหรือลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอมเท่านั้น ส่วนลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมนั้นกฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครอง
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1009\nถ้ามีผู้นำตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมาเบิกต่อธนาคารใด และธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาทเลินเล่อไซร้ ท่านว่าธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน หรือการสลักหลังในภายหลังรายใด ๆ ได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น และถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอมหรือปราศจากอำนาจก็ตาม ท่านให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ", "section_num": "1009" } ]
ใช่ ธนาคารต้องเป็นผู้รับผิดเอง เนื่องจากกฎหมายประสงค์ให้ธนาคารใช้ความระมัดระวังในเรื่องลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายยิ่งกว่าในเรื่องลายมือชื่อของผู้รับเงิน หรือผู้สลักหลัง และกฎหมายให้ความคุ้มครองแก่ธนาคารที่จ่ายเงินไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตปราศจากประมาทเลินเล่อเฉพาะในกรณีที่ลายมือชื่อผู้รับเงินหรือลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอมเท่านั้น ส่วนลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมนั้นกฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครอง.
[]
ผู้ทำพินัยกรรมสามารถลงลายพิมพ์นิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อได้หรือไม่
ได้ แต่จะต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนในขณะที่ผู้ทาพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือ โดยพยานที่ลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือดังกล่าวไม่จำเป็นต้องระบุว่าเป็นผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือแต่อย่างใด
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1665\nเมื่อผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อตามมาตรา 1656, 1658, 1660 จะให้เสมอกับลงลายมือชื่อได้ ก็แต่ด้วยลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนในขณะนั้น", "section_num": "1665" } ]
ได้ แต่จะต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนในขณะที่ผู้ทาพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือ โดยพยานที่ลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือดังกล่าวไม่จำเป็นต้องระบุว่าเป็นผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือแต่อย่างใด
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656\nพินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น\nการขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้", "section_num": "1656" }, { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658\nพินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้ กล่าวคือ\n(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน\n(2) กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง\n(3) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่าข้อความที่กรมการอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกันกับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ\n(4) ข้อความที่กรมการอำเภอจดไว้นั้น ให้กรมการอำเภอลงลายมือชื่อและลงวัน เดือน ปี ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติอนุมาตรา 1 ถึง 3 ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ\nการขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และกรมการอำเภอจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้", "section_num": "1658" }, { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1660\nพินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารลับก็ได้ กล่าวคือ\n(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม\n(2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้น แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น\n(3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อกรมการอำเภอ และพยานอีกอย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย\n(4) เมื่อกรมการอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมและวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองนั้นและประทับตราตำแหน่งแล้ว ให้กรมการอำเภอผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น\nการขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้", "section_num": "1660" } ]
จ้างช่างรับเหมามาสร้างบ้าน แต่ช่างรับเหมาเดิมทำงานไม่เสร็จตามกำหนดเวลา ทำให้ต้องจ้างช่างรับเหมาเจ้าอื่นแทน ผู้จ้างต้องเสียเงินมากขึ้น ผู้จ้างจะเรียกเงินค่าเสียหายจากผู้รับเหมาเดิมได้หรือไม่
ได้ ผู้ว่าจ้างจะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ หากว่าผู้รับเหมาได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าแล้วว่าอาจจะเกิดความเสียหายจากการส่งมอบงานล่าช้า ผู้รับเหมาจะต้องรับผิดตามข้อกำหนดในสัญญา เมื่อผู้ว่าจ้างต้องจ้างผู้ควบคุมงานนั้นอีกต่อหนึ่งจนงานเสร็จ จึงเป็นค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ผู้รับเหมาเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นค่าเสียหายโดยตรง เป็นความเสียหายที่ตามปกติเกิดขึ้นจากการที่ผู้รับเหมาทำงานไม่เสร็จตามกำหนดที่ได้ระบุไว้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222\nการเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น\nเจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้กระทั่งเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ หากว่าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว", "section_num": "222" } ]
ได้ ผู้ว่าจ้างจะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ หากว่าผู้รับเหมาได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าแล้วว่าอาจจะเกิดความเสียหายจากการส่งมอบงานล่าช้า ผู้รับเหมาจะต้องรับผิดตามข้อกำหนดในสัญญา เมื่อผู้ว่าจ้างต้องจ้างผู้ควบคุมงานนั้นอีกต่อหนึ่งจนงานเสร็จ จึงเป็นค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ผู้รับเหมาเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นค่าเสียหายโดยตรง เป็นความเสียหายที่ตามปกติเกิดขึ้นจากการที่ผู้รับเหมาไม่ทำงานเสร็จตามกำหนดที่ได้ระบุไว้.
[]
เจ้าหนี้ได้นำกลุ่มชายหลายคน แต่งกายคล้ายตำรวจไปที่บ้านของลูกหนี้ ทำให้ลูกหนี้กลัว จึงต้องทำสัญญากู้ยืมเงินเพื่อใช้หนี้เจ้าหนี้ สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นโมฆียะหรือไม่
ไม่เป็นโมฆียะ การกระทำดังกล่าวของเจ้าหนี้ เป็นเพียงการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ด้วยพฤติการณ์และการกระทำที่ไม่เหมาะสม ไม่ได้เกิดภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงถึงขนาดที่จะถือได้ว่าเป็นการข่มขู่ให้สัญญากู้ยืมเงิน
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164\nการแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ\nการข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น", "section_num": "164" } ]
ไม่เป็นโมฆียะ
[]
เอาทองไปจำนำ และได้ตกลงให้ผู้รับจํานําได้กรรมสิทธิ์ในทอง ก่อนถึงเวลาชำระหนี้ได้ไหม
ไม่ได้ ข้อตกลงดังกล่าวไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ ถ้าตกลงให้ผู้รับจํานําได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ถ้าผู้จํานําไม่ชำระหนี้ ซึ่งข้อตกลงที่ไม่สมบูรณ์ดังกล่าวนี้ หากมีการมาฟ้องร้องต่อศาลให้บังคับกันเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลง ศาลจะไม่บังคับให้ แต่ ถ้าคู่กรณีปฏิบัติข้อตกลงนั้นไปแล้ว แม้กฎหมายจะบัญญัติว่าไม่สมบูรณ์ การที่ปฏิบัติไปแล้วก็ใช้ได้ คู่กรณีฝ่าย หนึ่งจะฟ้องให้ยกเลิกการที่ทําไปแล้วนั้นไม่ได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 756\nการที่จะตกลงกันไว้เสียแต่ก่อนเวลาหนี้ถึงกำหนดชำระเป็นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ ให้ผู้รับจำนำเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจำนำ หรือให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นนอกจากตามบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการบังคับจำนำนั้นไซร้ ข้อตกลงเช่นนั้นท่านว่าไม่สมบูรณ์", "section_num": "756" } ]
ไม่ได้ ข้อตกลงดังกล่าวไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ ถ้าตกลงให้ผู้รับจํานําได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ถ้าผู้จํานําไม่ชำระหนี้ ซึ่งข้อตกลงที่ไม่สมบูรณ์ดังกล่าวนี้ หากมีการมาฟ้องร้องต่อศาลให้บังคับกันเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลง ศาลจะไม่บังคับให้ แต่ ถ้าคู่กรณีปฏิบัติข้อตกลงนั้นไปแล้ว แม้กฎหมายจะบัญญัติว่าไม่สมบูรณ์ การที่ปฏิบัติไปแล้วก็ใช้ได้ คู่กรณีฝ่าย หนึ่งจะฟ้องให้ยกเลิกการที่ทําไปแล้วนั้นไม่ได้
[]
นายจ้างย้ายให้ลูกจ้างไปทำงานที่บริษัทอื่นได้หรือไม่
ได้ บริษัทใหม่รับโอนลูกจ้างจากบริษัทเดิม เมื่อลูกจ้างยินยอม ซึ่งบริษัทใหม่สัญญาจ้างแรงงานฉบับเดิมไม่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานฉบับใหม่ นายจ้างเดิมกับนายจ้างใหม่สามารถกระทำการได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577\nนายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย\nลูกจ้างจะให้บุคคลภายนอกทำงานแทนตนก็ได้เมื่อนายจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย\nถ้าคู่สัญญาฝ่ายใดทำการฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้", "section_num": "577" } ]
ได้ บริษัทใหม่รับโอนลูกจ้างจากบริษัทเดิม เมื่อลูกจ้างยินยอม ซึ่งบริษัทใหม่สัญญาจ้างแรงงานฉบับเดิมไม่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานฉบับใหม่ นายจ้างเดิมกับนายจ้างใหม่สามารถกระทำการได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
[]
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ก จะรวมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดจดทะเบียน ข รวมเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนใหม่เพียงห้างเดียวทำได้หรือไม่
ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด หรือถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากห้างหุ้นส่วนทั้งหมดก็ต้องมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1073\nห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหนึ่งจะควบเข้าเป็นอันเดียวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนอีกห้างหนึ่งก็ได้ โดยความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น", "section_num": "1073" } ]
ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด หรือถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากห้างหุ้นส่วนทั้งหมดก็ต้องมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา
[]
ทำรับเหมาก่อสร้าง และลูกค้าบอกเลิกสัญญา จะได้เงินค่าก่อสร้างทำไปบางส่วนแล้วคืนหรือไม่
ได้ ถ้าในสัญญาไม่ได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่นว่าในเรื่องการเลิกสัญญา การเลิกสัญญาจะทำให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะเดิม
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391\nเมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่\nส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้\nส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น\nการใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่", "section_num": "391" } ]
ได้ ถ้าในสัญญาไม่ได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่นว่าในเรื่องการเลิกสัญญา การเลิกสัญญาจะทำให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะเดิม
[]
สามารถเขียนระบุชื่อตั้งผู้ปกครองให้ลูกในพินัยกรรมได้หรือไม่
ได้ การตั้งผู้ปกครองตามกฎหมายกำหนดให้ตั้งโดยคำสั่งศาล ก่อนพ่อหรือแม่ของเด็กเสียชีวิตได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมว่าต้องการให้ใครเป็นผู้ปกครองเด็กในกรณีที่พ่อหรือแม่ได้เสียชีวิตแล้ว ซึ่งการตั้งผู้ปกครองถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งผู้ปกครองตามข้อกำหนดพินัยกรรม แต่ถ้าพินัยกรรมนัยนั้นไม่มีผลบังคับก็ไม่สามารถตั้งผู้ปกครองตามพินัยกรรมนั้นได้ หรือในกรณีที่พินัยกรรมได้ระบุชื่อแต่ ศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของเด็ก หรือเคยมีคดีในศาลกับเด็ก พ่อแม่เด็กหรือญาติพี่น้องของพ่อกับแม่ของเด็ก กฎหมายห้ามไม่ให้ตั้งบุคคลตั้งกล่าวเป็นผู้ปกครองครองเด็ก
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586\nผู้ปกครองตามมาตรา 1585 นั้น ให้ตั้งโดยคำสั่งศาลเมื่อมีการร้องขอของญาติของผู้เยาว์ อัยการ หรือผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายทีหลังได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ปกครอง\nภายใต้บังคับมาตรา 1590 การตั้งผู้ปกครองนั้นถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม เว้นแต่พินัยกรรมนั้นไม่มีผลบังคับหรือบุคคลที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนั้นเป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตามมาตรา 1587", "section_num": "1586" } ]
ได้ การตั้งผู้ปกครองตามกฎหมายกำหนดให้ตั้งโดยคำสั่งศาล ก่อนพ่อหรือแม่ของเด็กเสียชีวิตได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมว่าต้องการให้ใครเป็นผู้ปกครองเด็กในกรณีที่พ่อหรือแม่ได้เสียชีวิตแล้ว ซึ่งการตั้งผู้ปกครองถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งผู้ปกครองตามข้อกำหนดพินัยกรรม แต่ถ้าพินัยกรรมนัยนั้นไม่มีผลบังคับก็ไม่สามารถตั้งผู้ปกครองตามพินัยกรรมนั้นได้ หรือในกรณีที่พินัยกรรมได้ระบุชื่อแต่ ศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของเด็ก หรือเคยมีคดีในศาลกับเด็ก พ่อแม่เด็กหรือญาติพี่น้องของพ่อกับแม่ของเด็ก กฎหมายห้ามไม่ให้ตั้งบุคคลตั้งกล่าวเป็นผู้ปกครองครองเด็ก.
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585\nบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้วนั้น จะจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ก็ได้\nในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนตามมาตรา 1582 วรรคหนึ่ง ศาลจะตั้งผู้ปกครองในส่วนที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองนั้นก็ได้ หรือในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินตามมาตรา 1582 วรรคสอง ศาลจะตั้งผู้ปกครองเพื่อจัดการทรัพย์สินก็ได้", "section_num": "1585" }, { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1590\nผู้ปกครองมีได้คราวหนึ่งเพียงคนเดียว แต่ในกรณีมีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ตั้งผู้ปกครองหลายคนหรือเมื่อมีผู้ร้องขอโดยมีเหตุผลอันสมควร ให้ศาลมีอำนาจตั้งผู้ปกครองได้ตามจำนวนที่ศาลเห็นว่าจำเป็น ในกรณีที่ตั้งผู้ปกครองหลายคนศาลจะกำหนดให้ผู้ปกครองเหล่านั้นกระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่ง ๆ ก็ได้", "section_num": "1590" }, { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1587\nบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วอาจถูกตั้งเป็นผู้ปกครองได้ เว้นแต่\n(1) ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ\n(2) ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย\n(3) ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์\n(4) ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดากับผู้เยาว์\n(5) ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง", "section_num": "1587" } ]
ย้ายทางภาระจำยอมได้หรือไม่
ได้ แต่การย้ายนั้นต้องไม่ทำให้ความสะดวกลดลงและเมื่อย้ายก็ไม่ทำให้สิทธิการใช้ภารจำยอมลดน้อยลง เพราะจะทำให้ย้ายภารจำยอมไม่ได้ ยกเว้นจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ระหว่างเจ้าของภารยทรัพย์กับเจ้าของสามยทรัพย์
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1394\nถ้ามีการแบ่งแยกภารยทรัพย์ ท่านว่าภาระจำยอมยังคงมีอยู่ทุกส่วนที่แยกออก แต่ถ้าในส่วนใดภาระจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการ ท่านว่าเจ้าของส่วนนั้นจะเรียกให้พ้นจากภาระจำยอมก็ได้", "section_num": "1394" } ]
ได้ แต่การย้ายนั้นต้องไม่ทำให้ความสะดวกลดลงและเมื่อย้ายก็ไม่ทำให้สิทธิการใช้ภารจำยอมลดน้อยลง เพราะจะทำให้ย้ายภารจำยอมไม่ได้ ยกเว้นจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ระหว่างเจ้าของภารยทรัพย์กับเจ้าของสามยทรัพย์
[]
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดกได้หรือไม่
ไม่ได้ ถ้าเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ให้กับผู้จัดการมรดก หรือทายาทจำนวนข้างมากไม่ได้ยินยอมให้หักค่าใช้จ่ายหรือหักค่าบำเหน็จให้แก่ผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายหรือไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จจากกองมรดกได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1721\nผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดก เว้นแต่พินัยกรรม หรือทายาทโดยจำนวนข้างมากจะได้กำหนดให้ไว้", "section_num": "1721" } ]
ไม่ได้ ถ้าเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ให้กับผู้จัดการมรดก หรือทายาทจำนวนข้างมากไม่ได้ยินยอมให้หักค่าใช้จ่ายหรือหักค่าบำเหน็จให้แก่ผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายหรือไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จจากกองมรดกได้.
[]
หลังคาเพื่อนบ้านเกือบจะพังและคิดว่าถ้าหน้าฝนมีพายุเข้ารุนแรงอาจจะพังและพัดโดนบ้านเราได้ เราจะบอกให้เพื่อนบ้านซ่อมหลังคานั้นได้ไหม
ได้ เพื่อเป็นการป้องกันเหตุที่อาจจะเกิดความเสียหายในอนาคต แม้ยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นก็มีสิทธิที่จะเรียกให้เจ้าของหรือผู้ครองบ้านนั้นจัดการตามจำเป็นได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 435\nบุคคลใดจะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น บุคคลผู้นั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้", "section_num": "435" } ]
ได้ เพื่อเป็นการป้องกันเหตุที่อาจจะเกิดความเสียหายในอนาคต แม้ยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นก็มีสิทธิที่จะเรียกให้เจ้าของหรือผู้ครองบ้านนั้นจัดการตามจำเป็นได้
[]
การที่ผู้ซื้อได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกแล้ว อายุความรับผิดในการรอนสิทธิมีกำหนด 3 เดือน ใช่หรือไม่
ใช่ ถ้าผู้ซื้อ ได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก อายุความมีกำหนด 3 เดือน นับแต่วันประนีประนอมยอมความตามบุคคลภายนอกเรียกร้องนั้น
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481\nถ้าผู้ขายไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม หรือถ้าผู้ซื้อได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก หรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องไซร้ ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันคำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด หรือนับแต่วันประนีประนอมยอมความ หรือวันที่ยอมตามบุคคลภายนอกเรียกร้องนั้น", "section_num": "481" } ]
ใช่ ถ้าผู้ซื้อ ได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก อายุความมีกำหนด 3 เดือน นับแต่วันประนีประนอมยอมความตามบุคคลภายนอกเรียกร้องนั้น
[]
ถ้าสามีอยากหย่ากับภรรยา แต่ภรรยาไม่ต้องการหย่า สามีจะหย่ากับภรรยาได้หรือไม่
ไม่ได้ การหย่าจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อสามีและภรรยามีต้องการหย่าเหมือนกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายนั้นกระทำได้ 2 วิธี คือ การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน หรือการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน และต้องมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน อย่างไรก็ดีการหย่าจะสามารถเกิดขึ้นได้ก็เมื่อมีคำพิพากษาของศาล หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก หรือหากให้คู่สมรสหย่าขาดจากกัน โดยมีเงื่อนไขให้ไปจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียน การสมรสจึงจะสิ้นสุด
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514\nการหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือโดยคำพิพากษาของศาล\nการหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน", "section_num": "1514" } ]
ไม่ได้
[]
การนั่งพิจารณาคดีในคําร้องบังคับหลักประกันโดยจําหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อนําเงินมาชําระหนี้ ศาลจะนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันหรือไม่
ใช่ กรณีที่ผู้ให้หลักประกัน หรือผู้ที่ยึดถือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ไม่ส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้รับหลักประกัน โดยผู้รับหลักประกันได้คําร้องด้วยว่าจะบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ หรือโดยจําหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อนําเงินมาชําระหนี้แล้ว ศาลจะกำหนดวันพิจารณาโดยเร็ว และศาลนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันทุกวันจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558", "section_content": "พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 มาตรา 47 เมื่อได้รับคำร้องตามมาตรา 46 ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็วและออกหมายเรียกไปยังผู้ให้หลักประกัน หรือผู้ที่ยึดถือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ในหมายนั้นให้แจ้งเหตุที่ผู้รับหลักประกันร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำพิพากษาบังคับหลักประกันและวิธีการบังคับหลักประกันตามคำร้องและข้อความว่าให้ผู้ให้หลักประกันมาศาลเพื่อให้การและสืบพยานในวันเดียวกัน และให้ศาลสั่งให้ผู้รับหลักประกันมาศาลในวันนัดพิจารณานั้นด้วย\nให้ศาลนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันทุกวันจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เว้นแต่กรณีมีพฤติการณ์พิเศษอันมิอาจก้าวล่วงได้\nให้คู่ความมาศาลในวันนัดพิจารณาทุกนัด และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 200 มาตรา 201 มาตรา 202 มาตรา 203 มาตรา 204 มาตรา 205 และมาตรา 206 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีของศาลตามมาตรานี้โดยอนุโลม", "section_num": "47" } ]
ใช่ กรณีที่ผู้ให้หลักประกัน หรือผู้ที่ยึดถือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ไม่ส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้รับหลักประกัน โดยผู้รับหลักประกันได้คําร้องด้วยว่าจะบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ หรือโดยจําหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อนําเงินมาชําระหนี้แล้ว ศาลจะกำหนดวันพิจารณาโดยเร็ว และศาลนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันทุกวันจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น.
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558", "section_content": "พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 มาตรา 46 เมื่อมีเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ หากผู้ให้หลักประกันหรือผู้ที่ยึดถือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไม่ยินยอมส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ผู้รับหลักประกันอาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาบังคับหลักประกัน โดยให้ระบุในคำร้องด้วยว่าจะบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ หรือโดยจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อนำเงินมาชำระหนี้", "section_num": "46" } ]
ระหว่างแก้ไขข้อมูลแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนตาม สำนักงาน ก.ล.ต. แจ้งให้ถูกต้อง ผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัล สามารถเสนอขายโทเคนดิจิทัลดังกล่าวแก่คนทั่วไปได้หรือไม่
ไม่ได้ ในระหว่างที่ สํานักงาน ก.ล.ต. ให้ผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลแก้ไขข้อมูลแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนให้ถูกต้องนั้น หากยังไม่แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดง รายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้มี การดําเนินการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง และในกรณีที่ผู้เสนอขายฝ่าฝืนเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนในระหว่างที่สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นเงินไม่เกินสองเท่าของราคาขายของโทเคนดิจิทัลทั้งหมดซึ่งผู้นั้นได้เสนอขาย แต่ทั้งนี้ เงินค่าปรับต้องไม่น้อยกว่าห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
[ { "law_name": "พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561", "section_content": "พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 มาตรา 62 ผู้ใดเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนในระหว่างที่สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนตามมาตรา 22 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นเงินไม่เกินสองเท่าของราคาขายของโทเคนดิจิทัลทั้งหมดซึ่งผู้นั้นได้เสนอขาย แต่ทั้งนี้ เงินค่าปรับต้องไม่น้อยกว่าห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ", "section_num": "62" } ]
ไม่ได้ ในระหว่างที่ สํานักงาน ก.ล.ต. ให้ผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลแก้ไขข้อมูลแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนให้ถูกต้องนั้น หากยังไม่แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง.
[ { "law_name": "พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561", "section_content": "พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 มาตรา 22 ภายหลังจากวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ให้สำนักงาน ก.ล.ต. มีอำนาจดำเนินการ ดังต่อไปนี้\n(1) ในกรณีที่สำนักงาน ก.ล.ต. ตรวจพบว่าข้อความหรือรายการในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและหนังสือชี้ชวนเป็นเท็จ หรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสำคัญอันอาจทำให้ผู้ลงทุนเสียหาย ให้สำนักงาน ก.ล.ต. มีอำนาจสั่งระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน และมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตนั้นได้ในทันที\n(2) ในกรณีที่สำนักงาน ก.ล.ต. ตรวจพบว่าข้อความหรือรายการในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและหนังสือชี้ชวนคลาดเคลื่อนในสาระสำคัญ หรือมีเหตุการณ์ที่มีผลให้ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและหนังสือชี้ชวนเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ทั้งนี้ อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการลงทุนของผู้ลงทุน ให้สำนักงาน ก.ล.ต. มีอำนาจสั่งระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้มีการดำเนินการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและดำเนินการอื่นใดตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดเพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงการแก้ไขข้อมูลดังกล่าว และหากไม่ดำเนินการตามที่กำหนด ให้สำนักงาน ก.ล.ต. มีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตนั้นได้\n(3) ในกรณีที่สำนักงาน ก.ล.ต. ตรวจพบว่าข้อความหรือรายการในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและหนังสือชี้ชวนคลาดเคลื่อนในลักษณะอื่นที่มิใช่กรณีตาม (1) หรือ (2) ให้สำนักงาน ก.ล.ต. มีอำนาจสั่งให้ผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ยื่นแบบดังกล่าวแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง และหากไม่แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ให้สำนักงาน ก.ล.ต. มีอำนาจสั่งระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้มีการดำเนินการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง\nการสั่งการของสำนักงาน ก.ล.ต. ตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบถึงการดำเนินการใด ๆ ของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลก่อนที่จะมีการสั่งการดังกล่าว และไม่กระทบถึงสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายของบุคคลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23", "section_num": "22" } ]
หอการค้าต่างประเทศสามารถแบ่งปันผลกำไรให้แก่สมาชิกได้หรือไม่
ไม่ได้ หอการค้า มี 4 ประเภท 1.หอการค้าจังหวัด 2.หอการค้าไทย 3.หอการค้าต่างประเทศ 4.สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งกฎหมายห้ามไม่ให้หอการค้าแบ่งบันผลกำไร หรือรายได้ให้แก่สมาชิก หรือห้ามไม่ให้หอการค้าดำเนินการในทางการเมือง
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509", "section_content": "พระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509 มาตรา 30 ห้ามมิให้หอการค้าแบ่งปันผลกำไรหรือรายได้ให้แก่สมาชิก หรือดำเนินการในทางการเมือง", "section_num": "30" } ]
ไม่ได้
[]
สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของสมาชิกสำหรับหนี้ที่ยังไม่ได้รับชำระได้หรือไม่
ได้ แต่ ทั้งนี้ สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องยื่นขอรับชำระหนี้ภายในระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546", "section_content": "พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 มาตรา 87 ในการดำเนินการตามมาตรา 84 หากทรัพย์สินของสมาชิกที่สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับมาหรือมีไว้ตามมาตรา 82 ในส่วนที่เป็นของสมาชิกมีไม่เพียงพอกับหนี้ที่สมาชิกมีต่อสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของสมาชิกสำหรับหนี้ที่ยังไม่ได้รับชำระ ทั้งนี้ ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483", "section_num": "87" } ]
ได้ แต่ ทั้งนี้ สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องยื่นขอรับชำระหนี้ภายในระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546", "section_content": "พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 มาตรา 82 ในกรณีที่สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับมาหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินจากสมาชิกทั้งที่เป็นของสมาชิกและของลูกค้าเพื่อเป็นประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งของสมาชิกและของลูกค้า หรือทรัพย์สินที่สมาชิกนำมาวางไว้กับสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชำระหนี้ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดเก็บทรัพย์สินนั้นแยกออกจากทรัพย์สินของตนและต้องจัดทำและเก็บรักษาบัญชีทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกแต่ละรายข้างต้นแยกออกจากบัญชีทรัพย์สินของตน\nในการจัดทำและเก็บรักษาบัญชีทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งนั้น หากมีทรัพย์สินของลูกค้าของสมาชิกอยู่ด้วย ให้สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดทำและเก็บรักษาบัญชีทรัพย์สินดังกล่าวแยกต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินของสมาชิกด้วย\nประเภทของทรัพย์สินที่นำมาวางเป็นประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกและของลูกค้า การจัดเก็บทรัพย์สิน การจัดทำและเก็บรักษาบัญชีทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด\nให้สันนิษฐานว่ารายการและจำนวนทรัพย์สินในบัญชีตามวรรคหนึ่งและวรรคสองถูกต้อง เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าเป็นอย่างอื่น", "section_num": "82" }, { "law_name": "พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546", "section_content": "พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 มาตรา 84 เมื่อสมาชิกถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยไม่ชักช้า และให้สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดำเนินการดังต่อไปนี้\n(1) ล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สมาชิกทำเพื่อประโยชน์ของตนเองที่คงค้างอยู่ ณ วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในกฎเกณฑ์ของสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า\n(2) บังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์สินในส่วนของสมาชิกที่สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับมาหรือมีไว้ตามมาตรา 82 ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเก็บรักษาโดยสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเองหรือสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้นำไปวางหรือฝากไว้กับบุคคลอื่น สำหรับหนี้ที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทำก่อนหรือในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกตาม (1) หรือหนี้ที่สมาชิกต้องรับผิดชอบต่อสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าตามมาตรา 43\nในการนำทรัพย์สินของสมาชิกออกขายเพื่อการชำระหนี้ หากทรัพย์สินนั้นเป็นหลักทรัพย์ ให้สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขายในตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์นั้นเป็นปกติ หากไม่สามารถขายในตลาดนั้นได้\nให้นำออกขายโดยวิธีการอื่นที่สามารถทำให้ได้ราคาที่เป็นธรรมแก่สมาชิก\n(3) นำหนี้ที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สมาชิกเป็นผู้รับผิดชอบในการชำระหนี้ต่อสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้ทำก่อนหรือในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิกตาม (1) หรือหนี้ที่สมาชิกต้องรับผิดชอบต่อสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าตามมาตรา 43 มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นหนี้สมาชิกอยู่ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่ามูลแห่งหนี้ทั้งสองฝ่ายจะไม่มีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันหรือเป็นหนี้ที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา หรือสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์\nในกรณีหนี้ที่สมาชิกมีอยู่ต่อสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นหนี้ที่อยู่ในเงื่อนไขบังคับก่อน เมื่อสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขอหักกลบลบหนี้ สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะต้องให้ประกันสำหรับจำนวนที่ขอหักกลบลบหนี้นั้นแก่บุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการทรัพย์สินของสมาชิกตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย", "section_num": "84" } ]
ข้อกำหนดห้ามโอนอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่สามารถจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้มีผลทางกฎหมายอย่างไร
ข้อกำหนดห้ามโอนเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่สามารถจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้ ให้ถือว่าไม่มีเลย คำอธิบายขยายความเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1702 ข้อกำหนดห้ามโอนอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่อาจจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้นั้น ให้ถือว่าไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนสังหาริมทรัพย์
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1702\nข้อกำหนดห้ามโอนอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่อาจจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้นั้น ให้ถือว่าเป็นอันไม่มีเลย\nข้อกำหนดห้ามโอนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการห้ามโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่\nบทบัญญัติในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับแก่เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งแพและสัตว์พาหนะด้วย", "section_num": "1702" } ]
ข้อกำหนดห้ามโอนเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่สามารถจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้ ให้ถือว่าไม่มีเลย
[]
ถ้ากฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิประโยชน์ของประชาชน หรือไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองและรักษาความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน คณะกรรมการ ก.ล.ต.มีอำนาจสั่งอะไร
คณะกรรมการ ก.ล.ต.มีอำนาจสั่งให้ตลาดหลักทรัพย์กำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม ยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ คำอธิบายขยายความเพิ่มเติม ตาม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 170/1 ในกรณีที่ปรากฏต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่า กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิประโยชน์ของประชาชนหรือไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองและรักษาความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอำนาจสั่งให้ตลาดหลักทรัพย์กำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม ยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้วได้
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535", "section_content": "พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 170/1 ในกรณีที่ปรากฏต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่า กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิประโยชน์ของประชาชนหรือไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองและรักษาความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอำนาจสั่งให้ตลาดหลักทรัพย์กำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม ยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้วได้", "section_num": "170/1" } ]
คณะกรรมการ ก.ล.ต.มีอำนาจสั่งให้ตลาดหลักทรัพย์กำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม ยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่
[]
เมื่อสมาคมตั้งขึ้นเพื่อทำกิจการ เมื่อกิจการนั้นสำเร็จ คณะกรรมการของสมาคมต้องแจ้งการเลิกสมาคมภายในกี่วัน
ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเลิกสมาคม คำอธิบายขยายความเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 105 เมื่อสมาคมมีเหตุต้องเลิกตามมาตรา 101 (1) (2) (3) หรือ (4) ให้คณะกรรมการของสมาคมที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกสมาคมแจ้งการเลิกสมาคมต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเลิกสมาคม
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 105\nเมื่อสมาคมมีเหตุต้องเลิกตามมาตรา 101 (1) (2) (3) หรือ (4) ให้คณะกรรมการของสมาคมที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกสมาคมแจ้งการเลิกสมาคมต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเลิกสมาคม\nในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้สมาคมล้มละลายตามมาตรา 101 (5) หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกสมาคมตามมาตรา 104 ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบด้วย\nให้นายทะเบียนประกาศการเลิกสมาคมในราชกิจจานุเบกษา", "section_num": "105" } ]
ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเลิกสมาคม
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 101\nสมาคมย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้\n(1) เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับ\n(2) ถ้าสมาคมตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น\n(3) ถ้าสมาคมตั้งขึ้นเพื่อกระทำกิจการใด เมื่อกิจการนั้นสำเร็จแล้ว\n(4) เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก\n(5) เมื่อสมาคมล้มละลาย\n(6) เมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมออกจากทะเบียนตามมาตรา 102\n(7) เมื่อศาลสั่งให้เลิกตามมาตรา 104", "section_num": "101" }, { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 104\nเมื่อมีกรณีตามมาตรา 102 ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมออกจากทะเบียนได้ ถ้านายทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอโดยไม่แจ้งเหตุผลให้ผู้ร้องขอทราบภายในเวลาอันสมควร หรือนายทะเบียนได้แจ้งเหตุผลให้ทราบแล้วแต่ผู้ร้องขอไม่พอใจในเหตุผลดังกล่าว ผู้ร้องขอนั้นจะร้องขอต่อศาลให้สั่งเลิกสมาคมนั้นเสียก็ได้", "section_num": "104" } ]
พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 อธิบดีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดในเรื่องอะไรบ้าง
1) ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ (2) ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี (3) ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี (4) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (5) กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง (6) คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ คำอธิบายขยายความเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 7 อธิบดีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (1) ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ (2) ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี (3) ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี (4) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (5) กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง (6) คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543", "section_content": "พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 7 อธิบดีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดในเรื่อง ดังต่อไปนี้\n(1) ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ\n(2) ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี\n(3) ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี\n(4) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี\n(5) กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง\n(6) คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้\nในการประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีคำนึงถึงมาตรฐานการบัญชีและข้อคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันวิชาชีพบัญชี\nข้อกำหนดตาม (5) และ (6) ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีด้วย\nข้อกำหนดตาม (1) (2) (3) และ (4) หากเรื่องนั้นมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะนั้นแล้ว ให้ถือว่าได้จัดทำบัญชีโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว", "section_num": "7" } ]
1) ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ 2) ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี 3) ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี 4) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี 5) กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง 6) คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้
[]
ผู้จัดการซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายโทเคนดิจิทัล กระทำการทุจริต หลอกลวงทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากประชาชนมีโทษอย่างไร
มีโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท คำอธิบายขยายความเพิ่มเติมตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 มาตรา 82 ผู้จัดการซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลใดตามมาตรา 89 โดยทุจริต หลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ประชาชน และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากประชาชน
[ { "law_name": "พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561", "section_content": "พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 มาตรา 82 กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลใดตามมาตรา 89 โดยทุจริต หลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากประชาชน ผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ประชาชนผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท", "section_num": "82" } ]
มีโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
[ { "law_name": "พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561", "section_content": "พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 มาตรา 89 นิติบุคคลตามมาตรา 82 มาตรา 83 มาตรา 84 มาตรา 85 มาตรา 86 มาตรา 87 และมาตรา 88 ให้หมายความถึงนิติบุคคล ดังต่อไปนี้\n(1) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายโทเคนดิจิทัลจากสำนักงาน ก.ล.ต. ตามมาตรา 17 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง\n(2) ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง\n(3) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง", "section_num": "89" } ]
ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด รับผิดในหุ้นอย่างไร
ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนเองถือ คำอธิบายขยายความเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 บริษัทจำกัด คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096\nอันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ", "section_num": "1096" } ]
ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนเองถือ
[]
ผู้รับประกันภัยรู้ว่าข้อแถลงความเป็นเท็จ ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร
สัญญานั้นสมบูรณ์ คำอธิบายขยายความเพิ่มเติมตามถ้าผู้รับประกันภัยรู้ว่าข้อแถลงความเป็นความเท็จก็ดี สัญญานั้นเป็นอันสมบูรณ์
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 866\nถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ข้อความจริงดังกล่าวในมาตรา 865 นั้นก็ดีหรือรู้ว่าข้อแถลงความเป็นความเท็จก็ดี หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากใช้ความระมัดระวังดังจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชนก็ดี ท่านให้ฟังว่าสัญญานั้นเป็นอันสมบูรณ์", "section_num": "866" } ]
สัญญานั้นสมบูรณ์
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865\nถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ\nถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป", "section_num": "865" } ]
ผู้ใดปลูกข้าวหรือธัญชาติในที่ดินของผู้อื่น เจ้าของที่ดินต้องยอมให้บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตทำอะไรได้
เจ้าของที่ดินต้องยอมให้บุคคลที่ปลูกข้าวหรือธัญชาติอย่างอื่นอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี ครองที่ดินจนกว่าจะเสร็จการเก็บเกี่ยวโดยให้บุคคลนั้นใช้เงินคำนวณตามเกณฑ์ค่าเช่าที่ดินแก่เจ้าของที่ดิน
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1314\nท่านให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310, 1311 และ 1313 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆ ซึ่งติดที่ดินและการเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติด้วยโดยอนุโลม\nแต่ข้าวหรือธัญชาติอย่างอื่นอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี เจ้าของที่ดินต้องยอมให้บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริต หรือผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีเงื่อนไขซึ่งได้เพาะปลูกลงไว้นั้น คงครองที่ดินจนกว่าจะเสร็จการเก็บเกี่ยวโดยใช้เงินคำนวณตามเกณฑ์ค่าเช่าที่ดินนั้น หรือเจ้าของที่ดินจะเข้าครอบครองในทันทีโดยใช้ค่าทดแทนให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งก็ได้", "section_num": "1314" } ]
เจ้าของที่ดินต้องยอมให้บุคคลที่ปลูกข้าวหรือธัญชาติอย่างอื่นอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี ครองที่ดินจนกว่าจะเสร็จการเก็บเกี่ยวโดยให้บุคคลนั้นใช้เงินคำนวณตามเกณฑ์ค่าเช่าที่ดินแก่เจ้าของที่ดิน.
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310\nบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น ๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง\nแต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อ จะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะทำไม่ได้โดยใช้เงินพอสมควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้", "section_num": "1310" }, { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1311\nบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ เว้นแต่เจ้าของจะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของที่ดินต้องใช้ราคาโรงเรือนหรือใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือน นั้นแล้วแต่จะเลือก", "section_num": "1311" }, { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1313\nถ้าผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีเงื่อนไขสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้น และภายหลังที่ดินตกเป็นของบุคคลอื่นตามเงื่อนไขไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ", "section_num": "1313" } ]
ทรัสต์ที่มีการก่อตั้งขึ้นโดยพินัยกรรม ที่มีผลในระหว่างมีชีวิต ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร
ไม่มีผลทางกฎหมาย คำอธิบายขยายความเพิ่มเติม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 ทรัสต์นั้น จะก่อตั้งขึ้นโดยตรงหรือโดยทางอ้อมด้วยพินัยกรรมที่มีผลในระหว่างชีวิตก็ดีหรือเมื่อตายแล้วก็ดี ไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อการก่อตั้งทรัสต์เท่านั้น
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686\nอันว่าทรัสต์นั้น จะก่อตั้งขึ้นโดยตรงหรือโดยทางอ้อมด้วยพินัยกรรมหรือด้วยนิติกรรมใด ๆ ที่มีผลในระหว่างชีวิตก็ดีหรือเมื่อตายแล้วก็ดี หามีผลไม่ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อการก่อตั้งทรัสต์เท่านั้น", "section_num": "1686" } ]
ไม่มีผลทางกฎหมาย
[]
สัญญาบัญชีเดินสะพัดคืออะไร
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 สัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ สัญญาซึ่งคนสองคนตกลงกันตั้งแต่ตอนนั้นหรือในเวลาที่กำหนด ให้ตัดทอนบัญชีทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกิดขึ้นจากกิจการในระหว่างเขาทั้งสองหักกลบลบกัน และชำระแต่จำนวนที่เหลือโดยเท่าเทียมกัน
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856\nอันว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค", "section_num": "856" } ]
สัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ สัญญาซึ่งคนสองคนตกลงกันตั้งแต่ตอนนั้นหรือในเวลาที่กำหนด ให้ตัดทอนบัญชีทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกิดขึ้นจากกิจการในระหว่างเขาทั้งสองหักกลบลบกัน และชำระแต่จำนวนที่เหลือโดยเท่าเทียมกัน.
[]
ผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำกัดทุจริต โดยปกปิดความจริงต่อที่ประชุมใหญ่เรื่องฐานะทางการเงิน จะมีโทษอย่างไร
มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกินห้าหมื่นบาท คำอธิบายขยายความเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 38 ผู้ชำระบัญชีใดของบริษัทจำกัดโดยทุจริต ปกปิดความจริงต่อที่ประชุมใหญ่ในเรื่องฐานะการเงินของบริษัทนั้น มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกินห้าหมื่นบาท
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499", "section_content": "พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 38 กรรมการ หรือผู้ชำระบัญชีใดของบริษัทจำกัดโดยทุจริต แสดงออกซึ่งความเท็จ หรือปกปิดความจริงต่อที่ประชุมใหญ่ในเรื่องฐานะการเงินของบริษัทนั้น มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกินห้าหมื่นบาท*", "section_num": "38" } ]
มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกินห้าหมื่นบาท
[]
หน่วยงานใดเป็นฝ่ายประกาศข้อกำหนดให้ทราบเกี่ยวกับระยะเวลาในการพิจารณาและสั่งการในการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
สำนักงาน ก.ล.ต. คำอธิบายขยายความเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 มาตรา 6 สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนดให้ทราบเป็นการทั่วไปเกี่ยวกับระยะเวลาในการพิจารณาและการสั่งการในการออกใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัตินี้
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546", "section_content": "พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 มาตรา 6 เว้นแต่จะมีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. และสำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนดให้ทราบเป็นการทั่วไปเกี่ยวกับระยะเวลาในการพิจารณาและการสั่งการในการออกใบอนุญาต การรับจดทะเบียน และการให้ความเห็นชอบตามพระราชบัญญัตินี้", "section_num": "6" } ]
สำนักงาน ก.ล.ต.
[]
ถ้าจงใจไม่ทำตามหมายเรียกของสรรพากรจังหวัดมีโทษอย่างไร
บุคคลใดจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของสรรพากรจังหวัด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ คำอธิบายขยายความเพิ่มเติมตามประมวลรัษฎากร มาตรา 36 ผู้ใดจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกสรรพากรจังหวัดที่ออกตามมาตรา 12 ตรี มาตรา 19 มาตรา 23 หรือ มาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
[ { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 36 ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายหรือสรรพากรจังหวัด เจ้าพนักงานประเมิน ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือกรรมการ ที่ออกตามมาตรา 12 ตรี มาตรา 19 มาตรา 23 หรือ มาตรา 32 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ", "section_num": "36" } ]
บุคคลใดจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของสรรพากรจังหวัด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
[ { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 23 ผู้ใดไม่ยื่นรายการให้อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมิน แล้วแต่กรณี มีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ที่ไม่ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย", "section_num": "23" }, { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่ง ให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง\nเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักร โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง อำนาจดังกล่าวอธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรเขตก็ได้\nในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคสอง ภายในเขตท้องที่จังหวัดหรืออำเภอนั้น แต่สำหรับนายอำเภอนั้น จะใช้อำนาจสั่งขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด\nวิธีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนวิธีการอายัดให้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี\nเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าว ให้หักค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาดและเงินภาษีอากรค้าง ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน\nผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามวรรคสอง ให้หมายความรวมถึงผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลด้วย", "section_num": "12" }, { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 32 เพื่อการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 29 หรือมาตรา 30 เจ้าพนักงานประเมิน ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือกรรมการในคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี มีอำนาจออกหมายเรียกผู้อุทธรณ์มาไต่สวนออกหมายเรียกพยาน กับสั่งให้ผู้อุทธรณ์หรือพยานนั้นนำสมุดบัญชี หรือพยานหลักฐานอย่างอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันส่งหมาย", "section_num": "32" }, { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย ทั้งนี้ การออกหมายเรียกดังกล่าวจะต้องกระทำภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการไม่ว่าการยื่นรายการนั้นจะได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไปหรือไม่ ทั้งนี้ แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง เว้นแต่ กรณีปรากฏหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ยื่นรายการมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร อธิบดีจะอนุมัติให้ขยายเวลาการออกหมายเรียกดังกล่าวเกินกว่าสองปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ แต่กรณีขยายเวลาเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากรให้ขยายได้ไม่เกินกำหนดเวลาตามที่มีสิทธิขอคืนภาษีอากร", "section_num": "19" } ]
หลักเกณฑ์การเลือกตั้งกรรมการบริษัทมหาชนจำกัดมีอะไรบ้าง
(1) ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ตนถือคูณด้วยจำนวนกรรมการที่จะเลือกตั้ง (2) ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ทั้งหมดตาม (1) เลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ ในกรณีที่เลือกตั้งบุคคลหลายคนเป็นกรรมการจะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดก็ได้ (3) บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมี ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมีให้เลือกโดยวิธีจับสลากเพื่อให้ได้จำนวนกรรมการที่จะพึงมี
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535", "section_content": "พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 36 การเลือกตั้งกรรมการให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 70", "section_num": "36" } ]
(1) ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ตนถือคูณด้วยจำนวนกรรมการที่จะเลือกตั้ง (2) ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ทั้งหมดตาม (1) เลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ ในกรณีที่เลือกตั้งบุคคลหลายคนเป็นกรรมการจะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดก็ได้ (3) บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมี ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมีให้เลือกโดยวิธีจับสลากเพื่อให้ได้จำนวนกรรมการที่จะพึงมี.
[ { "law_name": "พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535", "section_content": "พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 70 เว้นแต่บริษัทจะมีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรรมการนั้นให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้\n(1) ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ตนถือคูณด้วยจำนวนกรรมการที่จะเลือกตั้ง\n(2) ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ทั้งหมดตาม (1) เลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ ในกรณีที่เลือกตั้งบุคคลหลายคนเป็นกรรมการจะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดก็ได้\n(3) บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมี ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมี ให้เลือกโดยวิธีจับสลากเพื่อให้ได้จำนวนกรรมการที่จะพึงมี\nในกรณีที่บริษัทมีข้อบังคับกำหนดวิธีการเลือกกรรมการไว้เป็นอย่างอื่นข้อบังคับนั้นจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการตัดสิทธิผู้ถือหุ้นในการลงคะแนนเลือกกรรมการ", "section_num": "70" } ]
บริษัทที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ การส่งสินค้าไปต่างประเทศถือว่าเป็นการขายสินค้าในไทยด้วยหรือไม่
ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้น เป็นการขายในประเทศไทย คำอธิบายขยายความเพิ่มเติมตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี บริษัทที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น
[ { "law_name": "ประมวลรัษฎากร", "section_content": "ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง หรือลูกจ้าง ให้ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น\nความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สินค้านั้น\n(1) เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ\n(2) เป็นของผ่านแดน\n(3) เป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วส่งกลับออกไปให้ผู้ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร\n(4) เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วส่งกลับคืนเข้ามาให้ผู้ส่งในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร", "section_num": "70 ตรี" } ]
ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้น เป็นการขายในประเทศไทย
[]
ถ้าผู้แทนของผู้โอนทรัพย์สินยึดถือทรัพย์สินนั้นอยู่ ถ้าจะโอนการครอบครองทรัพย์สิน ต้องทำอย่างไร
การโอนไปซึ่งการครอบครองจะทำโดยผู้โอนสั่งผู้แทนว่า ต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้รับโอน คำอธิบายขยายความเพิ่มเติมตามถ้าทรัพย์สินนั้นผู้แทนของผู้โอนยึดถืออยู่ การโอนไปซึ่งการครอบครองจะทำโดยผู้โอนสั่งผู้แทนว่า ต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้รับโอนก็ได้
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1380\nการโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมเป็นผล แม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินนั้นแทนผู้รับโอน\nถ้าทรัพย์สินนั้นผู้แทนของผู้โอนยึดถืออยู่ การโอนไปซึ่งการครอบครองจะทำโดยผู้โอนสั่งผู้แทนว่า ต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้รับโอนก็ได้", "section_num": "1380" } ]
การโอนไปซึ่งการครอบครองจะทำโดยผู้โอนสั่งผู้แทนว่า ต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้รับโอน
[]
ถ้าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ และสัมภาระพังทลายก่อนมีการส่งมอบ ใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
สัมภาระที่พังทลาย ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบ คำอธิบายขยายความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 603 ถ้าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ และการที่จ้างทำนั้นพังทลาย ความวินาศอันนั้นผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบ หากความวินาศนั้นไม่ได้เป็นเพราะการกระทำของผู้ว่าจ้าง
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 603\nถ้าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ และการที่จ้างทำนั้นพังทลายหรือบุบสลายลงก่อนได้ส่งมอบกันถูกต้องไซร้ ท่านว่าความวินาศอันนั้นตกเป็นพับแก่ผู้รับจ้าง หากความวินาศนั้นมิได้เป็นเพราะการกระทำของผู้ว่าจ้าง\nในกรณีเช่นว่านี้ สินจ้างก็เป็นอันไม่ต้องใช้", "section_num": "603" } ]
ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบ
[]
ผู้ทรงตั๋วเงินฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย ต้องฟ้องภายในระยะเวลากี่ปี
ต้องฟ้องภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้ลงในคำคัดค้านซึ่งได้ทำขึ้นภายในเวลาอันถูกต้องตามกำหนด หรือตั้งแต่วันที่ตั๋วเงินถึงกำหนด ในกรณีที่มีข้อกำหนดว่าไม่จำต้องมีคำคัดค้าน ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002
[ { "law_name": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์", "section_content": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002\nในคดีที่ผู้ทรงตั๋วเงินฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันที่ได้ลงในคำคัดค้านซึ่งได้ทำขึ้นภายในเวลาอันถูกต้องตามกำหนด หรือนับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ในกรณีที่มีข้อกำหนดไว้ว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน”", "section_num": "1002" } ]
ต้องฟ้องภายในหนึ่งปี
[]