sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
301184
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 27 เรื่อง เปลี่ยนแปลงเวลาห้ามประชาชนในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครออกนอกเคหะสถาน
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๒๗ เรื่อง เปลี่ยนแปลงเวลาห้ามประชาชนในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานครออกนอกเคหะสถาน[๑] ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๒๓ ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๙ ห้ามมิให้ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครออกนอกเคหะสถาน ระหว่างเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ถึง ๐๔.๓๐ นาฬิกา จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง นั้น เนื่องจากสถานการณ์โดยทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครดีขึ้นและเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีความจำเป็นต้องออกนอกเคหะสถานในเวลาวิกาลได้รับความสะดวกมากขึ้น จึงให้เปลี่ยนแปลงเวลาห้ามประชาชนในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครออกนอกเคหะสถานใหม่ เป็นห้ามมิให้ประชาชนในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครออกนอกเคหะสถานระหว่างเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ถึง ๐๔.๓๐ นาฬิกา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๙ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง สั่ง ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๘ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๑๓๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๔/๑๗ ตุลาคม ๒๕๑๙
301183
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 23 เรื่อง ห้ามประชาชนในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ออกนอกเคหะสถาน
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๒๓ เรื่อง ห้ามประชาชนในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ออกนอกเคหะสถาน[๑] ด้วยปรากฏว่า สถานการณ์ในขณะนี้เป็นที่ไม่น่าไว้วางใจ เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติราชการได้โดยสะดวก จึงห้ามมิให้ประชาชนในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ออกนอกเคหะสถานระหว่างเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ถึง ๐๔.๓๐ นาฬิกา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง สั่ง ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๘ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๑๒๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๙
318466
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 9 เรื่อง ห้ามประชาชนในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครออกนอกเคหะสถาน
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๙ เรื่อง ห้ามประชาชนในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ออกนอกเคหะสถาน[๑] ตามที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เวลา ๑๙.๑๐ นาฬิกา เป็นต้นไปแล้ว จึงห้ามมิให้ประชาชนในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ออกนอกเคหะสถานระหว่างเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ถึง ๐๕.๐๐ นาฬิกา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง สั่ง ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๘ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๑๒๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
301182
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 5
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๕[๑] เพื่อให้การบริหารราชการของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เพื่อความมั่นคงของชาติ และความผาสุกของประชาชน คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจึงให้สื่อมวลชนทุกประเภท ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ๑. ให้หนังสือพิมพ์รายวัน และสิ่งตีพิมพ์ต่อประชาชนอื่น ๆ ที่เสนอข่าวและข้อเขียนแสดงความคิดเห็นทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ หยุดทำการพิมพ์ออกจำหน่ายจ่ายแจก ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ จนกว่าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ๒. ให้นิตยสารรายสัปดาห์ และสิ่งตีพิมพ์ต่อประชาชนอื่น ๆ ที่เสนอข้อเขียนและเรื่องประเภทสารคดีและบันเทิงคดีส่งข้อเขียนและเรื่องต่าง ๆ ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการตรวจสอบข่าวสาร ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ก่อนทำการพิมพ์ออกจำหน่ายจ่ายแจก ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ๓. ให้สถานีวิทยุกระจายเสียงทุกสถานี ทั้งที่เป็นของทางราชการและของเอกชน งดรายการประจำของสถานี และให้ถ่ายทอดการกระจายเสียงจากสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ในความควบคุมของกรมประชาสัมพันธ์เท่านั้น ๔. ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกสถานี ทั้งที่เป็นของทางราชการและของเอกชนอยู่ในความควบคุมของคณะกรรมการที่ทางคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน แต่งตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ๕. เอกสารและสิ่งตีพิมพ์ทุกชนิด ซึ่งเสนอข่าวสาร บทความ และข้อเขียนแสดงความคิดเห็นอันส่อไปในทางก่อให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในชาติ หรือชี้นำผู้อ่านให้เกิดความนิยมเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ อันจะเป็นการทำลายความมั่นคงของชาติ ไม่ว่าในวิถีทางใด ให้เก็บริบและทำลายให้หมดสิ้น ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการตามคำสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน บัญชีท้ายคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๕ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นกรรมการตรวจสอบข่าวสารหนังสือพิมพ์ ๑. นายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานกรรมการ ๒. นางเติมสิริ บุญยสิงห์ เป็นกรรมการ ๓. นางวิมล เจียมเจริญ เป็นกรรมการ ๔. ร้อยตำรวจเอก อาทร บุญประสาท เป็นกรรมการ ๕. พลตรี กฤษณ์ ชีเจริญ เป็นกรรมการและเลขานุการ บัญชีท้ายคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๕ ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นกรรมการควบคุมวิทยุ โทรทัศน์ ๑. นายกำจัด กีพานิช เป็นประธานกรรมการ ๒. นายดนัย ศรียาภัย เป็นกรรมการ ๓. นายอุทิศ นาคสวัสดิ์ เป็นกรรมการ ๔. ร้อยตำรวจเอก อาทร บุญประสาท เป็นกรรมการ ๕. นายอาคม มกรานนท์ เป็นกรรมการ ๖. พลตรี กฤษณ์ ชีเจริญ เป็นกรรมการและเลขานุการ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๘ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๑๒๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
301181
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 4
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔[๑] ตามที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เวลา ๑๙.๑๐ น. เป็นต้นไปแล้ว จึงห้ามมิให้มั่วสุมประชุมกันในทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ มีจำนวนตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๘ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๑๒๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
318465
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 1
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๑[๑] เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยปราศจากภัยของประชาชนทั่วประเทศ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจึงประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เวลา ๑๙.๑๐ นาฬิกา เป็นต้นไป และให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บรรดาคดีที่มีข้อหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ซึ่งการกระทำความผิดเกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เวลา ๑๙.๑๐ นาฬิกา ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน ข้อ ๒ ให้ศาลอาญาและศาลจังหวัดทุกศาลในเขตมณฑลทหารบกที่ ๑ และศาลจังหวัดทุกศาลในเขตจังหวัดทหารบกลพบุรี เป็นศาลทหารกรุงเทพ ส่วนศาลจังหวัดนอกจากที่กล่าวนี้ ซึ่งอยู่ในเขตมณฑลทหารบกใด ให้เป็นศาลมณฑลทหารบกนั้น ๆ ด้วย ศาลทหารดังกล่าวแล้ว ประกอบด้วยตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีและบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ ข้อ ๓ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ผู้พิพากษาศาลอาญาและผู้พิพากษาศาลจังหวัดทุกศาล เป็นตุลาการศาลทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารแห่งศาลนั้น ๆ ซึ่งเป็นศาลทหารตามความในข้อ ๒ ด้วย ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค เป็นตุลาการศาลทหาร เช่นเดียวกับผู้พิพากษาที่กล่าวแล้วและให้มีอำนาจนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลภายในเขตของตน ซึ่งเป็นศาลทหารตามประกาศนี้ หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้ว ก็ให้มีอำนาจลงนามในคำพิพากษาได้ด้วย ให้จ่าศาลอาญาและจ่าศาลจังหวัดทุกศาล เป็นจ่าศาลทหารแห่งศาลทหารนั้น ๆ ด้วย ข้อ ๔ ให้พนักงานอัยการ เป็นอัยการทหารด้วย ข้อ ๕ ให้ใช้สถานที่ทำการศาลอาญา และสถานที่ทำการศาลจังหวัดทุกศาล เป็นที่ทำการศาลทหารตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๖ บรรดาคดีที่เกิดขึ้นก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย และประกาศกฎอัยการศึกที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ข้อ ๗ เมื่อได้มีประกาศให้เลิกใช้กฎอัยการศึกแล้ว ให้ศาลทหารตามประกาศนี้คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามความในข้อ ๑ บรรดาที่ค้างอยู่ในศาลและบรรดาที่การกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนวันเวลาเลิกใช้กฎอัยการศึก สั่ง ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน บัญชีท้ายคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๑ (๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒ (๒) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๒๙ (๓) ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ตั้งแต่มาตรา ๑๓๐ ถึงมาตรา ๑๓๕ (๔) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ฐานเป็นอั้งยี่ ฐานเป็นซ่องโจร และการมั่วสุมประชุมกันใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะประทุษร้าย หรือกระทำให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตั้งแต่มาตรา ๒๐๙ ถึงมาตรา ๒๑๖ (๕) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตั้งแต่มาตรา ๒๑๗ ถึงมาตรา ๒๓๙ (๖) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ฐานจัดหรือล่อลวงหญิงหรือเด็กหญิงไปเพื่อการอนาจารหรือสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ตั้งแต่มาตรา ๒๘๒ ถึงมาตรา ๒๘๔ และมาตรา ๒๘๕ เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา ๒๘๒ และมาตรา ๒๘๓ (๗) ความผิดต่อชีวิต ตั้งแต่มาตรา ๒๘๘ ถึงมาตรา ๒๙๔ (๘) ความผิดต่อร่างกาย ตั้งแต่มาตรา ๒๙๕ ถึงมาตรา ๓๐๐ (๙) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ฐานลักทรัพย์ วิ่งราว กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และรับของโจร ตั้งแต่มาตรา ๓๓๔ ถึงมาตรา ๓๔๐ ทวิ มาตรา ๓๕๗ และมาตรา ๓๖๐ ทวิ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๘ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๑๒๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
301192
ข้อบังคับ ออกตามความในกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 (ฉบับที่ 9)
ข้อบังคับ ข้อบังคับ ออกตามความในกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ (ฉบับที่ ๙)[๑] เนื่องจากได้มีประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรไว้แล้ว ซึ่งตามความในมาตรา ๑๔ แห่งกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ ให้อำนาจที่จะสร้างที่มั่นหรือดัดแปลงภูมิประเทศ หรือหมู่บ้าน เมือง สำหรับการต่อสู้ราชศัตรู หรือเตรียมการป้องกันรักษาตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ทุกอย่าง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗ แห่งกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกข้อบังคับเกี่ยวกับการสร้างเมืองและตัดถนนเพิ่มเติมภายในบริเวณ จังหวัดเพชรบูรณ์เพื่อการอพยพไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อสำนักนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรที่จะสร้างเมืองและตัดถนนเพิ่มเติมภายในบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์เพื่อการอพยพ ให้สำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการนั้นได้ ข้อ ๒ ให้กำหนดเขตการสร้างเมืองและการตัดถนนเพิ่มเติมภายในบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ข้อ ๓ เมื่อจะสร้างเมืองและตัดถนนเพิ่มเติมภายในบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ให้สำนักนายกรัฐมนตรีสั่งให้ข้าหลวงประจำจังหวัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือประกาศให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องทราบแล้วจึงดำเนินการ เว้นแต่เป็นกรณีรีบด่วน จึงให้ดำเนินการได้พร้อมกับที่จะแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบ ข้อ ๔ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่กล่าวในข้อ ๓ นั้น มอบอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งสำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการสร้างเมืองและการตัดถนนเพิ่มเติม และให้ให้ความสะดวกแก่การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ข้อ ๕ ในการสร้างเมืองและตัดถนนเพิ่มเติมภายในบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์นี้ ผู้ใดจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่สำนักนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรชดใช้ให้ ข้อ ๖ เมื่อสำนักนายกรัฐมนตรีเห็นว่าหมดความจำเป็นที่จะใช้เมืองและถนนที่สร้างนี้เมื่อใด ก็ให้สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศเลิกใช้ แล้วให้อสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องถูกสร้างเมืองและตัดถนนเหล่านี้กลับคืนเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองตามเดิม ข้อ ๗ ที่ดินในกำหนดเขตการสร้างเมืองและการตัดถนนเพิ่มเติมภายในบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ตามความในข้อ ๒ ที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการโอนหรือปลูกสร้างสิ่งใด ๆ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสำนักนายกรัฐมนตรี ข้อ ๘ ให้สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจที่จะออกข้อบังคับในการใช้ยานพาหนะใด ๆ บนถนนที่ตัดเพิ่มเติมภายในบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์นี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๑/ตอนที่ ๓๐/หน้า ๕๓๑/๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
301191
ข้อบังคับออกตามความในกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 (ฉบับที่ 8)
ข้อบังคับ ข้อบังคับ ออกตามความในกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ (ฉบับที่ ๘)[๑] เนื่องจากได้มีประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรไว้แล้ว ซึ่งตามความในมาตรา ๑๔ แห่งกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ ให้อำนาจที่จะสร้างที่มั่นหรือดัดแปลงภูมิประเทศ หรือหมู่บ้าน เมือง สำหรับการต่อสู้ราชศัตรู หรือเตรียมการป้องกันรักษาตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ทุกอย่าง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗ แห่งกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกข้อบังคับเกี่ยวกับการสร้างทางเพื่อให้พลเมืองได้กระจายกันออกไปหลบภัยทางอากาศอยู่นอกชุมชนไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อกระทรวงมหาดไทยเห็นสมควรที่จะสร้างทางเพื่อให้พลเมืองได้กระจายกันออกไปหลบภัยทางอากาศอยู่นอกชุมนุมชน ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการสร้างทางนั้นได้ และให้มีอำนาจสั่งหน่วยราชการที่มีหน้าที่ในการสร้างทางร่วมมือช่วยเหลือ ข้อ ๒ เมื่อจะสร้างทาง ณ ที่ใด ให้กระทรวงมหาดไทยสั่งให้ข้าหลวงประจำจังหวัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือประกาศให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งทางจะต้องผ่านเข้าไปทราบ แล้วจึงดำเนินการ เว้นแต่เป็นกรณีรีบด่วนจึงให้ดำเนินการได้พร้อมกับที่จะแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบ ข้อ ๓ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งแนวทางต้องผ่านไปนั้น มอบอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการสร้างทางและให้ความสะดวกแก่การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ข้อ ๔ ในการสร้างทางนี้ ผู้ใดจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยจะเห็นสมควรชดใช้ให้ ข้อ ๕ เมื่อกระทรวงมหาดไทยเห็นว่า หมดความจำเป็นที่จะใช้ทางที่สร้างนี้เมื่อใด ก็ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศเลิกใช้ แล้วให้อสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องถูกสร้างทางเหล่านี้กลับคืนเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองตามเดิม ข้อ ๖ เพื่อการสร้างทางดังกล่าวนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจเกณฑ์แรงงานมาทำทางได้โดยให้ค่าจ้างตามสมควร ข้อ ๗ ที่ดินในระยะ ๔๐ เมตรสองข้างทางที่ได้สร้างขึ้นใหม่ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการโอนหรือปลูกสร้างสิ่งใด ๆ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย ข้อ ๘ ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะออกข้อบังคับในการใช้ยานพาหนะใด ๆ บนทางที่สร้างนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๗ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๑/ตอนที่ ๑๑/หน้า ๒๗๐/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๗
301190
ข้อบังคับออกตามความในกฎอัยการศึก พ.ศ. 2475 (ฉบับที่ 7)
ข้อบังคับ ข้อบังคับ ออกตามความในกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ (ฉบับที่ ๗)[๑] เนื่องจากได้มีประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรไว้แล้ว ซึ่งตามความในมาตรา ๑๔ แห่งกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ ให้อำนาจที่จะสร้างที่มั่นหรือดัดแปลงภูมิประเทศหรือหมู่บ้าน, เมือง สำหรับการต่อสู้ราชศัตรู หรือเตรียมการป้องกันรักษาตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ทุกอย่าง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗ แห่งกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกข้อบังคับเกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อมีความจำเป็นในการสร้างทางรถไฟ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ราชการทหาร ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและเจ้าหน้าที่กรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม ดำเนินการสร้างทางรถไฟได้ทุกประการตามคำสั่งของทางราชการทหาร ข้อ ๒ เมื่อจำเป็นต้องสร้างทางรถไฟไปตามแนวทางใด ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารหรือเจ้าหน้าที่กรมรถไฟ แจ้งให้ข้าหลวงประจำจังหวัดแห่งท้องที่ซึ่งจะสร้างทางรถไฟนั้นทราบและให้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งทางรถไฟนั้นจำต้องผ่านเข้าไปทราบเสียก่อนเข้าดำเนินการเพื่อการสร้างต่อไป ข้อ ๓ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งแนวทางรถไฟของราชการทหารต้องผ่านไปนั้น มอบอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารหรือเจ้าหน้าที่กรมรถไฟ และให้ความสะดวกแก่การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวทุกประการ ข้อ ๔ แม้ในเรื่องนี้ตามมาตรา ๑๘ แห่งกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ ผู้ใดจะเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้ก็ดี แต่เมื่อเห็นสมควรเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารอาจพิจารณาชดใช้ราคาหรือค่าเสียหายให้ก็ได้ ข้อ ๕ ทางรถไฟนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารหรือเจ้าหน้าที่กรมรถไฟได้ประกาศเลิกใช้ทั้งสายหรือตอนใดตอนหนึ่งก็ดี หรือเมื่อได้มีประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกแล้วก็ดี ให้อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองของราชการทหาร เนื่องในการสร้างทางรถไฟนั้นกลับคืนแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองเดิม เว้นแต่กรมรถไฟประสงค์จะใช้ทางรถไฟนั้นเพื่อประโยชน์แก่การรถไฟต่อไป ก็ให้จัดการออกกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามที่ต้องการดังเช่นในยามปรกติ ข้อ ๖ ห้ามใช้ยานพาหนะใด ๆ บนทางรถไฟนี้ เว้นไว้แต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร หรือเจ้าหน้าที่กรมรถไฟ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมเส้นทางรถไฟนั้นก่อน ผู้ใดฝ่าฝืนใช้ทางรถไฟนี้โดยมิได้รับอนุญาตก็ดี หรือบังอาจกระทำให้ทางรถไฟเสียหายด้วยประการใด ๆ ก็ดี ย่อมมีความผิดตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๖ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๐/ตอนที่ ๖๕/หน้า ๑๗๒๔/๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๖
301189
ข้อบังคับออกตามความในพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 (ฉบับที่ 6)
ข้อบังคับ ข้อบังคับ ออกตามความในพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ (ฉบับที่ ๖)[๑] ในยามที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะคับขันในเวลาสงครามและประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ทั้งมีประกาศผู้บัญชาการทหารสูงสุด ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๘๖ กำหนดดินแดนทั่วราชอาณาจักรเป็นเขตซึ่งกองทัพได้กระทำสงครามทั้งสิ้น การระงับปราบปรามผู้กระทำผิดอันเป็นภัยต่อความสงบสุขของบ้านเมือง และการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประเทศ จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องปฏิบัติให้เหมาะสมแก่สถานการณ์เช่นนี้ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การระงับปราบปรามหรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามความในกฎอัยการศึกนั้น นอกจากการดำเนินการเพื่อพิจารณาพิพากษาผู้เป็นปรปักษ์ต่อความสงบเรียบร้อยยังศาลตามบทกฎหมายในกรณีความผิดนั้น ๆ แล้ว เมื่อกองบัญชาการทหารสูงสุดเห็นเป็นการสมควรที่จะระงับปราบปรามบุคคลผู้เป็นปรปักษ์ต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประเทศในกรณีใด โดยการควบคุมตัวผู้นั้นไว้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและเพื่ออบรมทางจิตใจให้เป็นคนดี ก็ให้มีอำนาจออกประกาศกำหนดกรณีนั้น ๆ ได้ ข้อ ๒ เมื่อได้มีประกาศตามความในข้อก่อน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจจับกุมและควบคุมบุคคลผู้มีเหตุสงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อความไม่สงบแล้วดำเนินการสอบสวนตามคำสั่งของอธิบดีกรมตำรวจต่อไป ข้อ ๓ ให้อธิบดีกรมตำรวจมีอำนาจวินิจฉัยตามการสอบสวนว่าจะสมควรควบคุมตัวบุคคลนั้น ๆ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและเพื่ออบรมทางจิตใจให้เป็นคนดีได้ตามที่เห็นสมควร และจะกำหนดระยะเวลาการควบคุมหรือไม่กำหนดก็ได้ แต่การควบคุมเช่นนี้มิให้เกินกว่าเวลาที่ประเทศไทยทำสงคราม เมื่ออธิบดีกรมตำรวจวินิจฉัยเห็นควรควบคุม ก็ให้ส่งตัวบุคคลนั้นให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารดำเนินการควบคุมและอบรมต่อไป ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นภายหลังวันประกาศนี้เป็นต้นไป ข้อบังคับให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๘๖ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๐/ตอนที่ ๒๑/หน้า ๖๗๗/๖ เมษายน ๒๔๘๖
301188
ข้อบังคับ ออกตามความในกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 (ฉบับที่ 5)
ข้อบังคับ ข้อบังคับ ออกตามความในกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ (ฉบับที่ ๕)[๑] เพื่อให้การปฏิบัติราชการในภาวะสงครามดำเนินไปด้วยความก้าวหน้าและให้ข้าราชการเอาใจใส่ระมัดระวังกิจการในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นพิเศษยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ราชการได้ประโยชน์อันเหมาะสมกับเหตุการณ์ในการดำเนินการยุทธสงคราม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗ แห่งกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้าราชการทุกคนจักต้องเอาใจใส่ปฏิบัติการงานในหน้าที่ของตนให้เรียบร้อยครบถ้วนและโดยมิชักช้า การงานใดแม้จะมิใช่เป็นการงานในหน้าที่โดยตรงก็ตาม หากสามารถช่วยปฏิบัติซึ่งกันและกันได้ก็ให้ช่วยกันปฏิบัติให้ลุล่วง ข้อ ๒ ข้าราชการผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติการงานของตนให้เรียบร้อยครบถ้วน ทันเวลา หรือไม่ช่วยเหลือปฏิบัติราชการของเพื่อนข้าราชการในเมื่อสามารถช่วยได้ ข้าราชการผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และจะถูกสั่งให้ปลดออกจากประจำการ หรือไล่ออกจากราชการทันที ข้อ ๓ ถ้าปรากฏว่ามีข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยตามข้อ ๒ ให้เจ้ากระทรวงซึ่งข้าราชการผู้นั้นสังกัดอยู่รายงานต่อผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งจะได้พิจารณาสั่งการตามควรแก่พฤติการณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป กฎให้ไว้ ณ วันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๐/ตอนที่ ๓/หน้า ๑๖๑/๑๒ มกราคม ๒๔๘๖
301187
ข้อบังคับออกตามความในกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 (ฉบับที่ 2)
ข้อบังคับ ข้อบังคับ ออกตามความในกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ (ฉบับที่ ๒)[๑] เนื่องจากได้มีประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรไว้แล้ว ซึ่งตามความในมาตรา ๑๑ แห่งกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารในการห้ามการออกหนังสือเป็นข่าวคราวตามแต่ทางราชการทหารจะพิจารณาเห็นสมควร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗ แห่งกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกข้อบังคับเกี่ยวกับการออกหนังสือพิมพ์ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ใดจะเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ นอกจากต้องปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์นั้นแล้ว จักต้องได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้สั่งการแทนก่อนจึงจะเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ได้ ข้อ ๒ บรรดาผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์อยู่แล้วในวันประกาศใช้ข้อบังคับนี้ ถ้าทางราชการเห็นว่าไม่เป็นการสมควรแล้ว ผู้บัญชาการทหารสูงสุดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้สั่งการแทน จะสั่งถอนใบอนุญาตหรือสั่งงดการเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้นเสียทันที โดยมีกำหนดเวลาหรือไม่ก็ได้ และจะสั่งเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นภายหลังก็ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๙/ตอนที่ ๑๕/หน้า ๖๐๙/๑๐ มีนาคม ๒๔๘๕
301186
ข้อบังคับ ออกตามความในกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457
ข้อบังคับ ข้อบังคับ ออกตามความในกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗[๑] เนื่องด้วยได้มีประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรไว้แล้ว ซึ่งตามความในมาตรา ๖ แห่งกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนทุกตำแหน่งไม่ว่าในกระทรวง ทบวง กรมใด และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนมีหน้าที่ต้องช่วยเหลือเกื้อหนุนราชการทหารทุกสิ่งทุกอย่างตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารในการที่จะระงับปราบปรามหรือรักษาความสงบเรียบร้อยนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาคเป็นไปโดยรวดเร็วและได้ผลตามความต้องการของการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยของราชอาณาจักร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗ แห่งกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกข้อบังคับเกี่ยวกับการบังคับบัญชาสั่งการข้าราชการส่วนภูมิภาคไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดแต่ละจังหวัด และนายอำเภอแต่ละอำเภอในจังหวัดและอำเภอของตน เป็นหัวหน้าของราชการฝ่ายพลเรือนทุกกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งข้าราชการฝ่ายตุลาการอันสังกัดอยู่ในกระทรวงยุติธรรมซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ราชการประจำอยู่ในจังหวัดหรืออำเภอ แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ ข้าหลวงประจำจังหวัดและนายอำเภอต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ผู้มีอำนาจตามกฎอัยการศึก ที่จะบังคับบัญชาท้องที่จังหวัดหรืออำเภอนั้น ๆ ข้อ ๒ ให้ข้าหลวงประจำจังหวัด และนายอำเภอ ภายในเขตท้องที่ของตนมีอำนาจสั่งการใด ๆ แก่ข้าราชการผู้หนึ่งผู้ใดไม่ว่าจะเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตำรวจ หรือตุลาการ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ราชการประจำอยู่ในจังหวัดหรืออำเภอนั้น ๆ ให้ปฏิบัติการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของราชการได้ทั้งสิ้น และให้ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งนั้นปฏิบัติตามทันที ห้ามมิให้ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง ในกรณีที่คำสั่งไม่ต้องด้วยนโยบายของกระทรวง ทบวง กรมที่ผู้รับคำสั่งสังกัดอยู่ผู้รับคำสั่งก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของข้าหลวงประจำจังหวัดหรือนายอำเภอซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในคำสั่งนั้น ๆ โดยเฉพาะก่อนเสมอ แต่ให้เสนอความเห็นแสดงว่าคำสั่งไม่ต้องด้วยนโยบายนั้นอย่างไร ไปยังข้าหลวงประจำจังหวัดหรือนายอำเภอโดยด่วน และให้แจ้งไปยังกระทรวง ทบวง กรม เจ้าสังกัดทราบเพื่อการพิจารณาต่อไปด้วย ข้อ ๓ การปฏิบัติราชการในกรณีที่ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือนายอำเภอมิได้มีคำสั่งไว้ ให้คงปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผน คำสั่ง และนโยบายของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งหน่วยราชการส่วนภูมิภาคนั้นสังกัดอยู่อย่างปกติ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๙/ตอนที่ ๖/หน้า ๒๖๖/๒๗ มกราคม ๒๔๘๕
555596
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒[๑] เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยปราศจากภัยของประชาชนทั่วประเทศ คณะปฏิวัติจึงประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ เวลา ๒๐.๑๑ นาฬิกา เป็นต้นไป และให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บรรดาคดีที่มีข้อหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ซึ่งการกระทำความผิดเกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ เวลา ๒๐.๑๑ นาฬิกา ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน ข้อ ๒[๒] ให้ศาลอาญาและศาลจังหวัดทุกศาลในเขตพื้นที่มณฑลทหารบกที่ ๑ และศาลจังหวัดทุกศาลในเขตพื้นที่จังหวัดทหารบกลพบุรี เป็นศาลทหารกรุงเทพ ให้ศาลจังหวัดทุกศาลในเขตพื้นที่จังหวัดทหารบกอุดรเป็นศาลมณฑลทหารบกที่ ๓ ส่วนศาลจังหวัดนอกจากที่กล่าวนี้ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่มณฑลทหารบกใด ให้เป็นศาลมณฑลทหารบกนั้นๆ ด้วย ศาลทหารดังกล่าว ประกอบด้วยตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาคดีและบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ ข้อ ๓ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ผู้พิพากษาศาลอาญาและผู้พิพากษาศาลจังหวัดทุกศาล เป็นตุลาการศาลทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารแห่งศาลนั้นๆ ซึ่งเป็นศาลทหารตามความในข้อ ๒ ด้วย ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค เป็นตุลาการศาลทหาร เช่นเดียวกับผู้พิพากษาที่กล่าวแล้ว และให้มีอำนาจนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลภายในเขตของตน ซึ่งเป็นศาลทหารตามประกาศนี้หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้ว ก็ให้มีอำนาจลงนามในคำพิพากษาได้ด้วย ให้จ่าศาลอาญาและจ่าศาลจังหวัดทุกศาล เป็นจ่าศาลทหารแห่งศาลทหารนั้นๆ ด้วย ข้อ ๔ ให้พนักงานอัยการ เป็นอัยการทหารด้วย ข้อ ๕ ให้ใช้สถานที่ทำการศาลอาญา และสถานที่ทำการศาลจังหวัดทุกศาลเป็นที่ทำการศาลทหารตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๖ บรรดาคดีที่เกิดขึ้นก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามกฎหมายและประกาศกฎอัยการศึกที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ข้อ ๗ เมื่อได้มีประกาศให้เลิกใช้กฎอัยการศึกแล้ว ให้ศาลทหารตามประกาศนี้ คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามความในข้อ ๑ บรรดาที่ค้างอยู่ในศาล และบรรดาที่การกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนวันเวลาเลิกใช้กฎอัยการศึก ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๔ จอมพล ถ. กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ บัญชีท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ (๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒ (๒) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๒๙ (๓) ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ตั้งแต่มาตรา ๑๓๐ ถึงมาตรา ๑๓๕ (๔) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ฐานเป็นอั้งยี่ ฐานเป็นซ่องโจร และการมั่วสุมประชุมกันใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะประทุษร้าย หรือกระทำให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตั้งแต่มาตรา ๒๐๙ ถึงมาตรา ๒๑๖ (๕) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตั้งแต่มาตรา ๒๑๗ ถึงมาตรา ๒๓๙ (๖) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ฐานจัดหรือล่อลวงหญิงหรือเด็กหญิงไป เพื่อการอนาจาร หรือสำเร็จความใคร่ของผู้ อื่นตั้งแต่มาตรา ๒๘๒ ถึงมาตรา ๒๘๔ และมาตรา ๒๘๕ เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา ๒๘๒ และมาตรา ๒๘๓ (๗) ความผิดต่อชีวิต ตั้งแต่มาตรา ๒๘๘ ถึงมาตรา ๒๙๔ (๘) ความผิดต่อร่างกาย ตั้งแต่มาตรา ๒๙๕ ถึงมาตรา ๓๐๐ (๙) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ฐานลักทรัพย์ วิ่งราว กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และรับของโจร ตั้งแต่มาตรา ๓๓๔ ถึงมาตรา ๓๔๐ ทวิ มาตรา ๓๕๗ และมาตรา ๓๖๐ ทวิ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๐๑[๓] ข้อ ๒ ให้ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดในเขตพื้นที่จังหวัดทหารบกอุดรด้วย ข้อ ๓ คดีที่ค้างอยู่ในศาลจังหวัดทหารบกฉะเชิงเทราในวันที่ประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ ให้โอนไปให้ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒ พิจารณาพิพากษาต่อไป ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ข้อ ๕ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นต้นไป [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม /ตอนที่ ๑๒๔/หน้าพิเศษ ๓/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ [๒] ข้อ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศของคณะปฏิวัติ ๓๐๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙/ตอนที่ ๑๙๐/หน้าพิเศษ ๔/๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕
640400
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒[๑] เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยปราศจากภัยของประชาชนทั่วประเทศ คณะปฏิวัติจึงประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ เวลา ๒๐.๑๑ นาฬิกา เป็นต้นไป และให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บรรดาคดีที่มีข้อหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ซึ่งการกระทำความผิดเกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ เวลา ๒๐.๑๑ นาฬิกา ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน ข้อ ๒[๒] ให้ศาลอาญาและศาลจังหวัดทุกศาลในเขตพื้นที่มณฑลทหารบกที่ ๑ และศาลจังหวัดทุกศาลในเขตพื้นที่จังหวัดทหารบกลพบุรี เป็นศาลทหารกรุงเทพ ให้ศาลจังหวัดทุกศาลในเขตพื้นที่จังหวัดทหารบกอุดรเป็นศาลมณฑลทหารบกที่ ๓ ส่วนศาลจังหวัดนอกจากที่กล่าวนี้ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่มณฑลทหารบกใด ให้เป็นศาลมณฑลทหารบกนั้น ๆ ด้วย ศาลทหารดังกล่าวแล้ว ประกอบด้วยตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดี และบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ ข้อ ๓ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ผู้พิพากษาศาลอาญาและผู้พิพากษาศาลจังหวัดทุกศาล เป็นตุลาการศาลทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารแห่งศาลนั้น ๆ ซึ่งเป็นศาลทหารตามความในข้อ ๒ ด้วย ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค เป็นตุลาการศาลทหาร เช่นเดียวกับผู้พิพากษาที่กล่าวแล้ว และให้มีอำนาจนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลภายในเขตของตน ซึ่งเป็นศาลทหารตามประกาศนี้ หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้ว ก็ให้มีอำนาจลงนามในคำพิพากษาได้ด้วย ให้จ่าศาลอาญาและจ่าศาลจังหวัดทุกศาล เป็นจ่าศาลทหารแห่งศาลทหารนั้น ๆ ด้วย ข้อ ๔ ให้พนักงานอัยการ เป็นอัยการทหารด้วย ข้อ ๕ ให้ใช้สถานที่ทำการศาลอาญา และสถานที่ทำการศาลจังหวัดทุกศาล เป็นที่ทำการศาลทหารตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๖ บรรดาคดีที่เกิดขึ้นก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามกฎหมายและประกาศกฎอัยการศึกที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ข้อ ๗ เมื่อได้มีประกาศให้เลิกใช้กฎอัยการศึกแล้ว ให้ศาลทหารตามประกาศนี้ คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามความในข้อ ๑ บรรดาที่ค้างอยู่ในศาล และบรรดาที่การกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนวันเวลาเลิกใช้กฎอัยการศึก ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๔ จอมพล ถ. กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ บัญชีท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ (๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒ (๒) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๒๙ (๓)[๓] (ยกเลิก) (๔)[๔] (ยกเลิก) (๕)[๕] (ยกเลิก) (๖)[๖] (ยกเลิก) (๗)[๗] (ยกเลิก) (๘)[๘] (ยกเลิก) (๙)[๙] (ยกเลิก) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๐๑[๑๐] โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากได้มีประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งมีผลให้จังหวัดทหารบกฉะเชิงเทราสิ้นสภาพไป และเขตพื้นที่ของจังหวัดทหารบกอุดรไม่อยู่ในเขตพื้นที่ของมณฑลทหารบกที่ ๓ และเนื่องจากพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้มีศาลจังหวัดทหารและศาลมณฑลทหารตามจังหวัดทหารและมณฑลทหาร โดยมีเขตอำนาจของศาลจังหวัดทหารและศาลมณฑลทหารตามเขตพื้นที่จังหวัดทหารและมณฑลทหารกฎกระทรวงดังกล่าวจึงทำให้คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร และศาลทหารตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว ข้อ ๒ ให้ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดในเขตพื้นที่จังหวัดทหารบกอุดรด้วย ข้อ ๓ คดีที่ค้างอยู่ในศาลจังหวัดทหารบกฉะเชิงเทราในวันที่ประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ ให้โอนไปให้ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒ พิจารณาพิพากษาต่อไป พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ พ.ศ. ๒๕๑๗[๑๑] มาตรา ๔ คดีที่มีข้อหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ตั้งแต่มาตรา ๑๓๐ ถึงมาตรา ๑๓๕ ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ฐานเป็นอั้งยี่ ฐานเป็นซ่องโจร และการมั่วสุมประชุมกันใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะประทุษร้าย หรือกระทำให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตั้งแต่มาตรา ๒๐๙ ถึงมาตรา ๒๑๖ ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตั้งแต่มาตรา ๒๑๗ ถึงมาตรา ๒๓๙ ความผิดเกี่ยวกับเพศ ฐานจัดหรือล่อลวงหญิงหรือเด็กหญิงไปเพื่อการอนาจาร หรือสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ตั้งแต่มาตรา ๒๘๒ ถึงมาตรา ๒๘๔ และมาตรา ๒๘๕ เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา ๒๘๒ และมาตรา ๒๘๓ ความผิดต่อชีวิต ตั้งแต่มาตรา ๒๘๘ ถึงมาตรา ๒๙๔ ความผิดต่อร่างกาย ตั้งแต่มาตรา ๒๙๕ ถึงมาตรา ๓๐๐ และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ฐานลักทรัพย์ วิ่งราว กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และรับของโจร ตั้งแต่มาตรา ๓๓๔ ถึงมาตรา ๓๔๐ ทวิ มาตรา ๓๕๗ และมาตรา ๓๖๐ ทวิ บรรดาที่เกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ เวลา ๒๐.๑๑ นาฬิกา จนถึงวันประกาศพระราชบัญญัตินี้ในราชกิจจานุเบกษา ให้คงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรที่จะผ่อนคลายให้คดีอาญาบางประเภทที่อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้อยู่ในอำนาจของศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ อมรรัตน์/ผู้จัดทำ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๑๒๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๓/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ [๒] ข้อ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๐๑ [๓] บัญชีท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ (๓) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ พ.ศ. ๒๕๑๗ [๔] บัญชีท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ (๔) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ พ.ศ. ๒๕๑๗ [๕] บัญชีท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ (๕) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ พ.ศ. ๒๕๑๗ [๖] บัญชีท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ (๖) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ พ.ศ. ๒๕๑๗ [๗] บัญชีท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ (๗) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ พ.ศ. ๒๕๑๗ [๘] บัญชีท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ (๘) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ พ.ศ. ๒๕๑๗ [๙] บัญชีท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ (๙) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ พ.ศ. ๒๕๑๗ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙/ตอนที่ ๑๙๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๕๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑/๑๙ มีนาคม ๒๕๑๗
612421
พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ยกเลิกคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมขอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว เพื่อประโยชน์แก่การตระเตรียมการเลือกตั้ง สมควรยกเลิกคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เรื่อง ห้ามมิให้มั่วสุมประชุมกันในทางการเมือง ณ ที่ใดๆ มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปนั้นเสีย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น สุรินทร์/แก้ไข ๒๙/๑/๔๕ B+A(C) พัชรินทร์/แก้ไข ๕ มกราคม ๒๕๔๘ [๑]รก. ๒๕๒๒/๔/๑พ/๑๕ มกราคม ๒๕๒๒
301197
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 4
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๔[๑] เพื่อให้การรักษาความสงบในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงห้ามมิให้ประชาชนในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ออกนอกเคหะสถานในระหว่างเวลา ๐๑.๐๐ นาฬิกา ถึง ๐๔.๓๐ นาฬิกา ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิวัติ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๙๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐
301196
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 20 ตุลาคม พุทธศักราช 2520
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓[๑] ตามที่คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ และการประกาศใช้กฎอัยการศึกยังมีผลใช้บังคับอยู่ นั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง จึงห้ามมิให้มั่วสุมกันในทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิวัติ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๙๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐
301195
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 20 ตุลาคม พุทธศักราช 2520
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒[๑] ตามที่ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติว่า คณะปฏิวัติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไว้เรียบร้อยแล้วนั้น เพื่อความเรียบร้อยในการปกครองประเทศ คณะปฏิวัติจึงให้ ๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙ สิ้นสุดลง ๒. สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง พร้อมกับรัฐธรรมนูญ ๓. องคมนตรี คงดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไป ๔ . ศาลทั้งหลายคงมีอำนาจดำเนินการพิจารณาและพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมายและประกาศของคณะปฏิวัติ ๕. คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ที่ประกาศใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินคดี ให้ยังคงใช้บังคับต่อไป ๖. มีกองบัญชาการคณะปฏิวัติ โดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิวัติ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ของข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือน และเป็นผู้รักษาสถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินต่อไป ๗. ให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวงและปลัดทบวง เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบงานในกระทรวงและทบวง และบรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าเป็นอำนาจของรัฐมนตรีให้เป็นอำนาจของปลัดกระทรวงและปลัดทบวง และให้ปฏิบัติราชการโดยขึ้นตรงต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติ หรือผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิวัติมอบหมาย ราชการใดที่มิใช่ราชการประจำตามปกติหรือที่เป็นปัญหาหรือเป็นนโยบาย หรือเกี่ยวพันกับกระทรวงอื่นให้ปลัดกระทรวงและปลัดทบวงเสนอขอความวินิจฉัยต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติ โดยผ่านทางผู้อำนวยการฝ่ายทหาร สำหรับข้าราชการทหาร และผู้อำนวยการฝ่ายพลเรือน สำหรับข้าราชการพลเรือน อนึ่ง คณะปฏิวัติขอประกาศว่า คณะปฏิวัติตระหนักถึงความสำคัญของหนังสือพิมพ์ จึงจะยังไม่ทำการตรวจข่าวหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ทั้งหลายอาจพิมพ์ออกจำหน่ายได้โดยไม่ต้องผ่านการตรวจข่าวหรือการควบคุมของคณะที่ปรึกษาแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์ดังเช่นแต่ก่อน เพราะคณะปฏิวัติเชื่อว่าหนังสือพิมพ์ทั้งหลาย จะให้ความร่วมมือแก่การปฏิวัติครั้งนี้ด้วยวิธีเสนอข่าวความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง และด้วยความเป็นธรรม ให้ความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์ใจ ในทางที่จะช่วยกันสร้างสรรประเทศและประชาชน การกระทำใด ๆ ของหนังสือพิมพ์ที่เป็นไปในทางก่อเรื่องร้าย เสนอความเท็จแก่ประชาชน หรือปราศจากความเป็นธรรม จะถูกยับยั้งด้วยอำนาจปฏิวัติ ซึ่งจำเป็นสำหรับความปลอดภัยของประเทศชาติ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือพิมพ์ที่ทำตนเป็นปากเสียงของชนต่างชาติ ออกเสียงแทนหรือเชิดชูลัทธิที่เป็นภัยต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือพยายามยุแยกให้แตกสามัคคีในชาติโดยทางตรง ทางอ้อม หรือด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องประสบการปราบปรามอย่างเด็ดขาด ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิวัติ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๙๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐
612418
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ พ.ศ. ๒๕๑๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นปีที่ ๒๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ พ.ศ. ๒๕๑๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) ของ บัญชีท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ มาตรา ๔ คดีที่มีข้อหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ตั้งแต่มาตรา ๑๓๐ ถึงมาตรา ๑๓๕ ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ฐานเป็นอั้งยี่ ฐานเป็นซ่องโจร และการมั่วสุมประชุมกันใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะประทุษร้าย หรือกระทำให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตั้งแต่มาตรา ๒๐๙ ถึงมาตรา ๒๑๖ ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตั้งแต่มาตรา ๒๑๗ ถึงมาตรา ๒๓๙ ความผิดเกี่ยวกับเพศ ฐานจัดหรือล่อลวงหญิงหรือเด็กหญิงไปเพื่อการอนาจาร หรือสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ตั้งแต่มาตรา ๒๘๒ ถึงมาตรา ๒๘๔ และมาตรา ๒๘๕ เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา ๒๘๒ และมาตรา ๒๘๓ ความผิดต่อชีวิต ตั้งแต่มาตรา ๒๘๘ ถึงมาตรา ๒๙๔ ความผิดต่อร่างกาย ตั้งแต่มาตรา ๒๙๕ ถึงมาตรา ๓๐๐ และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ฐานลักทรัพย์ วิ่งราว กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และรับของโจร ตั้งแต่มาตรา ๓๓๔ ถึงมาตรา ๓๔๐ ทวิ มาตรา ๓๕๗ และมาตรา ๓๖๐ ทวิ บรรดาที่เกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ เวลา ๒๐.๑๑ นาฬิกา จนถึงวันประกาศพระราชบัญญัตินี้ในราชกิจจานุเบกษา ให้คงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรที่จะ ผ่อนคลายให้คดีอาญาบางประเภทที่อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้อยู่ในอำนาจของศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พัชรินทร์/แก้ไข ๔ มกราคม ๒๕๔๘ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๕๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑/๑๙ มีนาคม ๒๕๑๗
640398
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 (ฉบับ Update ณ วันที่ 13/12/2515)
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒[๑] เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยปราศจากภัยของประชาชนทั่วประเทศ คณะปฏิวัติจึงประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ เวลา ๒๐.๑๑ นาฬิกา เป็นต้นไป และให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บรรดาคดีที่มีข้อหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ซึ่งการกระทำความผิดเกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ เวลา ๒๐.๑๑ นาฬิกา ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน ข้อ ๒[๒] ให้ศาลอาญาและศาลจังหวัดทุกศาลในเขตพื้นที่มณฑลทหารบกที่ ๑ และศาลจังหวัดทุกศาลในเขตพื้นที่จังหวัดทหารบกลพบุรี เป็นศาลทหารกรุงเทพ ให้ศาลจังหวัดทุกศาลในเขตพื้นที่จังหวัดทหารบกอุดรเป็นศาลมณฑลทหารบกที่ ๓ ส่วนศาลจังหวัดนอกจากที่กล่าวนี้ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่มณฑลทหารบกใด ให้เป็นศาลมณฑลทหารบกนั้น ๆ ด้วย ศาลทหารดังกล่าวแล้ว ประกอบด้วยตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดี และบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ ข้อ ๓ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ผู้พิพากษาศาลอาญาและผู้พิพากษาศาลจังหวัดทุกศาล เป็นตุลาการศาลทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารแห่งศาลนั้น ๆ ซึ่งเป็นศาลทหารตามความในข้อ ๒ ด้วย ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค เป็นตุลาการศาลทหาร เช่นเดียวกับผู้พิพากษาที่กล่าวแล้ว และให้มีอำนาจนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลภายในเขตของตน ซึ่งเป็นศาลทหารตามประกาศนี้ หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้ว ก็ให้มีอำนาจลงนามในคำพิพากษาได้ด้วย ให้จ่าศาลอาญาและจ่าศาลจังหวัดทุกศาล เป็นจ่าศาลทหารแห่งศาลทหารนั้น ๆ ด้วย ข้อ ๔ ให้พนักงานอัยการ เป็นอัยการทหารด้วย ข้อ ๕ ให้ใช้สถานที่ทำการศาลอาญา และสถานที่ทำการศาลจังหวัดทุกศาลเป็นที่ทำการศาลทหารตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๖ บรรดาคดีที่เกิดขึ้นก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามกฎหมายและประกาศกฎอัยการศึกที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ข้อ ๗ เมื่อได้มีประกาศให้เลิกใช้กฎอัยการศึกแล้ว ให้ศาลทหารตามประกาศนี้ คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามความในข้อ ๑ บรรดาที่ค้างอยู่ในศาล และบรรดาที่การกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนวันเวลาเลิกใช้กฎอัยการศึก ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๔ จอมพล ถ. กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ บัญชีท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ (๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒ (๒) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๒๙ (๓) ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ตั้งแต่มาตรา ๑๓๐ ถึงมาตรา๑๓๕ (๔) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ฐานเป็นอั้งยี่ ฐานเป็นซ่องโจร และการมั่วสุมประชุมกันใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะประทุษร้าย หรือกระทำให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตั้งแต่มาตรา ๒๐๙ ถึงมาตรา ๒๑๖ (๕) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตั้งแต่มาตรา ๒๑๗ ถึงมาตรา ๒๓๙ (๖) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ฐานจัดหรือล่อลวงหญิงหรือเด็กหญิงไป เพื่อการอนาจาร หรือสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ตั้งแต่มาตรา ๒๘๒ ถึงมาตรา ๒๘๔ และมาตรา ๒๘๕ เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา ๒๘๒ และมาตรา ๒๘๓ (๗) ความผิดต่อชีวิต ตั้งแต่มาตรา ๒๘๘ ถึงมาตรา ๒๙๔ (๘) ความผิดต่อร่างกาย ตั้งแต่มาตรา ๒๙๕ ถึงมาตรา ๓๐๐ (๙) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ฐานลักทรัพย์ วิ่งราว กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และรับของโจร ตั้งแต่มาตรา ๓๓๔ ถึงมาตรา ๓๔๐ ทวิ มาตรา ๓๕๗ และมาตรา ๓๖๐ ทวิ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๐๑[๓] โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากได้มีประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งมีผลให้จังหวัดทหารบกฉะเชิงเทราสิ้นสภาพไป และเขตพื้นที่ของจังหวัดทหารบกอุดรไม่อยู่ในเขตพื้นที่ของมณฑลทหารบกที่ ๓ และเนื่องจากพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้มีศาลจังหวัดทหารและศาลมณฑลทหารตามจังหวัดทหารและมณฑลทหาร โดยมีเขตอำนาจของศาลจังหวัดทหารและศาลมณฑลทหารตามเขตพื้นที่จังหวัดทหารและมณฑลทหารกฎกระทรวงดังกล่าวจึงทำให้คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร และศาลทหารตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว ข้อ ๒ ให้ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดในเขตพื้นที่จังหวัดทหารบกอุดรด้วย ข้อ ๓ คดีที่ค้างอยู่ในศาลจังหวัดทหารบกฉะเชิงเทราในวันที่ประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ ให้โอนไปให้ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒ พิจารณาพิพากษาต่อไป อมรรัตน์/ผู้จัดทำ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๑๒๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๓/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ [๒] ข้อ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๐๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙/ตอนที่ ๑๙๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕
301193
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 301
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๐๑[๑] โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากได้มีประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งมีผลให้จังหวัดทหารบกฉะเชิงเทราสิ้นสภาพไป และเขตพื้นที่ของจังหวัดทหารบกอุดรไม่อยู่ในเขตพื้นที่ของมณฑลทหารบกที่ ๓ และเนื่องจากพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้มีศาลจังหวัดทหารและศาลมณฑลทหารตามจังหวัดทหารและมณฑลทหาร โดยมีเขตอำนาจของศาลจังหวัดทหารและศาลมณฑลทหารตามเขตพื้นที่จังหวัดทหารและมณฑลทหารกฎกระทรวงดังกล่าวจึงทำให้คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร และศาลทหารตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒ ให้ศาลอาญาและศาลจังหวัดทุกศาลในเขตพื้นที่มณฑลทหารบกที่ ๑ และศาลจังหวัดทุกศาลในเขตพื้นที่จังหวัดทหารบกลพบุรี เป็นศาลทหารกรุงเทพ ให้ศาลจังหวัดทุกศาลในเขตพื้นที่จังหวัดทหารบกอุดรเป็นศาลมณฑลทหารบกที่ ๓ ส่วนศาลจังหวัดนอกจากที่กล่าวนี้ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่มณฑลทหารบกใด ให้เป็นศาลมณฑลทหารบกนั้น ๆ ด้วย ศาลทหารดังกล่าว ประกอบด้วยตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาคดี และบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้” ข้อ ๒ ให้ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดในเขตพื้นที่จังหวัดทหารบกอุดรด้วย ข้อ ๓ คดีที่ค้างอยู่ในศาลจังหวัดทหารบกฉะเชิงเทราในวันที่ประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ ให้โอนไปให้ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒ พิจารณาพิพากษาต่อไป ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ข้อ ๕ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๙ สิงหาคมพ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ จอมพล ถ. กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ อมรรัตน์/ตรวจ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙/ตอนที่ ๑๙๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕
315663
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2514
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๔[๑] ตามที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ เวลา ๒๐.๑๑ นาฬิกา เป็นต้นไปแล้ว จึงห้ามมิให้มั่วสุมประชุมกันในทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ มีจำนวนตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๔ จอมพล ถ. กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๑๒๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
315662
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2514
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓[๑] ตามที่ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติว่า คณะปฏิวัติซึ่งประกอบด้วย ทหารบกทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไว้เรียบร้อยแล้วนั้น เพื่อความเรียบร้อยในการปกครองประเทศ คณะปฏิวัติจึงให้ ๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ สิ้นสุดลง ๒. วุฒิสภา สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรี สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ ๓. องคมนตรี คงดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไป ๔. ศาลทั้งหลายคงมีอำนาจดำเนินการพิจารณาและพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมายและประกาศคณะปฏิวัติ ๕. มีกองบัญชาการคณะปฏิวัติ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ของข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือน และเป็นผู้รักษาสถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร ๖. ให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบงานในกระทรวง และบรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า เป็นอำนาจของรัฐมนตรี ให้เป็นอำนาจของปลัดกระทรวง และให้ปฏิบัติราชการโดยขึ้นตรงต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติ หรือผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิวัติมอบหมาย ราชการใดที่มิใช่ราชการประจำตามปกติ หรือที่เป็นปัญหาหรือเป็นนโยบาย หรือเกี่ยวพันกับกระทรวงอื่น ให้ปลัดกระทรวงเสนอขอความวินิจฉัยต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติ โดยผ่านทางหัวหน้ากองอำนวยการ สำหรับข้าราชการทหาร ให้ผ่านทางหัวหน้ากองอำนวยการฝ่ายทหาร สำหรับข้าราชการพลเรือนให้ผ่านทางหัวหน้ากองอำนวยการฝ่ายพลเรือน ๗. ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เลขาธิการ รองผู้อำนวยการ รองเลขาธิการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ผู้ช่วยเลขาธิการ ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองในส่วนราชการสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี อยู่ในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ คงดำรงตำแหน่งต่อไป และให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง และเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ปฏิบัติราชการโดยขึ้นตรงต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติ หรือผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิวัติมอบหมาย อนึ่ง คณะปฏิวัติขอประกาศว่า คณะปฏิวัติจะยังไม่ทำการตรวจข่าวหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ทั้งหลายอาจพิมพ์ออกจำหน่ายได้โดยไม่ต้องผ่านการตรวจข่าวก่อน เพราะคณะปฏิวัติเชื่อว่าหนังสือพิมพ์ทั้งหลายจะให้ความร่วมมือแก่การปฏิวัติครั้งนี้ด้วยวิธีเสนอข่าวความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ตามที่เป็นจริงและด้วยความเป็นธรรม ให้ความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์ใจในทางที่จะช่วยกันสร้างสรรค์ประเทศและประชาชน การกระทำใด ๆ ของหนังสือพิมพ์ที่เป็นไปในทางก่อเรื่องร้าย เสนอความเท็จแก่ประชาชน หรือปราศจากความเป็นธรรม จะถูกยับยั้งด้วยอำนาจปฏิวัติ ซึ่งจำเป็นสำหรับความปลอดภัยของประเทศชาติ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือพิมพ์ที่ทำตนเป็นปากเสียงของชนต่างชาติ ออกเสียงแทนหรือเชิดชูลัทธิที่เป็นภัยต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือพยายามยุแยกให้แตกสามัคคีในชาติโดยทางตรง ทางอ้อม หรือด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องประสบการปราบปรามอย่างเด็ดขาด ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๔ จอมพล ถ. กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๑๒๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
315661
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2514
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒[๑] เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยปราศจากภัยของประชาชนทั่วประเทศ คณะปฏิวัติจึงประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ เวลา ๒๐.๑๑ นาฬิกา เป็นต้นไป และให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บรรดาคดีที่มีข้อหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ซึ่งการกระทำความผิดเกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ เวลา ๒๐.๑๑ นาฬิกา ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน ข้อ ๒ ให้ศาลอาญาและศาลจังหวัดทุกศาลในเขตมณฑลทหารบกที่ ๑ และศาลจังหวัดทุกศาลในเขตจังหวัดทหารบกลพบุรี เป็นศาลทหารกรุงเทพ ส่วนศาลจังหวัดนอกจากที่กล่าวนี้ ซึ่งอยู่ในเขตมณฑลทหารบกใด ให้เป็นศาลมณฑลทหารบกนั้น ๆ ด้วย ศาลทหารดังกล่าวแล้ว ประกอบด้วยตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดี และบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ ข้อ ๓ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ผู้พิพากษาศาลอาญาและผู้พิพากษาศาลจังหวัดทุกศาล เป็นตุลาการศาลทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารแห่งศาลนั้น ๆ ซึ่งเป็นศาลทหารตามความในข้อ ๒ ด้วย ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค เป็นตุลาการศาลทหาร เช่นเดียวกับผู้พิพากษาที่กล่าวแล้ว และให้มีอำนาจนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลภายในเขตของตน ซึ่งเป็นศาลทหารตามประกาศนี้หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้ว ก็ให้มีอำนาจลงนามในคำพิพากษาได้ด้วย ให้จ่าศาลอาญาและจ่าศาลจังหวัดทุกศาล เป็นจ่าศาลทหารแห่งศาลทหารนั้น ๆ ด้วย ข้อ ๔ ให้พนักงานอัยการ เป็นอัยการทหารด้วย ข้อ ๕ ให้ใช้สถานที่ทำการศาลอาญา และสถานที่ทำการศาลจังหวัดทุกศาลเป็นที่ทำการศาลทหารตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๖ บรรดาคดีที่เกิดขึ้นก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามกฎหมายและประกาศกฎอัยการศึกที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ข้อ ๗ เมื่อได้มีประกาศให้เลิกใช้กฎอัยการศึกแล้ว ให้ศาลทหารตามประกาศนี้ คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามความในข้อ ๑ บรรดาที่ค้างอยู่ในศาล และบรรดาที่การกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนวันเวลาเลิกใช้กฎอัยการศึก ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๔ จอมพล ถ. กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ บัญชีท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒ (๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒ (๒) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๒๙ (๓) ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ตั้งแต่มาตรา ๑๓๐ ถึงมาตรา๑๓๕ (๔) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ฐานเป็นอั้งยี่ ฐานเป็นซ่องโจร และการมั่วสุมประชุมกันใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะประทุษร้าย หรือกระทำให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตั้งแต่มาตรา ๒๐๙ ถึงมาตรา ๒๑๖ (๕) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตั้งแต่มาตรา ๒๑๗ ถึงมาตรา ๒๓๙ (๖) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ฐานจัดหรือล่อลวงหญิงหรือเด็กหญิงไป เพื่อการอนาจาร หรือสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ตั้งแต่มาตรา ๒๘๒ ถึงมาตรา ๒๘๔ และมาตรา ๒๘๕ เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา ๒๘๒ และมาตรา ๒๘๓ (๗) ความผิดต่อชีวิต ตั้งแต่มาตรา ๒๘๘ ถึงมาตรา ๒๙๔ (๘) ความผิดต่อร่างกาย ตั้งแต่มาตรา ๒๙๕ ถึงมาตรา ๓๐๐ (๙) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ฐานลักทรัพย์ วิ่งราว กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และรับของโจร ตั้งแต่มาตรา ๓๓๔ ถึงมาตรา ๓๔๐ ทวิ มาตรา ๓๕๗ และมาตรา ๓๖๐ ทวิ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ อมรรัตน์/ตรวจ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๑๒๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๓/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
324921
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2514
ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑[๑] ด้วยคณะปฏิวัติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศ ตั้งแต่เวลา ๑๙ น. วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๔ นี้เป็นต้นไป และสถานการณ์ทั้งหลายตกอยู่ภายใต้ความควบคุมของคณะปฏิวัติโดยทั่วไปแล้ว ขอให้ประชาชนอย่าได้หวาดวิตก ขอให้ประกอบกิจการงานอาชีพต่อไปตามปกติ ให้ข้าราชการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบแบบแผน ดังเช่นที่เคยปฏิบัติ พึงให้ความสะดวกและเอาใจใส่ช่วยเหลือประชาชนที่มาติดต่อ สำหรับทหารห้ามเคลื่อนย้ายกำลังทหารโดยเด็ดขาด เว้นแต่ได้รับคำสั่งจากหัวหน้าคณะปฏิวัติและให้ผู้บังคับบัญชากำลังหน่วยต่าง ๆ ของประเทศ ฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติแต่ผู้เดียว ให้ทุกคนตั้งอยู่ในความสงบ คณะปฏิวัติจะได้ชี้แจงเหตุผลที่จำต้องทำการยึดอำนาจครั้งนี้ให้ทราบต่อไป คณะปฏิวัติคงเทอดทูนพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะอยู่เสมอ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ การยึดอำนาจครั้งนี้ก็เพื่อรักษาสถาบันที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป องค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้รับอารักขาจากคณะปฏิวัติอย่างปลอดภัยแล้วทุกประการ คณะปฏิวัติให้ประกันว่า จะไม่เปลี่ยนแปลงสถาบันใด ๆ เกินกว่าความจำเป็น เพื่อความปลอดภัยของประเทศชาติ ชนชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะทูตานุทูต กงสุล สถานทูต สถานกงสุล และองค์การระหว่างประเทศ คณะปฏิวัติได้ให้ความคุ้มครองอย่างเข้มแข็ง อนึ่ง ขอแจ้งให้ทหารและตำรวจทั้งหลายทราบว่า การยึดอำนาจครั้งนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้บังคับบัญชาในวงการทหาร ตำรวจ ทหารและตำรวจทุกคนยังคงอยู่ใต้ผู้บังคับบัญชาคนเดิม จึงให้ทหารและตำรวจทั้งหลายฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชาคนเดิมต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๔ จอมพล ถ. กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๑๒๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
640360
คำแถลงการณ์ เรื่อง การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกฎอัยยการศึกและธรรมนูญศาลทหาร พุทธสักราช 2487
คำแถลงการณ์ คำแถลงการณ์ เรื่อง การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก และธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช ๒๔๘๗[๑] ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ แล้วนั้น รัฐบาลปัจจุบันมาพิจารณาเห็นว่าการใช้กฎอัยการศึกเป็นการบั่นทอนเสรีภาพของราษฎรซึ่งมีอยู่โดยปกติลงไปหลายประการ เพราะในระบอบการใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนย่อมมีอำนาจเหนือราษฎรยิ่งกว่าในยามปกติเป็นอันมาก แต่ในขณะเดียวกันความจำเป็นแห่งสถานะสงครามก็บังคับให้รัฐบาลจำต้องใช้กฎอัยการศึกต่อไป เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและความมั่นคงของชาติ เมื่อประโยชน์ของรัฐและของราษฎรขัดกันอยู่เช่นนี้รัฐบาลจึงได้เลือกดำเนินการเป็นสายกลาง คือยังคงให้ใช้กฎอัยการศึกต่อไปทั่วประเทศ แต่ได้หาทางผ่อนผันความเข้มงวดแห่งกฎอัยการศึกนั้นลงเพื่อให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุดที่อาจเป็นไปได้ จึงได้ดำเนินการปรับปรุงพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและธรรมนูญศาลทหารเสียใหม่ ซึ่งได้รับความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ดังปรากฏเป็นรูปพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๘๗ และพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๗ ซึ่งได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายไปนั้นแล้ว การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารครั้งนี้ มีหลักการใหญ่อยู่สองประการ คือ (๑) ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนเฉพาะในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ใช่ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนทุกตำแหน่งทุกกระทรวงดังที่เคยเป็นอยู่แต่ก่อน และ (๒) แก้ไขให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาต่อไปโดยปกติแม้ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก และให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเฉพาะที่มีผู้กระทำความผิดฐานประทุษร้ายต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร ขัดขวางทางดำเนินการของราชการทหารในการป้องกันประเทศหรือทำลายความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองในยามสงครามเท่านั้น ผลจึงเป็นว่าคดีอาญาประเภทอื่นนอกจากที่กล่าวนี้ ให้ศาลพลเรือนเป็นผู้พิจารณาพิพากษาแทนที่จะให้ศาลทหารเป็นผู้พิจารณาพิพากษาดังที่เคยเป็นมาแต่เดิม การที่คดีอาญาจะได้รับการพิจารณาพิพากษาในศาลทหารหรือพลเรือนนั้น มีผลแตกต่างกันตั้งแต่แรกดำเนินคดีจนถึงคดีถึงที่สุด ถ้าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน การจับกุมและสอบสวนผู้ต้องหาโดยเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีหลักประกันในเสรีภาพของผู้ต้องหาเป็นอย่างดี แต่ถ้าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารแล้ว ตามวิธีการของกฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการสอบสวนอาจขังผู้ต้องหาไว้ก่อนฟ้องศาลเป็นเวลานาน นอกจากนั้นราษฎรผู้เป็นเจ้าทุกข์ไม่มีโอกาสนำคดีขึ้นฟ้องร้องยังศาลโดยตนเองได้ ต้องมอบคดีให้เจ้าพนักงานเป็นผู้ฟ้องร้อง ในชั้นพิจารณาจำเลยก็ไม่มีสิทธิแต่งทนายความเข้าช่วยแก้คดี และเมื่อศาลทหารตัดสินไปประการใดแล้ว คดีย่อมเสร็จเด็ดขาดไม่มีทางที่จะอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปได้ ซึ่งต่างกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือนดังนี้ เมื่อได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยอำนาจศาลในยามสงครามดังว่านี้แล้ว ยังได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้จัดแบ่งพื้นที่แห่งราชอาณาจักรเกี่ยวแก่การศาลออกเป็น ๓ เขต ในเขต (๑) ซึ่งเป็นเขตสำคัญ อันทางราชการทหารต้องระวังระไวมาก ได้ระบุประเภทคดีที่พลเมืองต้องอยู่ในอำนาจศาลทหารมากกว่าในเขตอื่น แต่ก็ยังน้อยกว่าจำนวนประเภทคดีที่เคยอยู่ในอำนาจศาลทหารมาแต่เดิม ในเขต (๒) ได้ลดจำนวนประเภทคดีที่พลเมืองจะต้องอยู่ในอำนาจศาลทหารลงมาอีกชั้นหนึ่ง ส่วนในเขต (๓) พลเมืองจะไม่ต้องอยู่ในอำนาจศาลทหารเลย ดังนี้ จึงเห็นได้ว่ารัฐบาลได้ให้หลักประกันในเสรีภาพแห่งชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนในยามฉุกเฉินนี้อย่างมากที่สุดที่จะให้ได้ เป็นการช่วยปลดเปลื้องความเดือดร้อนของประชาชนซึ่งถูกกล่าวหาในคดีอาญาไปส่วนหนึ่ง ตรงตามนโยบายที่รัฐบาลคณะนี้ได้แถลงไว้ต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเข้ารับตำแหน่ง การให้หลักประกันแห่งเสรีภาพดังกล่าวแล้วนี้ ประดุจเป็นของขวัญอันดีที่รัฐบาลจะพึงให้แก่ประชาชนได้ในวาระดิถีแห่งวันขึ้นปีใหม่นี้ จึงหวังว่าจะเห็นเจตนาดีของรัฐบาลโดยทั่วกัน สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๘ เมษายน ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๑/ตอนที่ ๗๙/หน้า ๑๒๕๖/๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๗
312818
คำชี้แจง
คำชี้แจง คำชี้แจง[๑] ตั้งแต่เริ่มประกาศใช้กฎอัยการศึกทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๔ เวลา ๒๐.๔๕ นาฬิกา เป็นต้นมา ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวงย่อมถูกฟ้องยังศาลทหารตามกฎอัยการศึกทั้งสิ้น ต่อมาได้มีประกาศกองบัญชาการทหารสูงสุด (ฉบับที่ ๑) บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๘๕ ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาดังที่ระบุไว้ในประกาศนั้นได้ ซึ่งคดีเหล่านี้มีคดีความผิดฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริต และคดีความผิดเกี่ยวแก่ความเท็จรวมอยู่ด้วย ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๘๕ เป็นต้นมา คดีความผิดตามประกาศกองบัญชาการทหารสูงสุด ฉบับที่ ๒ นี้ จึงฟ้องที่ศาลพลเรือนเรื่อยมา แต่บัดนี้ได้มีประกาศกองบัญชาการทหารสูงสุด ฉบับที่ ๒ นี้ สั่งให้ฟ้องคดีความผิดดังกล่าวยังศาลทหารดังเดิมอีก ประกาศนี้ได้กำหนดไว้ดังจะแยกอธิบายได้เป็นตอน ๆ ดังนี้ ๑. ความผิดดังที่ระบุไว้ในประกาศฉบับที่ ๒ นี้ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันบังคับใช้ประกาศฉบับที่ ๒ นี้เป็นต้นไป ต้องฟ้องศาลทหารทั้งสิ้น ๒. ถ้าความผิดเกิดขึ้นภายหลังวัน เวลา ประกาศ กฎอัยการศึก คือ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๔ เวลา ๒๐.๔๕ นาฬิกาเป็นต้นมาจนบัดนี้ และต่อๆ ไป ถ้ายังมิได้ฟ้อง ก็ให้ฟ้องที่ศาลทหาร (มีผลย้อนหลัง) ๓. ถ้าความผิดเกิดขึ้นระหว่างภายหลังวันบังคับใช้ประกาศ ฉบับที่ ๑ คือวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๘๕ ถึงวันบังคับใช้ตามประกาศฉบับที่ ๒ นี้ ถ้าได้ฟ้องไว้ยังศาลพลเรือนก่อนวันใช้ประกาศฉบับที่ ๒ นี้บังคับแล้ว ก็เป็นอันให้ศาลพลเรือนพิจารณาพิพากษาต่อไปได้จนคดีถึงที่สุด ๔. ส่วนความผิดที่เกิดขึ้นภายหลังวันประกาศใช้กฎอัยการศึก (วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๔) จนวันบังคับใช้ประกาศฉบับที่ ๑ (วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๘๕) นั้น ย่อมต้องขึ้นศาลทหารอยู่แล้วเสมอไป นายพลอากาศตรี ภ. เกสสำลี เสนาธิการกองทัพสนาม สุกัญญา/พิมพ์ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๐ ฐิติพงษ์/ตรวจ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๙/ตอนที่ ๕๒/หน้า ๑๔๒๖/๔ สิงหาคม ๒๔๘๕
662130
พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555
พระราชกำหนด พระราชกำหนด กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่ ๖๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกำหนดนี้ “ภัยพิบัติ” หมายความว่า วาตภัย อุทกภัย ธรณีพิบัติภัย และภัยพิบัติอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ “ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย” หมายความว่า บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๔ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในกระทรวงการคลัง เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ” มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยการรับประกันภัยและทำประกันภัยต่อ และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๕ รายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง มาตรา ๖ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๒) เงินที่ได้รับตามมาตรา ๑๒ (๓) เงินที่ได้รับตามมาตรา ๑๓ (๔) เงินที่เป็นเบี้ยประกันภัย (๕) เงินที่ได้รับจากการชดเชยค่าสินไหมทดแทนหรือการคืนเบี้ยประกันภัยจากการทำประกันภัยต่อ (๖) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้บริจาคให้ (๗) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของกองทุน มาตรา ๗ กิจการของกองทุนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย มาตรา ๘ กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๔ อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ (๒) ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๓) ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน (๔) กระทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน มาตรา ๙ การจ่ายเงินจากกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดังต่อไปนี้ (๑) การดำเนินการในการรับประกันภัยและการทำประกันภัยต่อ และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๒) การบริหารกองทุน และการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุน มาตรา ๑๐ การรับประกันภัยและการทำประกันภัยต่อของกองทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง กองทุนอาจมอบหมายหรือว่าจ้างนิติบุคคลอื่นให้ดำเนินการแทนก็ได้ มาตรา ๑๑ ประเภทของการประกันภัย แบบและกรมธรรม์ประกันภัย อัตราเบี้ยประกันภัยและการชดเชยค่าสินไหมทดแทนในการรับประกันภัยของกองทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๑๒ ในกรณีที่มีความจำเป็นและคณะกรรมการเห็นสมควร กองทุนอาจให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายจากการชดเชยค่าสินไหมทดแทนในการรับประกันวินาศภัยที่เป็นภัยพิบัติร้ายแรง ให้ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยที่ประสงค์จะได้รับความช่วยเหลือตามวรรคหนึ่งแจ้งความประสงค์ต่อกองทุน และเมื่อกองทุนพิจารณาเห็นสมควรให้ความช่วยเหลือและแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยทราบแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด การให้ความช่วยเหลือ การขอรับความช่วยเหลือ และการนำส่งเงิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และให้นำความในมาตรา ๑๐ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓ ให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และนำส่งเข้ากองทุนเพื่อให้นำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ โดยไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง การกู้เงินตามวรรคหนึ่ง ให้มีมูลค่ารวมกันไม่เกินห้าหมื่นล้านบาท มาตรา ๑๔ วงเงิน การจัดการและวิธีการที่เกี่ยวกับการกู้เงิน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ มาตรา ๑๕ ค่าใช้จ่ายในการกู้เงินและการออกและการจัดการตราสารหนี้อาจจ่ายจากเงินที่ตั้งไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือเงินกู้รายนั้นก็ได้ มาตรา ๑๖ ให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารและจัดการกู้เงิน การเบิกจ่ายเงินกู้ การชำระหนี้ และการอื่นใดที่เกี่ยวกับการกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๑๗ นอกจากกรณีที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชกำหนดนี้ ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ” ประกอบด้วย ประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกจำนวนไม่เกินสี่คน เป็นกรรมการ ให้ปลัดกระทรวงการคลังแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงการคลังคนหนึ่งเป็นเลขานุการและอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๑๙ การดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๒๐ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกองทุนให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) กำหนดนโยบายและให้ความเห็นชอบในการดำเนินงานของกองทุน (๒) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อมีมติให้หน่วยงานของรัฐหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชกำหนดนี้ (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการบริหารกิจการของกองทุนตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ (๔) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน (๕) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการประชุมของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ (๖) กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือเกี่ยวเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน มาตรา ๒๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ มาตรา ๒๒ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๒๓ การบัญชีของกองทุนให้จัดทำตามหลักสากลตามแบบและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๔ ให้กองทุนจัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ในทุกรอบปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของกองทุน โดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด แล้วทำบันทึกรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการ และให้ส่งสำเนารายงานดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีด้วย มาตรา ๒๕ ในกรณีที่การดำเนินกิจการของกองทุนไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ให้รัฐมนตรีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้มีการยุบเลิกกองทุน เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วย ให้กองทุนยุบเลิกเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ให้สภาพนิติบุคคลของกองทุนดำรงอยู่ตราบเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการตามมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๖ เมื่อยุบเลิกกองทุนแล้ว ให้ทำการตรวจสอบทรัพย์สินและชำระบัญชี รวมทั้งการโอนหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ยังคงเหลืออยู่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๒๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้เกิดวิกฤตการณ์อุทกภัยอย่างร้ายแรงในหลายพื้นที่ของประเทศไทยซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง รัฐบาลมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องบูรณะและฟื้นฟูประเทศ เยียวยาความเสียหายให้แก่ประชาชน รวมทั้งดำเนินการวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ โดยการจัดให้มีการลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น นอกจากนี้ ผลจากการเกิดความเสียหายนั้นยังทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมเริ่มถดถอยและอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงต่อความเชื่อมั่นของสาธารณะ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการฟื้นฟูประเทศทั้งการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย การป้องกันภัยพิบัติที่ใกล้จะถึงและการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพของประชาชนและผู้ลงทุน ซึ่งการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจะต้องใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมากและต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนหลายแนวทาง และโดยที่ปรากฏว่า ในขณะนี้ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการรับประกันวินาศภัยที่เกิดจากภัยพิบัติ ส่งผลให้ประชาชนและผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยประกันเป็นจำนวนสูงมากหรือไม่สามารถเอาประกันภัยได้ ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการให้ได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินและกิจการของบุคคลดังกล่าวที่อาจเกิดความเสียหายขึ้นในอนาคต และเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนในประเทศ สมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เพื่อจัดตั้งกองทุนในการทำหน้าที่บริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๕/๒๖ มกราคม ๒๕๕๕
794063
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการเสร็จสิ้นการชำระบัญชีของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการเสร็จสิ้นการชำระบัญชีของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ[๑] เพื่ออนุวัติตามความในข้อ ๘ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการตรวจสอบทรัพย์สินและชำระบัญชีเพื่อยุบเลิกกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติกระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ รับทราบรายงานการเสร็จสิ้นการชำระบัญชีของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้ว ดังมีรายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๕๐๕/๓๖๑๗๓ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ และภาพถ่ายหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค ๑๐๐๓/๑๘๓๘๒ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ ตามท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายงานการชำระบัญชีกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ ๔ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๒๓ ง/หน้า ๗/๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๐
794054
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการตรวจสอบทรัพย์สินและชำระบัญชีเพื่อการยุบเลิกกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการตรวจสอบทรัพย์สินและชำระบัญชี เพื่อการยุบเลิกกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ เห็นชอบให้ยุบเลิกกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ แห่งพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจสอบทรัพย์สินและชำระบัญชีกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ดังนี้ ๑. ให้มีคณะกรรมการชำระบัญชี ประกอบด้วย ๑.๑ นายลวรณ แสงสนิท ประธาน ๑.๒ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง กรรมการ ๑.๓ ผู้แทนสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กรรมการ ๑.๔ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม กรรมการ การประกอบธุรกิจประกันภัย ๑.๕ ผู้อำนวยสำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรรมการ ๑.๖ ผู้แทนสำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ กรรมการและ ทางการเงินสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขานุการ ๑.๗ ผู้แทนสำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ ๒. ให้คณะกรรมการชำระบัญชีมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ติดตาม ทวงถาม รวบรวม และรับเงิน เอกสาร ทรัพย์สิน หรือสิ่งของใด ๆ ที่กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติมีสิทธิได้รับจากบุคคลอื่น (๒) บอกกล่าว ทวงถาม ใช้สิทธิเรียกร้อง แจ้งความ ร้องทุกข์ กล่าวโทษ ว่าต่าง แก้ต่าง และดำเนินอรรถคดีทั้งปวงทางศาล หรืออนุญาโตตุลาการ ในนามกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติเกี่ยวกับอรรถคดีทั้งปวง โดยให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในการจำหน่ายสิทธิของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้องการประนีประนอมยอมความการมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา การสละสิทธิ หรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์ หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ (๓) ดำเนินการใด ๆ ให้เป็นไปตามสัญญา ข้อตกลงหรือภาระผูกพันที่กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติมีอยู่ต่อบุคคลภายนอก (๔) ชำระค่าธรรมเนียม ค่าภาระติดพัน ค่าจ้างและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการชำระบัญชีตามลำดับก่อนหนี้สินรายอื่น (๕) นำเงินเท่าจำนวนซึ่งต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้ของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติที่มิได้ขอรับชำระหนี้ ไปวางชำระหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ (๖) จัดหาหรือเช่าพาหนะ รวมทั้งจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ (๗) ว่าจ้างบุคคลอื่นเพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการชำระบัญชีมอบหมาย เพื่อประโยชน์ในการชำระบัญชีกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ (๘) ดำเนินการที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ๓. ให้คณะกรรมการชำระบัญชีมีอำนาจกันเงินตามจำนวนที่คณะกรรมการชำระบัญชีกำหนดเพื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการชำระบัญชีของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ รวมถึงเป็นค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือบุคคลซึ่งเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ กรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการ พนักงาน ลูกจ้างและผู้ปฏิบัติงานของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ในกรณีที่ถูกฟ้องและหรือถูกดำเนินคดีด้วย ๔. บรรดาอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติตามพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ตามที่ประกาศ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ หรือคำสั่งใด ๆ ที่กำหนดไว้ ให้คณะกรรมการชำระบัญชีเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่พิจารณา วินิจฉัย ชี้ขาด หรือกระทำการดังกล่าวแทน ๕. ให้นำบทบัญญัติหมวด ๕ ลักษณะ ๒๒ ในบรรพ ๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการชำระบัญชีโดยอนุโลม ๖. คณะกรรมการชำระบัญชีจะต้องชำระบัญชีกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี นับจากวันที่ได้รับการแต่งตั้ง หากการชำระบัญชีกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติไม่แล้วเสร็จภายกำหนดเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่ง คณะกรรมการชำระบัญชีต้องทำรายงานผลการชำระบัญชีเสนอรัฐมนตรีเพื่อทราบก่อนครบกำหนดดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และขออนุมัติรัฐมนตรีขยายเวลาการชำระบัญชีหากมีความจำเป็น ๗. ในการชำระบัญชีกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ประธานกรรมการชำระบัญชีเป็นผู้แทนคณะกรรมการชำระบัญชี และเพื่อการนี้ประธานกรรมการชำระบัญชีจะมอบอำนาจให้กรรมการชำระบัญชี พนักงาน หรือลูกจ้างของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติกระทำกิจการเป็นการทั่วไปหรือเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ๘. เมื่อเสร็จการชำระบัญชีแล้วให้คณะกรรมการชำระบัญชีดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอรายงานการชำระบัญชีต่อรัฐมนตรีภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่เสร็จการชำระบัญชีเพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ให้ถือว่าวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี (๒) ให้โอนทรัพย์สินที่คงเหลือให้แก่กระทรวงการคลังภายในหกสิบวันนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี (๓) มอบสมุด บัญชี และเอกสารทั้งหมดของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติให้แก่กระทรวงการคลังภายในสิบสี่วันนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี และให้กระทรวงการคลังเก็บรักษาสมุดบัญชี และเอกสารทั้งหมดของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติไว้สิบปีนับแต่วันรับมอบเอกสารดังกล่าว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ ๔ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๒๓ ง/หน้า ๔/๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๐
697813
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายระยะเวลาการเบิกเงินกู้เพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายระยะเวลาการเบิกเงินกู้เพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๑[๑] ด้วยกระทรวงการคลังได้มีการขยายระยะเวลาการเบิกเงินกู้เพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๑ ทำให้รายละเอียดและเงื่อนไขที่ระบุในข้อ ๓.๒ วรรคสาม ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา ๑๗ แห่งพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ และมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ข้อ ๑ การกู้เงินตามประกาศดังกล่าว กระทรวงการคลังจะเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และจะเบิกเงินกู้ให้เสร็จภายในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ข้อ ๒ รายละเอียดและเงื่อนไขการกู้เงินอื่น เป็นไปตามประกาศเดิมทุกประการ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๖ ง/หน้า ๓๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
678724
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา ๑๗ แห่งพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลัง ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ ได้ดำเนินการกู้เงินตามความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ๑. ผู้ให้กู้ : ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๒. วัตถุประสงค์ในการกู้ : เพื่อนำเงินส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ๓. รายละเอียดเงื่อนไข : ๓.๑ ระยะเวลากู้เงิน ๒ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ๓.๒ วงเงินกู้ จำนวน ๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจะเบิกเงินกู้เป็นงวด ๆ โดยจะทยอยเบิกเงินกู้แต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) และจะแจ้งผู้ให้กู้ทราบเป็นหนังสือก่อนการเบิกเงินกู้แต่ละงวดไม่น้อยกว่า ๒ วันทำการ กระทรวงการคลังจะเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และจะเบิกเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ในกรณีที่กระทรวงการคลังไม่เบิกเงินกู้ให้ครบตามวงเงินกู้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหนี้ผู้ให้กู้เพียงจำนวนที่เบิกรับไปแล้วเท่านั้น ๓.๓ อัตราดอกเบี้ยคงที่เท่ากับอัตราร้อยละ ๒.๙๙ ต่อปี ๓.๔ การชำระดอกเบี้ย กระทรวงการคลังจะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ให้ผู้ให้กู้ทุกงวด ๖ เดือน ในวันที่ ๙ พฤษภาคม และวันที่ ๙ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยจะชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ และชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้ายพร้อมต้นเงินกู้ ณ วันสิ้นสุดสัญญาเงินกู้ ๓.๕ การชำระต้นเงิน กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ทั้งจำนวน ณ วันสิ้นสุดสัญญากู้เงิน คือวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ๓.๖ การชำระหนี้ก่อนกำหนด กระทรวงการคลังสามารถชำระหนี้คืนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ได้ โดยกระทรวงการคลังจะแจ้งให้ผู้ให้กู้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒ วันทำการ ๓.๗ หากวันครบกำหนดชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยคราวใดตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลังจะชำระหนี้ในวันเปิดทำการถัดไปโดยไม่นับวันหยุดราชการหรือวันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว เข้ารวมเพื่อคำนวณดอกเบี้ยในงวดที่ถึงกำหนดชำระ ยกเว้นการชำระหนี้งวดสุดท้ายให้คำนวณดอกเบี้ยจนถึงก่อนวันชำระหนี้ ๓.๘ ไม่มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใดๆ ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๒๘/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕
678126
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินกู้เพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินกู้เพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑[๑] ตามที่กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ วงเงินกู้จำนวน ๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าร้อยล้านบาทถ้วน) เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเบิกเงินกู้ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้จริงจำนวน ๘๖,๔๐๕,๒๕๐ บาท (แปดสิบหกล้านสี่แสนห้าพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน) นั้น เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา ๑๗ แห่งพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ และมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินกู้เพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ จากจำนวน ๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าร้อยล้านบาทถ้วน) เป็นจำนวน ๘๖,๔๐๕,๒๕๐ บาท (แปดสิบหกล้านสี่แสนห้าพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๓๑/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
667597
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑[๑] เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา ๑๗ แห่งพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๕ จึงได้ดำเนินการกู้เงิน โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ๑. ผู้ให้กู้ : ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ๒. วัตถุประสงค์ในการกู้ : เพื่อนำเงินส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ๓. รายละเอียดเงื่อนไข : ๓.๑ ระยะเวลากู้เงิน ๒ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ๓.๒ วงเงินกู้ จำนวน ๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าร้อยล้านบาทถ้วน) กระทรวงการคลังจะทยอยเบิกเงินกู้ นับตั้งแต่วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ จนถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ โดยจะแจ้งผู้ให้กู้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒ วันทำการ ๓.๓ อัตราดอกเบี้ย เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง บวกร้อยละ ๐.๒๖ ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ยทุกงวด ๖ เดือน หากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง การคำนวณดอกเบี้ยใช้หลักเกณฑ์หนึ่งปี มี ๓๖๕ วัน แล้วนับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง “อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง” หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ (BIBOR) ระยะ ๖ เดือน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ๓.๔ การชำระดอกเบี้ย กระทรวงการคลังจะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ให้ผู้ให้กู้ทุกงวด ๖ เดือน ในวันที่ ๓๐ เมษายน และวันที่ ๓๑ ตุลาคมของทุกปี โดยจะชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ และชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้ายพร้อมต้นเงินกู้ ณ วันสิ้นสุดสัญญาเงินกู้ ซึ่งจะปรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงทุกงวด ๖ เดือน หากมีการเปลี่ยนแปลง การชำระดอกเบี้ยงวดแรก กระทรวงการคลังจะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ ระยะ ๖ เดือน (BIBOR) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันประมูลเงินกู้ สำหรับอัตราดอกเบี้ยในงวดต่อ ๆ ไป จะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ๒ วันทำการ ก่อนวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ย เพื่อใช้คำนวณดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนถัดมา ๓.๕ การชำระต้นเงิน กระทรวงการคลังจะชำระคืนต้นเงินกู้ทั้งจำนวน ณ วันสิ้นสุดสัญญากู้เงิน คือวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๗ ๓.๖ การชำระหนี้ก่อนกำหนด กระทรวงการคลังสามารถชำระคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนดได้ทั้งจำนวนหรือบางส่วน โดยกระทรวงการคลังจะแจ้งให้ผู้ให้กู้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒ วันทำการ ๓.๗ หากวันครบกำหนดชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยคราวใดตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลังจะชำระหนี้ในวันเปิดทำการถัดไป โดยไม่นับวันหยุดราชการหรือวันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว เข้ารวมเพื่อคำนวณดอกเบี้ยในงวดที่ถึงกำหนดชำระ ยกเว้นการชำระหนี้งวดสุดท้ายให้คำนวณดอกเบี้ยจนถึงก่อนวันชำระหนี้ ๓.๘ ไม่มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๘๒ ง/หน้า ๑๒/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕
663519
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 และพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ และพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับ ความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ และพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ รวม ๒ ฉบับ ไปเพื่อรัฐสภาพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นั้น ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ และพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ รวม ๒ ฉบับ และในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนด รวม ๒ ฉบับ ดังกล่าวแล้ว จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๑๘๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๑๒/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
681532
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 171/2555 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความเอกสารแนบท้ายสำหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยและกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินที่มีอัตราเบี้ยประกันภัยต่ำกว่ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติกำหนดตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป
คำสั่งนายทะเบียน คำสั่งนายทะเบียน ที่ ๑๗๑/๒๕๕๕ เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความเอกสารแนบท้ายสำหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย และกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน ที่มีอัตราเบี้ยประกันภัยต่ำกว่ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ กำหนดตั้งแต่ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไป[๑] เนื่องจากคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติได้ออกประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ (ฉบับที่ ๔) กำหนดให้การรับประกันภัยสำหรับความเสี่ยงภัยพิบัติ สำหรับผู้เอาประกันภัยกลุ่ม SMEs และอุตสาหกรรม โดยใช้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย หรือกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) ที่ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำกว่ากองทุน ตั้งแต่ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไป บริษัทประกันภัยจะไม่ออกกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติและเอาประกันภัยต่อกับกองทุนก็ได้ ดังนั้น เพื่อให้มีเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยรองรับกับกรณีดังกล่าว อาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ นายทะเบียนจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คำสั่งนี้เรียกว่า “คำสั่งนายทะเบียนที่ ๑๗๑/๒๕๕๕ เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความเอกสารแนบท้ายสำหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยและกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินที่มีอัตราเบี้ยประกันภัยต่ำกว่ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติกำหนดตั้งแต่ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไป” ข้อ ๒ การรับประกันภัยสำหรับความเสี่ยงภัยพิบัติ สำหรับผู้เอาประกันภัยกลุ่ม SMEs และอุตสาหกรรมที่บริษัทไม่ออกกรมธรรม์ประกันภัยภัยพิบัติ ไม่เอาประกันภัยต่อกับกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ และใช้อัตราเบี้ยประกันภัยที่ต่ำกว่ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติกำหนดตั้งแต่ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไป ให้บริษัท (๑) ใช้แบบและข้อความเอกสารแนบท้ายสำหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่แนบท้ายคำสั่งนี้ ดังต่อไปนี้ (ก) เอกสารแนบท้ายคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากภัยลมพายุ (แบบ อค. 1.32) (ข) เอกสารแนบท้ายคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากภัยน้ำท่วม (แบบ อค. 1.33) (ค) เอกสารแนบท้ายคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากภัยแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดหรือคลื่นใต้น้ำหรือสึนามิ (แบบ อค. 1.34) (๒) ใช้แบบและข้อความเอกสารแนบท้ายสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินที่แนบท้ายคำสั่งนี้ ดังต่อไปนี้ (ก) เอกสารแนบท้ายคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากภัยน้ำท่วม (แบบ ทส. 1.06) (ข) เอกสารแนบท้ายคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากภัยลมพายุ (แบบ ทส. 1.07) (ค) เอกสารแนบท้ายคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากภัยแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดหรือคลื่นใต้น้ำหรือสึนามิ (แบบ ทส. 1.08) ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารแนบท้ายคุ้มครองความเสียหายอันเกิดขึ้นจากภัยลมพายุ (Windstorm Endorsement) (กรณีคุ้มครองภัยธรรมชาติทั่วไปและภัยพิบัติโดยใช้อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำกว่ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติตั้งแต่ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไป) (แบบ อค.1.32) ๒. เอกสารแนบท้ายคุ้มครองความเสียหายอันเกิดขึ้นจากภัยน้ำท่วม (Flood Endorsement) (กรณีคุ้มครองภัยธรรมชาติทั่วไปและภัยพิบัติโดยใช้อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำกว่ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติตั้งแต่ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไป) (แบบ อค.1.33) ๓. เอกสารแนบท้ายคุ้มครองความเสียหายอันเกิดขึ้นจากภัยแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำ หรือสึนามิ (Earthquake or Volcanic Eruption or Tidal Wave or Tsunami Endorsement) (กรณีคุ้มครองภัยธรรมชาติทั่วไปและภัยพิบัติโดยใช้อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำกว่ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติตั้งแต่ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไป) (แบบ อค.1.34) ๔. เอกสารแนบท้ายว่าด้วยการจำกัดจำนวนเงินความรับผิดจากภัยน้ำท่วม (Sub Limit for Risks from flood Endorsement) (กรณีคุ้มครองภัยธรรมชาติทั่วไปและภัยพิบัติโดยใช้อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำกว่ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ตั้งแต่ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไป) (แบบ ทส.1.06) ๕. เอกสารแนบท้ายว่าด้วยการจำกัดจำนวนเงินความรับผิดจากภัยลมพายุ (Sub Limit for Risks from Windstorm Endorsement) (กรณีคุ้มครองภัยธรรมชาติทั่วไปและภัยพิบัติโดยใช้อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำกว่ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยตั้งแต่ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไป) (แบบ ทส.1.07) ๖. เอกสารแนบท้ายว่าด้วยการจำกัดจำนวนเงินความรับผิดจากภัยแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดหรือคลื่นใต้น้ำหรือสึนามิ (Sub Limit for Risks from Earthquake or Volcanic Eruption or Tidal Wave or Tsunami Endorsement) (กรณีคุ้มครองภัยธรรมชาติทั่วไปและภัยพิบัติโดยใช้อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำกว่ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ตั้งแต่ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไป) (แบบ ทส.1.08) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๑๐๑/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
680662
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 35/2555 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานข้อมูลการรับประกันภัยพิบัติ
คำสั่งนายทะเบียน คำสั่งนายทะเบียน ที่ ๓๕/๒๕๕๕ เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานข้อมูลการรับประกันภัยพิบัติ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๑ (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ นายทะเบียนจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คำสั่งนี้เรียกว่า “คำสั่งนายทะเบียน ที่ ๓๕/๒๕๕๕ เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานข้อมูลการรับประกันภัยพิบัติ” ข้อ ๒ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่มีคำสั่งเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในคำสั่งนี้ “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ข้อ ๔ ให้บริษัทที่รับประกันภัยพิบัติภายใต้พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ จัดทำและยื่นรายงานข้อมูลการรับประกันภัยพิบัติเป็นรายเดือนภายในสิ้นเดือนถัดไปตามแบบที่แนบท้ายคำสั่งนี้ สำหรับการรับประกันภัยพิบัติภายใต้พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ถึงเดือนสิงหาคม ๒๕๕๕ ให้บริษัทจัดทำและยื่นรายงานการรับประกันภัยพิบัติตามวรรคหนึ่งภายในสองเดือนนับแต่วันที่ในคำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๕ ให้บริษัทยื่นรายงานตามข้อ ๔ ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อนายทะเบียนตามระบบที่สำนักงานกำหนดไว้ หากข้อมูลไม่ผ่านการตรวจสอบจากระบบคอมพิวเตอร์ตามที่กำหนดไว้ ให้ถือว่าบริษัทมิได้ยื่นรายงานดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถยื่นรายงานตามข้อ ๔ ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้บริษัทยื่นคำขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อนายทะเบียนก่อนสิ้นสุดระยะเวลานั้นได้ โดยต้องระบุเหตุผลและความจำเป็นมาด้วย หากนายทะเบียนเห็นสมควร จะอนุญาตขยายระยะเวลาก็ได้ ในกรณีที่รายงานตามข้อ ๔ ที่ยื่นมาไม่ถูกต้องหรือไม่มีรายการครบถ้วน นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ สั่ง ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายงานการรับประกันภัยพิบัติ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๔๑/๓๐ มกราคม ๒๕๕๖
566871
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกำหนด พระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นปีที่ ๓๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกำหนดนี้ “กู้ยืมเงิน”[๒] หมายความว่า รับเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าในลักษณะของการรับฝาก การกู้ การยืม การจำหน่ายบัตรหรือสิ่งอื่นใด การรับเข้าเป็นสมาชิก การรับเข้าร่วมลงทุน การรับเข้าร่วมกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในลักษณะอื่นใด โดยผู้กู้ยืมเงินหรือบุคคลอื่นจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการรับเพื่อตนเองหรือรับในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้กู้ยืมเงินหรือของผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือในฐานะอื่นใด และไม่ว่าการรับหรือจ่ายเงิน ทรัพย์สิน ผลประโยชน์อื่นใด หรือผลประโยชน์ตอบแทนนั้น จะกระทำด้วยวิธีการใด ๆ “ผลประโยชน์ตอบแทน”[๓] หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงิน หรือบุคคลอื่นจ่ายหรือจะจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินเพื่อการกู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายในลักษณะดอกเบี้ย เงินปันผล หรือลักษณะอื่นใด “ผู้กู้ยืมเงิน” หมายความว่า บุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงิน และในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย “ผู้ให้กู้ยืมเงิน” หมายความรวมถึง บุคคลซึ่งผู้ให้กู้ยืมเงินระบุให้เป็นบุคคลที่ได้รับต้นเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้กู้ยืมเงิน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๔[๔] ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงินตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงินในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ผู้ใดไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ดำเนินการ หรือให้พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลใดดำเนินการโฆษณา ประกาศหรือชักชวนประชาชนให้ลงทุนโดย (๑) ซื้อหรือขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งหรือหลายสกุล หรือ (๒) เก็งกำไรหรืออาจจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย มาตรา ๕ ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) ในการกู้ยืมเงินหรือจะกู้ยืมเงิน (ก) มีการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป หรือโดยการแพร่ข่าวด้วยวิธีอื่นใด หรือ (ข) ดำเนินกิจการกู้ยืมเงินเป็นปกติธุระ หรือ (ค) จัดให้มีผู้รับเงินในการกู้ยืมเงินในแหล่งต่าง ๆ หรือ (ง) จัดให้มีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ไปชักชวนบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้มีการให้กู้ยืมเงิน หรือ (จ) ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินเกินสิบคนซึ่งมีจำนวนเงินกู้ยืมรวมกันตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป อันมิใช่การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และ (๒) ผู้นั้น (ก) จ่าย หรือโฆษณา ประกาศ แพร่ข่าว หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน จะพึงจ่ายได้ หรือ (ข) ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือกิจการของผู้นั้นตามที่ผู้นั้นได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ ไม่ปรากฏหลักฐานพอที่จะเชื่อได้ว่า เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินทั้งหลาย ผู้นั้นต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา ๔ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้นจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า กิจการของตนหรือของบุคคลที่ตนอ้างถึงนั้น เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายตามที่ตนได้กล่าวอ้าง หรือหากกิจการดังกล่าวไม่อาจให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียง ก็จะต้องพิสูจน์ได้ว่ากรณีดังกล่าวได้เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผิดปกติอันไม่อาจคาดหมายได้ หรือมีเหตุอันสมควรอย่างอื่น มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราผลประโยชน์ตอบแทนตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินได้จ่ายหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่มิใช่เป็นตัวเงิน ให้คำนวณมูลค่าของผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวออกเป็นจำนวนเงิน ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงินไม่เปิดช่องให้คำนวณผลประโยชน์ตอบแทนเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ ให้ประมาณการจากอัตราผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่คาดว่าผู้ให้กู้ยืมเงินจะได้รับ หากจะมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนนั้น[๕] มาตรา ๗ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ใดได้กระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือกระทำการตามมาตรา ๕ (๑) หรือ (๒) (ก) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกให้ผู้นั้นหรือบุคคลใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบถึงการกู้ยืมเงิน มาให้ถ้อยคำ (๒) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) รายงานสภาพกิจการของตนตลอดจนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของตน (๓) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินมาตรวจสอบ (๔) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อทำการตรวจสอบหรือค้นบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นของบุคคลดังกล่าวตาม (๑) ในการนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้นให้ปฏิบัติการเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือค้น ตามควรแก่เรื่อง และให้มีอำนาจยึดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานเหล่านั้น มาตรวจสอบได้ การเรียกหรือการสั่งตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหนังสือเรียกหรือคำสั่ง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบหรือค้นตาม (๔) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ จะกระทำการต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ มาตรา ๘ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้กู้ยืมเงินผู้ใดที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สิน และเห็นสมควรให้มีการดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้ก่อนเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้ก่อนได้ แต่จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้เกินกว่าเก้าสิบวันไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีมีการฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ ให้คำสั่งยึดหรืออายัดดังกล่าวยังคงมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ใดไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สิน แต่ยังไม่สมควรสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามมาตรา ๑๐ การยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙ เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีอาญาแก่ผู้ใดในความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ถ้าผู้ให้กู้ยืมเงินร้องขอ ให้พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกต้นเงินคืนให้แก่ผู้นั้นได้ และจะเรียกผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายให้แก่ผู้นั้นด้วยก็ได้ ในการนี้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๐ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน ให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ เป็นบุคคลล้มละลายได้ เมื่อ (๑) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สินได้ (๒) เป็นหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินรายหนึ่งหรือหลายรายเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งแสนบาท และ (๓) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม การฟ้องคดีล้มละลายตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย โดยให้ถือว่าพนักงานอัยการมีฐานะ และสิทธิหน้าที่เสมือนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ และให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ค่าฤชาธรรมเนียม หรือการต้องวางเงินประกันต่าง ๆ ตามกฎหมายดังกล่าว ในการพิจารณาคดีล้มละลาย ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ในการพิพากษาคดีล้มละลายตามมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับส่วนแบ่งทรัพย์สินของเจ้าหนี้ในลำดับ (๘) ของมาตรา ๑๓๐ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย โดยให้คำนึงถึงผลประโยชน์ตอบแทนที่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินแต่ละรายได้รับมาแล้วก่อนมีการดำเนินคดีล้มละลายประกอบด้วย มาตรา ๑๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๑/๑[๖] ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้ผู้แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดมีสิทธิได้รับเงินสินบนและให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดมีสิทธิได้รับเงินรางวัล โดยให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลสั่งจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลจากค่าปรับที่ผู้กระทำความผิดได้ชำระต่อศาลเมื่อคดีถึงที่สุด การจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลให้จ่ายเป็นจำนวนรวมกันแล้วร้อยละยี่สิบห้าของค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับเงินสินบนและเงินรางวัล การกำหนดส่วนแบ่งในระหว่างผู้มีสิทธิหลายราย และการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ มาตรา ๑๓ ผู้ใดขัดขวาง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๔) หรือมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๔ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน และปรับไม่เกินสามหมื่นบาท มาตรา ๑๕[๗] ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย มาตรา ๑๕/๑[๘] ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ถ้าได้กระทำความผิดนั้นซ้ำอีกในระหว่างรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษอยู่ก็ดี หรือภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นอีกหนึ่งเท่าของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง มาตรา ๑๕/๒[๙] ในกรณีคนต่างด้าวต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้เนรเทศผู้นั้นออกนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ถ้าผู้นั้นจะต้องรับโทษก็ให้รับโทษก่อน มาตรา ๑๖ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ใดได้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และการกระทำของผู้นั้นมีลักษณะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับ มาตรา ๑๗ การกู้ยืมเงินที่มีลักษณะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ซึ่งมีสัญญาหรือข้อตกลงการกู้ยืมเงินที่ได้กระทำไว้ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวเท่าที่มีผลผูกพันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ยังคงมีผลใช้ได้ต่อไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด ให้สัญญาหรือข้อตกลงนั้นมีผลผูกพันได้ต่อไป และให้สิ้นสุดลงเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือชำระหนี้หรือบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น (๒) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลาสิ้นสุดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงนั้นสิ้นสุดลงตามที่ได้สัญญาหรือตกลงไว้นั้น เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น (๓) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลาสิ้นสุดภายหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ เว้นแต่คู่สัญญาจะมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสองภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ก็ให้ข้อสัญญาหรือข้อตกลงนั้นสิ้นสุดลงตามที่ได้จดทะเบียนไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นการตัดสิทธิคู่สัญญาที่จะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนสัญญาหรือข้อตกลงตาม (๓) ของวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และในกรณีที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนโดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว พนักงานเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนให้ได้ต่อเมื่อได้มีหนังสือสอบถามไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้ให้ความยินยอมและยอมรับข้อความในสัญญาหรือข้อตกลงที่นำมาขอจดทะเบียนนั้นแล้ว ในการรับจดทะเบียน ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าสัญญาหรือข้อตกลงใดกระทำขึ้นหลังวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งปฏิเสธการจดทะเบียนพร้อมทั้งให้เหตุผลต่อผู้ขอจดทะเบียน ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่เห็นด้วย ให้มีสิทธิไปร้องขอต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ศาลมีคำวินิจฉัยแสดงว่าสัญญาหรือข้อตกลงนั้นได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และให้นำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม บทบัญญัติมาตรานี้ มีผลใช้บังคับในทางแพ่งและไม่มีผลเป็นการลบล้างความผิดอาญาแต่อย่างใด มาตรา ๑๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากขณะนี้ปรากฏว่า มีการกู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อย่างอื่นตอบแทนให้สูงเกินกว่าประโยชน์ที่ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินจะพึงหามาได้จากการประกอบธุรกิจตามปกติ โดยผู้กระทำได้ลวงประชาชนที่หวังจะได้ดอกเบี้ยในอัตราสูงให้นำเงินมาเก็บไว้กับตนด้วยการใช้วิธีการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงเป็นเครื่องล่อใจ แล้วนำเงินที่ได้มาจากการกู้ยืมหรือรับฝากเงินรายอื่น ๆ มาจ่ายเป็นดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ฝากเงินรายก่อน ๆ ในลักษณะต่อเนื่องกัน ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการฉ้อโกงประชาชน เพราะเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่า ในที่สุดจะต้องมีประชาชนจำนวนมากไม่สามารถได้รับต้นเงินกลับคืนได้ และผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินกับผู้ที่ร่วมกระทำการดังกล่าวจะได้รับประโยชน์จากเงินที่ตนได้รับมา เพราะผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ฝากเงินไม่สามารถบังคับหรือติดตามให้มีการชำระหนี้ได้ อนึ่ง กิจการดังกล่าวนี้มีแนวโน้มจะขยายตัวแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว หากปล่อยให้มีการดำเนินการต่อไปย่อมจะก่อให้เกิดผลร้ายแก่ประชาชนทั่วไป และจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ สมควรที่จะมีกฎหมายเพื่อปราบปรามการกระทำดังกล่าว กับสมควรวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗[๑๐] พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๔[๑๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่ามีบุคคลประกอบกิจการโดยวิธีชักจูงให้ผู้อื่นส่งเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่นให้แก่ตน และให้ผู้นั้นชักจูงผู้อื่นตามวิธีการที่กำหนด และแสดงให้ผู้ถูกชักจูงเข้าใจว่า ถ้าได้ปฏิบัติตามจนมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเข้าร่วมต่อ ๆ ไปจนครบวงจรแล้วผู้ถูกชักจูงจะได้รับกำไรมากกว่าเงินหรือประโยชน์ที่ผู้นั้นได้ส่งไว้ ดังเช่นที่บางคนเรียกว่า แชร์ลูกโซ่ ในที่สุดการดำเนินการเช่นนั้นจะมิได้เป็นไปตามคำชักจูง แต่กลับจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้หลงเชื่อ เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ให้ครอบคลุมถึงการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕[๑๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการหลอกลวงประชาชนให้นำเงินเข้ามาร่วมลงทุนในธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศหรือเก็งกำไร ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนที่ถูกหลอกลวงแล้วยังเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง แต่บทบัญญัติของพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ในปัจจุบันไม่อาจใช้บังคับครอบคลุมแก่การกระทำดังกล่าวได้ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และกำหนดให้การโฆษณา หรือประกาศ หรือการกระทำใด ๆ ให้ประชาชนนำเงินเข้ามาร่วมลงทุนลักษณะดังกล่าว เป็นความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย ประกอบกับสมควรเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องการคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนความรับผิดของพนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลผู้กระทำความผิด ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้นเมื่อมีการกระทำความผิดซ้ำ และการเนรเทศผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นคนต่างด้าว รวมทั้งให้มีการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลเพื่อให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ อังศุมาลี/ผู้จัดทำ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ อุดมลักษณ์/ผู้ตรวจ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ วริญา/เพิ่มเติม ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ [๒] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “กู้ยืมเงิน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๓] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “ผลประโยชน์ตอบแทน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๔] มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๕] มาตรา ๖ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๖] มาตรา ๑๑/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๗] มาตรา ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ [๘] มาตรา ๑๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๙] มาตรา ๑๕/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๖๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๘ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๓๔ [๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๒๒ ก/หน้า ๑/๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๕ [๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
768953
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตราแห่งประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด จำนวนเจ็ดสิบหกฉบับ ดังต่อไปนี้ และให้ใช้ความตามที่ปรากฏในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้แทนตามลำดับ (๑) มาตรา ๑๒ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) มาตรา ๓๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๒๕ และมาตรา ๙๐/๕ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๓) มาตรา ๖๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๔) มาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๕) มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๖) มาตรา ๒๘/๔ แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖ (๗) มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ (๘) มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ (๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ (๑๐) มาตรา ๗๒/๕ แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (๑๑) มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๒) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๓) มาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๔) มาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๕) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๖) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๗) มาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๘) มาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ (๑๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒๐) มาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ (๒๑) มาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ (๒๓) มาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ (๒๔) มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒๕) มาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒๖) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๗) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๘) มาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๙) มาตรา ๘๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๐) มาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓๑) มาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๒) มาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓๓) มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓๕) มาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ (๓๖) มาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๐ (๓๗) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๓๘) มาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (๓๙) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๐) มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๑) มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๒) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ (๔๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๕) มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๖) มาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๗) มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๘) มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔๙) มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๐) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๑) มาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ (๕๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๔) มาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๕๕) มาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ (๕๖) มาตรา ๑๓๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๗) มาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๘) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ (๕๙) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ (๖๐) มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖๑) มาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ (๖๒) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๓) มาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๔) มาตรา ๑๕๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๕) มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐ (๖๖) มาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๗) มาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๘) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๖๙) มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๐) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๑) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๒) มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๓) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๔) มาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๗๕) มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ (๗๖) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บัญชีท้ายพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑. พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗๔ “มาตรา ๑๒ จัตวา ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒. ประมวลรัษฎากร “มาตรา ๓๕ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” “มาตรา ๙๐/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓. พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ “มาตรา ๖๒ ตรี ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๒ ทวิ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๒ ทวิ ด้วย” ๔. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ “มาตรา ๑๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ “มาตรา ๒๕ ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗ ถึงมาตรา ๒๔ ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทจำกัดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัดนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทจำกัดนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ๖. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ “มาตรา ๒๘/๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ “มาตรา ๓๙ ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๘. พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ “มาตรา ๓๓ ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นิติบุคคลใดมิใช่กระทรวง ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้คำว่า “อผศ.” “ทหารผ่านศึก” “ผ่านศึก” “นอกประจำการ” หรือคำว่า“ทหาร” เป็นชื่อหรือประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” ๙. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๐. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ “มาตรา ๗๒/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๗๒/๒ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๑. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๒. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๓. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๓๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๔ . พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๑ นิติบุคคลอาคารชุดใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๘/๑ มาตรา ๓๘/๒ และมาตรา ๓๘/๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น หรือในกรณีที่ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นกระทำความผิด ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งด้วย” ๑๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๖. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ “มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๗. พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔ “มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๘. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ “มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๑๙. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๐. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย” ๒๑. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ “มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๒. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔ ถ้าการกระทำความผิดของคณะกรรมการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนนั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๓. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ “มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๔. พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ “มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๕ หรือมาตรา ๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๒๕. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ “มาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐกระทำผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นกระทำความผิด หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๖. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๗. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๑๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๒๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๐. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๑. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๒. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ “มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๙ หรือไม่หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๓. พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๓๙ ในกรณีที่สภากระทำความผิดและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของสภานั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สภานั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” ๓๔. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๕. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ “มาตรา ๘๙ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๖. พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ “มาตรา ๑๓ บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔/๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๔/๑ วรรคสอง มาตรา ๕ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๗. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๓๘. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๖๑ นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๗ มาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งของนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๓๙. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๐. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๒. พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย” ๔๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๔. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย” ๔๕. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๖. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๗. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๘. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๔๙. พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๐. พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๑. พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ “มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๒. พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๔. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ “มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๕. พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ “มาตรา ๖๔ ในกรณีที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ ถ้าการกระทำความผิดของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นกระทำความผิด กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท” ๕๖. พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๑ มาตรา ๑๓๓ หรือมาตรา ๑๓๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๕๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๑๕ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการสภาสถาบัน อธิการบดี หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๕๙. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ “มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๐. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘ “มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๑. พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ “มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา ๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๒. พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๔. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๕. พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐ “มาตรา ๘๐ ผู้ใดให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในการตรวจสอบหรือการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นทรัสตี ถ้าการกระทำความผิดของทรัสตีนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของทรัสตีนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ทรัสตีนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๖๖. พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๗. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๑ หรือมาตรา ๑๒๓ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของนิติบุคคล หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๘ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” “มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ๖๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๖๙. พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๕ ผู้ใดนอกจากสถาบันการเงิน ใช้ข้อความ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่เงินฝากได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๖๖ สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย” ๗๐. พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา ๔๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๑. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๒. พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๓. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามส่วนนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๔. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ “มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย” ๗๖. พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ “มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
769929
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับ Update ณ วันที่ 16/12/2545)
พระราชกำหนด พระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นปีที่ ๓๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกำหนดนี้ “กู้ยืมเงิน”[๒] หมายความว่า รับเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าในลักษณะของการรับฝาก การกู้ การยืม การจำหน่ายบัตรหรือสิ่งอื่นใด การรับเข้าเป็นสมาชิก การรับเข้าร่วมลงทุน การรับเข้าร่วมกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในลักษณะอื่นใด โดยผู้กู้ยืมเงินหรือบุคคลอื่นจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการรับเพื่อตนเองหรือรับในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้กู้ยืมเงินหรือของผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือในฐานะอื่นใด และไม่ว่าการรับหรือจ่ายเงิน ทรัพย์สิน ผลประโยชน์อื่นใด หรือผลประโยชน์ตอบแทนนั้น จะกระทำด้วยวิธีการใด ๆ “ผลประโยชน์ตอบแทน”[๓] หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงิน หรือบุคคลอื่นจ่ายหรือจะจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินเพื่อการกู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายในลักษณะดอกเบี้ย เงินปันผล หรือลักษณะอื่นใด “ผู้กู้ยืมเงิน” หมายความว่า บุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงิน และในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย “ผู้ให้กู้ยืมเงิน” หมายความรวมถึง บุคคลซึ่งผู้ให้กู้ยืมเงินระบุให้เป็นบุคคลที่ได้รับต้นเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้กู้ยืมเงิน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๔[๔] ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงินตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงินในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ผู้ใดไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ดำเนินการ หรือให้พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลใดดำเนินการโฆษณา ประกาศหรือชักชวนประชาชนให้ลงทุนโดย (๑) ซื้อหรือขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งหรือหลายสกุล หรือ (๒) เก็งกำไรหรืออาจจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย มาตรา ๕ ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) ในการกู้ยืมเงินหรือจะกู้ยืมเงิน (ก) มีการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป หรือโดยการแพร่ข่าวด้วยวิธีอื่นใด หรือ (ข) ดำเนินกิจการกู้ยืมเงินเป็นปกติธุระ หรือ (ค) จัดให้มีผู้รับเงินในการกู้ยืมเงินในแหล่งต่าง ๆ หรือ (ง) จัดให้มีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ไปชักชวนบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้มีการให้กู้ยืมเงิน หรือ (จ) ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินเกินสิบคนซึ่งมีจำนวนเงินกู้ยืมรวมกันตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป อันมิใช่การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และ (๒) ผู้นั้น (ก) จ่าย หรือโฆษณา ประกาศ แพร่ข่าว หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน จะพึงจ่ายได้ หรือ (ข) ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือกิจการของผู้นั้นตามที่ผู้นั้นได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ ไม่ปรากฏหลักฐานพอที่จะเชื่อได้ว่า เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินทั้งหลาย ผู้นั้นต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา ๔ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้นจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า กิจการของตนหรือของบุคคลที่ตนอ้างถึงนั้น เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายตามที่ตนได้กล่าวอ้าง หรือหากกิจการดังกล่าวไม่อาจให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียง ก็จะต้องพิสูจน์ได้ว่ากรณีดังกล่าวได้เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผิดปกติอันไม่อาจคาดหมายได้ หรือมีเหตุอันสมควรอย่างอื่น มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราผลประโยชน์ตอบแทนตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินได้จ่ายหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่มิใช่เป็นตัวเงิน ให้คำนวณมูลค่าของผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวออกเป็นจำนวนเงิน ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงินไม่เปิดช่องให้คำนวณผลประโยชน์ตอบแทนเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ ให้ประมาณการจากอัตราผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่คาดว่าผู้ให้กู้ยืมเงินจะได้รับ หากจะมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนนั้น[๕] มาตรา ๗ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ใดได้กระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือกระทำการตามมาตรา ๕ (๑) หรือ (๒) (ก) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกให้ผู้นั้นหรือบุคคลใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบถึงการกู้ยืมเงิน มาให้ถ้อยคำ (๒) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) รายงานสภาพกิจการของตนตลอดจนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของตน (๓) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินมาตรวจสอบ (๔) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อทำการตรวจสอบหรือค้นบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นของบุคคลดังกล่าวตาม (๑) ในการนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้นให้ปฏิบัติการเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือค้น ตามควรแก่เรื่อง และให้มีอำนาจยึดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานเหล่านั้น มาตรวจสอบได้ การเรียกหรือการสั่งตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหนังสือเรียกหรือคำสั่ง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบหรือค้นตาม (๔) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ จะกระทำการต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ มาตรา ๘ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้กู้ยืมเงินผู้ใดที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สิน และเห็นสมควรให้มีการดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้ก่อนเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้ก่อนได้ แต่จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้เกินกว่าเก้าสิบวันไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีมีการฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ ให้คำสั่งยึดหรืออายัดดังกล่าวยังคงมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ใดไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สิน แต่ยังไม่สมควรสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามมาตรา ๑๐ การยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙ เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีอาญาแก่ผู้ใดในความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ถ้าผู้ให้กู้ยืมเงินร้องขอ ให้พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกต้นเงินคืนให้แก่ผู้นั้นได้ และจะเรียกผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายให้แก่ผู้นั้นด้วยก็ได้ ในการนี้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๐ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน ให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ เป็นบุคคลล้มละลายได้ เมื่อ (๑) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สินได้ (๒) เป็นหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินรายหนึ่งหรือหลายรายเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งแสนบาท และ (๓) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม การฟ้องคดีล้มละลายตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย โดยให้ถือว่าพนักงานอัยการมีฐานะ และสิทธิหน้าที่เสมือนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ และให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ค่าฤชาธรรมเนียม หรือการต้องวางเงินประกันต่าง ๆ ตามกฎหมายดังกล่าว ในการพิจารณาคดีล้มละลาย ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ในการพิพากษาคดีล้มละลายตามมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับส่วนแบ่งทรัพย์สินของเจ้าหนี้ในลำดับ (๘) ของมาตรา ๑๓๐ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย โดยให้คำนึงถึงผลประโยชน์ตอบแทนที่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินแต่ละรายได้รับมาแล้วก่อนมีการดำเนินคดีล้มละลายประกอบด้วย มาตรา ๑๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๑/๑[๖] ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้ผู้แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดมีสิทธิได้รับเงินสินบนและให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดมีสิทธิได้รับเงินรางวัล โดยให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลสั่งจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลจากค่าปรับที่ผู้กระทำความผิดได้ชำระต่อศาลเมื่อคดีถึงที่สุด การจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลให้จ่ายเป็นจำนวนรวมกันแล้วร้อยละยี่สิบห้าของค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับเงินสินบนและเงินรางวัล การกำหนดส่วนแบ่งในระหว่างผู้มีสิทธิหลายราย และการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๑๒ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ มาตรา ๑๓ ผู้ใดขัดขวาง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๔) หรือมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๔ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน และปรับไม่เกินสามหมื่นบาท มาตรา ๑๕[๗] ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลอื่นใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย มาตรา ๑๕/๑[๘] ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ถ้าได้กระทำความผิดนั้นซ้ำอีกในระหว่างรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษอยู่ก็ดี หรือภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นอีกหนึ่งเท่าของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง มาตรา ๑๕/๒[๙] ในกรณีคนต่างด้าวต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้เนรเทศผู้นั้นออกนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ถ้าผู้นั้นจะต้องรับโทษก็ให้รับโทษก่อน มาตรา ๑๖ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ใดได้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และการกระทำของผู้นั้นมีลักษณะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับ มาตรา ๑๗ การกู้ยืมเงินที่มีลักษณะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ซึ่งมีสัญญาหรือข้อตกลงการกู้ยืมเงินที่ได้กระทำไว้ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวเท่าที่มีผลผูกพันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ยังคงมีผลใช้ได้ต่อไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด ให้สัญญาหรือข้อตกลงนั้นมีผลผูกพันได้ต่อไป และให้สิ้นสุดลงเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือชำระหนี้หรือบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น (๒) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลาสิ้นสุดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงนั้นสิ้นสุดลงตามที่ได้สัญญาหรือตกลงไว้นั้น เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น (๓) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลาสิ้นสุดภายหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ เว้นแต่คู่สัญญาจะมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสองภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ก็ให้ข้อสัญญาหรือข้อตกลงนั้นสิ้นสุดลงตามที่ได้จดทะเบียนไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นการตัดสิทธิคู่สัญญาที่จะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนสัญญาหรือข้อตกลงตาม (๓) ของวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และในกรณีที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนโดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว พนักงานเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนให้ได้ต่อเมื่อได้มีหนังสือสอบถามไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้ให้ความยินยอมและยอมรับข้อความในสัญญาหรือข้อตกลงที่นำมาขอจดทะเบียนนั้นแล้ว ในการรับจดทะเบียน ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าสัญญาหรือข้อตกลงใดกระทำขึ้นหลังวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งปฏิเสธการจดทะเบียนพร้อมทั้งให้เหตุผลต่อผู้ขอจดทะเบียน ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่เห็นด้วย ให้มีสิทธิไปร้องขอต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ศาลมีคำวินิจฉัยแสดงว่าสัญญาหรือข้อตกลงนั้นได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และให้นำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม บทบัญญัติมาตรานี้ มีผลใช้บังคับในทางแพ่งและไม่มีผลเป็นการลบล้างความผิดอาญาแต่อย่างใด มาตรา ๑๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากขณะนี้ปรากฏว่า มีการกู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อย่างอื่นตอบแทนให้สูงเกินกว่าประโยชน์ที่ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินจะพึงหามาได้จากการประกอบธุรกิจตามปกติ โดยผู้กระทำได้ลวงประชาชนที่หวังจะได้ดอกเบี้ยในอัตราสูงให้นำเงินมาเก็บไว้กับตนด้วยการใช้วิธีการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงเป็นเครื่องล่อใจ แล้วนำเงินที่ได้มาจากการกู้ยืมหรือรับฝากเงินรายอื่น ๆ มาจ่ายเป็นดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ฝากเงินรายก่อน ๆ ในลักษณะต่อเนื่องกัน ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการฉ้อโกงประชาชน เพราะเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่า ในที่สุดจะต้องมีประชาชนจำนวนมากไม่สามารถได้รับต้นเงินกลับคืนได้ และผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินกับผู้ที่ร่วมกระทำการดังกล่าวจะได้รับประโยชน์จากเงินที่ตนได้รับมา เพราะผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ฝากเงินไม่สามารถบังคับหรือติดตามให้มีการชำระหนี้ได้ อนึ่ง กิจการดังกล่าวนี้มีแนวโน้มจะขยายตัวแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว หากปล่อยให้มีการดำเนินการต่อไปย่อมจะก่อให้เกิดผลร้ายแก่ประชาชนทั่วไป และจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ สมควรที่จะมีกฎหมายเพื่อปราบปรามการกระทำดังกล่าว กับสมควรวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗[๑๐] พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๔[๑๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่ามีบุคคลประกอบกิจการโดยวิธีชักจูงให้ผู้อื่นส่งเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่นให้แก่ตน และให้ผู้นั้นชักจูงผู้อื่นตามวิธีการที่กำหนด และแสดงให้ผู้ถูกชักจูงเข้าใจว่า ถ้าได้ปฏิบัติตามจนมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเข้าร่วมต่อ ๆ ไปจนครบวงจรแล้วผู้ถูกชักจูงจะได้รับกำไรมากกว่าเงินหรือประโยชน์ที่ผู้นั้นได้ส่งไว้ ดังเช่นที่บางคนเรียกว่า แชร์ลูกโซ่ ในที่สุดการดำเนินการเช่นนั้นจะมิได้เป็นไปตามคำชักจูง แต่กลับจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้หลงเชื่อ เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ให้ครอบคลุมถึงการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕[๑๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการหลอกลวงประชาชนให้นำเงินเข้ามาร่วมลงทุนในธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศหรือเก็งกำไร ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนที่ถูกหลอกลวงแล้วยังเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง แต่บทบัญญัติของพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ในปัจจุบันไม่อาจใช้บังคับครอบคลุมแก่การกระทำดังกล่าวได้ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และกำหนดให้การโฆษณา หรือประกาศ หรือการกระทำใด ๆ ให้ประชาชนนำเงินเข้ามาร่วมลงทุนลักษณะดังกล่าว เป็นความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย ประกอบกับสมควรเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องการคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนความรับผิดของพนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลผู้กระทำความผิด ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้นเมื่อมีการกระทำความผิดซ้ำ และการเนรเทศผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นคนต่างด้าว รวมทั้งให้มีการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลเพื่อให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ อังศุมาลี/ผู้จัดทำ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ อุดมลักษณ์/ผู้ตรวจ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ [๒] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “กู้ยืมเงิน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๓] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “ผลประโยชน์ตอบแทน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๔] มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๕] มาตรา ๖ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๖] มาตรา ๑๑/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๗] มาตรา ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๘] มาตรา ๑๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็น การฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๙] มาตรา ๑๕/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๖๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๘ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๓๔ [๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๒๒ ก/หน้า ๑/๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๕
339862
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นปีที่ ๕๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๔ มาตรา ๓๙ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ผู้ใดไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ดำเนินการ หรือให้พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลใดดำเนินการโฆษณาประกาศหรือชักชวนประชาชนให้ลงทุน โดย (๑) ซื้อหรือขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งหรือหลายสกุล หรือ (๒) เก็งกำไรหรืออาจจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๖ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ “ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงินไม่เปิดช่องให้คำนวณผลประโยชน์ตอบแทนเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ ให้ประมาณการจากอัตราผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่คาดว่าผู้ให้กู้ยืมเงินจะได้รับ หากจะมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนนั้น” มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑/๑ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๑๑/๑ ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้ผู้แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดมีสิทธิได้รับเงินสินบนและให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดมีสิทธิได้รับเงินรางวัล โดยให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลสั่งจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลจากค่าปรับที่ผู้กระทำความผิดได้ชำระต่อศาลเมื่อคดีถึงที่สุด การจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลให้จ่ายเป็นจำนวนรวมกันแล้วร้อยละยี่สิบห้าของค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับเงินสินบนและเงินรางวัล การกำหนดส่วนแบ่งในระหว่างผู้มีสิทธิหลายราย และการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคล ซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย” มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๕/๑ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๑๕/๑ ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ถ้าได้กระทำความผิดนั้นซ้ำอีกในระหว่างรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษอยู่ก็ดี หรือภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นอีกหนึ่งเท่าของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง” มาตรา ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๕/๒ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ “มาตรา ๑๕/๒ ในกรณีคนต่างด้าวต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้เนรเทศผู้นั้นออกนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ถ้าผู้นั้นจะต้องรับโทษก็ให้รับโทษก่อน” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการหลอกลวงประชาชนให้นำเงินเข้ามาร่วมลงทุนในธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศหรือเก็งกำไร ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนที่ถูกหลอกลวงแล้วยังเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง แต่บทบัญญัติของพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ในปัจจุบันไม่อาจใช้บังคับครอบคลุมแก่การกระทำดังกล่าวได้ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และกำหนดให้การโฆษณา หรือประกาศ หรือการกระทำใด ๆ ให้ประชาชนนำเงินเข้ามาร่วมลงทุนลักษณะดังกล่าว เป็นความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย ประกอบกับสมควรเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องการคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนความรับผิดของพนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลผู้กระทำความผิด ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้นเมื่อมีการกระทำความผิดซ้ำ และการเนรเทศผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นคนต่างด้าว รวมทั้งให้มีการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลเพื่อให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ วิมล/ปรับปรุง ๒ กันยายน ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๒๒ ก/หน้า ๑/๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๕
611232
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (Update ณ วันที่ 24/07/2534)
พระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นปีที่ ๓๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกำหนดนี้ “กู้ยืมเงิน”[๒] หมายความว่า รับเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าในลักษณะของการรับฝาก การกู้ การยืม การจำหน่ายบัตรหรือสิ่งอื่นใด การรับเข้าเป็นสมาชิก การรับเข้าร่วมลงทุน การรับเข้าร่วมกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในลักษณะอื่นใด โดยผู้กู้ยืมเงินหรือบุคคลอื่นจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการรับเพื่อตนเองหรือรับในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้กู้ยืมเงินหรือของผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือในฐานะอื่นใด และไม่ว่าการรับหรือจ่ายเงิน ทรัพย์สินผลประโยชน์อื่นใด หรือผลประโยชน์ตอบแทนนั้น จะกระทำด้วยวิธีการใด ๆ “ผลประโยชน์ตอบแทน”[๓] หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงิน หรือบุคคลอื่นจ่ายหรือจะจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินเพื่อการกู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายในลักษณะดอกเบี้ย เงินปันผล หรือลักษณะอื่นใด “ผู้กู้ยืมเงิน” หมายความว่า บุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงิน และในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย “ผู้ให้กู้ยืมเงิน” หมายความรวมถึง บุคคลซึ่งผู้ให้กู้ยืมเงินระบุให้เป็นบุคคลที่ได้รับต้นเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้กู้ยืมเงิน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๔ ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้น เป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา ๕ ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ (๑) ในการกู้ยืมเงินหรือจะกู้ยืมเงิน (ก) มีการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป หรือโดยการแพร่ข่าวด้วยวิธีอื่นใด หรือ (ข) ดำเนินกิจการกู้ยืมเงินเป็นปกติธุระ หรือ (ค) จัดให้มีผู้รับเงินในการกู้ยืมเงินในแหล่งต่าง ๆ หรือ (ง) จัดให้มีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ไปชักชวนบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้มีการให้กู้ยืมเงิน หรือ (จ) ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินเกินสิบคนซึ่งมีจำนวนเงินกู้ยืมรวมกันตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป อันมิใช่การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และ (๒) ผู้นั้น (ก) จ่าย หรือโฆษณา ประกาศ แพร่ข่าว หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน จะพึงจ่ายได้ หรือ (ข) ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือกิจการของผู้นั้นตามที่ผู้นั้นได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ ไม่ปรากฏหลักฐานพอที่จะเชื่อได้ว่า เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินทั้งหลาย ผู้นั้นต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา ๔ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้นจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า กิจการของตนหรือของบุคคลที่ตนอ้างถึงนั้น เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายตามที่ตนได้กล่าวอ้าง หรือหากกิจการดังกล่าวไม่อาจให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียง ก็จะต้องพิสูจน์ได้ว่ากรณีดังกล่าวได้เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผิดปกติอันไม่อาจคาดหมายได้ หรือมีเหตุอันสมควรอย่างอื่น มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราผลประโยชน์ตอบแทนตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินได้จ่ายหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่มิใช่เป็นตัวเงิน ให้คำนวณมูลค่าของผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวออกเป็นจำนวนเงิน มาตรา ๗ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ใดได้กระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือกระทำการตามมาตรา ๕ (๑) หรือ (๒) (ก) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกให้ผู้นั้นหรือบุคคลใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบถึงการกู้ยืมเงิน มาให้ถ้อยคำ (๒) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) รายงานสภาพกิจการของตนตลอดจนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของตน (๓) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินมาตรวจสอบ (๔) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อทำการตรวจสอบหรือค้นบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นของบุคคลดังกล่าวตาม (๑) ในการนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้นให้ปฏิบัติการเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือค้น ตามควรแก่เรื่อง และให้มีอำนาจยึดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานเหล่านั้น มาตรวจสอบได้ การเรียกหรือการสั่งตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหนังสือเรียกหรือคำสั่ง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบหรือค้นตาม (๔) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ จะกระทำการต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ มาตรา ๘ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้กู้ยืมเงินผู้ใดที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สินและเห็นสมควรให้มีการดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้ก่อนเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้ก่อนได้ แต่จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้เกินกว่าเก้าสิบวันไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีมีการฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ ให้คำสั่งยึดหรืออายัดดังกล่าวยังคงมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ใดไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สิน แต่ยังไม่สมควรสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามมาตรา ๑๐ การยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙ เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีอาญาแก่ผู้ใดในความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ถ้าผู้ให้กู้ยืมเงินร้องขอ ให้พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกต้นเงินคืนให้แก่ผู้นั้นได้ และจะเรียกผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายให้แก่ผู้นั้นด้วยก็ได้ ในการนี้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๐ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน ให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ เป็นบุคคลล้มละลายได้ เมื่อ (๑) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สินได้ (๒) เป็นหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินรายหนึ่งหรือหลายรายเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งแสนบาท และ (๓) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม การฟ้องคดีล้มละลายตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย โดยให้ถือว่าพนักงานอัยการมีฐานะ และสิทธิหน้าที่เสมือนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ค่าฤชาธรรมเนียม หรือการต้องวางเงินประกันต่าง ๆ ตามกฎหมายดังกล่าว ในการพิจารณาคดีล้มละลาย ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ในการพิพากษาคดีล้มละลายตามมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับส่วนแบ่งทรัพย์สินของเจ้าหนี้ในลำดับ (๘) ของมาตรา ๑๓๐ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยให้คำนึงถึงผลประโยชน์ตอบแทนที่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินแต่ละรายได้รับมาแล้วก่อนมีการดำเนินคดีล้มละลายประกอบด้วย มาตรา ๑๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๒ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ มาตรา ๑๓ ผู้ใดขัดขวาง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๔) หรือมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๔ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน และปรับไม่เกินสามหมื่นบาท มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น มาตรา ๑๖ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ใดได้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญาก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และการกระทำของผู้นั้นมีลักษณะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับ มาตรา ๑๗ การกู้ยืมเงินที่มีลักษณะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ซึ่งมีสัญญาหรือข้อตกลงการกู้ยืมเงินที่ได้กระทำไว้ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวเท่าที่มีผลผูกพันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ยังคงมีผลใช้ได้ต่อไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด ให้สัญญาหรือข้อตกลงนั้นมีผลผูกพันได้ต่อไป และให้สิ้นสุดลงเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือชำระหนี้หรือบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น (๒) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลาสิ้นสุดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงนั้นสิ้นสุดลงตามที่ได้สัญญาหรือตกลงไว้นั้น เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น (๓) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลาสิ้นสุดภายหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ เว้นแต่คู่สัญญาจะมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสองภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ก็ให้ข้อสัญญาหรือข้อตกลงนั้นสิ้นสุดลงตามที่ได้จดทะเบียนไว้ อย่างไรก็ตามไม่เป็นการตัดสิทธิคู่สัญญาที่จะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนสัญญาหรือข้อตกลงตาม (๓) ของวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และในกรณีที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนโดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว พนักงานเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนให้ได้ต่อเมื่อได้มีหนังสือสอบถามไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้ให้ความยินยอมและยอมรับข้อความในสัญญาหรือข้อตกลงที่นำมาขอจดทะเบียนนั้นแล้ว ในการรับจดทะเบียน ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าสัญญาหรือข้อตกลงใดกระทำขึ้นหลังวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งปฏิเสธการจดทะเบียนพร้อมทั้งให้เหตุผลต่อผู้ขอจดทะเบียน ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่เห็นด้วย ให้มีสิทธิไปร้องขอต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ศาลมีคำวินิจฉัยแสดงว่าสัญญาหรือข้อตกลงนั้นได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และให้นำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม บทบัญญัติมาตรานี้ มีผลใช้บังคับในทางแพ่งและไม่มีผลเป็นการลบล้างความผิดอาญาแต่อย่างใด มาตรา ๑๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากขณะนี้ปรากฏว่า มีการกู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อย่างอื่นตอบแทนให้สูงเกินกว่าประโยชน์ที่ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินจะพึงหามาได้จากการประกอบธุรกิจตามปกติ โดยผู้กระทำได้ลวงประชาชนที่หวังจะได้ดอกเบี้ยในอัตราสูงให้นำเงินมาเก็บไว้กับตนด้วยการใช้วิธีการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงเป็นเครื่องล่อใจ แล้วนำเงินที่ได้มาจากการกู้ยืมหรือรับฝากเงินรายอื่น ๆ มาจ่ายเป็นดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ฝากเงินรายก่อน ๆ ในลักษณะต่อเนื่องกัน ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการฉ้อโกงประชาชน เพราะเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่า ในที่สุดจะต้องมีประชาชนจำนวนมากไม่สามารถได้รับต้นเงินกลับคืนได้ และผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินกับผู้ที่ร่วมกระทำการดังกล่าวจะได้รับประโยชน์จากเงินที่ตนได้รับมา เพราะผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ฝากเงินไม่สามารถบังคับหรือติดตามให้มีการชำระหนี้ได้ อนึ่ง กิจการดังกล่าวนี้มีแนวโน้มจะขยายตัวแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว หากปล่อยให้มีการดำเนินการต่อไปย่อมจะก่อให้เกิดผลร้ายแก่ประชาชนทั่วไป และจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ สมควรที่จะมีกฎหมายเพื่อปราบปรามการกระทำดังกล่าว กับสมควรวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๔[๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่ามีบุคคลประกอบกิจการโดยวิธีชักจูงให้ผู้อื่นส่งเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่นให้แก่ตน และให้ผู้นั้นชักจูงผู้อื่นตามวิธีการที่กำหนด และแสดงให้ผู้ถูกชักจูงเข้าใจว่า ถ้าได้ปฏิบัติตามจนมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเข้าร่วมต่อ ๆ ไปจนครบวงจรแล้วผู้ถูกชักจูงจะได้รับกำไรมากกว่าเงินหรือประโยชน์ที่ผู้นั้นได้ส่งไว้ ดังเช่นที่บางคนเรียกว่า แชร์ลูกโซ่ ในที่สุดการดำเนินการเช่นนั้นจะมิได้เป็นไปตามคำชักจูง แต่กลับจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้หลงเชื่อ เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ให้ครอบคลุมถึงการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ วิมล/ปรับปรุง ๓ กันยายน ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ [๒] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “กู้ยืมเงิน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๓] มาตรา ๓ นิยามคำว่า “ผลประโยชน์ตอบแทน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๓๔
318836
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นปีที่ ๔๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๔” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “กู้ยืมเงิน” และ “ผลประโยชน์ตอบแทน” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “กู้ยืมเงิน” หมายความว่า รับเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าในลักษณะของการรับฝาก การกู้ การยืม การจำหน่ายบัตรหรือสิ่งอื่นใด การรับเข้าเป็นสมาชิก การรับเข้าร่วมลงทุน การรับเข้าร่วมกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในลักษณะอื่นใด โดยผู้กู้ยืมเงินหรือบุคคลอื่นจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการรับเพื่อตนเองหรือรับในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้กู้ยืมเงินหรือของผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือในฐานะอื่นใด และไม่ว่าการรับหรือจ่ายเงิน ทรัพย์สินผลประโยชน์อื่นใด หรือผลประโยชน์ตอบแทนนั้น จะกระทำด้วยวิธีการใด ๆ “ผลประโยชน์ตอบแทน” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงิน หรือบุคคลอื่นจ่ายหรือจะจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินเพื่อการกู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายในลักษณะดอกเบี้ย เงินปันผล หรือลักษณะอื่นใด” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่ามีบุคคลประกอบกิจการโดยวิธีชักจูงให้ผู้อื่นส่งเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่นให้แก่ตน และให้ผู้นั้นชักจูงผู้อื่นตามวิธีการที่กำหนด และแสดงให้ผู้ถูกชักจูงเข้าใจว่า ถ้าได้ปฏิบัติตามจนมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเข้าร่วมต่อ ๆ ไปจนครบวงจรแล้วผู้ถูกชักจูงจะได้รับกำไรมากกว่าเงินหรือประโยชน์ที่ผู้นั้นได้ส่งไว้ ดังเช่นที่บางคนเรียกว่า แชร์ลูกโซ่ ในที่สุดการดำเนินการเช่นนั้นจะมิได้เป็นไปตามคำชักจูง แต่กลับจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้หลงเชื่อ เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ให้ครอบคลุมถึงการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ วิมล/ปรับปรุง ๒ กันยายน ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๓๔
328348
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527
พระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นปีที่ ๓๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗” มาตรา ๒[๑] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกำหนดนี้ “กู้ยืมเงิน” หมายความว่า รับเงิน ไม่ว่าในลักษณะของการรับฝาก การกู้ การยืม การรับเข้าร่วมลงทุน หรือในลักษณะอื่นใด โดยผู้กู้ยืมเงินจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการรับเพื่อตนเอง หรือรับในฐานะตัวแทน หรือลูกจ้างของผู้กู้ยืมเงินหรือของผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือในฐานะอื่นใด และไม่ว่าการรับหรือจ่ายต้นเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนนั้น จะกระทำอำพรางด้วยวิธีการอย่างใด ๆ “ผลประโยชน์ตอบแทน” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงินจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินเพื่อการกู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายในลักษณะดอกเบี้ย เงินปันผล หรือลักษณะอื่นใด “ผู้กู้ยืมเงิน” หมายความว่า บุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงิน และในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย “ผู้ให้กู้ยืมเงิน” หมายความรวมถึง บุคคลซึ่งผู้ให้กู้ยืมเงินระบุให้เป็นบุคคลที่ได้รับต้นเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้กู้ยืมเงิน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๔ ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้น เป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา ๕ ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ (๑) ในการกู้ยืมเงินหรือจะกู้ยืมเงิน (ก) มีการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป หรือโดยการแพร่ข่าวด้วยวิธีอื่นใด หรือ (ข) ดำเนินกิจการกู้ยืมเงินเป็นปกติธุระ หรือ (ค) จัดให้มีผู้รับเงินในการกู้ยืมเงินในแหล่งต่าง ๆ หรือ (ง) จัดให้มีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ไปชักชวนบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้มีการให้กู้ยืมเงิน หรือ (จ) ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินเกินสิบคนซึ่งมีจำนวนเงินกู้ยืมรวมกันตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป อันมิใช่การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และ (๒) ผู้นั้น (ก) จ่าย หรือโฆษณา ประกาศ แพร่ข่าว หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน จะพึงจ่ายได้ หรือ (ข) ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือกิจการของผู้นั้นตามที่ผู้นั้นได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ ไม่ปรากฏหลักฐานพอที่จะเชื่อได้ว่า เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินทั้งหลาย ผู้นั้นต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา ๔ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้นจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า กิจการของตนหรือของบุคคลที่ตนอ้างถึงนั้น เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายตามที่ตนได้กล่าวอ้าง หรือหากกิจการดังกล่าวไม่อาจให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียง ก็จะต้องพิสูจน์ได้ว่ากรณีดังกล่าวได้เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผิดปกติอันไม่อาจคาดหมายได้ หรือมีเหตุอันสมควรอย่างอื่น มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราผลประโยชน์ตอบแทนตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินได้จ่ายหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่มิใช่เป็นตัวเงิน ให้คำนวณมูลค่าของผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวออกเป็นจำนวนเงิน มาตรา ๗ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ใดได้กระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือกระทำการตามมาตรา ๕ (๑) หรือ (๒) (ก) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกให้ผู้นั้นหรือบุคคลใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบถึงการกู้ยืมเงิน มาให้ถ้อยคำ (๒) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) รายงานสภาพกิจการของตนตลอดจนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของตน (๓) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินมาตรวจสอบ (๔) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อทำการตรวจสอบหรือค้นบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นของบุคคลดังกล่าวตาม (๑) ในการนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้นให้ปฏิบัติการเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือค้น ตามควรแก่เรื่อง และให้มีอำนาจยึดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานเหล่านั้น มาตรวจสอบได้ การเรียกหรือการสั่งตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหนังสือเรียกหรือคำสั่ง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบหรือค้นตาม (๔) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ จะกระทำการต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ มาตรา ๘ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้กู้ยืมเงินผู้ใดที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สินและเห็นสมควรให้มีการดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้ก่อนเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้ก่อนได้ แต่จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้เกินกว่าเก้าสิบวันไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีมีการฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ ให้คำสั่งยึดหรืออายัดดังกล่าวยังคงมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ใดไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สิน แต่ยังไม่สมควรสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามมาตรา ๑๐ การยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙ เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีอาญาแก่ผู้ใดในความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ถ้าผู้ให้กู้ยืมเงินร้องขอ ให้พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกต้นเงินคืนให้แก่ผู้นั้นได้ และจะเรียกผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายให้แก่ผู้นั้นด้วยก็ได้ ในการนี้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๐ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน ให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ เป็นบุคคลล้มละลายได้ เมื่อ (๑) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สินได้ (๒) เป็นหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินรายหนึ่งหรือหลายรายเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งแสนบาท และ (๓) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม การฟ้องคดีล้มละลายตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย โดยให้ถือว่าพนักงานอัยการมีฐานะ และสิทธิหน้าที่เสมือนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ค่าฤชาธรรมเนียม หรือการต้องวางเงินประกันต่าง ๆ ตามกฎหมายดังกล่าว ในการพิจารณาคดีล้มละลาย ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ในการพิพากษาคดีล้มละลายตามมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับส่วนแบ่งทรัพย์สินของเจ้าหนี้ในลำดับ (๘) ของมาตรา ๑๓๐ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย โดยให้คำนึงถึงผลประโยชน์ตอบแทนที่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินแต่ละรายได้รับมาแล้วก่อนมีการดำเนินคดีล้มละลายประกอบด้วย มาตรา ๑๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๒ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ มาตรา ๑๓ ผู้ใดขัดขวาง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๔) หรือมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๔ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน และปรับไม่เกินสามหมื่นบาท มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น มาตรา ๑๖ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ใดได้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญาก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และการกระทำของผู้นั้นมีลักษณะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับ มาตรา ๑๗ การกู้ยืมเงินที่มีลักษณะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ซึ่งมีสัญญาหรือข้อตกลงการกู้ยืมเงินที่ได้กระทำไว้ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวเท่าที่มีผลผูกพันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ยังคงมีผลใช้ได้ต่อไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด ให้สัญญาหรือข้อตกลงนั้นมีผลผูกพันได้ต่อไป และให้สิ้นสุดลงเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือชำระหนี้หรือบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น (๒) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลาสิ้นสุดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงนั้นสิ้นสุดลงตามที่ได้สัญญาหรือตกลงไว้นั้น เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น (๓) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลาสิ้นสุดภายหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ เว้นแต่คู่สัญญาจะมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสอง ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ก็ให้ข้อสัญญาหรือข้อตกลงนั้นสิ้นสุดลงตามที่ได้จดทะเบียนไว้ อย่างไรก็ตามไม่เป็นการตัดสิทธิคู่สัญญาที่จะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนสัญญาหรือข้อตกลงตาม (๓) ของวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และในกรณีที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนโดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว พนักงานเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนให้ได้ต่อเมื่อได้มีหนังสือสอบถามไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้ให้ความยินยอมและยอมรับข้อความในสัญญาหรือข้อตกลงที่นำมาขอจดทะเบียนนั้นแล้ว ในการรับจดทะเบียน ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าสัญญาหรือข้อตกลงใดกระทำขึ้นหลังวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งปฏิเสธการจดทะเบียนพร้อมทั้งให้เหตุผลต่อผู้ขอจดทะเบียน ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่เห็นด้วย ให้มีสิทธิไปร้องขอต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ศาลมีคำวินิจฉัยแสดงว่าสัญญาหรือข้อตกลงนั้นได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และให้นำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม บทบัญญัติมาตรานี้ มีผลใช้บังคับในทางแพ่งและไม่มีผลเป็นการลบล้างความผิดอาญาแต่อย่างใด มาตรา ๑๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากขณะนี้ปรากฏว่า มีการกู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อย่างอื่นตอบแทนให้สูงเกินกว่าประโยชน์ที่ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินจะพึงหามาได้จากการประกอบธุรกิจตามปกติ โดยผู้กระทำได้ลวงประชาชนที่หวังจะได้ดอกเบี้ยในอัตราสูงให้นำเงินมาเก็บไว้กับตนด้วยการใช้วิธีการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงเป็นเครื่องล่อใจ แล้วนำเงินที่ได้มาจากการกู้ยืมหรือรับฝากเงินรายอื่น ๆ มาจ่ายเป็นดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ฝากเงินรายก่อน ๆ ในลักษณะต่อเนื่องกัน ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการฉ้อโกงประชาชน เพราะเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่า ในที่สุดจะต้องมีประชาชนจำนวนมากไม่สามารถได้รับต้นเงินกลับคืนได้ และผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินกับผู้ที่ร่วมกระทำการดังกล่าวจะได้รับประโยชน์จากเงินที่ตนได้รับมา เพราะผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ฝากเงินไม่สามารถบังคับหรือติดตามให้มีการชำระหนี้ได้ อนึ่ง กิจการดังกล่าวนี้มีแนวโน้มจะขยายตัวแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว หากปล่อยให้มีการดำเนินการต่อไปย่อมจะก่อให้เกิดผลร้ายแก่ประชาชนทั่วไป และจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ สมควรที่จะมีกฎหมายเพื่อปราบปรามการกระทำดังกล่าว กับสมควรวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ วศิน/ผู้จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ วิมล/ปรับปรุง ๒ กันยายน ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๗
573329
ประกาศกระทรงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 36) พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๖) พ.ศ. ๒๕๔๓[๑] อาศัยอำนาจตามในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๓๔๙/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้ปลัดกระทรวงการคลังและหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด สั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๖๙/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๑ เรื่อง มอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทนในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ฉบับที่ ๑ ถึงฉบับที่ ๓๕ ข้อ ๒ แต่งตั้งให้ ๑. กระทรวงมหาดไทย ๑.๑ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย (๑) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (๒) ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (๓) ผู้อำนวยการกองนิติการ (๔) หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการตามกฎหมาย กองนิติการ ๒. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๒.๑ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๑) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายปฏิบัติการ ๒ (๒) ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๓) รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๔) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๕) ผู้บังคับการกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๖) รองผู้บังคับการกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๗) ผู้กำกับการ ๑ ถึง ๓ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๘) รองผู้กำกับการ ๑ ถึง ๓ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๙) รองผู้กำกับการหัวหน้าชุดสอบสวน ๑ ถึง ๔ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๑๐) สารวัตรงาน ๑ ถึง ๕ กองกำกับการ ๑ ถึง ๓ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๑๑) สารวัตรสอบสวนงาน ๑ ถึง ๔ กองกำกับการ ๑ ถึง ๓ กองบังคับการสืบสวนคดีเศรษฐกิจ (๑๒) สารวัตรชุดสอบสวน ๑ ถึง ๔ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๑๓) รองสารวัตรงาน ๑ ถึง ๕ กองกำกับการ ๑ ถึง ๓ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๑๔) รองสารวัตรชุดสอบสวน ๑ ถึง ๔ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๑๕) ผู้บังคับการกองปราบปราม (๑๖) รองผู้บังคับการกองปราบปราม (๑๗) ผู้กำกับการ ๑ ถึง ๕ กองปราบปราม (๑๘) รองผู้กำกับ ๑ ถึง ๕ กองปราบปราม (๑๙) สารวัตรแผนก ๑ ถึง ๕ กองกำกับการ ๑ ถึง ๕ กองปราบปราม (๒๐) รองสารวัตรแผนก ๑ ถึง ๕ กองกำกับการ ๑ ถึง ๕ กองปราบปราม ๒.๒ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๑) ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (๒) รองบัญชาการตำรวจนครบาล (๓) ผู้ช่วยบัญชาการตำรวจนครบาล (๔) ผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ ถึง ๙ (๕) รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ ถึง ๙ (๖) ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๗) รองผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๘) สารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๙) สารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๑๐) สารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๑๑) รองสารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๑๒) รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๑๓) รองสารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี ๒.๓ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค (๑) ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙ (๒) รองผู้บัญชากรตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙ (๓) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙ (๔) ผู้บังคับการตำรวจภูธรทุกจังหวัด (๕) รองผู้บังคับการตำรวจภูธรทุกจังหวัด (๖) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๗) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๘) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๙) รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๑๐) รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๑๑) รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๑๒) สารวัตรสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๑๓) สารวัตรสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๑๔) สารวัตรสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๑๕) สารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๑๖) สารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๑๗) สารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๑๘) หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด (๑๙) สารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๒๐) สารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๒๑) สารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๒๒) รองสารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๒๓) รองสารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๒๔) รองสารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๒๕) รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๒๖) รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๒๗) รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๒๘) รองสารวัตรสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล ๓. กระทรวงยุติธรรม ๓.๑ กรมบังคับคดี (๑) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีแพ่ง (นิติกร ๙ ชช.) (๒) ผู้อำนวยการกองบังคับแพ่ง ๑ (นิติกร ๘) (๓) ผู้ตรวจการบังคับคดี (นิติกร ๘) ๔. สำนักงานอัยการสูงสุด (๑) อัยการจังหวัดทุกจังหวัด (๒) อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๑ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๓ (๔) อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง ๑ (๕) อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง ๔ ๕. กระทรวงพาณิชย์ ๕.๑ สำนักทะเบียนธุรกิจ พาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด ๕.๒ กรมทะเบียนการค้า ผู้อำนวยการกองนิติการ ๖. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ๗. ธนาคารแห่งประเทศไทย (๑) ผู้อำนวยการอาวุโส สายกฎหมาย (๒) ผู้อำนวยการ สายกฎหมาย (๓) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายกฎหมาย (๔) ผู้บริหารอาวุโส สายกฎหมาย (๕) ผู้บริหารทีม สายกฎหมาย (๖) ผู้เชี่ยวชาญ สายกฎหมาย (๗) นิติกร สายกฎหมาย (๘) ผู้อำนวยการอาวุโส สายคดี (๙) ผู้อำนวยการ สายคดี (๑๐) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายคดี (๑๑) ผู้บริหารอาวุโส สายคดี (๑๒) ผู้บริหารทีม สายคดี (๑๓) ผู้เชี่ยวชาญ สายคดี (๑๔) นิติกร สายคดี (๑๕) ผู้บริหารทีม ทีมกำกับบุคคลรับอนุญาต ฝ่ายกำกับ ๑ สายกำกับสถาบันการเงิน (๑๖) ผู้ตรวจสอบ ทีมกำกับบุคคลรับอนุญาต ฝ่ายกำกับ ๑ สายกำกับสถาบันการเงิน ๘. กระทรวงการคลัง ๘.๑ สำนักงานปลัดกระทวงการคลัง (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง (๒) รองปลัดกระทรวงการคลัง (๓) ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง (๔) ที่ปรึกษากฎหมาย (นิติกร ๑๐ ชช.) (๕) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการคลัง (นิติกร ๘ ว) ๘.๒[๒] ข้าราชการและลูกจ้างชั่วคราว ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป กลุ่มงานป้องปรามการเงินนอกระบบสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ๘.๓ กรมบัญชีกลาง คลังจังหวัดทุกจังหวัด ๘.๔ กรมสรรพากร ข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ในแต่ละท้องที่ ดังนี้ (๑) สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (๒) (๓) (๔) และ (๕) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๒) สังกัดสำนักงานสรรพากรภาค เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่สรรพากรภาคนั้น (๓) สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่สรรพากรพื้นที่นั้น (๔) สังกัดสำนักงานสรรพากรจังหวัด เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่จังหวัด หรือจังหวัด (สาขา) นั้น (๕) สังกัดสำนักงานสรรพากรอำเภอหรือเขต หรือสำนักงานสรรพากรอำเภอ (สาขา) หรือเขต (สาขา) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่อำเภอหรือเขต หรืออำเภอ (สาขา) หรือเขต (สาขา) นั้น เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ข้อ ๓ การใช้อำนาจในการตรวจสอบหรือค้นตามมาตรา ๗ (๔) แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ จะต้องมีข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไป เป็นผู้นำในการเข้าไปตรวจสอบหรือค้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ศุภชัย พิศิษฐวานิช ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ ปลัดกระทวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๘) พ.ศ. ๒๕๔๖[๓] อุรารักษ์/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๓ [๒] ข้อ ๘.๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๘) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๐/๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๖
573331
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๗) พ.ศ. ๒๕๔๓[๑] ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ แล้ว นั้น บัดนี้ มีความจำเป็นต้องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเพิ่มเติม จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๓๔๙/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้ปลัดกระทรวงการคลัง และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ แต่งตั้งให้ ๑.[๒] ข้าราชการและลูกจ้างชั่วคราว ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป กลุ่มงานป้องปรามการเงินนอกระบบสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ๒. ข้าราชการกรมศุลกากร ในตำแหน่ง ๑) สารวัตรศุลกากรตั้งแต่ระดับ ๕ ขึ้นไป ๒) นายตรวจศุลกากรตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ๓) เจ้าหน้าที่ประเมินอากรระดับ ๕ ขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ สุธี สิงห์เสน่ห์ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๘) พ.ศ. ๒๕๔๖[๓] อุรารักษ์/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๕/๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๓ [๒] ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๘) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๐/๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๖
637204
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ รูปถ่ายที่ติดบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรงขนาด ๓ x ๔ เซนติเมตร ข้อ ๓ ในกรุงเทพมหานครให้ปลัดกระทรวงการคลังหรือปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในสังกัดของตน แล้วแต่กรณี และในจังหวัดอื่นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับกรณีปลัดกระทรวงการคลังให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ และกรณีที่ข้าราชการนอกสังกัดกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่[๒] ข้อ ๔[๓] บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ใช้ได้ห้าปีนับแต่วันออกบัตร ข้อ ๕[๔] ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับบัตรประจำตัวตามประกาศนี้ออกจากราชการหรือตำแหน่งให้เป็นอันหมดสิทธิ์ที่จะใช้บัตรประจำตัวนั้นต่อไป และให้ผู้นั้นส่งมอบบัตรประจำตัวคืนให้แก่ผู้ออกบัตรโดยยื่นต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปภายในสามสิบวันนับแต่วันออกจากราชการ หรือตำแหน่งนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ สุธี สิงห์เสน่ห์ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๕] แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘[๖] ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘[๗] อุรารักษ์/ผู้จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๗๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ [๒] ข้อ ๓ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘ [๓] ข้อ ๔ เพิ่มโดยประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ [๔] ข้อ ๕ เพิ่มโดยประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ [๕] แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๓/หน้า ๑๓๖/๘ มกราคม ๒๕๒๘ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๒๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑๑ กันยายน ๒๕๒๘
805536
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 43) พ.ศ. 2548 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๔๓) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ปลัดกระทรวงการคลังซึ่งสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๖๐/๒๕๕๒ เรื่อง การมอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้แก่ปลัดกระทรวงการคลัง รองปลัดกระทรวงการคลัง ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบอำนาจให้ปลัดกระทรวงการคลังในการประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ และปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงิน ฯ ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๖๙/๒๕๔๑ เรื่อง มอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๑ ประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ฉบับที่ ๓๖ ถึงฉบับที่ ๔๒ ข้อ ๒ แต่งตั้งให้ ๑. กระทรวงมหาดไทย ๑.๑ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ๑.๑.๑ ราชการบริหารส่วนกลาง (๑) ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (๒) ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย (๓) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย สำนักกฎหมาย ๑.๑.๒ ราชการบริหารส่วนภูมิภาค (๑) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (๒) หัวหน้าสำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด (๓) หัวหน้ากลุ่มงานอำนวยการ สำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด ๑.๒ กรมการปกครอง ๑.๒.๑ ราชการบริหารส่วนกลาง (๑) ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ ๑.๒.๒ ราชการบริหารส่วนภูมิภาค (๑) ปลัดจังหวัดทุกจังหวัด (๒) นายอำเภอทุกอำเภอ (๓) ปลัดอำเภอทุกอำเภอ ๒. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๒.๑ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๑) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบกำกับการบริหารราชการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๒) ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๓) รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๔) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (๕) ผู้บังคับการปราบปราม (๖) รองผู้บังคับการปราบปราม (๗) ผู้กำกับการ ๑ ถึง ๖ และผู้กำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม (๘) รองผู้กำกับการ ๑ ถึง ๖ และรองผู้กำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม (๙) สารวัตรกองกำกับการ ๑ ถึง ๖ และสารวัตรกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม (๑๐) รองสารวัตรกองกำกับการ ๑ ถึง ๖ และรองสารวัตร กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษกองบังคับการปราบปราม (๑๑) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ ถึงพนักงานสอบสวนกลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม (๑๒) พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ ถึงพนักงานสอบสวนกองกำกับการ ๑ ถึง ๖ กองบังคับการปราบปราม (๑๓) ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๑๔) รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๑๕) ผู้กำกับการ ๕ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๑๖) รองผู้กำกับการ ๕ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๑๗) สารวัตรกองกำกับการ ๕ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๑๘) รองสารวัตรกองกำกับการ ๕ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๑๙) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ ถึงพนักงานสอบสวนกลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๒๐) พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ ถึงพนักงานสอบสวนกองกำกับการ ๕ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๒๑) ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๒) รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๓) ผู้กำกับการ ๑ ถึง ๒ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๔) รองผู้กำกับการ ๑ ถึง ๒ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๕) สารวัตรกองกำกับการ ๑ ถึง ๒ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๖) รองสารวัตรกองกำกับการ ๑ ถึง ๒ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๗) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ ถึงพนักงานสอบสวนกลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๘) พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ ถึงพนักงานสอบสวนกองกำกับการ ๑ ถึง ๒ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ๒.๒ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๑) ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (๒) รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (๓) ผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ ถึง ๙ (๔) ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๕) ผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (๖) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (๗) รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ ถึง ๙ (๘) รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๙) รองผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๑๐) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ (๑๑) ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๑๒) ผู้กำกับการ ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่มีความรับผิดชอบในงานด้านป้องกันปราบปราม งานด้านสืบสวน และพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ (๑๓) รองผู้กำกับการ ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่มีความรับผิดชอบในงานด้านป้องกันปราบปราม งานด้านสืบสวน และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ (๑๔) สารวัตร ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่มีความรับผิดชอบในงานด้านป้องกันปราบปราม งานด้านสืบสวน และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ (๑๕) รองสารวัตร ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่มีความรับผิดชอบในงานด้านป้องกันปราบปราม งานด้านสืบสวน และพนักงานสอบสวน ๒.๓ ตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙ และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๑) ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙ และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๒) รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙ และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๓) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด (๔) ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน (๕) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (๖) รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด (๗) รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน (๘) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ (๙) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกสถานี (๑๐) ผู้กำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด (๑๑) ผู้กำกับการ ในกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๑๒) พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ (๑๓) รองผู้กำกับการ ในสถานีตำรวจภูธรทุกสถานี ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๑๔) รองผู้กำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด (๑๕) รองผู้กำกับการ ในกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๑๖) พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ (๑๗) สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรทุกสถานี (๑๘) สารวัตรสถานีตำรวจภูธรทุกสถานี (๑๙) สารวัตร ในสถานีตำรวจภูธรทุกสถานี ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๒๐) สารวัตรสืบสวนกองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด (๒๑) สารวัตร ในกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๒๒) พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ (๒๓) รองสารวัตร ในสถานีตำรวจภูธรทุกสถานี ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๒๔) รองสารวัตร ในกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๒๕) รองสารวัตรสืบสวนกองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด (๒๖) พนักงานสอบสวน ๓. กระทรวงยุติธรรม ๓.๑ กรมบังคับคดี (๑) อธิบดีกรมบังคับคดี (๒) รองอธิบดีกรมบังคับคดี (๓) ผู้อำนวยการสำนัก/กอง ในบริหารราชการส่วนกลางของกรมบังคับคดี (๔) ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดทุกจังหวัด ๓.๒ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (๑) อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (๒) รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (๓) ผู้บัญชาการสำนัก ระดับสูง (๔) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ระดับเชี่ยวชาญ (๕) พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ระดับชำนาญการพิเศษ (๖) พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ระดับชำนาญการ (๗) เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ระดับชำนาญการพิเศษ (๘) เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ระดับชำนาญการ (๙) เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ระดับปฏิบัติการ ๔. สำนักงานอัยการสูงสุด (๑) อัยการจังหวัดทุกจังหวัด (๒) อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๑ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๓ (๔) อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง ๑ (๕) อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง ๗ (๖) อัยการพิเศษฝ่ายคดีล้มละลาย ๑ ๕. กระทรวงพาณิชย์ ๕.๑ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด พาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด ๕.๒ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย ๖. กระทรวงแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (๑) สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด (๒) ผู้อำนวยการกองนิติการ (๓) ผู้อำนวยการกลุ่มงานคดีอาญา กองนิติการ (๔) ผู้อำนวยการกลุ่มงานคดีแพ่ง กองนิติการ ๗. ธนาคารแห่งประเทศไทย (๑) ผู้ชำนาญการอาวุโส (ด้านการฟอกเงิน) ฝ่ายนโยบายและกำกับการแลกเปลี่ยนเงิน (๒) ผู้บริหารทีม ทีมกำกับและตรวจสอบ Non-bank ฝ่ายนโยบายและกำกับการแลกเปลี่ยนเงิน (๓) ผู้บริหารทีม ฝ่ายตรวจสอบสถาบันเฉพาะกิจและ Non-bank (๔) ผู้ตรวจสอบอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบสถาบันเฉพาะกิจและ Non-bank (๕) หัวหน้านิติกรอาวุโส ฝ่ายกฎหมาย (๖) หัวหน้านิติกร ฝ่ายกฎหมาย (๗) นิติกรอาวุโส ฝ่ายกฎหมาย ๘. กระทรวงการคลัง ๘.๑ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง (๒) รองปลัดกระทรวงการคลัง (๓) ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง (๔) ที่ปรึกษากฎหมาย (นิติกรผู้ทรงคุณวุฒิ) (๕) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย (๖) นิติกรชำนาญการพิเศษ ๘.๒[๒] สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๑) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๒) ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (๓) ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน (๔) ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง (๕) รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๖) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (๗) ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย (๘) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ระดับเชี่ยวชาญ (๙) ข้าราชการในตำแหน่งเศรษฐกร นิติกร และนักวิชาการตรวจสอบภายในระดับปฏิบัติการขึ้นไป (๑๐) พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว ในตำแหน่งเศรษฐกร นิติกร และนักจัดการงานทั่วไปที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการเงินนอกระบบ ๘.๓ กรมบัญชีกลาง คลังจังหวัดทุกจังหวัด ๘.๔ กรมสรรพากร ข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไประดับชำนาญงานขึ้นไป ในแต่ละท้องที่ ดังนี้ (๑) สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (๒) (๓) และ (๔) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๒) สังกัดสำนักงานกรมสรรพากรภาค เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่สรรพากรภาคนั้น (๓) สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่สรรพากรพื้นที่นั้น (๔) สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่สรรพากรพื้นที่สาขานั้น ๘.๕ กรมศุลกากร นักวิชาการศุลกากร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ๙. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (๑) เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (๒) รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (๓) ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี (๔) ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา (๕) ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง (๖) นิติกร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป (๗) นักสืบสวนสอบสวน ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ๑๐. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (๑) เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (๒) รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (๓) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (๔) ผู้อำนวยการกองที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการปราบปรามการฟอกเงิน (๕) นิติกร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป (๖) นักสืบสวนสอบสวน ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ๑๑. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (๑) พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ข้อ ๓ การใช้อำนาจในการตรวจสอบหรือค้นตามมาตรา ๗ (๔) แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ จะต้องมีข้าราชการตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไปเป็นผู้นำในการเข้าไปตรวจสอบหรือค้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ วิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๔๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[๓] ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ปริยานุช/พิมพ์ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘ ปวันวิทย์/เพิ่มเติม ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๘/๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ [๒] ๘.๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๔๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๔/๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑
799328
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2561
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงิน ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๔๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ) ปลัดกระทรวงการคลังซึ่งสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๑๒๕๒/๒๕๕๘ เรื่อง การมอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้แก่ปลัดกระทรวงการคลัง รองปลัดกระทรวงการคลัง และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ลงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบอำนาจให้ปลัดกระทรวงการคลังในการประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ ของพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ และปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๖๙/๒๕๔๑ เรื่อง มอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๑ ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๘.๒ แห่งประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๔๓) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “๘.๒ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๑) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๒) ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (๓) ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน (๔) ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง (๕) รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๖) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (๗) ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย (๘) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ระดับเชี่ยวชาญ (๙) ข้าราชการในตำแหน่งเศรษฐกร นิติกร และนักวิชาการตรวจสอบภายในระดับปฏิบัติการขึ้นไป (๑๐) พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว ในตำแหน่งเศรษฐกร นิติกร และนักจัดการงานทั่วไปที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการเงินนอกระบบ” ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สมชัย สัจจพงษ์ ฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปวันวิทย์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๔/๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑
725140
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 43) พ.ศ. 2558
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๔๓) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ปลัดกระทรวงการคลังซึ่งสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๖๐/๒๕๕๒ เรื่อง การมอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้แก่ปลัดกระทรวงการคลัง รองปลัดกระทรวงการคลัง ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบอำนาจให้ปลัดกระทรวงการคลังในการประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ และปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงิน ฯ ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๖๙/๒๕๔๑ เรื่อง มอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๑ ประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ฉบับที่ ๓๖ ถึงฉบับที่ ๔๒ ข้อ ๒ แต่งตั้งให้ ๑. กระทรวงมหาดไทย ๑.๑ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ๑.๑.๑ ราชการบริหารส่วนกลาง (๑) ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (๒) ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย (๓) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย สำนักกฎหมาย ๑.๑.๒ ราชการบริหารส่วนภูมิภาค (๑) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (๒) หัวหน้าสำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด (๓) หัวหน้ากลุ่มงานอำนวยการ สำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด ๑.๒ กรมการปกครอง ๑.๒.๑ ราชการบริหารส่วนกลาง (๑) ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ ๑.๒.๒ ราชการบริหารส่วนภูมิภาค (๑) ปลัดจังหวัดทุกจังหวัด (๒) นายอำเภอทุกอำเภอ (๓) ปลัดอำเภอทุกอำเภอ ๒. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๒.๑ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๑) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบกำกับการบริหารราชการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๒) ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๓) รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๔) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (๕) ผู้บังคับการปราบปราม (๖) รองผู้บังคับการปราบปราม (๗) ผู้กำกับการ ๑ ถึง ๖ และผู้กำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม (๘) รองผู้กำกับการ ๑ ถึง ๖ และรองผู้กำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม (๙) สารวัตรกองกำกับการ ๑ ถึง ๖ และสารวัตรกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม (๑๐) รองสารวัตรกองกำกับการ ๑ ถึง ๖ และรองสารวัตร กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษกองบังคับการปราบปราม (๑๑) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ ถึงพนักงานสอบสวนกลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม (๑๒) พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ ถึงพนักงานสอบสวนกองกำกับการ ๑ ถึง ๖ กองบังคับการปราบปราม (๑๓) ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๑๔) รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๑๕) ผู้กำกับการ ๕ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๑๖) รองผู้กำกับการ ๕ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๑๗) สารวัตรกองกำกับการ ๕ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๑๘) รองสารวัตรกองกำกับการ ๕ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๑๙) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ ถึงพนักงานสอบสวนกลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๒๐) พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ ถึงพนักงานสอบสวนกองกำกับการ ๕ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (๒๑) ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๒) รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๓) ผู้กำกับการ ๑ ถึง ๒ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๔) รองผู้กำกับการ ๑ ถึง ๒ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๕) สารวัตรกองกำกับการ ๑ ถึง ๒ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๖) รองสารวัตรกองกำกับการ ๑ ถึง ๒ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๗) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ ถึงพนักงานสอบสวนกลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (๒๘) พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ ถึงพนักงานสอบสวนกองกำกับการ ๑ ถึง ๒ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ๒.๒ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๑) ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (๒) รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (๓) ผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ ถึง ๙ (๔) ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๕) ผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (๖) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (๗) รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ ถึง ๙ (๘) รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๙) รองผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๑๐) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ (๑๑) ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๑๒) ผู้กำกับการ ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่มีความรับผิดชอบในงานด้านป้องกันปราบปราม งานด้านสืบสวน และพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ (๑๓) รองผู้กำกับการ ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่มีความรับผิดชอบในงานด้านป้องกันปราบปราม งานด้านสืบสวน และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ (๑๔) สารวัตร ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่มีความรับผิดชอบในงานด้านป้องกันปราบปราม งานด้านสืบสวน และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ (๑๕) รองสารวัตร ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่มีความรับผิดชอบในงานด้านป้องกันปราบปราม งานด้านสืบสวน และพนักงานสอบสวน ๒.๓ ตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙ และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๑) ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙ และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๒) รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙ และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๓) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด (๔) ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน (๕) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (๖) รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด (๗) รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน (๘) พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ (๙) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกสถานี (๑๐) ผู้กำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด (๑๑) ผู้กำกับการ ในกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๑๒) พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ (๑๓) รองผู้กำกับการ ในสถานีตำรวจภูธรทุกสถานี ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๑๔) รองผู้กำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด (๑๕) รองผู้กำกับการ ในกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๑๖) พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ (๑๗) สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรทุกสถานี (๑๘) สารวัตรสถานีตำรวจภูธรทุกสถานี (๑๙) สารวัตร ในสถานีตำรวจภูธรทุกสถานี ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๒๐) สารวัตรสืบสวนกองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด (๒๑) สารวัตร ในกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๒๒) พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ (๒๓) รองสารวัตร ในสถานีตำรวจภูธรทุกสถานี ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๒๔) รองสารวัตร ในกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนหรือป้องกันปราบปราม (๒๕) รองสารวัตรสืบสวนกองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด (๒๖) พนักงานสอบสวน ๓. กระทรวงยุติธรรม ๓.๑ กรมบังคับคดี (๑) อธิบดีกรมบังคับคดี (๒) รองอธิบดีกรมบังคับคดี (๓) ผู้อำนวยการสำนัก/กอง ในบริหารราชการส่วนกลางของกรมบังคับคดี (๔) ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดทุกจังหวัด ๓.๒ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (๑) อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (๒) รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (๓) ผู้บัญชาการสำนัก ระดับสูง (๔) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ระดับเชี่ยวชาญ (๕) พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ระดับชำนาญการพิเศษ (๖) พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ระดับชำนาญการ (๗) เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ระดับชำนาญการพิเศษ (๘) เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ระดับชำนาญการ (๙) เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ระดับปฏิบัติการ ๔. สำนักงานอัยการสูงสุด (๑) อัยการจังหวัดทุกจังหวัด (๒) อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๑ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๓ (๔) อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง ๑ (๕) อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง ๗ (๖) อัยการพิเศษฝ่ายคดีล้มละลาย ๑ ๕. กระทรวงพาณิชย์ ๕.๑ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด พาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด ๕.๒ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย ๖. กระทรวงแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (๑) สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด (๒) ผู้อำนวยการกองนิติการ (๓) ผู้อำนวยการกลุ่มงานคดีอาญา กองนิติการ (๔) ผู้อำนวยการกลุ่มงานคดีแพ่ง กองนิติการ ๗. ธนาคารแห่งประเทศไทย (๑) ผู้ชำนาญการอาวุโส (ด้านการฟอกเงิน) ฝ่ายนโยบายและกำกับการแลกเปลี่ยนเงิน (๒) ผู้บริหารทีม ทีมกำกับและตรวจสอบ Non-bank ฝ่ายนโยบายและกำกับการแลกเปลี่ยนเงิน (๓) ผู้บริหารทีม ฝ่ายตรวจสอบสถาบันเฉพาะกิจและ Non-bank (๔) ผู้ตรวจสอบอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบสถาบันเฉพาะกิจและ Non-bank (๕) หัวหน้านิติกรอาวุโส ฝ่ายกฎหมาย (๖) หัวหน้านิติกร ฝ่ายกฎหมาย (๗) นิติกรอาวุโส ฝ่ายกฎหมาย ๘. กระทรวงการคลัง ๘.๑ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง (๒) รองปลัดกระทรวงการคลัง (๓) ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง (๔) ที่ปรึกษากฎหมาย (นิติกรผู้ทรงคุณวุฒิ) (๕) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย (๖) นิติกรชำนาญการพิเศษ ๘.๒ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๑) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๒) ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง (๓) ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน (๔) รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๕) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (๖) ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับมอบหมายดูแลเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการเงินนอกระบบ (๗) ข้าราชการในตำแหน่งเศรษฐกรและนิติกร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว ในตำแหน่งเศรษฐกรและนิติกรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการเงินนอกระบบ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (๘) ข้าราชการในตำแหน่งนิติกรระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษที่ปฏิบัติงานในส่วนกฎหมายเศรษฐกิจการเงิน และส่วนนิติกรรมสัญญางานคดีและกฎหมายเศรษฐกิจอื่นสำนักกฎหมาย ๘.๓ กรมบัญชีกลาง คลังจังหวัดทุกจังหวัด ๘.๔ กรมสรรพากร ข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไประดับชำนาญงานขึ้นไป ในแต่ละท้องที่ ดังนี้ (๑) สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (๒) (๓) และ (๔) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๒) สังกัดสำนักงานกรมสรรพากรภาค เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่สรรพากรภาคนั้น (๓) สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่สรรพากรพื้นที่นั้น (๔) สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่สรรพากรพื้นที่สาขานั้น ๘.๕ กรมศุลกากร นักวิชาการศุลกากร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ๙. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (๑) เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (๒) รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (๓) ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี (๔) ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา (๕) ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง (๖) นิติกร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป (๗) นักสืบสวนสอบสวน ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ๑๐. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (๑) เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (๒) รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (๓) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (๔) ผู้อำนวยการกองที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการปราบปรามการฟอกเงิน (๕) นิติกร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป (๖) นักสืบสวนสอบสวน ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ๑๑. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (๑) พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ข้อ ๓ การใช้อำนาจในการตรวจสอบหรือค้นตามมาตรา ๗ (๔) แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ จะต้องมีข้าราชการตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไปเป็นผู้นำในการเข้าไปตรวจสอบหรือค้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ วิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปริยานุช/พิมพ์ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๘/๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
680465
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 42) พ.ศ. 2555
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๔๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ปลัดกระทรวงการคลังซึ่งสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ ๖๐/๒๕๕๒ เรื่อง การมอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้แก่ปลัดกระทรวงการคลัง รองปลัดกระทรวงการคลัง ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบอำนาจให้ปลัดกระทรวงการคลังในการประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ และปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๖๙/๒๕๔๑ เรื่อง มอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทน ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๑ ประกาศดังต่อไปนี้ ๑. ให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๘) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๖ และประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๙) พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๒. แต่งตั้งให้ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว สังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในตำแหน่ง (๑) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๒) ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง (๓) ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน (๔) รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๕) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (๖) ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับมอบหมายดูแลเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการเงินนอกระบบ (๗) ข้าราชการในตำแหน่งเศรษฐกรและนิติกร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว ในตำแหน่งเศรษฐกรและนิติกรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการเงินนอกระบบเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม วิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๔/๒๓ มกราคม ๒๕๕๖
622568
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 41) พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงิน ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๔๑) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ปลัดกระทรวงการคลังซึ่งสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๖๐/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒ เรื่อง การมอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้แก่ปลัดกระทรวงการคลัง รองปลัดกระทรวงการคลัง ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด และปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๖๙/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๑ เรื่อง มอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ แต่งตั้งให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในตำแหน่ง ๑. เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ๒. รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ๓. ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี ๔. นิติกร ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ๕. นักสืบสวนสอบสวน ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์ มานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๓๓/๑๑ มกราคม ๒๕๕๓
604991
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงิน ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๔๐) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ปลัดกระทรวงการคลังซึ่งสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๖๐/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒ เรื่อง การมอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้แก่ปลัดกระทรวงการคลัง รองปลัดกระทรวงการคลัง ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด และปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๖๙/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๑ เรื่อง มอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ แต่งตั้งให้ข้าราชการ สังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในตำแหน่ง ๑. อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ๒. รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ๓. ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน ระดับสูง ๔. พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ ๕. พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ระดับชำนาญการพิเศษ ๖. พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ระดับชำนาญการ ๗. เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ระดับชำนาญการพิเศษ ๘. เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ระดับชำนาญการ ๙. เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ระดับปฏิบัติการ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล วิชัย ศรีขวัญ ปลัดกระทรวงการคลัง รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๔๕/๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒
603304
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงิน ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงิน ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๙) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ปลัดกระทรวงการคลังซึ่งสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๖๐/๒๕๕๒ เรื่อง การมอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้แก่ปลัดกระทรวงการคลัง รองปลัดกระทรวงการคลัง ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒ และปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๖๙/๒๕๔๑ เรื่อง มอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๑ แต่งตั้งให้พนักงานราชการทั่วไป กลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล วิชัย ศรีขวัญ ปลัดกระทรวงการคลัง รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๓๕/๒๔ เมษายน ๒๕๕๒
414553
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 38) พ.ศ. 2546
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๘) พ.ศ. ๒๕๔๖[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ปลัดกระทรวงการคลังซึ่งสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๕๗/๒๕๔๖ เรื่อง มอบอำนาจให้ปลัดกระทรวงการคลังและหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบอำนาจให้ปลัดกระทรวงการคลังในการประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ ของพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๖๙/๒๕๔๑ เรื่อง มอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๑ ประกาศดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘.๒ แห่งประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๖) พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๓ และยกเลิกความในข้อ ๑ แห่งประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๗) พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๓ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้าราชการและลูกจ้างชั่วคราว ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป กลุ่มงานป้องปรามการเงินนอกระบบสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง” ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สมใจนึก เองตระกูล เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๐/๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๖
573327
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2543
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๗) พ.ศ. ๒๕๔๓[๑] ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ แล้ว นั้น บัดนี้ มีความจำเป็นต้องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเพิ่มเติม จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๓๔๙/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้ปลัดกระทรวงการคลัง และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ แต่งตั้งให้ ๑. ข้าราชการและลูกจ้างชั่วคราวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องปรามและการเงินนอกระบบ ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ๒. ข้าราชการกรมศุลกากร ในตำแหน่ง ๑) สารวัตรศุลกากรตั้งแต่ระดับ ๕ ขึ้นไป ๒) นายตรวจศุลกากรตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ๓) เจ้าหน้าที่ประเมินอากรระดับ ๕ ขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ สมใจนึก เองตระกูล ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สัญชัย/จัดทำ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๑ อุรารักษ์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๕/๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๓
573325
ประกาศกระทรงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 36) พ.ศ. 2543
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๖) พ.ศ. ๒๕๔๓[๑] อาศัยอำนาจตามในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งสั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๓๔๙/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้ปลัดกระทรวงการคลังและหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด สั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๖๙/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๑ เรื่อง มอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทนในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ฉบับที่ ๑ ถึงฉบับที่ ๓๕ ข้อ ๒ แต่งตั้งให้ ๑. กระทรวงมหาดไทย ๑.๑ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย (๑) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (๒) ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (๓) ผู้อำนวยการกองนิติการ (๔)หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการตามกฎหมาย กองนิติการ ๒. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๒.๑ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๑) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายปฏิบัติการ ๒ (๒) ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๓) รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๔) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๕) ผู้บังคับการกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๖) รองผู้บังคับการกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๗) ผู้กำกับการ ๑ ถึง ๓ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๘) รองผู้กำกับการ ๑ ถึง ๓ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๙) รองผู้กำกับการหัวหน้าชุดสอบสวน ๑ ถึง ๔ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๑๐) สารวัตรงาน ๑ ถึง ๕ กองกำกับการ ๑ ถึง ๓ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๑๑) สารวัตรสอบสวนงาน ๑ ถึง ๔ กองกำกับการ ๑ ถึง ๓ กองบังคับการสืบสวนคดีเศรษฐกิจ (๑๒) สารวัตรชุดสอบสวน ๑ ถึง ๔ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๑๓) รองสารวัตรงาน ๑ ถึง ๕ กองกำกับการ ๑ ถึง ๓ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๑๔) รองสารวัตรชุดสอบสวน ๑ ถึง ๔ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (๑๕) ผู้บังคับการกองปราบปราม (๑๖) รองผู้บังคับการกองปราบปราม (๑๗) ผู้กำกับการ ๑ ถึง ๕ กองปราบปราม (๑๘) รองผู้กำกับ ๑ ถึง ๕ กองปราบปราม (๑๙) สารวัตรแผนก ๑ ถึง ๕ กองกำกับการ ๑ ถึง ๕ กองปราบปราม (๒๐) รองสารวัตรแผนก ๑ ถึง ๕ กองกำกับการ ๑ ถึง ๕ กองปราบปราม ๒.๒ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๑) ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (๒) รองบัญชาการตำรวจนครบาล (๓) ผู้ช่วยบัญชาการตำรวจนครบาล (๔) ผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ ถึง ๙ (๕) รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ ถึง ๙ (๖) ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๗) รองผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๘) สารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๙) สารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๑๐) สารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๑๑) รองสารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๑๒) รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี (๑๓) รองสารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี ๒.๓ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค (๑) ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙ (๒) รองผู้บัญชากรตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙ (๓) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙ (๔) ผู้บังคับการตำรวจภูธรทุกจังหวัด (๕) รองผู้บังคับการตำรวจภูธรทุกจังหวัด (๖) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๗) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๘) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๙) รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๑๐) รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๑๑) รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๑๒) สารวัตรสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๑๓) สารวัตรสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๑๔) สารวัตรสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๑๕) สารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๑๖) สารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๑๗) สารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๑๘) หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด (๑๙) สารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๒๐) สารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๒๑) สารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๒๒) รองสารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๒๓) รองสารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๒๔) รองสารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๒๕) รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรทุกอำเภอ (๒๖) รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรทุกกิ่งอำเภอ (๒๗) รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล (๒๘) รองสารวัตรสถานีตำรวจภูธรทุกตำบล ๓. กระทรวงยุติธรรม ๓.๑ กรมบังคับคดี (๑) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีแพ่ง (นิติกร ๙ ชช.) (๒) ผู้อำนวยการกองบังคับแพ่ง ๑ (นิติกร ๘) (๓) ผู้ตรวจการบังคับคดี (นิติกร ๘) ๔. สำนักงานอัยการสูงสุด (๑) อัยการจังหวัดทุกจังหวัด (๒) อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๑ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๓ (๔) อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง ๑ (๕) อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง ๔ ๕. กระทรวงพาณิชย์ ๕.๑ สำนักทะเบียนธุรกิจ พาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด ๕.๒ กรมทะเบียนการค้า ผู้อำนวยการกองนิติการ ๖. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ๗. ธนาคารแห่งประเทศไทย (๑) ผู้อำนวยการอาวุโส สายกฎหมาย (๒) ผู้อำนวยการ สายกฎหมาย (๓) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายกฎหมาย (๔) ผู้บริหารอาวุโส สายกฎหมาย (๕) ผู้บริหารทีม สายกฎหมาย (๖) ผู้เชี่ยวชาญ สายกฎหมาย (๗) นิติกร สายกฎหมาย (๘) ผู้อำนวยการอาวุโส สายคดี (๙) ผู้อำนวยการ สายคดี (๑๐) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายคดี (๑๑) ผู้บริหารอาวุโส สายคดี (๑๒) ผู้บริหารทีม สายคดี (๑๓) ผู้เชี่ยวชาญ สายคดี (๑๔) นิติกร สายคดี (๑๕) ผู้บริหารทีม ทีมกำกับบุคคลรับอนุญาต ฝ่ายกำกับ ๑ สายกำกับสถาบันการเงิน (๑๖) ผู้ตรวจสอบ ทีมกำกับบุคคลรับอนุญาต ฝ่ายกำกับ ๑ สายกำกับสถาบันการเงิน ๘. กระทรวงการคลัง ๘.๑ สำนักงานปลัดกระทวงการคลัง (๑) ปลัดกระทรวงการคลัง (๒) รองปลัดกระทรวงการคลัง (๓) ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง (๔) ที่ปรึกษากฎหมาย (นิติกร ๑๐ ชช.) (๕) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการคลัง (นิติกร ๘ ว) ๘.๒ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๑) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๒) รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (๓) ผู้เชี่ยวชาญพิเศษที่ได้รับมอบหมายดูแลเกี่ยวกับงานป้องปรามและการเงินนอกระบบ (๔) ข้าราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในตำแหน่งเศรษฐกรและนิติกร ระดับ ๓ ขึ้นไป ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องปรามและการเงินนอกระบบ ๘.๓ กรมบัญชีกลาง คลังจังหวัดทุกจังหวัด ๘.๔ กรมสรรพากร ข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ในแต่ละท้องที่ ดังนี้ (๑) สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (๒) (๓) (๔) และ (๕) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๒) สังกัดสำนักงานสรรพากรภาค เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่สรรพากรภาคนั้น (๓) สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่สรรพากรพื้นที่นั้น (๔) สังกัดสำนักงานสรรพากรจังหวัด เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่จังหวัด หรือจังหวัด (สาขา) นั้น (๕) สังกัดสำนักงานสรรพากรอำเภอหรือเขต หรือสำนักงานสรรพากรอำเภอ (สาขา) หรือเขต (สาขา) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับท้องที่อำเภอหรือเขต หรืออำเภอ (สาขา) หรือเขต (สาขา) นั้น เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ข้อ ๓ การใช้อำนาจในการตรวจสอบหรือค้นตามมาตรา ๗ (๔) แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ จะต้องมีข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไป เป็นผู้นำในการเข้าไปตรวจสอบหรือค้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ศุภชัย พิศิษฐวานิช ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ ปลัดกระทวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วัชศักดิ์/พิมพ์ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑ อุรารักษ์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๓
302159
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 31) พ.ศ. 2540
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงิน ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๓๑) พ.ศ. ๒๕๔๐[๑] ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ แล้ว นั้น บัดนี้ มีความจำเป็นต้องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเพิ่มเติม จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งให้ ๑. รองสารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจภูธร ๒. หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและเร่งรัดภาษีอากรค้าง กรมสรรพากร เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ อำนวย วีรวรรณ เสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๗/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
637208
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ ของหมายเหตุท้ายแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๑ แห่งประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “๑ มีตรากระทรวงการคลัง ตรากระทรวงมหาดไทย หรือตราประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดประทับที่มุมรูป” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๔ และข้อ ๕ ของประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ “ข้อ ๔ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ใช้ได้ห้าปีนับแต่วันออกบัตร ข้อ ๕ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับบัตรประจำตัวตามประกาศนี้ออกจากราชการหรือตำแหน่งให้เป็นอันหมดสิทธิ์ที่จะใช้บัตรประจำตัวนั้นต่อไป และให้ผู้นั้นส่งมอบบัตรประจำตัวคืนให้แก่ผู้ออกบัตรโดยยื่นต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปภายในสามสิบวันนับแต่วันออกจากราชการ หรือตำแหน่งนั้น” ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๘ สมหมาย ฮุนตระกูล พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สุกัญญา/พิมพ์ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๓/หน้า ๑๓๖/๘ มกราคม ๒๕๒๘
302158
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศให้ยกเลิกความในข้อ ๓ วรรคสอง ของประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่องบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “สำหรับกรณีปลัดกระทรวงการคลังให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ และกรณีที่ข้าราชการนอกสังกัดกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่” ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๒๘ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อุรารักษ์/ผู้จัดทำ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๒๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑๑ กันยายน ๒๕๒๘
302157
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ นั้น สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติอนุมัติในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๘ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๘ และวุฒิสภาได้ลงมติอนุมัติในคราวประชุมวุฒิสภา ชุดที่ ๔ ครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ (สมัยสามัญ) วันศุกร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๘ จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๖๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๘
637206
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ รูปถ่ายที่ติดบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรงขนาด ๓ x ๔ เซนติเมตร ข้อ ๓ ในกรุงเทพมหานครให้ปลัดกระทรวงการคลังหรือปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในสังกัดของตน แล้วแต่กรณี และในจังหวัดอื่นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับกรณีปลัดกระทรวงการคลังให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ออกบัตรและกรณีผู้ว่าราชการจังหวัดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ สุธี สิงห์เสน่ห์ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) สุกัญญา/พิมพ์ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๗๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๗
318837
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งให้ ๑. ปลัดกระทรวงการคลัง ๒. อธิบดีกรมสรรพากร ๓. ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายปราบปราม (ปป. ๑) ๔. อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๕. ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงการคลัง ๖. ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงมหาดไทย ๗. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ๘. ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ๙. ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ๑๐. ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ๑๑. ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ๑๒. ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ๑ ถึง ๔ ๑๓. ผู้บังคับการตำรวจกองปราบปราม ๑๔. ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ๑๕. ผู้บังคับการตำรวจนครบาลเหนือ ๑๖. ผู้บังคับการตำรวจนครบาลใต้ ๑๗. ผู้บังคับการตำรวจนครบาลธนบุรี ๑๘. ผู้บังคับการตำรวจภูธรทุกเขต ๑๙. อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง ๒๐. อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาธนบุรี ๒๑. อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งธนบุรี ๒๒. อัยการเขตทุกเขต ๒๓. อัยการจังหวัดทุกจังหวัด ๒๔. พันตำรวจเอก ดรุณ โสตถิพันธุ์ รองผู้บังคับการกองวิชาการ กรมตำรวจ ๒๕. ผู้อำนวยการกองตรวจและนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ๒๖. ผู้อำนวยการกองตรวจภาษีอากร กรมสรรพากร ๒๗. ผู้อำนวยการกองบริหารงานเร่งรัดภาษีอากรค้าง กรมสรรพากร ๒๘. ผู้อำนวยการกองคดีภาษีอากร กรมสรรพากร ๒๙. ผู้อำนวยการกองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ๓๐. สรรพากรเขตทุกเขต ๓๑. สรรพากรกรุงเทพมหานคร ๓๒. สรรพากรจังหวัดทุกจังหวัด ๓๓. ผู้กำกับการตำรวจนครบาลทุกกองกำกับ ๓๔. ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด ๓๕. สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาล สารวัตรสถานีตำรวจนครบาลทุกแห่ง สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรอำเภอ สารวัตรสถานีตำรวจภูธรอำเภอ หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอและหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรทุกแห่งที่เป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ๓๖. นายเฉียบ กนิษฐสุต ๓๗. นายสำรอง วาณิชยานนท์ ๓๘. นายเสริมสิงห์ สิงหเสนี ๓๙. นายประสงค์ ฉัตรบรรยง ๔๐. นายกฤช ฟอลเล็ต ๔๑. นายประวิทย์ ศิริกุลชยานนท์ ๔๒. นายโอภาส ปิยะเพชร ๔๓. นางสร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช ๔๔. นายชัย อุณหวุฒิ ๔๕. นายเลิศศิล์ป อังคทาภิมณฑ์ ๔๖. นายศิริชัย ศิริชื่นวิจิตร ๔๗. นางสาวทิพย์วรรณ ศรีสวัสดิ์ ๔๘. นางเสริมสุข อิ่มบัว ๔๙. นางรักมุกต์ ศิริศุภนนท์ ๕๐. นางอุทัยรักษ์ ชัญญกิตติกุล ๕๑. นางสาวเธียรทอง กล้าแข็ง ๕๒. นางสาวจิรวรรณ เจริญประสิทธิ ๕๓. นาวสาวทัศนีย์ ชานนนารถ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ สุธี สิงห์เสน่ห์ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๗๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๕/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๗
328347
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนสัญญาหรือข้อตกลงการกู้ยืมเงิน
ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนสัญญาหรือข้อตกลงการกู้ยืมเงิน[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนสัญญาหรือข้อตกลงการกู้ยืมเงิน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กู้ยืมเงิน” หมายความว่า รับเงิน ไม่ว่าในลักษณะของการรับฝาก การกู้ การยืม การรับเข้าร่วมลงทุน หรือในลักษณะอื่นใด โดยผู้กู้ยืมเงินจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการรับเพื่อตนเองหรือรับในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้กู้ยืมเงิน หรือของผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือในฐานะอื่นใด และไม่ว่าการรับหรือจ่ายต้นเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนนั้น จะกระทำอำพรางด้วยวิธีการอย่างใด ๆ “ผลประโยชน์ตอบแทน” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด ที่ผู้กู้ยืมเงินจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน เพื่อการกู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายในลักษณะดอกเบี้ย เงินปันผล หรือลักษณะอื่นใด “ผู้กู้ยืมเงิน” หมายความว่า บุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงิน และในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย “ผู้ให้กู้ยืมเงิน” หมายความรวมถึง บุคคลซึ่งผู้ให้กู้ยืมเงินระบุให้เป็นบุคคลที่ได้รับต้นเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้กู้ยืมเงิน ข้อ ๒ ผู้กู้ยืมเงินและหรือผู้ให้กู้ยืมเงินผู้ใดประสงค์จะจดทะเบียนสัญญาหรือข้อตกลงการกู้ยืมเงินที่มีลักษณะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มีผลใช้บังคับ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง ในพระบรมมหาราชวัง สำหรับกรณีผู้กู้ยืมเงินมีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร (๒) สำนักงานสรรพากรจังหวัด สำหรับกรณีผู้กู้ยืมเงินมีภูมิลำเนาในเขตท้องที่จังหวัดนั้น รับแบบคำขอจดทะเบียนได้ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ในพระบรมมหาราชวัง และสำนักงานสรรพากรจังหวัดทุกจังหวัด ข้อ ๓ การยื่นคำขอจดทะเบียนต้องยื่นแยกเป็นรายสัญญาหรือข้อตกลง โดยคำขอจดทะเบียนสองฝ่ายให้ใช้แบบคำขอจดทะเบียน กฉ. ๑ และคำขอจดทะเบียนฝ่ายเดียวให้ใช้แบบคำขอจดทะเบียน กฉ. ๒ ข้อ ๔ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องนำสัญญาหรือข้อตกลงในการกู้ยืมเงินหรือเอกสารอื่นที่เป็นหลักฐานเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องมอบภาพถ่ายสัญญาหรือข้อตกลงหรือเอกสารดังกล่าวที่รับรองความถูกต้องอย่างละ ๒ ชุด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย ข้อ ๕ การยื่นคำขอจดทะเบียนฝ่ายเดียว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่รับคำขอแล้วจะได้มีหนังสือสอบถามไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้ความยินยอมและยอมรับข้อความในสัญญาหรือข้อตกลงที่นำมาขอจดทะเบียนนั้น ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับของพนักงานเจ้าหน้าที่ หากไม่ได้รับแจ้งตอบภายในกำหนดเวลาดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่รับจดทะเบียนให้และจะแจ้งให้คู่สัญญาฝ่ายที่ขอจดทะเบียนทราบ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ สุธี สิงห์เสน่ห์ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ อุรารักษ์/ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๗๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๒/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๗
756161
พระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559
พระราชกำหนด พระราชกำหนด การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นปีที่ ๗๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙” มาตรา ๒[๑] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ พระราชกำหนดนี้ไม่ใช้บังคับกับ (๑) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (๒) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล มาตรา ๔ ในพระราชกำหนดนี้ “การนำคนต่างด้าวมาทำงาน” หมายความว่า การดำเนินการใด ๆ เพื่อนำคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือตามนโยบายของรัฐบาลว่าด้วยการจ้างแรงงานมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยจะมีค่าบริการหรือค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม “คนต่างด้าว” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย “นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และให้หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประสงค์จะนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศกับตนด้วย “ค่าบริการ” หมายความว่า เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ให้เป็นการตอบแทนการนำคนต่างด้าวมาทำงาน “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการนำคนต่างด้าวมาทำงาน “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานของผู้รับอนุญาต “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชกำหนดนี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศมี ๒ กรณี ดังนี้ (๑) กรณีที่ผู้รับอนุญาตเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (๒) กรณีที่นายจ้างเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการนำคนต่างด้าวมาทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗ ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ ภัยพิบัติสาธารณะ หรือกรณีอื่นในลักษณะเดียวกัน รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตหรือนายจ้างนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศภายใต้เงื่อนไขใด ๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ในกรณีใด ๆ ก็ได้ มาตรา ๘ ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนเองในประเทศ ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี หมวด ๒ การประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ มาตรา ๙ ห้ามผู้ใดประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๐ ผู้ขออนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วตามที่อธิบดีประกาศกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท (๒) มีทุนเป็นของผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนทุนทั้งหมด และจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด เว้นแต่ในกรณีที่มีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณีระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของสนธิสัญญาหรือความผูกพันตามพันธกรณีนั้น (๓) มีสำนักงานอยู่ในที่ตั้งที่เป็นสัดส่วน เปิดเผย มีหลักแหล่งที่แน่นอน และไม่เป็นสถานที่ต้องห้ามตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (๔) ไม่เป็นผู้รับอนุญาต ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชกำหนดนี้ กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน หรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล (๕) มีผู้จัดการซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) มีสัญชาติไทย (ข) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ (ค) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับอนุญาต หรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชกำหนดนี้ กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน หรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล (ง) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (จ) ไม่เป็นผู้มีหรือเคยมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (ฉ) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเอาการกระทำโดยทุจริตเป็นองค์ประกอบ หรือในความผิดตามพระราชกำหนดนี้ กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน หรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล มาตรา ๑๑ ผู้ขออนุญาตต้องวางหลักประกันอันสมควรไว้กับอธิบดี เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ และเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ ก่อนที่อธิบดีจะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขออนุญาต เป็นจำนวนเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่น้อยกว่าห้าล้านบาท การวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การหักหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การหักเงินจากหลักประกันชดใช้ให้แก่นายจ้างหรือคนต่างด้าวในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ การเรียกหลักประกันเพิ่ม และการขอรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่หลักประกันที่ผู้รับอนุญาตวางไว้ตามวรรคหนึ่งลดลงเพราะถูกใช้จ่ายไปตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตวางหลักประกันเพิ่มจนครบจำนวนเงินที่กำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มาตรา ๑๒ ใบอนุญาตให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าอธิบดีจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๓ ผู้รับอนุญาตต้องยื่นคำขอใบแทนใบอนุญาตในกรณีที่ใบอนุญาตชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายของใบอนุญาตดังกล่าว การขอและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๑๔ ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย และเห็นได้ง่าย ณ สำนักงานตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต มาตรา ๑๕ ผู้รับอนุญาตต้องยื่นคำขอต่ออธิบดี เมื่อประสงค์จะย้ายสำนักงานหรือตั้งสำนักงานชั่วคราวที่มิใช่สถานที่ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๑๖ ผู้รับอนุญาตต้องยื่นคำขอต่ออธิบดี เมื่อประสงค์จะเปลี่ยนผู้จัดการ การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่อธิบดีไม่ออกใบอนุญาตตามมาตรา ๙ ไม่ต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา ๑๒ ไม่อนุญาตให้ย้ายสำนักงานหรือให้จัดตั้งสำนักงานชั่วคราวตามมาตรา ๑๕ ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนผู้จัดการตามมาตรา ๑๖ ผู้ขออนุญาตหรือผู้รับอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่อนุญาต คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๑๘ ผู้รับอนุญาตต้องจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ผู้รับอนุญาตต้องใช้ลูกจ้างซึ่งได้จดทะเบียนตามวรรคหนึ่งแล้วเท่านั้นให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ผู้รับอนุญาตต้องแสดงทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ณ สำนักงาน เพื่อให้นายจ้างหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบความเป็นลูกจ้างดังกล่าวได้ ใบอนุญาตที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาต ให้คุ้มถึงลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศซึ่งผู้รับอนุญาตผู้นั้นได้จดทะเบียนไว้ด้วย การกระทำที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศของลูกจ้างดังกล่าวซึ่งผู้รับอนุญาตได้จดทะเบียนไว้ ให้ถือว่าเป็นการกระทำของผู้รับอนุญาตด้วย มาตรา ๑๙ ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ (๕) และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศของผู้รับอนุญาตรายอื่นตามพระราชกำหนดนี้ (๒) เป็นตัวแทนจัดหางานหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล ในขณะเดียวกัน มาตรา ๒๐ การประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศเป็นอันสิ้นสุดลงในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาตสิ้นอายุ (๒) ถูกเพิกถอนใบอนุญาต (๓) ไม่ได้รับอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต (๔) ผู้รับอนุญาตยกเลิกวัตถุประสงค์ของบริษัทในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (๕) ผู้รับอนุญาตเลิกบริษัท เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง และผู้รับอนุญาตมีความผูกพันตามสัญญากับนายจ้างอยู่ ให้ผู้รับอนุญาตที่ยังคงมีภาระหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้แจ้งต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า ในกรณีตาม (๔) และ (๕) ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งต่ออธิบดีและส่งใบอนุญาตคืนแก่อธิบดีโดยไม่ชักช้า มาตรา ๒๑ หลักประกันที่ผู้รับอนุญาตวางไว้ตามมาตรา ๑๑ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตราบเท่าที่ผู้รับอนุญาตยังมิได้เลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ หรือผู้รับอนุญาตเลิกประกอบธุรกิจดังกล่าวแล้วแต่ยังมีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตเลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ และไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ให้ผู้รับอนุญาตยื่นคำขอรับหลักประกันคืนต่ออธิบดี เมื่ออธิบดีตรวจสอบแล้วพบว่าผู้รับอนุญาตไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ให้แจ้งแก่ผู้รับอนุญาตเป็นหนังสือเพื่อมารับหลักประกันคืน ให้ผู้รับอนุญาตรับหลักประกันคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดี ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่รับหลักประกันคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้หลักประกันดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มาตรา ๒๒ ผู้จัดการหรือลูกจ้างต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้องเมื่อออกไปปฏิบัติงานนอกสำนักงาน บัตรประจำตัวผู้จัดการ หรือลูกจ้าง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกบัตร ผู้รับอนุญาต ผู้จัดการ หรือลูกจ้าง ต้องยื่นคำขอรับใบแทนบัตรประจำตัว ในกรณีที่บัตรประจำตัวชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายของบัตรประจำตัวดังกล่าว การขอมีบัตร การออกบัตรประจำตัว และการออกใบแทนบัตรประจำตัว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๒๓ ผู้จัดการหรือลูกจ้างซึ่งพ้นจากความเป็นผู้จัดการหรือลูกจ้างต้องส่งคืนบัตรประจำตัวแก่อธิบดีหรือผู้รับอนุญาตภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พ้นจากความเป็นผู้จัดการหรือลูกจ้าง ผู้รับอนุญาตซึ่งได้รับบัตรประจำตัวคืนตามวรรคหนึ่งต้องส่งบัตรประจำตัวนั้นแก่อธิบดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับจากผู้จัดการหรือลูกจ้าง มาตรา ๒๔ ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ผู้รับอนุญาตต้องทำสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความครบถ้วนของรายละเอียดในสัญญาว่าเป็นไปตามที่ประกาศกำหนดหรือไม่ ให้ส่งสัญญาดังกล่าวแก่อธิบดีเพื่อพิจารณา ทั้งนี้ ให้อธิบดีแจ้งแก่ผู้รับอนุญาตทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสัญญา มาตรา ๒๕ ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (๑) ห้ามผู้รับอนุญาตเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากนายจ้าง เว้นแต่ค่าบริการและค่าใช้จ่ายตามรายการและอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด (๒) ห้ามผู้รับอนุญาตเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากคนต่างด้าว กรณีตาม (๑) ผู้รับอนุญาตต้องออกใบรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้างเมื่อได้รับค่าบริการหรือค่าใช้จ่าย ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๒๖ ผู้รับอนุญาตต้องส่งรายงานเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศต่ออธิบดี ตามแบบรายงานที่อธิบดีกำหนด ภายในวันที่สิบของเดือนถัดไป หมวด ๓ หน้าที่และความรับผิดชอบ มาตรา ๒๗ นายจ้างซึ่งประสงค์จะนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนเองต้องวางหลักประกันไว้กับอธิบดี เมื่อได้รับหลักประกันแล้วให้อธิบดีอนุญาตให้นายจ้างนั้นนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศได้ การวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การหักหลักประกันในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการที่นายจ้างได้นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ การเรียกหลักประกันเพิ่ม และการขอรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๘ ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนเองในประเทศ หากนายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าว คนต่างด้าวลาออกจากงาน หรือคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างจนครบกำหนดตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ นายจ้างต้องแจ้งต่ออธิบดีและต้องจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานกับนายจ้างหรือวันที่ครบกำหนดตามสัญญา แล้วแต่กรณี หากนายจ้างไม่ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันที่นายจ้างได้วางไว้ตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๙ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ แต่นายจ้างไม่รับคนต่างด้าวนั้นเข้าทำงาน หรือคนต่างด้าวไม่ยินยอมทำงานกับนายจ้างนั้น หรือคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างในประเทศตามสัญญาแล้วแต่นายจ้างเลิกจ้าง หรือคนต่างด้าวได้ลาออกจากงานก่อนครบอายุสัญญา ให้ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นประสงค์จะทำงานกับนายจ้างรายอื่นที่มีลักษณะงานทำนองเดียวกัน ผู้รับอนุญาตจะจัดให้ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างรายอื่นตามความประสงค์ของลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม มาตรา ๓๐ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่นำคนต่างด้าวมาทำงานตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้คืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากนายจ้างไปแล้วทั้งหมดให้แก่นายจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าว มาตรา ๓๑ เมื่อคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างจนครบกำหนดตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ หรือไม่ได้ทำงานกับนายจ้างแล้ว นายจ้างต้องแจ้งผู้รับอนุญาตโดยไม่ชักช้าเพื่อให้ผู้รับอนุญาตจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางที่ได้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ครบกำหนดตามสัญญาหรือวันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานกับนายจ้างแล้ว แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตเลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เมื่อคนต่างด้าวได้ทำงานกับนายจ้างจนครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ให้นายจ้างแจ้งต่ออธิบดีเพื่อดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันของผู้รับอนุญาตที่ได้วางไว้ตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๓๒ ในกรณีที่คนต่างด้าวเข้ามาทำงานตามพระราชกำหนดนี้ และต้องถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายอื่น ให้หน่วยงานที่ดำเนินการส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตได้ มาตรา ๓๓ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง ให้อธิบดีหักค่าบริการและค่าใช้จ่ายจากหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา ๑๑ คืนให้แก่นายจ้าง และเมื่อได้ดำเนินการหักค่าบริการและค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้ว ให้อธิบดีแจ้งให้ผู้รับอนุญาตทราบโดยไม่ชักช้า หมวด ๔ การควบคุม มาตรา ๓๔ ผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศต้องใช้ชื่อ คำแสดงชื่อ หรือคำอื่นใดในการประกอบธุรกิจว่า “บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ” และจะใช้ถ้อยคำหรืออักษรต่างประเทศอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกันประกอบด้วยก็ได้ มาตรา ๓๕ ห้ามผู้ใดใช้ชื่อ คำแสดงชื่อ หรือคำอื่นใดว่า “บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ” หรือถ้อยคำหรืออักษรต่างประเทศอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกัน มาตรา ๓๖ ห้ามผู้รับอนุญาตประกอบธุรกิจอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๓๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดเพื่อประกอบการพิจารณาได้ (๒) เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชกำหนดนี้ (๓) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น ยึด หรืออายัด เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีพยานหลักฐานในการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อพบและช่วยคนต่างด้าวที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ พยานหลักฐานนั้นอาจถูกโยกย้าย ซ่อนเร้น หรือทำลายไปเสียก่อน หรือคนต่างด้าวนั้นอาจถูกประทุษร้าย โยกย้าย หรือซ่อนเร้น (๔) ยึดหรืออายัด เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ ในการใช้อำนาจตาม (๓) อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงความบริสุทธิ์ก่อนการเข้าค้น ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าค้นให้รายงานเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้ รวมทั้งผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่ออธิบดี และให้อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าค้นจัดทำสำเนารายงานดังกล่าวให้ไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถานหรือสถานที่ค้น ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบสำเนารายงานนั้นให้แก่ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ และหากเป็นการเข้าค้นในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและขึ้น พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นต้องดำรงตำแหน่งนายอำเภอหรือเป็นข้าราชการตำรวจตั้งแต่ระดับรองผู้กำกับการหรือข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไป ทั้งนี้ ให้อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าค้นส่งสำเนารายงานเหตุผลและผลการตรวจค้น บัญชีพยานหลักฐานหรือคนต่างด้าวที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และบัญชีทรัพย์ที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ต่อศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่ทำการค้นหรือศาลอาญา ภายในสี่สิบแปดชั่วโมงหลังจากสิ้นสุดการตรวจค้นเพื่อเป็นหลักฐาน ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๒) ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร มาตรา ๓๘ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง มาตรา ๓๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เพื่อประโยชน์ในการจับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้รับอนุญาตนั้นปฏิบัติให้ถูกต้องหรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน มาตรา ๔๑ อธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามคำสั่งของอธิบดีตามมาตรา ๔๐ ภายในระยะเวลาที่กำหนด (๒) ผู้รับอนุญาตเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปี หรือเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๓) อธิบดีเห็นว่าผู้รับอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ได้อีกต่อไปแล้ว (๔) ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศต้นทาง มีส่วนรู้เห็นหรือเป็นผู้สนับสนุนการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องดังกล่าวในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ และอธิบดีได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศต้นทาง หรือห้ามมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวข้างต้นแล้ว แต่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเตือนของอธิบดี (๕) ผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนมาตรา ๔๒ วรรคสอง (๖) อธิบดีเห็นว่าการที่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ เป็นกรณีที่ร้ายแรง มาตรา ๔๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือและแจ้งให้ผู้รับอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้รับอนุญาต หรือผู้รับอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่ง ให้ปิดคำสั่งดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สำนักงานของผู้รับอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับอนุญาตได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคำสั่ง ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่การดำเนินการที่ต้องกระทำต่อเนื่องจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศก่อนวันที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องรับผิดชอบในการจัดส่งคนต่างด้าวซึ่งยังอยู่ในความรับผิดชอบของตนกลับไปยังประเทศต้นทาง จนกว่าจะพ้นจากความรับผิดตามพระราชกำหนดนี้ และให้รายงานให้อธิบดีทราบเกี่ยวกับคนต่างด้าวซึ่งยังอยู่ในความรับผิดชอบของตน มาตรา ๔๓ ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๕ บทกำหนดโทษ มาตรา ๔๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ วรรคสอง ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๕ นายจ้างผู้ใด นำคนต่างด้าวมาทำงานให้กับตนเองในประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๗ ลูกจ้างผู้ใด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยที่ตนเองมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ (๕) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๔๘ ผู้รับอนุญาตผู้ใด กระทำการหรือไม่กระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ยื่นคำขอใบแทนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายตามมาตรา ๑๔ หรือย้ายสำนักงานหรือตั้งสำนักงานชั่วคราวโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง (๒) เปลี่ยนผู้จัดการโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง ไม่จดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง หรือใช้บุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างที่ได้จดทะเบียนให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง (๓) ไม่แจ้งต่อนายจ้างหรือไม่แจ้งต่ออธิบดีหรือไม่ส่งใบอนุญาตคืนตามมาตรา ๒๐ วรรคสองหรือวรรคสาม ไม่ยื่นคำขอรับใบแทนบัตรประจำตัวตามมาตรา ๒๒ วรรคสาม หรือไม่ส่งบัตรประจำตัวที่ได้รับจากผู้จัดการหรือลูกจ้างแก่อธิบดีตามมาตรา ๒๓ วรรคสอง (๔) ไม่ทำสัญญาหรือทำสัญญาโดยฝ่าฝืนมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง หรือไม่ออกใบรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้างตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๕) ไม่ส่งรายงานหรือส่งรายงานไม่เป็นไปตามแบบรายงานที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๒๖ (๖) ไม่ส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๒๙ (๗) ใช้ชื่อในการประกอบธุรกิจโดยฝ่าฝืนมาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๔๙ ผู้รับอนุญาตผู้ใด ไม่แสดงทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามมาตรา ๑๘ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๕๐ ผู้จัดการหรือลูกจ้างผู้ใด ไม่แสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้องเมื่อออกไปปฏิบัติงานนอกสำนักงาน หรือไม่ยื่นคำขอรับใบแทนบัตรประจำตัวตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือไม่ส่งคืนบัตรประจำตัวเมื่อพ้นจากความเป็นผู้จัดการหรือลูกจ้างตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๕๑ ผู้ใดแสดงตนว่ามีหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศของผู้รับอนุญาตอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๕๒ ผู้รับอนุญาตผู้ใด เรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ไม่ใช่ค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่อธิบดีประกาศกำหนดตามมาตรา ๒๕ (๑) หรือฝ่าฝืน (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับห้าเท่าของเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่รับไว้จากนายจ้างหรือคนต่างด้าว ผู้รับอนุญาตผู้ใด เรียกหรือรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายจากนายจ้างเกินกว่าอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนดตามมาตรา ๒๕ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน และปรับห้าเท่าของค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเกินกว่าอัตราที่อธิบดีกำหนด มาตรา ๕๓ นายจ้างผู้ใด ไม่แจ้งต่ออธิบดีหรือไม่จัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๕๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๕๕ ผู้รับอนุญาตซึ่งฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท มาตรา ๕๖ ผู้ใดไม่มาชี้แจงข้อเท็จจริง ไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานตามมาตรา ๓๗ (๑) ไม่อำนวยความสะดวกตามมาตรา ๓๗ (๒) หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๗ (๓) และ (๔) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๕๗ ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำโดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป หรือโดยสมาชิกขององค์กรอาชญากรรม ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง มาตรา ๕๘ ผู้ใดสนับสนุนการกระทำความผิดตามมาตรา ๕๗ แม้ว่าการกระทำของตัวการจะอยู่นอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๕๙ การเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ แทนผู้เสียหาย พนักงานอัยการจะขอรวมไปกับฟ้องคดีอาญาหรือจะยื่นคำร้องในภายหลังขณะที่คดีอาญานั้นยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ได้ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายที่จะยื่นคำร้องเพื่อเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดี ถึงแม้ไม่มีคำขอให้ใช้ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปตามวรรคหนึ่ง หากศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลย ศาลจะสั่งในคำพิพากษาคดีอาญาให้จำเลยใช้ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปแก่ผู้เสียหายตามที่เห็นสมควรก็ได้ คำสั่งดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้เสียหายในอันที่จะฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกเอาทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปในส่วนที่ยังขาดอยู่ มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทำของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๖๑ บรรดาความผิดตามพระราชกำหนดนี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเปรียบเทียบดังนี้ (๑) อธิบดีสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร (๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดนั้น ในกรณีที่มีการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ที่มีโทษอยู่ในเกณฑ์ที่จะทำการเปรียบเทียบได้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ เมื่อผู้กระทำผิดได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในเวลาที่กำหนดแต่ไม่เกินสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๒ ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน ที่ได้ดำเนินการจัดหาคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้อีกไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาต ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๒) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๓) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๔) การอนุญาตให้ย้ายสำนักงาน ครั้งละ ๕,๐๐๐ บาท หรือตั้งสำนักงานชั่วคราว (๕) การอนุญาตให้เปลี่ยนผู้จัดการ ครั้งละ ๕,๐๐๐ บาท (๖) การจดทะเบียนลูกจ้าง คนละ ๑,๐๐๐ บาท (๗) บัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้าง ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๘) ค่ายื่นคำขอ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๙) การรับรองสำเนาเอกสาร (ก) ภาษาไทย หน้าละ ๕๐ บาท (ข) ภาษาต่างประเทศ หน้าละ ๑๐๐ บาท (๑๐) การออกหนังสือรับรอง (ก) ภาษาไทย หน้าละ ๕๐๐ บาท (ข) ภาษาต่างประเทศ หน้าละ ๑,๐๐๐ บาท หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ จากการที่ประเทศไทยได้ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคส่วนต่าง ๆ ทำให้การประกอบธุรกิจจัดหาคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจดังกล่าวที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถควบคุมหรือป้องกันการลักลอบนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศได้อย่างทันท่วงที รัฐบาลจึงจำเป็นต้องกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนในการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว อันนำไปสู่การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในประเทศ รวมทั้งมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อขจัดการบังคับใช้แรงงาน หรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงานต่างด้าว ทั้งนี้ เพื่อให้มาตรฐานในการทำงานของแรงงานต่างด้าวของประเทศไทยมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และสามารถรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานอาเซียน เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านแรงงาน เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อไป อันเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ พจนา/ตรวจ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๗๐ ก/หน้า ๑/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
761972
กฎกระทรวง การขอใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการกำหนดหลักประกันในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง การขอใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการกำหนดหลักประกัน ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙ วรรคสอง มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาตรา ๑๒ วรรคสาม และมาตรา ๒๗ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และให้หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประสงค์จะนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศกับตนด้วย “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน ข้อ ๒ การยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน (๒) ในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด การยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้ อธิบดีจะประกาศกำหนดสถานที่หรือวิธีการอื่นก็ได้ ข้อ ๓ ในกรณีที่ยื่นคำขอในท้องที่จังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้จัดหางานจังหวัดแห่งท้องที่ที่มีการยื่นคำขอนั้นเสนอความเห็นและส่งคำขอพร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐาน หรือหลักประกัน แล้วแต่กรณี ต่ออธิบดีเพื่อพิจารณา หมวด ๑ การขอใบอนุญาต และการออกใบอนุญาต ข้อ ๔ ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน และหลักประกันตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๕ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาตแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอรับใบอนุญาต พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน และหลักประกันตามที่กำหนดไว้หากเห็นว่าคำขอรับใบอนุญาต เอกสารและหลักฐาน และหลักประกันไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขคำขอรับใบอนุญาตหรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานหรือหลักประกันเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอตามวรรคหนึ่งให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตไว้เป็นหลักฐานโดยบันทึกความถูกต้องและครบถ้วนของรายการเอกสารและหลักฐาน และหลักประกัน หรือความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานหรือหลักประกันที่จะต้องยื่นเพิ่มเติมไว้ในใบรับคำขอดังกล่าวด้วย ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่แก้ไขคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานหรือหลักประกันเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้ถือว่าผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการต่อไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คืนคำขอรับใบอนุญาตเอกสารและหลักฐาน และหลักประกันให้แก่ผู้ยื่นคำขอ พร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนคำขอและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ ข้อ ๗ ในกรณีที่คำขอรับใบอนุญาตพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานและหลักประกันถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นไปยังอธิบดีเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาต เมื่ออธิบดีพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตประกอบกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งแล้วเห็นว่าคำขอรับใบอนุญาต พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน และหลักประกันมีความถูกต้องครบถ้วนให้อธิบดีออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต ในกรณีที่อธิบดีมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาต ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ ข้อ ๘ ใบอนุญาตให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา หมวด ๒ การต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๙ ผู้รับอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวันพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๑๐ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอต่ออายุใบอนุญาตแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอต่ออายุใบอนุญาต พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ หากเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขคำขอต่ออายุใบอนุญาตหรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งให้แก่ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตไว้เป็นหลักฐาน โดยบันทึกความถูกต้องและครบถ้วนของรายการเอกสารหรือหลักฐานหรือความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติมไว้ในใบรับดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตไม่แก้ไขคำขอต่ออายุใบอนุญาตหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานหรือหลักประกันเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นไปยังอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๑๒ ในกรณีที่คำขอต่ออายุใบอนุญาตพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นไปยังอธิบดีเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต เมื่ออธิบดีอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้ออกใบอนุญาตฉบับใหม่ให้โดยใช้เลขที่ใบอนุญาตฉบับเดิม ในกรณีที่อธิบดีมีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตทราบ หมวด ๓ การวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การหักหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การเรียกหลักประกันเพิ่ม และการขอรับหลักประกันคืนของผู้รับอนุญาต ข้อ ๑๓ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตวางหลักประกันพร้อมคำขอรับใบอนุญาตต่ออธิบดีเพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยต้องเป็นเงินสด หรือพันธบัตรของรัฐบาลไทย หรือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร เป็นจำนวนเงินห้าล้านบาท ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตวางหลักประกันเป็นสัญญาค้ำประกันของธนาคาร ให้ใช้ตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๑๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักประกันที่ผู้ขอรับใบอนุญาตนำมาวางไว้กับอธิบดี ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหลักประกันที่วางไว้ทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นเงินสด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจนับจำนวนเงินให้ถูกต้องครบถ้วน (๒) ในกรณีหลักประกันที่วางไว้ทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นพันธบัตรของรัฐบาลไทยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการโอนกรรมสิทธิ์ในด้านหลังพันธบัตรว่า ได้ระบุการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่อธิบดีแล้ว (๓) ในกรณีหลักประกันที่วางไว้ทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นสัญญาค้ำประกันของธนาคารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อความในสัญญาค้ำประกันให้ถูกต้องตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และดำเนินการให้ธนาคารผู้ค้ำประกันยืนยันสัญญาค้ำประกันเป็นหนังสือต่ออธิบดีว่าเป็นผู้ค้ำประกันของผู้ยื่นคำขอจริงและมีคู่ฉบับเก็บไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๑๕ กรณีที่หลักประกันตามข้อ ๑๔ (๑) ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตและให้เก็บรักษาโดยการนำฝากธนาคารและบันทึกในทะเบียนคุมหลักประกัน กรณีที่หลักประกันตามข้อ ๑๔ (๒) และ (๓) ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับหลักประกันแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตและให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัย ณ กรมการจัดหางานหรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ ๑๖ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง ให้อธิบดีหักค่าบริการและค่าใช้จ่ายจากหลักประกันที่ผู้รับอนุญาตวางไว้ตามข้อ ๑๓ เพื่อคืนให้แก่นายจ้างตามมาตรา ๓๓ แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งการหักหลักประกันตามวรรคหนึ่งให้ผู้รับอนุญาตทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้หักหลักประกัน และในกรณีที่ผู้รับอนุญาตวางหลักประกันเป็นสัญญาค้ำประกันของธนาคารให้อธิบดีมีหนังสือถึงธนาคารผู้ค้ำประกัน ให้นำเงินมาชำระหนี้ตามคำสั่งหักหลักประกัน ข้อ ๑๗ ผู้รับอนุญาตผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหลักประกัน ให้ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงหลักประกันตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานและหลักประกันใหม่ตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๑๘ ให้นำความในข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ และข้อ ๑๕ มาใช้บังคับกับการยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงหลักประกัน โดยอนุโลม ในกรณีที่คำขอเปลี่ยนแปลงหลักประกันพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน และหลักประกันใหม่มีความถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นไปยังอธิบดีเพื่อพิจารณาอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงหลักประกัน ในกรณีที่อธิบดีมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงหลักประกัน ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้รับอนุญาตทราบ ข้อ ๑๙ ในกรณีหลักประกันที่ผู้รับอนุญาตวางไว้ตามข้อ ๑๓ ลดลงเนื่องจากมีการหักหลักประกันตามข้อ ๑๖ ให้อธิบดีมีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตวางหลักประกันเพิ่มจนครบจำนวนเงินที่กำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ทั้งนี้ ให้นำข้อ ๑๔ และข้อ ๑๕ มาใช้บังคับกับการวางหลักประกันเพิ่มโดยอนุโลม ข้อ ๒๐ เมื่อการประกอบธุรกิจนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศสิ้นสุดลงตามมาตรา ๒๐ และผู้รับอนุญาตไม่มีความรับผิดหรือได้ชำระหนี้ตามพระราชกำหนดนี้ครบถ้วนแล้วให้ผู้รับอนุญาตยื่นคำขอรับหลักประกันคืนตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๒๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความรับผิดของผู้รับอนุญาตตามข้อ ๑๖ กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่าไม่มีความรับผิดหรือได้ชำระหนี้ตามพระราชกำหนดนี้ครบถ้วนแล้วให้เสนอความเห็นต่ออธิบดีเพื่อพิจารณาคืนหลักประกันและมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตมารับหลักประกันคืน กรณีผลการตรวจสอบตามวรรคหนึ่งปรากฏว่า ผู้รับอนุญาตยังมีความรับผิด หรือหนี้ที่จะต้องชำระตามพระราชกำหนดนี้ แต่ความรับผิดหรือหนี้ที่เหลือมีจำนวนน้อยกว่าหลักประกันที่วางไว้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำความเห็นเสนอต่ออธิบดีเพื่อสั่งลดหลักประกันลงให้เหลือเท่ากับความรับผิดหรือหนี้ที่จะต้องชำระตามพระราชกำหนดนี้ และมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตมารับหลักประกันส่วนที่เกินคืน หมวด ๔ การวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การหักหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การเรียกหลักประกันเพิ่ม และการขอรับหลักประกันคืนของนายจ้าง ข้อ ๒๒ นายจ้างผู้ใดประสงค์จะนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตน ต้องวางหลักประกันเป็นเงินสดหรือพันธบัตรของรัฐบาลไทย หรือสัญญาค้ำประกันของธนาคารต่ออธิบดี เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตน ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีนำคนต่างด้าวมาทำงานไม่เกินเก้าสิบเก้าคน ให้วางหลักประกันเป็นจำนวนหนึ่งพันบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน (๒) กรณีนำคนต่างด้าวมาทำงานตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป ให้วางหลักประกันเป็นจำนวนหนึ่งแสนบาท กรณีการนำคนต่างด้าวมาทำงานตาม (๑) และในภายหลังจำนวนคนต่างด้าวที่นำเข้ามารวมกันมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป ให้วางหลักประกันเพิ่มเติมให้ครบหนึ่งแสนบาท ในกรณีที่นายจ้างวางหลักประกันเป็นสัญญาค้ำประกันของธนาคาร ให้ใช้ตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๒๓ ให้นำความในหมวด ๓ เฉพาะข้อ ๑๖ มาใช้บังคับกับการหักหลักประกันของนายจ้างตามข้อ ๒๒ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๒๘ วรรคสอง โดยอนุโลม ข้อ ๒๔ ให้นำความในหมวด ๓ เฉพาะข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ ข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ มาใช้บังคับกับการวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การเรียกหลักประกันเพิ่ม และการขอรับหลักประกันคืนของนายจ้างโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๕ คำขอใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ถือเป็นคำขอตามกฎกระทรวงนี้โดยอนุโลม การดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับคำขอที่ได้ดำเนินการก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับและยังไม่ได้ปฏิบัติตามที่กฎกระทรวงนี้กำหนด ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้ยื่นคำขอปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ได้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๙ วรรคสอง มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาตรา ๑๒ วรรคสาม และมาตรา ๒๗ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ บัญญัติให้การขอใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต รวมทั้งการกำหนดจำนวนเงินหลักประกัน การวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การหักหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การเรียกหลักประกันเพิ่ม และการขอรับหลักประกันคืนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๒๒/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
761968
กฎกระทรวงการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และให้หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประสงค์จะนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศกับตนด้วย “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน ข้อ ๒ การแจ้งหรือการยื่นคำร้องตามกฎกระทรวงนี้ ให้กระทำ ณ ท้องที่อันเป็นภูมิลำเนาของนายจ้าง ดังต่อไปนี้ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งหรือยื่น ณ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ กรมการจัดหางาน (๒) ในจังหวัดอื่น ให้แจ้งหรือยื่น ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด การแจ้งหรือการยื่นคำร้องตามกฎกระทรวงนี้ อธิบดีจะประกาศกำหนดสถานที่ หรือวิธีการอื่นก็ได้ ข้อ ๓ การแจ้งหรือการยื่นคำร้องตามกฎกระทรวงนี้ นายจ้างอาจกระทำด้วยตนเองหรือให้ผู้รับอนุญาตซึ่งได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนนายจ้างเป็นผู้ยื่นคำร้องหรือแจ้งก็ได้ ในกรณีผู้รับอนุญาตเป็นผู้แจ้งหรือยื่นคำร้อง ให้ยื่นสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย หมวด ๑ การแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าว ข้อ ๔ นายจ้างซึ่งประสงค์จะนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนเองในประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้แจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าวตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๕ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าว พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามข้อ ๔ ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับให้แก่ผู้แจ้ง และให้หน่วยงานที่ได้รับแจ้งประชาสัมพันธ์เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันให้คนไทยเข้าทำงานนั้น เว้นแต่นายจ้างแสดงหลักฐานว่าได้เปิดโอกาสให้คนไทยเข้าทำงานนั้นแล้ว เช่น หลักฐานแสดงว่านายจ้างได้ประกาศรับสมัครในสื่อสาธารณะเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันให้คนไทยเข้าทำงานดังกล่าว หรือได้ใช้บริการจัดหางานของรัฐหรือเอกชนแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่ไม่สามารถหาคนไทยมาทำงานตามที่ต้องการได้ เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีมีผู้ประสงค์จะทำงานดังกล่าวให้แจ้งให้ผู้แจ้งทราบ (๒) กรณีไม่มีผู้ประสงค์จะทำงานดังกล่าวให้เสนอแบบแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าวพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน และรายงานผลการดำเนินการดังกล่าวต่อผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว หรือผู้อำนวยการสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือจัดหางานจังหวัดเพื่อพิจารณา และมีหนังสือแจ้งการอนุญาตให้จ้างคนต่างด้าวให้ผู้แจ้งทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับการเสนอเรื่อง หมวด ๒ การยื่นคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ข้อ ๖ นายจ้างที่ได้รับอนุญาตให้จ้างคนต่างด้าวตามข้อ ๕ แล้ว ให้ยื่นคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๗ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามข้อ ๖ ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นคำร้อง และให้สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด แล้วแต่กรณี ส่งคำร้องพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานที่ได้รับรองแล้วให้หน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศต้นทาง ข้อ ๘ เมื่อนายจ้างได้ดำเนินการในประเทศต้นทางเพื่อคัดเลือกและจัดทำบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่จะเดินทางมาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยแล้ว ให้นายจ้างยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวพร้อมชำระค่าธรรมเนียมการทำงานของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว เมื่อนายจ้างได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้วางหลักประกันตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการขอใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการกำหนดหลักประกันในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๙ เมื่อนายจ้างได้ดำเนินการตามข้อ ๘ แล้ว ให้อธิบดีอนุญาตโดยมีหนังสือถึงส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานแก่คนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ข้อ ๑๐ ให้นายจ้างที่ได้ดำเนินการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศตามกฎกระทรวงนี้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการนำคนต่างด้าวมาทำงาน เว้นแต่ค่าใช้จ่ายนั้นเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของคนต่างด้าว บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๑ การแจ้งหรือการยื่นคำร้องใดที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ถือเป็นการแจ้งหรือการยื่นคำร้องตามกฎกระทรวงนี้ โดยอนุโลม การดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการแจ้งหรือการยื่นคำร้องที่ได้ดำเนินการก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับและยังไม่ได้ปฏิบัติตามที่กฎกระทรวงนี้กำหนด ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้แจ้งหรือผู้ยื่นคำร้องปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ได้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ บัญญัติให้การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๑๘/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
761965
กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาต ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๒) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๓) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท (๔) การอนุญาตให้ย้ายสำนักงาน ครั้งละ ๔๐๐ บาท หรือตั้งสำนักงานชั่วคราว (๕) การอนุญาตให้เปลี่ยนผู้จัดการ ครั้งละ ๔๐๐ บาท (๖) การจดทะเบียนลูกจ้าง คนละ ๕๐๐ บาท (๗) บัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้าง ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๘) ค่ายื่นคำขอ ฉบับละ ๑๐๐ บาท (๙) การรับรองสำเนาเอกสาร (ก) ภาษาไทย หน้าละ ๕ บาท (ข) ภาษาต่างประเทศ หน้าละ ๑๐ บาท (๑๐) การออกหนังสือรับรอง (ก) ภาษาไทย หน้าละ ๒๐๐ บาท (ข) ภาษาต่างประเทศ หน้าละ ๔๐๐ บาท ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชกำหนด จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๑๖/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
765361
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง การขอและการออกใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง การขอและการออกใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน ข้อ ๓ ผู้รับอนุญาตผู้ใดที่ประสงค์จะขอใบแทนใบอนุญาตที่ชำรุดในสาระสำคัญ สูญหายหรือถูกทำลาย ให้ยื่นคำขอตามแบบ นจ. ๑๙ ท้ายประกาศนี้ต่ออธิบดี พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๔ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ หากเห็นว่าคำขอและเอกสารและหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้รับอนุญาตดำเนินการแก้ไขคำขอหรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอตามวรรคหนึ่งให้แก่ผู้รับอนุญาตไว้เป็นหลักฐาน โดยบันทึกความถูกต้องและครบถ้วนของรายการเอกสารและหลักฐาน หรือความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติมไว้ในใบรับคำขอดังกล่าวด้วย ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่แก้ไขคำขอหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ให้ถือว่าผู้รับอนุญาตไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการต่อไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คืนคำขอ เอกสารและหลักฐานให้แก่ผู้รับอนุญาตพร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนคำขอและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้รับอนุญาตทราบ ข้อ ๖ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ถูกต้องและครบถ้วนแล้วและเห็นว่าใบอนุญาตนั้น ชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย ให้เสนอความเห็นไปยังอธิบดีเพื่อพิจารณาออกใบแทนใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต ให้ใช้แบบใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศและประทับตราความว่า “ใบแทน” ด้วยอักษรสีแดงกำกับไว้ที่ด้านบนของใบอนุญาตนั้น ในกรณีอธิบดีมีคำสั่งไม่ออกใบแทนใบอนุญาต ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา พร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ข้อ ๗ การยื่นคำขอตามประกาศนี้ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน (๒) ในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง อธิบดีจะประกาศกำหนดสถานที่หรือวิธีการอื่นก็ได้ ข้อ ๘ ในกรณีที่ยื่นคำขอในท้องที่จังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้จัดหางานจังหวัดแห่งท้องที่ที่มีการยื่นคำขอนั้นเสนอความเห็นและส่งคำขอพร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานต่ออธิบดีเพื่อพิจารณา ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (แบบ นจ. ๑๙) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๑๖/๕ มกราคม ๒๕๖๐
761876
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง ห้ามผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศประกอบธุรกิจ
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง ห้ามผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศประกอบธุรกิจ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๖ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ห้ามผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศประกอบธุรกิจหรือกิจการรับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรง ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๓ ง/หน้า ๑๘/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
761872
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบรายงานเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบรายงานเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๒ แบบรายงานเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้เป็นไปตามแบบ นจ. ๑๘ ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายงานเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ประจำเดือน................. (แบบ นจ. ๑๘) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๓ ง/หน้า ๑๗/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
761870
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดรายการและอัตราค่าบริการและค่าใช้จ่าย และแบบใบรับค่าบริการและค่าใช้จ่ายในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดรายการและอัตราค่าบริการและค่าใช้จ่าย และแบบใบรับค่าบริการและค่าใช้จ่าย ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “ค่าบริการ” หมายความว่า เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ให้เป็นการตอบแทนการนำคนต่างด้าวมาทำงาน “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการนำคนต่างด้าวมาทำงาน ข้อ ๓ ผู้รับอนุญาตจะเรียกหรือรับค่าบริการจากนายจ้างได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของค่าจ้างรายเดือนที่คนต่างด้าวได้รับเดือนแรก หรือระยะเวลาสามสิบวันแรกที่คนต่างด้าวเข้าทำงาน อัตราค่าบริการที่เรียกหรือรับจากนายจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามสัดส่วนการนำคนต่างด้าวมาทำงาน ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าบริการ ร้อยละ ๒๕ ต่อคนต่างด้าว ไม่เกิน ๑๒ คน (๒) ค่าบริการ ร้อยละ ๒๐ ต่อคนต่างด้าว ตั้งแต่ ๑๓ - ๔๕ คน (๓) ค่าบริการ ร้อยละ ๑๕ ต่อคนต่างด้าว ตั้งแต่ ๔๖ - ๙๐ คน (๔) ค่าบริการ ร้อยละ ๑๐ ต่อคนต่างด้าว ตั้งแต่ ๙๑ คนขึ้นไป ข้อ ๔ ผู้รับอนุญาตจะเรียกหรือรับค่าใช้จ่ายจากนายจ้างได้เท่าที่จ่ายจริง เพื่อการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ได้แก่ (๑) ค่าใช้จ่ายตามกฎหมายที่กำหนดให้นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบหรือที่นายจ้างแสดงเจตนาในสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้นให้แก่คนต่างด้าว (๒) ค่าจัดเตรียมเอกสาร เช่น ค่าจัดทำเอกสาร ค่ารับรองเอกสาร ค่าจัดทำคำแปลเอกสาร (๓) ค่าพาหนะเดินทาง ค่าอาหาร และค่าที่พัก ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ข้อ ๕ ค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของคนต่างด้าว (๑) ค่าใช้จ่ายตามกฎหมายที่กำหนดให้คนต่างด้าวเป็นผู้รับผิดชอบ เช่น ค่าตรวจสุขภาพ (๒) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นที่ประเทศต้นทาง ข้อ ๖ เมื่อผู้รับอนุญาตได้รับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายจากนายจ้าง ให้ออกใบรับค่าบริการและค่าใช้จ่ายเป็นไปตามแบบ นจ. ๑๗ ท้ายประกาศนี้ โดยให้จัดทำเป็นเล่ม ๆ ละหนึ่งร้อยฉบับ แต่ละฉบับมีหมายเลขกำกับเล่มและหมายเลขกำกับใบรับเงินค่าบริการและค่าใช้จ่ายเรียงกันไปทุกฉบับและให้มีสำเนาคู่ฉบับติดไปกับเล่มอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบรับค่าบริการและค่าใช้จ่ายการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (แบบ นจ. ๑๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๓ ง/หน้า ๑๕/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
761866
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง การกำหนดรายละเอียดในสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง การกำหนดรายละเอียดในสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศต้องทำสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศกับนายจ้าง โดยอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) รายละเอียดของผู้รับอนุญาต เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขทะเบียนนิติบุคคล เลขที่ใบอนุญาต (๒) รายละเอียดของนายจ้าง เช่น ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ประกอบธุรกิจหรือกิจการ (๓) วันที่ทำสัญญา (๔) กำหนดระยะเวลาให้ดำเนินการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ (๕) รายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตการให้บริการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ เช่น การดำเนินการจัดหาคนต่างด้าว จำนวนคนต่างด้าว สัญชาติของคนต่างด้าว รวมถึงอัตราค่าบริการและค่าใช้จ่าย (๖) เงื่อนไขและวิธีการชำระเงินค่าบริการและค่าใช้จ่าย รวมถึงการคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญาไม่ครบถ้วน (๗) รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาจ้างงานคนต่างด้าว เช่น ประเภทงาน กิจการ วันเริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญา ค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา วันหยุด วันลา เงื่อนไขและวิธีการชำระเงิน สวัสดิการและสภาพการจ้าง รวมถึงกรณีการให้ความยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง (๘) บริการที่เกี่ยวข้องในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เช่น สถานที่พัก พาหนะรับส่ง สิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนต่างด้าว โดยอาจคิดค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายจากนายจ้าง (๙) การนำคนต่างด้าวมาทดแทนให้แก่นายจ้าง กรณีคนต่างด้าวไม่สามารถทำงานครบตามสัญญาจ้างหรือคนต่างด้าวทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย โดยมิใช่ความผิดของนายจ้าง รวมถึงการชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง (๑๐) การจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปประเทศต้นทาง เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้างงาน (๑๑) สิทธิการบอกเลิกสัญญา ข้อ ๓ สัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศต้องไม่มีข้อสัญญาในลักษณะเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ดังต่อไปนี้ (๑) ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญา (๒) ข้อสัญญาให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด (๓) ข้อสัญญาให้สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือให้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ (๔) ข้อสัญญาให้สิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใดหรือปฏิบัติตามสัญญาในระยะเวลาที่ล่าช้าได้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๕) ข้อสัญญาให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกร้องหรือกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญา ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๓ ง/หน้า ๑๓/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
761862
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง การจดทะเบียนลูกจ้าง การขอมีบัตรประจำตัว การออกบัตรประจำตัว และการออกใบแทนบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างของผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง การจดทะเบียนลูกจ้าง การขอมีบัตรประจำตัว การออกบัตรประจำตัว และการออกใบแทน บัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างของผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๒ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน ข้อ ๓ การยื่นคำขอตามประกาศนี้ ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน (๒) ในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด การยื่นคำขอตามประกาศนี้ อธิบดีจะประกาศกำหนดสถานที่หรือวิธีการอื่นก็ได้ ข้อ ๓ ในกรณีที่ยื่นคำขอในท้องที่จังหวัดอื่นนอกเหนือจากกรุงเทพมหานคร ให้จัดหางานจังหวัดแห่งท้องที่ที่มีการยื่นคำขอนั้นเสนอความเห็นและส่งคำขอพร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐาน ต่ออธิบดีเพื่อพิจารณา หมวด ๑ การจดทะเบียนลูกจ้าง ข้อ ๔ ผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้ยื่นคำขอตามแบบ นจ. ๑๒ ท้ายประกาศนี้ ต่ออธิบดี พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๕ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอจดทะเบียนลูกจ้าง ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ หากเห็นว่าคำขอ และเอกสารและหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้รับอนุญาตดำเนินการแก้ไขคำขอจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศหรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอตามวรรคหนึ่งให้แก่ผู้รับอนุญาตไว้เป็นหลักฐาน โดยบันทึกความถูกต้องและครบถ้วนของรายการเอกสารและหลักฐาน หรือความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติมไว้ในใบรับคำขอดังกล่าวด้วย ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่แก้ไขคำขอจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ให้ถือว่าผู้รับอนุญาตไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการต่อไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คืนคำขอจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เอกสารและหลักฐานให้แก่ผู้รับอนุญาต พร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนคำขอและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้รับอนุญาตทราบ ข้อ ๗ ในกรณีที่คำขอจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนว่าลูกจ้างนั้นมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙ หรือไม่ แล้วเสนอความเห็นไปยังอธิบดีเพื่อพิจารณาต่อไป เมื่ออธิบดีพิจารณาคำขอจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศประกอบกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งแล้ว เห็นว่าคำขอจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานมีความถูกต้องครบถ้วน ให้อธิบดีรับจดทะเบียนลูกจ้างให้แก่ผู้รับอนุญาต ในกรณีอธิบดีมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้รับอนุญาตทราบ ข้อ ๘ แบบทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้เป็นไปตามแบบ นจ. ๑๓ ท้ายประกาศนี้ หมวด ๒ การขอมีบัตรประจำตัว การออกบัตรประจำตัว และการออกใบแทนบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้าง ข้อ ๙ ผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะขอบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้ยื่นคำขอตามแบบ นจ. ๑๔ ท้ายประกาศนี้ต่ออธิบดีพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๑๐ ผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะขอใบแทนบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างที่ชำรุดในสาระสำคัญสูญหายหรือถูกทำลาย ให้ยื่นคำขอตามแบบ นจ. ๑๕ ท้ายประกาศนี้ต่ออธิบดี พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๑๑ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ ๘ หรือข้อ ๙ แล้วแต่กรณี ให้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ หากเห็นว่าคำขอและเอกสารและหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขคำขอหรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอตามวรรคหนึ่งให้แก่ผู้ยื่นคำขอไว้เป็นหลักฐาน โดยบันทึกความถูกต้องและครบถ้วนของรายการเอกสารและหลักฐาน หรือความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติมไว้ในใบรับคำขอดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขคำขอหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการต่อไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คืนคำขอ เอกสารและหลักฐานให้แก่ผู้ยื่นคำขอ พร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนคำขอและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่คำขอตามข้อ ๘ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นไปยังอธิบดีเพื่อพิจารณาออกบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้าง เมื่ออธิบดีพิจารณาคำขอตามวรรคหนึ่งประกอบกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เห็นว่าคำขอพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานมีความถูกต้องครบถ้วน ให้อธิบดีออกบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างตามแบบ นจ. ๑๖ ท้ายประกาศนี้ ในกรณีอธิบดีมีคำสั่งไม่ออกบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้าง ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่คำขอตามข้อ ๙ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นไปยังอธิบดีเพื่อพิจารณาออกใบแทนบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้าง เมื่ออธิบดีพิจารณาคำขอตามวรรคหนึ่งประกอบกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เห็นว่าบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างได้ชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลายจริง พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานมีความถูกต้องครบถ้วน ให้อธิบดีออกใบแทนบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างเป็นไปตามแบบ นจ. ๑๖ ท้ายประกาศนี้ และเขียนหรือประทับตราความว่า “ใบแทน” ด้วยอักษรสีแดงไว้ในบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้าง โดยระบุวัน เดือน ปีที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับไว้ด้วย ในกรณีอธิบดีมีคำสั่งไม่ออกใบแทนบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้าง ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (แบบ นจ. ๑๒) ๒. ทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ๓. คำขอมีบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ๔. คำขอใบแทนบัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ๕. แบบบัตรประจำตัว (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๓ ง/หน้า ๑๐/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
761858
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง การเปลี่ยนผู้จัดการของผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง การเปลี่ยนผู้จัดการของผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน ข้อ ๓ การยื่นคำขอเปลี่ยนผู้จัดการ ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน (๒) ในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง อธิบดีจะประกาศกำหนดสถานที่หรือวิธีการอื่นก็ได้ ข้อ ๓ ในกรณีที่ยื่นคำขอเปลี่ยนผู้จัดการในท้องที่จังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้จัดหางานจังหวัดแห่งท้องที่ที่มีการยื่นคำขอนั้นเสนอความเห็นและส่งคำขอพร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานต่ออธิบดีเพื่อพิจารณา ข้อ ๔ ผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะเปลี่ยนผู้จัดการ ให้ยื่นคำขอตามแบบ นจ. ๑๑ ท้ายประกาศนี้ ต่ออธิบดี พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว ข้อ ๕ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอเปลี่ยนผู้จัดการแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอเปลี่ยนผู้จัดการ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ หากเห็นว่าคำขอเปลี่ยนผู้จัดการ และเอกสารและหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้รับอนุญาตดำเนินการแก้ไขคำขอเปลี่ยนผู้จัดการหรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอตามวรรคหนึ่งให้แก่ผู้รับอนุญาตไว้เป็นหลักฐาน โดยบันทึกความถูกต้องและครบถ้วนของรายการเอกสารและหลักฐาน หรือความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติมไว้ในใบรับคำขอดังกล่าวด้วย ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่แก้ไขคำขอเปลี่ยนผู้จัดการหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ให้ถือว่าผู้รับอนุญาตไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการต่อไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คืนคำขอเปลี่ยนผู้จัดการ เอกสารและหลักฐานให้แก่ผู้รับอนุญาตพร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนคำขอและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้รับอนุญาตทราบ ข้อ ๗ ในกรณีที่คำขอเปลี่ยนผู้จัดการพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนว่าผู้จัดการนั้นมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ (๕) หรือไม่ แล้วให้เสนอความเห็นไปยังอธิบดีเพื่อพิจารณาต่อไป เมื่ออธิบดีพิจารณาคำขอเปลี่ยนผู้จัดการประกอบกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งแล้ว เห็นว่าคำขอเปลี่ยนผู้จัดการ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานมีความถูกต้องครบถ้วนและผู้จัดการมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ (๕) ให้อธิบดีอนุญาตให้แก่ผู้รับอนุญาต ในกรณีที่อธิบดีมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา พร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้รับอนุญาตทราบ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอเปลี่ยนผู้จัดการ (แบบ นจ. ๑๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๓ ง/หน้า ๘/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
761854
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง การกำหนดสถานที่ต้องห้ามตั้งสำนักงาน การขออนุญาตและการอนุญาตให้ย้ายสำนักงานหรือตั้งสำนักงานชั่วคราว
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง การกำหนดสถานที่ต้องห้ามตั้งสำนักงาน การขออนุญาตและการอนุญาต ให้ย้ายสำนักงานหรือตั้งสำนักงานชั่วคราว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ (๓) และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานของผู้รับอนุญาต หมวด ๑ กำหนดสถานที่ต้องห้ามตั้งสำนักงาน ข้อ ๓ กำหนดให้สถานที่ดังต่อไปนี้เป็นสถานที่ต้องห้ามตั้งสำนักงาน สำหรับผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (๑) โรงแรม หอพัก สถานบริการ โรงรับจำนำ สถานที่ที่จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระ (๒) สถานที่ที่มีสำนักงานตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน หรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล ตั้งอยู่แล้ว (๓) ศาสนสถาน สถานพยาบาล สถานสงเคราะห์ สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพักฟื้น สมาคม สหกรณ์ สโมสร ร้านค้าของเก่า สถานที่ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว สถานที่ซึ่งมีพื้นที่น้อยกว่าสิบหกตารางเมตร สถานที่ประกอบกิจการอื่นซึ่งไม่อาจแยกเป็นสัดส่วนได้ หรือสถานที่อื่นซึ่งไม่เหมาะสม หมวด ๒ การขออนุญาตและการอนุญาตให้ย้ายสำนักงานหรือตั้งสำนักงานชั่วคราว ข้อ ๔ การยื่นคำขอตามประกาศนี้ ให้ยื่น ณ ท้องที่อันเป็นที่ตั้งสำนักงาน ดังต่อไปนี้ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน (๒) ในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด การยื่นคำขอตามประกาศนี้ อธิบดีจะประกาศกำหนดสถานที่หรือวิธีการอื่นก็ได้ ข้อ ๕ ในกรณีที่ยื่นคำขอในท้องที่จังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้จัดหางานจังหวัดแห่งท้องที่ที่สำนักงานนั้นตั้งอยู่รับคำขอ และเสนอความเห็นและส่งคำขอพร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานต่ออธิบดีเพื่อพิจารณา ข้อ ๖ ผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะขอย้ายสำนักงานให้ยื่นคำขอตามแบบ นจ. ๙ ท้ายประกาศนี้ต่ออธิบดี พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว โดยระบุเหตุผลและความจำเป็นในการขอย้ายสำนักงานไว้ในคำขอด้วย ข้อ ๗ ผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะขอตั้งสำนักงานชั่วคราวให้ยื่นคำขอตามแบบ นจ. ๑๐ ท้ายประกาศนี้ต่ออธิบดี พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบดังกล่าว โดยระบุเหตุผลและความจำเป็นในการตั้งสำนักงานชั่วคราวไว้ในคำขอด้วย ข้อ ๘ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗ แล้วแต่กรณี ให้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ หากเห็นว่าคำขอและเอกสารและหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขคำขอหรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอตามวรรคหนึ่งให้แก่ผู้ยื่นคำขอไว้เป็นหลักฐาน โดยบันทึกความถูกต้องและครบถ้วนของรายการเอกสารและหลักฐาน หรือความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติมไว้ในใบรับคำขอดังกล่าวด้วย ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขคำขอหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการต่อไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คืนคำขอ เอกสารและหลักฐานให้แก่ผู้ยื่นคำขอ พร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนคำขอและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ข้อ ๑๐ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับคำขอตรวจสอบว่าสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่หรือสถานที่ตั้งสำนักงานชั่วคราวขัดต่อความในข้อ ๓ หรือไม่ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาแล้วเห็นว่า สำนักงานแห่งใหม่หรือสำนักงานชั่วคราวไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบของตน ให้ส่งคำขอพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานแห่งใหม่หรือสำนักงานชั่วคราวตั้งอยู่ในเขตท้องที่ความรับผิดชอบเป็นผู้ตรวจสอบว่าสถานที่ตั้งสำนักงานขัดต่อความในข้อ ๓ หรือไม่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอคำขอพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนและข้อเท็จจริงที่ได้ตรวจสอบตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต่ออธิบดีเพื่อพิจารณา ข้อ ๑๑ การอนุญาตให้ย้ายสำนักงานหรือตั้งสำนักงานชั่วคราวจะกระทำได้เมื่อมีเหตุผลและความจำเป็นอันจะเกิดขึ้นก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ก็ดี แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น เช่น อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย หรือเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่อาจประกอบธุรกิจหรือดำเนินการ ณ สำนักงานแห่งนั้นต่อไปได้ ข้อ ๑๒ ในกรณีคำขอพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นไปยังอธิบดีเพื่อพิจารณาอนุญาต เมื่ออธิบดีพิจารณาคำขอประกอบกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งแล้วเห็นว่าคำขอ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน มีความถูกต้องและครบถ้วน และไม่ต้องห้ามตามข้อ ๓ ประกอบเหตุผลและความจำเป็นตามข้อ ๑๑ ให้อธิบดีอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอและให้ผู้รับอนุญาตนำใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศมาแสดง เพื่อบันทึกการอนุญาตให้ย้ายสำนักงานหรือตั้งสำนักงานชั่วคราว ในกรณีอธิบดีมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาพร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้รับอนุญาตทราบ ข้อ ๑๓ กรณีผู้รับอนุญาตที่ได้รับอนุญาตให้ย้ายสำนักงาน เมื่อได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งอนุญาตดังกล่าวแล้ว ให้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสำนักงานต่อนายทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด โดยไม่ชักช้า หากข้อเท็จจริงปรากฏต่ออธิบดีว่าผู้รับอนุญาตไม่ดำเนินการดังกล่าวภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งอนุญาตให้ย้ายสำนักงาน อธิบดีอาจเพิกถอนคำสั่งให้ย้ายสำนักงานดังกล่าวได้ ข้อ ๑๔ ผู้รับอนุญาตที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งสำนักงานชั่วคราวต้องแจ้งกำหนดวันเริ่มดำเนินงานของสำนักงานนั้นต่ออธิบดีและได้รับอนุญาตก่อนวันเริ่มดำเนินงาน ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอย้ายสำนักงาน (แบบ นจ. ๙) ๒. คำขอตั้งสำนักงานชั่วคราว (แบบ นจ. ๑๐) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๓ ง/หน้า ๕/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
761850
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบการแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าว แบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ แบบคำขอรับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ แบบใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ แบบสัญญาค้ำประกันของธนาคาร แบบคำขอเปลี่ยนแปลงหลักประกัน และแบบคำขอรับหลักประกันคืน
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบการแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าว แบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงาน กับนายจ้างในประเทศ แบบคำขอรับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ แบบใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าว มาทำงานกับนายจ้างในประเทศ แบบสัญญาค้ำประกันของธนาคาร แบบคำขอเปลี่ยนแปลงหลักประกัน และแบบคำขอรับหลักประกันคืน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ และข้อ ๖ ของกฎกระทรวงการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ และข้อ ๔ ข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๓ วรรคสอง ข้อ ๑๗ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๒ วรรคสาม ของกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตและการกำหนดหลักประกันในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ กำหนดแบบการแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าว และแบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศดังนี้ (๑) แบบการแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าว ให้เป็นไปตามแบบ นจ. ๑ ท้ายประกาศนี้ (๒) แบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้เป็นไปตามแบบ นจ. ๒ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ กำหนดแบบคำขอรับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศแบบใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ แบบสัญญาค้ำประกันของธนาคาร แบบคำขอเปลี่ยนแปลงหลักประกันและแบบคำขอ รับหลักประกันคืน ดังนี้ (๑) แบบคำขอรับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้เป็นไปตามแบบ นจ. ๓ ท้ายประกาศนี้ (๒) แบบใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้เป็นไปตามแบบ นจ. ๔ ท้ายประกาศนี้ (๓) แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้เป็นไปตามแบบ นจ. ๕ ท้ายประกาศนี้ (๔) แบบสัญญาค้ำประกันของธนาคาร กรณีผู้รับอนุญาตเป็นผู้วางหลักประกัน ให้เป็นไปตามแบบ นจ. ๖ ท้ายประกาศนี้ (๕) แบบสัญญาค้ำประกันของธนาคาร กรณีนายจ้างเป็นผู้วางหลักประกัน ให้เป็นไปตามแบบ นจ. ๖ ก ท้ายประกาศนี้ (๖) แบบคำขอเปลี่ยนแปลงหลักประกัน ให้เป็นไปตามแบบ นจ. ๗ ท้ายประกาศนี้ (๗) แบบคำขอรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามแบบ นจ. ๘ ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. การแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าว (แบบ นจ.๑) ๒. คำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (แบบ นจ. ๒) ๓. คำขอรับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (แบบ นจ. ๓) ๔. ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (แบบ นจ. ๔) ๕. คำขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (แบบ นจ. ๕) ๖. สัญญาค้ำประกันของธนาคาร กรณีผู้รับอนุญาตเป็นผู้วาง (แบบ นจ. ๖) ๗. สัญญาค้ำประกันของธนาคาร กรณีนายจ้างเป็นผู้วางหลักประกัน (แบบ นจ. ๖ ก) ๘. คำขอเปลี่ยนแปลงหลักประกัน (แบบ นจ. ๗) ๙. คำขอรับหลักประกันคืน (แบบ นจ. ๘) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๓ ง/หน้า ๓/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
761848
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบและการออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงแรงงาน ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบและการออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าว มาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๘ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สำหรับปลัดกระทรวงแรงงาน หรือข้าราชการอื่นที่ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า (๒) ปลัดกระทรวงแรงงาน สำหรับรองปลัดกระทรวงแรงงาน อธิบดีกรมการจัดหางาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงานหรือข้าราชการอื่นที่ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า (๓) อธิบดีกรมการจัดหางาน สำหรับจัดหางานจังหวัด หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นนอกจาก (๑) และ (๒) ซึ่งปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร หรือในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบมากกว่าหนึ่งจังหวัด (๔) จัดหางานจังหวัด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งอื่นนอกจาก (๑) (๒) และ (๓) ซึ่งปฏิบัติงานเฉพาะในเขตจังหวัดนั้น ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวตามแบบท้ายประกาศนี้ พร้อมแนบรูปถ่ายจำนวนสองรูป และสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่รับรองสำเนาถูกต้องต่อกรมการจัดหางานหรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด แล้วแต่กรณี รูปถ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นตาสีเข้ม แต่งเครื่องแบบข้าราชการ หรือเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ของรัฐ ขนาด ๒.๕ x ๓ เซนติเมตร ที่ถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือนก่อนวันขอมีบัตรประจำตัว ข้อ ๕ เมื่อได้ออกบัตรประจำตัวให้แก่ผู้ใดให้ผู้ออกบัตรประจำตัวจัดให้มีสำเนาข้อความและรายการบัตรประจำตัวซึ่งติดรูปถ่ายของผู้นั้นไว้ด้วยหนึ่งฉบับ และให้เก็บไว้เป็นหลักฐานที่กรมการจัดหางานหรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่ผู้มีอำนาจออกบัตรตามข้อ ๓ กำหนดไว้ในบัตร แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ออกบัตร ในกรณีที่บัตรจะหมดอายุ ให้ผู้ถือบัตรขอมีบัตรภายในสามสิบวันก่อนวันที่บัตรนั้นหมดอายุ ในกรณีที่บัตรสูญหายหรือเสียหาย ให้ผู้ถือบัตรขอมีบัตรใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บัตรนั้นสูญหายหรือเสียหาย ในกรณีที่ผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล หรือกรณีอื่นที่เกี่ยวข้องให้ผู้ถือบัตรขอเปลี่ยนบัตรภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล หรือกรณีอื่น แล้วแต่กรณี ให้นำความในข้อ ๔ และข้อ ๕ มาใช้บังคับกับการขอมีบัตรในข้อนี้ โดยให้ยื่นบัตรเดิมของผู้ยื่นคำขอประกอบมาด้วย เว้นแต่กรณีบัตรเดิมหมดอายุหรือสูญหาย ข้อ ๗ เมื่อผู้ถือบัตรพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ให้คืนบัตรดังกล่าวแก่ผู้ออกบัตรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ ประกาศ ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓. คำรับรองการขอมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๓ ง/หน้า ๑/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
756876
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ไปเพื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ นั้น ในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๕๒/๒๕๕๙ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙ ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าวแล้ว จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วริญา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๑/๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
761878
คำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 269/2559 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559
คำสั่งกระทรวงแรงงาน คำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ ๒๖๙/๒๕๕๙ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงาน กับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจึงมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๑. ปลัดกระทรวงแรงงาน รองปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ๒. อธิบดีกรมการจัดหางาน รองอธิบดีกรมการจัดหางาน ผู้ตรวจราชการกรมการจัดหางาน เลขานุการกรม ผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบภายใน หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหารหรือข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไปที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี หรือข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ซึ่งปฏิบัติงาน ณ กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางานหรือสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ทั้งนี้ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในราชการบริหารส่วนกลางของกรมการจัดหางาน แต่ไม่รวมถึงราชการบริหารส่วนกลางซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ๓. ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานขึ้นไป หรือพนักงานราชการตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในราชการบริหารส่วนกลางของกรมการจัดหางาน แต่ไม่รวมถึงราชการบริหารส่วนกลางซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่กรุงเทพมหานคร ๔. ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานขึ้นไป หรือพนักงานราชการตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในราชการบริหารส่วนกลางของกรมการจัดหางานซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่จังหวัดซึ่งราชการบริหารส่วนกลางนั้นตั้งอยู่ ๕. จัดหางานจังหวัด ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไปหรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานขึ้นไป หรือพนักงานราชการตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน ซึ่งปฏิบัติงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่จังหวัดที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖๓ ง/หน้า ๓๗/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
780849
พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกำหนด พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว และกฎหมายว่าด้วยการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย พระราชกำหนดนี้มีสาระสำคัญเป็นการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศและการทำงานของคนต่างด้าว และให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวซึ่งมีอำนาจกำหนดนโยบายและกำกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งพระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล เสรีภาพในเคหสถานของบุคคล เสรีภาพของบุคคลในการเขียน การพิมพ์ และการโฆษณา สิทธิในทรัพย์สินของบุคคล และเสรีภาพของบุคคลในการประกอบอาชีพ โดยมีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ (๒) พระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๔ พระราชกำหนดนี้ไม่ใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวเฉพาะในฐานะ ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลในคณะผู้แทนทางทูต (๒) บุคคลในคณะผู้แทนทางกงสุล (๓) ผู้แทนของประเทศสมาชิกและพนักงานขององค์การสหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษ (๔) คนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานประจำอยู่กับบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) (๕) บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจตามความตกลงที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ (๖)[๒] บุคคลซึ่งเข้ามาเป็นครั้งคราวเพื่อจัดหรือร่วมประชุม แสดงความคิดเห็น บรรยาย หรือสาธิตในการประชุม การอบรม ดูงาน หรือสัมมนา หรือการแสดงศิลปะ วัฒนธรรม หรือการแข่งขันกีฬา หรือกิจกรรมอื่นใด ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ในการกำหนดดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจะกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ (๗)[๓] บุคคลซึ่งเข้ามาเพื่อประกอบการหรือลงทุนหรือเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถหรือทักษะสูง อันจะยังประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (๘)[๔] ผู้แทนของนิติบุคคลต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว มาตรา ๕ ในพระราชกำหนดนี้ “การนำคนต่างด้าวมาทำงาน”[๕] หมายความว่า การดำเนินการใด ๆ เพื่อนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน “ทำงาน”[๖] หมายความว่า การประกอบอาชีพใด ๆ ไม่ว่าจะมีนายจ้างหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงการประกอบธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว “คนต่างด้าว” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย “นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และให้หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประสงค์จะนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศกับตนด้วย “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง “ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน”[๗] หมายความว่า ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน”[๘] หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศซึ่งได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน “ใบอนุญาตทำงาน” หมายความว่า ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว “ผู้รับอนุญาตให้ทำงาน” หมายความว่า คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน “ค่าบริการ” หมายความว่า เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ให้เป็นการตอบแทนการนำคนต่างด้าวมาทำงาน “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการนำคนต่างด้าวมาทำงาน “กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ “นายทะเบียน” หมายความว่า อธิบดีและพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของอธิบดี เพื่อออกใบอนุญาตทำงานและปฏิบัติการอื่นตามพระราชกำหนดนี้ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๕/๑[๙] การใดที่พระราชกำหนดนี้บัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือตามที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีกำหนด การออกกฎกระทรวงหรือการกำหนดนั้นต้องไม่มีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระแก่ประชาชนเกินสมควร และต้องกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทุกขั้นตอน ในกรณีที่พระราชกำหนดนี้บัญญัติให้ผู้ใดมีหน้าที่ต้องแจ้งให้อธิบดี นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ให้อธิบดีกำหนดวิธีการแจ้งให้ผู้แจ้งสามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและรวดเร็ว โดยอาจทำเป็นหนังสือ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด ที่ประชาชนสามารถดำเนินการได้โดยไม่เกิดภาระเกินสมควร และต้องกำหนดระยะเวลาที่อธิบดี นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องตอบรับการแจ้งนั้นไว้ด้วย มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชกำหนดนี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น หรือออกประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๗[๑๐] รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดให้งานใดเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำก็ได้ โดยจะห้ามเด็ดขาดหรือห้ามโดยมีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ การกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความมั่นคงของชาติ โอกาสในการประกอบอาชีพและวิชาชีพของคนไทย การส่งเสริมภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ รวมตลอดทั้งความผูกพันหรือพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ในลักษณะถ้อยทีถ้อยปฏิบัติประกอบด้วย มาตรา ๘[๑๑] ห้ามคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๙[๑๒] ห้ามผู้ใดรับคนต่างด้าวทำงานโดยที่คนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๑๐[๑๓] (ยกเลิก) มาตรา ๑๑[๑๔] เพื่อประโยชน์ในการรักษาโอกาสในการประกอบอาชีพและวิชาชีพของคนไทย ให้กรมการจัดหางานประกาศรับคนหางานที่มีสัญชาติไทยและขึ้นทะเบียนผู้สมัครไว้ และให้เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและเป็นประจำทุกวัน ผู้ใดประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวเพื่อทำงานประเภทที่มีคนหางานที่มีสัญชาติไทยขึ้นทะเบียนเพื่อทำงานในประเภทและท้องที่เดียวกันไว้กับกรมการจัดหางาน ถ้าจำนวนคนทำงานดังกล่าวมีตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ให้จ้างคนต่างด้าวได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบ ทั้งนี้ เว้นแต่จะชำระค่าธรรมเนียมพิเศษ อัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยจะกำหนดเป็นค่าธรรมเนียมต่อจำนวนคนต่างด้าวที่มิได้เป็นไปตามที่กำหนดตามวรรคสองก็ได้ การนับจำนวนคนต่างด้าวตามวรรคสอง ไม่รวมถึงคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมาตรา ๖๓/๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสอง ต้องเสียเงินเพิ่มอีกหนึ่งเท่าของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ ความในมาตรานี้จะใช้บังคับแก่งานใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๑๒[๑๕] (ยกเลิก) มาตรา ๑๓[๑๖] ผู้ใดจ้างคนต่างด้าวทำงาน ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบชื่อและสัญชาติของคนต่างด้าวและลักษณะงานที่ให้ทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่จ้างและเมื่อคนต่างด้าวนั้นออกจากงานให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวออกจากงาน พร้อมทั้งระบุเหตุแห่งการออกจากงานของคนต่างด้าวนั้นด้วย ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๑๔[๑๗] ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคง หรือเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใด ๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ในกรณีใด ๆ ก็ได้ มาตรา ๑๕[๑๘] (ยกเลิก) มาตรา ๑๖ บรรดาคดีที่เกิดจากข้อพิพาทระหว่างผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับคนต่างด้าว ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้าง หรือนายจ้างกับคนต่างด้าว อันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ หรือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านแรงงาน ให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลแรงงาน หมวด ๒ คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ประธานสภาหอการค้าไทย และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้แทนองค์กรลูกจ้างซึ่งอธิบดีเสนอชื่อให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสองคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านแรงงาน ด้านอุตสาหกรรม ด้านกฎหมาย และด้านสิทธิมนุษยชน ด้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๑๘ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง (๖) ไม่เคยเป็นผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ มาตรา ๑๙ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี ในระหว่างที่กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าสองวาระไม่ได้ มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและกำกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยมีการกำหนดมาตรการและแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำงานของคนต่างด้าว รวมทั้งกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (๒) พิจารณาและเสนอให้มีการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาการทำงานของคนต่างด้าวให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ (๓) รายงานผลการดำเนินงานประจำปีต่อคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ (๔) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย นโยบายที่ได้จัดทำตาม (๑) ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยดำเนินการและกำกับการให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว มาตรา ๒๒ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ หมวด ๓ การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป มาตรา ๒๓ บทบัญญัติในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับแก่ (๑) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (๒) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล มาตรา ๒๔[๑๙] (ยกเลิก) มาตรา ๒๕ ห้ามผู้ใดโฆษณาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่เป็นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ส่วนที่ ๒ การประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ มาตรา ๒๖ ห้ามผู้ใดประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๒๗ ผู้ขออนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วตามที่อธิบดีประกาศกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท (๒) มีทุนเป็นของผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนทุนทั้งหมด และจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด เว้นแต่ในกรณีที่มีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณีระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของสนธิสัญญาหรือความผูกพันตามพันธกรณีนั้น (๓) มีสำนักงานอยู่ในที่ตั้งที่เป็นสัดส่วน เปิดเผย มีหลักแหล่งที่แน่นอน และไม่เป็นสถานที่ต้องห้ามตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (๔) ไม่เป็นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ตามพระราชกำหนดนี้ (๕) ไม่เป็นผู้รับอนุญาต ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (๖) ไม่เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดหางาน ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจัดหางาน หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล (๗) มีผู้จัดการซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) มีสัญชาติไทย (ข) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ (ค) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน หรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามพระราชกำหนดนี้ (ง) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับอนุญาต หรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (จ) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดหางาน หรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล (ฉ) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (ช) ไม่เป็นผู้มีหรือเคยมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (ซ) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเอาการกระทำโดยทุจริตเป็นองค์ประกอบ หรือในความผิดตามพระราชกำหนดนี้ กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มาตรา ๒๘ ผู้ขออนุญาตต้องวางหลักประกันตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่น้อยกว่าห้าล้านบาทไว้กับอธิบดี เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามพระราชกำหนดนี้ ก่อนที่อธิบดีจะอนุญาตแก่ผู้ขออนุญาต ในกรณีที่หลักประกันที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานวางไว้ตามวรรคหนึ่งลดลงเพราะได้จ่ายไปตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานวางหลักประกันเพิ่มจนครบจำนวนเงินที่กำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง การวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การหักหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การเรียกหลักประกันเพิ่ม การวางหลักประกันเพิ่ม และการรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง[๒๐] มาตรา ๒๙[๒๑] (ยกเลิก) มาตรา ๓๐[๒๒] ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๒๖ ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน แต่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นรายปีตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้อย่างน้อยปีละครั้ง ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และเมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากอธิบดี การขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ อธิบดีต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี ภายในหกสิบวันนับแต่วันเริ่มต้นระยะเวลาของปีที่สองของอายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานนั้นและของปีต่อไป โดยจะชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และเมื่อชำระค่าธรรมเนียมรายปีแล้ว ให้แจ้งนายทะเบียนทราบพร้อมสำเนาหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมรายปีนั้น ถ้าผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ชำระค่าธรรมเนียมรายปีภายในกำหนดเวลาตามวรรคห้า อธิบดีจะสั่งให้พักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๘๖ ก็ได้ มาตรา ๓๑ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานในกรณีที่ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว การขอใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน และการออกใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๓๒ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องแสดงใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สำนักงานตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน มาตรา ๓๓[๒๓] ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานที่ประสงค์จะย้ายสำนักงานหรือตั้งสำนักงานชั่วคราวที่มิใช่สถานที่ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้แจ้งต่อนายทะเบียนล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน มาตรา ๓๔[๒๔] ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานที่ประสงค์จะเปลี่ยนผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ให้แจ้งต่อนายทะเบียนล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน มาตรา ๓๕[๒๕] ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องแจ้งจำนวนและรายชื่อลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานต่อนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด ผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องมีบัตรประจำตัว พร้อมสำเนาใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน และสามารถแสดงความมีอยู่ของบัตรประจำตัวและใบอนุญาตดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เสมอ บัตรประจำตัวต้องทำตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๓๖[๒๖] (ยกเลิก) มาตรา ๓๗[๒๗] (ยกเลิก) มาตรา ๓๘ หลักประกันที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานวางไว้ตามมาตรา ๒๘ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตราบเท่าที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานยังมิได้เลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ หรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเลิกประกอบธุรกิจดังกล่าวแล้ว แต่ยังมีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๕ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงาน และไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานยื่นคำขอรับหลักประกันคืนต่ออธิบดี เมื่ออธิบดีตรวจสอบแล้วพบว่าผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ให้แจ้งแก่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเป็นหนังสือเพื่อมารับหลักประกันคืน[๒๘] ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานรับหลักประกันคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดี ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่รับหลักประกันคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้หลักประกันดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มาตรา ๓๙[๒๙] (ยกเลิก) มาตรา ๔๐[๓๐] (ยกเลิก) มาตรา ๔๑[๓๑] ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานจะนำคนต่างด้าวมาทำงานได้เฉพาะเมื่อมีสัญญานำคนต่างด้าวมาทำงานกับผู้ที่จะเป็นนายจ้างของคนต่างด้าว พร้อมทั้งรายชื่อ สัญชาติ และเลขที่หนังสือเดินทางของคนต่างด้าว และนายจ้างดังกล่าวต้องไม่เป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรง และจะนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานได้เฉพาะตามจำนวนและตามรายชื่อดังกล่าว สัญญานำคนต่างด้าวมาทำงานตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่อธิบดีกำหนด เมื่อจะนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานส่งสำเนาสัญญากับผู้ที่จะเป็นนายจ้างของคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียน และในกรณีจำเป็นจะขอให้นายทะเบียนรับรองสัญญาและความมีอยู่จริงของนายจ้างและงานของนายจ้างให้ก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นเมื่อนายทะเบียนได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องให้ออกหนังสือรับรองให้ และเมื่อได้รับรายชื่อและเลขที่หนังสือเดินทางของคนต่างด้าวที่จะมาทำงานแล้ว ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนทราบและให้นายทะเบียนแจ้งให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เมื่อได้แจ้งข้อมูลให้นายทะเบียนตามวรรคสามแล้ว ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานจะยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวที่จะเข้ามาตามที่แจ้งไว้ตามวรรคสามก็ได้ มาตรา ๔๒[๓๒] ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงาน เรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากนายจ้างหรือคนต่างด้าว เว้นแต่ค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากนายจ้างตามรายการและอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๔๓[๓๓] เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้นำคนต่างด้าวส่งมอบให้นายจ้างแล้ว ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งมอบคนต่างด้าวให้นายจ้าง ทั้งนี้ ตามรายการที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๔๔ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ต้องใช้ชื่อ คำแสดงชื่อ หรือคำอื่นใดในการประกอบธุรกิจว่า “บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ” และจะใช้ถ้อยคำหรืออักษรต่างประเทศอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกันประกอบด้วยก็ได้ มาตรา ๔๕ ห้ามผู้ใดนอกจากผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ใช้ชื่อ คำแสดงชื่อ หรือคำอื่นใดในทางธุรกิจว่า “บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ” หรือใช้คำหรืออักษรต่างประเทศที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน ส่วนที่ ๓ นายจ้างนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศ มาตรา ๔๖[๓๔] นายจ้างซึ่งมิใช่ผู้ประกอบกิจการรับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรงผู้ใดประสงค์จะนำคนต่างด้าวจากต่างประเทศมาทำงานในประเทศตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบจำนวนประเทศที่คนต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ งานที่ประสงค์จะให้คนต่างด้าวมาทำ และรายการอื่นตามที่อธิบดีกำหนด ในกรณีที่ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา ๑๑ ให้นายจ้างดำเนินการต่อไปเมื่อได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ในกรณีที่ไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมหรือได้ชำระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายจ้างดำเนินการเพื่อให้ทราบชื่อและเลขที่หนังสือเดินทางของคนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้ามาทำงาน และแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบ และให้นายทะเบียนแจ้งให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ในการนี้ อธิบดีจะกำหนดให้นายจ้างที่นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานประเภทที่กำหนดวางหลักประกันเพื่อประกันการปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชกำหนดนี้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ การวางหลักประกัน อัตราของหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การหักหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การเรียกหลักประกันเพิ่ม การวางหลักประกันเพิ่ม และการรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ก่อนคนต่างด้าวเข้าทำงานกับนายจ้าง ให้นายจ้างจัดทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ โดยมีรายการอย่างน้อยตามที่อธิบดีกำหนด และเก็บสัญญาจ้างงานไว้ ณ ที่ทำการของนายจ้างเพื่อให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ และสำเนาสัญญาจ้างดังกล่าวเพื่อให้ลูกจ้างเก็บรักษาไว้ ทั้งนี้ เมื่อคนต่างด้าวออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ออกจากงาน พร้อมทั้งระบุเหตุแห่งการออกจากงานของคนต่างด้าวนั้นด้วย ความในมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่นายจ้างซึ่งมิใช่ผู้ประกอบกิจการรับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรงที่ประสงค์จะนำคนต่างด้าวจากประเทศอื่นที่ประเทศไทยมิได้มีความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๔๗ ในกรณีหลักประกันที่นายจ้างวางไว้ตามมาตรา ๔๖ ลดลงเพราะได้จ่ายไปตามพระราชกำหนดนี้ และนายจ้างยังมีภาระต้องรับผิดชอบตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างวางหลักประกันเพิ่มจนครบจำนวนเงินที่กำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง นายจ้างผู้ใดไม่วางหลักประกันเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ต้องชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือนจนกว่าจะวางหลักประกันเพิ่มจนครบถ้วน มาตรา ๔๘ ในกรณีที่นายจ้างขอรับหลักประกันคืน นายจ้างต้องไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ เมื่อนายจ้างได้ขอรับหลักประกันคืน ให้อธิบดีตรวจสอบว่านายจ้างไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ แล้วจึงแจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างมารับหลักประกันคืน ในกรณีที่นายจ้างไม่รับหลักประกันคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากอธิบดี ให้หลักประกันดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มาตรา ๔๙[๓๕] นายจ้างซึ่งเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศจะเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานจากคนต่างด้าวไม่ได้ เว้นแต่เป็นค่าใช้จ่ายที่อยู่ในความรับผิดชอบของคนต่างด้าวที่นายจ้างได้ออกให้ไปก่อน ได้แก่ ค่าหนังสือเดินทาง ค่าตรวจสุขภาพ ค่าใบอนุญาตทำงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นทำนองเดียวกันตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ให้นายจ้างหักได้จากค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยให้นายจ้างหักจากเงินที่คนต่างด้าวมีสิทธิได้รับตามอัตราที่จ่ายจริงได้ แต่จะหักได้ไม่เกินร้อยละสิบของเงินที่คนต่างด้าวมีสิทธิได้รับในแต่ละเดือน ในกรณีที่มิได้มีข้อตกลงว่านายจ้างจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ลูกจ้าง และนายจ้างได้ออกค่าเดินทางให้ก่อน ให้นายจ้างหักจากเงินที่คนต่างด้าวมีสิทธิได้รับตามวรรคหนึ่งได้ ส่วนที่ ๔ หน้าที่และความรับผิดชอบ มาตรา ๕๐[๓๖] เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้นำคนต่างด้าวมาส่งมอบให้นายจ้างตามมาตรา ๔๓ แล้ว ในกรณีที่มีเหตุดังต่อไปนี้ ให้นายจ้างแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานและนายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว แล้วแต่กรณี (๑) นายจ้างไม่รับคนต่างด้าวนั้นเข้าทำงาน (๒) คนต่างด้าวไม่ยินยอมทำงานกับนายจ้าง (๓) คนต่างด้าวออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด ในกรณีที่มีเหตุตาม (๑) หรือ (๓) เฉพาะที่มิใช่ความผิดของลูกจ้าง และคนต่างด้าวนั้นประสงค์จะทำงานกับนายจ้างรายอื่น ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานอาจจัดให้คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างรายอื่นได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างไม่รับเข้าทำงาน แต่ระยะเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ต้องไม่เกินกำหนดระยะเวลาตามสัญญานำคนต่างด้าวมาทำงาน ในกรณีตาม (๒) เฉพาะที่เป็นความผิดของนายจ้าง ให้นำมาตรา ๕๑ และมาตรา ๕๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานดำเนินการตามวรรคสองหรือวรรคสามเป็นประการใด ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่อธิบดีกำหนด ในกรณีที่มีเหตุตาม (๑) หรือ (๒) และคนต่างด้าวนั้นไม่ได้ทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายในกำหนดเวลา ให้ถือว่าการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุดลงตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่พ้นกำหนดเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ และส่งหลักฐานการออกนอกราชอาณาจักรของคนต่างด้าวดังกล่าวให้นายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันส่งคนต่างด้าวนั้นกลับ ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการดังกล่าวได้ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสามวันนับแต่พ้นกำหนดเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ และให้นายทะเบียนแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการเพื่อให้มีการส่งคนต่างด้าวนั้นออกนอกราชอาณาจักรโดยเร็ว ในกรณีเช่นนั้นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่เกินอัตราที่อธิบดีกำหนด ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ส่งหลักฐานการออกนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดเวลาตามวรรคห้า ให้ชำระค่าปรับทางปกครองต่อนายทะเบียนวันละหนึ่งพันบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง แต่ไม่เกินสองหมื่นบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๕๑[๓๗] คนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างตามมาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๖ ถ้าออกจากงานก่อนครบสัญญาจ้าง จะทำงานกับนายจ้างอื่นใดมิได้ เว้นแต่จะพิสูจน์ให้นายทะเบียนเห็นว่าการที่ตนออกจากงานเป็นเพราะความผิดของนายจ้าง หรือได้ชำระค่าเสียหายให้นายจ้างเดิมแล้ว ในกรณีเช่นนั้นให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตทำงานให้ใหม่หรือสลักหลังใบอนุญาตทำงานเพื่อแสดงถึงสิทธิในการเปลี่ยนนายจ้าง ค่าเสียหายตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายทั้งปวงในการนำคนต่างด้าวนั้นมาทำงานคำนวณตามสัดส่วนของระยะเวลาที่คนต่างด้าวนั้นทำงานไปแล้ว ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้รับการต่ออายุสัญญาจ้าง และออกจากงานในระหว่างอายุสัญญาจ้างที่ต่อใหม่ มาตรา ๕๒[๓๘] คนต่างด้าวซึ่งมีสิทธิเปลี่ยนนายจ้างตามมาตรา ๕๑ ต้องทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม และในกรณีที่คนต่างด้าวนั้นทำงานประเภทที่นายจ้างต้องวางหลักประกันตามมาตรา ๔๖ นายจ้างรายใหม่ต้องวางหลักประกันต่ออธิบดีตามมาตรา ๔๖ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่จ้างคนต่างด้าวนั้น มาตรา ๕๓[๓๙] คนต่างด้าวซึ่งไม่มีสิทธิเปลี่ยนนายจ้างตามมาตรา ๕๑ หรือคนต่างด้าวซึ่งมีสิทธิเปลี่ยนนายจ้างแต่ไม่ได้ทำงานกับนายจ้างรายอื่นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๒ ให้ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่คนต่างด้าวนั้นออกจากงาน หรือพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๒ แล้วแต่กรณี และให้ถือว่าการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุดลงตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างรายสุดท้ายที่วางหลักประกันตามมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๒ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งกลับไปยังประเทศต้นทาง แล้วแต่กรณี มาตรา ๕๔[๔๐] (ยกเลิก) มาตรา ๕๕[๔๑] เมื่อคนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างตามมาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๖ ทำงานจนครบกำหนดตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศหรือสัญญาจ้างแล้ว ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างรายสุดท้ายที่วางหลักประกันตามมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๒ จัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง เว้นแต่จะมีการต่ออายุสัญญาจ้างหรือคนต่างด้าวนั้นจะทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๒ ให้นำความในมาตรา ๕๐ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับแก่การจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้นายทะเบียนคืนหลักประกันให้แก่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน เมื่อผู้รับอนุญาตดังกล่าวแสดงหลักฐานว่าได้ส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางแล้วซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสองปีนับแต่วันที่เลิกประกอบธุรกิจ เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานยังไม่สามารถแสดงหลักฐานการส่งคนต่างด้าวกลับต่อนายทะเบียนได้ ให้หลักประกันนั้นตกเป็นของกองทุนเพื่อใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักรต่อไป ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานแสดงหลักฐานการส่งคนต่างด้าวกลับได้เพียงบางส่วนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้อธิบดีคืนหลักประกันให้ตามอัตราส่วนและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕๖[๔๒] คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามความในหมวดนี้ และต้องถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายอื่น ให้หน่วยงานที่ดำเนินการส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดการให้คนต่างด้าวเดินทางกลับจากผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างที่วางหลักประกันได้ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างมิได้ชดใช้เงินคืนภายในเวลาที่หน่วยงานตามวรรคหนึ่งกำหนด ให้อธิบดีหักเงินจำนวนดังกล่าวจากหลักประกันที่วางไว้เพื่อคืนให้แก่หน่วยงานที่ดำเนินการส่งคนต่างด้าวดังกล่าวกลับไปยังประเทศต้นทาง มาตรา ๕๗[๔๓] คนต่างด้าวซึ่งได้รับความเสียหายจากการที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๐ อาจเข้ามอบตัวต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อขอให้จัดส่งคนต่างด้าวกลับประเทศ และให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับประเทศโดยเร็ว และให้นำความในมาตรา ๕๘ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๘[๔๔] ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างรายสุดท้ายที่วางหลักประกันตามมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๒ ไม่ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับประเทศต้นทางตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบเห็นคนต่างด้าวดังกล่าว ให้ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง ในการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้จ่ายจากเงินกองทุนไปก่อน และมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างตามวรรคหนึ่งมาชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดการให้คนต่างด้าวเดินทางกลับและค่าใช้จ่ายอื่นตามความจำเป็นภายในเวลาที่กำหนด ถ้าบุคคลดังกล่าวมิได้นำเงินมาชำระคืนภายในกำหนดเวลาให้อธิบดีหักเงินจำนวนดังกล่าวจากหลักประกันที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างดังกล่าวได้วางไว้ แล้วแต่กรณี เมื่อได้ดำเนินการหักหลักประกันตามวรรคสองแล้ว ให้อธิบดีแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างทราบโดยไม่ชักช้า หมวด ๔ การทำงานของคนต่างด้าว มาตรา ๕๙[๔๕] คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองซึ่งมิใช่เพื่อการท่องเที่ยวหรือการเดินทางผ่านราชอาณาจักร จะทำงานได้ก็แต่เฉพาะงานที่มิได้มีประกาศห้ามคนต่างด้าวทำตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง และต้องได้รับใบอนุญาตทำงาน ภายใต้บังคับมาตรา ๖๐ คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะขอรับใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อนายทะเบียน และในกรณีที่มีนายจ้างแล้วให้ระบุชื่อนายจ้างด้วย การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยจะกำหนดให้ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และใบอนุญาตทำงานให้มีอายุเท่าที่ผู้ขออนุญาตร้องขอ แต่ไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตทำงาน ในกฎกระทรวงตามวรรคสามต้องกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาตจนถึงวันที่ออกใบอนุญาตทำงานไว้ด้วยซึ่งต้องไม่เกินสิบห้าวันทำการ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตทำงานให้ได้ภายในกำหนดเวลา ให้รัฐมนตรีหรืออธิบดีดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามควรแก่กรณี ในกรณีที่การไม่ออกใบอนุญาตทำงานนั้นเป็นไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย และให้มีการดำเนินการทางวินัยต่อไป ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย ผู้รับอนุญาตให้ทำงานตามวรรคหนึ่งมีสิทธิทำงานที่มิได้มีประกาศห้ามคนต่างด้าวทำตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่งได้ทุกชนิด มาตรา ๖๐[๔๖] คนต่างด้าวซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักรผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำงานในราชอาณาจักร อาจยื่นคำขออนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ นายจ้างผู้ใดประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในกิจการของตนในราชอาณาจักร จะยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวต่อนายทะเบียน พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมแทนคนต่างด้าวก็ได้ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตทำงานและค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๑[๔๗] คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันมีลักษณะจำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเป็นงานเฉพาะกิจ ที่มีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวัน จะทำงานนั้นได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบ งานอันมีลักษณะจำเป็นหรือเร่งด่วนหรืองานเฉพาะกิจตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด คนต่างด้าวที่ทำงานตามวรรคหนึ่ง หากไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดดังกล่าว อาจขอขยายเวลาได้ไม่เกินสิบห้าวันโดยแจ้งให้นายทะเบียนทราบก่อนครบกำหนดดังกล่าว การแจ้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม และการออกหนังสือรับแจ้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๒[๔๘] เมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม หรือกฎหมายอื่น ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายดังกล่าวแจ้งต่อนายทะเบียนโดยไม่ชักช้า ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตทำงานให้แก่คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และในระหว่างที่ดำเนินการ ให้คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งทำงานไปพลางก่อนได้ โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๖๘ การออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศตามมาตรา ๗ และใบอนุญาตทำงาน ให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตามกฎหมายนั้น ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้ทำงานได้รับการขยายระยะเวลาทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายดังกล่าวแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานนั้นต่อนายทะเบียนโดยเร็วตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้นายทะเบียนจดแจ้งการขยายระยะเวลานั้นลงในใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๖๓[๔๙] คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ อาจขออนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อทำงานตามประเภทที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ โดยคำนึงถึงความมั่นคงของชาติ ผลกระทบต่อสังคม และมนุษยธรรม (๑) ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศและได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใดแทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ (๒) เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง แต่ได้รับอนุญาตให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง อันมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา ๖๓/๒ การขออนุญาตทำงานและการออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และใบอนุญาตทำงานให้มีอายุเท่ากับระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตทำงาน และให้ต่ออายุใบอนุญาตทำงานได้เท่าที่จำเป็นแต่ไม่เกินครั้งละหนึ่งปี เมื่อนายทะเบียนออกใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าวผู้ใดแล้ว ให้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองทราบ ภายในสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงผลการเนรเทศหรือการส่งกลับ ในกรณีที่นายทะเบียนได้รับแจ้งว่ายังมิได้เนรเทศหรือส่งตัวกลับ หรือไม่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้นายทะเบียนมีอำนาจต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่งตามที่ได้รับการร้องขอจากคนต่างด้าวได้และเมื่อได้ต่ออายุใบอนุญาตทำงานแล้ว ให้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองทราบ มาตรา ๖๓/๑[๕๐] คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ อาจขออนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อทำงานได้ (๑) ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ หรือตามกฎหมายอื่น (๒) เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ หรือตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ (๓) คนต่างด้าวซึ่งได้รับสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๔) คนต่างด้าวซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนและได้รับบัตรประจำตัวตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศตามมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แต่คณะรัฐมนตรีจะกำหนดมิให้ทำงานบางประเภทหรือทำโดยมีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ โดยให้คำนึงถึงความมั่นคงของชาติ ผลกระทบต่อสังคม และมนุษยธรรม การขออนุญาตทำงานและการออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และใบอนุญาตทำงานให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตทำงาน และให้ต่ออายุใบอนุญาตทำงานได้คราวละห้าปี ทั้งนี้ บุคคลตาม (๑) (๓) และ(๔) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานหรือค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน สำหรับบุคคลตาม (๒) จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมหรือไม่เพียงใด ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ มาตรา ๖๓/๒[๕๑] ในกรณีที่รัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใดหรือจำพวกใดเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรได้ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือยกเว้นให้คนต่างด้าวผู้ใดหรือจำพวกใดไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง คณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้คนต่างด้าวผู้นั้นหรือจำพวกนั้นบรรดาที่มิใช่คนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓/๑ ขออนุญาตทำงานได้ โดยคณะรัฐมนตรีจะกำหนดประเภทของงานที่คนต่างด้าวอาจทำได้ไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การขออนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และกฎกระทรวงนั้นจะกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตทำงานด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ใบอนุญาตทำงานให้มีอายุเท่าที่ผู้ขออนุญาตร้องขอ แต่ไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๖๔ คนต่างด้าวซึ่งเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ถ้าได้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีบัตรผ่านแดนหรือบัตรอื่นใดทำนองเดียวกันที่อธิบดีกำหนด อาจได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ทำงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาลและในท้องที่ที่กำหนดได้[๕๒] ความในวรรคหนึ่งจะใช้บังคับกับท้องที่ใด สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติใด เพื่อทำงานประเภทหรือลักษณะใด โดยมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา การขออนุญาตทำงานและการออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง วรรคสี่[๕๓] (ยกเลิก) มาตรา ๖๔/๑[๕๔] คนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงานต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่เคยได้รับโทษตามมาตรา ๑๐๑ เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตทำงาน หรือเป็นคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓ ที่นายทะเบียนอนุญาตให้ทำงานได้เป็นกรณีพิเศษ ในกรณีที่การออกใบอนุญาตทำงานจำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพของคนต่างด้าวก่อน ให้คนต่างด้าวหรือนายจ้างของคนต่างด้าวนั้นนำคนต่างด้าวไปตรวจสุขภาพ ณ สถานพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓/๑ มาตรา ๖๔/๒[๕๕] ผู้รับอนุญาตให้ทำงานมีหน้าที่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงผู้เป็นนายจ้าง สถานที่ทำงานของนายจ้าง และลักษณะงานหลักที่ทำ ทั้งนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เข้าทำงาน และต้องแจ้งทุกครั้งที่เปลี่ยนนายจ้าง มาตรา ๖๕[๕๖] (ยกเลิก) มาตรา ๖๖[๕๗] (ยกเลิก) มาตรา ๖๗ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานซึ่งประสงค์จะทำงานต่อไปให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานต่อนายทะเบียนก่อนที่ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานนั้นทำงานไปพลางก่อนจนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ภายใต้บังคับมาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๓/๑ การต่ออายุใบอนุญาตทำงานให้ต่อให้ตามระยะเวลาที่ผู้ขออนุญาตร้องขอแต่ไม่เกินครั้งละสองปี โดยให้กระทำเพียงเท่าที่จำเป็น[๕๘] การขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานและการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘[๕๙] ผู้รับอนุญาตให้ทำงานต้องสามารถแสดงใบอนุญาตทำงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียนภายในระยะเวลาอันสมควรได้เสมอ มาตรา ๖๙ ถ้าใบอนุญาตทำงานสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตให้ทำงานยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานและการออกใบแทนใบอนุญาตทำงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด[๖๐] มาตรา ๗๐[๖๑] (ยกเลิก) มาตรา ๗๑[๖๒] (ยกเลิก) มาตรา ๗๒[๖๓] (ยกเลิก) มาตรา ๗๓[๖๔] (ยกเลิก) มาตรา ๗๔[๖๕] (ยกเลิก) หมวด ๕ กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว มาตรา ๗๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในกรมการจัดหางาน เรียกว่า “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว มาตรา ๗๖ ให้กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินหรือทรัพย์สินที่โอนมาจากกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามมาตรา ๑๔๐ (๒)[๖๖] เงินเพิ่มตามมาตรา ๑๑ วรรคห้า และมาตรา ๔๗ วรรคสอง และค่าปรับทางปกครองที่ปรับตามพระราชกำหนดนี้ (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) เงินค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บได้ตามพระราชกำหนดนี้ตามที่กระทรวงการคลังอนุญาต ให้นำไปใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (๕) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๖) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่จัดสรรให้ตามความจำเป็น (๗) เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่กองทุนได้รับไม่ว่ากรณีใด เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้นำส่งเข้ากองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๗๗ เงินของกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามพระราชกำหนดนี้ที่ถูกละเมิดสิทธิตามกฎหมายด้านแรงงาน (๒) ส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) ช่วยเหลือและอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ที่เสนอโครงการหรือแผนงานในการดำเนินการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงาน การจัดสวัสดิการ การศึกษา การสาธารณสุข และการให้ความคุ้มครองด้านแรงงาน แก่คนต่างด้าว (๔) คืนให้แก่คนต่างด้าวที่ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว (๕) บริหารกองทุน (๖) บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชกำหนดนี้ การดำเนินการตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด มาตรา ๗๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการจัดหางาน เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงบประมาณ และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านแรงงาน ด้านการคลัง ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการบริหาร หรือด้านกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการกองทุนอาจแต่งตั้งข้าราชการกรมการจัดหางานจำนวนไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๗๙ กรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี กรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน มาตรา ๘๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่หรือทุจริต มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก มาตรา ๘๑ ให้คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบาย กำกับดูแลการบริหารจัดการ และติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการใช้จ่ายเงินของกองทุนตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๓) พิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานประจำปี (๔) พิจารณาจัดสรรเงินของกองทุนเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินของกองทุน เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าวและการเบิกจ่ายเงินทดรองในการดำเนินการดังกล่าว มาตรา ๘๒ คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อพิจารณา หรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมายได้ มาตรา ๘๓ ให้กรมการจัดหางานจัดทำบัญชีของกองทุนให้เป็นไปตามระบบการบัญชีอย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และให้ส่งผู้สอบบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี มาตรา ๘๔ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีอิสระที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน มาตรา ๘๕ ให้ผู้สอบบัญชีรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้กรมการจัดหางานเผยแพร่งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีรับทราบ หมวด ๖ มาตรการทางปกครอง ส่วนที่ ๑ การพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน การเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน และการเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน และสั่งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด มาตรา ๘๗ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้และอยู่ระหว่างการดำเนินคดี ให้อธิบดีสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานจนกว่าคดีจะถึงที่สุด มาตรา ๘๘ ให้อธิบดีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติหรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามคำสั่งของอธิบดีตามมาตรา ๘๖ (๒) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปี หรือเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานอีก (๓) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศต้นทาง มีส่วนรู้เห็นหรือเป็นผู้สนับสนุนการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องดังกล่าวในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ และอธิบดีได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศต้นทาง หรือห้ามมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวข้างต้นแล้ว แต่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเตือนของอธิบดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนนั้น (๔) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานฝ่าฝืนมาตรา ๘๙ วรรคสอง (๕) อธิบดีเห็นว่าการที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ เป็นกรณีที่ร้ายแรง (๖) อธิบดีเห็นว่าผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่สามารถปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ได้ มาตรา ๘๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้ทำเป็นหนังสือและแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ยอมรับคำสั่ง ให้ปิดคำสั่งดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สำนักงาน และให้ถือว่าผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคำสั่ง ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่การดำเนินการที่ต้องกระทำต่อเนื่องจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศก่อนวันที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานต้องรับผิดชอบในการจัดส่งคนต่างด้าวซึ่งยังอยู่ในความรับผิดชอบของตนกลับไปยังประเทศต้นทางจนกว่าจะพ้นจากความรับผิดตามพระราชกำหนดนี้ และให้รายงานให้อธิบดีทราบเกี่ยวกับคนต่างด้าวซึ่งยังอยู่ในความรับผิดชอบของตน มาตรา ๙๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับอนุญาตให้ทำงานฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาต ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๙๑ อธิบดีอาจประกาศรายชื่อนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ซึ่งได้รับโทษเพราะฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ ส่วนที่ ๒ การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง มาตรา ๙๒[๖๗] ในกรณีที่อธิบดีไม่อนุญาตตามมาตรา ๒๖ ไม่ต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๓๐ หรือได้หักหลักประกันหรือเรียกหลักประกันเพิ่มตามพระราชกำหนดนี้ ผู้ขออนุญาต หรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๓[๖๘] ในกรณีที่อธิบดีได้หักหลักประกันหรือเรียกหลักประกันเพิ่มตามพระราชกำหนดนี้ นายจ้างมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๔ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน หรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๕[๖๙] ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาตตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๓/๑ มาตรา ๖๓/๒ หรือมาตรา ๖๔ หรือไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ หรือเพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ คนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงาน ผู้ซึ่งขออนุญาตแทนคนต่างด้าว หรือผู้รับอนุญาตให้ทำงาน แล้วแต่กรณี มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๖ เมื่อรัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ ให้พิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้มีหนังสือแจ้งแก่ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว กรณีที่พ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่ารัฐมนตรีพิจารณาคำอุทธรณ์แล้วยืนยันตามคำสั่งเดิม มาตรา ๙๗ การอุทธรณ์ตามมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เว้นแต่กรณีการอุทธรณ์คำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ หมวด ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๙๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดเพื่อประกอบการพิจารณาได้ (๒) เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบให้การเป็นไปตามพระราชกำหนดนี้ (๓)[๗๐] เข้าไปในสถานประกอบการซึ่งรับคนต่างด้าวเข้าทำงานในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบให้การเป็นไปตามพระราชกำหนดนี้ (๔) ค้นในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศหรือมีคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือค้นเพื่อหาและช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งตกเป็นผู้เสียหายจากการกระทำที่ฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ (๕) ยึดหรืออายัด เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ การค้นตาม (๔) ต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุอันควรเชื่อว่า หากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ คนต่างด้าวนั้นอาจถูกประทุษร้าย โยกย้าย หรือซ่อนเร้น หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องอาจถูกโยกย้าย ซ่อนเร้น ทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม หรือถูกทำลายไปเสียก่อน ให้ดำเนินการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้น ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร การใช้อำนาจตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ต้องไม่ทำในลักษณะที่ทำให้คนต่างด้าวต้องหยุดทำงานเกินสมควรแก่เหตุ หรือทำให้การประกอบการของนายจ้างต้องสะดุดหยุดลงหรือทำในเวลากลางคืนโดยไม่จำเป็น[๗๑] มาตรา ๙๙ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง มาตรา ๑๐๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เพื่อประโยชน์ในการจับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบคนต่างด้าวผู้ใดทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ และพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้คนต่างด้าวไปรายงานตัวยังสถานีตำรวจพร้อมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่คนต่างด้าวผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือจะหลบหนี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับคนต่างด้าวนั้นโดยไม่ต้องมีหมายจับ และให้นำตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยทันที[๗๒] หมวด ๘ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๐๐/๑[๗๓] อธิบดี นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดไม่ตอบรับการแจ้งภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๕/๑ วรรคสอง โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๐๑[๗๔] คนต่างด้าวผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท และเมื่อได้ชำระค่าปรับแล้ว ให้ส่งคนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเร็ว เว้นแต่เป็นคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓ หรือมาตรา ๖๓/๑ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เสียหายหรือพยานในคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในกรณีที่คนต่างด้าวซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ยินยอมเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการร่วมกำหนดแล้วแจ้งให้กรมการจัดหางานทราบ และเมื่อได้ดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้น เดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คณะกรรมการร่วมตามวรรคสาม ประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการ และผู้แทนกรมการจัดหางานเป็นกรรมการและเลขานุการ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปรียบเทียบปรับที่คณะกรรมการร่วมกำหนดตามวรรคสาม ให้คำนึงถึงสภาพความร้ายแรงของการกระทำความผิด การกระทำความผิดซ้ำ และการป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดกระทำความผิดซ้ำอีก และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๐๒[๗๕] ผู้ใดเป็นผู้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยฝ่าฝืนมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งกระทำผิดซ้ำอีก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามผู้นั้นจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลาสามปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ มิให้ถือว่าผู้ซึ่งอยู่อาศัยในครอบครัวเดียวกันกับผู้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานตามวรรคหนึ่งมีความผิดในฐานะตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน มาตรา ๑๐๓[๗๖] ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๐๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐๖[๗๗] พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐๗[๗๘] ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๑ วรรคสอง มาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๐๘[๗๙] (ยกเลิก) มาตรา ๑๐๙[๘๐] ผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลหรือลูกจ้างตามมาตรา ๓๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๑๐[๘๑] ผู้ใดมิได้เป็นลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๓๕ แต่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๐/๑[๘๒] ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดนำคนต่างด้าวไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างที่รับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรง หรือนำคนต่างด้าวไปทำงานโดยตนเป็นผู้รับเหมาแรงงาน หรือรับเหมาค่าแรง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างโดยไม่แจ้งนายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๑[๘๓] ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีและปรับสองเท่าของเงิน หรือมูลค่าทรัพย์สินอย่างอื่นที่เรียกหรือรับไว้จากนายจ้างหรือคนต่างด้าวหรือค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเกินกว่าอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้ศาลสั่งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือลูกจ้างดังกล่าวซึ่งกระทำความผิดคืนเงินหรือทรัพย์สินที่เรียกเก็บโดยไม่ชอบให้แก่นายจ้างหรือคนต่างด้าว แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่คืนเงินหรือทรัพย์สินตามคำสั่งศาลภายในสามสิบวัน เมื่อนายจ้างหรือคนต่างด้าวนั้นร้องขอ ให้อธิบดีหักหลักประกันของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้นั้นเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของศาลก็ได้ มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษปรับสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ มาตรา ๑๑๓[๘๔] นายจ้างผู้ใดนำคนต่างด้าวจากต่างประเทศมาทำงานกับตนในประเทศโดยตนเป็นผู้รับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท นายจ้างตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งผู้ใดนำคนต่างด้าวจากต่างประเทศมาทำงานกับตนในประเทศโดยไม่แจ้งตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท นายจ้างผู้ใดไม่อาจแสดงสัญญาจ้างงานเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบตามมาตรา ๔๖ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๑๓/๑[๘๕] นายจ้างผู้ใดไม่แจ้งต่อนายทะเบียนหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเมื่อคนต่างด้าวออกจากงานตามมาตรา ๔๖ วรรคสาม หรือเมื่อมีเหตุตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๑๔[๘๖] นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนและปรับสองเท่าของเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่เรียกหรือรับไว้จากคนต่างด้าวหรือหักไว้เกินกว่าอัตราที่กำหนด และให้ศาลสั่งให้นายจ้างนั้นคืนเงินหรือทรัพย์สินที่เรียกเก็บโดยไม่ชอบให้แก่คนต่างด้าว ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนเงินหรือทรัพย์สินตามคำสั่งศาลภายในสามสิบวัน เมื่อคนต่างด้าวนั้นร้องขอ ให้อธิบดีหักหลักประกันของนายจ้างผู้นั้นเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของศาลก็ได้ มาตรา ๑๑๕[๘๗] ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๑๕/๑[๘๘] ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดละเลยไม่ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๕๐ วรรคห้า หรือมาตรา ๕๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๑๑๖[๘๙] นายจ้างผู้ใดละเลยไม่ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๕๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๑๑๗[๙๐] (ยกเลิก) มาตรา ๑๑๘[๙๑] (ยกเลิก) มาตรา ๑๑๙[๙๒] คนต่างด้าวผู้ใดทำงานโดยไม่แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๑๙/๑[๙๓] ผู้รับอนุญาตให้ทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๔/๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๒๐[๙๔] ผู้รับอนุญาตให้ทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๒๑[๙๕] (ยกเลิก) มาตรา ๑๒๒[๙๖] (ยกเลิก) มาตรา ๑๒๓[๙๗] (ยกเลิก) มาตรา ๑๒๔[๙๘] (ยกเลิก) มาตรา ๑๒๕ ผู้ใดไม่มาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานตามมาตรา ๙๘ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๙๘ (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกตามมาตรา ๙๘ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๗/๑[๙๙] นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๘ วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๘ ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ หรือสามารถหาลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าวให้กับนายจ้าง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หกแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำโดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป หรือโดยสมาชิกขององค์กรอาชญากรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง มาตรา ๑๒๙ ผู้ใดสนับสนุนการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๘ ไม่ว่าการกระทำของตัวการจะได้กระทำนอกราชอาณาจักรหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๓๐ การเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๘ หรือมาตรา ๑๒๙ แทนผู้เสียหาย พนักงานอัยการจะขอรวมไปกับฟ้องคดีอาญา หรือจะยื่นคำร้องในภายหลังขณะที่คดีอาญานั้นยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ได้ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายที่จะยื่นคำร้องเพื่อเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดี ในกรณีที่ไม่มีคำขอให้ใช้ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปตามวรรคหนึ่ง หากศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลย ศาลจะสั่งในคำพิพากษาคดีอาญาให้จำเลยใช้ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปแก่ผู้เสียหายตามที่เห็นสมควรก็ได้ คำสั่งดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้เสียหายในอันที่จะฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกเอาทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปในส่วนที่ยังขาดอยู่ มาตรา ๑๓๑[๑๐๐] ผู้ใดยึดใบอนุญาตทำงานหรือเอกสารสำคัญประจำตัวของคนต่างด้าวไว้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่คนต่างด้าวยินยอมให้ผู้ใดเก็บรักษาใบอนุญาตทำงานหรือเอกสารตามวรรคหนึ่งไว้ ผู้นั้นต้องยินยอมและอำนวยความสะดวกให้คนต่างด้าวสามารถเข้าถึงเอกสารดังกล่าวได้ตลอดเวลาตามที่คนต่างด้าวร้องขอ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษเช่นเดียวกับการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทำของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๑๓๓ บรรดาความผิดตามพระราชกำหนดนี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว นอกจากความผิดตามมาตรา ๑๐๑ ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดีสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร (๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดนั้น[๑๐๑] ในกรณีที่มีการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ที่มีโทษอยู่ในเกณฑ์ที่จะทำการเปรียบเทียบได้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ เมื่อผู้กระทำผิดได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในเวลาที่กำหนดแต่ไม่เกินสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๓๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ ให้นายทะเบียนอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานใด ๆ ได้ เว้นแต่งานที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๑๓๕ คนต่างด้าวผู้ใดได้รับใบอนุญาตทำงานหรือได้รับการผ่อนผันให้ทำงานตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับใบอนุญาตทำงานหรือได้รับการผ่อนผันให้ทำงานตามพระราชกำหนดนี้ ใบอนุญาตทำงานที่ออกให้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๒ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุใบอนุญาตทำงานนั้น มาตรา ๑๓๖ นายจ้างผู้ใดได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ดำเนินการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนเองในประเทศได้ต่อไป มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อยู่ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามพระราชกำหนดนี้ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามวรรคหนึ่ง ประสงค์จะนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศภายหลังจากวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ก่อนนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ มาตรา ๑๓๘ บรรดาคำขอที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำขอที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชกำหนดนี้ และให้อธิบดีเรียกเอกสารหรือหลักฐานประกอบคำขอที่กำหนดไว้ตามพระราชกำหนดนี้ให้ครบถ้วน มาตรา ๑๓๙ บรรดาคำอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๑๔๐ ให้โอนบรรดากิจการ เงิน สิทธิ ความรับผิด ทรัพย์สิน และหนี้สินของกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ไปเป็นของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๑๔๑ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๑๗ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๔๒ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๗๘ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๔๓ ลูกจ้างซึ่งถูกหักเงินค่าจ้างและนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยค่าใช้จ่ายของตนเอง ให้มีสิทธิได้รับเงินที่ถูกหักไว้คืนภายในสองปีนับจากวันที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร หากไม่ขอรับเงินคืนภายในเวลาที่กำหนดให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน มาตรา ๑๔๔ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และเป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้งตามมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ได้รับการแต่งตั้งอยู่ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับมีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นนั้นได้ บรรดาความผิดตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และเป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้อธิบดีกรมการจัดหางานหรือผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖๑ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นนั้นได้ มาตรา ๑๔๕ บรรดากฎหรือคำสั่งใด ๆ ที่ได้ออกหรือสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกำหนดนี้ จนกว่าจะมีกฎหรือคำสั่งใด ๆ ที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑/๑)[๑๐๒] ค่าธรรมเนียมรายปีตามมาตรา ๓๐ ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๒) การต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ครั้งละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๓) ใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๔)[๑๐๓] (ยกเลิก) (๕)[๑๐๔] (ยกเลิก) (๖)[๑๐๕] (ยกเลิก) (๗)[๑๐๖] (ยกเลิก) (๘) ใบอนุญาตทำงาน ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๙) การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ครั้งละ ๒๐,๐๐๐ บาท หรือการขยายระยะเวลาการทำงาน (๑๐) ใบแทนใบอนุญาตทำงาน ฉบับละ ๓,๐๐๐ บาท (๑๑)[๑๐๗] (ยกเลิก) (๑๒) การจ้างคนต่างด้าว คนละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๓) ค่ายื่นคำขอ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๑๔) การรับรองสำเนาเอกสาร (ก) ภาษาไทย หน้าละ ๕๐ บาท (ข) ภาษาต่างประเทศ หน้าละ ๑๐๐ บาท (๑๕) การออกหนังสือรับรอง (ก) ภาษาไทย หน้าละ ๕๐๐ บาท (ข) ภาษาต่างประเทศ หน้าละ ๑,๐๐๐ บาท (๑๖) การแปลภาษาต่างประเทศ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๑๗) ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ครั้งละ ๑,๐๐๐ บาท ในการออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม จะกำหนดค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกัน โดยคำนึงถึงสาขาอาชีพ หรือสาขาอาชีพและท้องที่ทำงานของคนต่างด้าวก็ได้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ มีบทบัญญัติที่ไม่ครอบคลุมการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวทั้งระบบ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านแรงงาน เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้สามารถทำการจัดระเบียบ การป้องกัน การคุ้มครอง การเยียวยา และการใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้ทั้งระบบ อันจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านแรงงาน เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ซึ่งเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว[๑๐๘] ข้อ ๑ ให้มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้นายจ้างและคนต่างด้าวเร่งดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนด ในกรณีที่คนต่างด้าวผู้ใดมีความจำเป็นต้องเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับไปยังประเทศต้นทางหรือเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้ถูกต้องตามวรรคหนึ่ง ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับยกเว้นการดำเนินการเกี่ยวกับการเดินทางเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนดเป็นการชั่วคราวโดยการหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้อ ๓ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามกฎหมายหรือคำสั่งนี้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ หรือกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งโดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการกระทำการเพิกเฉยหรือละเลยไม่กระทำการหรืองดเว้นกระทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นดำเนินการทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครองกับพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด ข้อ ๔ ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ตลอดจนพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการค้ามนุษย์ และอำนวยความสะดวกในการดำเนินการแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนโดยให้กระทรวงแรงงานเสนอรายงานผลการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกเดือน ในการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมายตามวรรคหนึ่งและอนุบัญญัติที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้กระทรวงแรงงานรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและนำมาประกอบการพิจารณาด้วย ข้อ ๕ ในกรณีที่เห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้ ข้อ ๖ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๐๙] มาตรา ๒ พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๖๗ ผู้ใดจ้างคนต่างด้าวทำงานอยู่ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับโดยคนต่างด้าวนั้นมีใบอนุญาตทำงานโดยชอบ ให้แจ้งข้อมูลตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้นายทะเบียนทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ โดยให้อธิบดีกำหนดวิธีการแจ้งที่สามารถแจ้งทางอิเล็กทรอนิกส์หรือทางอื่นใดที่เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นายจ้าง ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด ให้คนต่างด้าวที่นายจ้างได้ยื่นคำขอจ้างคนต่างด้าวทำงานและได้รับหนังสือรับรองการเดินทางไปตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร หรือหนังสือรับรองการเดินทางไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงานและการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ไว้แล้ว ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานกับนายจ้างเดิมต่อไปได้จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตทำงานให้ ในกรณีจำเป็น รัฐมนตรีจะกำหนดระยะเวลาที่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการตรวจสัญชาติหรือการดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นในการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานต้องทำให้แล้วเสร็จก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ยังทำไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้รัฐมนตรีดำเนินการทางวินัยแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่โดยพลัน มาตรา ๖๘ บรรดาประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๗ และการกำหนดของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา ๖๓ หรือมาตรา ๖๓/๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ที่ออกภายหลังวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ มิให้มีผลกระทบต่อคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานใดอยู่แล้วในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และให้คนต่างด้าวดังกล่าวทำงานนั้นได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตทำงานจะสิ้นอายุ และหากประสงค์จะขออนุญาตทำงานต่อไป ให้ดำเนินการตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๖๙ บรรดาคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓/๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน ให้ทำงานได้จนกว่าจะมีกฎกระทรวงตามมาตรา ๖๓/๑ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และเมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ให้คนต่างด้าวนั้นยื่นคำขออนุญาตทำงานภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ และเมื่อได้ยื่นคำขออนุญาตทำงานแล้ว ให้ทำงานได้ต่อไปจนกว่านายทะเบียนจะไม่ออกใบอนุญาตทำงานให้ ระยะเวลาหกสิบวันตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีจะประกาศขยายออกไปตามที่เห็นสมควรก็ได้ มาตรา ๗๐ มิให้นำมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง วรรคห้า และวรรคหก แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ มาใช้บังคับแก่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ อยู่ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานนั้นจะสิ้นอายุ มาตรา ๗๑ มิให้นำมาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ และมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้มาใช้บังคับ จนกว่าจะถึงวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน นายจ้าง และคนต่างด้าว มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลายประการ โดยมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้ระบบอนุญาตเกินความจำเป็นไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งยังกำหนดความผิดและบทกำหนดโทษในอัตรารุนแรงเช่นเดียวกับการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ แม้การใช้แรงงานต่างด้าวโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติตามพระราชกำหนดนี้จะมิได้กระทำโดยมีลักษณะเป็นการค้ามนุษย์ก็ตาม ทำให้เกิดความตื่นตระหนกและส่งผลกระทบต่อนายจ้างทั้งในภาคครัวเรือน ภาคเกษตรกรรม ภาคผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และภาคการค้าและอุตสาหกรรม จนกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดดังกล่าวโดยให้มีการใช้ระบบอนุญาตเพียงเท่าที่จำเป็นและกำหนดกระบวนการในการควบคุมและตรวจสอบการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน การทำงานของคนต่างด้าว การรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน ให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้ทั้งระบบ รวมทั้งปรับปรุงอัตราโทษให้มีความเหมาะสม นอกจากนี้ โดยที่การดำเนินการตามมาตรการชั่วคราวที่ผ่อนผันระยะเวลาการใช้บังคับบทกำหนดโทษเพื่อให้นายจ้างและคนต่างด้าวได้มีเวลาดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าว ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ ส่งผลให้สภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นอีกภายหลังระยะเวลาผ่อนผันสิ้นสุดลง จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจที่จะหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๑/๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๒] มาตรา ๔ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] มาตรา ๔ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔] มาตรา ๔ (๘) เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕] มาตรา ๕ นิยามคำว่า “การนำคนต่างด้าวมาทำงาน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖] มาตรา ๕ นิยามคำว่า “ทำงาน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗] มาตรา ๕ นิยามคำว่า “ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘] มาตรา ๕ นิยามคำว่า “ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙] มาตรา ๕/๑ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐] มาตรา ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๑] มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๒] มาตรา ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๓] มาตรา ๑๐ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๔] มาตรา ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๕] มาตรา ๑๒ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๖] มาตรา ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๗] มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๘] มาตรา ๑๕ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๙] มาตรา ๒๔ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๐] มาตรา ๒๘ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๑] มาตรา ๒๙ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๒] มาตรา ๓๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๓] มาตรา ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๔] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๕] มาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๖] มาตรา ๓๖ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๗] มาตรา ๓๗ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๘] มาตรา ๓๘ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๙] มาตรา ๓๙ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓๐] มาตรา ๔๐ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓๑] มาตรา ๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓๒] มาตรา ๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓๓] มาตรา ๔๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓๔] มาตรา ๔๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓๕] มาตรา ๔๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓๖] มาตรา ๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓๗] มาตรา ๕๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓๘] มาตรา ๕๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓๙] มาตรา ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔๐] มาตรา ๕๔ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔๑] มาตรา ๕๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔๒] มาตรา ๕๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔๓] มาตรา ๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔๔] มาตรา ๕๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔๕] มาตรา ๕๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔๖] มาตรา ๖๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔๗] มาตรา ๖๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔๘] มาตรา ๖๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔๙] มาตรา ๖๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕๐] มาตรา ๖๓/๑ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕๑] มาตรา ๖๓/๒ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕๒] มาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕๓] มาตรา ๖๔ วรรคสี่ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕๔] มาตรา ๖๔/๑ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕๕] มาตรา ๖๔/๒ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕๖] มาตรา ๖๕ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕๗] มาตรา ๖๖ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕๘] มาตรา ๖๗ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕๙] มาตรา ๖๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖๐] มาตรา ๖๙ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖๑] มาตรา ๗๐ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖๒] มาตรา ๗๑ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖๓] มาตรา ๗๒ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖๔] มาตรา ๗๓ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖๕] มาตรา ๗๔ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖๖] มาตรา ๗๖ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖๗] มาตรา ๙๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖๘] มาตรา ๙๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖๙] มาตรา ๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗๐] มาตรา ๙๘ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗๑] มาตรา ๙๘ วรรคสี่ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗๒] มาตรา ๑๐๐ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗๓] มาตรา ๑๐๐/๑ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗๔] มาตรา ๑๐๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗๕] มาตรา ๑๐๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗๖] มาตรา ๑๐๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗๗] มาตรา ๑๐๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗๘] มาตรา ๑๐๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗๙] มาตรา ๑๐๘ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘๐] มาตรา ๑๐๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘๑] มาตรา ๑๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘๒] มาตรา ๑๑๐/๑ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘๓] มาตรา ๑๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘๔] มาตรา ๑๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘๕] มาตรา ๑๑๓/๑ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘๖] มาตรา ๑๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘๗] มาตรา ๑๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘๘] มาตรา ๑๑๕/๑ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘๙] มาตรา ๑๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙๐] มาตรา ๑๑๗ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙๑] มาตรา ๑๑๘ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙๒] มาตรา ๑๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙๓] มาตรา ๑๑๙/๑ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙๔] มาตรา ๑๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙๕] มาตรา ๑๒๑ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙๖] มาตรา ๑๒๒ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙๗] มาตรา ๑๒๓ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙๘] มาตรา ๑๒๔ ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙๙] มาตรา ๑๒๗/๑ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐๐] มาตรา ๑๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐๑] มาตรา ๑๓๓ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐๒] อัตราค่าธรรมเนียม (๑/๑) เพิ่มโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐๓] อัตราค่าธรรมเนียม (๔) ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐๔] อัตราค่าธรรมเนียม (๕) ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐๕] อัตราค่าธรรมเนียม (๖) ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐๖] อัตราค่าธรรมเนียม (๗) ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐๗] อัตราค่าธรรมเนียม (๑๑) ยกเลิกโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง/หน้า ๒๑/๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑๐๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๒๙/๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑
802507
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2561
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๑ และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๖๑ รวม ๒ ฉบับ ไปเพื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นั้น ในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๑ วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๑ ที่ประชุมได้พิจารณาและลงมติอนุมัติพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าวแล้ว จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๑๗๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิวรรธน์/จัดทำ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๓๑ ก/หน้า ๓๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
858038
พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชกำหนดนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ ซึ่งการตราพระราชกำหนดนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๖) และ (๗) ของมาตรา ๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๖) บุคคลซึ่งเข้ามาเป็นครั้งคราวเพื่อจัดหรือร่วมประชุม แสดงความคิดเห็น บรรยาย หรือสาธิตในการประชุม การอบรม ดูงาน หรือสัมมนา หรือการแสดงศิลปะ วัฒนธรรม หรือการแข่งขันกีฬา หรือกิจกรรมอื่นใด ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ในการกำหนดดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจะกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ (๗) บุคคลซึ่งเข้ามาเพื่อประกอบการหรือลงทุนหรือเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถหรือทักษะสูง อันจะยังประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๘) ของมาตรา ๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “(๘) ผู้แทนของนิติบุคคลต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “การนำคนต่างด้าวมาทำงาน” และคำว่า “ทำงาน” ในมาตรา ๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““การนำคนต่างด้าวมาทำงาน” หมายความว่า การดำเนินการใด ๆ เพื่อนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน “ทำงาน” หมายความว่า การประกอบอาชีพใด ๆ ไม่ว่าจะมีนายจ้างหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงการประกอบธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน” และคำว่า “ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน” ในมาตรา ๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน” หมายความว่า ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศซึ่งได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน” มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕/๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “มาตรา ๕/๑ การใดที่พระราชกำหนดนี้บัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือตามที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีกำหนด การออกกฎกระทรวงหรือการกำหนดนั้นต้องไม่มีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระแก่ประชาชนเกินสมควร และต้องกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทุกขั้นตอน ในกรณีที่พระราชกำหนดนี้บัญญัติให้ผู้ใดมีหน้าที่ต้องแจ้งให้อธิบดี นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ให้อธิบดีกำหนดวิธีการแจ้งให้ผู้แจ้งสามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและรวดเร็ว โดยอาจทำเป็นหนังสือ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด ที่ประชาชนสามารถดำเนินการได้โดยไม่เกิดภาระเกินสมควร และต้องกำหนดระยะเวลาที่อธิบดี นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องตอบรับการแจ้งนั้นไว้ด้วย” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ มาตรา ๘ และมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดให้งานใดเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำก็ได้ โดยจะห้ามเด็ดขาดหรือห้ามโดยมีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ การกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความมั่นคงของชาติ โอกาสในการประกอบอาชีพและวิชาชีพของคนไทย การส่งเสริมภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ รวมตลอดทั้งความผูกพันหรือพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ในลักษณะถ้อยทีถ้อยปฏิบัติประกอบด้วย มาตรา ๘ ห้ามคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๙ ห้ามผู้ใดรับคนต่างด้าวทำงานโดยที่คนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้” มาตรา ๙ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๐ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการรักษาโอกาสในการประกอบอาชีพและวิชาชีพของคนไทย ให้กรมการจัดหางานประกาศรับคนหางานที่มีสัญชาติไทยและขึ้นทะเบียนผู้สมัครไว้ และให้เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและเป็นประจำทุกวัน ผู้ใดประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวเพื่อทำงานประเภทที่มีคนหางานที่มีสัญชาติไทยขึ้นทะเบียนเพื่อทำงานในประเภทและท้องที่เดียวกันไว้กับกรมการจัดหางาน ถ้าจำนวนคนทำงานดังกล่าวมีตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ให้จ้างคนต่างด้าวได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบ ทั้งนี้ เว้นแต่จะชำระค่าธรรมเนียมพิเศษ อัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยจะกำหนดเป็นค่าธรรมเนียมต่อจำนวนคนต่างด้าวที่มิได้เป็นไปตามที่กำหนดตามวรรคสองก็ได้ การนับจำนวนคนต่างด้าวตามวรรคสอง ไม่รวมถึงคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมาตรา ๖๓/๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสอง ต้องเสียเงินเพิ่มอีกหนึ่งเท่าของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ ความในมาตรานี้จะใช้บังคับแก่งานใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา” มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๓ ผู้ใดจ้างคนต่างด้าวทำงาน ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบชื่อและสัญชาติของคนต่างด้าวและลักษณะงานที่ให้ทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่จ้างและเมื่อคนต่างด้าวนั้นออกจากงานให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวออกจากงาน พร้อมทั้งระบุเหตุแห่งการออกจากงานของคนต่างด้าวนั้นด้วย ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๑๔ ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคง หรือเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใด ๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ในกรณีใด ๆ ก็ได้” มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกมาตรา ๒๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การหักหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การเรียกหลักประกันเพิ่ม การวางหลักประกันเพิ่ม และการรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง” มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกมาตรา ๒๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๐ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๐ ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๒๖ ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน แต่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นรายปีตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้อย่างน้อยปีละครั้ง ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และเมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากอธิบดี การขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ อธิบดีต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี ภายในหกสิบวันนับแต่วันเริ่มต้นระยะเวลาของปีที่สองของอายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานนั้นและของปีต่อไป โดยจะชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และเมื่อชำระค่าธรรมเนียมรายปีแล้ว ให้แจ้งนายทะเบียนทราบพร้อมสำเนาหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมรายปีนั้น ถ้าผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ชำระค่าธรรมเนียมรายปีภายในกำหนดเวลาตามวรรคห้า อธิบดีจะสั่งให้พักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๘๖ ก็ได้” มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๓ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานที่ประสงค์จะย้ายสำนักงานหรือตั้งสำนักงานชั่วคราวที่มิใช่สถานที่ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้แจ้งต่อนายทะเบียนล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน มาตรา ๓๔ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานที่ประสงค์จะเปลี่ยนผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ให้แจ้งต่อนายทะเบียนล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน มาตรา ๓๕ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องแจ้งจำนวนและรายชื่อลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานต่อนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด ผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องมีบัตรประจำตัว พร้อมสำเนาใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน และสามารถแสดงความมีอยู่ของบัตรประจำตัวและใบอนุญาตดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เสมอ บัตรประจำตัวต้องทำตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด” มาตรา ๑๙ ให้ยกเลิกมาตรา ๓๖ และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ภายใต้บังคับมาตรา ๕๕ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงาน และไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานยื่นคำขอรับหลักประกันคืนต่ออธิบดี เมื่ออธิบดีตรวจสอบแล้วพบว่าผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ให้แจ้งแก่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเป็นหนังสือเพื่อมารับหลักประกันคืน” มาตรา ๒๑ ให้ยกเลิกมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๑ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานจะนำคนต่างด้าวมาทำงานได้เฉพาะเมื่อมีสัญญานำคนต่างด้าวมาทำงานกับผู้ที่จะเป็นนายจ้างของคนต่างด้าว พร้อมทั้งรายชื่อ สัญชาติ และเลขที่หนังสือเดินทางของคนต่างด้าว และนายจ้างดังกล่าวต้องไม่เป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรง และจะนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานได้เฉพาะตามจำนวนและตามรายชื่อดังกล่าว สัญญานำคนต่างด้าวมาทำงานตามวรรคหนึ่งต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่อธิบดีกำหนด เมื่อจะนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานส่งสำเนาสัญญากับผู้ที่จะเป็นนายจ้างของคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียน และในกรณีจำเป็นจะขอให้นายทะเบียนรับรองสัญญาและความมีอยู่จริงของนายจ้างและงานของนายจ้างให้ก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นเมื่อนายทะเบียนได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องให้ออกหนังสือรับรองให้ และเมื่อได้รับรายชื่อและเลขที่หนังสือเดินทางของคนต่างด้าวที่จะมาทำงานแล้ว ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนทราบและให้นายทะเบียนแจ้งให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เมื่อได้แจ้งข้อมูลให้นายทะเบียนตามวรรคสามแล้ว ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานจะยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวที่จะเข้ามาตามที่แจ้งไว้ตามวรรคสามก็ได้ มาตรา ๔๒ ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงาน เรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากนายจ้างหรือคนต่างด้าว เว้นแต่ค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากนายจ้างตามรายการและอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๔๓ เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้นำคนต่างด้าวส่งมอบให้นายจ้างแล้ว ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งมอบคนต่างด้าวให้นายจ้าง ทั้งนี้ ตามรายการที่อธิบดีประกาศกำหนด” มาตรา ๒๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๖ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๖ นายจ้างซึ่งมิใช่ผู้ประกอบกิจการรับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรงผู้ใดประสงค์จะนำคนต่างด้าวจากต่างประเทศมาทำงานในประเทศตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบจำนวนประเทศที่คนต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ งานที่ประสงค์จะให้คนต่างด้าวมาทำ และรายการอื่นตามที่อธิบดีกำหนด ในกรณีที่ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา ๑๑ ให้นายจ้างดำเนินการต่อไปเมื่อได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ในกรณีที่ไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมหรือได้ชำระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายจ้างดำเนินการเพื่อให้ทราบชื่อและเลขที่หนังสือเดินทางของคนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้ามาทำงาน และแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบ และให้นายทะเบียนแจ้งให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ในการนี้ อธิบดีจะกำหนดให้นายจ้างที่นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานประเภทที่กำหนดวางหลักประกันเพื่อประกันการปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชกำหนดนี้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ การวางหลักประกัน อัตราของหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การหักหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การเรียกหลักประกันเพิ่ม การวางหลักประกันเพิ่ม และการรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ก่อนคนต่างด้าวเข้าทำงานกับนายจ้าง ให้นายจ้างจัดทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ โดยมีรายการอย่างน้อยตามที่อธิบดีกำหนด และเก็บสัญญาจ้างงานไว้ ณ ที่ทำการของนายจ้างเพื่อให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ และสำเนาสัญญาจ้างดังกล่าวเพื่อให้ลูกจ้างเก็บรักษาไว้ ทั้งนี้ เมื่อคนต่างด้าวออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ออกจากงาน พร้อมทั้งระบุเหตุแห่งการออกจากงานของคนต่างด้าวนั้นด้วย ความในมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่นายจ้างซึ่งมิใช่ผู้ประกอบกิจการรับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรงที่ประสงค์จะนำคนต่างด้าวจากประเทศอื่นที่ประเทศไทยมิได้มีความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง” มาตรา ๒๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๙ นายจ้างซึ่งเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศจะเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานจากคนต่างด้าวไม่ได้ เว้นแต่เป็นค่าใช้จ่ายที่อยู่ในความรับผิดชอบของคนต่างด้าวที่นายจ้างได้ออกให้ไปก่อน ได้แก่ ค่าหนังสือเดินทาง ค่าตรวจสุขภาพ ค่าใบอนุญาตทำงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นทำนองเดียวกันตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ให้นายจ้างหักได้จากค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยให้นายจ้างหักจากเงินที่คนต่างด้าวมีสิทธิได้รับตามอัตราที่จ่ายจริงได้ แต่จะหักได้ไม่เกินร้อยละสิบของเงินที่คนต่างด้าวมีสิทธิได้รับในแต่ละเดือน ในกรณีที่มิได้มีข้อตกลงว่านายจ้างจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ลูกจ้าง และนายจ้างได้ออกค่าเดินทางให้ก่อน ให้นายจ้างหักจากเงินที่คนต่างด้าวมีสิทธิได้รับตามวรรคหนึ่งได้” มาตรา ๒๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๐ เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้นำคนต่างด้าวมาส่งมอบให้นายจ้างตามมาตรา ๔๓ แล้ว ในกรณีที่มีเหตุดังต่อไปนี้ ให้นายจ้างแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานและนายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว แล้วแต่กรณี (๑) นายจ้างไม่รับคนต่างด้าวนั้นเข้าทำงาน (๒) คนต่างด้าวไม่ยินยอมทำงานกับนายจ้าง (๓) คนต่างด้าวออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด ในกรณีที่มีเหตุตาม (๑) หรือ (๓) เฉพาะที่มิใช่ความผิดของลูกจ้าง และคนต่างด้าวนั้นประสงค์จะทำงานกับนายจ้างรายอื่น ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานอาจจัดให้คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างรายอื่นได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างไม่รับเข้าทำงาน แต่ระยะเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ต้องไม่เกินกำหนดระยะเวลาตามสัญญานำคนต่างด้าวมาทำงาน ในกรณีตาม (๒) เฉพาะที่เป็นความผิดของนายจ้าง ให้นำมาตรา ๕๑ และมาตรา ๕๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานดำเนินการตามวรรคสองหรือวรรคสามเป็นประการใด ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่อธิบดีกำหนด ในกรณีที่มีเหตุตาม (๑) หรือ (๒) และคนต่างด้าวนั้นไม่ได้ทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายในกำหนดเวลา ให้ถือว่าการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุดลงตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่พ้นกำหนดเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ และส่งหลักฐานการออกนอกราชอาณาจักรของคนต่างด้าวดังกล่าวให้นายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันส่งคนต่างด้าวนั้นกลับ ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการดังกล่าวได้ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสามวันนับแต่พ้นกำหนดเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ และให้นายทะเบียนแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการเพื่อให้มีการส่งคนต่างด้าวนั้นออกนอกราชอาณาจักรโดยเร็ว ในกรณีเช่นนั้นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่เกินอัตราที่อธิบดีกำหนด ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ส่งหลักฐานการออกนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดเวลาตามวรรคห้า ให้ชำระค่าปรับทางปกครองต่อนายทะเบียนวันละหนึ่งพันบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง แต่ไม่เกินสองหมื่นบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๕๑ คนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างตามมาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๖ ถ้าออกจากงานก่อนครบสัญญาจ้าง จะทำงานกับนายจ้างอื่นใดมิได้ เว้นแต่จะพิสูจน์ให้นายทะเบียนเห็นว่าการที่ตนออกจากงานเป็นเพราะความผิดของนายจ้าง หรือได้ชำระค่าเสียหายให้นายจ้างเดิมแล้ว ในกรณีเช่นนั้น ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตทำงานให้ใหม่หรือสลักหลังใบอนุญาตทำงานเพื่อแสดงถึงสิทธิในการเปลี่ยนนายจ้าง ค่าเสียหายตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายทั้งปวงในการนำคนต่างด้าวนั้นมาทำงานคำนวณตามสัดส่วนของระยะเวลาที่คนต่างด้าวนั้นทำงานไปแล้ว ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้รับการต่ออายุสัญญาจ้าง และออกจากงานในระหว่างอายุสัญญาจ้างที่ต่อใหม่ มาตรา ๕๒ คนต่างด้าวซึ่งมีสิทธิเปลี่ยนนายจ้างตามมาตรา ๕๑ ต้องทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม และในกรณีที่คนต่างด้าวนั้นทำงานประเภทที่นายจ้างต้องวางหลักประกันตามมาตรา ๔๖ นายจ้างรายใหม่ต้องวางหลักประกันต่ออธิบดีตามมาตรา ๔๖ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่จ้างคนต่างด้าวนั้น มาตรา ๕๓ คนต่างด้าวซึ่งไม่มีสิทธิเปลี่ยนนายจ้างตามมาตรา ๕๑ หรือคนต่างด้าวซึ่งมีสิทธิเปลี่ยนนายจ้างแต่ไม่ได้ทำงานกับนายจ้างรายอื่นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๒ ให้ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่คนต่างด้าวนั้นออกจากงาน หรือพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๒ แล้วแต่กรณี และให้ถือว่าการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุดลงตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างรายสุดท้ายที่วางหลักประกันตามมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๒ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งกลับไปยังประเทศต้นทาง แล้วแต่กรณี” มาตรา ๒๖ ให้ยกเลิกมาตรา ๕๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ และมาตรา ๕๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๕ เมื่อคนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างตามมาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๖ ทำงานจนครบกำหนดตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศหรือสัญญาจ้างแล้ว ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างรายสุดท้ายที่วางหลักประกันตามมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๒ จัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง เว้นแต่จะมีการต่ออายุสัญญาจ้างหรือคนต่างด้าวนั้นจะทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๒ ให้นำความในมาตรา ๕๐ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับแก่การจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้นายทะเบียนคืนหลักประกันให้แก่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน เมื่อผู้รับอนุญาตดังกล่าวแสดงหลักฐานว่าได้ส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางแล้วซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสองปีนับแต่วันที่เลิกประกอบธุรกิจ เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานยังไม่สามารถแสดงหลักฐานการส่งคนต่างด้าวกลับต่อนายทะเบียนได้ ให้หลักประกันนั้นตกเป็นของกองทุนเพื่อใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักรต่อไป ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานแสดงหลักฐานการส่งคนต่างด้าวกลับได้เพียงบางส่วนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้อธิบดีคืนหลักประกันให้ตามอัตราส่วนและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕๖ คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามความในหมวดนี้ และต้องถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายอื่น ให้หน่วยงานที่ดำเนินการส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดการให้คนต่างด้าวเดินทางกลับจากผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างที่วางหลักประกันได้ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างมิได้ชดใช้เงินคืนภายในเวลาที่หน่วยงานตามวรรคหนึ่งกำหนด ให้อธิบดีหักเงินจำนวนดังกล่าวจากหลักประกันที่วางไว้เพื่อคืนให้แก่หน่วยงานที่ดำเนินการส่งคนต่างด้าวดังกล่าวกลับไปยังประเทศต้นทาง มาตรา ๕๗ คนต่างด้าวซึ่งได้รับความเสียหายจากการที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๐ อาจเข้ามอบตัวต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อขอให้จัดส่งคนต่างด้าวกลับประเทศ และให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับประเทศโดยเร็ว และให้นำความในมาตรา ๕๘ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างรายสุดท้ายที่วางหลักประกันตามมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๒ ไม่ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับประเทศต้นทางตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบเห็นคนต่างด้าวดังกล่าว ให้ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง ในการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้จ่ายจากเงินกองทุนไปก่อน และมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างตามวรรคหนึ่งมาชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดการให้คนต่างด้าวเดินทางกลับและค่าใช้จ่ายอื่นตามความจำเป็นภายในเวลาที่กำหนด ถ้าบุคคลดังกล่าวมิได้นำเงินมาชำระคืนภายในกำหนดเวลา ให้อธิบดีหักเงินจำนวนดังกล่าวจากหลักประกันที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างดังกล่าวได้วางไว้ แล้วแต่กรณี เมื่อได้ดำเนินการหักหลักประกันตามวรรคสองแล้ว ให้อธิบดีแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างทราบโดยไม่ชักช้า” มาตรา ๒๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ และมาตรา ๖๓ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๙ คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองซึ่งมิใช่เพื่อการท่องเที่ยวหรือการเดินทางผ่านราชอาณาจักร จะทำงานได้ก็แต่เฉพาะงานที่มิได้มีประกาศห้ามคนต่างด้าวทำตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง และต้องได้รับใบอนุญาตทำงาน ภายใต้บังคับมาตรา ๖๐ คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะขอรับใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อนายทะเบียน และในกรณีที่มีนายจ้างแล้วให้ระบุชื่อนายจ้างด้วย การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยจะกำหนดให้ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และใบอนุญาตทำงานให้มีอายุเท่าที่ผู้ขออนุญาตร้องขอ แต่ไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตทำงาน ในกฎกระทรวงตามวรรคสามต้องกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาตจนถึงวันที่ออกใบอนุญาตทำงานไว้ด้วยซึ่งต้องไม่เกินสิบห้าวันทำการ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตทำงานให้ได้ภายในกำหนดเวลา ให้รัฐมนตรีหรืออธิบดีดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามควรแก่กรณี ในกรณีที่การไม่ออกใบอนุญาตทำงานนั้นเป็นไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย และให้มีการดำเนินการทางวินัยต่อไป ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย ผู้รับอนุญาตให้ทำงานตามวรรคหนึ่งมีสิทธิทำงานที่มิได้มีประกาศห้ามคนต่างด้าวทำตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่งได้ทุกชนิด มาตรา ๖๐ คนต่างด้าวซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักรผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำงานในราชอาณาจักร อาจยื่นคำขออนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ นายจ้างผู้ใดประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในกิจการของตนในราชอาณาจักร จะยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวต่อนายทะเบียน พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมแทนคนต่างด้าวก็ได้ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตทำงานและค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๑ คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันมีลักษณะจำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเป็นงานเฉพาะกิจ ที่มีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวัน จะทำงานนั้นได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบ งานอันมีลักษณะจำเป็นหรือเร่งด่วนหรืองานเฉพาะกิจตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด คนต่างด้าวที่ทำงานตามวรรคหนึ่ง หากไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดดังกล่าว อาจขอขยายเวลาได้ไม่เกินสิบห้าวันโดยแจ้งให้นายทะเบียนทราบก่อนครบกำหนดดังกล่าว การแจ้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม และการออกหนังสือรับแจ้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๒ เมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม หรือกฎหมายอื่น ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายดังกล่าวแจ้งต่อนายทะเบียนโดยไม่ชักช้า ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตทำงานให้แก่คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และในระหว่างที่ดำเนินการ ให้คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งทำงานไปพลางก่อนได้ โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๖๘ การออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศตามมาตรา ๗ และใบอนุญาตทำงาน ให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตามกฎหมายนั้น ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้ทำงานได้รับการขยายระยะเวลาทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายดังกล่าวแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานนั้นต่อนายทะเบียนโดยเร็วตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้นายทะเบียนจดแจ้งการขยายระยะเวลานั้นลงในใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๖๓ คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ อาจขออนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อทำงานตามประเภทที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ โดยคำนึงถึงความมั่นคงของชาติ ผลกระทบต่อสังคม และมนุษยธรรม (๑) ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศและได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใดแทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ (๒) เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง แต่ได้รับอนุญาตให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง อันมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา ๖๓/๒ การขออนุญาตทำงานและการออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และใบอนุญาตทำงานให้มีอายุเท่ากับระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตทำงาน และให้ต่ออายุใบอนุญาตทำงานได้เท่าที่จำเป็นแต่ไม่เกินครั้งละหนึ่งปี เมื่อนายทะเบียนออกใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าวผู้ใดแล้ว ให้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองทราบ ภายในสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงผลการเนรเทศหรือการส่งกลับ ในกรณีที่นายทะเบียนได้รับแจ้งว่ายังมิได้เนรเทศหรือส่งตัวกลับ หรือไม่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้นายทะเบียนมีอำนาจต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่งตามที่ได้รับการร้องขอจากคนต่างด้าวได้และเมื่อได้ต่ออายุใบอนุญาตทำงานแล้ว ให้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองทราบ” มาตรา ๒๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๓/๑ และมาตรา ๖๓/๒ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “มาตรา ๖๓/๑ คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ อาจขออนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อทำงานได้ (๑) ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ หรือตามกฎหมายอื่น (๒) เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ หรือตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ (๓) คนต่างด้าวซึ่งได้รับสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๔) คนต่างด้าวซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนและได้รับบัตรประจำตัวตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศตามมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แต่คณะรัฐมนตรีจะกำหนดมิให้ทำงานบางประเภทหรือทำโดยมีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ โดยให้คำนึงถึงความมั่นคงของชาติ ผลกระทบต่อสังคม และมนุษยธรรม การขออนุญาตทำงานและการออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และใบอนุญาตทำงานให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตทำงาน และให้ต่ออายุใบอนุญาตทำงานได้คราวละห้าปี ทั้งนี้ บุคคลตาม (๑) (๓) และ(๔) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานหรือค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน สำหรับบุคคลตาม (๒) จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมหรือไม่เพียงใด ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ มาตรา ๖๓/๒ ในกรณีที่รัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใดหรือจำพวกใดเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรได้ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือยกเว้นให้คนต่างด้าวผู้ใดหรือจำพวกใดไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง คณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้คนต่างด้าวผู้นั้นหรือจำพวกนั้นบรรดาที่มิใช่คนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓/๑ ขออนุญาตทำงานได้ โดยคณะรัฐมนตรีจะกำหนดประเภทของงานที่คนต่างด้าวอาจทำได้ไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การขออนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และกฎกระทรวงนั้นจะกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตทำงานด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ใบอนุญาตทำงานให้มีอายุเท่าที่ผู้ขออนุญาตร้องขอ แต่ไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตทำงาน” มาตรา ๓๐ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๖๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖๔ คนต่างด้าวซึ่งเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ถ้าได้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีบัตรผ่านแดนหรือบัตรอื่นใดทำนองเดียวกันที่อธิบดีกำหนด อาจได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ทำงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาลและในท้องที่ที่กำหนดได้” มาตรา ๓๑ ให้ยกเลิกวรรคสี่ของมาตรา ๖๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๓๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๔/๑ และมาตรา ๖๔/๒ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “มาตรา ๖๔/๑ คนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงานต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่เคยได้รับโทษตามมาตรา ๑๐๑ เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตทำงาน หรือเป็นคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓ ที่นายทะเบียนอนุญาตให้ทำงานได้เป็นกรณีพิเศษ ในกรณีที่การออกใบอนุญาตทำงานจำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพของคนต่างด้าวก่อน ให้คนต่างด้าวหรือนายจ้างของคนต่างด้าวนั้นนำคนต่างด้าวไปตรวจสุขภาพ ณ สถานพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓/๑ มาตรา ๖๔/๒ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานมีหน้าที่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงผู้เป็นนายจ้าง สถานที่ทำงานของนายจ้าง และลักษณะงานหลักที่ทำ ทั้งนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เข้าทำงาน และต้องแจ้งทุกครั้งที่เปลี่ยนนายจ้าง” มาตรา ๓๓ ให้ยกเลิกมาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๓๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๖๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ภายใต้บังคับมาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๓/๑ การต่ออายุใบอนุญาตทำงานให้ต่อให้ตามระยะเวลาที่ผู้ขออนุญาตร้องขอแต่ไม่เกินครั้งละสองปี โดยให้กระทำเพียงเท่าที่จำเป็น” มาตรา ๓๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖๘ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานต้องสามารถแสดงใบอนุญาตทำงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียนภายในระยะเวลาอันสมควรได้เสมอ” มาตรา ๓๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๖๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานและการออกใบแทนใบอนุญาตทำงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด” มาตรา ๓๗ ให้ยกเลิกมาตรา ๗๐ มาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๓๘ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) เงินเพิ่มตามมาตรา ๑๑ วรรคห้า และมาตรา ๔๗ วรรคสอง และค่าปรับทางปกครองที่ปรับตามพระราชกำหนดนี้” มาตรา ๓๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๒ และมาตรา ๙๓ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๙๒ ในกรณีที่อธิบดีไม่อนุญาตตามมาตรา ๒๖ ไม่ต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๓๐ หรือได้หักหลักประกันหรือเรียกหลักประกันเพิ่มตามพระราชกำหนดนี้ ผู้ขออนุญาต หรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๓ ในกรณีที่อธิบดีได้หักหลักประกันหรือเรียกหลักประกันเพิ่มตามพระราชกำหนดนี้ นายจ้างมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด” มาตรา ๔๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๙๕ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาตตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๓/๑ มาตรา ๖๓/๒ หรือมาตรา ๖๔ หรือไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ หรือเพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ คนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงาน ผู้ซึ่งขออนุญาตแทนคนต่างด้าว หรือผู้รับอนุญาตให้ทำงาน แล้วแต่กรณี มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด” มาตรา ๔๑ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๙๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) เข้าไปในสถานประกอบการซึ่งรับคนต่างด้าวเข้าทำงานในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบให้การเป็นไปตามพระราชกำหนดนี้” มาตรา ๔๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของมาตรา ๙๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “การใช้อำนาจตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ต้องไม่ทำในลักษณะที่ทำให้คนต่างด้าวต้องหยุดทำงานเกินสมควรแก่เหตุ หรือทำให้การประกอบการของนายจ้างต้องสะดุดหยุดลงหรือทำในเวลากลางคืนโดยไม่จำเป็น” มาตรา ๔๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบคนต่างด้าวผู้ใดทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ และพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้คนต่างด้าวไปรายงานตัวยังสถานีตำรวจพร้อมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่คนต่างด้าวผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือจะหลบหนี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับคนต่างด้าวนั้นโดยไม่ต้องมีหมายจับ และให้นำตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยทันที” มาตรา ๔๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๐๐/๑ ของหมวด ๘ บทกำหนดโทษ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “มาตรา ๑๐๐/๑ อธิบดี นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดไม่ตอบรับการแจ้งภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๕/๑ วรรคสอง โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท” มาตรา ๔๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ และมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๐๑ คนต่างด้าวผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท และเมื่อได้ชำระค่าปรับแล้ว ให้ส่งคนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเร็ว เว้นแต่เป็นคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓ หรือมาตรา ๖๓/๑ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เสียหายหรือพยานในคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในกรณีที่คนต่างด้าวซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ยินยอมเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการร่วมกำหนดแล้วแจ้งให้กรมการจัดหางานทราบ และเมื่อได้ดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้น เดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คณะกรรมการร่วมตามวรรคสาม ประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการ และผู้แทนกรมการจัดหางานเป็นกรรมการและเลขานุการ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปรียบเทียบปรับที่คณะกรรมการร่วมกำหนดตามวรรคสาม ให้คำนึงถึงสภาพความร้ายแรงของการกระทำความผิด การกระทำความผิดซ้ำ และการป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดกระทำความผิดซ้ำอีก และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๐๒ ผู้ใดเป็นผู้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยฝ่าฝืนมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งกระทำผิดซ้ำอีก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนบาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามผู้นั้นจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลาสามปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ มิให้ถือว่าผู้ซึ่งอยู่อาศัยในครอบครัวเดียวกันกับผู้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานตามวรรคหนึ่งมีความผิดในฐานะตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน มาตรา ๑๐๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท” มาตรา ๔๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๖ และมาตรา ๑๐๗ แห่งพระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๐๖ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐๗ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๑ วรรคสอง มาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท” มาตรา ๔๗ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๙ และมาตรา ๑๑๐ แห่งพระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๐๙ ผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลหรือลูกจ้างตามมาตรา ๓๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๑๐ ผู้ใดมิได้เป็นลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๓๕ แต่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” มาตรา ๔๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑๐/๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “มาตรา ๑๑๐/๑ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดนำคนต่างด้าวไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างที่รับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรง หรือนำคนต่างด้าวไปทำงานโดยตนเป็นผู้รับเหมาแรงงาน หรือรับเหมาค่าแรง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างโดยไม่แจ้งนายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” มาตรา ๕๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๑๑ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีและปรับสองเท่าของเงิน หรือมูลค่าทรัพย์สินอย่างอื่นที่เรียกหรือรับไว้จากนายจ้างหรือคนต่างด้าวหรือค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเกินกว่าอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้ศาลสั่งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือลูกจ้างดังกล่าวซึ่งกระทำความผิดคืนเงินหรือทรัพย์สินที่เรียกเก็บโดยไม่ชอบให้แก่นายจ้างหรือคนต่างด้าว แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่คืนเงินหรือทรัพย์สินตามคำสั่งศาลภายในสามสิบวัน เมื่อนายจ้างหรือคนต่างด้าวนั้นร้องขอ ให้อธิบดีหักหลักประกันของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้นั้นเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของศาลก็ได้” มาตรา ๕๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๓ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๑๓ นายจ้างผู้ใดนำคนต่างด้าวจากต่างประเทศมาทำงานกับตนในประเทศโดยตนเป็นผู้รับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท นายจ้างตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งผู้ใดนำคนต่างด้าวจากต่างประเทศมาทำงานกับตนในประเทศโดยไม่แจ้งตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท นายจ้างผู้ใดไม่อาจแสดงสัญญาจ้างงานเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบตามมาตรา ๔๖ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท” มาตรา ๕๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑๓/๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “มาตรา ๑๑๓/๑ นายจ้างผู้ใดไม่แจ้งต่อนายทะเบียนหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเมื่อคนต่างด้าวออกจากงานตามมาตรา ๔๖ วรรคสาม หรือเมื่อมีเหตุตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท” มาตรา ๕๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๔ และมาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๑๔ นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนและปรับสองเท่าของเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่เรียกหรือรับไว้จากคนต่างด้าวหรือหักไว้เกินกว่าอัตราที่กำหนด และให้ศาลสั่งให้นายจ้างนั้นคืนเงินหรือทรัพย์สินที่เรียกเก็บโดยไม่ชอบให้แก่คนต่างด้าว ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนเงินหรือทรัพย์สินตามคำสั่งศาลภายในสามสิบวัน เมื่อคนต่างด้าวนั้นร้องขอ ให้อธิบดีหักหลักประกันของนายจ้างผู้นั้นเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของศาลก็ได้ มาตรา ๑๑๕ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท” มาตรา ๕๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑๕/๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “มาตรา ๑๑๕/๑ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดละเลยไม่ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๕๐ วรรคห้า หรือมาตรา ๕๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน” มาตรา ๕๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๑๖ นายจ้างผู้ใดละเลยไม่ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๕๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน” มาตรา ๕๖ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๑๗ และมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๕๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๑๙ คนต่างด้าวผู้ใดทำงานโดยไม่แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท” มาตรา ๕๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑๙/๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “มาตรา ๑๑๙/๑ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๔/๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท” มาตรา ๕๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒๐ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๒๐ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท” มาตรา ๖๐ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๒๑ มาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ และมาตรา ๑๒๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๖๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒๗/๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “มาตรา ๑๒๗/๑ นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๘ วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท” มาตรา ๖๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๓๑ ผู้ใดยึดใบอนุญาตทำงานหรือเอกสารสำคัญประจำตัวของคนต่างด้าวไว้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่คนต่างด้าวยินยอมให้ผู้ใดเก็บรักษาใบอนุญาตทำงานหรือเอกสารตามวรรคหนึ่งไว้ ผู้นั้นต้องยินยอมและอำนวยความสะดวกให้คนต่างด้าวสามารถเข้าถึงเอกสารดังกล่าวได้ตลอดเวลาตามที่คนต่างด้าวร้องขอ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษเช่นเดียวกับการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง” มาตรา ๖๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๓๓ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๓๓ บรรดาความผิดตามพระราชกำหนดนี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว นอกจากความผิดตามมาตรา ๑๐๑ ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดีสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร (๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดนั้น” มาตรา ๖๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑/๑) ของอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “(๑/๑) ค่าธรรมเนียมรายปีตามมาตรา ๓๐ ครั้งละ ๑๐,๐๐๐ บาท” มาตรา ๖๕ ให้ยกเลิก (๔) (๕) (๖) และ (๗) ของอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๖๖ ให้ยกเลิก (๑๑) ของอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๖๗ ผู้ใดจ้างคนต่างด้าวทำงานอยู่ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับโดยคนต่างด้าวนั้นมีใบอนุญาตทำงานโดยชอบ ให้แจ้งข้อมูลตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้นายทะเบียนทราบ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ โดยให้อธิบดีกำหนดวิธีการแจ้งที่สามารถแจ้งทางอิเล็กทรอนิกส์หรือทางอื่นใดที่เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นายจ้าง ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด ให้คนต่างด้าวที่นายจ้างได้ยื่นคำขอจ้างคนต่างด้าวทำงานและได้รับหนังสือรับรองการเดินทางไปตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร หรือหนังสือรับรองการเดินทางไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงานและการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ไว้แล้ว ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานกับนายจ้างเดิมต่อไปได้จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตทำงานให้ ในกรณีจำเป็น รัฐมนตรีจะกำหนดระยะเวลาที่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการตรวจสัญชาติหรือการดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นในการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานต้องทำให้แล้วเสร็จก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ยังทำไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้รัฐมนตรีดำเนินการทางวินัยแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่โดยพลัน มาตรา ๖๘ บรรดาประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๗ และการกำหนดของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา ๖๓ หรือมาตรา ๖๓/๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ที่ออกภายหลังวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ มิให้มีผลกระทบต่อคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานใดอยู่แล้วในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และให้คนต่างด้าวดังกล่าวทำงานนั้นได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตทำงานจะสิ้นอายุ และหากประสงค์จะขออนุญาตทำงานต่อไป ให้ดำเนินการตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๖๙ บรรดาคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓/๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน ให้ทำงานได้จนกว่าจะมีกฎกระทรวงตามมาตรา ๖๓/๑ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และเมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ให้คนต่างด้าวนั้นยื่นคำขออนุญาตทำงานภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ และเมื่อได้ยื่นคำขออนุญาตทำงานแล้ว ให้ทำงานได้ต่อไปจนกว่านายทะเบียนจะไม่ออกใบอนุญาตทำงานให้ ระยะเวลาหกสิบวันตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีจะประกาศขยายออกไปตามที่เห็นสมควรก็ได้ มาตรา ๗๐ มิให้นำมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง วรรคห้า และวรรคหก แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ มาใช้บังคับแก่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ อยู่ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานนั้นจะสิ้นอายุ มาตรา ๗๑ มิให้นำมาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ และมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้มาใช้บังคับ จนกว่าจะถึงวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน นายจ้าง และคนต่างด้าว มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลายประการ โดยมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้ระบบอนุญาตเกินความจำเป็นไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งยังกำหนดความผิดและบทกำหนดโทษในอัตรารุนแรงเช่นเดียวกับการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ แม้การใช้แรงงานต่างด้าวโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติตามพระราชกำหนดนี้จะมิได้กระทำโดยมีลักษณะเป็นการค้ามนุษย์ก็ตามทำให้เกิดความตื่นตระหนกและส่งผลกระทบต่อนายจ้างทั้งในภาคครัวเรือน ภาคเกษตรกรรม ภาคผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และภาคการค้าและอุตสาหกรรม จนกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดดังกล่าวโดยให้มีการใช้ระบบอนุญาตเพียงเท่าที่จำเป็นและกำหนดกระบวนการในการควบคุมและตรวจสอบการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน การทำงานของคนต่างด้าว การรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน ให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้ทั้งระบบ รวมทั้งปรับปรุงอัตราโทษให้มีความเหมาะสม นอกจากนี้ โดยที่การดำเนินการตามมาตรการชั่วคราวที่ผ่อนผันระยะเวลาการใช้บังคับบทกำหนดโทษเพื่อให้นายจ้างและคนต่างด้าวได้มีเวลาดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าว ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ ส่งผลให้สภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นอีกภายหลังระยะเวลาผ่อนผันสิ้นสุดลง จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจที่จะหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๒๙/๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑
800716
พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ณ วันที่ 04/07/2560)
พระราชกำหนด พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว และกฎหมายว่าด้วยการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย พระราชกำหนดนี้มีสาระสำคัญเป็นการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศและการทำงานของคนต่างด้าว และให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวซึ่งมีอำนาจกำหนดนโยบายและกำกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งพระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล เสรีภาพในเคหสถานของบุคคล เสรีภาพของบุคคลในการเขียน การพิมพ์ และการโฆษณา สิทธิในทรัพย์สินของบุคคล และเสรีภาพของบุคคลในการประกอบอาชีพ โดยมีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ (๒) พระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๔ พระราชกำหนดนี้ไม่ใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวเฉพาะในฐานะ ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลในคณะผู้แทนทางทูต (๒) บุคคลในคณะผู้แทนทางกงสุล (๓) ผู้แทนของประเทศสมาชิกและพนักงานขององค์การสหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษ (๔) คนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานประจำอยู่กับบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) (๕) บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจตามความตกลงที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ (๖) บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา วัฒนธรรม ศิลปะ การกีฬา หรือกิจการอื่น ทั้งนี้ ตามที่จะได้กำหนดโดยกฎกระทรวง (๗) บุคคลซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใด โดยจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ มาตรา ๕ ในพระราชกำหนดนี้ “การนำคนต่างด้าวมาทำงาน” หมายความว่า การดำเนินการใด ๆ เพื่อนำคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือตามนโยบายของรัฐบาลว่าด้วยการจ้างแรงงานมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยจะมีค่าบริการหรือค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม “ทำงาน” หมายความว่า การใช้กำลังกายหรือความรู้เพื่อประกอบอาชีพหรือประกอบการงานด้วยประสงค์ค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่เป็นงานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด “คนต่างด้าว” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย “นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และให้หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประสงค์จะนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศกับตนด้วย “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง “ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน” หมายความว่า ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน” หมายความว่า ผู้ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “ใบอนุญาตทำงาน” หมายความว่า ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว “ผู้รับอนุญาตให้ทำงาน” หมายความว่า คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน “ค่าบริการ” หมายความว่า เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ให้เป็นการตอบแทนการนำคนต่างด้าวมาทำงาน “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการนำคนต่างด้าวมาทำงาน “กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ “นายทะเบียน” หมายความว่า อธิบดีและพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของอธิบดี เพื่อออกใบอนุญาตทำงานและปฏิบัติการอื่นตามพระราชกำหนดนี้ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชกำหนดนี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น หรือออกประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดให้งานใดเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำในท้องที่ใด เมื่อใด โดยห้ามเด็ดขาดหรือห้ามโดยมีเงื่อนไขอย่างใด เพียงใดก็ได้ การออกประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความมั่นคงของชาติ โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ มาตรา ๘ ห้ามคนต่างด้าวทำงานที่กำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง หรือทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๙ ห้ามผู้ใดรับคนต่างด้าวทำงานที่กำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง หรือรับคนต่างด้าวทำงานโดยที่คนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๑๐ บทบัญญัติมาตรา ๗ ไม่ใช้บังคับแก่การทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๔ ในกรณีหนังสือสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณีกำหนดให้คนต่างด้าวทำงานตามที่กำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง ได้ คนต่างด้าวนั้นต้องได้รับอนุญาตทำงานตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของหนังสือสัญญานั้นด้วย มาตรา ๑๑ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดค่าธรรมเนียมเพื่อเรียกเก็บจากนายจ้างที่จ้างคนต่างด้าวทำงานตามประเภทงานที่กำหนดในราชอาณาจักรได้ ผู้ใดประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และชำระค่าธรรมเนียมก่อนทำสัญญาจ้าง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสอง ต้องเสียเงินเพิ่มอีกหนึ่งเท่าของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ มาตรา ๑๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖๔ วรรคสอง รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจประกาศกำหนดงานประเภทใดซึ่งต้องได้รับการจัดสรรจำนวนคนต่างด้าวเข้าทำงาน ในการนี้ รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดไว้ด้วยก็ได้ มาตรา ๑๓ เมื่อมีการประกาศตามมาตรา ๑๒ แล้ว หากบุคคลใดจะจ้างคนต่างด้าวทำงานตามมาตรา ๑๒ กับตน ให้ยื่นคำขออนุญาตจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงานต่ออธิบดีได้ การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๑๔ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้บุคคลดังต่อไปนี้ทำงานในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใด ๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ ในกรณีใด ๆ ก็ได้ (๑) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ (๒) คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในราชอาณาจักร มาตรา ๑๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและความปลอดภัยสาธารณะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจประกาศกำหนดเขตที่พักอาศัยสำหรับผู้รับอนุญาตให้ทำงาน เฉพาะจำพวกใดหรือท้องที่ใดก็ได้ มาตรา ๑๖ บรรดาคดีที่เกิดจากข้อพิพาทระหว่างผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับคนต่างด้าว ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้าง หรือนายจ้างกับคนต่างด้าว อันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ หรือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านแรงงาน ให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลแรงงาน หมวด ๒ คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ประธานสภาหอการค้าไทย และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้แทนองค์กรลูกจ้างซึ่งอธิบดีเสนอชื่อให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสองคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านแรงงาน ด้านอุตสาหกรรม ด้านกฎหมาย และด้านสิทธิมนุษยชน ด้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๑๘ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง (๖) ไม่เคยเป็นผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ มาตรา ๑๙ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี ในระหว่างที่กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าสองวาระไม่ได้ มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและกำกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยมีการกำหนดมาตรการและแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำงานของคนต่างด้าว รวมทั้งกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (๒) พิจารณาและเสนอให้มีการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาการทำงานของคนต่างด้าวให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ (๓) รายงานผลการดำเนินงานประจำปีต่อคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ (๔) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย นโยบายที่ได้จัดทำตาม (๑) ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยดำเนินการและกำกับการให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว มาตรา ๒๒ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ หมวด ๓ การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป มาตรา ๒๓ บทบัญญัติในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับแก่ (๑) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (๒) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล มาตรา ๒๔ การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศโดยผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้าง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๕ ห้ามผู้ใดโฆษณาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่เป็นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ส่วนที่ ๒ การประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ มาตรา ๒๖ ห้ามผู้ใดประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๒๗ ผู้ขออนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วตามที่อธิบดีประกาศกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท (๒) มีทุนเป็นของผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนทุนทั้งหมด และจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด เว้นแต่ในกรณีที่มีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณีระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของสนธิสัญญาหรือความผูกพันตามพันธกรณีนั้น (๓) มีสำนักงานอยู่ในที่ตั้งที่เป็นสัดส่วน เปิดเผย มีหลักแหล่งที่แน่นอน และไม่เป็นสถานที่ต้องห้ามตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (๔) ไม่เป็นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ตามพระราชกำหนดนี้ (๕) ไม่เป็นผู้รับอนุญาต ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (๖) ไม่เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดหางาน ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจัดหางาน หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล (๗) มีผู้จัดการซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) มีสัญชาติไทย (ข) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ (ค) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน หรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามพระราชกำหนดนี้ (ง) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับอนุญาต หรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (จ) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดหางาน หรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล (ฉ) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (ช) ไม่เป็นผู้มีหรือเคยมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (ซ) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเอาการกระทำโดยทุจริตเป็นองค์ประกอบ หรือในความผิดตามพระราชกำหนดนี้ กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มาตรา ๒๘ ผู้ขออนุญาตต้องวางหลักประกันตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่น้อยกว่าห้าล้านบาทไว้กับอธิบดี เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามพระราชกำหนดนี้ ก่อนที่อธิบดีจะอนุญาตแก่ผู้ขออนุญาต ในกรณีที่หลักประกันที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานวางไว้ตามวรรคหนึ่งลดลงเพราะได้จ่ายไปตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานวางหลักประกันเพิ่มจนครบจำนวนเงินที่กำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง การวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การหักหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การหักเงินจากหลักประกันชดใช้ให้แก่นายจ้างหรือคนต่างด้าวในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ การเรียกหลักประกันเพิ่ม การวางหลักประกันเพิ่มและการขอรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๙ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานประกอบธุรกิจตามที่อธิบดีประกาศกำหนด เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีตามมาตรา ๒๖ แล้ว มาตรา ๓๐ ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๒๖ ให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และเมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากอธิบดี การขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๑ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานในกรณีที่ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว การขอใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน และการออกใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๓๒ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องแสดงใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สำนักงานตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน มาตรา ๓๓ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานย้ายสำนักงานหรือตั้งสำนักงานชั่วคราวที่มิใช่สถานที่ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๓๔ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีเมื่อประสงค์จะเปลี่ยนผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๓๕ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องใช้ลูกจ้างซึ่งได้จดทะเบียนตามวรรคหนึ่งเท่านั้นทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องแสดงทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ณ สำนักงาน เพื่อให้นายจ้างหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบความเป็นลูกจ้างดังกล่าวได้ การกระทำที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศของลูกจ้างซึ่งผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้จดทะเบียนไว้ ให้ถือว่าเป็นการกระทำของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานด้วย มาตรา ๓๖ ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ (๗) และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานรายอื่นตามพระราชกำหนดนี้ (๒) เป็นตัวแทนจัดหางานหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล ในขณะเดียวกัน มาตรา ๓๗ การประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศเป็นอันสิ้นสุดลงในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานสิ้นอายุ (๒) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน (๓) ไม่ได้รับอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน (๔) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานยกเลิกวัตถุประสงค์ของบริษัทในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (๕) เมื่อมีการเลิกบริษัทที่เป็นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง และผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานมีความผูกพันตามสัญญากับนายจ้างอยู่ ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานที่ยังคงมีภาระหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้แจ้งต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า ในกรณีตาม (๔) และ (๕) ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานแจ้งต่ออธิบดี และส่งใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานคืนแก่อธิบดีโดยไม่ชักช้า มาตรา ๓๘ หลักประกันที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานวางไว้ตามมาตรา ๒๘ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตราบเท่าที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานยังมิได้เลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ หรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเลิกประกอบธุรกิจดังกล่าวแล้ว แต่ยังมีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ และไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานยื่นคำขอรับหลักประกันคืนต่ออธิบดี เมื่ออธิบดีตรวจสอบแล้วพบว่าผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ให้แจ้งแก่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเป็นหนังสือเพื่อมารับหลักประกันคืน ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานรับหลักประกันคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดี ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่รับหลักประกันคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้หลักประกันดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มาตรา ๓๙ ผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล หรือลูกจ้างซึ่งจดทะเบียนตามมาตรา ๓๕ ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง เมื่อออกไปปฏิบัติงานนอกสำนักงาน บัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกบัตร ผู้จัดการหรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ต้องยื่นคำขอรับใบแทนบัตรประจำตัวในกรณีที่บัตรประจำตัวสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว การขอมีบัตร การออกบัตรประจำตัว และการออกใบแทนบัตรประจำตัว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๔๐ ผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล หรือลูกจ้างซึ่งจดทะเบียนตามมาตรา ๓๕ ซึ่งพ้นจากความเป็นผู้จัดการหรือลูกจ้าง ต้องส่งคืนบัตรประจำตัวแก่อธิบดีหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พ้นจากความเป็นผู้จัดการหรือลูกจ้างดังกล่าว ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งได้รับบัตรประจำตัวคืนตามวรรคหนึ่งต้องส่งบัตรประจำตัวนั้นแก่อธิบดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับจากผู้จัดการหรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๔๑ ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องทำสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดตามที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๔๒ ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากนายจ้าง เว้นแต่ค่าบริการและค่าใช้จ่ายตามรายการและอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากคนต่างด้าว ในกรณีตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้รับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายจากนายจ้าง ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องออกใบรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้างตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๔๓ ในแต่ละเดือน ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องส่งรายงานเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศต่ออธิบดี ภายในวันที่สิบของเดือนถัดไป ตามแบบรายงานที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๔๔ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ต้องใช้ชื่อ คำแสดงชื่อ หรือคำอื่นใดในการประกอบธุรกิจว่า “บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ” และจะใช้ถ้อยคำหรืออักษรต่างประเทศอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกันประกอบด้วยก็ได้ มาตรา ๔๕ ห้ามผู้ใดนอกจากผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ใช้ชื่อ คำแสดงชื่อ หรือคำอื่นใดในทางธุรกิจว่า “บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ” หรือใช้คำหรืออักษรต่างประเทศที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน ส่วนที่ ๓ นายจ้างนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศ มาตรา ๔๖ ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และนายจ้างต้องวางหลักประกันไว้กับอธิบดีเพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการที่นายจ้างได้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศ ทั้งนี้ หลักประกันดังกล่าวไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ตราบเท่าที่นายจ้างยังมีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การวางหลักประกัน อัตราของหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การหักหลักประกันในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการที่นายจ้างได้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศ การเรียกหลักประกันเพิ่ม การวางหลักประกันเพิ่ม และการขอรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๔๗ ในกรณีหลักประกันที่นายจ้างวางไว้ตามมาตรา ๔๖ ลดลงเพราะได้จ่ายไปตามพระราชกำหนดนี้ และนายจ้างยังมีภาระต้องรับผิดชอบตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างวางหลักประกันเพิ่มจนครบจำนวนเงินที่กำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง นายจ้างผู้ใดไม่วางหลักประกันเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ต้องชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือนจนกว่าจะวางหลักประกันเพิ่มจนครบถ้วน มาตรา ๔๘ ในกรณีที่นายจ้างขอรับหลักประกันคืน นายจ้างต้องไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ เมื่อนายจ้างได้ขอรับหลักประกันคืน ให้อธิบดีตรวจสอบว่านายจ้างไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ แล้วจึงแจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างมารับหลักประกันคืน ในกรณีที่นายจ้างไม่รับหลักประกันคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากอธิบดี ให้หลักประกันดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มาตรา ๔๙ ห้ามนายจ้างเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์ใด ๆ จากคนต่างด้าวในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศ ส่วนที่ ๔ หน้าที่และความรับผิดชอบ มาตรา ๕๐ ในกรณีที่นายจ้างซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๖ เลิกจ้างคนต่างด้าวโดยมีเหตุผลอันสมควร คนต่างด้าวลาออกจากงานอันมิใช่เนื่องจากนายจ้างผิดสัญญาจ้างหรือฝ่าฝืนกฎหมาย หรือคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างจนครบกำหนดตามสัญญาจ้างกับนายจ้างในประเทศ นายจ้างต้องแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด และต้องจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง หรือวันที่ครบกำหนดตามสัญญา แล้วแต่กรณี และเมื่อจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางแล้ว ให้นายจ้างแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร การเลิกจ้างคนต่างด้าวโดยมีเหตุผลอันสมควรตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การเลิกจ้างคนต่างด้าวเพราะเหตุที่คนต่างด้าวกระทำประการหนึ่งประการใดที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๑ ในกรณีดังต่อไปนี้ นายจ้างต้องแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด (๑) นายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๒) นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ (๓) คนต่างด้าวลาออกจากงานอันเนื่องจากนายจ้างผิดสัญญาจ้างหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ในกรณีตามวรรคหนึ่ง หากคนต่างด้าวประสงค์จะทำงานกับนายจ้างรายอื่น นายจ้างรายอื่นซึ่งประสงค์จะนำคนต่างด้าวดังกล่าวมาทำงานกับตนนั้นต้องวางหลักประกันตามมาตรา ๔๖ และได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตน ทั้งนี้ คนต่างด้าวนั้นต้องทำงานกับนายจ้างรายอื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม ในกรณีที่คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานกับนายจ้างรายอื่นภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามวรรคสอง ให้นายจ้างรายเดิมจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้นายจ้างแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร มาตรา ๕๒ ในกรณีที่นายจ้างไม่ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคสาม ให้อธิบดีดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันที่นายจ้างได้วางไว้ตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๕๓ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ แต่นายจ้างไม่รับคนต่างด้าวนั้นเข้าทำงาน หรือคนต่างด้าวไม่ยินยอมทำงานกับนายจ้างนั้น หรือคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างในประเทศตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศแล้ว แต่นายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าวนั้นโดยมีเหตุผลอันสมควร หรือคนต่างด้าวได้ลาออกจากงานก่อนครบอายุสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศอันมิใช่เนื่องจากนายจ้างผิดสัญญาจ้างหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ให้นายจ้างแจ้งผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง นายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าว หรือคนต่างด้าวได้ลาออกจากงาน แล้วแต่กรณี และให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานมีหน้าที่ส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้าง ทั้งนี้ เมื่อจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางแล้ว ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่นายจ้างไม่รับคนต่างด้าวนั้นเข้าทำงานโดยมิใช่เหตุอันเนื่องจากคนต่างด้าว นายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ คนต่างด้าวลาออกจากงานอันเนื่องจากนายจ้างผิดสัญญาจ้างหรือฝ่าฝืนกฎหมาย และคนต่างด้าวนั้นประสงค์จะทำงานกับนายจ้างรายอื่น ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานอาจจัดให้คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างรายอื่นได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายจ้างไม่รับเข้าทำงานหรือวันที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานกับนายจ้างด้วยเหตุดังกล่าว ทั้งนี้ คนต่างด้าวสามารถทำงานกับนายจ้างรายอื่นได้ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดในการจัดให้คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างรายอื่นตามวรรคสองจากคนต่างด้าว ทั้งนี้ ให้นายจ้างรายอื่นเป็นผู้รับผิดชอบค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามรายการและอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด และเมื่อได้รับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานออกใบรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้างรายอื่นตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ในกรณีที่คนต่างด้าวไม่ประสงค์จะทำงานกับนายจ้างรายอื่นตามวรรคสอง ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานมีหน้าที่จัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่นำคนต่างด้าวมาทำงานตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากนายจ้างไปแล้วทั้งหมดให้แก่นายจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างขอรับค่าบริการและค่าใช้จ่ายดังกล่าวคืน มาตรา ๕๕ เมื่อคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างจนครบกำหนดตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ หรือไม่ได้ทำงานกับนายจ้างแล้ว นายจ้างต้องแจ้งผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ครบกำหนดตามสัญญาหรือวันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานกับนายจ้างแล้ว แล้วแต่กรณี เพื่อให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางที่ได้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เมื่อคนต่างด้าวได้ทำงานกับนายจ้างจนครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ให้นายจ้างแจ้งต่ออธิบดีเพื่อดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานที่ได้วางไว้ตามมาตรา ๒๘ มาตรา ๕๖ คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามความในหมวดนี้ และต้องถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายอื่น ให้หน่วยงานที่ดำเนินการส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดการให้คนต่างด้าวเดินทางกลับจากนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานภายในเวลาที่กำหนดได้ ในกรณีที่นายจ้างตามมาตรา ๔๖ หรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๒๖ มิได้ชดใช้เงินคืนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีหักเงินจำนวนดังกล่าวจากหลักประกันที่วางไว้เพื่อคืนให้แก่หน่วยงานที่ดำเนินการส่งคนต่างด้าวดังกล่าวกลับไปยังประเทศต้นทาง มาตรา ๕๗ คนต่างด้าวซึ่งได้รับความเสียหายจากการที่นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๕ แล้วแต่กรณี อาจยื่นคำร้องต่ออธิบดีเพื่อดำเนินการหักหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา ๒๘ หรือมาตรา ๔๖ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๕ ให้อธิบดีหักหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา ๒๘ เพื่อคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้าง หรือคืนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการส่งกลับหรือค่าใช้จ่ายอื่นตามความจำเป็นให้แก่คนต่างด้าวซึ่งได้รับความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และความรับผิดชอบดังกล่าว และเมื่อได้ดำเนินการหักหลักประกันดังกล่าวแล้ว ให้อธิบดีแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๕ ให้อธิบดีดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวดังกล่าวกลับไปยังประเทศต้นทางโดยหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดการให้คนต่างด้าวเดินทางกลับและค่าใช้จ่ายอื่นตามความจำเป็นจากหลักประกันของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานที่ได้วางไว้ตามมาตรา ๒๘ หมวด ๔ การทำงานของคนต่างด้าว มาตรา ๕๙ งานใดที่มิได้ห้ามไว้ในประกาศซึ่งออกตามความในมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง คนต่างด้าวจะทำได้ต้องได้รับอนุญาตให้ทำงานจากนายทะเบียน เว้นแต่คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีประกาศกำหนดซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวัน แต่คนต่างด้าวจะทำงานนั้นได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบ การขออนุญาตทำงาน การอนุญาตให้ทำงาน และการแจ้ง ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แบบใบอนุญาตทำงานให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๖๐ คนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานตามมาตรา ๕๙ ต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๑ ผู้ใดประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักรเข้ามาทำงานในกิจการของตนในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขออนุญาตทำงานต่อนายทะเบียนและชำระค่าธรรมเนียมแทนคนต่างด้าว การขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวและการออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๒ เมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม หรือกฎหมายอื่น ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายดังกล่าวแจ้งต่อนายทะเบียนโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ การแจ้งให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตทำงานให้แก่คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แบบใบอนุญาตทำงานให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ในระหว่างที่ดำเนินการตามวรรคสอง ให้คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งทำงานไปพลางก่อนได้ โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๖๘ มาตรา ๖๓ คนต่างด้าวซึ่งไม่อาจขออนุญาตตามมาตรา ๕๙ เพราะเหตุดังต่อไปนี้ อาจขออนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อทำงานตามประเภทที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ โดยคำนึงถึงความมั่นคงของชาติและผลกระทบต่อสังคม (๑) ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศและได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใดแทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ (๒) เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง แต่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๓) ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ (๕) เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ การขออนุญาตทำงานและการออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แบบใบอนุญาตทำงานให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๖๔ คนต่างด้าวซึ่งเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ถ้าได้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีบัตรผ่านแดนหรือเอกสารราชการที่ประเทศต้นทางออกให้คนต่างด้าวที่สามารถใช้ในการเข้ามาในราชอาณาจักร อาจได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ทำงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาลและในท้องที่ที่กำหนดได้ ความในวรรคหนึ่งจะใช้บังคับกับท้องที่ใด สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติใด เพื่อทำงานประเภทหรือลักษณะใด โดยมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา การขออนุญาตทำงานและการออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แบบใบอนุญาตทำงานให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๖๕ ใบอนุญาตทำงานที่ออกให้ตามพระราชกำหนดนี้ให้มีอายุไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออก เว้นแต่ใบอนุญาตทำงานที่ออกให้แก่คนต่างด้าวตามมาตรา ๖๒ ให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ อายุใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่งไม่มีผลเป็นการขยายระยะเวลาอยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้ทำงานตามมาตรา ๖๒ ได้รับการขยายระยะเวลาทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายดังกล่าวมีหนังสือแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานนั้นต่อนายทะเบียนโดยเร็วตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้นายทะเบียนจดแจ้งการขยายระยะเวลานั้นลงในใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๖๗ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานซึ่งประสงค์จะทำงานต่อไปให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานต่อนายทะเบียนก่อนที่ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานนั้นทำงานไปพลางก่อนจนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงาน การต่ออายุใบอนุญาตทำงานให้ต่อได้ครั้งละไม่เกินสองปี โดยให้กระทำเพียงเท่าที่จำเป็น และสำหรับกรณีคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓ (๑) หรือ (๒) นั้น ระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานติดต่อกันรวมแล้วต้องไม่เกินสี่ปี เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่นเป็นคราว ๆ ไป การขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานและการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานต้องมีใบอนุญาตทำงานอยู่กับตัวหรืออยู่ ณ สถานที่ทำงานในระหว่างเวลาทำงาน เพื่อแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียนได้เสมอ มาตรา ๖๙ ถ้าใบอนุญาตทำงานสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตให้ทำงานยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานและการออกใบแทนใบอนุญาตทำงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๗๐ ห้ามผู้รับอนุญาตให้ทำงานทำงานแตกต่างจากประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ หรือเงื่อนไขในการทำงาน ตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๑ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนหรือเพิ่มรายการ ดังต่อไปนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน (๑) ประเภทงาน (๒) นายจ้าง (๓) ท้องที่ (๔) เงื่อนไขในการทำงาน การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๒ ห้ามผู้ใดรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตทำงานกับตนเข้าทำงาน มาตรา ๗๓ ห้ามผู้ใดให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๗๔ ให้นายจ้างแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตให้ทำงานออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด หมวด ๕ กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว มาตรา ๗๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในกรมการจัดหางาน เรียกว่า “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว มาตรา ๗๖ ให้กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินหรือทรัพย์สินที่โอนมาจากกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามมาตรา ๑๔๐ (๒) เงินเพิ่มตามมาตรา ๑๑ วรรคสาม (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) เงินค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บได้ตามพระราชกำหนดนี้ตามที่กระทรวงการคลังอนุญาต ให้นำไปใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (๕) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๖) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่จัดสรรให้ตามความจำเป็น (๗) เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่กองทุนได้รับไม่ว่ากรณีใด เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้นำส่งเข้ากองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๗๗ เงินของกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามพระราชกำหนดนี้ที่ถูกละเมิดสิทธิตามกฎหมายด้านแรงงาน (๒) ส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) ช่วยเหลือและอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ที่เสนอโครงการหรือแผนงานในการดำเนินการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงาน การจัดสวัสดิการ การศึกษา การสาธารณสุข และการให้ความคุ้มครองด้านแรงงาน แก่คนต่างด้าว (๔) คืนให้แก่คนต่างด้าวที่ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว (๕) บริหารกองทุน (๖) บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชกำหนดนี้ การดำเนินการตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด มาตรา ๗๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการจัดหางาน เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงบประมาณ และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านแรงงาน ด้านการคลัง ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการบริหาร หรือด้านกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการกองทุนอาจแต่งตั้งข้าราชการกรมการจัดหางานจำนวนไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๗๙ กรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี กรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน มาตรา ๘๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่หรือทุจริต มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก มาตรา ๘๑ ให้คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบาย กำกับดูแลการบริหารจัดการ และติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการใช้จ่ายเงินของกองทุนตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๓) พิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานประจำปี (๔) พิจารณาจัดสรรเงินของกองทุนเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินของกองทุน เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าวและการเบิกจ่ายเงินทดรองในการดำเนินการดังกล่าว มาตรา ๘๒ คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อพิจารณา หรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมายได้ มาตรา ๘๓ ให้กรมการจัดหางานจัดทำบัญชีของกองทุนให้เป็นไปตามระบบการบัญชีอย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และให้ส่งผู้สอบบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี มาตรา ๘๔ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีอิสระที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน มาตรา ๘๕ ให้ผู้สอบบัญชีรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้กรมการจัดหางานเผยแพร่งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีรับทราบ หมวด ๖ มาตรการทางปกครอง ส่วนที่ ๑ การพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน การเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน และการเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน และสั่งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด มาตรา ๘๗ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้และอยู่ระหว่างการดำเนินคดี ให้อธิบดีสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานจนกว่าคดีจะถึงที่สุด มาตรา ๘๘ ให้อธิบดีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติหรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามคำสั่งของอธิบดีตามมาตรา ๘๖ (๒) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปี หรือเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานอีก (๓) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศต้นทาง มีส่วนรู้เห็นหรือเป็นผู้สนับสนุนการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องดังกล่าวในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ และอธิบดีได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศต้นทาง หรือห้ามมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวข้างต้นแล้ว แต่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเตือนของอธิบดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนนั้น (๔) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานฝ่าฝืนมาตรา ๘๙ วรรคสอง (๕) อธิบดีเห็นว่าการที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ เป็นกรณีที่ร้ายแรง (๖) อธิบดีเห็นว่าผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่สามารถปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ได้ มาตรา ๘๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้ทำเป็นหนังสือและแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ยอมรับคำสั่ง ให้ปิดคำสั่งดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สำนักงาน และให้ถือว่าผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคำสั่ง ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่การดำเนินการที่ต้องกระทำต่อเนื่องจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศก่อนวันที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานต้องรับผิดชอบในการจัดส่งคนต่างด้าวซึ่งยังอยู่ในความรับผิดชอบของตนกลับไปยังประเทศต้นทางจนกว่าจะพ้นจากความรับผิดตามพระราชกำหนดนี้ และให้รายงานให้อธิบดีทราบเกี่ยวกับคนต่างด้าวซึ่งยังอยู่ในความรับผิดชอบของตน มาตรา ๙๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับอนุญาตให้ทำงานฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาต ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๙๑ อธิบดีอาจประกาศรายชื่อนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ซึ่งได้รับโทษเพราะฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ ส่วนที่ ๒ การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง มาตรา ๙๒ ในกรณีที่อธิบดีไม่อนุญาตตามมาตรา ๒๖ ไม่ต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๓๐ ไม่อนุญาตให้ย้ายสำนักงานหรือให้ตั้งสำนักงานชั่วคราวตามมาตรา ๓๓ ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลตามมาตรา ๓๔ หรือได้หักหลักประกันหรือเรียกหลักประกันเพิ่มตามพระราชกำหนดนี้ ผู้ขออนุญาตหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๓ ในกรณีที่อธิบดีไม่อนุญาตตามมาตรา ๔๖ หรือได้หักหลักประกันหรือเรียกหลักประกันเพิ่มตามพระราชกำหนดนี้ นายจ้างมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๔ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน หรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๕ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาตตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ หรือมาตรา ๗๑ หรือไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ หรือเพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ คนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงาน ผู้ซึ่งขออนุญาตแทนคนต่างด้าว หรือผู้รับอนุญาตให้ทำงาน แล้วแต่กรณี มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๖ เมื่อรัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ ให้พิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้มีหนังสือแจ้งแก่ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว กรณีที่พ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่ารัฐมนตรีพิจารณาคำอุทธรณ์แล้วยืนยันตามคำสั่งเดิม มาตรา ๙๗ การอุทธรณ์ตามมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เว้นแต่กรณีการอุทธรณ์คำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ หมวด ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๙๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดเพื่อประกอบการพิจารณาได้ (๒) เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบให้การเป็นไปตามพระราชกำหนดนี้ (๓) เข้าไปในสถานประกอบการซึ่งรับคนต่างด้าวจากผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบให้การเป็นไปตามพระราชกำหนดนี้ (๔) ค้นในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศหรือมีคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือค้นเพื่อหาและช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งตกเป็นผู้เสียหายจากการกระทำที่ฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ (๕) ยึดหรืออายัด เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ การค้นตาม (๔) ต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุอันควรเชื่อว่า หากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ คนต่างด้าวนั้นอาจถูกประทุษร้าย โยกย้าย หรือซ่อนเร้น หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องอาจถูกโยกย้าย ซ่อนเร้น ทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม หรือถูกทำลายไปเสียก่อน ให้ดำเนินการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้น ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร มาตรา ๙๙ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง มาตรา ๑๐๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เพื่อประโยชน์ในการจับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบคนต่างด้าวผู้ใดทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตทำงานหรือทำงานแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงานอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ และพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้คนต่างด้าวไปรายงานตัวยังสถานีตำรวจพร้อมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่คนต่างด้าวผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือจะหลบหนี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับคนต่างด้าวนั้นโดยไม่ต้องมีหมายจับ และให้นำตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยทันที หมวด ๘ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๐๑[๒] คนต่างด้าวซึ่งมิใช่ผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่คนต่างด้าวซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ยินยอมเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายในเวลาที่พนักงานสอบสวนกำหนด แต่ต้องไม่ช้ากว่าสามสิบวัน พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับก็ได้ และเมื่อได้ดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้นเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๐๒[๓] ผู้ใดรับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยฝ่าฝืนมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงแปดแสนบาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน มาตรา ๑๐๓ ผู้ใดนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศโดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๒๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐๖ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐๗ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มาตรา ๓๗ วรรคสองหรือวรรคสาม มาตรา ๔๐ วรรคสอง มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ วรรคสาม มาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๐๘ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๐๙ ผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลหรือลูกจ้างซึ่งจดทะเบียนตามมาตรา ๓๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๑๐ ผู้ใดมิได้เป็นลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศที่ได้จดทะเบียนตามมาตรา ๓๕ แต่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๑ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับห้าเท่าของเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่เรียกหรือรับไว้จากนายจ้างหรือคนต่างด้าว หรือค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเกินกว่าอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษปรับสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ มาตรา ๑๑๓ นายจ้างผู้ใดนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทต่อการนำคนต่างด้าวมาทำงานหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๔ นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อการเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ จากคนต่างด้าวหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๕ นายจ้างผู้ใดไม่แจ้งต่ออธิบดีเมื่อคนต่างด้าวไม่ได้ทำงานกับตนแล้ว ตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน นายจ้างผู้ใดไม่แจ้งต่ออธิบดีภายหลังจากที่ได้จัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางแล้วตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๑๑๖ นายจ้างผู้ใดไม่จัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทาง ตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๑๑๗ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดไม่แจ้งต่ออธิบดีภายหลังจากที่ได้ส่งคนต่างด้าวซึ่งไม่ได้ทำงานกับนายจ้างกลับไปยังประเทศต้นทางแล้วตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๑๑๘ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดไม่จัดส่งคนต่างด้าวซึ่งไม่ได้ทำงานกับนายจ้างกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๑๑๙[๔] คนต่างด้าวผู้ใดทำงานโดยไม่ได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒๐ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๑ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานผู้ใดทำงานอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒๒[๕] ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงแปดแสนบาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน มาตรา ๑๒๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๑๒๔ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒๕ ผู้ใดไม่มาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานตามมาตรา ๙๘ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๙๘ (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกตามมาตรา ๙๘ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๘ ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ หรือสามารถหาลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าวให้กับนายจ้าง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หกแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำโดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป หรือโดยสมาชิกขององค์กรอาชญากรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง มาตรา ๑๒๙ ผู้ใดสนับสนุนการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๘ ไม่ว่าการกระทำของตัวการจะได้กระทำนอกราชอาณาจักรหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๓๐ การเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๘ หรือมาตรา ๑๒๙ แทนผู้เสียหาย พนักงานอัยการจะขอรวมไปกับฟ้องคดีอาญา หรือจะยื่นคำร้องในภายหลังขณะที่คดีอาญานั้นยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ได้ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายที่จะยื่นคำร้องเพื่อเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดี ในกรณีที่ไม่มีคำขอให้ใช้ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปตามวรรคหนึ่ง หากศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลย ศาลจะสั่งในคำพิพากษาคดีอาญาให้จำเลยใช้ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปแก่ผู้เสียหายตามที่เห็นสมควรก็ได้ คำสั่งดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้เสียหายในอันที่จะฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกเอาทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปในส่วนที่ยังขาดอยู่ มาตรา ๑๓๑ ผู้ใดยึดใบอนุญาตทำงานหรือเอกสารสำคัญประจำตัวของคนต่างด้าวไว้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทำของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๑๓๓ บรรดาความผิดตามพระราชกำหนดนี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดีสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร (๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดนั้น ในกรณีที่มีการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ที่มีโทษอยู่ในเกณฑ์ที่จะทำการเปรียบเทียบได้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ เมื่อผู้กระทำผิดได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในเวลาที่กำหนดแต่ไม่เกินสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๓๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ ให้นายทะเบียนอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานใด ๆ ได้ เว้นแต่งานที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๑๓๕ คนต่างด้าวผู้ใดได้รับใบอนุญาตทำงานหรือได้รับการผ่อนผันให้ทำงานตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับใบอนุญาตทำงานหรือได้รับการผ่อนผันให้ทำงานตามพระราชกำหนดนี้ ใบอนุญาตทำงานที่ออกให้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๒ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุใบอนุญาตทำงานนั้น มาตรา ๑๓๖ นายจ้างผู้ใดได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ดำเนินการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนเองในประเทศได้ต่อไป มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อยู่ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามพระราชกำหนดนี้ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามวรรคหนึ่ง ประสงค์จะนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศภายหลังจากวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ก่อนนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ มาตรา ๑๓๘ บรรดาคำขอที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำขอที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชกำหนดนี้ และให้อธิบดีเรียกเอกสารหรือหลักฐานประกอบคำขอที่กำหนดไว้ตามพระราชกำหนดนี้ให้ครบถ้วน มาตรา ๑๓๙ บรรดาคำอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๑๔๐ ให้โอนบรรดากิจการ เงิน สิทธิ ความรับผิด ทรัพย์สิน และหนี้สินของกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ไปเป็นของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๑๔๑ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๑๗ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๔๒ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๗๘ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๔๓ ลูกจ้างซึ่งถูกหักเงินค่าจ้างและนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยค่าใช้จ่ายของตนเอง ให้มีสิทธิได้รับเงินที่ถูกหักไว้คืนภายในสองปีนับจากวันที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร หากไม่ขอรับเงินคืนภายในเวลาที่กำหนดให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน มาตรา ๑๔๔ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และเป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้งตามมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ได้รับการแต่งตั้งอยู่ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับมีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นนั้นได้ บรรดาความผิดตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และเป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้อธิบดีกรมการจัดหางานหรือผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖๑ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นนั้นได้ มาตรา ๑๔๕ บรรดากฎหรือคำสั่งใด ๆ ที่ได้ออกหรือสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกำหนดนี้ จนกว่าจะมีกฎหรือคำสั่งใด ๆ ที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๒) การต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ครั้งละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๓) ใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๔) การอนุญาตให้ย้ายสำนักงาน ครั้งละ ๕,๐๐๐ บาท หรือตั้งสำนักงานชั่วคราว (๕) การอนุญาตให้เปลี่ยนผู้จัดการผู้มีอำนาจ ครั้งละ ๕,๐๐๐ บาท กระทำการแทนนิติบุคคล (๖) การจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับ คนละ ๑,๐๐๐ บาท การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (๗) บัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้าง ในประเทศ (๘) ใบอนุญาตทำงาน ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๙) การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ครั้งละ ๒๐,๐๐๐ บาท หรือการขยายระยะเวลาการทำงาน (๑๐) ใบแทนใบอนุญาตทำงาน ฉบับละ ๓,๐๐๐ บาท (๑๑) การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน ครั้งละ ๕,๐๐๐ บาท นายจ้าง ท้องที่ หรือเงื่อนไขในการทำงาน (๑๒) การจ้างคนต่างด้าว คนละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๓) ค่ายื่นคำขอ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๑๔) การรับรองสำเนาเอกสาร (ก) ภาษาไทย หน้าละ ๕๐ บาท (ข) ภาษาต่างประเทศ หน้าละ ๑๐๐ บาท (๑๕) การออกหนังสือรับรอง (ก) ภาษาไทย หน้าละ ๕๐๐ บาท (ข) ภาษาต่างประเทศ หน้าละ ๑,๐๐๐ บาท (๑๖) การแปลภาษาต่างประเทศ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๑๗) ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ครั้งละ ๑,๐๐๐ บาท ในการออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม จะกำหนดค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกัน โดยคำนึงถึงสาขาอาชีพ หรือสาขาอาชีพและท้องที่ทำงานของคนต่างด้าวก็ได้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ มีบทบัญญัติที่ไม่ครอบคลุมการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวทั้งระบบ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านแรงงาน เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้สามารถทำการจัดระเบียบ การป้องกัน การคุ้มครอง การเยียวยา และการใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้ทั้งระบบ อันจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านแรงงาน เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ซึ่งเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว[๖] ข้อ ๑ ให้มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้นายจ้างและคนต่างด้าวเร่งดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนด ในกรณีที่คนต่างด้าวผู้ใดมีความจำเป็นต้องเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับไปยังประเทศต้นทางหรือเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้ถูกต้องตามวรรคหนึ่ง ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับยกเว้นการดำเนินการเกี่ยวกับการเดินทางเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนดเป็นการชั่วคราวโดยการหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้อ ๓ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามกฎหมายหรือคำสั่งนี้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ หรือกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งโดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการกระทำการเพิกเฉยหรือละเลยไม่กระทำการหรืองดเว้นกระทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นดำเนินการทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครองกับพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด ข้อ ๔ ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ตลอดจนพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการค้ามนุษย์ และอำนวยความสะดวกในการดำเนินการแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนโดยให้กระทรวงแรงงานเสนอรายงานผลการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกเดือน ในการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมายตามวรรคหนึ่งและอนุบัญญัติที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้กระทรวงแรงงานรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและนำมาประกอบการพิจารณาด้วย ข้อ ๕ ในกรณีที่เห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้ ข้อ ๖ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป วิชพงษ์/จัดทำ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๑/๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๒] คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ ๑ ให้มาตรา ๑๐๑ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป [๓] คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ ๑ ให้มาตรา ๑๐๒ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป [๔] คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ ๑ ให้มาตรา ๑๑๙ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป [๕] คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ ๑ ให้มาตรา ๑๒๒ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง/หน้า ๒๑/๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐
780771
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 33/2560 เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ตามที่มีการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวได้ทั้งระบบ อันเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านแรงงาน เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ นั้น โดยที่พระราชกำหนดดังกล่าวกำหนดให้นายจ้างและคนต่างด้าวมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลายประการ และได้กำหนดความผิดและบทกำหนดโทษ ในอัตรารุนแรง ซึ่งยังมิได้มีเวลาสร้างความรับรู้ความเข้าใจเพียงพอแก่ประชาชน จึงก่อให้เกิดความตื่นตระหนกและอาจส่งผลกระทบต่อนายจ้างภาคครัวเรือน ภาคผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และภาคเกษตรกรรมจนกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมได้ ดังนั้น เพื่อให้นายจ้างและคนต่างด้าว รวมทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้มีเวลาเตรียมการและดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อความเป็นธรรมและไม่เกิดผลกระทบในทางเศรษฐกิจและสังคมรุนแรงเกินควร โดยยังคงรักษาเจตนารมณ์ในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวทั้งระบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และยังคงมีมาตรการต่อต้านการค้ามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นต้องมีมาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชกำหนดดังกล่าวในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านการใช้บังคับกฎหมาย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้นายจ้างและคนต่างด้าวเร่งดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนด ในกรณีที่คนต่างด้าวผู้ใดมีความจำเป็นต้องเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับไปยังประเทศต้นทางหรือเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้ถูกต้องตามวรรคหนึ่ง ให้คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับยกเว้นการดำเนินการเกี่ยวกับการเดินทางเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนดเป็นการชั่วคราวโดยการหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้อ ๓ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามกฎหมายหรือคำสั่งนี้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ หรือกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งโดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการกระทำการเพิกเฉยหรือละเลยไม่กระทำการหรืองดเว้นกระทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นดำเนินการทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครองกับพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด ข้อ ๔ ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ตลอดจนพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการค้ามนุษย์ และอำนวยความสะดวกในการดำเนินการแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนโดยให้กระทรวงแรงงานเสนอรายงานผลการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกเดือน ในการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมายตามวรรคหนึ่งและอนุบัญญัติที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้กระทรวงแรงงานรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและนำมาประกอบการพิจารณาด้วย ข้อ ๕ ในกรณีที่เห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้ ข้อ ๖[๑] คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อัญชลี/จัดทำ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง/หน้า ๒๑/๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐
779954
พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
พระราชกำหนด พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว และกฎหมายว่าด้วยการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย พระราชกำหนดนี้มีสาระสำคัญเป็นการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศและการทำงานของคนต่างด้าว และให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวซึ่งมีอำนาจกำหนดนโยบายและกำกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งพระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล เสรีภาพในเคหสถานของบุคคล เสรีภาพของบุคคลในการเขียน การพิมพ์ และการโฆษณา สิทธิในทรัพย์สินของบุคคล และเสรีภาพของบุคคลในการประกอบอาชีพ โดยมีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ (๒) พระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๔ พระราชกำหนดนี้ไม่ใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวเฉพาะในฐานะ ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลในคณะผู้แทนทางทูต (๒) บุคคลในคณะผู้แทนทางกงสุล (๓) ผู้แทนของประเทศสมาชิกและพนักงานขององค์การสหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษ (๔) คนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานประจำอยู่กับบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) (๕) บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจตามความตกลงที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ (๖) บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา วัฒนธรรม ศิลปะ การกีฬา หรือกิจการอื่น ทั้งนี้ ตามที่จะได้กำหนดโดยกฎกระทรวง (๗) บุคคลซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใด โดยจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ มาตรา ๕ ในพระราชกำหนดนี้ “การนำคนต่างด้าวมาทำงาน” หมายความว่า การดำเนินการใด ๆ เพื่อนำคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือตามนโยบายของรัฐบาลว่าด้วยการจ้างแรงงานมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยจะมีค่าบริการหรือค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม “ทำงาน” หมายความว่า การใช้กำลังกายหรือความรู้เพื่อประกอบอาชีพหรือประกอบการงานด้วยประสงค์ค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่เป็นงานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด “คนต่างด้าว” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย “นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และให้หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประสงค์จะนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศกับตนด้วย “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง “ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน” หมายความว่า ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน” หมายความว่า ผู้ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ “ใบอนุญาตทำงาน” หมายความว่า ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว “ผู้รับอนุญาตให้ทำงาน” หมายความว่า คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน “ค่าบริการ” หมายความว่า เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ให้เป็นการตอบแทนการนำคนต่างด้าวมาทำงาน “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการนำคนต่างด้าวมาทำงาน “กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ “นายทะเบียน” หมายความว่า อธิบดีและพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของอธิบดี เพื่อออกใบอนุญาตทำงานและปฏิบัติการอื่นตามพระราชกำหนดนี้ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชกำหนดนี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น หรือออกประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดให้งานใดเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำในท้องที่ใด เมื่อใด โดยห้ามเด็ดขาดหรือห้ามโดยมีเงื่อนไขอย่างใด เพียงใดก็ได้ การออกประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความมั่นคงของชาติ โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ มาตรา ๘ ห้ามคนต่างด้าวทำงานที่กำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง หรือทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๙ ห้ามผู้ใดรับคนต่างด้าวทำงานที่กำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง หรือรับคนต่างด้าวทำงานโดยที่คนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๑๐ บทบัญญัติมาตรา ๗ ไม่ใช้บังคับแก่การทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๔ ในกรณีหนังสือสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณีกำหนดให้คนต่างด้าวทำงานตามที่กำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง ได้ คนต่างด้าวนั้นต้องได้รับอนุญาตทำงานตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของหนังสือสัญญานั้นด้วย มาตรา ๑๑ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดค่าธรรมเนียมเพื่อเรียกเก็บจากนายจ้างที่จ้างคนต่างด้าวทำงานตามประเภทงานที่กำหนดในราชอาณาจักรได้ ผู้ใดประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และชำระค่าธรรมเนียมก่อนทำสัญญาจ้าง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสอง ต้องเสียเงินเพิ่มอีกหนึ่งเท่าของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ มาตรา ๑๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖๔ วรรคสอง รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจประกาศกำหนดงานประเภทใดซึ่งต้องได้รับการจัดสรรจำนวนคนต่างด้าวเข้าทำงาน ในการนี้ รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดไว้ด้วยก็ได้ มาตรา ๑๓ เมื่อมีการประกาศตามมาตรา ๑๒ แล้ว หากบุคคลใดจะจ้างคนต่างด้าวทำงานตามมาตรา ๑๒ กับตน ให้ยื่นคำขออนุญาตจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงานต่ออธิบดีได้ การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๑๔ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้บุคคลดังต่อไปนี้ทำงานในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใด ๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ ในกรณีใด ๆ ก็ได้ (๑) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ (๒) คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในราชอาณาจักร มาตรา ๑๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและความปลอดภัยสาธารณะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจประกาศกำหนดเขตที่พักอาศัยสำหรับผู้รับอนุญาตให้ทำงาน เฉพาะจำพวกใดหรือท้องที่ใดก็ได้ มาตรา ๑๖ บรรดาคดีที่เกิดจากข้อพิพาทระหว่างผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับคนต่างด้าว ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้าง หรือนายจ้างกับคนต่างด้าว อันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ หรือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านแรงงาน ให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลแรงงาน หมวด ๒ คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ประธานสภาหอการค้าไทย และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้แทนองค์กรลูกจ้างซึ่งอธิบดีเสนอชื่อให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสองคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านแรงงาน ด้านอุตสาหกรรม ด้านกฎหมาย และด้านสิทธิมนุษยชน ด้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๑๘ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง (๖) ไม่เคยเป็นผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ มาตรา ๑๙ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี ในระหว่างที่กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าสองวาระไม่ได้ มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและกำกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยมีการกำหนดมาตรการและแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำงานของคนต่างด้าว รวมทั้งกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (๒) พิจารณาและเสนอให้มีการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาการทำงานของคนต่างด้าวให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ (๓) รายงานผลการดำเนินงานประจำปีต่อคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ (๔) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย นโยบายที่ได้จัดทำตาม (๑) ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยดำเนินการและกำกับการให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว มาตรา ๒๒ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ หมวด ๓ การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป มาตรา ๒๓ บทบัญญัติในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับแก่ (๑) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (๒) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล มาตรา ๒๔ การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศโดยผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้าง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๕ ห้ามผู้ใดโฆษณาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่เป็นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ส่วนที่ ๒ การประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ มาตรา ๒๖ ห้ามผู้ใดประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๒๗ ผู้ขออนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วตามที่อธิบดีประกาศกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท (๒) มีทุนเป็นของผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนทุนทั้งหมด และจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด เว้นแต่ในกรณีที่มีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณีระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของสนธิสัญญาหรือความผูกพันตามพันธกรณีนั้น (๓) มีสำนักงานอยู่ในที่ตั้งที่เป็นสัดส่วน เปิดเผย มีหลักแหล่งที่แน่นอน และไม่เป็นสถานที่ต้องห้ามตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (๔) ไม่เป็นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ตามพระราชกำหนดนี้ (๕) ไม่เป็นผู้รับอนุญาต ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (๖) ไม่เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดหางาน ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจัดหางาน หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล (๗) มีผู้จัดการซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) มีสัญชาติไทย (ข) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ (ค) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน หรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามพระราชกำหนดนี้ (ง) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับอนุญาต หรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (จ) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดหางาน หรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล (ฉ) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (ช) ไม่เป็นผู้มีหรือเคยมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (ซ) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเอาการกระทำโดยทุจริตเป็นองค์ประกอบ หรือในความผิดตามพระราชกำหนดนี้ กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มาตรา ๒๘ ผู้ขออนุญาตต้องวางหลักประกันตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่น้อยกว่าห้าล้านบาทไว้กับอธิบดี เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามพระราชกำหนดนี้ ก่อนที่อธิบดีจะอนุญาตแก่ผู้ขออนุญาต ในกรณีที่หลักประกันที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานวางไว้ตามวรรคหนึ่งลดลงเพราะได้จ่ายไปตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานวางหลักประกันเพิ่มจนครบจำนวนเงินที่กำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง การวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การหักหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การหักเงินจากหลักประกันชดใช้ให้แก่นายจ้างหรือคนต่างด้าวในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ การเรียกหลักประกันเพิ่ม การวางหลักประกันเพิ่มและการขอรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๙ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานประกอบธุรกิจตามที่อธิบดีประกาศกำหนด เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีตามมาตรา ๒๖ แล้ว มาตรา ๓๐ ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๒๖ ให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และเมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากอธิบดี การขอต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๑ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานในกรณีที่ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว การขอใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน และการออกใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๓๒ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องแสดงใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สำนักงานตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน มาตรา ๓๓ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานย้ายสำนักงานหรือตั้งสำนักงานชั่วคราวที่มิใช่สถานที่ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๓๔ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีเมื่อประสงค์จะเปลี่ยนผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๓๕ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องใช้ลูกจ้างซึ่งได้จดทะเบียนตามวรรคหนึ่งเท่านั้นทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องแสดงทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ณ สำนักงาน เพื่อให้นายจ้างหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบความเป็นลูกจ้างดังกล่าวได้ การกระทำที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศของลูกจ้างซึ่งผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้จดทะเบียนไว้ ให้ถือว่าเป็นการกระทำของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานด้วย มาตรา ๓๖ ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ (๗) และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานรายอื่นตามพระราชกำหนดนี้ (๒) เป็นตัวแทนจัดหางานหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล ในขณะเดียวกัน มาตรา ๓๗ การประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศเป็นอันสิ้นสุดลงในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานสิ้นอายุ (๒) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน (๓) ไม่ได้รับอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน (๔) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานยกเลิกวัตถุประสงค์ของบริษัทในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (๕) เมื่อมีการเลิกบริษัทที่เป็นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง และผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานมีความผูกพันตามสัญญากับนายจ้างอยู่ ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานที่ยังคงมีภาระหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้แจ้งต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า ในกรณีตาม (๔) และ (๕) ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานแจ้งต่ออธิบดี และส่งใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานคืนแก่อธิบดีโดยไม่ชักช้า มาตรา ๓๘ หลักประกันที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานวางไว้ตามมาตรา ๒๘ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตราบเท่าที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานยังมิได้เลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ หรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเลิกประกอบธุรกิจดังกล่าวแล้ว แต่ยังมีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ และไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานยื่นคำขอรับหลักประกันคืนต่ออธิบดี เมื่ออธิบดีตรวจสอบแล้วพบว่าผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ให้แจ้งแก่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเป็นหนังสือเพื่อมารับหลักประกันคืน ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานรับหลักประกันคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดี ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่รับหลักประกันคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้หลักประกันดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มาตรา ๓๙ ผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล หรือลูกจ้างซึ่งจดทะเบียนตามมาตรา ๓๕ ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง เมื่อออกไปปฏิบัติงานนอกสำนักงาน บัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกบัตร ผู้จัดการหรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ต้องยื่นคำขอรับใบแทนบัตรประจำตัวในกรณีที่บัตรประจำตัวสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว การขอมีบัตร การออกบัตรประจำตัว และการออกใบแทนบัตรประจำตัว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๔๐ ผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล หรือลูกจ้างซึ่งจดทะเบียนตามมาตรา ๓๕ ซึ่งพ้นจากความเป็นผู้จัดการหรือลูกจ้าง ต้องส่งคืนบัตรประจำตัวแก่อธิบดีหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พ้นจากความเป็นผู้จัดการหรือลูกจ้างดังกล่าว ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งได้รับบัตรประจำตัวคืนตามวรรคหนึ่งต้องส่งบัตรประจำตัวนั้นแก่อธิบดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับจากผู้จัดการหรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๔๑ ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องทำสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดตามที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๔๒ ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากนายจ้าง เว้นแต่ค่าบริการและค่าใช้จ่ายตามรายการและอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากคนต่างด้าว ในกรณีตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้รับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายจากนายจ้าง ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องออกใบรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้างตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๔๓ ในแต่ละเดือน ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องส่งรายงานเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศต่ออธิบดี ภายในวันที่สิบของเดือนถัดไป ตามแบบรายงานที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๔๔ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ต้องใช้ชื่อ คำแสดงชื่อ หรือคำอื่นใดในการประกอบธุรกิจว่า “บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ” และจะใช้ถ้อยคำหรืออักษรต่างประเทศอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกันประกอบด้วยก็ได้ มาตรา ๔๕ ห้ามผู้ใดนอกจากผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ใช้ชื่อ คำแสดงชื่อ หรือคำอื่นใดในทางธุรกิจว่า “บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ” หรือใช้คำหรืออักษรต่างประเทศที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน ส่วนที่ ๓ นายจ้างนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศ มาตรา ๔๖ ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และนายจ้างต้องวางหลักประกันไว้กับอธิบดีเพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการที่นายจ้างได้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศ ทั้งนี้ หลักประกันดังกล่าวไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ตราบเท่าที่นายจ้างยังมีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การวางหลักประกัน อัตราของหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การหักหลักประกันในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการที่นายจ้างได้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศ การเรียกหลักประกันเพิ่ม การวางหลักประกันเพิ่ม และการขอรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๔๗ ในกรณีหลักประกันที่นายจ้างวางไว้ตามมาตรา ๔๖ ลดลงเพราะได้จ่ายไปตามพระราชกำหนดนี้ และนายจ้างยังมีภาระต้องรับผิดชอบตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างวางหลักประกันเพิ่มจนครบจำนวนเงินที่กำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง นายจ้างผู้ใดไม่วางหลักประกันเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ต้องชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือนจนกว่าจะวางหลักประกันเพิ่มจนครบถ้วน มาตรา ๔๘ ในกรณีที่นายจ้างขอรับหลักประกันคืน นายจ้างต้องไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ เมื่อนายจ้างได้ขอรับหลักประกันคืน ให้อธิบดีตรวจสอบว่านายจ้างไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกำหนดนี้ แล้วจึงแจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างมารับหลักประกันคืน ในกรณีที่นายจ้างไม่รับหลักประกันคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากอธิบดี ให้หลักประกันดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มาตรา ๔๙ ห้ามนายจ้างเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์ใด ๆ จากคนต่างด้าวในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศ ส่วนที่ ๔ หน้าที่และความรับผิดชอบ มาตรา ๕๐ ในกรณีที่นายจ้างซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๖ เลิกจ้างคนต่างด้าวโดยมีเหตุผลอันสมควร คนต่างด้าวลาออกจากงานอันมิใช่เนื่องจากนายจ้างผิดสัญญาจ้างหรือฝ่าฝืนกฎหมาย หรือคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างจนครบกำหนดตามสัญญาจ้างกับนายจ้างในประเทศ นายจ้างต้องแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด และต้องจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง หรือวันที่ครบกำหนดตามสัญญา แล้วแต่กรณี และเมื่อจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางแล้ว ให้นายจ้างแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร การเลิกจ้างคนต่างด้าวโดยมีเหตุผลอันสมควรตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การเลิกจ้างคนต่างด้าวเพราะเหตุที่คนต่างด้าวกระทำประการหนึ่งประการใดที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๑ ในกรณีดังต่อไปนี้ นายจ้างต้องแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด (๑) นายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๒) นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ (๓) คนต่างด้าวลาออกจากงานอันเนื่องจากนายจ้างผิดสัญญาจ้างหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ในกรณีตามวรรคหนึ่ง หากคนต่างด้าวประสงค์จะทำงานกับนายจ้างรายอื่น นายจ้างรายอื่นซึ่งประสงค์จะนำคนต่างด้าวดังกล่าวมาทำงานกับตนนั้นต้องวางหลักประกันตามมาตรา ๔๖ และได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตน ทั้งนี้ คนต่างด้าวนั้นต้องทำงานกับนายจ้างรายอื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม ในกรณีที่คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานกับนายจ้างรายอื่นภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามวรรคสอง ให้นายจ้างรายเดิมจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้นายจ้างแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร มาตรา ๕๒ ในกรณีที่นายจ้างไม่ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคสาม ให้อธิบดีดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันที่นายจ้างได้วางไว้ตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๕๓ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ แต่นายจ้างไม่รับคนต่างด้าวนั้นเข้าทำงาน หรือคนต่างด้าวไม่ยินยอมทำงานกับนายจ้างนั้น หรือคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างในประเทศตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศแล้ว แต่นายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าวนั้นโดยมีเหตุผลอันสมควร หรือคนต่างด้าวได้ลาออกจากงานก่อนครบอายุสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศอันมิใช่เนื่องจากนายจ้างผิดสัญญาจ้างหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ให้นายจ้างแจ้งผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง นายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าว หรือคนต่างด้าวได้ลาออกจากงาน แล้วแต่กรณี และให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานมีหน้าที่ส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้าง ทั้งนี้ เมื่อจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางแล้ว ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่นายจ้างไม่รับคนต่างด้าวนั้นเข้าทำงานโดยมิใช่เหตุอันเนื่องจากคนต่างด้าว นายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ คนต่างด้าวลาออกจากงานอันเนื่องจากนายจ้างผิดสัญญาจ้างหรือฝ่าฝืนกฎหมาย และคนต่างด้าวนั้นประสงค์จะทำงานกับนายจ้างรายอื่น ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานอาจจัดให้คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างรายอื่นได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายจ้างไม่รับเข้าทำงานหรือวันที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานกับนายจ้างด้วยเหตุดังกล่าว ทั้งนี้ คนต่างด้าวสามารถทำงานกับนายจ้างรายอื่นได้ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ห้ามผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดในการจัดให้คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างรายอื่นตามวรรคสองจากคนต่างด้าว ทั้งนี้ ให้นายจ้างรายอื่นเป็นผู้รับผิดชอบค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามรายการและอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด และเมื่อได้รับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานออกใบรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้างรายอื่นตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ในกรณีที่คนต่างด้าวไม่ประสงค์จะทำงานกับนายจ้างรายอื่นตามวรรคสอง ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานมีหน้าที่จัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่นำคนต่างด้าวมาทำงานตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากนายจ้างไปแล้วทั้งหมดให้แก่นายจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างขอรับค่าบริการและค่าใช้จ่ายดังกล่าวคืน มาตรา ๕๕ เมื่อคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างจนครบกำหนดตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ หรือไม่ได้ทำงานกับนายจ้างแล้ว นายจ้างต้องแจ้งผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ครบกำหนดตามสัญญาหรือวันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานกับนายจ้างแล้ว แล้วแต่กรณี เพื่อให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางที่ได้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เมื่อคนต่างด้าวได้ทำงานกับนายจ้างจนครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ให้นายจ้างแจ้งต่ออธิบดีเพื่อดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานที่ได้วางไว้ตามมาตรา ๒๘ มาตรา ๕๖ คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามความในหมวดนี้ และต้องถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายอื่น ให้หน่วยงานที่ดำเนินการส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดการให้คนต่างด้าวเดินทางกลับจากนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานภายในเวลาที่กำหนดได้ ในกรณีที่นายจ้างตามมาตรา ๔๖ หรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๒๖ มิได้ชดใช้เงินคืนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีหักเงินจำนวนดังกล่าวจากหลักประกันที่วางไว้เพื่อคืนให้แก่หน่วยงานที่ดำเนินการส่งคนต่างด้าวดังกล่าวกลับไปยังประเทศต้นทาง มาตรา ๕๗ คนต่างด้าวซึ่งได้รับความเสียหายจากการที่นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๕ แล้วแต่กรณี อาจยื่นคำร้องต่ออธิบดีเพื่อดำเนินการหักหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา ๒๘ หรือมาตรา ๔๖ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๕ ให้อธิบดีหักหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา ๒๘ เพื่อคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้าง หรือคืนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการส่งกลับหรือค่าใช้จ่ายอื่นตามความจำเป็นให้แก่คนต่างด้าวซึ่งได้รับความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และความรับผิดชอบดังกล่าว และเมื่อได้ดำเนินการหักหลักประกันดังกล่าวแล้ว ให้อธิบดีแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๕ ให้อธิบดีดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวดังกล่าวกลับไปยังประเทศต้นทางโดยหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดการให้คนต่างด้าวเดินทางกลับและค่าใช้จ่ายอื่นตามความจำเป็นจากหลักประกันของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานที่ได้วางไว้ตามมาตรา ๒๘ หมวด ๔ การทำงานของคนต่างด้าว มาตรา ๕๙ งานใดที่มิได้ห้ามไว้ในประกาศซึ่งออกตามความในมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง คนต่างด้าวจะทำได้ต้องได้รับอนุญาตให้ทำงานจากนายทะเบียน เว้นแต่คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีประกาศกำหนดซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวัน แต่คนต่างด้าวจะทำงานนั้นได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบ การขออนุญาตทำงาน การอนุญาตให้ทำงาน และการแจ้ง ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แบบใบอนุญาตทำงานให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๖๐ คนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานตามมาตรา ๕๙ ต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๑ ผู้ใดประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักรเข้ามาทำงานในกิจการของตนในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขออนุญาตทำงานต่อนายทะเบียนและชำระค่าธรรมเนียมแทนคนต่างด้าว การขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวและการออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๒ เมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม หรือกฎหมายอื่น ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายดังกล่าวแจ้งต่อนายทะเบียนโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ การแจ้งให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตทำงานให้แก่คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แบบใบอนุญาตทำงานให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ในระหว่างที่ดำเนินการตามวรรคสอง ให้คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งทำงานไปพลางก่อนได้ โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๖๘ มาตรา ๖๓ คนต่างด้าวซึ่งไม่อาจขออนุญาตตามมาตรา ๕๙ เพราะเหตุดังต่อไปนี้ อาจขออนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อทำงานตามประเภทที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ โดยคำนึงถึงความมั่นคงของชาติและผลกระทบต่อสังคม (๑) ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศและได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใดแทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ (๒) เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง แต่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (๓) ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ (๕) เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ การขออนุญาตทำงานและการออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แบบใบอนุญาตทำงานให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๖๔ คนต่างด้าวซึ่งเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ถ้าได้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีบัตรผ่านแดนหรือเอกสารราชการที่ประเทศต้นทางออกให้คนต่างด้าวที่สามารถใช้ในการเข้ามาในราชอาณาจักร อาจได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ทำงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาลและในท้องที่ที่กำหนดได้ ความในวรรคหนึ่งจะใช้บังคับกับท้องที่ใด สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติใด เพื่อทำงานประเภทหรือลักษณะใด โดยมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา การขออนุญาตทำงานและการออกใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แบบใบอนุญาตทำงานให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๖๕ ใบอนุญาตทำงานที่ออกให้ตามพระราชกำหนดนี้ให้มีอายุไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออก เว้นแต่ใบอนุญาตทำงานที่ออกให้แก่คนต่างด้าวตามมาตรา ๖๒ ให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ อายุใบอนุญาตทำงานตามวรรคหนึ่งไม่มีผลเป็นการขยายระยะเวลาอยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้ทำงานตามมาตรา ๖๒ ได้รับการขยายระยะเวลาทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายดังกล่าวมีหนังสือแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานนั้นต่อนายทะเบียนโดยเร็วตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้นายทะเบียนจดแจ้งการขยายระยะเวลานั้นลงในใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๖๗ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานซึ่งประสงค์จะทำงานต่อไปให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานต่อนายทะเบียนก่อนที่ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานนั้นทำงานไปพลางก่อนจนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงาน การต่ออายุใบอนุญาตทำงานให้ต่อได้ครั้งละไม่เกินสองปี โดยให้กระทำเพียงเท่าที่จำเป็น และสำหรับกรณีคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๓ (๑) หรือ (๒) นั้น ระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานติดต่อกันรวมแล้วต้องไม่เกินสี่ปี เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่นเป็นคราว ๆ ไป การขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานและการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๘ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานต้องมีใบอนุญาตทำงานอยู่กับตัวหรืออยู่ ณ สถานที่ทำงานในระหว่างเวลาทำงาน เพื่อแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียนได้เสมอ มาตรา ๖๙ ถ้าใบอนุญาตทำงานสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตให้ทำงานยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานและการออกใบแทนใบอนุญาตทำงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๗๐ ห้ามผู้รับอนุญาตให้ทำงานทำงานแตกต่างจากประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ หรือเงื่อนไขในการทำงาน ตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตตามมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๑ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนหรือเพิ่มรายการ ดังต่อไปนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน (๑) ประเภทงาน (๒) นายจ้าง (๓) ท้องที่ (๔) เงื่อนไขในการทำงาน การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๗๒ ห้ามผู้ใดรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตทำงานกับตนเข้าทำงาน มาตรา ๗๓ ห้ามผู้ใดให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๗๔ ให้นายจ้างแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตให้ทำงานออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด หมวด ๕ กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว มาตรา ๗๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในกรมการจัดหางาน เรียกว่า “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว มาตรา ๗๖ ให้กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินหรือทรัพย์สินที่โอนมาจากกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามมาตรา ๑๔๐ (๒) เงินเพิ่มตามมาตรา ๑๑ วรรคสาม (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) เงินค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บได้ตามพระราชกำหนดนี้ตามที่กระทรวงการคลังอนุญาต ให้นำไปใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (๕) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๖) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่จัดสรรให้ตามความจำเป็น (๗) เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่กองทุนได้รับไม่ว่ากรณีใด เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้นำส่งเข้ากองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๗๗ เงินของกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามพระราชกำหนดนี้ที่ถูกละเมิดสิทธิตามกฎหมายด้านแรงงาน (๒) ส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) ช่วยเหลือและอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ที่เสนอโครงการหรือแผนงานในการดำเนินการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงาน การจัดสวัสดิการ การศึกษา การสาธารณสุข และการให้ความคุ้มครองด้านแรงงาน แก่คนต่างด้าว (๔) คืนให้แก่คนต่างด้าวที่ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว (๕) บริหารกองทุน (๖) บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชกำหนดนี้ การดำเนินการตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด มาตรา ๗๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการจัดหางาน เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงบประมาณ และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านแรงงาน ด้านการคลัง ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการบริหาร หรือด้านกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการกองทุนอาจแต่งตั้งข้าราชการกรมการจัดหางานจำนวนไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๗๙ กรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี กรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน มาตรา ๘๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่หรือทุจริต มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก มาตรา ๘๑ ให้คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบาย กำกับดูแลการบริหารจัดการ และติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการใช้จ่ายเงินของกองทุนตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๓) พิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานประจำปี (๔) พิจารณาจัดสรรเงินของกองทุนเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินของกองทุน เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าวและการเบิกจ่ายเงินทดรองในการดำเนินการดังกล่าว มาตรา ๘๒ คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อพิจารณา หรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมายได้ มาตรา ๘๓ ให้กรมการจัดหางานจัดทำบัญชีของกองทุนให้เป็นไปตามระบบการบัญชีอย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และให้ส่งผู้สอบบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี มาตรา ๘๔ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีอิสระที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน มาตรา ๘๕ ให้ผู้สอบบัญชีรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้กรมการจัดหางานเผยแพร่งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีรับทราบ หมวด ๖ มาตรการทางปกครอง ส่วนที่ ๑ การพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน การเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน และการเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ ให้อธิบดีสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน และสั่งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานนั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด มาตรา ๘๗ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้และอยู่ระหว่างการดำเนินคดี ให้อธิบดีสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานจนกว่าคดีจะถึงที่สุด มาตรา ๘๘ ให้อธิบดีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติหรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามคำสั่งของอธิบดีตามมาตรา ๘๖ (๒) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปี หรือเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานอีก (๓) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศต้นทาง มีส่วนรู้เห็นหรือเป็นผู้สนับสนุนการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องดังกล่าวในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ และอธิบดีได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศต้นทาง หรือห้ามมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวข้างต้นแล้ว แต่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเตือนของอธิบดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนนั้น (๔) ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานฝ่าฝืนมาตรา ๘๙ วรรคสอง (๕) อธิบดีเห็นว่าการที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ เป็นกรณีที่ร้ายแรง (๖) อธิบดีเห็นว่าผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่สามารถปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ได้ มาตรา ๘๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้ทำเป็นหนังสือและแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ยอมรับคำสั่ง ให้ปิดคำสั่งดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สำนักงาน และให้ถือว่าผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคำสั่ง ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่การดำเนินการที่ต้องกระทำต่อเนื่องจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศก่อนวันที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานต้องรับผิดชอบในการจัดส่งคนต่างด้าวซึ่งยังอยู่ในความรับผิดชอบของตนกลับไปยังประเทศต้นทางจนกว่าจะพ้นจากความรับผิดตามพระราชกำหนดนี้ และให้รายงานให้อธิบดีทราบเกี่ยวกับคนต่างด้าวซึ่งยังอยู่ในความรับผิดชอบของตน มาตรา ๙๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับอนุญาตให้ทำงานฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาต ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน มาตรา ๙๑ อธิบดีอาจประกาศรายชื่อนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ซึ่งได้รับโทษเพราะฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ ส่วนที่ ๒ การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง มาตรา ๙๒ ในกรณีที่อธิบดีไม่อนุญาตตามมาตรา ๒๖ ไม่ต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๓๐ ไม่อนุญาตให้ย้ายสำนักงานหรือให้ตั้งสำนักงานชั่วคราวตามมาตรา ๓๓ ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลตามมาตรา ๓๔ หรือได้หักหลักประกันหรือเรียกหลักประกันเพิ่มตามพระราชกำหนดนี้ ผู้ขออนุญาตหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๓ ในกรณีที่อธิบดีไม่อนุญาตตามมาตรา ๔๖ หรือได้หักหลักประกันหรือเรียกหลักประกันเพิ่มตามพระราชกำหนดนี้ นายจ้างมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๔ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน หรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๕ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาตตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ หรือมาตรา ๗๑ หรือไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ หรือเพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ คนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงาน ผู้ซึ่งขออนุญาตแทนคนต่างด้าว หรือผู้รับอนุญาตให้ทำงาน แล้วแต่กรณี มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด มาตรา ๙๖ เมื่อรัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ ให้พิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้มีหนังสือแจ้งแก่ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว กรณีที่พ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่ารัฐมนตรีพิจารณาคำอุทธรณ์แล้วยืนยันตามคำสั่งเดิม มาตรา ๙๗ การอุทธรณ์ตามมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เว้นแต่กรณีการอุทธรณ์คำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ หมวด ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๙๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดเพื่อประกอบการพิจารณาได้ (๒) เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบให้การเป็นไปตามพระราชกำหนดนี้ (๓) เข้าไปในสถานประกอบการซึ่งรับคนต่างด้าวจากผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบให้การเป็นไปตามพระราชกำหนดนี้ (๔) ค้นในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศหรือมีคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือค้นเพื่อหาและช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งตกเป็นผู้เสียหายจากการกระทำที่ฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ (๕) ยึดหรืออายัด เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ การค้นตาม (๔) ต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุอันควรเชื่อว่า หากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ คนต่างด้าวนั้นอาจถูกประทุษร้าย โยกย้าย หรือซ่อนเร้น หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องอาจถูกโยกย้าย ซ่อนเร้น ทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม หรือถูกทำลายไปเสียก่อน ให้ดำเนินการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้น ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร มาตรา ๙๙ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง มาตรา ๑๐๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เพื่อประโยชน์ในการจับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบคนต่างด้าวผู้ใดทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตทำงานหรือทำงานแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงานอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ และพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้คนต่างด้าวไปรายงานตัวยังสถานีตำรวจพร้อมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่คนต่างด้าวผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือจะหลบหนี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับคนต่างด้าวนั้นโดยไม่ต้องมีหมายจับ และให้นำตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยทันที หมวด ๘ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๐๑ คนต่างด้าวซึ่งมิใช่ผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่คนต่างด้าวซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ยินยอมเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายในเวลาที่พนักงานสอบสวนกำหนด แต่ต้องไม่ช้ากว่าสามสิบวัน พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับก็ได้ และเมื่อได้ดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้นเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๐๒ ผู้ใดรับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยฝ่าฝืนมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงแปดแสนบาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน มาตรา ๑๐๓ ผู้ใดนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศโดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๒๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐๖ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๐๗ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มาตรา ๓๗ วรรคสองหรือวรรคสาม มาตรา ๔๐ วรรคสอง มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ วรรคสาม มาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๐๘ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๐๙ ผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลหรือลูกจ้างซึ่งจดทะเบียนตามมาตรา ๓๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา ๑๑๐ ผู้ใดมิได้เป็นลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศที่ได้จดทะเบียนตามมาตรา ๓๕ แต่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๑ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับห้าเท่าของเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่เรียกหรือรับไว้จากนายจ้างหรือคนต่างด้าว หรือค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเกินกว่าอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษปรับสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ มาตรา ๑๑๓ นายจ้างผู้ใดนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทต่อการนำคนต่างด้าวมาทำงานหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๔ นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อการเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ จากคนต่างด้าวหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๑๕ นายจ้างผู้ใดไม่แจ้งต่ออธิบดีเมื่อคนต่างด้าวไม่ได้ทำงานกับตนแล้ว ตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน นายจ้างผู้ใดไม่แจ้งต่ออธิบดีภายหลังจากที่ได้จัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางแล้วตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๑๑๖ นายจ้างผู้ใดไม่จัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทาง ตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๑๑๗ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดไม่แจ้งต่ออธิบดีภายหลังจากที่ได้ส่งคนต่างด้าวซึ่งไม่ได้ทำงานกับนายจ้างกลับไปยังประเทศต้นทางแล้วตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๑๑๘ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานผู้ใดไม่จัดส่งคนต่างด้าวซึ่งไม่ได้ทำงานกับนายจ้างกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๑๑๙ คนต่างด้าวผู้ใดทำงานโดยไม่ได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒๐ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๑ ผู้รับอนุญาตให้ทำงานผู้ใดทำงานอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงแปดแสนบาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน มาตรา ๑๒๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน มาตรา ๑๒๔ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒๕ ผู้ใดไม่มาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานตามมาตรา ๙๘ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๖ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๙๘ (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒๗ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกตามมาตรา ๙๘ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท มาตรา ๑๒๘ ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ หรือสามารถหาลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าวให้กับนายจ้าง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หกแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำโดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป หรือโดยสมาชิกขององค์กรอาชญากรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง มาตรา ๑๒๙ ผู้ใดสนับสนุนการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๘ ไม่ว่าการกระทำของตัวการจะได้กระทำนอกราชอาณาจักรหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๓๐ การเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๘ หรือมาตรา ๑๒๙ แทนผู้เสียหาย พนักงานอัยการจะขอรวมไปกับฟ้องคดีอาญา หรือจะยื่นคำร้องในภายหลังขณะที่คดีอาญานั้นยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ได้ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายที่จะยื่นคำร้องเพื่อเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดี ในกรณีที่ไม่มีคำขอให้ใช้ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปตามวรรคหนึ่ง หากศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลย ศาลจะสั่งในคำพิพากษาคดีอาญาให้จำเลยใช้ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปแก่ผู้เสียหายตามที่เห็นสมควรก็ได้ คำสั่งดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้เสียหายในอันที่จะฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกเอาทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปในส่วนที่ยังขาดอยู่ มาตรา ๑๓๑ ผู้ใดยึดใบอนุญาตทำงานหรือเอกสารสำคัญประจำตัวของคนต่างด้าวไว้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทำของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๑๓๓ บรรดาความผิดตามพระราชกำหนดนี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดีสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร (๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดนั้น ในกรณีที่มีการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ที่มีโทษอยู่ในเกณฑ์ที่จะทำการเปรียบเทียบได้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ เมื่อผู้กระทำผิดได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในเวลาที่กำหนดแต่ไม่เกินสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๓๔ ในระหว่างที่ยังมิได้มีประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ ให้นายทะเบียนอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานใด ๆ ได้ เว้นแต่งานที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๑๓๕ คนต่างด้าวผู้ใดได้รับใบอนุญาตทำงานหรือได้รับการผ่อนผันให้ทำงานตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับใบอนุญาตทำงานหรือได้รับการผ่อนผันให้ทำงานตามพระราชกำหนดนี้ ใบอนุญาตทำงานที่ออกให้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๒ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุใบอนุญาตทำงานนั้น มาตรา ๑๓๖ นายจ้างผู้ใดได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ดำเนินการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนเองในประเทศได้ต่อไป มาตรา ๑๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ อยู่ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามพระราชกำหนดนี้ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามวรรคหนึ่ง ประสงค์จะนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศภายหลังจากวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ก่อนนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ มาตรา ๑๓๘ บรรดาคำขอที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำขอที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชกำหนดนี้ และให้อธิบดีเรียกเอกสารหรือหลักฐานประกอบคำขอที่กำหนดไว้ตามพระราชกำหนดนี้ให้ครบถ้วน มาตรา ๑๓๙ บรรดาคำอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๑๔๐ ให้โอนบรรดากิจการ เงิน สิทธิ ความรับผิด ทรัพย์สิน และหนี้สินของกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ไปเป็นของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๑๔๑ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๑๗ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๔๒ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๗๘ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๔๓ ลูกจ้างซึ่งถูกหักเงินค่าจ้างและนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยค่าใช้จ่ายของตนเอง ให้มีสิทธิได้รับเงินที่ถูกหักไว้คืนภายในสองปีนับจากวันที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร หากไม่ขอรับเงินคืนภายในเวลาที่กำหนดให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน มาตรา ๑๔๔ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และเป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้งตามมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ได้รับการแต่งตั้งอยู่ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับมีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นนั้นได้ บรรดาความผิดตามพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และเป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้อธิบดีกรมการจัดหางานหรือผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖๑ แห่งพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นนั้นได้ มาตรา ๑๔๕ บรรดากฎหรือคำสั่งใด ๆ ที่ได้ออกหรือสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกำหนดนี้ จนกว่าจะมีกฎหรือคำสั่งใด ๆ ที่ออกตามพระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (๑) ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๒) การต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ครั้งละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๓) ใบแทนใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๔) การอนุญาตให้ย้ายสำนักงาน ครั้งละ ๕,๐๐๐ บาท หรือตั้งสำนักงานชั่วคราว (๕) การอนุญาตให้เปลี่ยนผู้จัดการผู้มีอำนาจ ครั้งละ ๕,๐๐๐ บาท กระทำการแทนนิติบุคคล (๖) การจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับ คนละ ๑,๐๐๐ บาท การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (๗) บัตรประจำตัวผู้จัดการหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้าง ในประเทศ (๘) ใบอนุญาตทำงาน ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๙) การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ครั้งละ ๒๐,๐๐๐ บาท หรือการขยายระยะเวลาการทำงาน (๑๐) ใบแทนใบอนุญาตทำงาน ฉบับละ ๓,๐๐๐ บาท (๑๑) การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน ครั้งละ ๕,๐๐๐ บาท นายจ้าง ท้องที่ หรือเงื่อนไขในการทำงาน (๑๒) การจ้างคนต่างด้าว คนละ ๒๐,๐๐๐ บาท (๑๓) ค่ายื่นคำขอ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๑๔) การรับรองสำเนาเอกสาร (ก) ภาษาไทย หน้าละ ๕๐ บาท (ข) ภาษาต่างประเทศ หน้าละ ๑๐๐ บาท (๑๕) การออกหนังสือรับรอง (ก) ภาษาไทย หน้าละ ๕๐๐ บาท (ข) ภาษาต่างประเทศ หน้าละ ๑,๐๐๐ บาท (๑๖) การแปลภาษาต่างประเทศ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท (๑๗) ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ครั้งละ ๑,๐๐๐ บาท ในการออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม จะกำหนดค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกัน โดยคำนึงถึงสาขาอาชีพ หรือสาขาอาชีพและท้องที่ทำงานของคนต่างด้าวก็ได้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ มีบทบัญญัติที่ไม่ครอบคลุมการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวทั้งระบบ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านแรงงาน เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้สามารถทำการจัดระเบียบ การป้องกัน การคุ้มครอง การเยียวยา และการใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้ทั้งระบบ อันจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านแรงงาน เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ซึ่งเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ พจนา/ตรวจ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๑/๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐
784409
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓๖ (๓) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบดีกรมการจัดหางานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๒ กำหนดให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๖ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ (๑)[๒] สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตกรุงเทพมหานคร (๒) ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งของคนต่างด้าวดังนี้ (ก) คนต่างด้าวซึ่งนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ตั้งแต่ ๒ ล้านบาทขึ้นไป และบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ข) คนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานกับสถานประกอบการที่จดทะเบียนในประเทศไทยและมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วหรือทุนดำเนินการตั้งแต่ ๓๐ ล้านบาทขึ้นไป และบิดามารดา คู่สมรสหรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ค) คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะทำงานหรือได้รับอนุญาตให้ทำงานในสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเป็นธุรกิจบริการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และบิดามารดา คู่สมรสหรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ง) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่นตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และคู่สมรสหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะ (จ) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม และคู่สมรสหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะ (ฉ) คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการและบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ช) คนต่างด้าวซึ่งเป็นนักวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ซ) คนต่างด้าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสาขาธนาคารต่างประเทศ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ และสำนักงานผู้แทนของธนาคารต่างประเทศซึ่งได้รับการรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย และบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ฌ) คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชียวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และบิดามารดา คู่สมรสหรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ญ) คนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติงานประจำสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ฎ) คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามพันธกรณีที่รัฐบาลทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (๓)[๓] ศูนย์จัดหางาน สาขาเกาะสมุย กรมการจัดหางาน สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตอำเภอเกาะสมุยและอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (๔)[๔] ด่านตรวจคนหางานเบตง กรมการจัดหางาน สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา (๕)[๕] ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง (๖)[๖] สำนักงานจัดหางานจังหวัดตาก สาขาอำเภอแม่สอด สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตจังหวัดตาก ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ประวิทย์ เคียงผล รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒)[๗] ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๓)[๘] ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๔)[๙] ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ พรวิภา/เพิ่มเติม ๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ ชญานิศ/เพิ่มเติม ๑๖ มกราคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๓๙/๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๒ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) [๓] ข้อ ๒ (๓) เพิ่มโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) [๔] ข้อ ๒ (๔) เพิ่มโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) [๕] ข้อ ๒ (๕) เพิ่มโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๓) [๖] ข้อ ๒ (๖) เพิ่มโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๔) [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๙/๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๗๗ ง/หน้า ๑๓/๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๒๙ ง/หน้า ๘/๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
813020
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๙ วรรคสาม มาตรา ๖๒ วรรคสาม มาตรา ๖๓ วรรคสาม และมาตรา ๖๔ วรรคสี่ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมการจัดหางานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ ๓ (๑) (๒) และ (๓) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป สำหรับแบบ บต.๕ และ บต.๕/๑ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป[๒] ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ใบอนุญาตทำงาน” หมายความว่า ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร “ใบอนุญาตทำงานอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ใบอนุญาตทำงานในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๓ ใบอนุญาตทำงานมี ๔ ชนิด ดังนี้ (๑) ใบอนุญาตทำงานที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (๒) ใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (๓) ใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ (๔) ใบอนุญาตทำงานอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๔ ใบอนุญาตทำงานที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามแบบ บต.๓ และ บต.๔ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕[๓] ใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามแบบ บต.๓ บต.๔ บต.๕ และ บต.๕/๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ ให้เป็นไปตามแบบ บต.๖ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ ใบอนุญาตทำงานอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามแบบ บต.๗ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ในระหว่างที่ยังมิได้ใช้บังคับข้อ ๓ (๑) (๒) และ (๓) ใบอนุญาตทำงานที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์และใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามแบบ ตท.๑๑ ตท.๑๑/๒ และ ตท.๑๕ ท้ายกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาตและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตการออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ และใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ ให้เป็นไปตามแบบ ตท.๑๑/๑ ท้ายกฎกระทรวงดังกล่าว ข้อ ๙ บรรดาใบอนุญาตทำงานที่ออกก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตทำงานนั้นจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ วรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบใบอนุญาตทำงานที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมคอมพิวเตอร์และใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แบบ บต. ๓ ๒. แบบใบอนุญาตทำงานที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมคอมพิวเตอร์และใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แบบ บต.๔ ๓.[๔] แบบใบอนุญาตทางานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (แบบ บต.๕ FORM WP.5) ๔.[๕] แบบใบอนุญาตทางานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (แบบ บต.๕/๑ FORM WP.5/1) ๕. แบบใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ แบบ บต.๖ ๖. แบบใบอนุญาตทำงานอิเล็กทรอนิกส์ แบบ บต.๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ ๒)[๖] ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ปุณิกา/จัดทำ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๓๒ ง/หน้า ๑๔/๒๑ กันยายน ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๑ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ ๒) [๓] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ ๒) [๔] แบบใบอนุญาตทางานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (แบบ บต.๕ FORM WP.5) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ ๒) [๕] แบบใบอนุญาตทางานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (แบบ บต.๕/๑ FORM WP.5/1) เพิ่มโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ ๒) [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๑/๕ เมษายน ๒๕๖๑
873955
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ภายในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓[๑] ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID - 19) ระลอกใหม่ที่แพร่ระบาดในคนต่างด้าว โดยมีทั้งที่เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง ซึ่งในขณะนี้ไม่อาจทราบได้ว่าคนต่างด้าวนั้นมีจำนวนเท่าใด ทำให้ยากต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค จำเป็นต้องให้คนต่างด้าวนั้นต้องแสดงตน โดยการแจ้งความประสงค์ที่จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน จึงจำเป็นต้องกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวไว้เป็นการเฉพาะกรณี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และมาตรา ๑๔ และมาตรา ๖๓ (๒) แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “คนต่างด้าว” หมายความว่า คนต่างด้าวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ ข้อ ๒ ในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวนอกจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ ๓ ให้คนต่างด้าวสามารถทำงานกับนายจ้างไปพลางก่อนได้ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวต่อกระทรวงแรงงาน ตามแบบที่อธิบดีกรมการจัดหางานกำหนด พร้อมด้วยรูปถ่ายปัจจุบันของคนต่างด้าว โดยผ่านทาง ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ และให้คนต่างด้าวใช้บัญชีรายชื่อดังกล่าวเป็นหลักฐานแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ข้อ ๔ กรณีคนต่างด้าวไม่มีนายจ้างแต่ประสงค์จะทำงานโดยมีนายจ้าง ให้คนต่างด้าวแจ้งข้อมูลต่อกระทรวงแรงงานตามแบบที่อธิบดีกรมการจัดหางานกำหนด พร้อมด้วยรูปถ่ายปัจจุบัน โดยผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ และให้คนต่างด้าวใช้แบบแจ้งข้อมูลดังกล่าวเป็นหลักฐานในการแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ข้อ ๕ คนต่างด้าวตามข้อ ๓ หรือข้อ ๔ ต้องตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ และตรวจโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงาน พ.ศ. ๒๕๖๓ ก่อนที่นายจ้างจะยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ทั้งนี้ ภายในวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๔ ในระหว่างดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คนต่างด้าวที่มีนายจ้างสามารถทำงานไปพลางก่อนได้ ข้อ ๖ คนต่างด้าวซึ่งไม่เป็นโรคตามข้อ ๕ และมีนายจ้างประสงค์ที่จะรับเข้าทำงาน ให้นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวต่อนายทะเบียนโดยผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมด้วยใบรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอฉบับละ ๑๐๐ บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวฉบับละ ๑,๘๐๐ บาท ภายในวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ และให้นำความในข้อ ๕ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๗ คนต่างด้าวซึ่งไม่เป็นโรคตามข้อ ๕ และไม่มีนายจ้าง ให้ยื่นคำร้องขอจัดทำทะเบียนประวัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ณ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานครหรือสถานที่อื่นที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด ภายในวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ เมื่อคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งได้รับแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ท.ร.๓๘/๑) แล้ว และนายจ้างประสงค์จะรับคนต่างด้าวนั้นเข้าทำงาน ให้นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวต่อนายทะเบียนโดยผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมด้วยใบรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอฉบับละ ๑๐๐ บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวฉบับละ ๑,๘๐๐ บาท ทั้งนี้ ภายในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๔ ข้อ ๘ ให้คนต่างด้าวใช้ใบรับคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวคู่กับใบเสร็จรับเงินเสมือนใบอนุญาตทำงานเพื่อเป็นหลักฐานแทนใบอนุญาตทำงานจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ ๙ เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบคำขออนุญาตทำงานรวมทั้งเอกสารหรือหลักฐานตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗ แล้ว เห็นว่าถูกต้องและครบถ้วน ให้นายทะเบียนอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานได้ ไม่เกินวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ และให้กระทรวงแรงงานแจ้งข้อมูลการอนุญาตดังกล่าวให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรทราบเพื่อดำเนินการต่อไป ข้อ ๑๐ เมื่อนายทะเบียนอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานแล้ว ให้นายจ้างนำตัวคนต่างด้าวไปยื่นคำร้องขอจัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และรับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังของบัตร ณ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานครหรือสถานที่อื่นที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด ภายในวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ข้อ ๑๑ ให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานตามประกาศฉบับนี้มีสิทธิทำงานกับนายจ้างได้ทุกประเภทงานที่มิได้มีประกาศห้ามคนต่างด้าวทำตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ โดยให้นำประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ และประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง เงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกรรมกรและงานขายของหน้าร้านกับนายจ้าง ลงวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๒ คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาตทำงานตามประกาศนี้ ถ้าออกจากงานจะต้องทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม ข้อ ๑๓ ให้นายจ้างซึ่งจ้างคนต่างด้าวตามประกาศนี้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องแจ้งข้อมูลการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงานกับตนตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง เฉพาะการแจ้งข้อมูลการเข้าทำงานของคนต่างด้าวซึ่งตนได้ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทน ข้อ ๑๔ ให้ถือว่าการยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวของนายจ้างตามประกาศนี้ เป็นการแจ้งข้อมูลการเข้าทำงานกับนายจ้างให้นายทะเบียนทราบตามมาตรา ๖๔/๒ ข้อ ๑๕ คำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมการจัดหางานกำหนด ข้อ ๑๖ นอกจากใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุลง การทำงานของคนต่างด้าวเป็นอันสิ้นสุดเมื่อ (๑) นายจ้างไม่ได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวตามข้อ ๓ วรรคสอง ให้การทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ (๒) คนต่างด้าวไม่ได้ดำเนินการตามข้อ ๕ หรือดำเนินการแล้ว พบว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงาน พ.ศ. ๒๕๖๓ (๓) นายจ้างไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗ ให้การอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว (๔) คนต่างด้าวออกจากงานและไม่ได้ทำงานกับนายจ้างรายอื่นภายในกำหนดเวลาตามข้อ ๑๒ ให้ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา หรือ (๕) การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวเป็นอันสิ้นผลลงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ธนบดี/จัดทำ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔ สุภาทิพย์/ตรวจ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๓๐๕ ง/หน้า ๑๖/๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๓
860429
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง เงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกรรมกรและงานขายของหน้าร้านกับนายจ้าง
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง เงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกรรมกรและงานขายของหน้าร้านกับนายจ้าง[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกรรมกรและงานขายของหน้าร้านกับนายจ้าง ซึ่งเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำในทุกท้องที่ในราชอาณาจักร โดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้างและได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศตามบัญชีสี่ท้ายประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อประโยชน์ในการรักษาโอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย และควบคุมการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานดังกล่าวกับนายจ้างในประเทศให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยคำนึงถึงความมั่นคงของชาติและความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ วรรคสอง ของประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกรรมกร ให้นายจ้างรับคนต่างด้าวทำงานในกิจการของตนได้เฉพาะคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ และนายจ้างจะให้คนต่างด้าวนั้นทำงานขายของหน้าร้านมิได้ เว้นแต่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ในกรณีที่นายจ้างประสงค์จะรับหรือให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ทำงานอื่นเข้าทำงานกรรมกรได้ ก็ต่อเมื่อคนต่างด้าวได้ยื่นคำขอเปลี่ยนรายการในใบอนุญาตทำงาน พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนตามแบบท้ายประกาศนี้ และนายทะเบียนได้ออกใบอนุญาตทำงานให้ใหม่หรือสลักหลังใบอนุญาตทำงานเพื่อแสดงถึงสิทธิในการทำงานกรรมกรให้แก่คนต่างด้าวแล้ว ข้อ ๓ นายจ้างซึ่งประสงค์จะรับคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศและสามารถสื่อสารภาษาไทยได้เพื่อให้ทำงานขายของหน้าร้าน ต้องเป็นผู้ประกอบพาณิชยกิจที่จดทะเบียนพาณิชย์และได้รับใบทะเบียนพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ ในกรณีที่นายจ้างได้ประกอบพาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ ให้นายจ้างแสดงหลักฐานการอนุญาตหรือการรับรองหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้เพื่อประกอบพาณิชยกิจตามกฎหมายอื่น แทนใบทะเบียนพาณิชย์ ข้อ ๔ นายจ้างซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๓ จะมีสิทธิรับคนต่างด้าวเข้าทำงานขายของหน้าร้านในกิจการของตนได้ไม่เกินกว่าจำนวนที่กำหนด ดังนี้ (๑) กรณีนายจ้างได้รับยกเว้นการเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แล้วแต่กรณี ในปีภาษีที่ผ่านมา ให้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานขายของหน้าร้านได้ไม่เกินหนึ่งคน (๒) กรณีนายจ้างได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แล้วแต่กรณี ในปีภาษีที่ผ่านมา เป็นเงินจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท ให้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานขายของหน้าร้านได้ไม่เกินสามคน (๓) กรณีนายจ้างได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แล้วแต่กรณี ในปีภาษีที่ผ่านมา เป็นเงินจำนวนเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน (๒) ทุก ๆ ห้าหมื่นบาท ให้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานขายของหน้าร้านได้เพิ่มอีกจำนวนหนึ่งคน ทั้งนี้ ให้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานดังกล่าวได้ไม่เกินสิบคน (๔) เมื่อนายจ้างรับคนต่างด้าวเข้าทำงานขายของหน้าร้านครบจำนวนตาม (๓) แล้ว หากมีลูกจ้างคนไทยทำงานในกิจการของตนจำนวนสามสิบคน ให้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานขายของหน้าร้านได้เพิ่มอีกจำนวนหนึ่งคน ถ้านายจ้างมีจำนวนลูกจ้างคนไทยมากกว่าจำนวนตามวรรคหนึ่ง ทุก ๆ จำนวนลูกจ้างคนไทยที่เพิ่มขึ้นสิบคน ให้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานขายของหน้าร้านได้เพิ่มอีกจำนวนหนึ่งคน ทั้งนี้ ให้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานดังกล่าวได้ไม่เกินยี่สิบคน (๕) กรณีนายจ้างได้เริ่มประกอบพาณิชยกิจหรือจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล และไม่มีเงินได้เกิดขึ้นในปีภาษีที่ผ่านมา ให้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานขายของหน้าร้านได้ไม่เกินหนึ่งคน ถ้านายจ้างตามวรรคหนึ่งมีลูกจ้างคนไทยทำงานในกิจการของตนตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ให้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานขายของหน้าร้านได้เพิ่มอีกจำนวนหนึ่งคนต่อจำนวนลูกจ้างคนไทยที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ สิบคน ทั้งนี้ ให้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานดังกล่าวได้ไม่เกินสามคน ข้อ ๕ นายจ้างซึ่งมีสิทธิตามข้อ ๔ จะให้คนต่างด้าวทำงานขายของหน้าร้านได้ ก็ต่อเมื่อคนต่างด้าวได้รับใบอนุญาตทำงานซึ่งแสดงสิทธิในการทำงานขายของหน้าร้านกับตนจากนายทะเบียนแล้ว ในกรณีคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งเป็นผู้รับอนุญาตให้ทำงานประเภทอื่น หรือเป็นผู้มีสิทธิเปลี่ยนนายจ้างตามมาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๕๑ และมาตรา ๕๒ ไม่ว่าเคยทำงานใด จะมีสิทธิทำงานขายของหน้าร้านกับนายจ้างตามวรรคหนึ่งได้ ก็ต่อเมื่อได้ยื่นคำขอเปลี่ยนรายการในใบอนุญาตทำงาน พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนตามแบบท้ายประกาศนี้ และนายทะเบียนได้ออกใบอนุญาตทำงานให้ใหม่หรือสลักหลังใบอนุญาตทำงานเพื่อแสดงถึงสิทธิในการทำงานขายของหน้าร้านกับนายจ้างนั้นให้แก่คนต่างด้าวแล้ว ข้อ ๖ ในกรณีนายจ้างประสงค์จะรับหรือให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ทำงานกรรมกรหรืองานขายของหน้าร้าน แล้วแต่กรณี ทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไขตามบัญชีสามท้ายประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ ก็ต่อเมื่อคนต่างด้าวได้ยื่นคำขอเปลี่ยนรายการในใบอนุญาตทำงาน พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนตามแบบท้ายประกาศนี้ และนายทะเบียนได้ออกใบอนุญาตทำงานให้ใหม่หรือสลักหลังใบอนุญาตทำงานเพื่อแสดงถึงสิทธิในการทำงานดังกล่าวให้แก่คนต่างด้าวแล้ว ข้อ ๗ การยื่นคำขอตามประกาศนี้ ให้กระทำ ณ ท้องที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ ดังต่อไปนี้ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ (๒) ในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ สุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบคำขอเปลี่ยนรายการใบอนุญาตทำงานกรณีเปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน (แบบ บต. 22) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/ธนบดี/จัดทำ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๑๕/๙ มิถุนายน ๒๕๖๓
860425
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓[๑] ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง รัฐบาลจึงได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และออกข้อกำหนดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยกำหนดให้มีการปิดด่านช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยปิดช่องทางเข้าออกด่าน จุดผ่านแดนหรือจุดผ่อนปรน สำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อควบคุมมิให้โรคดังกล่าวแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในประเทศไทยและในประเทศต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของโลกยังไม่คลี่คลายลงและยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการลดปัญหาคนต่างด้าวลักลอบทำงานโดยผิดกฎหมายอันกระทบต่อความมั่นคงของประเทศและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิตอันเป็นผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเพื่อป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าว กระทรวงแรงงานจึงจำเป็นต้องอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และครบกำหนดระยะเวลาการจ้างงานตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจดังกล่าว และคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและเมียนมาซึ่งได้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรโดยมีบัตรผ่านแดน ทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวดังต่อไปนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ทำงานกับนายจ้างรายเดิมได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ (๑) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศตามมาตรา ๕๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ และวาระการจ้างงานครบสี่ปีและใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุก่อนหรือภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ (๒) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและเมียนมา ซึ่งเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรโดยมีบัตรผ่านแดนตามมาตรา ๖๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ และใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุก่อนหรือภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งยังคงมีสิทธิทำงานได้ตามประเภทงานที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๙ หรือมาตรา ๖๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ คนต่างด้าวจะทำงานกับนายจ้างรายอื่นมิได้ เว้นแต่นายจ้างเลิกประกอบกิจการ ล้มละลาย หรือเสียชีวิต ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าว ให้คนต่างด้าวใช้ใบอนุญาตทำงานฉบับเดิมเป็นหลักฐานในการแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียนแทนใบอนุญาตทำงานได้ ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามข้อ ๒ เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ก่อนครบระยะเวลาตามประกาศนี้ (๑) คนต่างด้าวฝ่าฝืนข้อ ๒ วรรคสอง (๒) การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวเป็นอันสิ้นผลลงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขยายระยะเวลาการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน กรณีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ลงวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขยายระยะเวลาการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๖๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ลงวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกาศ ณ วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ธนบดี/ชญานิศ/จัดทำ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๗/๙ มิถุนายน ๒๕๖๓
851561
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับ Update ณ วันที่ 02/11/2561)
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓๖ (๓) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบดีกรมการจัดหางานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๒ กำหนดให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๖ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ (๑)[๒] สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตกรุงเทพมหานคร (๒) ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งของคนต่างด้าวดังนี้ (ก) คนต่างด้าวซึ่งนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ตั้งแต่ ๒ ล้านบาทขึ้นไป และบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ข) คนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานกับสถานประกอบการที่จดทะเบียนในประเทศไทยและมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วหรือทุนดำเนินการตั้งแต่ ๓๐ ล้านบาทขึ้นไป และบิดามารดา คู่สมรสหรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ค) คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะทำงานหรือได้รับอนุญาตให้ทำงานในสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเป็นธุรกิจบริการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และบิดามารดา คู่สมรสหรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ง) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่นตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และคู่สมรสหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะ (จ) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม และคู่สมรสหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะ (ฉ) คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการและบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ช) คนต่างด้าวซึ่งเป็นนักวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ซ) คนต่างด้าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสาขาธนาคารต่างประเทศ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ และสำนักงานผู้แทนของธนาคารต่างประเทศซึ่งได้รับการรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย และบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ฌ) คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชียวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และบิดามารดา คู่สมรสหรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ญ) คนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติงานประจำสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ฎ) คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามพันธกรณีที่รัฐบาลทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (๓)[๓] ศูนย์จัดหางาน สาขาเกาะสมุย กรมการจัดหางาน สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตอำเภอเกาะสมุยและอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (๔)[๔] ด่านตรวจคนหางานเบตง กรมการจัดหางาน สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา (๕)[๕] ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ประวิทย์ เคียงผล รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒)[๖] ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๓)[๗] ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ พรวิภา/เพิ่มเติม ๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๓๙/๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๒ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) [๓] ข้อ ๒ (๓) เพิ่มโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) [๔] ข้อ ๒ (๔) เพิ่มโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) [๕] ข้อ ๒ (๕) เพิ่มโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๓) [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๙/๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๗๗ ง/หน้า ๑๓/๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
824327
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 4)
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๔)[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดสถานที่ในการยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวเพิ่มเติม เพื่อให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓๖ (๓) ของกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๖) ของข้อ ๒ ของประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ “(๖) สำนักงานจัดหางานจังหวัดตาก สาขาอำเภอแม่สอด สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตจังหวัดตาก” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เพชรรัตน์ สินอวย อธิบดีกรมการจัดหางาน ชญานิศ/จัดทำ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๒๙ ง/หน้า ๘/๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
818530
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 3)
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๓)[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดสถานที่ในการยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวเพิ่มเติมเพื่อรองรับการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor-EEC) ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓๖ (๓) ของกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาตและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๕) ของข้อ ๒ ของประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ “(๕) ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง” ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการจัดหางาน ปุณิกา/ธนบดี/จัดทำ ๐๗ ธันวาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๗๗ ง/หน้า ๑๓/๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
810670
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ ๒)[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมแบบใบอนุญาตทำงานเพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลและตรวจพิสูจน์ตัวบุคคลเป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ และสอดคล้องกับระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนและบัตรประจำตัวของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทำงาน พ.ศ. ๒๕๖๑ และประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง แบบ ขนาด สี และลักษณะของบัตรประจำตัวคนต่างด้าว กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา และผู้ติดตาม ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๙ วรรคสาม มาตรา ๖๒ วรรคสาม มาตรา ๖๓ วรรคสาม และมาตรา ๖๔ วรรคสี่ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมการจัดหางานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๑ ของประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ “สำหรับแบบ บต.๕ และ บต.๕/๑ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ของประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามแบบ บต.๓ บต.๔ บต.๕ และ บต.๕/๑ ท้ายประกาศนี้” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกแบบ บต.๕ ท้ายประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้แบบ บต.๕ ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๕ ให้เพิ่มแบบ บต.๕/๑ ท้ายประกาศนี้เป็นแบบ บต.๕/๑ ท้ายประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบใบอนุญาตทางานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (แบบ บต.๕ FORM WP.5) ๒. แบบใบอนุญาตทางานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (แบบ บต.๕/๑ FORM WP.5/1) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๑/๕ เมษายน ๒๕๖๑
809030
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการแจ้งจำนวนและรายชื่อของลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานและแบบบัตรประจำตัวของผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงาน
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการแจ้งจำนวนและรายชื่อของลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำ คนต่างด้าวมาทำงานและแบบบัตรประจำตัวของผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและลูกจ้าง ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงาน[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕/๑ ประกอบมาตรา ๓๕ วรรคหนึ่งและวรรคสามแห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทางานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ อธิบดีกรมการจัดหางานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศซึ่งได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน “นายทะเบียน” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางานและพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของอธิบดี เพื่อออกใบอนุญาตทำงานและปฏิบัติการอื่นตามพระราชกำหนดนี้ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ในสังกัดกรมการจัดหางาน ข้อ ๓ ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องแจ้งจำนวนและรายชื่อลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานต่อนายทะเบียนตามแบบ บต. ๑๔ ท้ายประกาศนี้ โดยลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานจะต้องไม่เป็นลูกจ้างของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานรายอื่น และไม่เป็นตัวแทนจัดหางานหรือลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน หรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเลในขณะเดียวกัน ในกรณีลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานได้พ้นจากความเป็นลูกจ้างของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน หรือไม่ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานแล้วให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานแจ้งต่อนายทะเบียนตามแบบ บต. ๑๔ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ การแจ้งตามประกาศนี้ให้แจ้ง ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้ง ณ กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางานกรมการจัดหางาน (๒) ในจังหวัดอื่น ให้แจ้ง ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ที่สำนักงานของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบนั้น ข้อ ๕ เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้แจ้งนายทะเบียนตามข้อ ๔ แล้วให้นายทะเบียนรับแจ้งและตอบรับการแจ้งตามแบบ บต. ๑๕ ท้ายประกาศนี้ ภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อาจรับแจ้งและตอบรับการแจ้งได้ภายในวันที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้แจ้งจำนวนและรายชื่อลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงาน ให้เจ้าหน้าที่ออกใบรับแจ้งตามแบบ บต. ๑๖ ท้ายประกาศนี้ แก่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไว้เป็นหลักฐานจนกว่าจะได้รับการตอบรับการแจ้งจากนายทะเบียน ข้อ ๖ เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งจำนวนและรายชื่อของลูกจ้างตามข้อ ๕ แล้วให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน แจ้ง ณ กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน ให้จัดเก็บข้อมูลของลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานไว้ในฐานข้อมูลของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานที่แจ้งนั้น (๒) ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน แจ้ง ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดจัดเก็บข้อมูลของลูกจ้างไว้ในฐานข้อมูลของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ พร้อมทั้งส่งข้อมูลดังกล่าวให้กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน เพื่อจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลกลางด้วย ข้อ ๗ เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานแจ้งจำนวนและรายชื่อลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานและนายทะเบียนตอบรับการแจ้งแล้ว ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานออกบัตรประจำตัวลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานให้แก่ลูกจ้างนั้น ข้อ ๘ บัตรประจำตัวผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานและบัตรประจำตัวลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานให้เป็นไปตามแบบ บต. ๑๗ ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน วิวรรธน์/จัดทำ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง/หน้า ๑๖/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑
807659
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดรายการในการส่งคนต่างด้าวให้แก่นายจ้างตามสัญญานำคนต่างด้าวมาทำงานในราชอาณาจักร
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดรายการในการส่งคนต่างด้าวให้แก่นายจ้างตามสัญญานำคนต่างด้าวมาทำงาน ในราชอาณาจักร[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๓ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ อธิบดีกรมการจัดหางานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้นำคนต่างด้าวส่งมอบให้แก่นายจ้างตามสัญญานำคนต่างด้าวมาทำงานต่อนายทะเบียนแล้วให้แจ้งนายทะเบียนตามรายการที่กำหนดไว้ในแบบ บต. ๑๓ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ การแจ้งตามข้อ ๒ ให้แจ้งต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด ที่สถานที่ทำงานของคนต่างด้าวนั้นตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบ ในการแจ้งตามวรรคหนึ่งอาจแจ้งด้วยตนเองหรือแจ้งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือโดยทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ การแจ้งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคสองให้แจ้งไปยังที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของที่ทำการของนายทะเบียนแห่งท้องที่จังหวัด อันเป็นที่ตั้งสถานที่ทำงานของนายจ้างตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ อนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบ บต. ๑๓ ๒. บัญชีท้ายประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดรายการในการส่งคนต่างด้าวให้แก่นายจ้างตามสัญญานำคนต่างด้าวมาทำงานในราชอาณาจักร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๓/๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๑
803575
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดประเภทของคนต่างด้าวที่ผู้จ้างคนต่างด้าวทำงานได้รับยกเว้นไม่ต้องแจ้งการจ้างคนต่างด้าว
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดประเภทของคนต่างด้าวที่ผู้จ้างคนต่างด้าวทำงานได้รับยกเว้นไม่ต้องแจ้งการจ้างคนต่างด้าว[๑] โดยที่พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๓ กำหนดให้ผู้จ้างคนต่างด้าวเข้าทำงานมีหน้าที่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบชื่อและสัญชาติของคนต่างด้าว และลักษณะงานที่ให้ทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่จ้าง และเมื่อคนต่างด้าวนั้นออกจากงานให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวออกจากงาน พร้อมทั้งระบุเหตุแห่งการออกจากงานของคนต่างด้าว โดยให้อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนดประเภทของคนต่างด้าวที่ผู้จ้างคนต่างด้าวทำงานไม่ต้องแจ้งการจ้างคนต่างด้าวให้นายทะเบียนทราบเพื่อยกเว้นการดำเนินการดังกล่าวแก่คนต่างด้าวบางประเภทได้ ประกอบกับมาตรา ๖๒ กำหนดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม หรือกฎหมายอื่น เป็นผู้แจ้งการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายดังกล่าวต่อนายทะเบียน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรกับผู้จ้างตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม หรือกฎหมายอื่น ตามมาตรา ๖๒ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นคนต่างด้าวที่ผู้จ้างคนต่างด้าวทำงานนั้นได้รับยกเว้นไม่ต้องแจ้งการจ้างคนต่างด้าวตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน พิมพ์มาดา/จัดทำ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๓/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802172
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดวิธีการแจ้งข้อมูลการจ้างคนต่างด้าวของนายจ้าง และประเภทของคนต่างด้าวที่นายจ้างไม่ต้องแจ้งข้อมูลการจ้างคนต่างด้าวตามมาตรา 67 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดวิธีการแจ้งข้อมูลการจ้างคนต่างด้าวของนายจ้าง และประเภทของคนต่างด้าว ที่นายจ้างไม่ต้องแจ้งข้อมูลการจ้างคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๗ แห่งพระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] โดยที่มาตรา ๖๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ กำหนดให้นายจ้างซึ่งจ้างคนต่างด้าวทำงานอยู่ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ โดยคนต่างด้าวนั้นมีใบอนุญาตทำงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้แจ้งข้อมูลการเข้าทำงานและการออกจากงานของคนต่างด้าว ให้นายทะเบียนทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ โดยให้อธิบดีกรมการจัดหางานกำหนดวิธีการแจ้งที่สามารถแจ้งทางอิเล็กทรอนิกส์หรือทางอื่นใดที่เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นายจ้าง และกำหนดประเภทของคนต่างด้าวที่นายจ้างไม่ต้องแจ้งข้อมูลการจ้างคนต่างด้าวดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕/๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ และมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ อธิบดีกรมการจัดหางาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป จนถึงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๒ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าว ดังต่อไปนี้ (๑) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานจากนายทะเบียนแล้ว และได้ทำงานกับนายจ้างตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงาน (๒) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม หรือกฎหมายอื่น และได้รับใบอนุญาตทำงานจากนายทะเบียนให้ทำงานเฉพาะกับนายจ้างตามมาตรา ๖๒ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๓ นายจ้างซึ่งจ้างคนต่างด้าวนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ ทำงานอยู่ก่อนวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยคนต่างด้าวนั้นมีใบอนุญาตทำงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้แจ้งการเข้าทำงานของคนต่างด้าวตามแบบ บต. ๘ ท้ายประกาศนี้ หรือแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวตามแบบ บต. ๙ ท้ายประกาศนี้ ให้นายทะเบียนแห่งท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งสถานที่ทำงานของนายจ้างทราบ ข้อ ๔ การแจ้งตามข้อ ๓ ให้ดำเนินการโดยวิธีหนึ่งวิธีใด ดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งโดยตรงต่อนายทะเบียนดังนี้ (ก) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้ง ณ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๑๐ (ข) ในจังหวัดอื่น ให้แจ้ง ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด (๒) แจ้งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ การแจ้งโดยตรงต่อนายทะเบียน ให้นายจ้างยื่นแบบแจ้งการเข้าทำงานของคนต่างด้าวตามแบบ บต. ๘ ท้ายประกาศนี้ หรือแบบแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวตามแบบ บต. ๙ ท้ายประกาศนี้ แล้วแต่กรณี ณ ที่ทำการของนายทะเบียนแห่งท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งสถานที่ทำงานของนายจ้าง เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแบบแจ้งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของแบบแจ้งดังกล่าว หากเห็นว่าแบบแจ้งนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้นายจ้างดำเนินการแก้ไขแบบแจ้งให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด ในกรณีที่แบบแจ้งตามวรรคหนึ่งถูกต้องและครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่ออกใบรับตามแบบ บต. ๑๐ ท้ายประกาศนี้ ให้แก่นายจ้างไว้เป็นหลักฐาน และให้เสนอนายทะเบียนเพื่อพิจารณา ให้นายทะเบียนออกหนังสือรับแจ้งการเข้าทำงานของคนต่างด้าวตามแบบ บต. ๑๑ ท้ายประกาศนี้ หรือหนังสือรับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวตามแบบ บต. ๑๒ ท้ายประกาศนี้ แล้วแต่กรณี ให้แก่นายจ้างไว้เป็นหลักฐาน ภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้แบบแจ้งจากเจ้าหน้าที่ ข้อ ๖ การแจ้งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้นายจ้างยื่นแบบแจ้งการเข้าทำงานของคนต่างด้าวตามแบบ บต. ๘ ท้ายประกาศนี้ หรือแบบแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวตามแบบ บต. ๙ ท้ายประกาศนี้ แล้วแต่กรณี ไปยังที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของที่ทำการของนายทะเบียนแห่งท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งสถานที่ทำงานของนายจ้าง การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง จะต้องสามารถแสดงหรืออ้างอิงหรือเข้าถึงเพื่อนำกลับมาใช้ในภายหลังและยังคงความครบถ้วนของข้อความในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสามารถระบุตัวผู้ส่งได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแบบแจ้งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของแบบแจ้งดังกล่าว หากเห็นว่าแบบแจ้งนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อไปยังนายจ้างตามข้อมูลที่ระบุไว้ในแบบแจ้งดังกล่าวหรือที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่แจ้งไว้ เพื่อให้นายจ้างดำเนินการแก้ไขแบบแจ้งให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด ในกรณีที่แบบแจ้งตามวรรคหนึ่งถูกต้องและครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่ออกใบรับตามแบบ บต. ๑๐ ท้ายประกาศนี้ ให้แก่นายจ้างไว้เป็นหลักฐานตามที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่แจ้งไว้ และให้เสนอนายทะเบียนเพื่อพิจารณาภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งนั้น ให้นายทะเบียนออกหนังสือรับแจ้งการเข้าทำงานของคนต่างด้าวตามแบบ บต. ๑๑ ท้ายประกาศนี้หรือหนังสือรับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวตามแบบ บต. ๑๒ ท้ายประกาศนี้ แล้วแต่กรณี ให้แก่นายจ้างไว้เป็นหลักฐาน ภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้แบบแจ้งจากเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ส่งหนังสือรับแจ้งดังกล่าวไปยังที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของนายจ้างตามที่แจ้งไว้ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่นายทะเบียนได้ออกหนังสือรับแจ้งนั้น ข้อ ๗ บรรดาแบบแจ้งที่นายจ้างได้ยื่นไว้ต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับเพื่อแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการที่คนต่างด้าวซึ่งมีใบอนุญาตทำงานกับนายจ้างรายอื่นเข้าทำงานกับตนก่อนวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ หรือแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการที่คนต่างด้าวซึ่งมีใบอนุญาตทำงานกับตนนั้นได้ออกจากงานก่อนวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ ตามมาตรา ๖๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ ให้ถือว่าเป็นแบบแจ้งที่ได้ยื่นไว้ตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ อนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีท้ายประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กาหนดวิธีการแจ้งข้อมูลการจ้างคนต่างด้าวของนายจ้าง และประเภทของคนต่างด้าวที่นายจ้างไม่ต้องแจ้งข้อมูลการจ้างคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒. แบบแจ้งการเข้าทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ (แบบ บต.๘) ๓. แบบแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ (แบบ บต.๙) ๔. ใบรับตามมาตรา ๖๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ (แบบ บต. ๑๐) ๕. หนังสือรับแจ้งการเข้าทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ (แบบ บต. ๑๑) ๖. หนังสือรับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ (แบบ บต. ๑๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/จัดทำ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๖ง/หน้า ๒๐/๒๗ เมษายน ๒๕๖๑