ID
stringlengths
9
13
Domain
stringclasses
4 values
Instruction
stringlengths
9
894
Input
stringlengths
19
125k
Output
stringlengths
36
31.6k
Tags
stringlengths
7
676
Task_type
stringclasses
7 values
License
stringclasses
2 values
Legal_8532
Legal
การแปลงหนี้ใหม่ไม่ใช่การชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตามมาตรา 321 เพราะเหตุใด
null
การแปลงหนี้ใหม่ไม่ใช่การชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตามมาตรา 321 เพราะตามมาตรา 321 หนี้เดิมยังผูกพันกันอยู่เพียงแต่มีการเอาทรัพย์หรือสิทธิอย่างอื่นมาชำระหนี้ให้แทน ซึ่งถ้าเจ้าหนี้ตกลงยินยอมด้วย หนี้นั้นก็เป็นอันระงับไป แต่แปลงหนี้ใหม่เป็นการตกลงระงับหนี้เดิมโดยยังไม่มีการชำระหนี้แก่กัน โดยคู่กรณีก่อหนี้ใหม่ขึ้นผูกพันกันแทนหนี้เก่าที่ระงับไป การแปลงหนี้ใหม่แตกต่างกับการปลดหนี้ เพราะการปลดหนี้เป็นการระงับหนี้โดยเจ้าหนี้ไม่เอาอะไรตอบแทน เมื่อปลดหนี้ให้ก็เท่ากับไม่ประสงค์จะให้มีความผูกพันอะไรขึ้นใหม่ในหนี้ส่วนที่ปลดให้นั้นต่อไป แต่การแปลงหนี้ใหม่เป็นการระงับหนี้เก่าโดยวัตถุประสงค์จะก่อหนี้สินอันใหม่ผูกพันกันต่อไป การแปลงหนี้ใหม่ต่างกับการโอนสิทธิเรียกร้อง คือ การโอนสิทธิเรียกร้องนั้นมิใช่เป็นเรื่องระงับหนี้ แต่เป็นการโอนสิทธิจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง แต่การแปลงหนี้ใหม่เป็นความระงับแห่งหนี้ทำให้หนี้เดิมระงับไปและมีหนี้ใหม่เกิดขึ้น นอกจากนี้การโอนสิทธิเรียกร้องเป็นนิติกรรมระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนเท่านั้น ลูกหนี้ไม่จำต้องเข้ามาทำนิติกรรมด้วยก็มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องโอนไปยังผู้รับโอน ส่วนลูกหนี้จะมีข้อต่อสู้ที่จะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้คนใหม่คือผู้รับโอนเพียงไรก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเรื่องที่ลูกหนี้เป็นแต่ได้รับคำบอกกล่าวการโอนหรือลูกหนี้ได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นตามมาตรา 308 แต่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้นั้นต้องเป็นการทำสัญญากับทั้งเจ้าหนี้เดิม เจ้าหนี้ใหม่และลูกหนี้ จะทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้เดิมกับเจ้าหนี้ใหม่เท่านั้นไม่ได้ และเมื่อทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่ระหว่างผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวแล้ว หนี้เดิมก็ระงับไป ความผูกพันก็เป็นความผูกพันกับเจ้าหนี้คนใหม่เกิดหนี้ขึ้นใหม่ ลูกหนี้ก็ต้องไปผูกพันตามความสัมพันธ์ใหม่นั้น ปัญหาเรื่องข้อต่อสู้ในเรื่องความยินยอมหรือไม่จึงไม่เกิดขึ้น แต่ผลเรื่องของหนี้อุปกรณ์นั้นนักกฎหมายยังมีความเห็นต่างกัน การแปลงหนี้ใหม่แตกต่างกับการรับช่วงสิทธิ เพราการรับช่วงสิทธิเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมาย และการที่เจ้าหนี้เปลี่ยนหน้าเข้ามาใหม่ก็มิใช่ผลของการระงับหนี้เก่า แต่การแปลงหนี้ใหม่เกิดขึ้นจากสัญญา การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้แตกต่างกับสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามมาตรา 374 เพราะตามมาตรา 374 เป็นกรณีที่บุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์ไม่จำต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในการทำสัญญาด้วย แต่การแปลงหนี้ใหม่โดยตัวลูกหนี้นั้น เจ้าหนี้จะต้องทำสัญญากับลูกหนี้คนใหม่โดยระงับหนี้ที่มีต่อลูกหนี้คนเก่า โดยลูกหนี้คนเก่าไม่จำต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่จะต้องไม่เป็นการขืนใจลูกหนี้คนเก่า การแปลงหนี้ใหม่ต่างกับสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 การแปลงหนี้ใหม่นั้น แม้จะเป็นสัญญาเช่นเดียวกับสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าสัญญาประนีประนอมยอมความจะเป็นการแปลงหนี้ใหม่ทั้งหมด การแปลงหนี้ใหม่กับการประนีประนอมยอมความนั้นมีความแตกต่างกันในข้อที่ว่า การแปลงหนี้ใหม่นั้นคู่กรณีมีเจตนาที่จะระงับหนี้เดิมด้วยการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นคู่กรณีเจตนาที่จะระงับข้อพิพาทด้วยการยอมผ่อนสั้นผ่อนยาวให้แก่กัน
กฎหมายลักษณะหนี้ พรบ,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8533
Legal
จงสรุปบทความเรื่อง "ป.พ.พ. มาตรา 1713, 1715, 1726, 1736 วรรคสอง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2553"
[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2553 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2553 ป.พ.พ. มาตรา 1713, 1715, 1726, 1736 วรรคสอง ป.พ.พ. มาตรา 1713, 1715, 1726, 1736 วรรคสอง คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายตามที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์ทั้งสองอ้างว่าศาลได้ตั้งโจทก์ทั้งสองและ ป. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ฟ้องคดีจึงเป็นเสียงข้างมากตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 แล้ว การที่ศาลตั้งผู้จัดการมรดกหลายคน และมีผู้จัดการมรดกคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้จัดการมรดกที่เหลือจะสามารถจัดการมรดกต่อไปได้หรือไม่ จึงต้องนำบทบัญญัติตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับใช้ตามมาตรา 4 โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า ในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา 1715 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า “ผู้ทำพินัยกรรมจะตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ได้” และในวรรคสองบัญญัติว่า “เว้นแต่จะมีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคนแต่ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียวผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการมรดกได้โดยลำพัง แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่หลายคนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้จัดการมรดกเหล่านั้นแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้” เมื่อพิจารณาข้อความในวรรคสองของมาตรา 1715 แล้ว เห็นว่า ข้อความในวรรคสอง นั้นสืบเนื่องมาจากข้อความในวรรคหนึ่ง คำว่า “ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน” ในวรรคสองนั้นหมายถึงผู้จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งขึ้นโดยไม่มีพินัยกรรมและที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่าตามมาตรา 1713 บัญญัติให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั้น ก็เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการตั้งผู้จัดการมรดกโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกเท่านั้น แต่กรณีที่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีพินัยกรรม เมื่อศาลเห็นสมควรจะตั้งให้คนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกก็ได้ และในกรณีที่ศาลตั้งให้บุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกนั้นก็โดยเห็นว่ายังไม่สมควรที่จะให้บุคคลคนเดียวเป็นผู้จัดการมรดกตามลำพัง ซึ่งกรณีที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันการกระทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่ให้กระทำการโดยถือเอาเสียงข้างมากในกรณีที่ผู้จัดการมรดกที่เหลือมีเพียง 2 คน หากเกิดกรณีที่ผู้จัดการมรดกทั้งสองมีความเห็นแตกต่างกัน คนหนึ่งคนใดก็ไม่อาจจัดการมรดกไปได้ การจัดการมรดกตามคำสั่งศาลที่ให้จัดการร่วมกันก็จะไม่มีผลข้อขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกก็คงมีอยู่ต่อไป ทายาทไม่อาจแบ่งปันให้แก่ทายาทได้ ดังนั้น หากปรากฏว่าผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกที่เหลือย่อมต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมในระหว่างนี้ผู้จัดการมรดกที่เหลือยังไม่อาจจัดการมรดกต่อไปได้ เมื่อการฟ้องคดีเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1736 วรรคสอง และมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่ใช่กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 จึงไม่อาจนำวิธีการตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมาใช้บังคับในกรณีนี้ได้ ดังนั้น เมื่อ ป. ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองจะจัดการมรดกต่อไปเพียง 2 คน โดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลไม่มีอำนาจจะจัดการได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้เหมือนการตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายตามที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์ทั้งสองอ้างว่าศาลตั้งโจทก์ทั้งสองและ ป. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ฟ้องคดีเป็นเสียงข้างมากตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 การที่ศาลตั้งผู้จัดการมรดกหลายคน และมีผู้จัดการมรดกคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้จัดการมรดกที่เหลือสามารถจัดการมรดกต่อไปได้หรือไม่ จึงต้องนำบทบัญญัติตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงมาปรับใช้ตามมาตรา 4 โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า ในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา 1715 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า “ผู้ทำพินัยกรรมจะตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ได้” และในวรรคสองบัญญัติว่า “เว้นแต่มีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน แต่ผู้จัดการมรดกบางคนไม่สามารถหรือเต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่คนเดียว ผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการมรดกได้โดยลำพัง แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่หลายคนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการมรดกแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้” เมื่อพิจารณาข้อความในวรรคสองของมาตรา 1715 เห็นว่า ข้อความในวรรคสองสืบเนื่องมาจากข้อความในวรรคหนึ่งว่า “ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน” ในวรรคสองหมายถึงผู้จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมเท่านั้น ไม่รวมผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งขึ้นโดยไม่มีพินัยกรรมและที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่าตามมาตรา 1713 บัญญัติให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั้น ก็เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการตั้งผู้จัดการมรดกโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกเท่านั้น แต่กรณีที่ทายาทขอให้ศาลตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีพินัยกรรม เมื่อศาลเห็นสมควรจะตั้งให้คนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกก็ได้ และในกรณีที่ศาลตั้งให้บุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกโดยเห็นว่ายังไม่สมควรที่จะให้บุคคลคนเดียวเป็นผู้จัดการมรดกตามลำพัง ซึ่งกรณีที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันกระทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่ให้กระทำโดยถือเอาเสียงข้างมากในกรณีที่ผู้จัดการมรดกเหลือเพียง 2 คน หากเกิดกรณีที่ผู้จัดการมรดกทั้งสองมีความเห็นแตกต่างกัน คนหนึ่งคนใดก็ไม่อาจจัดการมรดกได้ การจัดการมรดกตามคำสั่งศาลที่ให้จัดการร่วมกันก็ไม่มีผล ข้อขัดข้องในการจัดการมรดกก็คงอยู่ต่อไป ทายาทไม่อาจแบ่งปันให้แก่ทายาทได้ ดังนั้น หากปรากฏว่าผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกที่เหลือย่อมต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ในระหว่างนี้ผู้จัดการมรดกที่เหลือยังไม่จัดการมรดกต่อไปได้ เมื่อการฟ้องคดีเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1736 วรรคสอง และมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่กฎหมายได้กำหนดไว้แล้ว ไม่ใช่กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 จึงไม่อาจนำวิธีการตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมาใช้บังคับในกรณีนี้ได้ ดังนั้น เมื่อ ป. ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองจะจัดการมรดกต่อไปเพียง 2 คน โดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลไม่มีอำนาจจัดการได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้เหมือนการตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายมรดก-พินัยกรรม,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8534
Legal
ข้อใดกล่าวถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11034/2553 ได้ถูกต้อง
A. พินัยกรรมไม่ต้องทำเป็นหนังสือ B. มีผลทำให้การลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ไม่เป็นโมฆะ กลับกลายเป็นการลงลายมือชื่อที่ชอบ ทำให้พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย C. พินัยกรรมไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 D. ผู้ทำพินัยกรรมแบบที่เป็นหนังสือนั้นต้องมีพยานอย่างน้อยสองคน
ข้อที่ถูกต้องได้แก่ D. เพราะคำกล่าวที่ว่า "ผู้ทำพินัยกรรมแบบที่เป็นหนังสือนั้นต้องมีพยานอย่างน้อยสองคน" กล่าวถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11034/2553 ได้ถูกต้อง ส่วนข้ออื่น ๆ กล่าวไม่ถูกต้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11034/2553 ป.พ.พ. มาตรา 1656, 1705 ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคแรก บัญญัติว่า พินัยกรรมจะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ดังนั้น บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวย่อมหมายความว่า ผู้ทำพินัยกรรมแบบที่เป็นหนังสือนั้นต้องมีพยานอย่างน้อยสองคน และพยานจะต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นเป็นสำคัญ ทั้งบทบัญญัติกฎหมายที่ว่า ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานทั้งสองคน และพยานทั้งสองจะต้องลงลายมือชื่อรับรองในขณะนั้น เป็นบทบัญญัติที่มีความหมายชัดเจนจนกระทั่งไม่อาจจะตีความหรือแปลความหมายไปเป็นอย่างอื่นได้ ดังนั้น การที่พยานไม่ว่าคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนในพินัยกรรมลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยไม่เห็นเหตุการณ์ขณะทำพินัยกรรม แต่มาลงลายมือชื่อในภายหลัง ก็ย่อมไม่ชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายมาตราดังกล่าวและทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 ไปในทันที แม้ต่อมาภายหลังพยานในพินัยกรรมจะมาสอบถามผู้ทำพินัยกรรมและได้ความว่าผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์จะทำพินัยกรรมจริงก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้การลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ไม่ชอบหรือพินัยกรรมที่เป็นโมฆะไปแล้วกลับกลายเป็นการลงลายมือชื่อที่ชอบทำให้พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายไปได้
กฎหมายมรดก-พินัยกรรม,คำพิพากษาศาลฎีกา
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8536
Legal
โจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องบังคับจำเลยเพื่อ
(ก) ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) และจดทะเบียนคัดชื่อจำเลยออกแล้วใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองเนื้อที่ 5 ไร่ แทนชื่อจำเลย (ข) ห้ามจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท (ค) ทั้ง (ก) และ (ข) (ง) ไม่มีข้อใดถูก
คำตอบที่ถูกต้องคือ (ข) ห้ามจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท เนื่องจาก เหตุผล (ก) ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) และจดทะเบียนคัดชื่อจำเลยออกแล้วใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองเนื้อที่ 5 ไร่ แทนชื่อจำเลย โจทก์ทั้งสองทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับ จ. ในวันที่ 12 ตุลาคม 2539 และได้รับมอบที่ดินพิพาทให้ครอบครอง สัญญาซื้อขายดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง เพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จ. มีแต่สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เพราะเป็นที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ เมื่อ จ. ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสอง จ. สละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทอีกต่อไป โจทก์ทั้งสองได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) และจดทะเบียนคัดชื่อจำเลยออกแล้วใส่ชื่อโจทก์ทั้งสอง (ข) ห้ามจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท (ค) ทั้ง (ก) และ (ข) จากข้อ (ก) และ (ข) จะเห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องบังคับให้จำเลยห้ามรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทได้ แต่ไม่สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) และจดทะเบียนคัดชื่อจำเลยออกแล้วใส่ชื่อโจทก์ทั้งสอง (ง) ไม่มีข้อใดถูก จากข้อ (ข) จะเห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องบังคับให้จำเลยห้ามรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทได้ ข้อที่ถูก (ข) ห้ามจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),ประมวลกฎหมายที่ดิน,กฎหมายอสังหาริมทรัพย์,กฎหมายเช่าทรัพย์,กฎหมายซื้อขาย
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8540
Legal
ข้อใดคือประเด็นในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2552
1. จำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ต้องผูกพันกันตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ 2. สัญญาซื้อขายมีผลเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ 3. โจทก์ที่ 1 ได้เปลี่ยนตัวลูกหนี้จากโจทก์ที่ 1 เป็นโจทก์ที่ 2 แล้วหรือไม่ 4. หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยนั้นได้มีการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้หรือไม่ 5. จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำหรือไม่
ข้อที่ถูกต้องคือ 2. เพราะว่า เพราะประเด็นในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2552 คือ สัญญาซื้อขายมีผลเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2552 ป.พ.พ. มาตรา 366 ประเด็น สัญญาซื้อขายมีผลเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ ตามสัญญาแม้ใช้ถ้อยคำว่าเป็นสัญญาซื้อขาย แต่เงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่า จำนวนสินค้าที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นการประมาณการเท่านั้น การปรับปรุงราคาสินค้าที่ต้องชำระจะคิดคำนวณตามจำนวนสินค้าที่แท้จริง และข้อ 3 มีใจความว่า วันกำหนดส่งสินค้า และ/หรือกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าตามที่ระบุในสัญญาเป็นการกำหนดวันที่โดยประมาณ เช่นนี้ จำนวนสินค้า ราคาและกำหนดเวลาส่งสินค้าซึ่งจะมีผลไปถึงกำหนดวันที่ต้องชำระเงินจึงหาได้กำหนดไว้แน่นอนไม่โดยเฉพาะราคาสินค้านั้น ทั้งโจทก์และจำเลยมีการเจรจาโดยต่างเสนอข้อต่อรองเพื่อกำหนดราคาสินค้า เมื่อไม่ตกลงกันทำให้ราคาสินค้าไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอนได้ราคาสินค้าจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของสัญญาซื้อขายที่ยังไม่อาจตกลงกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้เงื่อนไขของสัญญา ข้อ 13 ระบุว่า การลงนามทั้งหลายจะมีผลสมบูรณ์เมื่อกรรมการผู้จัดการของจำเลยลงนามแล้วเท่านั้น แต่กรรมการผู้จัดการของจำเลยหาได้ลงนามใน Sales contract (สัญญาซื้อขาย) ไม่ทั้งไม่ปรากฏว่า ส. ลงนามในเอกสารดังกล่าวโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยแล้ว ดังนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยยังไม่เกิดขึ้น ทำให้ Sales contract (สัญญาซื้อขาย) หาได้มีผลเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8543
Legal
รบกวนสรุปเรื่อง เช็คพิพาทมีการกำหนดใช้เงินตามวันเดือนปีที่แก้ไข ฎีกาที่ 138/2554 ให้ด้วยนะคะ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1385/2554 คำพิพากษาฎีกาที่ 1385/2554 ป.พ.พ. มาตรา 193/11, 1007 ป.พ.พ. มาตรา 193/11, 1007 แม้เช็คพิพาทแต่ละฉบับจะถึงกำหนดใช้เงินแล้ว แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คพิพาทแก้ไขวันที่เดือนปีในเช็คพิพาทโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทยินยอม เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดใช้เงินตามวันที่เดือนปีที่แก้ไขนั้น กรณีหาใช่เป็นการขยายอายุความออกไปอันขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 193/11 ดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกาไม่ แม้เช็คพิพาทแต่ละฉบับจะถึงกำหนดใช้เงินแล้ว แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คพิพาทแก้ไขวันที่เดือนปีในเช็คพิพาทโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทยินยอม เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดใช้เงินตามวันที่เดือนปีที่แก้ไขนั้น กรณีหาใช่เป็นการขยายอายุความออกไปอันขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 193/11 ดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกาไม่
แม้เช็คที่พิพาทจะถึงกำหนดใช้เงิน การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คแก้ไขวันที่เดือนปีในเช็คและโจทย์ยินยอม จะถือว่าเช็คนั้นมีกำหนดใช้เงินตามวันเดือนปีที่แก้ไข แต่ในกรณีการขยายอายุความออกไปเนื่องการแก้ไขวันเดือนปีในเช็คไม่เข้าข่ายในกรณีนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8548
Legal
จำเลยที่ 1 ปลอมแปลงเอกสารใดบ้างที่ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265
(A) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (B) สำเนารายการเกี่ยวกับบ้าน (C) หนังสือมอบอำนาจ (D) แบบคำขอโอนและรับโอนทะเบียนรถยนต์
คำตอบได้แก่ (D) แบบคำขอโอนและรับโอนทะเบียนรถยนต์ เพราะว่า เหตุผล (A) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ใช่เอกสารสิทธิ (B) สำเนารายการเกี่ยวกับบ้าน ไม่ใช่เอกสารสิทธิ (C) หนังสือมอบอำนาจ ไม่ใช่เอกสารสิทธิ (D) แบบคำขอโอนและรับโอนทะเบียนรถยนต์ แม้จะเป็นแบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางบก แต่เป็นเพียงแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลเพื่อยื่นต่อนายทะเบียน ไม่ได้เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ คำตอบที่ถูกต้อง (D) แบบคำขอโอนและรับโอนทะเบียนรถยนต์ เหตุผล ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า แบบคำขอโอนและรับโอนทะเบียนรถยนต์ แม้จะเป็นแบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางบก แต่เป็นเพียงแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลเพื่อยื่นต่อนายทะเบียน ไม่ได้เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (9) ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ปลอมแปลงแบบคำขอโอนและรับโอนทะเบียนรถยนต์ จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 อย่างไรก็ตาม จำเลยที่ 1 ยังมีความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก และ 352 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83
ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา)
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8549
Legal
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ว่ายังไงบ้าง
null
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตน ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่า กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๘ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อ การละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทด แทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใดให้คำนึงถึงระดับ ความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิด ใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
กฎหมายปกครองว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8551
Legal
บุคคลใดสร้างโรงเรือนบนที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต เจ้าของที่ดินมีสิทธิอะไรบ้าง?
null
กรณีบุคคลใดสร้างโรงเรือนบนที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต กฎหมายไทยให้อำนาจเจ้าของที่ดินดังต่อไปนี้: 1. เลือกให้ผู้สร้างรื้อถอนโรงเรือนและคืนสภาพเดิม เจ้าของที่ดินมีสิทธิเลือกให้ผู้สร้างรื้อถอนโรงเรือนและคืนสภาพที่ดินให้เหมือนเดิม โดยผู้สร้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด 2. เลือกให้ผู้สร้างขายโรงเรือน เจ้าของที่ดินมีสิทธิเลือกให้ผู้สร้างขายโรงเรือนให้แก่ตน โดยเจ้าของที่ดินต้องจ่ายค่าโรงเรือนให้แก่ผู้สร้าง 3. เลือกให้ผู้สร้างซื้อที่ดิน เจ้าของที่ดินมีสิทธิเลือกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินแปลงนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน ในราคาตลาด 4. เลือกให้ผู้สร้างเช่าที่ดิน เจ้าของที่ดินมีสิทธิเลือกให้ผู้สร้างเช่าที่ดินแปลงนั้น โดยเจ้าของที่ดินจะได้รับค่าเช่า 5. เลือกใช้สิทธิตามมาตรา 1310 เจ้าของที่ดินมีสิทธิเลือกใช้สิทธิตามมาตรา 1310 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งหมายถึง: • เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือน • เจ้าของที่ดินต้องจ่ายค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้สร้าง • เจ้าของที่ดินมีสิทธิบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอน หมายเหตุ: • เจ้าของที่ดินต้องแจ้งความประสงค์ให้ผู้สร้างทราบภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ทราบการสร้างโรงเรือน • หากเจ้าของที่ดินไม่แจ้งความประสงค์ภายใน 1 ปี ถือว่ายอมให้ผู้สร้างครอบครองโรงเรือน • ผู้สร้างมีสิทธิรื้อถอนโรงเรือนได้ทุกเมื่อ • เจ้าของที่ดินไม่สามารถฟ้องร้องค่าเสียหายจากผู้สร้างได้ ตัวอย่าง นาย A เป็นเจ้าของที่ดิน นาย B สร้างโรงเรือนบนที่ดินของนาย A โดยสุจริต นาย A มีสิทธิเลือกดังต่อไปนี้: • ให้ B รื้อถอนโรงเรือนและคืนสภาพเดิม • ให้ B ขายโรงเรือนให้ A • ให้ B ซื้อที่ดินจาก A • ให้ B เช่าที่ดินจาก A • ให้ B จ่ายค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นและ A เป็นเจ้าของโรงเรือน สรุป กรณีบุคคลใดสร้างโรงเรือนบนที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต กฎหมายไทยให้อำนาจเจ้าของที่ดินในการเลือกวิธีการจัดการกับโรงเรือนดังที่กล่าวข้างต้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),ประมวลกฎหมายที่ดิน,กฎหมายอสังหาริมทรัพย์,กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม,กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8553
Legal
ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนหรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย หมายความว่า ห้างหุ้นส่วนมีตัวตนแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน หนี้สินของห้างหุ้นส่วน เป็นภาระผูกพันของห้างหุ้นส่วนเอง ไม่ใช่ภาระผูกพันของผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด จะรับผิดชอบต่อหนี้สินของห้างหุ้นส่วน แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1080 บัญญัติไว้ว่า "ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ตราบใด ท่านให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดจำนวนจนกว่าจะได้จดทะเบียน" ตัวอย่าง: นาย A ลงทุนในห้างหุ้นส่วนจำกัด "บีซีดี" จำนวน 100,000 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด "บีซีดี" ไปกู้ยืมเงินจากธนาคาร 1 ล้านบาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด "บีซีดี" ไม่สามารถชำระหนี้คืนธนาคารได้ ธนาคารไม่สามารถฟ้องร้องให้ นาย A ชำระหนี้ 1 ล้านบาททั้งหมดได้ นาย A จะต้องรับผิดชำระหนี้ให้กับธนาคาร ไม่เกิน 100,000 บาท สรุป: ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด จะไม่ต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน แต่จะรับผิดชอบ ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้น
กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8555
Legal
คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย จะมีสิทธิได้รับมรดกเสมอหรือไม่?
null
ไม่เสมอไป เหตุผล: การมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรส ขึ้นอยู่กับลำดับชั้นของทายาทโดยธรรม: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 กำหนดลำดับชั้นของทายาทโดยธรรมไว้ 6 ลำดับ ดังนี้ 1. ผู้สืบสันดาน (บุตร หลาน เหลน) 2. บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน 5. ปู่ ย่า ตา ยาย 6. ลุง ป้า น้า อา คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส ไม่ได้อยู่ในลำดับชั้นทายาทโดยธรรม แต่มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมายพิเศษ ดังนี้ ถ้าไม่มีทายาทโดยธรรมในลำดับใดๆ คู่สมรสจะได้มรดกทั้งหมด (มาตรา 1635(4)) ถ้ามีทายาทโดยธรรม สิทธิของคู่สมรสในการรับมรดกจะขึ้นอยู่กับลำดับชั้นของทายาทโดยธรรมที่มีอยู่ ดังนี้ - ถ้ามีทายาทลำดับที่ 1 (ผู้สืบสันดาน) คู่สมรสจะได้มรดกเสมือนหนึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร (มาตรา 1635(1)) - ถ้ามีทายาทลำดับที่ 3 (พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน) หรือ 4 (พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน) คู่สมรสจะได้มรดกกึ่งหนึ่ง (มาตรา 1635(2)) - ถ้ามีทายาทลำดับที่ 5 (ปู่ ย่า ตา ยาย) หรือ 6 (ลุง ป้า น้า อา) คู่สมรสจะได้มรดกสองส่วนในสาม (มาตรา 1635(3)) การมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรส อาจถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขอื่นๆ: - การสละมรดก: คู่สมรสสามารถสละสิทธิ์ในการรับมรดกได้ (มาตรา 1612) - การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก: คู่สมรสอาจถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606 เช่น กรณีที่คู่สมรสเจตนากระทำหรือพยายามกระทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย - พินัยกรรม: ผู้ตายอาจทำพินัยกรรมระบุยกมรดกให้บุคคลอื่น หรือระบุให้คู่สมรสได้รับมรดกในจำนวนที่น้อยกว่า ตัวอย่าง: - นาย A เสียชีวิตโดยไม่มีบุตร มีเพียงภรรยา นาง B ที่จดทะเบียนสมรส นาง B จะได้มรดกทั้งหมดของนาย A - นาย C เสียชีวิต มีบุตร 2 คน และภรรยา นาง D ที่จดทะเบียนสมรส นาง D จะได้มรดกเสมือนหนึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร - นาง E เสียชีวิต มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน และสามี นาย F ที่จดทะเบียนสมรส นาย F จะได้มรดกกึ่งหนึ่ง สรุป: คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส ไม่ได้มีสิทธิได้รับมรดกเสมอไป สิทธิในการรับมรดกจะขึ้นอยู่กับลำดับชั้นของทายาทโดยธรรมที่มีอยู่ เงื่อนไขอื่นๆ และพินัยกรรมของผู้ตาย
กฎหมายมรดก-พินัยกรรม
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8557
Legal
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาค้ำประกันแบบใด?
(ก) สัญญาค้ำประกันแบบมีเงื่อนไข (ข) สัญญาค้ำประกันแบบไม่มีเงื่อนไข (ค) สัญญาค้ำประกันแบบร่วม (ง) สัญญาค้ำประกันแบบแบ่งส่วน
คำตอบคือ (ข) สัญญาค้ำประกันแบบไม่มีเงื่อนไข เนื่องจาก เฉลย: (ข) สัญญาค้ำประกันแบบไม่มีเงื่อนไข เหตุผล: ข้อความในสัญญาค้ำประกันระบุว่า "จำเลยที่ 2 รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าว" ข้อความดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขใดๆ เพิ่มเติม จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เมื่อได้รับแจ้งจากโจทก์ แม้ข้อความตอนท้ายจะระบุให้โจทก์แจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้จำเลยที่ 2 ทราบภายใน 15 วัน แต่ข้อความนี้ไม่ใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน แต่เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิด ศาลฎีกาพิพากษาว่า สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันแบบไม่มีเงื่อนไข ตัวเลือกอื่นๆ ไม่ถูกต้อง: (ก) สัญญาค้ำประกันแบบมีเงื่อนไข - สัญญาค้ำประกันในคำพิพากษาฎีกาไม่มีเงื่อนไขใดๆ เพิ่มเติม (ค) สัญญาค้ำประกันแบบร่วม - สัญญาค้ำประกันในคำพิพากษาฎีกาไม่ได้ระบุให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 (ง) สัญญาค้ำประกันแบบแบ่งส่วน - สัญญาค้ำประกันในคำพิพากษาฎีกาไม่ได้ระบุให้จำเลยที่ 2 รับผิดในส่วนใดส่วนหนึ่งของหนี้ สรุป: สัญญาค้ำประกันในคำพิพากษาฎีกาที่ 296-297/2552 เป็นสัญญาค้ำประกันแบบไม่มีเงื่อนไข หมายความว่า จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เมื่อได้รับแจ้งจากโจทก์ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ เพิ่มเติม
กฎหมายค้ำประกัน,คำพิพากษาศาลฎีกา
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8559
Legal
โปรดสรุปคำพิพากษาฎีกาที่ 3942/2553 เกี่ยวกับการตกลงซื้อขายห้องชุดให้หน่อยครับ
คำพิพากษาฎีกาที่ 3942/2553 ป.พ.พ. มาตรา 157, 176, 457, 518, 519 ป.พ.พ. มาตรา 157, 176, 457, 518, 519 ในการตกลงซื้อห้องชุดทั้ง 8 ห้อง ของโจทก์จากจำเลยนั้น โจทก์มีความประสงค์จะได้ห้องที่อยู่ชั้นบนสุด การที่จำเลยขออนุญาตดัดแปลงอาคารชุดจากที่มีเพียง 27 ชั้น เป็น 30 ชั้น ในภายหลังจากที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยแล้ว โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบและต่อมาโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวจากจำเลยโดยเข้าใจว่าห้องที่รับโอนมาอยู่ชั้นสูงสุดตามความประสงค์ของโจทก์ที่ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยมาแต่แรก นิติกรรมการโอนห้องชุดดังกล่าวระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งถือว่าเป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ทราบว่าห้องชุดที่รับโอนกรรมสิทธิ์มามิใช่ชั้นสูงสุดตามความประสงค์ โจทก์คงจะไม่ยอมรับโอน ดังนั้น นิติกรรมการโอนห้องชุดระหว่างโจทก์และจำเลยจึงตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 โจทก์มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 แต่โจทก์มิได้ใช้สิทธิบอกล้าง ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในห้องชุดทั้ง 8 ห้องดังกล่าวยังเป็นของโจทก์อยู่ การที่โจทก์ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดชั้นที่ 26 และ 27 ทั้ง 8 ห้องคืนให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงโดยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดชั้น 29 และ 30 ให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าคู่กรณีต่างตกลงโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันและกันอันเป็นการแลกเปลี่ยนตาม ป.พ.พ. มาตรา 518 ซึ่งมาตรา 519 ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะซื้อขายมาใช้ถึงการแลกเปลี่ยนด้วย ดังนั้น การแลกเปลี่ยนห้องชุดระหว่างโจทก์และจำเลยนั้น ค่าฤชาธรรมเนียมการโอนโจทก์และจำเลยจึงพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 457
คำพิพากษาฎีกาที่ 3942/2553 ป.พ.พ. มาตรา 157, 176, 457, 518, 519 ป.พ.พ. มาตรา 157, 176, 457, 518, 519 โจทก์ซื้อห้องชุดจากจำเลย 8 ห้อง โดยอยากได้ชั้นบนสุดของอาคาร 27 ชั้น หลังจากทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว จำเลยดัดแปลงอาคารเป็น 30 ชั้น ทำให้โจทก์ไม่ได้ห้องชั้นบนสุด ดังนั้น นิติกรรมการโอนห้องชุดระหว่างโจทก์และจำเลยจึงตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 โจทก์มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 แต่โจทก์มิได้ใช้สิทธิบอกล้าง ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในห้องชุดทั้ง 8 ห้องดังกล่าวยังเป็นของโจทก์อยู่ ต่อมาโจทก์ตกลงคืนห้องให้แก่จำเลย แลกกับการที่จำเลยโอนห้องชั้น 29-30 แก่โจทย์ อันเป็นการแลกเปลี่ยนตาม ป.พ.พ. มาตรา 518 ค่าฤชาธรรมเนียมการโอนโจทก์และจำเลยจึงพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 457
กฎหมายซื้อขาย,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,คำพิพากษาศาลฎีกา
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8561
Legal
จงสรุปความว่าด้วยการที่โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานให้ด้วยครับ
กรณีของบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 232 ซึ่งได้วางหลักเอาไว้ว่า ในคดีอาญานั้นห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานของฝ่ายโจทก์ บทตัดพยานหลักฐานบทนี้มีที่มาหรือมีรากฐานของหลักวิชาอยู่ที่สิทธิของจำเลยในคดีอาญาหรือสิทธิพื้นฐานของบุคคลที่จะไม่ต้องถูกบังคับให้ปรักปรำตนเอง แต่ในทางปฏิบัติศาลฎีกาได้วางบรรทัดฐานขยายความออกไปอีกชั้นหนึ่งว่าเมื่อบุคคลใดถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาเรื่องใดแล้ว ย่อมไม่อาจที่จะถูกอ้างเป็นพยานฝ่ายโจทก์ในคดีเรื่องนั้นไม่ว่าจะเป็นพยานเพื่อเบิกความปรักปรำตนเอง หรือปรักปรำจำเลยอื่นในคดีเดียวกันก็ตาม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือมาตรา 232 นี้ไม่ได้ห้ามเฉพาะการอ้างจำเลยเป็นพยานโจทก์เพื่อให้เบิกความปรักปรำตัวจำเลยเองเท่านั้น แต่ยังห้ามการถูกอ้างมาเป็นพยานเพื่อเบิกความปรักปรำจำเลยอื่นในคดีเดียวกันอีกด้วย
ตามบทบัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา 232 วางหลักเอาไว้ว่า ในคดีอาญานั้นห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานของฝ่ายโจทก์ ในทางปฏิบัติศาลฎีกาได้วางบรรทัดฐานขยายความออกไปอีกชั้นหนึ่งว่าเมื่อบุคคลใดถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาเรื่องใดแล้ว ย่อมไม่อาจที่จะถูกอ้างเป็นพยานฝ่ายโจทก์ในคดีเรื่องนั้นไม่ว่าจะเป็นพยานเพื่อเบิกความปรักปรำตนเอง หรือปรักปรำจำเลยอื่นในคดีเดียวกัน
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายลักษณะพยาน
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8564
Legal
จงสรุปบทความนี้ เป็นข้อๆ
หลักการบังคับคดี ในการบังคับคดีนั้นเจ้าหนี้จะต้องกระทำตามขั้นตอนให้ครบถ้วน 1. ขอออกหมายบังคับคดี 2. เจ้าหนี้จะต้องแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ทราบว่าได้มีการออกหมายบังคับคดีแล้ว 3. เจ้าหนี้จะต้องแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าหนี้จะต้องกระทำ ให้ครบทั้ง 3 ขั้นตอนขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ และจะต้องส่งเอกสารให้ครบถ้วนด้วย แต่เมื่อเจ้าหนี้ทำทั้ง 3 ขั้นตอนครบถ้วนแล้ว แม้ต่อมาภายหลังการบังคับคดีนั้นจะพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาชั้นที่สุดก็สามารถดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14122/2558 การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา ขั้นตอนแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ออกหมายบังคับคดี ขั้นตอนต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีและขั้นตอนสุดท้ายเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลย แต่ผู้แทนโจทก์ส่งเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยึดไม่ครบจึงยึดที่ดินไม่ได้ ผู้แทนโจทก์ไม่ไปพบและแถลงว่าจะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ และไม่ไปแถลงนำยึดทรัพย์ตามคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ภายหลังมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปรับเงินค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือคืน ปัจจุบันยังไม่มีการยึดทรัพย์ สำนวนบังคับคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างรอปลดเผา หากโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีจะต้องตั้งเรื่องบังคับคดีใหม่ เช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา
1. หลักการบังคับคดี ในการบังคับคดีนั้นเจ้าหนี้จะต้องกระทำตามขั้นตอนให้ครบถ้วน - ขอออกหมายบังคับคดี - เจ้าหนี้แจ้งพนักงานบังคับคดีให้ทราบว่าได้มีการออกหมายบังคับคดีแล้ว - เจ้าหนี้ต้องขอให้พนักงานยึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ 2. เจ้าหนี้ต้องทำให้ครบทั้ง 3 ขั้นตอน และต้องส่งเอกสารให้ครบถ้วน แต่เมื่อเจ้าหนี้ทำทั้ง 3 ขั้นตอนครบถ้วนแล้ว แม้ภายหลังการบังคับคดีนั้นพ้น 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาก็สามารถบังคับคดีต่อได้ 3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14122/2558 โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลย แต่ผู้แทนโจทก์ส่งเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยึดไม่ครบจึงยึดที่ดินไม่ได้ ผู้แทนโจทก์ไม่ไปพบและแถลงว่าจะดำเนินคดีต่อหรือไม่ และไม่ไปแถลงนำยึดทรัพย์ตามคำสั่งเจ้าพนักงาน แต่ภายหลังมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปรับเงินค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือคืน ปัจจุบันยังไม่มีการยึดทรัพย์ สำนวนบังคับคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างรอปลด หากโจทก์จะบังคับคดีต้องตั้งเรื่องใหม่ เช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนครบภายใน 10 ปี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง)
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8566
Legal
คำพิพากษาฎีกาที่ 484/ 2560 วินิจฉัยว่าอย่างไร
คำพิพากษาคดีในส่วนอาญา จะเอามาผูกพันคดีส่วนแพ่ง ได้เฉพาะข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาเท่านั้น คำพิพากษาคดีในส่วนอาญา จะเอามาผูกพันคดีส่วนแพ่ง ได้เฉพาะข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาเท่านั้น คำพิพากษาฎีกาที่ 484/ 2560 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 คำพิพากษาฎีกาที่ 484/ 2560 เมื่อคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้วว่า จำเลยทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ โดยมิได้วินิจฉัยถึงอาการทุกข์ทรมานของโจทก์ไว้ก็ตาม แต่คำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 คดีส่วนแพ่ง จึงรับฟังได้ว่าการกระทำละเมิดของจำเลย เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่กายและจิตใจ ถึงขั้นทุกข์ทรมาน อันเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 446 ศาลย่อมวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดนั้นได้ #ถึงแม้คำพิพากษาคดีอาญา จะมิได้วินิจฉัยถึงอาการทุกข์ทรมานของโจทก์ไว้
คำพิพากษาฎีกาที่ 484/ 2560 วินิจฉัยว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 เมื่อคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้วว่า จำเลยทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ โดยมิได้วินิจฉัยถึงอาการทุกข์ทรมานของโจทก์ไว้ก็ตาม แต่คำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 คดีส่วนแพ่ง จึงรับฟังได้ว่าการกระทำละเมิดของจำเลย เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่กายและจิตใจ ถึงขั้นทุกข์ทรมาน อันเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 446 ศาลย่อมวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดนั้นได้ #ถึงแม้คำพิพากษาคดีอาญา จะมิได้วินิจฉัยถึงอาการทุกข์ทรมานของโจทก์ไว้
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายลักษณะพยาน (ทั้งวิแพ่งและวิอาญา),วิชาว่าความและทนายความ คำฟ้อง คำให้การและคำร้องขอ มรรยาททนายความ
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8569
Legal
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดไม่ครบถ้วน มีผลต่อเจตนาของโจทก์ร่วมอย่างไร?
หัวข้อ หลักเกณฑ์การฟ้องคดีอาญาในความผิดต่อส่วนตัว | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม [กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] หลักเกณฑ์การฟ้องคดีอาญา ในความผิดต่อส่วนตัว หลักเกณฑ์การฟ้องคดีอาญา ในความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหายจะฟ้องคดีได้ต่อเมื่อ ร้องทุกข์หรือฟ้องเอง ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 โดยมีหลักเกณฑ์ ตาม ป.วิ.อ.ดังนี้ 1.ผู้ร้องทุกข์ต้องเป็นผู้เสียหายตามมาตรา 2(4) 2.ต้องกล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 123 3.ต้องมีการกล่าวหาว่ามีความผิดอาญา คำพิพากษาฎีกาที่ 2437/2560 โจทก์ร่วมมีมติให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองในความผิดฐานยักยอกเงิน 3,686,160 บาท ของโจทก์ร่วม เป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ร่วมได้กล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนโดยมีเจตนาให้จำเลยทั้งสองได้รับโทษในความผิดฐานยักยอกเงิน 3,686,160 บาท ซึ่งรวมเงิน 502,190 บาท ที่เป็นของเดือนมกราคม 2556 ด้วย #จึงเป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายตามป.วิ.อ.มาตรา2(7) ส่วนการที่ประธานโจทก์ร่วมแจ้งต่อที่ประชุมว่าตรวจสอบพบจำเลยทั้งสองทุจริต ยักยอกเงินนับจากเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม 2556 เป็นเงิน 3,686,160 บาท เป็นเพียงข้อมูลเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุ ที่ประธานแจ้งที่ประชุมไม่ครบถ้วนเท่านั้น เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ที่จะต้องดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน แม้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิด เป็นเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม 2556 โดยไม่ได้แจ้งถึงเดือนมกราคม 2556 ด้วย ก็เป็นความคลาดเคลื่อนของพนักงานสอบสวน ในการตรวจสอบและแจ้งข้อเท็จจริงแก่ผู้ต้องหา แต่หาได้มีผลเปลี่ยนแปลงเจตนาของโจทก์ร่วม ที่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองได้รับโทษในความผิดฐานยักยอกไม่ คำพิพากษาฎีกาที่ 2437/2560
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดไม่ครบถ้วน ไม่มีผลต่อเจตนาของโจทก์ร่วมที่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองได้รับโทษในความผิดฐานยักยอกเงิน ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 2437/2560 ดังนี้ แม้พนักงานสอบสวนจะมีการแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดว่าเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม 2556 และไม่ได้แจ้งถึงเดือนมกราคม 2556 ด้วย ก็ถือเป็นความคลาดเคลื่อนของพนักงานสอบสวนในการตรวจสอบและแจ้งข้อเท็จจริงแก่ผู้ต้องหา แต่การคลาดเคลื่อนดังกล่าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงเจตนาของโจทก์ร่วมที่มีความประสงค์ให้จำเลยทั้งสองได้รับโทษในความผิดฐานยักยอกเงินอยู่แล้ว ข้อสรุป เจตนาของโจทก์ร่วมยังคงชัดเจนและไม่เปลี่ยนแปลงแม้พนักงานสอบสวนจะมีการแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดไม่ครบถ้วน
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา)
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8570
Legal
หากมีการมอบเงินให้คนกลาง อ้างว่านำไปให้ตำรวจเพื่อช่วยบุตรให้เข้ารับราชการตำรวจได้ เมื่อไม่สำเร็จจะสามารถฟ้องคนกลางได้หรือไม่
มอบเงิน 300000 บาท ให้คนกลาง อ้างว่านำไปให้ตำรวจ เพื่อช่วยบุตรเข้ารับราชการตำรวจได้ เมื่อไม่สําเร็จจะฟ้องคนกลางได้หรือไม่ มอบเงิน 300000 บาท ให้คนกลาง อ้างว่านำไปให้ตำรวจ เพื่อช่วยบุตรเข้ารับราชการตำรวจได้ เมื่อไม่สําเร็จจะฟ้องคนกลางได้หรือไม่ คำพิพากษาฎีกาที่ 2077/2560 จทก์มอบเงิน 300,000 บาทให้แก่จำเลย เพราะจำเลยอ้างว่าจะนำไปให้เจ้าพนักงานตำรวจ ระดับพลตำรวจตรี 2 คน #เพื่อช่วยเหลือให้บุตรสาวโจทก์สามารถสอบเข้ารับราชการตำรวจได้ ซึ่งโจทก์ย่อมจะต้องทราบดีว่าบุตรสาวโสดจะเข้ารับราชการตำรวจได้ ต้องผ่านการสอบคัดเลือก โดยการสอบคัดเลือกเป็นระเบียบแบบแผนของทางราชการ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีคุณสมบัติ สามารถสมัครสอบได้โดยเสรี และที่สำคัญการจัดสอบจะต้องยุติธรรม เพื่อที่ทางราชการจะได้คนมีความสามารถ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน หากมีการช่วยเหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่งให้สามารถสอบผ่านแสดงว่ามีการกระทำอันเป็นการทุจริต เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คำพิพากษาฎีกาที่ 2077/2560 ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อ
การเข้ารับราชการตำรวจได้ต้องผ่านการสอบคัดเลือก โดยสามารถสมัครสอบนั้นทำได้โดยเสรี ผู้ที่ได้รับราชการตำรวจนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน หากมีการช่วยเหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่งให้สามารถสอบผ่าน แสดงว่ามีการกระทำเป็นการทุจริต ฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โจทก์ได้จ่ายเงินให้จำเลยเพื่อให้ลูกของตนได้เป็นตำรวจ เมื่อไม่เป็นไปตามที่ตกลง โจทก์จะไม่มีอำนาจในการฟ้องจำเลย และโจทก์ยังเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิดอีกด้วย
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),คำพิพากษาศาลฎีกา
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8572
Legal
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันตามมาตรา 1055(3) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรณีที่ห้างหุ้นส่วนเสร็จการทำกิจการแล้ว ผู้ถือหุ้นมีหน้าที่และสิทธิอะไรบ้างเกี่ยวกับทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนที่เหลืออยู่?
null
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน หรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้น ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย หน้าที่ของผู้ถือหุ้น: ร่วมชำระบัญชี: ผู้ถือหุ้นทุกคนมีหน้าที่ร่วมชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน ซึ่งรวมถึงการรวบรวมทรัพย์สิน ชำระหนี้สิน แจกจ่ายผลกำไรหรือขาดทุน และจัดการเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลิกห้างหุ้นส่วน (มาตรา 1062) ให้ความร่วมมือกับผู้ชำระบัญชี: ผู้ถือหุ้นทุกคนต้องให้ความร่วมมือกับผู้ชำระบัญชี โดยต้องส่งมอบเอกสารหลักฐาน แจ้งข้อมูลข่าวสาร และกระทำการอื่นๆ ตามที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอ (มาตรา 1063) สิทธิของผู้ถือหุ้น: รับส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุน: ผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนของห้างหุ้นส่วนตามสัดส่วนของทุนที่ลง (มาตรา 1043) รับทรัพย์สินที่เหลืออยู่: เมื่อชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของห้างหุ้นส่วนตามสัดส่วนของทุนที่ลง (มาตรา 1064) ตรวจสอบการชำระบัญชี: ผู้ถือหุ้นมีสิทธิตรวจสอบการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน และคัดค้านการชำระบัญชีได้หากเห็นว่าไม่ถูกต้อง (มาตรา 1065)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8574
Legal
จงสรุปคำกล่าวที่ว่า การป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ค่ะ
หลัก การป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน หลัก การป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้บันทึกหมายเหตุท้ายฎีกา ที่ 782/2520 ไว้ตอนหนึ่งว่า “ยังไม่ถึงขั้นที่จำต้องป้องกันก็ยิง หรือเลยขั้นที่จำต้องป้องกันแล้วก็ยังยิง จึงเป็นเรื่องทำเกินกว่า ที่จำต้องทำเพื่อป้องกัน” อันเป็นหลักการที่สื่อความหมายของ การป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันได้ ชัดเจนที่สุด กล่าวคือ กรณียังไม่ถึงขั้นที่จำต้องป้องกันก็ยิงนั้น เป็นการป้องกันสิทธิต่อภยันตรายที่ยังอยู่ห่างไกล เช่น ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อันเป็นหลักการที่สื่อความหมายของ การป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันได้ ชัดเจนที่สุด อันเป็นหลักการที่สื่อความหมายของ การป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันได้ ชัดเจนที่สุด ใช้ปืนยิง เด็กซึ่งส่องไฟหากบที่ริมรั้วบ้านตาย โดยสำคัญผิดว่าเด็กเป็น คนร้ายจะมาฆ่าพี่ชาย ขณะใช้ปืนยิงเด็กอยู่ห่าง 7 วา และยัง ไม่ทันเข้ามาในรั้วบ้าน (คำพิพากษาฎีกาที่ 872/2510) กระบือถูกลักไปหลายครั้งคงเหลือตัวเดียว คือเกิดเหตุผู้ตายเดินผ่าน หน้าบ้านจึงใช้อาวุธปืนยิงเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นคนร้ายมาลักกระบือ (คำพิพากษาฎีกาที่ 2442/2527) จำเลยสำคัญผิดว่าคนที่มาเคาะประตูห้องพักเป็นสามีเก่าของผู้ตายจะมาทำร้ายจำเลย แต่กลับเป็นผู้ตาย จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายโดยสำคัญผิดทั้ง ๆ ที่ประตู ห้องเกิดเหตุมีโซ่คล้องอยู่ สามารถเปิดได้ประมาณ 1 คืบ เท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 4613/2534) ส่วนกรณีเลยขั้นที่จำต้องป้องกัน แล้วก็ยังยิงนั้น เป็นการป้องกันสิทธิต่อภยันตรายที่ผ่านพ้นไปแล้ว เช่น ใช้ปืนยิงผู้ตาย หลังจากที่ผู้ตายก่อเหตุและหันกลับวิ่งหนี (คำพิพากษาฎีกาที่ 1542/2509, 4952/2536) คนร้ายลอบวางเพลิงบ้านจำเลยไปแล้ว จำเลยเห็นผู้ตายยืนอยู่หน้าบ้านสำคัญผิดว่า เป็นคนร้ายจึงใช้ปืนยิงผู้ตาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 529/2517) ยิงผู้ตายล้มลงแล้วเอาไปทิ้งลงเหว (คำพิพากษาฎีกาที่ 2410/2530) แทงหรือยิงผู้ตายในขณะที่ผู้ตายหมดโอกาสทำร้ายจำเลยแล้ว (คำพิพากษาฎีกาที่ 2066/2533, 1579/2534, 3206/2536) ผู้ตายไม่อาจจะทำร้ายจำเลยต่อไปแล้วจำเลยยังตีซ้ำอีก (คำพิพากษาฎีกาที่ 1407/2537) ผู้ตายกับพวกเป็นเครือญาติกับจำเลยเอง เมื่อ พ.ชกจำเลยล้มลงแล้ว ผู้ตายก้มตัวจะดึง จำเลยขึ้น แต่จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายจะทำร้าย จึงใช้มีดแทงผู้ตาย ทั้งที่ผู้ตายกับเครือญาติไม่มีอาวุธ (คำพิพากษาฎีกาที่ 4314/2536)
การป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน จะหมายถึง ยังไม่มีอันตรายร้ายแรงมาถึงตัวผู้กระทำผิด แต่ผู้กระทำผิดเข้าใจว่าจะเกิดเหตุร้ายแรงมากกับตน จึงได้กระทำการป้องกันตนด้วยวิธีการรุนแรงจนมีผู้เสียหาย
ประมวลกฎหมายอาญา
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8577
Legal
ช่วยสรุปบทความ เจาะหลัก สกัดฎีกา เช่าทรัพย์ ตาม ป.พ.พ มาตรา 537-571
สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า - ผู้เช่าตาย สัญญาเช่าย่อมระงับไป ไม่เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท ฎ.540/2517,1008/2537 - ผู้เช่าทำพินัยกรรมยกสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น ย่อมไม่ผูกพันผู้ให้เช่า ฎ.9201/2551 - บุคคลหลายคนร่วมกันทำสัญญาเช่า เมื่อผู้เช่าบางคนตาย สิทธิการเช่าย่อมระงับไป เฉพาะตัวผู้เช่าที่ถึงแก่ความตายเท่านั้น ฎ.5859/2530 - กรณี ผู้ให้เช่าตาย สัญญาเช่าไม่ระงับ ทายาทของผู้ให้เช่าต้องให้ผู้เช่าเช่าต่อไปจนครบกำหนดเวลา - สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัว - การฟ้องขับไล่ผู้เช่า ผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่ได้โดยอาศัยมูลสัญญาเช่าและมูลละเมิด ฎ.2153/2552 สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา - เป็นสัญญาที่มีข้อตกลงเพิ่มภาระขึ้นมากแก่ผู้เช่าให้ปฎิบัติยิ่งกว่าหน้าที่ของผู้เช่าโดยปกติ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้เช่าจะได้เช่าทรัพย์สินเป็นระยะเวลานาน 1.ผู้เช่าต้องเสียเงินช่วยค่าก่อสร้าง ฎ.1437/2515,791/2501,1627/2505,1135/2506,2016/2524 - เรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้าง จะต้องเป็นเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่า ไม่ใช่จ่ายให้แก่ผู้อื่น ฎ.513/2523 - เงินกินเปล่า (แปะเจี้ยะ) ,เงินค่าหน้าที่ดิน,เงินค่าซ่อมแซม,ไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ฎ.1252/2506,184/2512,574-580/2516,3945/2533,2231/2531 2. ผู้เช่าปลูกอาคารลงในที่เช่าแล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า ไม่ว่าจะยกรรมสิทธิ์ในทันทีหรือภายในเวลาที่กำหนดก็ได้ ฎ.172/2488ป.,1460/2495,985/2512,4939/2533,2826/2526 3. สัญญาเช่าที่ดินที่กำหนดให้ผู้เช่าสร้างลานจอดรถยนต์ แล้วมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ให้เช่า เป็นสัญญาต่างตอบแทน ฎ.2759/2534 4. ข้อตกลงที่ให้ผู้เช่าซ่อมแซมต่อเติมหรือปรับปรุงอาคารที่เช่าที่มีสภาพทรุดโทรมมาก ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมาก เป็นการทำให้ทรัพย์สินที่เช่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก เป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ฎ.491/2540,4156/2533 5. ผู้เช่ารับภาระต่อเติมตึกที่เช่าทำชั้นที่สามเพิ่ม เป็นสัญญาต่างตอบแทน ฎ.944/2512 6. เช่าสวนโดยผู้เช่ามีหน้าที่หาต้นไม้มาปลูกในที่เช่า ฎ.796/2495 คำมั่นจะให้เช่า - เป็นกรณีที่มีสัญญาเช่ากันอยู่ก่อนแล้ว และในสัญญาเช่านั้น ผู้ให้เช่าได้ให้คำมั่นแก่ผู้เช่าว่าจะให้ผู้เช่าเช่าทรัพย์สินต่อไปอีก ซึ่งมีลักษณะเป็นคำเสนอ ถ้าผู้เช่าต้องการเช่าต่อ ก็ต้องแสดงเจตนาสนองรับคำมั่นของผู้ให้เช่า เพื่อให้เกิดสัญญาเช่าต่อกันอีก - ผู้ให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันว่าเมื่อครบกำหนดเวลาเช่าแล้วจะทำสัญญาเช่ากันฉบับใหม่ ไม่ใช่การแสดงเจตนาของผู้ให้เช่าฝ่ายเดียว ไม่เป็นคำมั่นจะให้เช่า ฎ.146/2495 - ต้องมีข้อความแน่นอนชัดเจนในเรื่องที่เป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า เช่น อัตราค่าเช่าและระยะเวลาการเช่า มิฉะนั้น ไม่เป็นคำมั่นจะให้เช่า เพราะผู้เช่าไม่อาจแสดงเจตนาสนองรับให้เกิดเป็นสัญญาเช่าใหม่ได้ทันที ฎ.3801/2555,294/2515,729/2512,569/2525 - สัญญาเช่าที่ว่าเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าจะพิจารณาต่อสัญญาเช่าให้ เป็นดุลยพินิจของผู้ให้เช่าว่าจะให้เช่าต่อหรือไม่ก็ได้ ไม่เป็นคำมั่นจะให้เช่า ฎ.3263/2535 - แม้สัญญาเช่าระบุว่าผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะให้เช่าต่อไป แต่ผู้ให้เช่าและผู้เช่าต้องทำความตกลงกันเรื่องค่าเช่าและระยะเวลาการเช่ากันอีก ดังนี้ แม้ผู้เช่าจะแสดงเจตนารับคำมั่นตามกำหนดเวลาก็ตาม ก็ไม่ทำให้มีสัญญาเช่าฉบับใหม่เกิดขึ้นและมีผลบังคับตามกฎหมาย ฎ.8692/2549
สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า - กรณีผู้เช่าตาย สัญญาเช่าถูกระงับ ไม่สามารถสืบทอดไปยังทายาท - ผู้เช่าสามารถโอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ให้เช่า - การทำสัญญาเช่าร่วมกัน หากผู้เช่าบางคนตาย สิทธิการเช่าจะระงับเฉพาะตัวผู้เช่าที่ถึงแก่ความตาย - กรณีผู้ให้เช่าตาย สัญญาเช่าไม่ระงับ ทายาทต้องให้ผู้เช่าเช่าต่อไปจนครบกำหนด - สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษมากกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แต่ไม่มีสิทธิเฉพาะตัว - การฟ้องขับไล่ผู้เช่าสามารถทำได้โดยอาศัยมูลสัญญาเช่าและมูลละเมิด สัญญาต่างตอบแทนมีข้อตกลงที่ให้ผู้เช่าปฏิบัติมากกว่าสัญญาเช่าธรรมดา 1. ผู้เช่าต้องช่วยค่าก่อสร้างทรัพย์สิน เงินที่จ่ายให้ผู้ให้เช่ามีไว้สำหรับค่าก่อสร้างเท่านั้น 2 ผู้เช่าสามารถยกสิทธิ์ในที่เช่าเป็นกรรมสิทธิ์ภายในระยะเวลาที่กำหนด 3. มีข้อตกลงให้ผู้เช่าสร้างลานจอดรถและได้เป็นกรรมสิทธิ์ 4. ผู้เช่าต้องทำการซ่อมแซมหรือปรับปรุงที่เช่าที่มีสภาพทรุดโทรมมาก 5. ผู้เช่ารับภาระต่อเติมตึกที่เช่าทำชั้นที่สามเพิ่ม 6. ผู้เช่าต้องหาต้นไม้มาปลูกในที่เช่า คำมั่นใจให้เช่า - คำมั่นจะให้เช่าเกิดในกรณีที่มีสัญญาเช่าก่อนหน้าแล้ว และผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะให้เช่าต่อหากผู้เช่าต้องการ - ผู้เช่าต้องแสดงเจตนารับคำมั่นของผู้ให้เช่าเพื่อให้เกิดสัญญาเช่าต่อไป - คำมั่นจะให้เช่าต้องมีข้อความชัดเจนเกี่ยวกับรายละเอียดสำคัญ เช่น อัตราค่าเช่าและระยะเวลาการเช่า - เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด ผู้ให้เช่ามีอิสระในการพิจารณาว่าจะให้เช่าต่อหรือไม่ ไม่เป็นคำมั่นจะให้เช่า - ผู้เช่าและผู้ให้เช่าต้องทำความตกลงเกี่ยวกับค่าเช่าและระยะเวลาการเช่าเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด ไม่ว่าคำมั่นจะให้เช่าจะถูกแสดงเจตนาหรือไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8583
Legal
จงสรุปบทความดังต่อไปนี้
จำเลยที่ 1 ไม่เคยขออนุญาตใช้รถจาก ส. ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุญาตใช้รถจาก ม. ก็ดี และ ม. ไม่ทราบตัวผู้รับผิดชอบเก็บรักษากุญแจรถคันเกิดเหตุรวมทั้งไม่ทราบเหตุรถชนที่เกิดขึ้น จนกระทั่งมีการร้องเรียนไปที่จำเลยที่ 2 ก็ดี เหล่านี้ ย่อมเห็นได้ว่า มีการปล่อยปละละเลยย่อหย่อนไม่ควบคุมการใช้รถให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ จนจำเลยที่ 1 เคยนำรถคันเกิดเหตุไปจอดค้างคืนที่บ้านตนเอง รวมทั้งสามารถนำรถออกไปใช้ในกิจธุระส่วนตัวโดยพลการ ทั้งที่ขัดต่อระเบียบกฎเกณฑ์การใช้รถราชการดังกล่าว เข้าลักษณะที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถคันเกิดเหตุอันเป็นหน้าที่ของพนักงานขับรถได้แม้เป็นเวลานอกราชการ การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปเฉี่ยวชนจนทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บโดยประมาท จึงถือได้ว่าเป็นผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
1. จำเลยที่ 1 ไม่เคยขออนุญาตใช้รถจาก ส. ซึ่งได้รับอนุญาตใช้รถจาก ม. 2. ม. ไม่ทราบตัวผู้เก็บกุญแจรถและไม่ทราบเหตุรถชนกัน จนกระทั่งมีการร้องเรียนไปที่จำเลยที่ 2 จึงเห็นได้ว่า มีการปล่อยละเลยไม่ควบคุมการใช้รถให้เป็นไปตามระเบียบราชการ จนจำเลยที่ 1 เคยนำรถไปจอดค้างคืนที่บ้านตนเอง รวมทั้งนำรถไปใช้ในธุระส่วนตัว เข้าลักษณะจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถคันเกิดเหตุอันเป็นของพนักงานขับรถได้แม้เป็นเวลานอกราชการ 3. การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปเฉี่ยวชนจนทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บโดยประมาท ถือได้ว่าเป็นผลแห่งละเมิิดเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
กฎหมายละเมิด,คำพิพากษาศาลฎีกา
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8584
Legal
คำพิพากษาฎีกาที่ 2224/2553 มีข้อเท็จจริงใดที่เป็นหลักฐานว่าการรับเงินมัดจำระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นเพียงการเตรียมการเพื่อทำสัญญาจะซื้อจะขาย?
หัวข้อ ริบมัดจำ ลาภมิควรได้ ฎีกาที่น่าสนใจที่ 2224/2553 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง, 406 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] คำพิพากษาฎีกาที่ 2224/2553 คำพิพากษาฎีกาที่ 2224/2553 คำพิพากษาฎีกาที่ 2224/2553 ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง, 406 ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง, 406 ใบรับเงินมีข้อความว่า “จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินเป็นเวลา 2 ปี และในวันนี้โจทก์ได้ชำระเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาท ด้วยเช็ค ส่วนที่เหลือจะชำระตามเงื่อนไขสัญญาจะซื้อจะขายที่ทั้งสองฝ่ายจัดทำขึ้นภายใน 30 วัน” เห็นได้ว่า ใบรับเงินเป็นเพียงหลักฐานการรับเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแก่จำเลยเท่านั้น หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะได้จัดทำขึ้นภายหลังภายใน 30 วัน ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน แสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันอีก กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันจะมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ” ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกิดขึ้น เงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยไม่มีสิทธิริบมัดจำจึงต้องคืนให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ใบรับเงินมีข้อความว่า “จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินเป็นเวลา 2 ปี และในวันนี้โจทก์ได้ชำระเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาท ด้วยเช็ค ส่วนที่เหลือจะชำระตามเงื่อนไขสัญญาจะซื้อจะขายที่ทั้งสองฝ่ายจัดทำขึ้นภายใน 30 วัน” เห็นได้ว่า ใบรับเงินเป็นเพียงหลักฐานการรับเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแก่จำเลยเท่านั้น หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะได้จัดทำขึ้นภายหลังภายใน 30 วัน ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน แสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันอีก กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันจะมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ” ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกิดขึ้น เงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยไม่มีสิทธิริบมัดจำจึงต้องคืนให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ที่มา สำนักวิชาการ เล่ม 4 หน้า 57 ที่มา สำนักวิชาการ เล่ม 4 หน้า 57 ที่มา
ในคำพิพากษาฎีกาที่ 2224/2553 มีข้อเท็จจริงที่เป็นหลักฐานว่าการรับเงินมัดจำระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นเพียงการเตรียมการเพื่อทำสัญญาจะซื้อจะขาย ดังนี้ 1. ข้อความในใบรับเงิน - ใบรับเงินระบุว่า “จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินเป็นเวลา 2 ปี และในวันนี้โจทก์ได้ชำระเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาท ด้วยเช็ค ส่วนที่เหลือจะชำระตามเงื่อนไขสัญญาจะซื้อจะขายที่ทั้งสองฝ่ายจัดทำขึ้นภายใน 30 วัน” 2. เจตนาของโจทก์และจำเลย - ข้อความในใบรับเงินแสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันอีกในภายหลัง โดยกำหนดว่าการทำสัญญาจะซื้อจะขายจะต้องทำขึ้นภายใน 30 วันตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน 3. บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง - กรณีนี้จึงต้องด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันจะมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ” จากข้อเท็จจริงดังกล่าว สรุปได้ว่าใบรับเงินเป็นเพียงหลักฐานการรับเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแก่จำเลย และยังไม่มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงเป็นเพียงการเตรียมการเพื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายซื้อขาย
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8585
Legal
หากจำเลยไม่ยินยอมจ่ายค่าที่ดินที่รุกล้ำเข้ามา โจทก์มีทางเลือกในการฟ้องร้องอย่างไรบ้าง?
หัวข้อ ใช้ค่าที่ดินส่วนที่ปลูกสร้างบ้านรุกล้ำ ป.พ.พ. มาตรา 4, 1312 คำพิพากษาฎีกา 381/51 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] คำพิพากษาฎีกา 381/51 คำพิพากษาฎีกา 381/51 ป.พ.พ. มาตรา 4, 1312 ป.พ.พ. มาตรา 4, 1312 การที่จำเลยปลูกบ้านในที่ดินซึ่งเดิมเป็นของจำเลยแล้วต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินนั้น ทำให้บางส่วนของบ้านจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทที่แบ่งแยกออกจากที่ดินดังกล่าว ซึ่งต่อมามีการโอนขายให้แก่โจทก์ เป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายปรับแก่คดีได้โดยตรงจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 และบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะปรับกับข้อเท็จจริงนี้ได้คือ ป.พ.พ. มาตรา 1312 เมื่อกรณีถือได้ว่าการรุกล้ำดังกล่าวเป็นไปโดยสุจริต จำเลยจึงเป็นเจ้าของบ้านส่วนที่รุกล้ำตามมาตรา 1312 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอน คงมีเพียงสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าที่ดินส่วนที่จำเลยปลูกสร้างบ้านรุกล้ำ การที่จำเลยปลูกบ้านในที่ดินซึ่งเดิมเป็นของจำเลยแล้วต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินนั้น ทำให้บางส่วนของบ้านจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทที่แบ่งแยกออกจากที่ดินดังกล่าว ซึ่งต่อมามีการโอนขายให้แก่โจทก์ เป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายปรับแก่คดีได้โดยตรงจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 และบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะปรับกับข้อเท็จจริงนี้ได้คือ ป.พ.พ. มาตรา 1312 เมื่อกรณีถือได้ว่าการรุกล้ำดังกล่าวเป็นไปโดยสุจริต จำเลยจึงเป็นเจ้าของบ้านส่วนที่รุกล้ำตามมาตรา 1312 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอน คงมีเพียงสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าที่ดินส่วนที่จำเลยปลูกสร้างบ้านรุกล้ำ
หากจำเลยไม่ยินยอมจ่ายค่าที่ดินที่รุกล้ำเข้ามา โจทก์มีทางเลือกในการฟ้องร้องดังนี้: 1. ฟ้องเรียกค่าเสียหาย: โจทก์สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ เนื่องจากการรุกล้ำที่ดินทำให้โจทก์ไม่ได้รับประโยชน์จากที่ดินเต็มที่ หรืออาจเกิดความเสียหายอื่น ๆ เช่น ค่าความเสื่อมสภาพของที่ดิน ค่าใช้จ่ายในการจัดการกับข้อพิพาท เป็นต้น 2. ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาสั่งให้รื้อถอน: หากการรุกล้ำไม่เป็นไปโดยสุจริต หรือหากการรุกล้ำนั้นทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง โจทก์อาจฟ้องขอให้ศาลสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้ามา แม้ว่าปกติแล้วมาตรา 1312 จะกำหนดให้จำเลยมีสิทธิเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่หากมีข้อโต้แย้งว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือมีความผิดอื่น ๆ ก็อาจมีช่องทางในการฟ้องรื้อถอน 3. ฟ้องเรียกร้องสิทธิในการใช้ประโยชน์จากที่ดิน: โจทก์อาจฟ้องเรียกร้องสิทธิในการใช้ประโยชน์จากที่ดินส่วนที่รุกล้ำเข้าไป เช่น การขอค่าเช่า หรือค่าธรรมเนียมในการใช้พื้นที่ดังกล่าว หากจำเลยไม่ยินยอมจ่ายค่าที่ดิน 4. ฟ้องร้องตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง: นอกจากการใช้มาตรา 1312 โจทก์อาจพิจารณากฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรุกล้ำที่ดินหรือการใช้ประโยชน์จากที่ดิน เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สิน หรือกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการข้อพิพาทเรื่องที่ดิน การฟ้องร้องเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่โจทก์สามารถรวบรวมได้ รวมถึงความรุนแรงของการรุกล้ำและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับที่ดินของโจทก์ด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ,ประมวลกฎหมายที่ดิน
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8587
Legal
กรณีที่ดินถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินสามารถทำอย่างไรได้บ้างตามกฎหมาย?
หัวข้อ ทางออกสู่ทางสาธารณะ ป.พ.พ. มาตรา 1349, 1350 คำพิพากษาฎีกา 3408/51 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] คำพิพากษาฎีกา 3408/51 คำพิพากษาฎีกา 3408/51 ป.พ.พ. มาตรา 1349, 1350 ป.พ.พ. มาตรา 1349, 1350 บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1350 จะนำมาใช้บังคับได้ต้องเป็นกรณีที่ที่ดินแปลงเดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว ครั้นเมื่อแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 ได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน แต่คดีนี้เดิมที่ดินของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ต้องอาศัยที่ดินของผู้อื่นเดินผ่านเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ การที่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดนผ่านที่ดินของผู้อื่นได้ เพราะเขายินยอม มิใช่เป็นสิทธิตามกฎหมายต้องถือว่าไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ กรณีของโจทก์จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 1350 แต่เป็นกรณีที่ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์สามารถผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ตามมาตรา 1349 บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1350 จะนำมาใช้บังคับได้ต้องเป็นกรณีที่ที่ดินแปลงเดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว ครั้นเมื่อแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 ได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน แต่คดีนี้เดิมที่ดินของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ต้องอาศัยที่ดินของผู้อื่นเดินผ่านเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ การที่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดนผ่านที่ดินของผู้อื่นได้ เพราะเขายินยอม มิใช่เป็นสิทธิตามกฎหมายต้องถือว่าไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ กรณีของโจทก์จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 1350 แต่เป็นกรณีที่ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์สามารถผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ตามมาตรา 1349 ที่ดินของโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ได้หลายทาง คือ ทางแรกโจทก์สามารถผ่านที่ดินของ ส. ผู้ซึ่งขายที่ดินให้แก่โจทก์แล้วไปออกทางที่ดินของ ด. โดย ส. และ ด. มิได้หวงห้าม ทางที่สองโจทก์สามารถออกทางที่ดินของ ป. และทางที่สามคือ ทางพิพาทนั้น โจทก์เพิ่งมาใช้ในภายหลัง ดังนั้น เมื่อโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้หลายทางโดยผ่านทางที่ดินของ ส. ด. และ ป. ซึ่งบุคคลดังกล่าวมิได้หวงห้ามโจทก์แต่อย่างใด การที่โจทก์จะขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อความสะดวกของโจทก์ แต่ทำให้จำเลยที่ 1 เดือดร้อนและเสียหาย และถ้าหากให้จำเลยที่ 1 เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจะทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรื้อบริเวณหลังบ้านด้านทิศตะวันออก อันจะทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเป็นอย่างมากและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม การกระทำของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ที่ดินของโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ได้หลายทาง คือ ทางแรกโจทก์สามารถผ่านที่ดินของ ส. ผู้ซึ่งขายที่ดินให้แก่โจทก์แล้วไปออกทางที่ดินของ ด. โดย ส. และ ด. มิได้หวงห้าม ทางที่สองโจทก์สามารถออกทางที่ดินของ ป. และทางที่สามคือ ทางพิพาทนั้น โจทก์เพิ่งมาใช้ในภายหลัง ดังนั้น เมื่อโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้หลายทางโดยผ่านทางที่ดินของ ส. ด. และ ป. ซึ่งบุคคลดังกล่าวมิได้หวงห้ามโจทก์แต่อย่างใด การที่โจทก์จะขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อความสะดวกของโจทก์ แต่ทำให้จำเลยที่ 1 เดือดร้อนและเสียหาย และถ้าหากให้จำเลยที่ 1 เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจะทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรื้อบริเวณหลังบ้านด้านทิศตะวันออก อันจะทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเป็นอย่างมากและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม การกระทำของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ในกรณีที่ดินถูกแปลงดินอื่นล้อมรอบตัวอย่างมากจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เจ้าของที่ดินต้องอาศัยทางเดินผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเพื่อเข้าถึงทางสาธารณะได้ ตามกฎหมายไทย เจ้าของที่ดินยังคงมีสิทธิเรียกร้องใช้สิทธิเกี่ยวกับทางออกสู่ทางสาธารณะตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการพัฒนาที่ดินและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน (ประมาณ พ.ศ. 1350) มาตรา 1349 โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน โดยมีข้อกำหนดหลักคือ 1. การให้ทางออกสู่ทางสาธารณะโดยไม่ผ่านที่ดินของผู้อื่น: หากเจ้าของที่ดินสามารถสร้างทางออกสู่ทางสาธารณะโดยไม่ต้องผ่านทางที่ดินของบุคคลอื่น ให้เป็นไปตามแบบแผนที่มีอยู่หรือตามกฎหมายและอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทำการตกแต่งพื้นที่ที่ดินหรือสร้างสะพานข้ามลำคลองเพื่อเชื่อมต่อกับทางสาธารณะ โดยไม่ผ่านที่ดินของบุคคลอื่น 2. การเรียกร้องความสนใจของสาธารณะ: หากการสร้างทางออกใหม่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนในพื้นที่นั้น เจ้าของที่ดินจำเป็นต้องส่งคำขอให้หน่วยงานรัฐบาลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากที่ดิน เพื่อให้ได้การพิจารณาและรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะที่เกี่ยวข้อง 3. การปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมาย: การสร้างหรือปรับปรุงทางออกสู่ทางสาธารณะจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบทางสาธารณะและการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการอนุญาต 4. การไม่มีการขัดขวางหรือกีดขวางในการเข้าถึงทางออก: หากเจ้าของที่ดินต้องการให้สิทธิในการใช้ทางออกสู่ทางสาธารณะ จะต้องไม่มีการกีดขวางหรือขัดขวางทางเดินของบุคคลอื่นที่อาจเข้าถึงทางสาธารณะได้ โดยการดำเนินการตามข้อกำหนดข้างต้น เจ้าของที่ดินจะสามารถเรียกร้องสิทธิเกี่ยวกับทางออกสู่ทางสาธารณะได้ตามกฎหมายโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนใด ๆ ตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 ในกรณีที่สอดคล้องกับเงื่อนไขและข้อกำหนดที่กล่าวมาข้างต้น
กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8590
Legal
โปรดสรุปคำพิพากษาฎีกาที่ 5740/2551 ว่าด้วยทางจำเป็นให้หน่อยครับ
คำพิพากษาฎีกาที่ 5740/2551 ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1359 ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1359 ทางจำเป็นนั้น กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมโดยเฉพาะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่จะมีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของที่ดินแต่เป็นเพียงผู้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินเท่านั้น แม้ที่ดินดังกล่าวถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อม โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น โจทก์ที่ 4 ที่ 5 ส. น. และ ม. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 โดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใด ความเป็นเจ้าของของแต่ละคนจึงครอบที่ดินทั้งแปลง เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งจึงอาจใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของรวมครอบที่ดินทั้ง แปลงเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 การที่โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ใช้สิทธิฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางจำเป็นจึงเป็นการใช้สิทธิแทนเจ้าของรวมอื่น ซึ่งรวมถึง ส. ด้วย กล่าวคือหากโจทก์ที่ 4 และที่ 5 มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นได้ ทางดังกล่าวย่อมได้ประโยชน์แก่เจ้าของรวมทุกคน แต่ ส. เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 ซึ่งด้านหนึ่งติดถนนสาธารณะอีกด้านหนึ่งติดกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ส. จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นสำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ได้ เพราะ ส. สามารถเข้าออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 ของตนเอง การที่ ส. ปลูกสร้างอาคารในที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 โดยเว้นทางเข้าออกด้านที่ติดกับของจำเลยไว้เพียง 1 เมตร เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ไม่สามารถนำรถยนต์ผ่านเข้าออกได้แต่ยังคงเดินเข้าออกได้นั้นเป็นเพียงทำให้ ความสะดวกของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ในการเข้าออกสู่ทางสาธารณะลดลงเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น
คำพิพากษาฎีกาที่ 5740/2551 ทางจำเป็นนั้น กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมโดยเฉพาะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 4 ที่ 5 ส. น. และ ม. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 การที่โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ใช้สิทธิฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางจำเป็นจึงเป็นการใช้สิทธิแทนเจ้าของรวมอื่น ซึ่งรวมถึง ส. ด้วย แต่ ส. เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 ซึ่งด้านหนึ่งติดถนนสาธารณะอีกด้านหนึ่งติดกับที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 439 ส. จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น เพราะ ส. สามารถเข้าออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 ของตนเองได้อยู่แล้ว การที่ ส. ปลูกสร้างอาคารในที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 โดยเว้นทางเข้าออกด้านที่ติดกับของจำเลยไว้เพียง 1 เมตร เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ไม่สามารถนำรถยนต์ผ่านเข้าออกได้เป็นเพียงทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ในการเข้าออกสู่ทางสาธารณะลดลงเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 439 ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8591
Legal
จงสรุปบทความ รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ ว่าด้วยการโอนเช็คพิพาท
[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] คำพิพากษาฎีกา 2055/36 คำพิพากษาฎีกา 2055/36 คำพิพากษาฎีกา 2055/36 จากคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้มีข้อสังเกตที่น่าสนใจดังนี้ จากคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้มีข้อสังเกตที่น่าสนใจดังนี้ 1.เช็ค พิพาทเป็นเช็คผู้ถือสามารถโอนด้วยการส่งมอบเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 โอนเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือให้แก่โจทก์ด้วยวิธีการสลักหลังและส่งมอบ ความจริงการสลักหลังนั้นไม่ใช่เป็นการสลักหลังโอนแต่เป็นการรับอาวัลเท่า นั้น เพราะว่าเป็นตั๋วผู้ถือไม่ใช่ตั๋วระบุชื่อ 1.เช็ค พิพาทเป็นเช็คผู้ถือสามารถโอนด้วยการส่งมอบเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 โอนเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือให้แก่โจทก์ด้วยวิธีการสลักหลังและส่งมอบ ความจริงการสลักหลังนั้นไม่ใช่เป็นการสลักหลังโอนแต่เป็นการรับอาวัลเท่า นั้น เพราะว่าเป็นตั๋วผู้ถือไม่ใช่ตั๋วระบุชื่อ 2.คดีนี้ไม่มีประเด็นโดยตรงว่าโจทก์เป็นผู้ทรงหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นกรณีตามมาตรา 917 นำมาปรับใช้เพราะว่าเป็นประเด็นที่โต้เถียงกันขึ้นมาไม่ได้โต้เถียงกันไปถึงประเด็นว่าตั๋วผู้ถือนั้นจะมีการห้ามเปลี่ยนมือได้หรือไม่ ท่านศาสตราจารย์จิตติ มีความเห็นว่า เช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินหรือผู้ถือซึ่งไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก ถ้ามีข้อความระบุว่าให้จ่ายเงินแก่ผู้รับเงินเท่านั้นก็หมายความว่าเป็นเช็ค ระบุชื่อซึ่งห้ามโอนไม่ถือว่าเป็นตั๋วผู้ถือ แต่ว่าฎีกาฉบับนี้ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นนี้โดยตรงเป็นเพียงการตอบคำถามว่า เป็นผู้ทรงหรือไม่เป็นผู้ทรงเท่านั้น 2.คดีนี้ไม่มีประเด็นโดยตรงว่าโจทก์เป็นผู้ทรงหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นกรณีตามมาตรา 917 นำมาปรับใช้เพราะว่าเป็นประเด็นที่โต้เถียงกันขึ้นมาไม่ได้โต้เถียงกันไปถึงประเด็นว่าตั๋วผู้ถือนั้นจะมีการห้ามเปลี่ยนมือได้หรือไม่ ท่านศาสตราจารย์จิตติ มีความเห็นว่า เช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินหรือผู้ถือซึ่งไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก ถ้ามีข้อความระบุว่าให้จ่ายเงินแก่ผู้รับเงินเท่านั้นก็หมายความว่าเป็นเช็ค ระบุชื่อซึ่งห้ามโอนไม่ถือว่าเป็นตั๋วผู้ถือ แต่ว่าฎีกาฉบับนี้ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นนี้โดยตรงเป็นเพียงการตอบคำถามว่า เป็นผู้ทรงหรือไม่เป็นผู้ทรงเท่านั้น 3.ข้อความตอนท้ายที่ว่าส่วนจำเลยที่ 4 คือธนาคารเป็นเพียงคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 4 กรณีนี้หมายความว่า ธนาคารเกี่ยวข้องกับผู้สั่งจ่ายเท่านั้นไม่มีนิติสัมพันธ์อะไรกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง เพราะฉะนั้นโจทก์จะฟ้องธนาคารเมื่อไม่มีการจ่ายเงินตามเช็คนั้นไม่ได้ทั้งไม่เป็นกรณีละเมิดด้วย 3.ข้อความตอนท้ายที่ว่าส่วนจำเลยที่ 4 คือธนาคารเป็นเพียงคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 4 กรณีนี้หมายความว่า ธนาคารเกี่ยวข้องกับผู้สั่งจ่ายเท่านั้นไม่มีนิติสัมพันธ์อะไรกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง เพราะฉะนั้นโจทก์จะฟ้องธนาคารเมื่อไม่มีการจ่ายเงินตามเช็คนั้นไม่ได้ทั้งไม่เป็นกรณีละเมิดด้วย 4.ถ้อยคำตามมาตรา 917 ที่ว่าเมื่อตั๋วเงินมีข้อกำหนดว่าเปลี่ยนมือไม่ได้หรือข้อความทำนองเดียวกัน แล้วก็มีผลตามมาตรานี้ว่าตั๋วนั้นจะโอนกันได้ก็แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนหนี้สามัญ 4.ถ้อยคำตามมาตรา 917 ที่ว่าเมื่อตั๋วเงินมีข้อกำหนดว่าเปลี่ยนมือไม่ได้หรือข้อความทำนองเดียวกัน แล้วก็มีผลตามมาตรานี้ว่าตั๋วนั้นจะโอนกันได้ก็แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนหนี้สามัญ (**ที่มา คำอธิบาย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด ท่านประทีป เฉลิมภัทรกุล) (**ที่มา คำอธิบาย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด ท่านประทีป เฉลิมภัทรกุล)
มีข้อสังเกตในคำพิพากษาฎีกา 2055/36 ที่น่าสนใจ ดังนี้ 1) เนื่องจากเช็คพิพาทเป็นเช็คที่ผู้ถือสามารถโอนด้วยการส่งมอบเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 โอนเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือให้แก่โจทก์ด้วยวิธีการสลักหลังและส่งมอบ โดยการสลักหลังนั้นไม่ใช่เป็นการสลักหลังโอนแต่เป็นการรับอาวัลเท่านั้น เหตุเพราะเป็นตั๋วผู้ถือไม่ใช่ตั๋วระบุชื่อ 2) คดีนี้ไม่มีประเด็นโดยตรงว่าโจทก์เป็นผู้ทรงหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นกรณีตามมาตรา 917 นำมาปรับใช้ เพราะเป็นประเด็นที่โต้เถียงกันขึ้นมา ไม่ได้โต้เถียงกันไปถึงประเด็นว่าตั๋วผู้ถือนั้นจะมีการห้ามเปลี่ยนมือได้หรือไม่ โดยท่านศาสตราจารย์จิตติมีความเห็นว่า เช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินหรือผู้ถือซึ่งไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก ถ้ามีข้อความระบุว่าให้จ่ายเงินแก่ผู้รับเงินเท่านั้นก็หมายความว่าเป็นเช็คระบุชื่อซึ่งห้ามโอน ไม่ถือว่าเป็นตั๋วผู้ถือ แต่ว่าฎีกาฉบับนี้ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นนี้โดยตรง เป็นเพียงการตอบคำถามว่า เป็นผู้ทรงหรือไม่เป็นผู้ทรงเท่านั้น 3) ข้อความตอนท้ายที่ว่า ส่วนจำเลยที่ 4 คือธนาคารเป็นเพียงคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 4 หมายความว่า ธนาคารเกี่ยวข้องกับผู้สั่งจ่ายเท่านั้นไม่มีนิติสัมพันธ์อะไรกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ฉะนั้นโจทก์จะฟ้องธนาคารเมื่อไม่มีการจ่ายเงินตามเช็คนั้นไม่ได้ ทั้งไม่เป็นกรณีละเมิดด้วย 4) ถ้อยคำตามมาตรา 917 ที่ว่า เมื่อตั๋วเงินมีข้อกำหนดว่าเปลี่ยนมือไม่ได้ หรือมีข้อความทำนองเดียวกัน จึงมีผลตามมาตรานี้ว่าตั๋วนั้นจะโอนกันได้ก็แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนหนี้สามัญเท่านั้น
กฎหมายตั๋วเงิน-เช็ค
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8596
Legal
กรณีที่ดินถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินสามารถทำอย่างไรได้บ้างตามกฎหมาย?
หัวข้อ การปลอมและใช้เอกสารปลอม ฎีกาที่น่าสนใจที่ 8870/2554 ตาม ป.อ. มาตรา 264, 265, 268 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] จำเลยปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ร่วมเพื่อขอให้เปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารโดยใช้ชื่อโจทก์ร่วมในคำขอเปิดบัญชีและปลอมตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในคำขอเปิดบัญชีตามเอกสารหมาย จ.1 แล้วนำไปยื่นต่อพนักงานธนาคาร ทำให้ธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากของโจทก์ร่วม จึงออกสมุดเงินฝากในนามของโจทก์ร่วมให้ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมและใช้เอกสารปลอม ส่วนการที่จำเลยนำแบบพิมพ์ใบถอนเงินของธนาคารรวม 15 ฉบับ มากรอกข้อความโดยเขียนชื่อโจทก์ร่วมในช่องชื่อบัญชี เขียนเลขที่บัญชี จำนวนเงิน และลงลายมือชื่อปลอมของโจทก์ร่วมในช่องเจ้าของบัญชีและช่องผู้รับเงิน แล้วนำใบถอนเงินดังกล่าวไปยื่นต่อพนักงานของธนาคาร ทำให้พนักงานของธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นใบถอนเงินที่แท้จริงจึงจ่ายเงินให้จำเลยไป แม้ว่าโจทก์ร่วมจะมิได้เปิดบัญชีตามเอกสารหมาย จ.1 และเงินในบัญชีดังกล่าวมิใช่เงินของโจทก์ร่วม ซึ่งโจทก์ร่วมอาจจะไม่ได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินโดยตรงก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหลักฐานทางการเงินในนามของโจทก์ร่วมในระบบบัญชีธนาคารดังกล่าวให้แตกต่างไปจากความเป็นจริง อันจะเป็นผลให้โจทก์ร่วมและธนาคารดังกล่าวเสียชื่อเสียงไม่ได้รับความเชื่อมั่นไว้วางใจในสังคมและในการประกอบธุรกิจ อันเป็นประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมและธนาคารแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมรวม 15 กระทง ส่วนการที่จำเลยนำแบบพิมพ์ใบถอนเงินของธนาคารรวม 15 ฉบับ มากรอกข้อความโดยเขียนชื่อโจทก์ร่วมในช่องชื่อบัญชี เขียนเลขที่บัญชี จำนวนเงิน และลงลายมือชื่อปลอมของโจทก์ร่วมในช่องเจ้าของบัญชีและช่องผู้รับเงิน แล้วนำใบถอนเงินดังกล่าวไปยื่นต่อพนักงานของธนาคาร ทำให้พนักงานของธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นใบถอนเงินที่แท้จริงจึงจ่ายเงินให้จำเลยไป แม้ว่าโจทก์ร่วมจะมิได้เปิดบัญชีตามเอกสารหมาย จ.1 และเงินในบัญชีดังกล่าวมิใช่เงินของโจทก์ร่วม ซึ่งโจทก์ร่วมอาจจะไม่ได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินโดยตรงก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหลักฐานทางการเงินในนามของโจทก์ร่วมในระบบบัญชีธนาคารดังกล่าวให้แตกต่างไปจากความเป็นจริง อันจะเป็นผลให้โจทก์ร่วมและธนาคารดังกล่าวเสียชื่อเสียงไม่ได้รับความเชื่อมั่นไว้วางใจในสังคมและในการประกอบธุรกิจ อันเป็นประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมและธนาคารแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมรวม 15 กระทง
ในกรณีที่ดินถูกแปลงดินอื่นล้อมรอบตัวอย่างมากจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เจ้าของที่ดินต้องอาศัยทางเดินผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเพื่อเข้าถึงทางสาธารณะได้ ตามกฎหมายไทย เจ้าของที่ดินยังคงมีสิทธิเรียกร้องใช้สิทธิเกี่ยวกับทางออกสู่ทางสาธารณะตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการพัฒนาที่ดินและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน (ประมาณ พ.ศ. 1350) มาตรา 1349 โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน โดยมีข้อกำหนดหลักคือ 1. การให้ทางออกสู่ทางสาธารณะโดยไม่ผ่านที่ดินของผู้อื่น: หากเจ้าของที่ดินสามารถสร้างทางออกสู่ทางสาธารณะโดยไม่ต้องผ่านทางที่ดินของบุคคลอื่น ให้เป็นไปตามแบบแผนที่มีอยู่หรือตามกฎหมายและอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทำการตกแต่งพื้นที่ที่ดินหรือสร้างสะพานข้ามลำคลองเพื่อเชื่อมต่อกับทางสาธารณะ โดยไม่ผ่านที่ดินของบุคคลอื่น 2. การเรียกร้องความสนใจของสาธารณะ: หากการสร้างทางออกใหม่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนในพื้นที่นั้น เจ้าของที่ดินจำเป็นต้องส่งคำขอให้หน่วยงานรัฐบาลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากที่ดิน เพื่อให้ได้การพิจารณาและรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะที่เกี่ยวข้อง 3. การปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมาย: การสร้างหรือปรับปรุงทางออกสู่ทางสาธารณะจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบทางสาธารณะและการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการอนุญาต 4. การไม่มีการขัดขวางหรือกีดขวางในการเข้าถึงทางออก: หากเจ้าของที่ดินต้องการให้สิทธิในการใช้ทางออกสู่ทางสาธารณะ จะต้องไม่มีการกีดขวางหรือขัดขวางทางเดินของบุคคลอื่นที่อาจเข้าถึงทางสาธารณะได้ โดยการดำเนินการตามข้อกำหนดข้างต้น เจ้าของที่ดินจะสามารถเรียกร้องสิทธิเกี่ยวกับทางออกสู่ทางสาธารณะได้ตามกฎหมายโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนใด ๆ ตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 ในกรณีที่สอดคล้องกับเงื่อนไขและข้อกำหนดที่กล่าวมาข้างต้น
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),ประมวลกฎหมายที่ดิน,กฎหมายอสังหาริมทรัพย์,คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร อาคารชุด-จัดสรรที่ดินและถมดิน
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8597
Legal
จงสรุปบทความเรื่อง การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ฎีกาที่น่าสนใจที่ 5575 - 5582/2554 ตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) ให้หน่อยค่ะ
 หัวข้อ : การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ฎีกาที่น่าสนใจที่ 5575 - 5582/2554 ตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) หมวดหมู่ : รวมคำพิพากษาศาลฎีกา ที่น่าสนใจ (ฎีกา 5ดาว) 170k Shares [กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลผู้เสียหาย มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.วิ.อ. ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฯ มีคำสั่งอนุมัติให้จ่ายเงินตามฎีกาเบิกเงินในโครงการ โดยไม่มีการวางท่อระบายน้ำตามสัญญาและไม่มีการแก้ไขสัญญาให้ถูกต้อง ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา 157 แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ทำเอกสารหรือกรอกข้อความในเอกสาร จึงไม่มีความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 162 (1) จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้าง มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจและควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาจ้างแต่ละโครงการ เมื่องานในแต่ละโครงการทำไม่เสร็จครบถ้วนตามสัญญา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 กลับลงลายมือชื่อในใบควบคุมงานและเอกสารการตรวจการจ้างเป็นเท็จว่ามีการทำงานถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) โจทก์แยกฟ้องคดีเป็นแปดสำนวนและมิได้ขอให้นับโทษจำเลยในแต่ละสำนวนติดต่อกัน แม้จะรวมการพิจารณาและพิพากษาคดีทั้งแปดสำนวนเข้าด้วยกัน ก็นับโทษจำเลยในแต่ละสำนวนติดต่อกันไม่ได้ เพราะเป็นการเกินคำขอไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง จำนวนผู้ชม : 1678 ครั้ง ลงวันที่ 26/01/2014 15:40:00 ข้อมูลบทความ ในหมวดหมู่เดียวกัน ป.พ.พ. มาตรา 193/14, 1629, 1634, 1748 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2553 ฎีกาเก็งน่าสนใจ การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. แบบพิมพ์ใบเสร็จรับเงินธนาคาร คำพิพากษาฏีกา ๕๖๗๔/๒๕๔๔) รวมคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ บทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยายเนติ ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 1 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15447/2555 (ความรับผิดเงินฝากในธนาคาร และเรื่องผู้เสียหาย) แบ่งปันข้อมูล* สรุปเน้นประเด็นฎีกา* กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค3-4 อ.ธานีฯ เนติฯ เล่มที่13 ครั้งที่13 สมัยที่76 สรุปเน้นประเด็นฎีกา* กฏหมายพยานหลักฐาน อ.เข็มชัยฯ เนติฯ เล่มที่12 ครั้งที่10 สมัยที่76 บทบรรณาธิการเนติบัณฑิต ภาค2 สมัยที่ 76 เล่มที่16 (PDF) - พร้อมเน้นประเด็น* เน้นประเด็น* ถามตอบ บทบรรณาธิการเนติบัณฑิต 2/76 เล่มที่16 (เอกสาร PDF) เน้นประเด็น* ถามตอบ บทบรรณาธิการเนติบัณฑิต 2/76 เล่มที่15 (เอกสาร PDF) อัพเดท แบ่งปันข้อมูล ทั้งหมด... เนติฯ แพ่ง ภาค 1* ทีเด็ด เน้นประเด็น เก็ง* ท่องพร้อมสอบ ข้อ8. ครอบครัว - มรดก เนติ สมัยที่ 76 (ชุดที่ 6 เก็บตก*) 6-10-66 ทีเด็ด เน้นประเด็น เก็ง* ท่องพร้อมสอบ ข้อ5. ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำเนติ สมัยที่ 76 (ชุดที่ 6 เก็บตก*) 6-10-66 ทีเด็ด เน้นประเด็น เก็ง* ท่องพร้อมสอบ ข้อ2. นิติกรรม สัญญา หนี้ เนติ สมัยที่ 76 (ชุดที่ 4 เก็บตก*) 6-10-66 ทีเด็ด* เน้นประเด็น เก็ง* ท่องพร้อมสอบ ข้อ1. ทรัพย์-ที่ดิน เนติ สมัยที่ 76 (ชุดที่ 5 เก็บตก* 3-10-66) ทีเด็ด เน้นประเด็น เก็ง* ท่องพร้อมสอบ ข้อ9. กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ เนติ สมัยที่ 76 (ชุดที่3 เก็บตก*) อัพเดท ดาวน์โหลดฯ แพ่ง เนติฯ ทั้งหมด... สรุปเจาะฎีกา* กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ อ.อรรถนิติฯ คำบรรยายเนติฯ ที่น่าสนใจ ครั้งที่13 เล่มที่ 16 สมัยที่ 76 สรุปเจาะฎีกา* ทรัพย์สินทางปัญญา อ.ธรรมนูญฯ คำบรรยายเนติฯ ที่น่าสนใจ ครั้งที่4 ?สมัยที่ 76 สรุปเจาะฎีกา* หนี้ อ.ไพโรจน์ฯ คำบรรยายเนติฯ ที่น่าสนใจ (ภาคปกติ) ครั้งที่16 เล่มที่16 สมัยที่ 76 สรุปเจาะฎีกา* ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ อ.สุทัศน์ฯ คำบรรยายเนติฯ ที่น่าสนใจ ครั้งที่8 เล่มที่16 สมัยที่ 76 สรุปเจาะฎีกา* กฎหมายครอบครัว อ.ประสพสุขฯ คำบรรยายเนติ ที่น่าสนใจ ครั้งที่8 เล่มที่16 สมัยที่ 76 ดาวน์โหลดฯ สรุปเจาะฎีกา แพ่ง เนติฯ ทั้งหมด... เนติฯ อาญา ภาค 1* ทีเด็ด เน้นประเด็น เก็ง* ท่องพร้อมสอบ ข้อ4. กฎหมายอาญา มาตรา 209-287,367-398 เนติฯ สมัยที่ 76 (ชุดที่ 3 เก็บตก*) ทีเด็ด เน้นประเด็น เก็ง ท่องพร้อมสอบ ข้อ2-3. กฎหมายอาญา มาตรา 59-106 เนติฯ สมัยที่ 76 (ชุดที่ 7) เน้นข้อ3* ทีเด็ด เน้นประเด็น เก็ง* ท่องพร้อมสอบ ข้อ6. กฎหมายอาญา มาตรา 288-366/4 เนติฯ สมัยที่ 76 (ชุดที่ 4 เก็บตก*) เจาะประเด็น คำบรรยายเนติฯ กฎหมายอาญา มาตรา 1-58 ,107-208 อ.ชาตรีฯ (ภาคปกติ) ครั้งที่ 7 สมัยที่ 76 ปิดคอร์ส* เจาะประเด็น คำบรรยายเนติฯ กฏหมายอาญา มาตรา209-287,367-398 อ.ทวีเกียรฯ (ภาคปกติ) ครั้งที่5 สมัยที่ 76 อัพเดท ดาวน์โหลดฯ อาญา เนติฯ ทั้งหมด... สรุปเจาะฎีกา* กฎหมายอาญา มาตรา 59-106 อ.เกียรติขจรฯ ที่น่าสนใจ ครั้งที่14 เล่มที่15 สมัยที่ 76 สรุปเจาะฎีกา* กฎหมายอาญา มาตรา 288-366/4 อ.มล.ไกรฤกษ์ฯ ครั้งที่14 เล่มที่15 สมัยที่ 76 สรุปเจาะฎีกา* อาญา มาตรา 209-287,367-398 อ.ทวีเกียรติฯ คำบรรยายเนติฯ ที่น่าสนใจ (ภาคปกติ) ครั้งที่4 เล่มที่15 สมัยที่ 76 สรุปเจาะฎีกา* อาญา มาตรา 209-287,367-398 อ.ทวีเกียรติฯ คำบรรยายเนติฯ ที่น่าสนใจ (ภาคปกติ) ครั้งที่3 เล่มที่15 สมัยที่ 76 สรุปเจาะฎีกา* กฎหมายแรงงาน อ.พงษ์รัตน์ฯ คำบรรยายเนติฯ ที่น่าสนใจ (ภาคปกติ) ครั้งที่7 เล่มที่15 สมัยที่ 76 ดาวน์โหลดฯ สรุปเจาะฎีกา อาญา เนติฯ ทั้งหมด... ฎีกาเด่น 5 ดาว* คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2551 ฎีกาที่ 4439/2560 ฎีกาที่ 1148/2565 คำพิพากษาฎีกาที่ 3945/2557 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2559 อัพเดท ฎีกาเด่น ทั้งหมด... เนติฯ วิ.แพ่ง ภาค 2* เจาะประเด็น ขั้นเทพ* ข้อ 7 วิแพ่ง ภาค 4 (บังคับคดี) สมัยที่ 76 ชุดที่8 (เก็บตก* ท่องพร้อมสอบ) เจาะประเด็น ขั้นเทพ* ข้อ 7 วิแพ่ง ภาค 4 (บังคับคดี) สมัยที่ 76 ชุดที่7 (เก็บตก* ท่องพร้อมสอบ) เจาะประเด็น ขั้นเทพ* ข้อ4 วิแพ่ง ภาค 2 สมัยที่ 76 ชุดที่9 (เก็บตก* ท่องพร้อมสอบ) เจาะประเด็น ขั้นเทพ* ข้อ 1 วิแพ่ง ภาค 1 สมัยที่ 76 ชุดที่9 (เก็บตก* ท่องพร้อมสอบ) บทบรรณาธิการ เนติบัณฑิต 2/76 เล่มที่16 (เน้นประเด็นสำคัญ) อัพเดท ดาวน์โหลดฯ วิ.แพ่ง เนติฯ ทั้งหมด... สรุปเน้นประเด็นฎีกา* พระธรรมนูญศาลยุติธรรม อ.อนันต์ฯ เนติฯ เล่มที่7 ครั้งที่7 สมัยที่76 สรุปเน้นประเด็นฎีกา* พระธรรมนูญศาลยุติธรรม อ.อนันต์ฯ เนติฯ เล่มที่6 ครั้งที่6 สมัยที่76 สรุปเน้นประเด็นฎีกา* พระธรรมนูญศาลยุติธรรม อ.อนันต์ฯ เนติฯ เล่มที่5 ครั้งที่5 สมัยที่76 สรุปเน้นประเด็นฎีกา* พระธรรมนูญศาลยุติธรรม อ.อนันต์ฯ เนติฯ เล่มที่4 ครั้งที่4 สมัยที่76 สรุปเน้นประเด็นฎีกา* พระธรรมนูญศาลยุติธรรม อ.อนันต์ฯ เนติฯ เล่มที่3 ครั้งที่3 สมัยที่76 ดาวน์โหลดฯ สรุปเจาะฎีกา วิ.แพ่ง เนติฯ ทั้งหมด... เนติฯ วิ.อาญา ภาค 2* เจาะประเด็น ขั้นเทพ* ข้อ8 กฎหมายพยานหลักฐาน (ในคดีอาญา) สมัยที่ 76 ชุดที่3 (เก็บตก* ท่องพร้อมสอบ) เจาะประเด็น ขั้นเทพ* ข้อ6 สิทธิมนุษยชนฯ สมัยที่ 76 ชุดที่7 (เก็บตก* ท่องพร้อมสอบ) เจาะประเด็น ขั้นเทพ* ข้อ1 วิ.อาญา ภาค 1-2 สมัยที่ 76 ชุดที่7 (เก็บตก* ท่องพร้อมสอบ) เจาะประเด็น ขั้นเทพ* ข้อ3 วิ.อาญา ภาค 1-2 สมัยที่ 76 ชุดที่8 (เก็บตก* ท่องพร้อมสอบ) เจาะประเด็น ขั้นเทพ* ข้อ3 วิ.อาญา ภาค 1-2 สมัยที่ 76 ชุดที่7 (เก็บตก* ท่องพร้อมสอบ) อัพเดท ดาวน์โหลดฯ วิ.อาญา เนติฯ ทั้งหมด... สรุปเน้นประเด็นฎีกา* วิ.อาญา ภาค 1-2 อ.โนชาฯ เนติฯ เล่มที่16 ครั้งที่8 สมัยที่76 สรุปเน้นประเด็นฎีกา* วิ.อาญา ภาค 1-2 อ.โนชาฯ เนติฯ เล่มที่15 ครั้งที่7สมัยที่76 สรุปเน้นประเด็นฎีกา* วิ.อาญา ภาค 1-2 อ.โนชาฯ เนติฯ เล่มที่14 ครั้งที่6 สมัยที่76 สรุปเน้นประเด็นฎีกา* วิ.อาญา ภาค 1-2 อ.โนชาฯ เนติฯ เล่มที่14 ครั้งที่5 สมัยที่76 สรุปเน้นประเด็นฎีกา* วิ.อาญา ภาค 1-2 อ.โนชาฯ เนติฯ เล่มที่12 ครั้งที่4 สมัยที่76 ดาวน์โหลดฯ สรุปเจาะฎีกา วิ.อาญา เนติฯ ทั้งหมด... คำศัพท์กฎหมาย Central Authority Competent authority Conflict of law Exploitation People smuggling
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลผู้เสียหาย มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.วิ.อ. ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฯ มีคำสั่งอนุมัติให้จ่ายเงินตามฎีกาเบิกเงินในโครงการ โดยไม่มีการวางท่อระบายน้ำตามสัญญาและไม่มีการแก้ไขสัญญาให้ถูกต้อง ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา 157 แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ทำเอกสารหรือกรอกข้อความในเอกสาร จึงไม่มีความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 162 (1) จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้าง มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจและควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาจ้างแต่ละโครงการ เมื่องานในแต่ละโครงการทำไม่เสร็จครบถ้วนตามสัญญา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 กลับลงลายมือชื่อในใบควบคุมงานและเอกสารการตรวจการจ้างเป็นเท็จว่ามีการทำงานถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) โจทก์แยกฟ้องคดีเป็นแปดสำนวนและมิได้ขอให้นับโทษจำเลยในแต่ละสำนวนติดต่อกัน แม้จะรวมการพิจารณาและพิพากษาคดีทั้งแปดสำนวนเข้าด้วยกัน ก็นับโทษจำเลยในแต่ละสำนวนติดต่อกันไม่ได้ เพราะเป็นการเกินคำขอไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับการปกครอง(ความผิดต่อเจ้าพนักงาน-ตำแหน่งราชการ)
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8604
Legal
เมื่อการกระทำครบองค์ประกอบความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ให้พิจารณาต่อว่าอย่างไร
1. การกระทำนั้นสำเร็จลงตามความประสงค์ของผู้กระทำหรือไม่ 2. ผู้กระทำสามารถอ้างเหตุอะไรได้บ้าง 3. ถ้ามีตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ผู้ลงมือได้กระทำไปในขอบเขตหรือไม่ 4. การกระทำนั้นเกิดเพราะความสำคัญผิดในตัวบุคคลหรือสำคัญผิดในข้อเท็จจริงหรือไม่
คำตอบที่ถูกต้องได้แก่ 4. เนื่องจาก เพราะเมื่อการกระทำครบองค์ประกอบความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ให้พิจารณาต่อว่า การกระทำนั้นเกิดเพราะความสำคัญผิดในตัวบุคคลหรือสำคัญผิดในข้อเท็จจริงหรือไม่ การพิจารณาคำถาม ต้องพิจารณาเป็นขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. พิจารณาว่าการกระทำครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่ กล่าวคือ 1.1 พิจารณาว่าครบองค์ประกอบภายนอกหรือไม่ เช่น ผู้ใด ฆ่า ผู้อื่น หรือ ผู้ใด เอาไปซึ่งทรัพย์ ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย อธิบายได้ดังนี้ การฆ่าผู้อื่น ผู้อื่นต้องมีสภาพบุคคลหรือมีชีวิตอยู่ในขณะกระทำการฆ่า การยิงศพถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานนั้น การกระทำจึงไม่เป็นความผิด ส่วนการเอาทรัพย์ของตนเองไปโดยคิดว่าเป็นทรัพย์ของผู้อื่น ก็ถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอกเช่นเดียวกัน keyword ผู้กระทำความผิดรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด 1.2 พิจารณาว่าครบองค์ประกอบภายในหรือไม่ กล่าวคือ > ก. ต้องการฆ่า > ข. จึงยิง > ข. ตาย > ก. กระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำของตนว่าเป็นการฆ่า > ข. เป็นการกระทำโดยเจตนา.. > กระทำโดยเจตนา ให้ตอบด้วยว่า เป็นเจตนาประเภทประสงค์ต่อผล หรือประเภทเล็งเห็นผล > ถ้ากรณีไม่เป็นเจตนาประเภทประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผล ให้พิจารณาว่าเป็นการกระทำโดยพลาดหรือไม่ > ถ้าไม่เป็นพลาดถือว่าผู้กระทำมิได้กระทำโดยเจตนา > kw ผู้กระทำเจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่บุคคลอีกคนหนึ่งโดยพลาดไป > ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น > ให้พิจารณาประเด็นว่าการกระทำเป็นประมาทหรือไม่ โดยส่วนใหญ่จะมีคำว่า “ไม่ดูให้ดี” > kw เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นตามวิสัยและพฤติการณ์ > และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ 1.3 พิจารณาว่าการกระทำสัมพันธ์กับผลหรือไม่ กล่าวคือ > เป็นผลโดยตรงหรือไม่ > เมื่อเป็นผลโดยตรงแล้ว พิจารณาต่อว่าเป็นผลธรรมดาที่เป็นเหตุให้ต้องรับโทษหนักขึ้นหรือไม่ > เช่น ทำร้ายร่างกาย แต่เกิดตาบอด กรณีถือว่าเป็นความผิดฐานทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส เป็นต้น > ถ้าเป็นผลโดยตรงแล้ว แต่พิจารณาแล้วไม่เป็นผลธรรมดา ให้พิจารณาต่อว่าเป็นเหตุแทรกแซงหรือไม่ > ถ้าเป็นเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้ ผู้กระทำก็ต้องรับผิดในความผิดฐานนั้นๆ > แต่ถ้าเป็นเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายไม่ได้ ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในความผิดฐานนั้นๆ 2. เมื่อการกระทำครบองค์ประกอบความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ให้พิจารณาต่อว่ากระทำนั้นเกิดเพราะความสำคัญผิดในตัวบุคคลหรือสำคัญผิดในข้อเท็จจริงหรือไม่ 2.1 สำคัญผิดในตัวบุคคล กล่าวคือ เจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่กระทำต่อบุคคลอีกคนหนึ่งโดยสำคัญผิด > kw ผู้กระทำโดยสำคัญผิดจะยกข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนาหาได้ไม่ (ห้ามตอบว่า เจตนาฆ่าโดยสำคัญผิด) > ก ต้องการฆ่า ข. ซึ่งเป็นบิดา ก. เห็น ค. เดินมาคิดว่าเป็น ก. จึงยิง ค. ตาย > กรณีนี้ ก. ไม่ต้องรับผิดต่อ ข. เพราะฉะนั้น ก. จึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าบุพการีตามมาตรา 289 (1) ประกอบ 80 หรือแม้ตามมาตรา 81 > และถือได้ว่า ก. ได้กระทำโดยเจตนาต่อ ค. จนหมดสิ้นแล้ว หรือเจตนาที่ ก. มีต่อ ข. ได้แปรเปลี่ยนไปยัง ค. > เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความผิดใด ๆ เหลืออยู่ระหว่าง ก. กับ ข. 2.2 สำคัญผิดในข้อเท็จจริงตามมาตรา 62 วรรคแรก เป็นกรณีที่ทำให้ผู้กระทำไม่มีความผิด หรือไม่ต้องได้รับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง ซึ่งมีข้อพิจารณาว่า จะนำมาใช้ต่อเมื่อความจริงเป็นผลร้าย แต่ความเข้าใจเป็นผลดี 3. เมื่อการกระทำครบองค์ประกอบความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติแล้ว ให้พิจารณาต่อว่า ผู้กระทำสามารถอ้างเหตุอะไรได้บ้าง กล่าว อ้างป้องกัน เหตุที่ไม่มีความผิด หรืออ้างจำเป็น ไม่ต้องรับโทษ หรืออ้างบันดาลโทสะ ได้รับโทษน้อยลงหรือไม่ > ซึ่งผู้กระทำต้องมีเจตนาและเจตนาพิเศษด้วย > ป้องกัน เจตนาพิเศษคือ เพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น > จำเป็น เจตนาพิเศษคือ 67 (1) อยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ > 67 (2) เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง > บันดาลโทสะ เจตนาพิเศษ คือ ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม 4. เมื่อการกระทำครบองค์ประกอบความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ให้พิจารณาวาการกระทำนั้นสำเร็จลงตามความประสงค์ของผู้กระทำหรือไม่ ถ้าไม่สำเร็จก็เป็นพยายาม ซึ่งต้องพิจารณาตามมาตรา 80 พยายามกระทำความผิด, 81 พยายามกระทำความผิดที่เป็นไม่ได้อย่างแน่แท้, 82 พยายามกระทำความผิดโดยการยับยั้งหรือกลับใจ > 80 พยายามกระทำความผิด ต้องตอบด้วย เป็นการกระทำไปไม่ตลอด หรือเป็นการกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล > 81 พยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ ให้ตอบด้วยว่า เป็นเพราะปัจจัยที่ใช้ในการกระทำต่อ หรือวัตถุที่ใช้ในการกระทำต่อ > 82 ยับยั้งหรือกลับใจ เป็นการที่ผู้กระทำกระทำไปไม่ตลอด เป็นยับยั้ง > ส่วนการกระทำไปตลอดแล้วแต่กลับใจไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล 5. เมื่อพิจารณาผู้ลงมือกระทำความผิดแล้ว ว่าเป็นผู้มีเจตนากระทำความผิดฐานนั้นๆ ให้พิจารณาต่อว่า การกระทำความผิดดังกล่าวนั้นมีตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุนหรือไม่ ถ้ามีผู้ลงมือได้กระทำไปในขอบเขตหรือไม่ > ตัวการ 83 ต้องเป็นความผิดที่เกิดขึ้นจากบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้กระทำความผิดด้วยนั้นถือว่าเป็นตัวการ > โดยพิจารณาว่าผู้ที่กระทำด้วยกับผู้ลงมือนั้น มีการร่วมใจและร่วมกระทำหรือไม่ โดยอาจจะมีการแบ่งหน้าที่กันทำ เป็นต้น > ผู้ใช้ 84 เป็นผู้ที่ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด และผู้ลงมือกระทำความผิดก็ต้องมีเจตนากระทำความผิดด้วย > ถ้าผู้ลงมือไม่มีเจตนากระทำความ แต่กระทำความผิดเพราะถูกหลอกลวงให้กระทำ > กรณีถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดโดยอ้อม ผู้ลงมือไม่มีความผิด แต่ผู้ใช้ที่หลอกลวงเป็นผู้กระทำความผิดเอง > ผู้สนับสนุน 86 ต้องเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดนั้น > และผู้กระทำความผิดต้องได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือเช่นนั้นด้วย > และต้องเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะกระทำความผิด > แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก็ตาม > พิจารณาว่าผู้ลงมือกระทำความผิดอยู่ในขอบเขตของการใช้กับการสนับสนุนหรือไม่
ข่าวสารทั่วไป สถิติต่างๆ
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8605
Legal
สิทธิ์กรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมถูกโอนให้แก่จำเลยอย่างไรตามข้อตกลงในสัญญาซื้อขายต้นฉบับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง?
หัวข้อ ความผิดฐานลักทรัพย์ ฎีกาที่น่าสนใจที่ 9603/2553 ตาม ป.อ. มาตรา 334 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] คำพิพากษาฎีกาที่ 9603/2553 คำพิพากษาฎีกาที่ 9603/2553 ป.อ. มาตรา 334 ป.อ. มาตรา 334 ป.พ.พ. 453, 458 ป.พ.พ. 453, 458 โจทก์ร่วมซื้อรถยนต์ตู้กับจำเลยในราคา 310,000 บาท สัญญาระบุว่าจำเลยตกลงรับชำระราคารถยนต์จำนวน 200,000 บาท ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540 ส่วนจำนวนที่เหลือจะชำระให้จำเลยในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ ดังนั้น จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ย่อมโอนให้แก่โจทก์ร่วมตั้งแต่ ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 453, 458 แม้จำเลยยังมิได้ส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และโอนชื่อในทะเบียนให้แก่โจทก์ร่วมก็ตาม จำเลยจึงไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้ โจทก์ร่วมซื้อรถยนต์ตู้กับจำเลยในราคา 310,000 บาท สัญญาระบุว่าจำเลยตกลงรับชำระราคารถยนต์จำนวน 200,000 บาท ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540 ส่วนจำนวนที่เหลือจะชำระให้จำเลยในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ ดังนั้น จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ย่อมโอนให้แก่โจทก์ร่วมตั้งแต่ ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 453, 458 แม้จำเลยยังมิได้ส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และโอนชื่อในทะเบียนให้แก่โจทก์ร่วมก็ตาม จำเลยจึงไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้ จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ เป็นการเอาไปรถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมไม่ยอมรับชำระหนี้ที่ค้าง แต่ก็เป็นการการใช้อำนาจบังคับให้ชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ร่วมค้างชำระราคารถยนต์แก่จำเลยเพียงประมาณ 20,000 บาท แต่จำเลยจะให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท ดังนั้น การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกให้โจทก์ร่วมชำระหนี้ จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ไปโดยทุจริตมีความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ เป็นการเอาไปรถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมไม่ยอมรับชำระหนี้ที่ค้าง แต่ก็เป็นการการใช้อำนาจบังคับให้ชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ร่วมค้างชำระราคารถยนต์แก่จำเลยเพียงประมาณ 20,000 บาท แต่จำเลยจะให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท ดังนั้น การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกให้โจทก์ร่วมชำระหนี้ จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ไปโดยทุจริตมีความผิดฐานลักทรัพย์
สิทธิ์กรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมถูกโอนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงในสัญญาซื้อขายต้นฉบับและกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. สัญญาซื้อขาย: ตามข้อตกลงในสัญญาซื้อขายรถยนต์ตู้ระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลย จำเลยตกลงที่จะรับชำระเงินบางส่วนในวันที่ 27 ตุลาคม 2540 และส่วนที่เหลือในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 โดยสัญญานี้ไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ไปยังจำเลย. 2. ของเป็นของผู้ที่มีสิทธิ์ : ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เมื่อโจทก์ร่วมชำระเงินตามข้อตกลงในสัญญาซื้อขายแล้ว สิทธิ์ในรถยนต์ตู้จะถูกโอนให้แก่จำเลย เป็นของเป็นของผู้ที่มีสิทธิ์เต็มอย่างชัดเจน. 3. การโอนกรรมสิทธิ์ : โดยทั่วไปแล้วหลักการกรรมสิทธิ์จะถูกโอนผ่านการลงทะเบียนในหนังสือจดทะเบียนรถยนต์ ซึ่งจำเลยจะต้องมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และโอนชื่อในทะเบียนให้แก่โจทก์ร่วมตามกฎหมาย. ดังนั้น การโอนสิทธิ์กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้จะเกิดขึ้นเมื่อจำเลยสมบูรณ์การชำระเงินตามข้อตกลงและปฏิบัติตามกฎหมายในการโอนสิทธิ์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ตามข้อตกลงในสัญญา.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8608
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาใด ที่ศาลฎีกาพิพากษาว่า ตามพฤติการณ์และการกระทำดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยเพียงแต่มีเจตนาที่จะหลบหนีให้พ้นการตรวจค้นและจับกุมของผู้เสียหายทั้งสองกับพวกเท่านั้นหาได้มีเจตนาฆ่าไม่
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2542 2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2545 3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2552 4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7676/2549
ข้อที่ถูกต้องคือ 4. เนื่องจาก เพราะคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7676/2549 ศาลฎีกาพิพากษาว่า ตามพฤติการณ์และการกระทำดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยเพียงแต่มีเจตนาที่จะหลบหนีให้พ้นการตรวจค้นและจับกุมของผู้เสียหายทั้งสองกับพวกเท่านั้นหาได้มีเจตนาฆ่าไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7676/2549 ป.อ. มาตรา 59, 80, 289 แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายทั้งสองและจ่าสิบตำรวจ ส. เบิกความยืนยันว่า เมื่อผู้เสียหายที่ 2 เปิดสัญญากระบองไฟส่งสัญญาณให้จำเลยหยุดรถแต่จำเลยซึ่งชะลอความเร็วรถลงกลับเร่งความเร็วพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทั้งสองก็ตาม แต่ขณะที่จำเลยเร่งความเร็วรถพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทั้งสองนั้น รถจำเลยอยู่ห่างผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 5 เมตร ซึ่งในระยะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นระยะกระชั้นชิดและการเร่งความเร็วรถเพื่อพุ่งเข้าชนก็เป็นไปโดยกะทันหัน จึงไม่เชื่อว่าผู้เสียหายทั้งสองจะทันระมัดระวังและกระโดดหลบได้ทัน โดยเฉพาะผู้เสียหายที่ 1 ยิ่งไม่น่าจะกระโดดหลบหนีได้เลย เพราะขณะนั้นผู้เสียหายที่ 1 ยืนอยู่ติดกับรถยนต์กระบะที่เจ้าพนักงานตำรวจจอดอยู่ ไม่มีพื้นที่เหลือพอที่จะกระโดดหลบหนีไปได้และรถยนต์ของจำเลยย่อมจะพุ่งเข้าชนหรือเฉี่ยวชนรถยนต์กระบะด้วย ไม่น่าจะหักหลบรถยนต์กระบะไปได้ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยมีสิ่งของผิดกฎหมายซุกซ่อนอยู่ในรถ ตามพฤติการณ์และการกระทำดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยเพียงแต่มีเจตนาที่จะหลบหนีให้พ้นการตรวจค้นและจับกุมของผู้เสียหายทั้งสองกับพวกเท่านั้นหาได้มีเจตนาฆ่าไม่
ประมวลกฎหมายอาญา,ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับการปกครอง(ความผิดต่อเจ้าพนักงาน-ตำแหน่งราชการ),กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8609
Legal
ข้อใดกล่าวถึงคำพิพากษาฎีกาที่ 3935/2553 ได้ถูกต้อง
1. การที่จำเลยนำลังน้ำปลาซึ่งมีสุราต่างประเทศซุกซ่อนอยู่ภายใน ไปชำระราคาเท่ากับราคาน้ำปลา จนพนักงานแคชเชียร์มอบลังน้ำปลาทั้งสองลังให้จำเลยไป เป็นเพียงกลอุบายเพื่อให้บรรลุผล 2. การที่จำเลยเปลี่ยนเอาป้ายราคาโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางซึ่งติดราคา 1,785 บาทออก แล้วนำป้ายราคาโคมไฟอื่นซึ่งติดราคา 134 บาท มาติดแทนแล้ว มอบให้พวกของจำเลยนำไปชำระราคาแก่พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหาย จึงมิใช่เอาโคมไฟตั้งโต๊ะไปโดยพลการโดยทุจริต อันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ 3. การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ โดยทุจริต 4. การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำตอบที่ถูกต้องได้แก่ 1. เนื่องจาก เพราะ "การที่จำเลยนำลังน้ำปลาซึ่งมีสุราต่างประเทศซุกซ่อนอยู่ภายใน ไปชำระราคาเท่ากับราคาน้ำปลา จนพนักงานแคชเชียร์มอบลังน้ำปลาทั้งสองลังให้จำเลยไป เป็นเพียงกลอุบายเพื่อให้บรรลุผล" กล่าวถึงคำพิพากษาฎีกาที่ 3935/2553 ได้ถูกต้อง ซึ่งคำพิพากษาฎีกาที่ 3935/2553 กล่าวว่า จำเลยเอาสุราต่างประเทศของกลางใส่ไว้ในลังน้ำปลาแล้วใช้สกอตเทปปิดลังไว้โดยนำลังน้ำปลาอีกใบหนึ่งมาวางทับ จากนั้นจึงนำไปชำระเงินนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปตั้งแต่แรกแล้ว การที่จำเลยนำลังน้ำปลาซึ่งมีสุราต่างประเทศซุกซ่อนอยู่ภายในไปชำระราคาเท่ากับราคาน้ำปลาจนพนักงานแคชเชียร์มอบลังน้ำปลาทั้งสองลังให้จำเลยไป เป็นเพียงกลอุบายเพื่อให้บรรลุผลคือการเอาสุราต่างประเทศของกลางของผู้เสียหายไปโดยทุจริตเท่านั้น พนักงานแคชเชียร์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายมิได้เจตนาส่งมอบการครองครองสุราต่างประเทศแก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่ ส่วนข้ออื่น ๆ กล่าวถึงคำพิพากษาฎีกาที่ 6892/2542 (ป) ซึ่งกล่าวว่า การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ โดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวง การที่จำเลยเปลี่ยนเอาป้ายราคาโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางซึ่งติดราคา 1,785 บาทออก แล้วนำป้ายราคาโคมไฟอื่นซึ่งติดราคา 134 บาท มาติดแทนแล้วมอบให้พวกของจำเลยนำไปชำระราคาแก่พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายจึงมิใช่เอาโคมไฟตั้งโต๊ะไปโดยพลการโดยทุจริต อันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายโดยทุจริต โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ราคาโคมไฟตั้งโต๊ะมีราคา 134 บาท พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายหลงเชื่อยินยอมมอบโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางให้จำเลยโดยรับเงินจากจำเลยไว้เพียง 134 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8612
Legal
คำพิพากษาฎีกาที่ 1185/2553 ว่ายังไง
null
คำพิพากษาฎีกาที่ 1185/2553 ป.อ. มาตรา 80, 83, 289 (2), 310 ป.อ. มาตรา 80, 83, 289 (2), 310 ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจตั้งจุดตรวจ ภ. ขับรถยนต์กระบะมีพวกนั่งอยู่ในห้องโดยสาร 1 คน และมีพวกอีก 4 คน ซึ่งจำเลยรวมอยู่ด้วยนั่งที่กระบะรถยนต์ เมื่อมาถึงจุดตรวจแล้วไม่ยอมหยุดให้ตรวจกลับเร่งความเร็วรถหนีไป จ่าสิบตำรวจ จ. สิบตำรวจตรี ท. และสิบตำรวจตรี ส. จึงกระโดดขึ้นไปบนรถกระบะรถยนต์ของกลาง จำเลยกับพวกยินยอมให้เจ้าพนักงานใส่กุญแจมือโดยดีไม่มีท่าทีจะต่อสู้ หลังจากนั้นเจ้าพนักงานตำรวจใช้อาวุธปืนยิงขู่และทุบกระจกเพื่อให้ ภ. หยุดรถ แต่ ภ. ยังคงขับรถต่อไป จนกระทั่งต่อมาเมื่อพวกคนหนึ่งตะโกนว่าสู้มัน จำเลยกับพวกที่นั่งในรถกระบะรถยนต์เข้าต่อสู้กับสิบตำรวจตรี ท. และสิบตำรวจตรี ส. แล้วพวกคนหนึ่งใช้อาวุธปืนยิงสิบตำรวจตรี ส. ถึงแก่ความตาย ส่วนพวกอีกคนที่นั่งในห้องโดยสารใช้อาวุธปืนยิงสิบตำรวจตรี ท. ที่ใบหน้าได้รับอันตรายสาหัสโดยจำเลยถูกกระสุนปืนที่เท้าด้วย จากนั้น ภ. กับพวกนำเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองที่ถูกยิงไปทิ้งในซอยหมู่บ้านจัดสรร พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยกับมิได้คบคิดกันจะฆ่าและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานตำรวจมาตั้งแต่แรก แต่การฆ่าและพยายามฆ่าดังกล่าวเกิดขึ้นในทันทีทันใดระหว่างมีการต่อสู้กันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำใดที่แสดงว่ามีส่วนร่วมด้วย แต่กลับถูกกระสุนปืนจากการยิงต่อสู้กันเจ้าที่เท้าบ่งชี้ว่าน่าจะไม่รู้มาก่อนด้วยว่าจะมีการใช้อาวุธปืนยิงกัน ดังนี้ การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าสิบตำรวจตรี ส. และพยายามฆ่าสิบตำรวจตรี ท. ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจตั้งจุดตรวจ ภ. ขับรถยนต์กระบะมีพวกนั่งอยู่ในห้องโดยสาร 1 คน และมีพวกอีก 4 คน ซึ่งจำเลยรวมอยู่ด้วยนั่งที่กระบะรถยนต์ เมื่อมาถึงจุดตรวจแล้วไม่ยอมหยุดให้ตรวจกลับเร่งความเร็วรถหนีไป จ่าสิบตำรวจ จ. สิบตำรวจตรี ท. และสิบตำรวจตรี ส. จึงกระโดดขึ้นไปบนรถกระบะรถยนต์ของกลาง จำเลยกับพวกยินยอมให้เจ้าพนักงานใส่กุญแจมือโดยดีไม่มีท่าทีจะต่อสู้ หลังจากนั้นเจ้าพนักงานตำรวจใช้อาวุธปืนยิงขู่และทุบกระจกเพื่อให้ ภ. หยุดรถ แต่ ภ. ยังคงขับรถต่อไป จนกระทั่งต่อมาเมื่อพวกคนหนึ่งตะโกนว่าสู้มัน จำเลยกับพวกที่นั่งในรถกระบะรถยนต์เข้าต่อสู้กับสิบตำรวจตรี ท. และสิบตำรวจตรี ส. แล้วพวกคนหนึ่งใช้อาวุธปืนยิงสิบตำรวจตรี ส. ถึงแก่ความตาย ส่วนพวกอีกคนที่นั่งในห้องโดยสารใช้อาวุธปืนยิงสิบตำรวจตรี ท. ที่ใบหน้าได้รับอันตรายสาหัสโดยจำเลยถูกกระสุนปืนที่เท้าด้วย จากนั้น ภ. กับพวกนำเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองที่ถูกยิงไปทิ้งในซอยหมู่บ้านจัดสรร พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยกับมิได้คบคิดกันจะฆ่าและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานตำรวจมาตั้งแต่แรก แต่การฆ่าและพยายามฆ่าดังกล่าวเกิดขึ้นในทันทีทันใดระหว่างมีการต่อสู้กันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำใดที่แสดงว่ามีส่วนร่วมด้วย แต่กลับถูกกระสุนปืนจากการยิงต่อสู้กันเจ้าที่เท้าบ่งชี้ว่าน่าจะไม่รู้มาก่อนด้วยว่าจะมีการใช้อาวุธปืนยิงกัน ดังนี้ การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าสิบตำรวจตรี ส. และพยายามฆ่าสิบตำรวจตรี ท. การที่ ภ. ไม่ยอมหยุดรถเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจกระโดดขึ้นไปบนรถเพื่อจับกุม แต่ยังคงขับรถต่อไปและเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจกระทำการเพื่อให้ ภ. หยุดรถอีก แต่ ภ. ก็ยังขับรถต่อไปทำให้เจ้าพนักงานตำรวจไม่สามารถลงมาจากรถมาตรวจค้นจำเลยกับพวกได้นั้น ภ. กระทำไปโดยเจตนาหลบหนีให้พ้นจากการจับกุมให้ได้เท่านั้น ยังไม่เพียงพอจะรับฟังว่ามีเจตนาหน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือทำให้เจ้าพนักงานตำรวจที่ขึ้นไปบนรถปราศจากเสรีภาพในร่างกาย การที่ ภ. ไม่ยอมหยุดรถเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจกระโดดขึ้นไปบนรถเพื่อจับกุม แต่ยังคงขับรถต่อไปและเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจกระทำการเพื่อให้ ภ. หยุดรถอีก แต่ ภ. ก็ยังขับรถต่อไปทำให้เจ้าพนักงานตำรวจไม่สามารถลงมาจากรถมาตรวจค้นจำเลยกับพวกได้นั้น ภ. กระทำไปโดยเจตนาหลบหนีให้พ้นจากการจับกุมให้ได้เท่านั้น ยังไม่เพียงพอจะรับฟังว่ามีเจตนาหน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือทำให้เจ้าพนักงานตำรวจที่ขึ้นไปบนรถปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
ประมวลกฎหมายอาญา,ความรู้พื้นฐานกฏหมาย
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8618
Legal
จงสรุปบทความเรื่องการปลอมเอกสารเปิดบัญชีธนาคาร และปลอมเอกสารสิทธิให้หน่อยครับ
จำเลยเป็นผู้ปลอมคำขอเปิดบัญชีและนำตัวอย่างลายมือชื่อในคำขอเปิดบัญชีของโจทก์ร่วมแล้วนำไปยื่นต่อพนักงานของธนาคารทำให้พนักงานของธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากของโจทก์ร่วม จึงออกสมุดเงินฝากในนามของโจทก์ร่วมให้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม จึงเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม จำเลยนำแบบพิมพ์ใบถอนเงินของธนาคารรวม 15 ฉบับ มากรอกข้อความโดยเขียนชื่อโจทก์ร่วมในช่องชื่อบัญชีเขียนเลขที่บัญชีจำนวนเงินและลงลายมือชื่อปลอมของโจทก์ร่วมในช่องเจ้าของบัญชีและช่องผู้รับเงินแล้วนำใบถอนเงินดังกล่าวไปยื่นต่อพนักงานของธนาคารทำให้พนักงานของธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นใบถอนเงินที่แท้จริงจึงจ่ายเงินให้จำเลยไป แม้โจทก์ร่วมและบิดามิได้เปิดบัญชีดังกล่าว ซึ่งแสดงอยู่ในตัวว่าเงินในบัญชีนั้นมิใช่เงินของโจทก์ร่วมและบิดา และโจทก์ร่วมและบิดาอาจจะได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินโดยตรงก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยเป็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหลักฐานทางการเงินในนามของโจทก์ร่วมในระบบบัญชีของธนาคารให้แตกต่างไปจากความเป็นจริงอันจะเป็นผลให้โจทก์ร่วมและธนาคารเสียชื่อเสียงไม่ได้รับความเชื่อมั่นไว้วางใจในสังคม และในการประกอบธุรกิจอันเป็นประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อโจทก์ร่วมและธนาคารแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมรวม 15 กระทง ด้วย
จำเลยใช้ตัวอย่างลายมือของโจทก์ไปขอเปิดบัญชีเงินฝากโดยยื่นต่อพนักงานธนาคาร พนักงานหลงเชื่อจึงออกสมุดเงินฝากในนามโจทก์ร่วม จึงเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม จำเลยใช้ใบถอนเงินของธนาคาร 15 ฉบับมาถอนเงินโดยใช้ชื่อโจทก์และปลอมลายมือของโจทก์ พนักงานธนาคารหลงเชื่อจึงจ่ายเงินให้จำเลยไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมรวม 15 กระทง ด้วย
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),คำพิพากษาศาลฎีกา
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8620
Legal
จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายหรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: การกระทำของจำเลยเป็นการตัดสินใจโดยฉับพลัน ไม่ได้มีเจตนาตั้งแต่แรก: จากข้อเท็จจริง จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตาย แต่ศาลฎีกาพิจารณาว่า การกระทำนี้เป็นการตัดสินใจโดยฉับพลันในขณะนั้น ไม่ได้มีเจตนาร่วมกันกับพวกจำเลยตั้งแต่แรกที่จะทำร้ายผู้ตาย ไม่มีหลักฐานว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกันฆ่าผู้ตาย: ศาลฎีกาพิจารณาว่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยร่วมทำร้ายผู้ตายอย่างไร หรือมีส่วนร่วมในการที่พวกจำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายอย่างไร การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการทำร้าย ไม่ได้ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย: ศาลฎีกาพิจารณาว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการเตะต่อยผู้ตาย ไม่ได้ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ มีคำพิพากษาฎีกาที่คล้ายคลึงกันสนับสนุนข้อสรุปนี้: ศาลฎีกาอ้างถึงคำพิพากษาฎีกาที่ 86/2537 ประกอบการพิจารณา คดีนี้คล้ายคลึงกันคือ จำเลยบางคนไม่ได้ใช้ อาวุธมีดแทงผู้ตาย ศาลฎีกาตัดสินว่า จำเลยที่ไม่ได้ใช้มีดแทงผู้ตาย มีเพียงเจตนาทำร้าย ไม่ได้มีเจตนาฆ่า สรุป: จากเหตุผลข้างต้น ศาลฎีกาจึงตัดสินว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตาย แต่มีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 ข้อสังเกต: คดีอาญาต้องอาศัยหลักฐานและข้อเท็จจริงที่แน่ชัด จึงจะลงโทษจำเลยได้ เจตนาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณาความผิด ศาลฎีกาจะพิจารณาข้อเท็จจริง each case โดยละเอียดก่อนตัดสิน
กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8622
Legal
ช่วยสรุปบทความนี้ให้หน่อย
จำเลยที่ 2 วางแผนกับพวกหลอกว่าจ้างจำเลยที่ 1 นำรถยกไปยกรถยนต์ของผู้เสียหายไปส่งให้จำเลยที่ 2 เพื่อจำเลยที่ 2 จะยกรถยนต์ต่อไปยังจุดหมาย โดยจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเครื่องมือของคนร้าย จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการในการลักรถยนต์โดยใช้จำเลยที่ 1 เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดของตน จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ร่วมกระทำผิด จำเลยที่ 1 ขับรถยกรถยนต์ของผู้เสียหายขยับออกไปจากที่จอดไม่ถึง 1 เมตร โดยส่วนหน้าของรถยนต์ของผู้เสียหายถูกยกขึ้นไปเกยบนคานของรถยกและมีโซ่คล้องรถยนต์ของผู้เสียหายผูกยึดติดกับรถยกของจำเลยที่ 1 พร้อมที่จะขับเคลื่อนพารถยนต์ของผู้เสียหายออกไปได้ทันที ถือว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 ใช้เป็นเครื่องมือได้เข้ายึดถือครอบครองรถยนต์ของผู้เสียหายโดยสมบูรณ์พร้อมที่จะเอาไปได้แล้ว จึงถือว่าจำเลยที่ 2 ได้เอาไปซึ่งรถยนต์ของผู้เสียหายอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จ แม้จำเลยที่ 1 จะยังไม่ทันขับรถยกลากจูงรถยนต์ของผู้เสียหายออกไปก็ตาม หาใช่เป็นเพียงพยายามลักทรัพย์ไม่
1. จำเลยที่ 2 กับพวกวางแผนหลอกจ้างจำเลยที่ 1 นำรถยกไปยกรถของผู้เสียหายไปส่งให้จำเลยที่ 2 เพื่อจำเลยที่ 2 จะยกรถต่อไปยังจุดหมาย โดยจำเลยที่ 1 ไม่ทราบแผนการนี้ จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการในการลักรถโดยใช้จำเลยที่ 1 เป็นเครื่องมือ จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ร่วมกระทำผิด 2. จำเลยที่ 1 ขับรถยก ขยับรถของผู้เสียหายออกไปจากที่จอด โดยส่วนหน้าของรถผู้เสียหายถูกยกขึ้นไปเกยบนคานของรถยกและมีโซ่คล้องรถของผู้เสียหายผูกยึดติดกับรถยกของจำเลยที่ 1 ที่พร้อมจะเคลื่อนพารถของผู้เสียหายออกไปได้ทันที จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ยึดรถของผู้เสียหายโดยสมบูรณ์พร้อมเอาไปแล้ว 3. จึงถือว่าจำเลยที่ 2 ได้เอารถยนต์ของผู้เสียหายไปอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จ
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8623
Legal
การแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองและการสร้างสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 มีความหมายและผลกระทบต่างกันอย่างไร?
หัวข้อ สิทธิเรียกร้อง ฎีกาที่น่าสนใจที่ 853/2554 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377. 1612 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] การที่โจทก์และทายาทของ ข. ได้ทำหนังสือแสดงการไม่รับมรดกของ ข. นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการสละมรดก เพราะการสละมรดกต้องแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือต้องทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 แต่ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น เมื่อโจทก์และทายาทของ ข. ได้แสดงความประสงค์ดังกล่าวย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าไม่ต้องการที่ดินดังกล่าว จึงถือได้ว่าโจทก์และทายาทของ ข. ได้แสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองและมอบที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยและ ส. บุตรจำเลยครอบครองแล้ว การที่จำเลยปลูกบ้านให้ ส. บุตรจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าว ย่อมแสดงว่า จำเลยยึดถือที่ดินดังกล่าวเพื่อตน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดคัดค้านการครอบครองที่ดินดังกล่าวของจำเลยตลอดมา ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของ ข. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข. จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว การที่จำเลยปลูกบ้านให้ ส. บุตรจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าว ย่อมแสดงว่า จำเลยยึดถือที่ดินดังกล่าวเพื่อตน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดคัดค้านการครอบครองที่ดินดังกล่าวของจำเลยตลอดมา ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของ ข. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข. จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว หมายเหตุคดีนี้เป็นกรณีที่วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 83 หรือไม่ หมายเหตุคดีนี้เป็นกรณีที่วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 83 หรือไม่
การแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองและการสร้างสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ประมวลกฎหมายสิทธิกรรมที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๖๑๒ และ ๑๖๑๔ มีความหมายและผลกระทบต่างกันอย่างเป็นเฉพาะดังนี้ 1. การแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครอง: เป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่งแสดงเจตนาที่ชัดเจนว่าตนไม่ต้องการสิทธิครอบครองใดๆ ในทรัพย์สินนั้น ๆ และมีเอกสารหรือการกระทำที่ชัดเจนเพื่อแสดงเจตนานั้น เช่น การลงลายมือชื่อในสัญญาหรือการเขียนหนังสือแสดงเจตนาที่ชัดเจน 2. การสร้างสัญญาประนีประนอมยอมความตาม: เป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่งเข้าใจและยอมรับเงื่อนไขหรือข้อตกลงต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิครอบครอง โดยทั่วไปจะมีการจัดทำสัญญาหรือเอกสารประกอบการเป็นหลัก และเรียกว่าประนีประนอมยอมความตาม ความหมายและผลกระทบของทั้งสองกระบวนการนี้มีความแตกต่างกันอย่างสำคัญ - การแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครอง: จะทำให้สิทธิครอบครองหรือสิทธิในทรัพย์สินนั้น ๆ สละลงไปโดยชัดแจ้ง ซึ่งผลทำให้บุคคลอื่นสามารถเข้าถึงสิทธิหรือทรัพย์สินนั้นได้โดยชอบธรรม โดยไม่จำเป็นต้องมีสัญญาหรือข้อตกลงเพิ่มเติม - การสร้างสัญญาประนีประนอมยอมความตาม: จะเกิดจากการยอมรับเงื่อนไขหรือข้อตกลงต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการกำหนดเงื่อนไขหรือข้อตกลงเพิ่มเติม เพื่อรวมถึงสิทธิและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในสัญญา การสร้างสัญญานี้จะเกิดผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายตามเงื่อนไขที่ได้รับการยอมรับไว้ในสัญญานั้น ๆ ดังนั้น การแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองและการสร้างสัญญาประนีประนอมยอมความตาม มาตรา 1612 ของประมวลกฎหมายสิทธิกรรมที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๐ จะมีผลกระทบต่างกันตามลักษณะและวัตถุประสงค์ของแต่ละกระบวนการที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง)
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8626
Legal
การพิจารณาคดีตามกฎหมายในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เชื่อว่าคำพิพากษาฎีกาเลขที่ 4948/2554 มีความสำคัญอย่างไรต่อการใช้นามแฝงและการตีความเนื้อหาของสื่อมวลชนในที่สุด?
หัวข้อ ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจที่ 4948/2554 ตาม ป.อ. มาตรา 328, 329 (3) | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] การที่มีประชาชนใช้นามแฝงว่า “พลังเงียบ” เขียนจดหมายมาถึงจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสื่อมวลชนและเป็นเจ้าของคอลัมน์ “น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” ซึ่งเป็นคอลัมน์ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์วิจารณ์ทางการเมืองนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งเมื่ออ่านข้อความในคอลัมน์ดังกล่าวทั้งหมดแล้วพบว่า ข้อความส่วนหนึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงการดำเนินการของขบวนการที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและหลักนิติรัฐ มิได้กล่าวโดยเฉพาะเจาะจงว่า โจทก์เป็นผู้กระทำหรืออยู่เบื้องหลังการกระทำที่เป็นการกดดันศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาคดี โจทก์เองก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ตนไม่ได้มีพฤติกรรมตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ไปเรียกร้องที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและไม่ได้รับประโยชน์จากการเรียกร้อง ข้อความที่จำเลยที่ 1 นำมาลงพิมพ์ในคอลัมน์ “น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” ซึ่งโจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ จึงถือได้ว่าเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำได้ตาม ป.อ. มาตรา 329 (3) การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
คำพิพากษาฎีกาเลขที่ 4948/2554 เป็นคำพิพากษาที่มีความสำคัญอย่างมากในการกำหนดเกณฑ์และกรอบการใช้นามแฝงและการตีความเนื้อหาของสื่อมวลชนในสังคมไทย โดยเฉพาะในที่นี้เป็นการใช้นามแฝงในการแสดงความเห็นต่อสถาบันอำนาจและการกระทำของผู้กระทำหรืออยู่เบื้องหลังการกระทำที่ส่งผลต่อศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาคดี คำพิพากษานี้ส่งเสริมให้สื่อมวลชนต้องใช้ความระมัดระวังในการแสดงความเห็นและตีความเนื้อหาอย่างมีระเบียบและคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคมและสถาบันอำนาจที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นการยืนยันและเสริมให้ความเข้าใจว่าการใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างสังคมที่มีความเป็นธรรมและการเสรีภาพที่มีความยุติธรรมในการแสดงความเห็นและการประชาสัมพันธ์อย่างเหมาะสมและมีความรับผิดชอบ.
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง,คำพิพากษาศาลฎีกา
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8627
Legal
คดีขาดอายุความหรือไม่?
null
สำหรับเช็คพิพาท 4 ฉบับแรก โจทก์ฟ้องไม่ขาดอายุความ เหตุผล: โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 โจทก์มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับถึงกำหนดชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับถึงกำหนดชำระ สำหรับเช็คพิพาทอีก 1 ฉบับ โจทก์ฟ้องขาดอายุความ เหตุผล: เช็คพิพาทฉบับนี้เป็นเช็คระบุชื่อ โอนให้แก่กันได้โดยการสลักหลังและส่งมอบ โจทก์สลักหลังเช็คฉบับนี้ขายลดให้แก่ ส. กับ บ. ส. และ บ. จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คให้ ส. กับ บ. และรับเช็คพิพาทฉบับนี้กลับคืนมา โจทก์อยู่ในฐานะผู้สลักหลัง หาใช่ผู้ทรงเช็คฉบับนั้นไม่ โจทก์ต้องฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายภายในเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์เข้าถือเอาเช็คและใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1003 โจทก์ผ่อนชำระเงินให้ ส. กับ บ. โดยผ่อนชำระตั้งแต่ประมาณเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2541 โจทก์ได้รับเช็คทั้ง 5 ฉบับกลับคืนมา โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 ล่วงเลยระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่โจทก์ได้รับเช็คกลับคืนมา สรุป: โจทก์ฟ้องคดีเช็ค 4 ฉบับไม่ขาดอายุความ โจทก์ฟ้องคดีเช็ค 1 ฉบับขาดอายุความ
กฎหมายตั๋วเงิน-เช็ค,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8629
Legal
สิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทจากการยกให้จำเลยต่างจากการครอบครองแทนทายาทอื่นอย่างไร?
หัวข้อ คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจที่ 2156/2555 ตาม ป.พ.พ. 456 วรรคหนึ่ง, 525, 1377, 1378 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของตนที่ได้รับการยกให้จาก ร. มิใช่การครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่น อันแสดงว่า ร. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยครอบครองแล้วโดยโจทก์ไม่ได้เกี่ยวข้อง ซึ่งขณะที่ ร. แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้จำเลยนั้น ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครอง การที่ ร. ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แม้ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 525 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ที่ดินพิพาทมีแต่สิทธิครอบครอง จึงถือได้ว่า ร. สละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทต่อไป เมื่อจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองตามมาตรา 1377 และ 1378 อันเป็นการได้สิทธิครอบครองตามกฎหมาย การออกโฉนดที่ดินพิพาทจัดทำโดยทางราชการ ออกให้แก่ ร. ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ฉบับเดิม แม้ความจริง ร. ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้วขณะออกโฉนดที่ดินก็หาทำให้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของจำเลยเสียไปไม่ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของ ร. ที่จะตกทอดแก่ทายาทอีกต่อไป
สิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทจากการยกให้จำเลยแตกต่างจากการครอบครองแทนทายาทอื่นๆ ตามหลักเนื้อหาของพระราชบัญญัติควบคุมดินและสิ่งปลูกสร้าง อย่างไรกันบ้าง: 1. การได้สิทธิ: เมื่อราชการยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยจะได้รับสิทธิการครอบครองตามกฎหมายโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการครอบครองแทนทายาทตามปกติที่อาจมีข้อจำกัดหลายข้อ เช่น การต้องใช้เวลานานในการพิจารณาหรือข้อกำหนดที่ซับซ้อนในกระบวนการทางกฎหมายที่มักเกี่ยวข้องกับการครอบครองแทนทายาทอื่นๆ 2. การยกที่ดิน : การยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยไม่ใช่การโอนสิทธิครอบครองไปยังบุคคลที่สามที่จะรับบทแทนที่ดินในอนาคต แต่เป็นการตอบสนองต่อความต้องการหรือการยกที่ดินจากเจตจำเลยตราบไปที่ดินในความครอบครองอย่างเดียว 3. สิทธิของจำเลย: การครอบครองที่ดินพิพาทโดยการยกให้จำเลยมักจะมีสิทธิการครอบครองที่มีความชัดเจนและเน้นถึงการมีเอกสารสิทธิเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้จำเลยมีความมั่นใจในสิทธิของตนและมีความสามารถในการพัฒนาหรือใช้ประโยชน์จากที่ดินนั้นๆได้ในอนาคต
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8632
Legal
ช่วยสรุปบทความเรื่องความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนได้รับอันตรายสาหัสให้หน่อยครับ
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บมีแผลถลอกที่ข้อศอกซ้าย ต้นขาซ้าย แผลฟกช้ำที่หลังด้านขวาบริเวณเอวและกระดูกหักที่ข้อมือซ้ายซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าต้องใช้เวลารักษานานเกินกว่า 1 เดือน และผู้เสียหายต้องเข้าเฝือกกระดูกข้อมือซ้ายที่หัก ระหว่างนั้นยกของหนักไม่ได้จนกว่าจะหายเป็นปกติใช้เวลารักษา 2 เดือน จึงฟังได้ว่า ผู้เสียหายป่วยเจ็บจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ถือได้ว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส แม้จำเลยจะพูดด้วยอารมณ์โกรธว่า กูจะฆ่ามึง พวกมึงจัดการมันเลย โดยจำเลยมีเจตนาใช้ให้ ส. กับพวกทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเพื่อสั่งสอนเท่านั้น แต่เมื่อการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายของ ส. กับพวกตามที่จำเลยใช้ให้กระทำนั้นเกิดผลให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งผู้ถูกใช้จะต้องรับผิดทางอาญามีกำหนดโทษสูงขึ้น จำเลยเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดย่อมต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกำหนดโทษสูงขึ้นนั้นด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8), 84 ประกอบมาตรา 87 วรรคสอง
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บตามร่างกายหลายแห่ง แพทย์ลงความเห็นว่าต้องรักษานานกว่า 1 เดือน กว่าจะเป็นปกติใช้เวลา 2 เดือน สรุปว่า ผู้เสียหายป่วยเจ็บจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน ถือว่าได้รับอันตรายสาหัส ดังนั้น ส.กับพวกที่จำเลยใช้ให้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจะต้องรับผิดทางอาญามีกำหนดโทษสูงขึ้น จำเลยเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดย่อมต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกำหนดโทษสูงขึ้นนั้นด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8), 84 ประกอบมาตรา 87 วรรคสอง
ประมวลกฎหมายอาญา
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8633
Legal
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัสโดยใช้เท้าถีบเตะและกระทืบ แต่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่ชาวบ้านรุมทำร้ายผู้เสียหายด้วยมีด จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัสหรือไม่?
null
ไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ไม่มีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส เจตนา: จากข้อเท็จจริง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย ไม่ใช่ ฆ่าผู้เสียหาย พฤติการณ์ที่จำเลยใช้เท้าถีบเตะและกระทืบผู้เสียหาย แสดงให้เห็นว่าจำเลยต้องการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายให้ได้รับบาดเจ็บ ไม่ได้ต้องการฆ่าผู้เสียหาย ผล: แม้ว่าผู้เสียหายจะได้รับอันตรายสาหัสจากการถูกแทงด้วยมีด แต่ผลดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 โดยตรง แต่เกิดจากการกระทำของชาวบ้านที่รุมทำร้ายผู้เสียหายด้วยมีด ความสัมพันธ์ของผล: การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กับผลที่เกิดขึ้น (ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส) ไม่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส นั้นไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการร่วมกันทำร้ายของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 และไม่ได้เป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้จากการร่วมกันทำร้ายของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ระบุว่า "ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท" ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 88 ระบุว่า "ผู้ใดมีเจตนาที่จะกระทำความผิดอย่างหนึ่ง แต่การกระทำของผู้นั้นกลับเป็นการกระทำความผิดอีกอย่างหนึ่ง ต้องลงโทษตามความผิดที่ผู้นั้นได้กระทำลง" สรุป: จากข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายข้างต้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ไม่มีเจตนาฆ่า และ การกระทำของจำเลย ไม่ใช่ สาเหตุ โดยตรง ที่ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ดังนั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึง ไม่มีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย,คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8635
Legal
ช่วยสรุปเนื้อหาในบทความเรื่อง "การครอบครองที่ดินและเจตนา: การวิพากษ์คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17573/2555" ให้หน่อยสิคะ
หัวข้อ แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะของการครอบครอง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17573/2555 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381, 1382 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม [กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] ผู้ร้องครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยอาศัยสิทธิในฐานะผู้ค้ำประกันที่ขอไถ่ถอนจำนองและชำระหนี้แทน ส. ผู้กู้แล้วขอรับโฉนดที่ดินแปลงพิพาทจากเจ้าหนี้มายึดถือเอาไว้ การครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องไม่ว่าจะนานเพียงใดก็ไม่ใช่การครอบครองโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ ส. เจ้าของที่ดินพิพาทถึงแก่ความตาย ต้องถือว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ ส. อยู่ตลอดไปจนกว่าผู้ร้องจะได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังเจ้าของที่ดินพิพาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือแทนต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แม้ทายาทโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. จะไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการครอบครองของผู้ร้อง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะของการครอบครองต่อทายาทของ ส. แล้ว หัวข้อ แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะของการครอบครอง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17573/2555 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381, 1382 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม [กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] ผู้ร้องครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยอาศัยสิทธิในฐานะผู้ค้ำประกันที่ขอไถ่ถอนจำนองและชำระหนี้แทน ส. ผู้กู้แล้วขอรับโฉนดที่ดินแปลงพิพาทจากเจ้าหนี้มายึดถือเอาไว้ การครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องไม่ว่าจะนานเพียงใดก็ไม่ใช่การครอบครองโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ ส. เจ้าของที่ดินพิพาทถึงแก่ความตาย ต้องถือว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ ส. อยู่ตลอดไปจนกว่าผู้ร้องจะได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังเจ้าของที่ดินพิพาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือแทนต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แม้ทายาทโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. จะไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการครอบครองของผู้ร้อง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะของการครอบครองต่อทายาทของ ส. แล้ว หัวข้อ แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะของการครอบครอง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17573/2555 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381, 1382 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม [กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] ผู้ร้องครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยอาศัยสิทธิในฐานะผู้ค้ำประกันที่ขอไถ่ถอนจำนองและชำระหนี้แทน ส. ผู้กู้แล้วขอรับโฉนดที่ดินแปลงพิพาทจากเจ้าหนี้มายึดถือเอาไว้ การครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องไม่ว่าจะนานเพียงใดก็ไม่ใช่การครอบครองโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ ส. เจ้าของที่ดินพิพาทถึงแก่ความตาย ต้องถือว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ ส. อยู่ตลอดไปจนกว่าผู้ร้องจะได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังเจ้าของที่ดินพิพาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือแทนต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แม้ทายาทโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. จะไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการครอบครองของผู้ร้อง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะของการครอบครองต่อทายาทของ ส. แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17573/2555 เกี่ยวกับการครอบครองที่ดินพิพาทและสิทธิในที่ดินมีความสำคัญอย่างมากในการเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและสิทธิในที่ดินในประเทศไทย โดยเน้นไปที่เจตนาและลักษณะการครอบครองที่ดินโดยชัดเจน ซึ่งมีความสำคัญในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ครอบครองที่ดินต่อกันไป ในคำพิพากษาดังกล่าว มีการกล่าวถึงว่าการครอบครองที่ดินของผู้ร้องครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยมีสิทธิในฐานะผู้ค้ำประกันที่ขอไถ่ถอนจำนองและชำระหนี้แทน ไม่ได้เป็นการครอบครองโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ นั่นหมายถึงผู้ร้องไม่ได้มีความตั้งใจที่จะถือครองที่ดินในฐานะเจ้าของแต่เพียงแค่มีการครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินเพื่อชำระหนี้แทน ซึ่งเป็นกรณีที่เจ้าของที่ดินต้องการให้ผู้ร้องครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นในฐานะผู้ค้ำประกันเท่านั้น โดยไม่มีความตั้งใจที่จะโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้ร้องเป็นเจ้าของ อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือถึงข้อความที่กล่าวถึงถึงการครอบครองโดยชัดแจ้งของผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของเจ้าของที่ดิน ซึ่งถ้าหากไม่มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะของการครอบครองไปยังทายาทโดยชัดแจ้ง สิทธิในที่ดินนั้นจะยังคงอยู่กับผู้ครอบครองเดิม (สามารถเป็นโจทก์หรือผู้ร้องครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน) แม้ว่าเจ้าของที่ดินจะถึงแก่ความตายก็ตาม ทายาทจะต้องยึดถือสิทธิในที่ดินตามที่ผู้ร้องเป็นเจ้าของกำหนดไว้ หากผู้ร้องไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองนั้น จากข้อความทั้งหมดนี้ เราเห็นได้ว่าคำพิพากษาศาลได้ทำการยืนยันและสรุปถึงความสำคัญของเจตนาและการบอกกล่าวในการครอบครองที่ดิน ซึ่งมีผลต่อการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ครอบครองที่ดินในอนาคตต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายหลักทรัพย์
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8636
Legal
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองทำกับเอกชนเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ มีอะไรบ้าง?
null
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองทำกับเอกชนเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ มีดังต่อไปนี้ 1. ลักษณะของคู่สัญญา ฝ่ายหนึ่ง ของสัญญาต้องเป็นหน่วยงานทางปกครอง อีกฝ่ายหนึ่ง ของสัญญาอาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล 2. วัตถุประสงค์ของสัญญา สัญญาต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำบริการสาธารณะ บริการสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลทั่วไป เช่น การศึกษา สาธารณสุข การรักษาความปลอดภัย การคมนาคม ฯลฯ 3. ลักษณะของสัญญา สัญญาต้องเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองมีอำนาจทำได้ตามกฎหมาย สัญญาต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีงาม 4. วิธีการทำสัญญา สัญญาต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด กรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดวิธีการทำสัญญาให้ทำตามระเบียบของหน่วยงานทางปกครอง ตัวอย่าง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 27/2551 : สัญญาซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแจกจ่ายไปตามโรงเรียนต่างๆ เป็นสัญญาทางปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 23/2554 : สัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอน และสัญญาซื้อระบบเน็ตเวิร์คพร้อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาทางปกครอง คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 28/2554 : สัญญาซื้อครุภัณฑ์ไอทีจากเอกชนมาบริการนักท่องเที่ยว ไม่ใช่ สัญญาทางปกครอง ประเด็นสำคัญ การพิจารณาว่าสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองทำกับเอกชนเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ จะต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้งหมด 4 ประการประกอบกัน สัญญาทางปกครองมีผลผูกพันหน่วยงานทางปกครอง กรณีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงการสรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองทำกับเอกชนเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ การวิเคราะห์ประเด็นกฎหมายในแต่ละกรณีมีความซับซ้อน ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมาย ควรปรึกษาทนายความเพื่อรับคำแนะนำ
กฎหมายปกครอง(วิธีปฏิบัติราชการ-จัดตั้งและพิจารณาคดีของศาลปกครอง)
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8639
Legal
จำเลยในคดีนี้มีสิทธิหักกลบลบหนี้ค่าจ้างกับหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้หรือไม่?
null
ใช่ เหตุผล: โจทก์ยอมรับว่าได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่จำเลยจริงและยินยอมชดใช้หนี้นั้น หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์มีหนี้สินต่อจำเลย หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ โจทก์ยอมรับว่าหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนี้ที่แท้จริง ค่าจ้างที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยมีจำนวนน้อยกว่าค่าเสียหายตามหนังสือรับสภาพหนี้ ค่าจ้างที่โจทก์มีสิทธิได้รับนั้นไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ทั้งหมด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 อนุญาตให้ลูกหนี้หักกลบลบหนี้กับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ กฎหมายอนุญาตให้จำเลยหักกลบลบหนี้ค่าจ้างกับหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344 วรรคสอง บัญญัติว่า อายุความย่อมไม่ตัดรอนการหักกลบลบหนี้ แม้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้ว แม้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์จะขาดอายุความ แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิหักกลบลบหนี้กับค่าจ้าง สรุป: จำเลยมีสิทธิหักกลบลบหนี้ค่าจ้างกับหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ คำอธิบายเพิ่มเติม: การหักกลบลบหนี้เป็นวิธีการชำระหนี้โดยไม่ต้องใช้เงินสด การหักกลบลบหนี้สามารถทำได้เมื่อทั้งสองฝ่ายมีสิทธิเรียกร้องซึ่งกันและกัน สิทธิเรียกร้องที่นำมาหักกลบลบหนี้ต้องเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีลักษณะเดียวกัน สิทธิเรียกร้องที่นำมาหักกลบลบหนี้ต้องถึงกำหนดชำระแล้ว สิทธิเรียกร้องที่นำมาหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อต่อสู้
กฎหมายลักษณะหนี้ พรบ,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8641
Legal
จงสรุปบทความเรื่อง "คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12758/2555 พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ตามมาตรา 14, 22(2), 61, 62, 110 วรรคหนึ่ง, 112"
ตัวบท มาตรา 14 ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง มาตรา 14 ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น (2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น 2) 2 2 เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น มาตรา 61 เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไป ขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบก็ดี ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย มาตรา 61 เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไป ขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบก็ดี ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคำโฆษณาให้ระบุชื่อ ตำบลที่อยู่ อาชีพของลูกหนี้และวันที่ศาลได้มีคำพิพากษา ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคำโฆษณาให้ระบุชื่อ ตำบลที่อยู่ อาชีพของลูกหนี้และวันที่ศาลได้มีคำพิพากษา มาตรา 62 การล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มาตรา 62 การล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มาตรา 110 วรรคหนึ่ง คำสั่งของศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวหรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้ เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มาตรา 110 วรรคหนึ่ง คำสั่งของศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราวหรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้ เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มาตรา 112 ถ้าในระหว่างที่การบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำแจ้งความว่าลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งรายการทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่ในอำนาจหรือความยึดถือของตนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และให้ปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น ค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานบังคับคดีและค่าธรรมเนียมโจทก์ในชั้นบังคับคดี ให้หักจากทรัพย์สินนั้นได้ก่อน ในกรณีเช่นว่านี้มิให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 ถ้าในระหว่างที่การบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำแจ้งความว่าลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งรายการทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่ในอำนาจหรือความยึดถือของตนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และให้ปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น ค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานบังคับคดีและค่าธรรมเนียมโจทก์ในชั้นบังคับคดี ให้หักจากทรัพย์สินนั้นได้ก่อน ในกรณีเช่นว่านี้มิให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 112 ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 112 ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวใน การเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ ะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 112 ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ ะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 112 ะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดี ก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดี เว้นแต่การบังคับคดี ได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 112 ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจ ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สิน ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สิน คดีนี้หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2546 และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2547 แล้ว ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทรัพย์จำนอง หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้แทน หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ยึดไว้อันถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย แต่กลับปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ต่อไปในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2548 และเพิ่งมามีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 ว่าให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยในคดีนี้ ซึ่งเป็นการสอบถามภายหลังจากที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว จึงมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือถือได้ว่าได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ประกอบกับทรัพย์จำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เดิม แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์เดิมในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังที่ศาลล่างวินิจฉัย โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้ โดยหาจำต้องไปยื่นคำร้องในคดีล้มละลายดังที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาไม่ คดีนี้หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2546 และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2547 แล้ว ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้มีคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทรัพย์จำนอง หรือมอบหมายให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้แทน หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ยึดไว้อันถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย แต่กลับปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ต่อไปในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2548 และเพิ่งมามีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 ว่าให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยในคดีนี้ ซึ่งเป็นการสอบถามภายหลังจากที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว จึงมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือถือได้ว่าได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ประกอบกับทรัพย์จำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เดิม แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์เดิมในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังที่ศาลล่างวินิจฉัย โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้ โดยหาจำต้องไปยื่นคำร้องในคดีล้มละลายดังที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาไม่
-มาตรา 14 ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้สืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง -มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกแก่ลูกหนี้ หรือลูกหนี้มีสิทธิได้รับจากผู้อื่น -มาตรา 61 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไป ขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ไม่ลงมติประการใด ไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุม หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบ ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุคคลล้มละลาย เพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคำโฆษณาให้ระบุชื่อ ที่อยู่ อาชีพของลูกหนี้และวันที่ศาลมีคำพิพากษา -มาตรา 62 การล้มละลายของลูกหนี้มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ -มาตรา 110 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลที่ให้อายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ชั่วคราว จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้ เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ -มาตรา 112 ถ้าในระหว่างที่การบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำแจ้งความว่าลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งรายการทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่ในอำนาจของตนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และให้ปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานบังคับคดีและค่าธรรมเนียมโจทก์ในชั้นบังคับคดี ให้หักจากทรัพย์สินนั้น ในกรณีเช่นนี้มิให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับทรัพย์สินซึ่งจะตกแก่ลูกหนี้ แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เว้นแต่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 112 ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2546 และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2547 ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทรัพย์จำนอง หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้แทน แต่กลับปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ต่อไปในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2548 และเพิ่งมีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 ว่าให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยในคดีนี้ ซึ่งเป็นการสอบถามภายหลังจากที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว มีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษา หาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือถือได้ว่าได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ประกอบกับทรัพย์จำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เดิม แม้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์เดิมในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังที่ศาลล่างวินิจฉัย โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ โดยหาจำต้องไปยื่นคำร้องในคดีล้มละลายดังที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายลักษณะหนี้,กฎหมายล้มละลาย-ฟื้นฟูกิจการ,คำพิพากษาศาลฎีกา
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8643
Legal
ในคำพิพากษาศาลดังกล่าว มีข้อเท็จจริงใดที่ถูกตรวจสอบเพื่อเป็นหลักฐานในการสรุปว่ามีการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายหรือไม่?
หัวข้อ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16070-16072/2555 ป.อ. มาตรา 350 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] องค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ผู้กระทำเพียงแต่รู้ว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้วย้ายไปเสียซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ก็ถือว่าเป็นความผิดแล้ว หาจำต้องถือเอาคำพิพากษาของศาลให้รับผิดในทางแพ่งมาเป็นองค์ประกอบความผิดไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 มีเจตนาโอนทรัพย์สินเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ต่างแพ้คดีในที่สุด การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 หาจำต้องถือเอาคำพิพากษาของศาลให้รับผิดในทางแพ่งมาเป็นองค์ประกอบความผิดไม่ ​
เพื่อตรวจสอบว่ามีการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายหรือไม่ คำพิพากษาศาลจะตรวจสอบข้อเท็จจริงหลายประการเพื่อเป็นหลักฐาน อาทิเช่น: 1. การตรวจสอบว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ตามที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องทางศาลหรือไม่ 2. การตรวจสอบเจตนาของจำเลยที่ 1 ในการโอนทรัพย์สินว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้หรือไม่ 3. การพิจารณาความเชื่อถือได้ในข้อความหรือหลักฐานที่เสนอเพื่อรับรองข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการโอนทรัพย์สิน โดยการสรุปว่ามีการกระทำผิดตามกฎหมายหรือไม่จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลและหลักฐานที่เป็นพิสูจน์ในคำพิพากษาศาลนั้น ๆ ซึ่งสามารถอ้างอิงต่อไปในกระบวนการทางกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยการเป็นหลักฐานหรือการเสนอเพื่อการวินิจฉัยในอนาคต
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายลักษณะหนี้ พรบ,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8644
Legal
ช่วยสรุปบทความนี้หน่อย เป็นข้อๆ
จำเลยจดทะเบียนสมรสกับเรือเอก ช. ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญของกองทัพเรือโจทก์ เมื่อเรือเอก ช. ถึงแก่ความตายจำเลยได้ขอรับเงินบำเหน็จตกทอดจากโจทก์ และโจทก์จ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่จำเลย 207,750 บาท ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสโดยมิได้มีเจตนาที่จะเป็นสามีภริยากัน หากแต่กระทำเพื่อต้องการได้รับเงินบำเหน็จตกทอด การสมรสของจำเลยฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1458 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว เมื่อศาลพิพากษาว่าการสมรสตกเป็นโมฆะจึงไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามมาตรา 1498 วรรคหนึ่ง และมีผลเท่ากับจำเลยกับเรือเอก ช. มิได้เป็นสามีภริยากันมาแต่แรกจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวและสิทธิของจำเลยดังกล่าวก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1499 เพราะจำเลยมิได้สมรสโดยสุจริต จำเลยจึงต้องคืนเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตามมาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 406 จำเลยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้แต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้เรียกคืนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดต่อเมื่อมีการเรียกคืนแล้ว แต่จำเลยไม่คืนให้ จึงจะถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง และตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่เวลานั้นเป็นต้นไปตามมาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
1. จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ช. ซึ่งเป็นข้าราชการของกองทัพเรือโจทก์ 2.เมื่อ ช. ตาย จำเลยได้ขอรับเงินบำเหน็จตกทอดจากโจทก์ โจทก์จึงจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่จำเลย 3. ต่อมาศาลพิพากษาว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสเพื่อต้องการได้รับเงินบำเหน็จ การสมรสของจำเลยจึงตกเป็นโมฆะ เท่ากับจำเลยกับ ช. มิได้เป็นสามีภริยากันมาแต่แรก จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว จำเลยต้องคืนเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้แก่โจทย์ 4. จำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ได้แต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้เรียกคืนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด 5. จำเลยไม่ยอมคืนเงินให้ จึงถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริต และการตกเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่นั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายละเมิด,คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายการคลัง
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8646
Legal
ข้อใดกล่าวถึงคำพิพากษาฎีกาที่ 4189/2528 ได้ถูกต้อง
ก. ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า โจทก์มีสิทธิที่จะอ้างว่าที่พิพาทตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความ ข. ผู้ร้องสอดเป็นผู้เช่าที่ดินบริเวณที่พิพาทไม่ได้รับความกระทบกระเทือนในการครอบครองสถานที่ ค. หากโรงเรือนที่ผู้ร้องสอดอาศัยอยู่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ก็ไม่ชอบที่ผู้ร้องสอดจะไปว่ากล่าวแก่โจทก์เป็นคดีอื่น ง. โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทของจำเลยตกเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความแล้ว
ข้อที่ถูกต้องคือ ง. เนื่องจาก เพราะ "โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทของจำเลยตกเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความแล้ว" กล่าวถึงคำพิพากษาฎีกาที่ 4189/2528 ได้ถูกต้อง ส่วนข้ออื่น ๆ กล่าวไม่ถูกต้อง คำพิพากษาฎีกาที่ 4189/2528 กล่าวว่า ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์และผู้ที่จะต้องรับภารจำยอมคือเจ้าของทรัพย์ผู้ร้องสอดเป็นเพียงผู้เช่าจึงไม่มีสิทธิที่จะกล่าวอ้างว่าที่พิพาทไม่ตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์หากโรงเรือนที่ผู้ร้องสอดอาศัยอยู่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ผู้ร้องสอดชอบที่จะไปว่ากล่าวแก่โจทก์เป็นคดีอื่น โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทของจำเลยตกเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความแล้ว ขอให้จำเลยรื้อถอนเสาาที่ปักกั้นไว้ในที่พิพาทและไปจดทะเบียนว่าที่พิพาทเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ หากไม่ไปให้คือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจนนาของจำเลย จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะอ้างว่าที่พิพาทตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องสอดเป็นผู้เช่าที่ดินบริเวณที่พิพาทดังกล่าวได้รับความกระทบกระเทือนในการครอบครองสถานที่ จึงขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องสอดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ร้องสอดฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้ผู้ร้องสอดจะเป็นผู้เช่าที่ดินบริเวณพิพาทจากจำเลยและผู้ร้องสอดมีสิทธิได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์ชั่วระยะเวลาที่เช่าแต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 ประกอบด้วยมาตรา 549 บัญญัติไว้ความว่า หากมีบุคคลผุ้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้เช่าในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้เช่ากันนั้น ผู้ให้เช่าจะต้องรับผิดในผลอันนั้น และมาตรา 557(3) กับวรรคสุดท้ายบัญญัติไว้ความว่า ถ้าบุคคลภายนอกรุกล้ำเข้ามาในทรัพย์สินที่เช่า หรือเรียกอ้างสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเหนือทรัพย์สินที่เช่าให้ผู้เช่าแจ้งเหตุแก่ผู้ให้เช่าโดยพลัน ถ้าผู้เช่าละเลยเสียจะต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าในเมื่อผู้ให้เช่าต้องเสียหายเพราะความละเลยชักช้าของผู้เช่า แสดงว่าผู้เช่ามีสิทธิเพียงได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าเท่านั้น ส่วนเรื่องภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ และผู้ที่จะต้องรับภารจำยอมคือเจ้าของทรัพย์ผู้ร้องสอดเป็นเพียงผู้เช่าจึงไม่มีสิทธิที่จะกล่าวอ้างว่าที่พิพาทไม่ตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์ หากโรงเรือนที่ผู้ร้องสอดอาศัยอยู่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ก็ชอบที่ผู้ร้องสอดจะไปว่ากล่าวแก่โจทก์เป็นคดีอื่น พิพากษายืน
คำพิพากษาศาลฎีกา
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8647
Legal
สิ่งที่ศาลจะต้องพิจารณาในคดีแพ่งเมื่อมีคำพิพากษาส่วนอาญาที่บอกว่าการบุกรุกที่ดินไม่ชัดเจนคืออะไรและจะมีผลต่อผลการพิจารณาหรือไม่?
หัวข้อ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2529 ข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาสนามใหญ่ วันที่ 30 มีนาคม 2539 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] ป.พ.พ. มาตรา 420 ป.วิ.อ. มาตรา 40, 46 ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาบุกรุกที่พิพาทครั้งหนึ่งแล้วตามความคดีอาญาหมายเลขดำที่ 14560/2523 หมายเลขแดงที่ 18254/2524 ของศาลอาญาซึ่งศาลอาญาและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว ปัญหาวินิจฉัยมีว่าการพิพากษาคดีนี้ ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวหรือไม่ เห็นว่า ที่โจทก์คดีนี้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นคดีอาญาข้อหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดินศาลพิพากษายกฟ้อง โดยศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีฟังไม่ได้แน่ชัดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้องผลแห่งคำวินิจฉัยคดีส่วนอาญา เป็นการฟังว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั่นเอง ดังนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ที่โจทก์คดีนี้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นคดีอาญาข้อหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดินศาลพิพากษายกฟ้อง โดยศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีฟังไม่ได้แน่ชัดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้องผลแห่งคำวินิจฉัยคดีส่วนอาญา เป็นการฟังว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั่นเอง ​
เมื่อศาลมีคำพิพากษาส่วนอาญาที่บอกว่าการบุกรุกที่ดินไม่ชัดเจน ศาลจะต้องพิจารณาว่าข้อความและการตัดสินในคำพิพากษาดังกล่าวมีผลต่อคดีแพ่งที่กำลังพิจารณาอยู่หรือไม่ โดยมีข้อสังเกตว่า 1. การเป็นที่หนึ่งของความพิพากษา: คำพิพากษาส่วนอาญามักจะถือเป็นหลักฐานสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่ง เพราะศาลจะพิจารณาในสารวัตรที่คำพิพากษาส่วนอาญาได้เสนอมา อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาส่วนอาญาที่การบุกรุกที่ดินไม่ชัดเจนอาจไม่สามารถเป็นที่สำคัญที่สุดได้ ถ้าศาลพบว่ามีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงเพิ่มเติมที่สำคัญกว่าหรือมีปัจจัยเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงความเห็นเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินนั้น 2. การสร้างความเชื่อมั่นในการพิจารณา: คำพิพากษาส่วนอาญาที่บอกว่าการบุกรุกที่ดินไม่ชัดเจนอาจมีผลทำให้ศาลในคดีแพ่งต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการเข้าใจที่ถูกต้องในการพิจารณาคดี และอาจจะต้องพิจารณาหลักฐานหรือข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถวินิจฉัยคดีได้อย่างถูกต้อง 3. การกำหนดข้อความที่ชัดเจน: ในกรณีที่คำพิพากษาส่วนอาญามีการบุกรุกที่ดินที่ไม่ชัดเจน ศาลในคดีแพ่งอาจต้องกำหนดข้อความหรือเงื่อนไขที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถวินิจฉัยคดีได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม การบุกรุกที่ดินที่ไม่ชัดเจนในคำพิพากษาส่วนอาญาสามารถมีผลต่อผลการพิจารณาของศาลในคดีแพ่งได้โดยตรง โดยเฉพาะเมื่อมีการพิจารณาหลักฐานและข้อเท็จจริงอื่นที่เกี่ยวข้องในคดีแพ่งด้วย
ข่าวสารทั่วไป สถิติต่างๆ
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8649
Legal
จากคำพิพากษาฎีกาที่ 691/2554 ศาลฎีกาปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเหตุใด
A. เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 B. ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) C. เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 D. เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
คำตอบคือ A. เพราะว่า เพราะจากคำพิพากษาฎีกาที่ 691/2554 ศาลฎีกาปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 คำพิพากษาฎีกาที่ 691/2554 กล่าวว่า จำเลยเข้าไปกระตุกสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 จนหลุดออก แล้วได้ตบตีผู้เสียหายที่ 1 การกระตุกสร้อยคอกับการตบตีทำร้ายร่างกาย จึงแยกออกเป็น 2 ตอน จำเลยมิได้ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 1 เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) แต่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาสร้อยคอและรูปสัญลักษณ์ศาสนาอิสลามทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า จึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย จำเลยพูดขอเงินกับผู้เสียหายที่ 2 ว่า หากไม่ให้เงินจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ต่อไป เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้เงินจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ตามฟ้องศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ศาลชั้นต้นพิพากษาตามฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8651
Legal
พระธรรมนูญศาลยุติธรรมมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแสดงความเห็นในคดีหมิ่นประมาทตามมาตรา 17 และมาตรา 25(5) โดยเฉพาะ ประเด็นในคำพิพากษาศาลฎีกา 22056/2555 เป็นอย่างไร?
หัวข้อ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(5) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22056/2555 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] ข้อสังเกต 1. ความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 มีอัตราโทษอยู่ในอำนาจของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(5) แต่ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 มีอัตราโทษเกินอำนาจของศาลแขวง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว แม้คำขอท้ายฟ้องระบุอ้าง ป.อ. มาตรา 91 แต่หากพิจารณาได้ความตามฟ้อง ศาลต้องลงโทษตามมาตรา 328 ซึ่งเป็นบทหนักตามมาตรา 90 ศาลแขวงจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ 2. มาตรา 90 และ 91 มิใช่บทมาตราในกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดที่โจทก์อยู่ในบังคับต้องบรรยายมาในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(6) เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุอ้างมาตรา 91 แต่หากศาลพิจารณาได้ความตามฟ้องว่าเป็นกรรมเดียว ศาลต้องก็ต้องลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 328 ซึ่งเป็นบทหนักซึ่งเกินอำนาจของศาลแขวง 3. เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้ว ศาลชั้นต้นจะใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 326 เป็นบทเบาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงไม่ได้ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยว่า เมื่อศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.อ. มาตรา 192 มาใช้บังคับได้ ที่มา ธานิศ เกศวพิทักษ์. 2556. หัวใจของพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและพระราชบัญญัติศาลแขวง (พิมพ์ครั้งที่ 7). หน้า 201
คำพิพากษาศาลฎีกา 22056/2555 เกี่ยวกับประเด็นของการแสดงความเห็นในคดีหมิ่นประมาทตามมาตรา 17 และ 25(5) ของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นการตัดสินใจที่มีน้ำหนักสูงและสร้างผลเกี่ยวกับการใช้อำนาจของศาลแขวงในกรณีเหล่านี้ โดยมีข้อสังเกตดังนี้ 1. การกำหนดอำนาจของศาลแขวงในการพิจารณาคดีหมิ่นประมาทโดยเฉพาะ โดยการเปรียบเทียบความผิดฐานตามมาตรา 326 และ 328 ของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม 2. การตัดสินใจว่าศาลแขวงมีหรือไม่มีอำนาจพิจารณาคดีตามมาตรา 90 และ 91 ของพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเมื่อพิจารณาคำขอท้ายฟ้อง 3. การใช้อำนาจตามมาตรา 192 ของประมวลวิศวกรรมเพื่อปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 326 ในกรณีที่ศาลแขวงไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดี ผลลัพธ์ของคำพิพากษานี้ช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดำเนินคดีและการใช้อำนาจของศาลแขวงในกรณีคดีที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 และ 328 ของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกา,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8654
Legal
ในกรณีที่ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลเดียวกันแต่เป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในคดีอื่น การเจรจาเรื่องการชำระหนี้จำนองจะมีความซับซ้อนขนาดไหน?
หัวข้อ สิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษา ฎีกาที่ 4662/2548 (วิแพ่ง) | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] ฎีกาที่ 4662/ 2548 ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตาม คำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเ จ้าหนี้ต่างรายกับโจทก์ในคดีนี้ ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินพิพาทท ี่เจ้าหนี้บังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยหนังสือ สัญญาฉบับเดียวกันบุริมสิทธิของ ผู้ร้องและบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง แม้สิทธิของผู้ร้องมิใช่เป็นสิทธิที่จะขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ตนก่อนโจทก์ในคดีนี้ตามมาตรา 289 วรรคหนึ่ง แต่ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะที่ดินพิพาทของจำเลยตกอยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึดซ้ำตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาของตนในคดีอื่นซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุนให้กระทำได้ดังเช่นการขอเฉลี่ยทรัพย์หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาเข้ นอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกัน ได้ไม่เกินวงเงินจำนอง แม้สิทธิของผู้ร้องมิใช่เป็นสิทธิที่จะขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ตนก่อนโจทก์ในคดีนี้ตามมาตรา 289 วรรคหนึ่ง แต่ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนอง พิพาทได้อีกเพราะที่ดินพิพาทของ จำเลยตกอยู่ในบังคับข้อห้ามมิให ้ยึดซ้ำตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคด ีหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ต ามคำพิพากษาของตนในคดีอื่นซึ่งม ิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสนับ สนุนให้กระทำได้ดังเช่นการขอเฉล ี่ยทรัพย์หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอร ับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาเข้ามาในคดีนี้ได้มาในคดีนี้ได้ ​
การเจรจาการชำระหนี้จำนองในกรณีที่ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลเดียวกันแต่เป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในคดีอื่นอาจเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนเนื่องจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่มีผลต่อการเจรจา และความต้องการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบันของทั้งสองฝ่าย 1. การที่ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลเดียวกันและเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในคดีอื่น อาจส่งผลให้มีความซับซ้อนเนื่องจากการเจรจาการชำระหนี้จำนองต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางธุรกิจและกิจกรรมทางกฎหมายของนิติบุคคลดังกล่าวในที่สุดของกระบวนการ 2. การเจรจาเรื่องการชำระหนี้จำนองในกรณีที่มีนิติบุคคลเดียวกันเป็นผู้ร้องและเจ้าหนี้จำนอง อาจต้องพิจารณาเรื่องความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างฝ่ายทั้งหมด รวมถึงการวิเคราะห์เงื่อนไขการชำระหนี้ การเงิน และความสามารถในการปฏิบัติตามสัญญาของนิติบุคคลดังกล่าว 3. การเจรจาในกรณีที่เจ้าหนี้จำนองเป็นนิติบุคคลเดียวกัน อาจเรียกใช้การประชุมหรือการตรวจสอบเอกสารทางกฎหมายเพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดและข้อแม้ในการชำระหนี้ 4. ความซับซ้อนยังมาจากความจำเป็นในการใช้บททดลอง การคำนวณดัชนีค่าคงเหลือ หรือวิธีการชำระหนี้เพิ่มเติมที่อาจต้องถูกนำเสนอเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของทั้งสองฝ่าย 5. ในการเจรจาการชำระหนี้จำนองที่มีนิติบุคคลเดียวกันเป็นฝ่าย อาจเกิดความซับซ้อนในด้านการจัดการความขัดแย้งทางนิติศาสตร์ โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการเจรจาและการสร้างสิ่งที่ต้องการในกระบวนการของกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายประนีประนอมยอมความ,กฎหมายลักษณะหนี้ พรบ,คำพิพากษาศาลฎีกา
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8656
Legal
ข้อใดกล่าวถึงคำพิพากษฎีกาที่ 1378/2555 ได้ถูกต้อง
1. จำเลยที่ 1 ไม่ผิดสัญญาละเมิดต่อโจทก์ 2. จำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำงานที่ได้รับจ้างให้โจทก์เรียบร้อยและโจทก์เสียหายดังฟ้อง 3. จำเลยที่ 3 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนตามมาตรา 1051 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087 4. จำเลยที่ 1 ไม่เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด
คำตอบคือ 3. เนื่องจาก เพราะ "จำเลยที่ 3 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนตามมาตรา 1051 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087" กล่าวถึงคำพิพากษฎีกาที่ 1378/2555 ได้ถูกต้อง ส่วนข้ออื่น ๆ กล่าวไม่ถูกต้อง คำพิพากษฎีกาที่ 1378/2555 กล่าวว่า แม้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและละเมิด แต่เห็นได้ชัดว่าเป็นการฟ้องว่าโจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ตกแต่งและต่อเติมอาคารพิพาท แล้วจำเลยที่ 1 ทำงานบกพร่องก่อให้เกิดความเสียหายตามฟ้องแก่โจทก์ อันต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยจ้างทำของ จำเลยทั้งสามทราบข้อเท็จจริงดัง กล่าวแล้วจึงให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ทำงานที่ได้รับจ้างให้โจทก์เรียบร้อยและโจทก์มิได้เสียหายดังฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสามให้การต่อมาโด โจทก์มิได้เสียหายดังฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสามให้การต่อมาโด ยตัดฟ้องว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยทั้งสามต้องกล่าวในคำให้การส่วนนี้ให้ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานให้แก่โจทก์เมื่อใด และโจทก์พบความชำรุดบกพร่องของงานที่จ้างวันใด แต่จำเลยทั้งสามกลับให้การในส่วนนี้เพียงว่า โจทก์อ้างว่าได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ต่อเติมและตกแต่งอาคารพิพาท 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2538 และวันที่ 24 มีนาคม 2538 แล้วจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 21 สิงหาคม 2541 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ เช่นนี้ เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าขาดอายุความในเรื่องใด และอายุความเริ่มนับตั้งแต่วันใด ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความที่คู่ความจะต้องนำสืบ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยขณะฟ้องมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด แม้จำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนภายหลังก็ต้องรับผิดในหนี้ใด ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087 ส่วนจำเลยที่ 3 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนตามมาตรา 1051 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท,คำพิพากษาศาลฎีกา
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8657
Legal
จำเลยในคดีฎีกาที่ 484/2553 มีสิทธิฎีกาคดีนี้หรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: เนื่องจากในคดีฎีกาที่ 484/2553 1. คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) โจทก์ทั้งห้าและ ด. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท ด. ฟ้องขับไล่จำเลยในคดีแพ่ง โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดก โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้ โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกเช่นกัน มูลฟ้องของคดีทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องเดียวกัน การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ทั้งห้าจึงเป็นการฟ้องซ้อน 2. โจทก์ทั้งห้าไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย ด. ในฐานะเจ้าของรวม มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย โจทก์ทั้งห้าไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยโดยลำพัง การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีเหตุแห่งการฟ้อง 3. คดีนี้เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งห้าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีแพ่ง การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ทั้งห้าจึงเป็นการฟ้องแย้ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 บัญญัติว่า ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม คดีนี้ไม่เกี่ยวกับคดีแพ่ง การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ทั้งห้าจึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 4. จำเลยมีสิทธิฎีกาคดีนี้ จำเลยมีสิทธิฎีกาคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 คำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้มีผลผูกพันโจทก์ทั้งห้า สรุป: -จำเลยมีสิทธิฎีกาคดีนี้ -โจทก์ทั้งห้าไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย -คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนต้องห้าม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง)
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8659
Legal
"ในกรณีที่มีการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๘ (๕) (๘) ซึ่งกล่าวถึงการล้มละลายเนื่องจากจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว สิทธิของเจ้าหนี้ที่มีหนี้สินเป็นเจ้าหนี้ที่เป็นเจ้าหนี้ล้นละลายเป็นอย่างไร?"
ก. สิทธิของเจ้าหนี้ที่เป็นเจ้าหนี้ล้นละลายจะถูกเรียกเก็บเป็นอันดับแรกเมื่อมีการจัดการทรัพย์สินของบริษัทที่ล้มละลาย ข. ในกรณีที่มีการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๘ (๕) (๘) ที่กล่าวถึงการล้มละลายเนื่องจากจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว สิทธิของเจ้าหนี้ที่เป็นเจ้าหนี้ล้นละลายจะได้อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของประเทศที่เกี่ยวข้อง และระเบียบปฏิบัติของศาลตามกรณีเฉพาะนั้นๆ ตลอดจนการปฏิบัติตามหลักสังคมสงเคราะห์และหลักการผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการทรัพย์สินของล้มละลายเพื่อชำระหนี้ การแบ่งแยกทรัพย์สิน หรือการปรับปรุงลดเหลือหนี้สิน ซึ่งอาจมีการพิจารณาและสรุปขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะบุคคลและข้อบังคับในแต่ละวันในสากลที่เกี่ยวข้องด้วย ค. สิทธิของเจ้าหนี้ที่เป็นเจ้าหนี้ล้นละลายจะได้รับการแบ่งแยกทรัพย์สินของบริษัทล้มละลายอย่างทันท่วงที เพื่อให้สามารถชำระหนี้ได้อย่างเร่งด่วนและเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ ง. สิทธิของเจ้าหนี้ที่เป็นเจ้าหนี้ล้นละลายจะมีการคำนวณตามสัดส่วนทรัพย์สินที่สามารถขายได้และจะได้รับการชำระหนี้ตามลำดับความสำคัญ
ข้อที่ถูกต้องได้แก่ ข. เนื่องจาก การล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๘ (๕) (๘) เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมายที่เกิดขึ้นเมื่อบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นๆ ไม่สามารถชำระหนี้ได้และมีหนี้สินล้นพ้นความสามารถในการชำระหนี้และยอมให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่เป็นเจ้าหนี้ล้นละลายถูกตั้งให้สำคัญกว่าการสร้างสิทธิอื่น ๆ ในทรัพย์สินของบริษัท เหตุผลที่สิทธิของเจ้าหนี้ที่เป็นเจ้าหนี้ล้นละลายได้รับการคัดค้านในกรณีนี้ เนื่องจากมาตรา ๘ (๕) (๘) ได้กำหนดให้มีการแบ่งแยกทรัพย์สินของบริษัทล้มละลายเพื่อชำระหนี้ ซึ่งการจัดการทรัพย์สินและการแบ่งแยกนี้จะได้รับการกำกับดูแลโดยกฎหมายและคำสั่งของศาลตามกรณี เพื่อให้เกิดการปรับปรุงหรือการแก้ไขทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ตามลำดับความสำคัญของสิทธิ์ โดยพิจารณาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องและหลักการผู้เชี่ยวชาญในการทางกฎหมายและการเงินในกรณีเฉพาะนั้นๆ ตลอดจนการปฏิบัติตามหลักสังคมสงเคราะห์และหลักการผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายล้มละลาย-ฟื้นฟูกิจการ
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8663
Legal
ช่งยสรุปบทความหน่อยสิ
ฎีกาที่ 680/2554 เงินรางวัลของหมู่บ้านหนองแกที่คณะกรรมการกลางหมู่บ้านมีมติให้นำ ไปฝากไว้ที่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด โดยให้จำเลยที่ ๑ นาย ท. และนาย ส. เป็นผ้มู ีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันเบิกถอน เงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อนำมาใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของหมู่บ้านได้ เงินที่นำฝากดังกล่าวข้างต้นย่อมตกเป็น กรรมสิทธิ์ของธนาคารผู้รับฝาก โดยธนาคารมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าของบัญชีตามเงื่อนไขที่ ตกลง...กันให้ครบถ้วน จำเลยทั้งสามไม่ได้รับมอบการครอบครอง และไม่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลเงิน ดังกล่าวแต่อย่างใด ต่อมาจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ ดำเนินการเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจลง นามและเงื่อนไขในการสั่งจ่ายเพื่อเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของหมู่บ้านโดยไม่มีมติที่ประชุมของ คณะกรรมการกลางหมู่บ้าน แล้วถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวโดยมิได้รับความเห็นชอบหรือความ ยินยอมจากคณะกรรมการกลางหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้ดูแลบริหารการใช้เงิน เป็นการกระทำโดยพลการ และเพื่อ แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการเอาเงินดังกล่าวไปโดยทุจริต เป็นความผิดฐาน ร่วมกันลักทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย จำกัด
1. เงินรางวัลของหมู่บ้านหนองแก คณะกรรมการหมู่บ้านมีมติให้นำไปฝากไว้ที่ธนาคาร โดยให้จำเลยที่ 1 ท. และ ส. เป็นมีอำนาจในการ เบิกเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายเพื่อประโยขน์แก่หมู่บ้านได้ เงินที่ฝากข้างต้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารผู้รับฝาก โดยธนาคารมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าของบัญชีตามเงื่อนไขที่ตกลงให้ครบ จำเลยทั้งสามไม่ได้รับมอบการครอบครอง และไม่มีอำนาจในการดูแลเงินดังกล่าว 2. จำเลยที่ 1 ถึง 3 ได้เปลี่ยนผู้มีอำนาจลงนามและเงื่อนไขในการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของหมู่บ้านและถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวโดยมิได้รับความเห็นจากคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นการทำโดยพลการและเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต เป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ของธนาคาร
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์,คำพิพากษาศาลฎีกา
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8664
Legal
จงจับใจความบทความนี้
ฎีกาที่ 1513/2554 เมื่อพิจารณาจากคำบรรยายของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการบรรยายไปตามหลักการของ หนังสือโครงร่างแห่งหลักการ ระดับ 4 ดังกล่าวในลักษณะเป็นนามธรรมตามความเชื่อของลัทธิมูนนิซึ่ม เท่านั้น ไม่ได้มีลักษณะที่จะต้องการให้ราชอาณาจักรไทยตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศเกาหลี ในลักษณะเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งแปด ร่วมกันกระทำความผิดฐานกระทำการ...ใด ๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักร ตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป การที่ลัทธิมูนนิซึ่ม สอนว่าบิดามารดาผู้ให้กำเนิดเป็นบิดามารดาฝ่ายเนื้อหนัง ส่วน นาย ซ. และนาง ฮ. เป็นบิดามารดาที่แท้จริงในฝ่ายวิญญาณนั้น เป็นเพียงการเปรียบเทียบว่าบิดามารดา ผู้ให้กำเนิดยังเป็นผู้ตกในบาปอยู่ จนกว่าจะได้รับการชำระบาปและรับพร ทั้งเป็นการสอนให้ผู้ที่เป็น สมาชิกเกิดความศรัทธาเชื่อว่าเจ้าของลัทธิเป็นผู้บริสุทธิ์ซึ่งหลุดพ้นจากบาปแล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นความเชื่อ ทางความคิดทางด้านศาสนาของลัทธิดังกล่าว มิได้หมายความว่าบิดามารดาผู้ให้กำเนิดมิใช่บิดามารดา ที่แท้จริงในทางโลกแต่อย่างใด และการทำ ให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือ การสอนดังกล่าว ยังอยู่ในกรอบขอบเขตเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งฉบับ พุทธศักราช 2540 และพุทธศักราช 2550 ที่มีหลักการรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการ นับถือศาสนา นิกายศาสนาหรือลัทธินิยมในทางศาสนาซึ่งรวมทั้งสอนเผยแพร่ศาสนาหรือลัทธิด้วย และรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายอื่นด้วย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งแปดกับพวกจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งความสามัคคี โดยเปิดเผย มีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย มีที่ทำ การและสาขาที่แน่นอน มิได้มีการปกปิด วิธีดำเนินการ การหาสมาชิกและอบรมเผยแพร่แนวคำสอนของลัทธิมูนนิซึ่มก็กระทำโดยเปิดเผยซึ่ง ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันกระทำการใด ๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักร ตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป ไม่เป็นความผิด ฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีการอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำ ภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิด ความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาญาจักร และไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน การกระทำของจำเลยทั้งแปดจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นอั้งยี่หรือเป็นซ่องโจร
1. จำเลยที่ 1 ได้กล่าวตามความเชื่อของลัทธิมูนนิซึ่ม ไม่ได้ต้องการให้ไทยตกไปอยู่ใต้อำนาจของเกาหลีแต่ หลักฐานของโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งแปด ร่วมกันกระทำการใดๆเพื่อให้ไทยตกอยู่ใต้อำนาจต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชเสื่อม 2. คำสอนที่ว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิกเป็นพ่อแม่ฝ่ายเนื้อหนัง ส่วน นาย ซ. และนาง ฮ. เป็นพ่อแม่ที่แท้จริงในฝ่ายวิญญาณนั้น เป็นเพียงการเปรียบเทียบว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดยังเป็นผู้ตกในบาปจนกว่าจะได้รับการชำระบาปและรับพร ทั้งเป็นการสอนให้เกิดความเชื่อว่าเจ้าของลัทธิเป็นผู้บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากบาปแล้ว มิได้แปลว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดมิใช่พ่อแม่ที่แท้จริงในทางโลก 3. การเผยแพร่ด้วยวาจา หนังสือหรือ การสอน ยังอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญไทย ทั้งฉบับ 2540 และ 2550 ที่มีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา นิกายศาสนาหรือลัทธินิยมในทางศาสนาซึ่งรวมทั้งการสอนเผยแพร่ศาสนาหรือลัทธิด้วย และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายอื่นด้วย 4. จากข้อเท็จจริง จำเลยกับพวกจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมฯโดยเปิดเผย มีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย มีที่ทำการแน่นอน มิได้ปกปิดวิธีในการหาสมาชิกและเผยแพร่คำสอน จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันกระทำการใดๆเพื่อให้ไทยตกอยู่ใต้อำนาจของต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชเสียไป ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันเผยแพร่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีการอื่นที่มิใช่เป็นการกระทำภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือไม่ได้แสดงความเห็น ติชม เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในประชาชนจนขนาดก่อความไม่สงบ และไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน 5. การกระทำของจำเลยทั้งแปดจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจร
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายเยาวชนและครอบครัว,คำพิพากษาศาลฎีกา
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8668
Legal
ช่วยสรุปให้หน่อยสิ
ฎีกาที่ 9000/2550 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขออ้างพยานเอกสารเพิ่มเติม บัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาตและสั่งให้จำเลยที่ 2 สำเนาให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว เมื่อต้นฉบับเอกสารเป็นเอกสารซึ่งอยู่ในครอบครองของสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (2) การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจ...ทก์เกี่ยวกับเอกสารไว้ก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่าเอกสารทั้งสามฉบับนี้เป็นเอกสารที่ตัวโจทก์ได้ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ไปขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวมายื่นแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ลายมือชื่อของโจทก์เท่านั้น ทั้งเรื่องการจำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการไถ่ถอนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 ก็มีหลักฐานปรากฏอยู่ในสารบัญจดทะเบียนหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อนถึงเอกสารดังกล่าว ก็สามารถรับฟังเอกสารทั้งสามฉบับดังกล่าวได้ว่ามีอยู่จริงที่สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทองได้
1. จำเลยที่ 2 ยื่นขออ้างพยานเอกสารเพิ่มเติม ศาลอนุญาตและสั่งให้จำเลยที่ 2 สำเนาให้แก่โจทก์ด้วย 2. ต้นฉบับเอกสารเป็นเอกสารในครอบครองของสำนักงานที่ดิน จ.เชียงใหม่ สาขาจอมทอง จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ 3. การที่จำเลยที่ 2 ไม่ค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารไว้ เมื่อพบว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารที่โจทก์ได้ยื่นต่อพนักงานที่ดินไว้ ซึ่งจำเลยที่ 2 ไปขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวมายื่นต่อศาลเพื่อพิสูจน์ลายมือของโจทก์ ทั้งเรื่องการจำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการไถ่ถอนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 ก็มีหลักฐานอยู่ในหนังสือรับรองแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ค้านพยานโจทก์ถึงเอกสารดังกล่าว ก็สามารถรับฟังเอกสารทั้งหมดได้ว่ามีอยู่จริง
กฎหมายลักษณะพยาน,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8672
Legal
คดีฟ้องขับไล่เป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่?
null
ไม่ใช่ เหตุผล: 1.โจทก์ฟ้องร้องอะไร: โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง 2. จำเลยต่อสู้คดีอย่างไร: จำเลยไม่ได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่ อ้างว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้าง 3. ประเด็นสำคัญ: ประเด็นสำคัญของคดีนี้คือ ใครเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน 4. ผลของคดี: ผลของคดีจะส่งผลต่อสิทธิครอบครองสิ่งปลูกสร้าง ไม่ได้ส่งผลต่อกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 5. การคำนวณค่าเสียหาย: ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้อง ไม่สามารถคำนวณเป็นราคาเงินได้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง: 1. ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าคดีเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่: - คดีมีทุนทรัพย์ หมายถึง คดีที่โจทก์ฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สิน หรือสิทธิในทรัพย์สิน - คดีไม่มีทุนทรัพย์ หมายถึง คดีที่โจทก์ฟ้องร้องเพื่อปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ - โจทก์ไม่ได้ฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สิน หรือสิทธิในทรัพย์สิน แต่ฟ้องร้องเพื่อขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งผลของคดีจะส่งผลต่อสิทธิครอบครองสิ่งปลูกสร้าง ไม่ได้ส่งผลต่อกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ดังนั้น คดีนี้จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ ข้อสรุป: จากเหตุผลข้างต้น คดีนี้จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ แต่เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ หมายเหตุ: - คดีนี้เป็นตัวอย่างคดีที่มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน - คดีแต่ละคดีมีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่แตกต่างกัน - การพิจารณาว่าคดีเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายของแต่ละคดี คำแนะนำ: - ควรปรึกษาทนายความเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับคดี - ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง)
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8674
Legal
การขัดกันระหว่างสิทธิของฝ่ายหนึ่งในการเลิกสัญญาและสิทธิของอีกฝ่ายในการเก็บค่าเช่าเป็นเหตุให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงอย่างไร?
หัวข้อ ข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปใดๆ อาจเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2553 | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​[กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2553 ข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปใดๆ อาจเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้ หากปรากฏว่าข้อตกลงนั้นมีผลทำให้ผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร ทั้งนี้โดยคู่สัญญาในสัญญาสำเร็จรูปไม่จำต้องเป็นสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ แบบพิมพ์สัญญาเช่าที่โจทก์เป็นผู้กำหนดขึ้นล่วงหน้าและโจทก์นำมาใช้กับผู้เช่าทุกคนจึงเป็นสัญญาสำเร็จรูป เมื่อไม่ปรากฏจากข้อนำสืบของจำเลยว่าข้อตกลงตามสัญญาเช่า ข้อ 8 เป็นการเอาเปรียบฝ่ายผู้เช่าเกินสมควรอย่างไร เพราะเหตุใด ลำพังเพียงการตกลงให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าที่จะบอกเลิกสัญญาได้แม้สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดแต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนไม่ต่ำกว่า 30 วันนั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ทำให้ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้เปรียบฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเกินสมควร ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ตามสัญญาเช่าข้อ 8 ไม่มีลักษณะเป็นข้อความอันบังคับไว้ให้สัญญาเช่าเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคตตาม ป.พ.พ. มาตรา 182 แต่เป็นเรื่องของการตกลงให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนที่อายุสัญญาตามที่ตกลงกันไว้จะสิ้นสุด โดยคู่สัญญาฝ่ายนั้นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าชั่วระยะเวลาหนึ่ง จึงไม่ใช่เงื่อนไขของสัญญาเช่า โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างเหตุว่า จำเลยกับ พ. หลอกลวงโจทก์จนหลงเชื่อเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า ประการหนึ่ง กับโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า ข้อ 8 ทำให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลง อีกประการหนึ่ง สิทธิของโจทก์ทั้งสองประการแยกจากกันได้ไม่เป็นการขัดกัน แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ในการทำสัญญาเช่าก็หาเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิตามสัญญาเช่าข้อ 8 เพื่อเลิกสัญญาแก่จำเลยไม่ ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้นั้นต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อไม่ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์หรือคำให้การของจำเลยว่าจำเลยได้ชำระค่าทำสัญญาเช่าหรือเงินบำรุงวัดแก่โจทก์ก่อนมีการทำสัญญาเช่า เพื่อเป็นการตอบแทนการที่โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความมีหน้าที่นำสืบ ศาลไม่อาจรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87
การขัดกันระหว่างสิทธิของฝ่ายหนึ่งในการเลิกสัญญาและสิทธิของอีกฝ่ายในการเก็บค่าเช่าสามารถทำให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงได้โดยมีสาเหตุต่างๆ ดังนี้: 1. การเกิดความไม่พอใจและความขัดแย้ง: เมื่อฝ่ายหนึ่งมีสิทธิในการยกเลิกสัญญาและอีกฝ่ายมีสิทธิในการเก็บค่าเช่าตามสัญญา การที่สองฝ่ายไม่ได้เข้าใจหรือมีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับการใช้สิทธิอาจการขัดแย้งที่อาจส่งผลให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลง 2. การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญา: หากมีการละเมิดเงื่อนไขในสัญญาเช่า เช่น การชำระค่าเช่าล่าช้าหรือการละเมิดเงื่อนไขอื่นๆ ฝ่ายหนึ่งอาจมีสิทธิในการยกเลิกสัญญา ในทางกลับกันฝ่ายอื่นๆ อาจมีสิทธิที่จะต้องการเก็บค่าเช่าตามสัญญา การขัดแย้งเช่นนี้อาจนำไปสู่สัญญาเช่าสิ้นสุดลง 3. การมีเหตุสุดวิสัย: เหตุการณ์ที่อาจนำไปสู่การสิ้นสุดสัญญาเช่าอาจมีการขัดแย้งระหว่างสิทธิในการยกเลิกสัญญาและสิทธิในการเก็บค่าเช่า เช่น การทำลายทรัพย์สินหรือเหตุสุดวิสัยอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิในการเช่าได้ 4. การใช้สิทธิในทางที่ไม่เหมาะสม: ฝ่ายหนึ่งอาจใช้สิทธิในการยกเลิกสัญญาอย่างไม่เหมาะสมหรือการละเมิดเงื่อนไขการยกเลิกสัญญา ทำให้ฝ่ายอื่นๆ มีสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายหรือเงินชดเชย การเกิดขัดแย้งแบบนี้อาจนำไปสู่การสิ้นสุดสัญญาเช่า ดังนั้น การขัดแย้งระหว่างสิทธิในการยกเลิกสัญญาและสิทธิในการเก็บค่าเช่าเป็นเหตุที่สามารถทำให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงได้โดยไม่ต้องตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่า และอาจจะต้องพิจารณาจากกรณีเฉพาะๆ ของการแยกแยะอำนาจในการตัดสินใจของศาลและการประยุกต์ใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการวินิจฉัยความขัดแย้งนั้นๆ อย่างเหมาะสมและยุติธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายเช่าทรัพย์,กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8677
Legal
ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองมีสิทธิและหน้าที่อะไรบ้าง
null
ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองมีสิทธิและหน้าที่ดังต่อไปนี้ สิทธิ สิทธิไถ่ถอนจำนอง : ผู้รับโอนมีสิทธิไถ่ถอนจำนองโดยเสนอรับใช้เงินเป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้น หากโจทก์ไม่ยอมรับ ก็ต้องฟ้องต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำเสนอ เพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 738 และ 739 สิทธิรับเงินชดเชย : กรณีที่ทรัพย์สินซึ่งจำนองถูกขายทอดตลาด และได้เงินไม่พอชำระหนี้ ผู้รับโอนมีสิทธิรับเงินชดเชยจากผู้จำนอง หน้าที่ รับผิดชำระหนี้ : กรณีที่ผู้รับโอนตกลงรับผิดชำระหนี้ ผู้รับโอนจะต้องรับผิดชำระหนี้จำนอง แม้ว่าทรัพย์สินซึ่งจำนองจะถูกขายทอดตลาด และได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ตาม แจ้งการโอนกรรมสิทธิ์ : ผู้รับโอนมีหน้าที่แจ้งการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งจำนองต่อผู้รับจำนอง ภายใน 15 วัน นับแต่วันโอนกรรมสิทธิ์ ประเด็นสำคัญ สถานะทางกฎหมายของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง การบังคับคดีกับผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง คำอธิบายเพิ่มเติม ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ไม่ได้มีสถานะเป็นผู้จำนอง แต่เป็นเพียงผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ติดจำนอง ผู้รับโอนมีสิทธิและหน้าที่บางประการ เช่นเดียวกับผู้จำนอง แต่มีข้อยกเว้นบางประการ การบังคับคดีกับผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง จะต้องกระทำตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สรุป ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มีสิทธิและหน้าที่บางประการ เช่นเดียวกับผู้จำนอง แต่มีข้อยกเว้นบางประการ ผู้รับโอนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของตน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8680
Legal
คดี Dred Scott v. Sandford ส่งผลต่อระบบกฎหมายของสหรัฐอเมริกาอย่างไร
(a) ศาลฎีกามีอำนาจเหนือรัฐสภา (b) ทาสมีสิทธิเป็นพลเมือง (c) รัฐธรรมนูญห้ามมีทาส (d) รัฐสามารถห้ามมีทาสได้
คำตอบที่ถูกต้องคือ (a) ศาลฎีกามีอำนาจเหนือรัฐสภา เพราะว่า คำตอบ: (a) ศาลฎีกามีอำนาจเหนือรัฐสภา เหตุผล: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ารัฐบัญญัติปรองดองแห่งมิสซูรี (Missouri Compromise Act) ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นการล่วงล้ำอำนาจของรัฐสภา คำวินิจฉัยนี้สร้างบรรทัดฐานใหม่ว่า ศาลฎีกามีอำนาจตีความรัฐธรรมนูญและสามารถยกเลิกกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ บรรทัดฐานนี้ยังคงมีผลมาจนถึงปัจจุบัน และทำให้ศาลฎีกามีบทบาทสำคัญในการตีความกฎหมายและกำหนดทิศทางของสังคมอเมริกัน ตัวเลือกอื่น ๆ ไม่ถูกต้อง: ตัวเลือก (b): ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าทาสไม่มีสิทธิเป็นพลเมือง ตัวเลือก (c): รัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามมีทาสโดยตรง แต่ศาลฎีกาตีความรัฐธรรมนูญในภายหลังว่าห้ามมีทาส ตัวเลือก (d): รัฐสามารถห้ามมีทาสได้ แต่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ารัฐบัญญัติปรองดองแห่งมิสซูรี (Missouri Compromise Act) ขัดต่อรัฐธรรมนูญ สรุป: คดี Dred Scott v. Sandford ส่งผลต่อระบบกฎหมายของสหรัฐอเมริกาโดยทำให้ศาลฎีกามีอำนาจเหนือรัฐสภา
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,กฎหมายรัฐธรรมนูญ,กฎหมายสิทธิมนุษยชน,ข่าวสารทั่วไป สถิติต่างๆ
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8682
Legal
ในปัจจุบัน บทบาทของกฎหมายไทยต่อศีลธรรมในสังคมมีลักษณะอย่างไร
(a) กฎหมายมีบทบาทหลักในการส่งเสริมศีลธรรมในสังคมโดยการออกกฎหมายห้ามทำสิ่งที่ผิดศีลธรรม (b) กฎหมายมีบทบาทจำกัดในการส่งเสริมศีลธรรมในสังคม เน้นไปที่การควบคุมพฤติกรรมของบุคคล (c) กฎหมายไม่มีบทบาทในการส่งเสริมศีลธรรมในสังคม เน้นไปที่การตอบสนองประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (d) กฎหมายมีบทบาทในการส่งเสริมศีลธรรมในสังคม แต่อยู่ในรูปแบบที่ต่างจากอดีต เน้นไปที่การส่งเสริมโครงสร้างและกลไกต่างๆ ของสังคม
ข้อที่ถูกต้องได้แก่ (d) กฎหมายมีบทบาทในการส่งเสริมศีลธรรมในสังคม แต่อยู่ในรูปแบบที่ต่างจากอดีต เน้นไปที่การส่งเสริมโครงสร้างและกลไกต่างๆ ของสังคม เพราะว่า คำตอบ: (d) กฎหมายมีบทบาทในการส่งเสริมศีลธรรมในสังคม แต่อยู่ในรูปแบบที่ต่างจากอดีต เน้นไปที่การส่งเสริมโครงสร้างและกลไกต่างๆ ของสังคม เหตุผล: บทความอธิบายว่าในอดีตกฎหมายไทยมีบทบาทในการส่งเสริมศีลธรรมโดยตรง โดยอ้างถึงหลักธรรมทางพุทธศาสนา เช่น กฎแห่งกรรม นรก สวรรค์ แต่ในปัจจุบัน กฎหมายมีบทบาทในการส่งเสริมศีลธรรมในรูปแบบที่ต่างออกไป เน้นไปที่การส่งเสริมโครงสร้างและกลไกต่างๆ ของสังคม ตัวอย่างที่ยกมาในบทความ เช่น การส่งเสริมการรวมกลุ่มทำประโยชน์สาธรณะ การจัดหาพื้นที่ทำดี (ห้องสมุด สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ) บทความยังอธิบายว่า กฎหมายที่ดีควรส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงามทั้งทางกาย ทางความสัมพันธ์ ทางจิตใจ และทางปัญญา ตัวเลือกอื่น ๆ ไม่ถูกต้อง: ตัวเลือก (a): บทความไม่ได้กล่าวว่ากฎหมายมีบทบาทหลักในการส่งเสริมศีลธรรมโดยการออกกฎหมายห้ามทำสิ่งที่ผิดศีลธรรม ตัวเลือก (b): บทความไม่ได้กล่าวว่ากฎหมายมีบทบาทจำกัดในการส่งเสริมศีลธรรมในสังคม เน้นไปที่การควบคุมพฤติกรรมของบุคคล ตัวเลือก (c): บทความไม่ได้กล่าวว่ากฎหมายไม่มีบทบาทในการส่งเสริมศีลธรรมในสังคม เน้นไปที่การตอบสนองประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สรุป: บทความนี้แสดงให้เห็นว่ากฎหมายไทยยังมีบทบาทในการส่งเสริมศีลธรรมในสังคม แต่อยู่ในรูปแบบที่ต่างจากอดีต เน้นไปที่การส่งเสริมโครงสร้างและกลไกต่างๆ ของสังคม มากกว่าการออกกฎหมายห้ามทำสิ่งที่ผิดศีลธรรม
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8683
Legal
"ธรรมะ กับกฎหมาย... ธรรมะ กับกฎหมาย..." อะไรคือปัญหาหลักที่เกิดขึ้นจากการที่นักกฎหมายมองว่ากฎหมายกับหลักธรรมแยกออกจากกัน?
(ก) เกิดช่องโหว่ทางกฎหมาย ทำให้สามารถตีความกฎหมายได้หลายแง่มุม (ข) เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม เพราะกฎหมายไม่ได้ยึดหลักความยุติธรรม (ค) เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎหมายกับศาสนา (ง) เกิดการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
คำตอบคือ (ง) เกิดการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เนื่องจาก เหตุผล: (ก) เกิดช่องโหว่ทางกฎหมาย เป็นผลลัพธ์ (ข) เกิดความไม่เป็นธรรม เป็นผลลัพธ์ (ค) เกิดความขัดแย้ง เป็นผลลัพธ์ (ง) ถูกต้อง ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นคือ การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เมื่อนักกฎหมายมองว่ากฎหมายกับหลักธรรมแยกออกจากกัน ย่อมส่งผลต่อการตีความกฎหมาย เน้นเพียงตัวบทกฎหมาย โดยละเลยเจตนารมณ์ที่มุ่งให้เกิดความสงบสุข ผู้มีอำนาจอาจใช้กฎหมายเอื้อประโยชน์ตนเอง ส่งผลร้ายต่อประชาชน สรุป: ตัวเลือก (ง) เป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะการแยกกฎหมายออกจากหลักธรรม ส่งผลให้เกิดช่องโหว่ ตีความกฎหมายเอื้อประโยชน์ นำไปสู่ความไม่ยุติธรรม และความขัดแย้งในสังคม
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,ข่าวสารทั่วไป สถิติต่างๆ
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8684
Legal
โปรดสรุปบทความเรื่องความเป็นพหูสูตรสำหรับนักกฎหมายให้หน่อยครับ
1.รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ อย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ 2.รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์แวดล้อมเป็นต้น 3.รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กันเป็นต้น 4.รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ 1.ความตั้งใจฟัง ก็คือชอบฟัง ชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้าเป็นต้น 2.ความตั้งใจจำ ก็คือรู้จักวิธีจำ โดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ และจับใจความให้ได้ 3.ความตั้งใจท่อง ก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติ ไม่ลืม ในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ 4.ความตั้งใจพิจารณา ก็คือการรู้จักพิจารณา ตรึกตรองในสิ่งนั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง 5.ความเข้าใจในปัญหา ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา เหมาะกับการเป็นนักกฏหมายเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นผู้รู้มากเพื่อจะได้ใช้ความเป็นนักกฏหมายที่ บริสุทธิยุติธรรม
ความเป็นพหูสูต เป็นธรรมะที่เหมาะสำหรับนักกฎหมาย 1.รู้ลึก คือ การรู้ในสิ่งใดๆ อย่างละเอียดจนมีความชำนาญ 2.รู้รอบ คือ การรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว 3.รู้กว้าง คือ การรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ 4.รู้ไกล คือ การศึกษาถึงความเป็นไปได้ในอนาคต ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้ คือ 1.ความตั้งใจฟัง 2.ความตั้งใจจำ 3.ความตั้งใจท่อง 4.ความตั้งใจพิจารณา 5.ความเข้าใจในปัญหา
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,ข่าวสารทั่วไป สถิติต่างๆ,คำพิพากษาศาลฎีกา
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8685
Legal
ธรรมะที่นักกฎหมายควรมีคือหลักธรรมใด
null
ธรรมะที่นักกฎหมายควรมีคือ พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย 1. เมตตา ปรารถนาให้เขามีความสุข 2.กรุณา ปรารถนาให้เขาพ้นจากทุกข์ 3. มุทิตา พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดี 4. อุเบกขา ทำใจเป็นกลาง วางเฉย โดยเฉพาะเมตตา กรุณา นักกฎหมายควรมีธรรมะ 2 ข้อนี้อยู่เป็นประจำ ก็จะสามารถทำงานได้ดี อาชีพนักกฎหมายค่อนข้างจะพิเศษมากคล้ายกับนักบวช การบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาก็เพื่อทำลายความรู้สึกเห็นแก่ตัว และการปฏิบัติของเราก็เพื่อให้รู้จักธรรมะตามความเป็นจริงของสรรพสิ่งเพื่อบรรลุพระอรหันต์ ซึ่งมีจิตใจที่สะอาด บริสุทธิ์ไม่เห็นแก่ตัว ในสมัยพุทธกาลเมื่อพรรษาหนึ่งผ่านไป มีพระอรหันต์สาวก 60 องค์ รวมทั้งพระพุทธเจ้าเป็น 61 องค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ พวกเธอ จงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพ และมนุษย์ทั้งหลาย พวกเธอ อย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น (ศีลสิกขา) งามในท่ามกลาง (สมาธิสิกขา) งามในที่สุด (ปัญญาสิกขา) จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ให้ครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลี คือกิเลส ในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จะไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม” นี้เป็นชีวิตของพระอรหันต์ทั้งหมดได้ทำหน้าที่พรหมจรรย์ทุกลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่พระอรหันต์ต้องทำงาน นักกฎหมายก็ควรดำเนินตามรอยชีวิตพระอรหันต์ หรือ อริยบุคคล
ข่าวสารทั่วไป สถิติต่างๆ
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8686
Legal
ช่วยย่อบทความให้หน่อย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1690/2555 จำเลยทั้งสองตัดต้นไม้ทั้ง 5 ต้น จนแยกขาดออกจากลำต้น จากนั้น "เคลื่อนย้ายไม้ไปวางบนพื้นและมีการเลื่อยแปรรูปบางส่วน" อันเป็นการทำให้ต้นไม้ที่จำเลยทั้งสองลักเคลื่อนที่จากที่ตั้งและเปลี่ยนแปลงสภาพจากเดิม แม้จำเลยทั้งสองยังมิได้ขนย้ายออกไปจากที่เกิดเหตุเนื่องจากมีน้ำหนักมากหรือเป็นเพราะยังแปรรูปไม่เสร็จ ก็เรียกได้ว่าเป็นการล...ักทรัพย์สำเร็จแล้ว หาใช่เป็นเพียงการพยายามลักทรัพย์ไม่ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดสำเร็จ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง แต่ไม่อาจกำหนดโทษจำเลยให้หนักขึ้นเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
1. จำเลยทั้ง 2 ตัดต้นไม้ 5 ต้น แล้วเคลื่อนย้ายไปวางบนพื้นและเลื่อยแปรรูปไม้บางส่วน อันเป็นการเคลื่อนย้ายต้นไม้จากที่ตั้งและแปลงสภาพจากเดิม แม้ยังมิได้ย้ายออกจากที่เกิดเหตุ ก็เรียกได้ว่าเป็นการลักทรัพย์สำเร็จ หาใช่เป็นเพียงการพยายามลักทรัพย์ 2. แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จ แต่ขัดกับกฏความสงบเรียบร้อย ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองได้ แต่ไม่สามารถลงโทษให้หนักขึ้นเพราะเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา)
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8689
Legal
จงสรุปบทความตามคำพิพากษาฎีกาที่ 3250/ 2555 เรื่องการป้องกันตัวให้หน่อยครับ
คำพิพากษาฎีกาที่ 3250/ 2555 การที่จำเลยได้แย่งมีดชำแหละไก่จากพนั กงานชำแหละไก่ที่อยู่ในบริเวณที ่เกิดเหตุซึ่งเป็นอาวุธที่หาได้ โดยทันทีทันใดในขณะนั้น แล้วแทงผู้ตายที่บริเวณหน้าอกเพ ียงครั้งเดียวในขณะที่ถูกผู้ตาย กับพวกรุมทำร้ายอันเป็นการกระทำ ที่ละเมิดต่อกฎหมาย เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงเพื่อใ ห้ตนพ้นภัยในขณะนั้น จำเลยย่อมไม่มีโอกาสเลือกแทงอวั ยวะที่สำคัญได้ และจำเลยก็ไม่ได้ตามไปแทงผู้ตาย ซ้ำอีกทั้งที่สามารถตามไปแทงได้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงแสดงให้เ ห็นว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพ ื่อป้องกันตนเอง ไม่มีเจตนาจะฆ่าผู้ตาย และเป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 3250/ 2555 บรรยายว่าจำเลยถูกผู้ตายและพวกรุมทำร้าย จึงแย่งมีดชำแหละไก่จากพนักงานชำแหละไก่ที่อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุมาแทงผู้ตายที่หน้าอกเพียงครั้งเดียว ไม่ได้ตามไปแทงซ้ำทั้งที่สามารถทำได้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาป้องกันตัวเอง ไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย เป็นกระทำพอสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8694
Legal
จงจับใจความบทความนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2915/2554 ----- โจทก์และโจทก์ร่วมมีแต่คำซัดทอดของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และ ส. คำซัดทอดดังกล่าวเป็นเพียงพยานบอกเล่าซึ่งมีน้ำหนักให้รับฟังได้น้อย เช่นเดียวกับบันทึกคำให้การของจำเลย...ที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 นำสืบปฏิเสธว่า ที่ให้การเช่นนั้นเกิดจากการชี้นำของเจ้าพนักงานตำรวจโดยบอกว่าจะกันไว้เป็นพยาน อันเป็นการนำสืบว่าโจทก์และโจทก์ร่วมได้พยานหลักฐานชิ้นนี้ด้วยการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ไม่เป็นการให้การด้วยความสมัครใจ รับฟังไม่ได้ แต่แม้จะรับฟังได้หรือไม่ บันทึกคำให้การดังกล่าวก็เป็นเพียงพยานบอกเล่ามีน้ำหนักให้รับฟังได้น้อยเช่นกัน เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่อาจนำสืบพิสูจน์ให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างหนึ่งอย่างใด อันจะเป็นข้อเท็จจริงแวดล้อมที่ทำให้น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วยแล้ว พยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมเท่าที่นำสืบมาจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่า ไม่เพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง กรณียังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง และต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
1. โจทก์และโจทก์ร่วมมีแต่คำซัดทอดของจำเลยที่ 1 , 3 , 4 และ ส. ซึ่งเป็นพยานบอกเล่าที่มีน้ำหนักน้อย เช่นเดียวกับบันทึกคำให้การของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้กล่าวว่า ที่ให้การเช่นนั้นเกิดจากตำรวจบอกว่าจะกันไว้เป็นพยาน โจทก์ได้หลักฐานชิ้นนี้ด้วยการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ไม่เป็นการให้การด้วยความสมัครใจ จึงรับฟังไม่ได้ หรือรับฟังได้น้อย 2.เมื่อหลักฐานของโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมทำความผิดด้วยแล้ว หลักฐานอื่นของโจทก์จึงเป็นเพียงพยานบอกเล่า ไม่เพียงพอที่จะลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ 3. กรณียังสงสัยว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำความผิดหรือไม่ ต้องยกความสงสัยให้จำเลยที่ 2 และต้องยกประโยชน์ให้จำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันกัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายสิทธิมนุษยชน
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8696
Legal
ช่วยสรุปคำพิพากษาฎีกา 2280/2555 เกี่ยวกับการพิพากษาเกินคำขอให้หน่อยครับ
คำพิพากษาฎีกา 2280/2555 ----- จำเลยและ บ. กับพวกได้เข้าไปในบ้านของผู้เสียหาย และจำเลยพูดว่า “มึงแน่หรือ ที่อยู่ที่นี่มา 15-16 ปี เอามันเลย” กับพูดว่า “ไอ้สัตว์ เดี๋ยวยิงทิ้งหมดเลย” อันเป็นความผิดฐานบุกรุกและขู่ให้ผู้อื่นตกใจกลัว แต่การที่จำเลยพูดว่า เอามันเลย และ บ. เข้าทำร้ายผู้เสียหายโดยจำเลยไม่ได้ทำร้ายผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นการที่จำเลยก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 84 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับ บ. และพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายตามมาตรา 83 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ แต่การที่จำเลยร้องบอกดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนให้ บ. กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ศาลมีอำนาจปรับบทฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิด 3 กรรม แยกเป็นข้อรวม 3 ข้อ โดยข้อที่ 1 กล่าวแต่เพียงว่า จำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกับ บ. บุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนตามมาตรา 365 (2) และ (3) ประกอบ 364 เท่านั้น มิได้บรรยายฟ้องว่าร่วมกันบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามมาตรา 365 (1) ประกอบมาตรา 364 แต่อย่างใด ส่วนความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัสกล่าวในห้องข้อ 3 แยกต่างหาก ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 365 (1) ประกอบมาตรา 364 ด้วย จึงเป็นการเกินคำขอและมิได้กล่าวมาในฟ้อง แต่อย่างไรก็ตาม แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องฐานทำร้ายร่างกายแยกต่างหากในฟ้องข้อ 3 แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อจำเลยและ บ. เข้าไปในบ้านแล้ว บ. จึงได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยจำเลยบอกให้ทำร้ายต่อเนื่องใกล้ชิดกัน เห็นได้ว่ามีเจตนาประสงค์ต่อผลโดยตรงต่อการที่จะให้มีการทำร้ายผู้เสียหาย ทั้งการทำร้ายของ บ. ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ส่อแสดงถึงความไม่มีเหตุอันสมควรที่จะเข้าไปในบ้านอันเป็นเคหสถาน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานบุกรุกตามมาตรา 364 อยู่ด้วย การที่จำเลยบอกให้ บ. ทำร้ายร่างกายจึงเป็นกรรมเดียวกันกับการร่วมบุกรุกบ้านอันเป็นเคหสถาน ดูเพิ่มเติม
คำพิพากษาฎีกา 2280/2555 บรรยายเรื่องการที่จำเลยและ บ. กับพวกได้เข้าไปในบ้านของผู้เสียหาย พูดจาข่มขู่ และ บ.ทำร้ายผู้เสียหาย และจำเลยไม่ได้ทำร้ายผู้เสียหายด้วย จำเลยมีความผิดฐานก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 84 แต่ลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ แต่การที่จำเลยพูดว่าเอามันเลย เป็นการผู้สนับสนุนให้ บ. กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ศาลมีอำนาจปรับบทฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกับ บ. บุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน ไม่ได้บอกว่าร่วมกันบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย จำเลยจึงแย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นการเกินคำขอและมิได้กล่าวมาในฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงคือจำเลยและ บ. เข้าไปในบ้านแล้ว บ. ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจริง แสดงเจตนาต้องการทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย การที่จำเลยบอกให้ บ. ทำร้ายร่างกายจึงเป็นกรรมเดียวกันกับการร่วมบุกรุกบ้านอันเป็นเคหสถาน
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย,คำพิพากษาศาลฎีกา
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8698
Legal
จงสรุปบทความเรื่อง บุคคลที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่ต้องรับผิดในตั๋วเงิน ให้หน่อยค่ะ
บุคคลที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่ต้องรับผิดในตั๋วเงิน | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​ [กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] “บุคคลที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่ต้องรับผิดในตั๋วเงิน” “ บุคคลที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่ต้องรับผิดในตั๋วเงิน ” อันนี้ เราแปลความกลับกัน เวลาเราตอบข้อสอบมักจะเผลอไปเกี่ยวกับบุคคลที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน อันนี้ เราแปลความกลับกัน เวลาเราตอบข้อสอบมักจะเผลอไปเกี่ยวกับบุคคลที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน ยกตัวอย่าง ผู้ที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นมีใครบ้าง คือ ยกตัวอย่าง ผู้ที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นมีใครบ้าง คือ 1. ในเรื่องตั๋วเงินแลกเงินในบทบัญญัติมาตรา 908 ตั๋วแลกเงินจะมีคู่สัญญา 3 ฝ่าย คือ ผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย และผู้รับเงิน ในเรื่องตั๋วเงินแลกเงินในบทบัญญัติมาตรา ตั๋วแลกเงินจะมีคู่สัญญา ฝ่าย คือ ผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย และผู้รับเงิน นาย ก. ออกตั๋วแลกเงินสั่ง นาย ข. ให้จ่ายเงินแก่ นาย ค. ตั๋วถึงกำหนด นาย ค. นาย ก ออกตั๋วแลกเงินสั่ง นาย ข ให้จ่ายเงินแก่ นาย ค ตั๋วถึงกำหนด นาย ค ก็เอาตั๋วแลกเงินไปยื่นให้ นาย ข. ใช้เงินตามตั๋ว ปรากฏว่า นาย ข.ไม่จ่าย ก็เอาตั๋วแลกเงินไปยื่นให้ นาย ข ใช้เงินตามตั๋ว ปรากฏว่า นาย ข ไม่จ่าย ถามว่า นาย ค. จะฟ้องใคร ให้รับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินได้บ้าง ถามว่า นาย ค จะฟ้องใคร ให้รับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินได้บ้าง ก็ดูว่า ตั๋วฉบับนี้มีใครลงลายมือชื่อบ้าง ? ก็ดูว่า ตั๋วฉบับนี้มีใครลงลายมือชื่อบ้าง มีนาย ก. ผู้สั่งจ่ายคนเดียว เพราะฉะนั้น ก็จะได้หลักในเบื้องต้นว่า มีนาย ก ผู้สั่งจ่ายคนเดียว เพราะฉะนั้น ก็จะได้หลักในเบื้องต้นว่า “ผู้จ่ายในตั๋วแลกเงินโดยหลักแล้ว ไม่มีความรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน” เพราะผู้จ่ายยังไม่ได้ลงลายมือชื่อเลย ดังนั้น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน เมื่อผู้ทรง “ ผู้จ่ายในตั๋วแลกเงินโดยหลักแล้ว ไม่มีความรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน ” เพราะผู้จ่ายยังไม่ได้ลงลายมือชื่อเลย ดังนั้น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน เมื่อผู้ทรง เอาตั๋วแลกเงินไปยื่นต่อผู้จ่าย ๆ ปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงิน ผู้ทรงจะไปฟ้องผู้จ่ายตามตั๋วแลกเงินไม่ได้ เพราะผู้จ่ายยังไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน เอาตั๋วแลกเงินไปยื่นต่อผู้จ่าย ๆ ปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงิน ผู้ทรงจะไปฟ้องผู้จ่ายตามตั๋วแลกเงินไม่ได้ เพราะผู้จ่ายยังไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน แล้วผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินจะตกเป็นลูกหนี้ตามตั๋วเงินเมื่อใด ? แล้วผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินจะตกเป็นลูกหนี้ตามตั๋วเงินเมื่อใด ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินจะตกเป็นลูกหนี้ในตั๋วเงิน ก็ต่อเมื่อผู้จ่ายได้ทำการรับรอง ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินจะตกเป็นลูกหนี้ในตั๋วเงิน ก็ต่อเมื่อผู้จ่ายได้ทำการรับรอง ตั๋วแลกเงินแล้วตามบทบัญญัติในมาตรา 931 ตั๋วแลกเงินแล้วตามบทบัญญัติในมาตรา มาตรา 931 บัญญัติว่า การรับรองนั้นพึงกระทำด้วยเขียนลงไว้ในด้านหน้า มาตรา บัญญัติว่า การรับรองนั้นพึงกระทำด้วยเขียนลงไว้ในด้านหน้า แห่งตั๋วแลกเงินเป็นถ้อยคำ สำนวนว่า “รับรองแล้ว” หรือความอย่างอื่นทำนองเช่นเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อของผู้จ่าย อนึ่งแต่เพียงลายมือชื่อของผู้จ่ายลงไว้ในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับรองแล้ว แห่งตั๋วแลกเงินเป็นถ้อยคำ สำนวนว่า รับรองแล้ว หรือความอย่างอื่นทำนองเช่นเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อของผู้จ่าย และลงลายมือชื่อของผู้จ่าย อนึ่งแต่เพียงลายมือชื่อของผู้จ่ายลงไว้ในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับรองแล้ว และมาตรา 937 บัญญัติว่า ผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้วย่อมต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตน และมาตรา 937 บัญญัติว่า ผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้วย่อมต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตน ก็ให้จัดหมวดหมู่ไว้ ถ้าดูมาตรา 931 นั้น การรับรอง พึงกระทำด้วยเขียนลงไว้ ก็ให้จัดหมวดหมู่ไว้ ถ้าดูมาตรา นั้น การรับรอง พึงกระทำด้วยเขียนลงไว้ ในด้านหน้าตั๋วแลกเงิน…และลงลายมือชื่อของผู้จ่าย… ซึ่งมาตรา 931 ก็จะบัญญัติไว้สอดคล้องกับมาตรา 900 นั้นเอง ว่าบุคคลที่ตกเป็นลูกหนี้ในตั๋วเงินนั้น จะเกิดขึ้นต่อเมื่อลงลายมือชื่อ เพราะฉะนั้น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินจะเป็นลูกหนี้ตามตั๋วเงินต่อเมื่อผู้จ่ายได้ทำการ ในด้านหน้าตั๋วแลกเงิน และลงลายมือชื่อของผู้จ่าย ซึ่งมาตรา ก็จะบัญญัติไว้สอดคล้องกับมาตรา นั้นเอง ว่าบุคคลที่ตกเป็นลูกหนี้ในตั๋วเงินนั้น จะเกิดขึ้นต่อเมื่อลงลายมือชื่อ เพราะฉะนั้น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินจะเป็นลูกหนี้ตามตั๋วเงินต่อเมื่อผู้จ่ายได้ทำการ รับรองตั๋วด้วยการลงลายมือชื่อของผู้จ่ายในตั๋วตามมาตรา 931 และมาตรา 937 จึงจะเกิดความรับผิดของผู้จ่ายเงินในตั๋วแลกเงินขึ้น รับรองตั๋วด้วยการลงลายมือชื่อของผู้จ่ายในตั๋วตามมาตรา และมาตรา จึงจะเกิดความรับผิดของผู้จ่ายเงินในตั๋วแลกเงินขึ้น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินเมื่อได้ทำการรับรองตั๋วแล้ว จะเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ผู้รับรอง” ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินเมื่อได้ทำการรับรองตั๋วแล้ว จะเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ผู้รับรอง เพราะฉะนั้นจำไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า การรับรองตั๋วนั้นมีเฉพาะในตั๋วแลกเงินเท่านั้น ! เพราะฉะนั้นจำไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า การรับรองตั๋วนั้นมีเฉพาะในตั๋วแลกเงินเท่านั้น ! สรุป สรุป “ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินไม่มีความผิดตามตั๋วเงิน เว้นแต่ ผู้จ่ายจะได้ทำการ “ ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินไม่มีความผิดตามตั๋วเงิน เว้นแต่ ผู้จ่ายจะได้ทำการ รับรองตั๋ว ก็คือ ลงลายมือชื่อนั่นเอง จึงจะต้องรับผิดในฐานะผู้รับรอง ตามมาตรา 931 และมาตรา 937” รับรองตั๋ว ก็คือ ลงลายมือชื่อนั่นเอง จึงจะต้องรับผิดในฐานะผู้รับรอง ตามมาตรา 931 และมาตรา 937”
“บุคคลที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่ต้องรับผิดในตั๋วเงิน” เวลาตอบข้อสอบ มักจะเผลอไปเกี่ยวกับบุคคลที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน ยกตัวอย่าง ผู้ที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นมีใครบ้าง คือ 1. ในเรื่องตั๋วเงินแลกเงินในบทบัญญัติมาตรา 908 ตั๋วแลกเงินจะมีคู่สัญญา 3 ฝ่าย คือ ผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย และผู้รับเงิน นาย ก. ออกตั๋วแลกเงินสั่ง นาย ข. ให้จ่ายเงินแก่ นาย ค. ตั๋วถึงกำหนด นาย ค. ก็เอาตั๋วแลกเงินไปยื่นให้ นาย ข. ใช้เงินตามตั๋ว ปรากฏว่า นาย ข.ไม่จ่าย ถามว่า นาย ค. จะฟ้องใคร ให้รับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินได้บ้าง ดูว่า ตั๋วฉบับนี้มีใครลงลายมือชื่อบ้าง ? มีนาย ก. ผู้สั่งจ่ายคนเดียว เพราะฉะนั้น ก็จะได้หลักในเบื้องต้นว่า “ผู้จ่ายในตั๋วแลกเงินโดยหลักแล้ว ไม่มีความรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน” เพราะผู้จ่ายยังไม่ได้ลงลายมือชื่อเลย ดังนั้น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน เมื่อผู้ทรงเอาตั๋วแลกเงินไปยื่นต่อผู้จ่าย ๆ ปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงิน ผู้ทรงจะไปฟ้องผู้จ่ายตามตั๋วแลกเงินไม่ได้ เพราะผู้จ่ายยังไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงิน แล้วผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินจะตกเป็นลูกหนี้ตามตั๋วเงินเมื่อใด ? ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินจะตกเป็นลูกหนี้ในตั๋วเงิน ก็ต่อเมื่อผู้จ่ายได้ทำการรับรอง ตั๋วแลกเงินแล้วตามบทบัญญัติในมาตรา 931 มาตรา 931 บัญญัติว่า การรับรองนั้นพึงกระทำด้วยเขียนลงไว้ในด้านหน้า แห่งตั๋วแลกเงินเป็นถ้อยคำ สำนวนว่า “รับรองแล้ว” หรือความอย่างอื่นทำนองเช่นเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อของผู้จ่าย อนึ่งแต่เพียงลายมือชื่อของผู้จ่ายลงไว้ในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงิน ก็จัดว่าเป็นคำรับรองแล้ว และมาตรา 937 บัญญัติว่า ผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้วย่อมต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนก็ให้จัดหมวดหมู่ไว้ ถ้าดูมาตรา 931 นั้น การรับรอง พึงกระทำด้วยเขียนลงไว้ในด้านหน้าตั๋วแลกเงิน…และลงลายมือชื่อของผู้จ่าย… ซึ่งมาตรา 931 ก็จะบัญญัติไว้สอดคล้องกับมาตรา 900 นั้นเอง ว่าบุคคลที่ตกเป็นลูกหนี้ในตั๋วเงินนั้น จะเกิดขึ้นต่อเมื่อลงลายมือชื่อ เพราะฉะนั้น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินจะเป็นลูกหนี้ตามตั๋วเงินต่อเมื่อผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วด้วยการลงลายมือชื่อของผู้จ่ายในตั๋วตามมาตรา 931 และมาตรา 937 จึงจะเกิดความรับผิดของผู้จ่ายเงินในตั๋วแลกเงินขึ้นผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินเมื่อได้ทำการรับรองตั๋วแล้ว จะเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ผู้รับรอง” เพราะฉะนั้น จำไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า การรับรองตั๋วนั้นมีเฉพาะในตั๋วแลกเงินเท่านั้น สรุป “ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินไม่มีความผิดตามตั๋วเงิน เว้นแต่ ผู้จ่ายจะได้ทำการรับรองตั๋ว ก็คือ ลงลายมือชื่อนั่นเอง จึงจะต้องรับผิดในฐานะผู้รับรอง ตามมาตรา 931 และมาตรา 937”
กฎหมายตั๋วเงิน-เช็ค,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8699
Legal
บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น เป็นกฎหมายมาตราใด
a. 921 b. 900 c. 900 d. 939
ข้อที่ถูกต้องคือ c. เพราะว่า มาตรา 900 บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น มาตรา บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตามท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่ ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมือ อ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตามท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่ ในเรื่องตั๋วเงินจะมีบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดในตั๋วเงิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ในเรื่องตั๋วเงินจะมีบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดในตั๋วเงิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ บุคคลที่ตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ในตั๋วเงิน กฎหมายจะวางหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา 900 ก็คือ บุคคลที่ตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ในตั๋วเงิน กฎหมายจะวางหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา เพราะฉะนั้น หลักในเรื่องตั๋วเงินนั้น ถ้าถามว่า บุคคลใดบ้างจะต้องรับผิดตาม เพราะฉะนั้น หลักในเรื่องตั๋วเงินนั้น ถ้าถามว่า บุคคลใดบ้างจะต้องรับผิดตาม ตั๋วเงิน ? ถ้าถามว่าลูกหนี้ในตั๋วเงินคือใคร ? เราก็สามารถจะตอบง่าย ๆ ได้ตาม ปพพ. ตั๋วเงิน ถ้าถามว่าลูกหนี้ในตั๋วเงินคือใคร เราก็สามารถจะตอบง่าย ๆ ได้ตาม ปพพ มาตรา 900 ก็คือ บุคคลผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั่นเอง
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายตั๋วเงิน-เช็ค,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8700
Legal
ตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดผู้ถือนั้นมีหรือไม่?
null
ไม่มี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 983 ระบุว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ต้องมีรายการดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ 1. วันเดือนปีที่ทำตั๋ว 2. จำนวนเงินที่ต้องใช้ 3. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน 4. สถานที่ที่จะใช้เงิน 5. ลายเซ็นของผู้ออกตั๋ว ไม่มีรายการใดบัญญัติถึง "ชื่อหรือยี่ห้อผู้ถือ" ดังนั้น ตั๋วสัญญาใช้เงินจึงมีเพียงชนิดเดียว คือ ตั๋วชนิดระบุชื่อผู้รับเงิน หลักเกณฑ์นี้สอดคล้องกับมาตรา 985 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีชื่อผู้รับเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นถือเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดระบุชื่อผู้รับเงิน" สรุป 1. ตั๋วสัญญาใช้เงินมีเพียงชนิดเดียว คือ ตั๋วชนิดระบุชื่อผู้รับเงิน 2. ตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดผู้ถือนั้นไม่มี 3. ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่มีชื่อผู้รับเงิน ถือเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดระบุชื่อผู้รับเงิน ผลในทางกฎหมาย • ตั๋วชนิดระบุชื่อผู้รับเงิน ผู้รับเงินที่ระบุไว้ในตั๋วเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์เรียกร้องเงินตามตั๋ว • ตั๋วชนิดผู้ถือ ผู้ถือตั๋วในขณะนั้นมีสิทธิ์เรียกร้องเงินตามตั๋ว ตัวอย่าง 1. นาย A ออกตั๋วสัญญาใช้เงินสั่งให้ นาย B จ่ายเงินจำนวน 10,000 บาท แก่ นางสาว C ตั๋วนี้เป็นตั๋วชนิดระบุชื่อผู้รับเงิน เฉพาะนางสาว C เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์เรียกร้องเงินตามตั๋ว 2. นาย A ออกตั๋วสัญญาใช้เงินสั่งให้ นาย B จ่ายเงินจำนวน 10,000 บาท แก่ ผู้ถือ ตั๋วนี้เป็นตั๋วชนิดผู้ถือ ผู้ถือตั๋วในขณะนั้นมีสิทธิ์เรียกร้องเงินตามตั๋ว
กฎหมายตั๋วเงิน-เช็ค
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8701
Legal
อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาลในมาตรา 28 วรรค 2 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาลไว้ว่าอย่างไร
null
อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาลในมาตรา 28 วรรค 2 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาลไว้ว่าให้เป็นไปตามบรรพ 5 ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครอง มาตรา 1598/18 ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้อนุบาลบุตร ถ้าบุตรนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลมแต่ถ้าบุตรนั้นบรรลุนิติภาวะแล้ว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3) ในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาลให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าผู้อยู่ในความอนุบาลบรรลุนิติภาวะแล้ว จะใช้สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3) ไม่ได้ มาตรา 1598/15 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและภริยาหรือสามีเป็นผู้อนุบาล ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3) กรณีผู้เยาว์เป็นคนไร้ความสามารถ มาตรา 1569 ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรในกรณีที่บุตรถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี มาตรา 1569/1 ในกรณีที่ผู้เยาว์ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองเป็นผู้อนุบาล ให้คำสั่งนั้นมีผลเป็นการถอนผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองที่เป็นอยู่ในขณะนั้น กรณีบุคคลซึ่งไม่มีคู่สมรสเป็นคนไร้ความสามารถ มาตรา 1569/1 วรรคท้าย ในกรณีที่บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและไม่มีคู่สมรสถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ให้บิดามารดาหรือบิดาหรือมารดาเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีสามีหรือภรรยาเป็นคนไร้ความสามารถ มาตรา 1463 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ภริยาหรือสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ และถ้ามีเหตุสำคัญศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ก็ได้
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายหลักทรัพย์,กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม,กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8702
Legal
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 15 บัญญัติว่าอย่างไร
ก. สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย ข. การนับอายุของบุคคล ให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด ให้นับวันที่หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใด ให้นับอายุบุคคลนั้นตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด ค. บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ ง. ในกรณีบุคคลหลายคนตายในเหตุภยันตรายร่วมกันถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง ให้ถือว่าตายพร้อมกัน
คำตอบที่ถูกต้องได้แก่ ก. เพราะว่า ประมวลกฎหมายแพ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 15 บัญญัติถึงสภาพของบุคคลว่า มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย ในชั้นนี้ไม่ขออธิบายถึงหลักวิชาการแพทย์เกี่ยวด้วยการคลอด ว่าอย่างไรถือเป็นการคลอด ซึ่งมีหลักการแพทย์และคำพิพากษาฎีการองรับ เอาเป็นว่า สภาพบุคคลเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกแต่ สิ้นสุดลงเมื่อตาย ดังนั้น เมื่อคนเราตายไปแล้ว สภาพบุคคลย่อมไม่มีแล้ว เมื่อไม่มีสภาพบุคคลย่อมไม่มีผู้ใด หรือ ผู้อื่น เพราะผู้มิใช่หมายถึงเพศผู้ แต่หมายถึงบุคคล การจะเข้าใจลักษณะบุคคลก็ต้องไปดูตามประมวลกฎหมายแพ่งนั่นเอง ดังนั้น การที่นายดำยิงไปยังนายแดง ซึ่งได้ตายไปก่อนหน้านั้นแล้ว จึงไม่ใช่การฆ่าผู้อื่น เนื่องจากไม่มีผู้อื่นอยู่ในขณะที่นายดำกระทำการฆ่า นายดำจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา อีกตัวอย่างหนึ่ง เมื่อหลายปีก่อน เราคงได้ยินคดีจอมขมังเวทย์ ขุดเอาศพหญิงตายทั้งกลม (ไม่ใช้ตายท้องกลม แต่ตายทั้งกลม ทั้งกลมแปลว่าทั้งหมด หมายถึงตายทั้งหมดทั้งแม่และลูก) เอามาผ่าท้องแล้วเอาซากเด็กในท้องมาเผา ย่าง ทำลูกกรอก ปัญหาว่า จอมขมังเวทย์มีความผิดฐานทำลายศพ (ศพเด็ก) หรือไม่ เราต้องไปพิจารณาจากกฎหมายแพ่งมาตรา 15 นี้เช่นกัน คนจะเป็นศพได้ต้องตายเสียก่อน เมื่อไม่เกิดก็ตายไม่ได้ เด็กอยู่ในท้องแม่ ยังไม่คลอด สภาพบุคคลยังไม่เริ่ม จึงสิ้นสุดไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่ใช่การทำลายศพ เพราะซากเด็กในท้องแม่ยังไม่ใช่ศพ นี่คือตัวอย่างการนำมาใช้โดยโยงยึดกันของกฎหมาย ดังนั้น หากนักกฎหมายขาดองค์ความรู้ทางตัวบทกฎหมายโดยครอบคลุมแล้วจะไม่สามารถนำกฎหมายมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบกฎหมายหลักของโลก: ในโลกนี้มีระบบกฎหมายที่ใช้กันอยู่หลายระบบ แต่ระบบที่เราจะนำมาศึกษาและทำความเข้าใจ จะขอยกไว้เพียงสองระบบ คือ 1. civil law 2. common law แต่ละระบบคืออะไร นักศึกษาที่เรียนมาอ่านตำรามาจะเข้าใจและท่องเอาว่า civil law คือ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร common law คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี แต่หามีความเข้าใจที่ชัดเจนเด็ดขาดไม่ วันนี้จะอธิบายในสองระบบนี้ให้เข้าใจแบบชัดเจนเด็ดขาดเสียทีเดียว ซีวิลลอว์ คือ กฎหมายในระบบ "ประมวลกฎหมาย" ผู้เขียนไม่อยากให้เรียกว่า กฎหมายลายลักษณ์อักษร เพราะไม่ว่าจะเป็นกฎหมายในระบบใดก็ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งสิ้น จึงควรใช้คำให้ถูกต้องว่า "ระบบประมวลกฎหมาย" ประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบประมวลกฎหมายมีหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเยอรมัน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน ประเทศฝรั่งเศษ อิตาลี และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เป็นต้น
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับศพ,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย,ข่าวสารทั่วไป สถิติต่างๆ
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8703
Legal
บุคคลใดบ้างที่มีอำนาจในการออกตั๋วเงิน และบุคคลเหล่านั้นต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
null
ตั๋วเงินเป็นเอกสารที่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาตั๋วเงินได้นั้น ต้องมีความสามารถตามมาตรา ๑๕๓ และต้องแสดงเจตนาเข้ามาเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินด้วยความสมัครใจตามมาตรา ๑๔๙ ปราศจากความสำคัญผิด กลฉ้อฉล หรือการข่มขู่ เช่นเดียวกับการทำสัญญาทั่วไป บุคคลที่มีอำนาจในการออกตั๋วเงิน บุคคลธรรมดา: บุคคลธรรมดาที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นคนไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นิติบุคคล: นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมาย โดยผู้มีอำนาจตามกฎหมายของนิติบุคคลนั้น เช่น กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ฯลฯ คุณสมบัติของบุคคลที่ออกตั๋วเงิน มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์: บุคคลนั้นต้องเข้าใจความหมายและผลของการออกตั๋วเงิน ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ: บุคคลนั้นไม่เป็นคนวิกลจริต หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ไม่ถูกกีดกันสิทธิทางกฎหมาย: บุคคลนั้นไม่ถูกกีดกันสิทธิทางกฎหมาย เช่น บุคคลล้มละลาย ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว: บุคคลนั้นไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีบุคคลที่ไม่สามารถออกตั๋วเงินได้ บุคคลไร้ความสามารถ: บุคคลเหล่านี้ไม่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ หรือไม่สามารถเข้าใจความหมายและผลของการออกตั๋วเงิน บุคคลที่ถูกกีดกันสิทธิทางกฎหมาย: บุคคลเหล่านี้ถูกกีดกันสิทธิทางกฎหมาย เช่น บุคคลล้มละลาย ผู้เยาว์: บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตัวอย่างกรณี นาย A เป็นบุคคลวิกลจริต นาย A ไม่สามารถออกตั๋วเงินได้ บริษัท B ล้มละลาย บริษัท B ไม่สามารถออกตั๋วเงินได้ นางสาว C อายุ 16 ปี นางสาว C ไม่สามารถออกตั๋วเงินได้ ผลของการที่บุคคลที่ไม่มีอำนาจออกตั๋วเงิน ตั๋วเงินที่ออกโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจนั้น เป็นโมฆะ กล่าวคือ ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย บุคคลที่ออกตั๋วเงินโดยไม่มีอำนาจ อาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จากบุคคลอื่นที่ได้รับความเสียหายจากการออกตั๋วเงินนั้น สรุป บุคคลที่มีอำนาจในการออกตั๋วเงิน คือ บุคคลธรรมดาที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นคนไร้ความสามารถ และนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมาย บุคคลที่ออกตั๋วเงินต้องมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่ถูกกีดกันสิทธิทางกฎหมาย และไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีบุคคลที่ไม่มีอำนาจออกตั๋วเงิน ตั๋วเงินที่ออกโดยบุคคลนั้น เป็นโมฆะ และบุคคลที่ออกตั๋วเงินโดยไม่มีอำนาจ อาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จากบุคคลอื่น
กฎหมายตั๋วเงิน-เช็ค,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8704
Legal
นิติกรรม คืออะไร
null
นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ คำว่า การใด อันที่จริงแล้วมีความหมายที่ลึกซึ้ง แต่ในเบื้องต้นนี้ขอให้นิสิตเข้าใจเพียงว่าการใดคือการกระทำใด ๆ นั่นเอง อย่างเช่น การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อไปซื้อของ การหยิบเงินจ่ายค่าของที่เราซื้อชอบด้วยกฎหมาย หมายถึงการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นซื้อของกินของใช้ แต่ถ้าซื้อยาเสพติด ซึ่งผิดกฎหมายไม่ใช่นิติกรรม หนี้ซื้อขายยาเสพติดไม่ใช่หนี้ที่เกิดจากนิติกรรมบังคับไม่ได้ตามกฎหมาย ใจสมัคร หมายถึง การกระทำด้วยความเต็มใจไม่ได้ถูกบังคับหรือกระทำโดยรู้ตัวไม่ว่าจะถูกหลอกให้เข้าใจผิดจึงกระทำก็ตามแต่ต้องไม่ใช่กระทำโดยไม่รู้เรื่องรู้ตัวหรือถูกบังคับให้กระทำ ผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล หมายถึงการทำให้เกิดภาวะความสัมพันธ์ขึ้น เช่น ความเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ สามีภรรยา เป็นต้น ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ เมื่อมีการผูกนิติสัมพันธ์กันตามกฎหมายแล้วนิติสัมพันธ์นั้นเป็นไปเพื่อก่อสิทธิ เช่นเกิดสิทธิในการเรียกร้องให้ชำระหนี้ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ เช่นเปลี่ยนความเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ โอนสิทธิในทรัพย์สิน สงวนสิทธิเช่นการสงวนสิทธิในทรัพย์สินไม่ให้ผู้อื่นนำไปใช้ ระงับสิทธิ เช่นการชำระหนี้ทำให้สิทธิความเป็นเจ้าหนี้ระงับ ดังนั้นการชำระหนี้เป็นการทำนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8707
Legal
การซื้อขายรถยนต์โดยผู้ขายยังมิได้ส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และโอนชื่อในทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อ มีการฎีกาวินิจฉัยตามคำพิพากษาฎีกาใด
null
การซื้อขายรถยนต์โดยผู้ขายยังมิได้ส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และโอนชื่อในทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะโอนไปเป็นของผู้ซื้อเมื่อใด และหากผู้ซื้อไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง ผู้ขายเอารถยนต์กลับคืนมาโดยพลการ มีการฎีกาวินิจฉัยตามคำพิพากษาฎีกาที่ 9603/2553 (ประชุมใหญ่) โจทก์ร่วมตกลงซื้อรถยนต์ตู้กับจำเลยในราคา 310,000 บาท ซึ่งในสัญญาข้อ 3 ระบุว่า จำเลยตกลงรับชำระราคารถยนต์จำนวน 200,000 บาท ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540 ส่วนจำนวนที่เหลือจะชำระให้จำเลยในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้แต่ประการใด จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ย่อมโอนให้แก่โจทก์ร่วมตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 , 458 ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์มิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปีและแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้น คดีจึงรับไม่ได้ว่าจำเลยยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้คันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ จึงเป็นการเอารถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง แต่ก็เป็นการใช้อำนาจบังคับให้ชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ร่วมค้างชำระราคารถยนต์แก่จำเลยเพียงประมาณ 20,000 บาท แต่จำเลยจะให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้โจทก์ร่วมชำระหนี้นั้น เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง),ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายซื้อขาย
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8709
Legal
มาตราใดในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ . ศ . ๒๕๕๑ บัญญัติให้นำบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
1. มาตรา 16 2. มาตรา 47 3. มาตรา 16 4. มาตรา 428
คำตอบที่ถูกต้องได้แก่ 3. เพราะว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๙๓ ทวิ วรรคสอง ได้บัญญัติถึงกรณีที่จำเลยไม่มาศาลและไม่ได้ยื่นคำให้การไว้ว่าให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยนำมาตรา ๑๙๘ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนมาตรา ๑๙๙ ตรี อันเป็นเรื่องการขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้กล่าวถึงว่าให้นำมาตรา ๑๙๙ ตรี มาใช้บังคับด้วยหรือไม่ จงต้องพิจารณาตามมาตรา ๑๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ . ศ . ๒๕๕๑ มาตรา ๑๖ ซึ่งบัญญัติให้นำบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม จึงนำมาตรา ๑๙๙ ตรี มาใช้บังคับได้ ต่างกับมาตรา ๑๙๕ เดิมที่บัญญัติให้นำบททั่วไปและบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับกับคดีมโนสาเร่ด้วยเท่านั้น ซึ่งทำให้มีการตีความว่าไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด ซึ่งเป็นบทบัญญัติในลักษณะ ๒ วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง)
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8710
Legal
ทายาททุกคนจำเป็นต้องยินยอมให้ทายาทคนหนึ่งยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่?
null
ไม่จำเป็น เหตุผลคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 บัญญัติไว้ว่า ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการ ย่อมร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ 1. เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์ 2. เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก 3. เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ มาตรา 1713 ไม่ได้บังคับให้ทายาททุกคนต้องยินยอมให้ทายาทคนหนึ่งยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก กฎหมายให้สิทธิแก่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียทุกคนในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลเอง ศาลจะพิจารณาคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก ตัวอย่าง • ทายาท A อาศัยอยู่ในต่างประเทศ ไม่สามารถเดินทางกลับมาจัดการมรดกได้ ทายาท B สามารถยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลได้ โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากทายาท A • ทายาท C กับ D ไม่สามารถตกลงกันเรื่องการแบ่งปันมรดกได้ ทายาท E สามารถยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลเพื่อจัดการมรดก สรุป ทายาททุกคนไม่จำเป็นต้องยินยอมให้ทายาทคนหนึ่งยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก กฎหมายให้สิทธิแก่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียทุกคนในการยื่นคำร้องขอต่อศาลเอง ศาลจะพิจารณาคำร้องขอนั้นตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก
กฎหมายมรดก-พินัยกรรม,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8711
Legal
ผู้จัดการมรดกไม่ยอมแบ่งให้ใคร ต้องทำยังไง
null
ผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการจัดการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1732 หากผู้จัดการมรดกไม่ดำเนินการแบ่งมรดกให้แก่ทายาท ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิ์ขอถอนผู้จัดการมรดกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ได้ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกขอให้ศาลมีคำสั่ง เพิกถอนผู้จัดการมรดกเสีย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5374/2552 คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทนระบุว่าผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่จัดการโอนทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกทำให้ทายาทอื่นที่จะได้รับส่วนแบ่งในกองมรดกได้รับความเสียหายโดยผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านเป็นทำนองปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เนื้อหาตามคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 จึงแสดงรายละเอียดชัดเจนแล้วว่า ผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้มายื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจำต้องไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เพื่อฟังพยานหลักฐานจากผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องให้ครบถ้วนกระบวนความเสียก่อนว่า ผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามคำร้องขอหรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรที่ศาลจะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ดังกล่าวหรือไม่ รวามทั้งผู้ร้องได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบังคับไว้ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1728 ถึง 1733 ซึ่งถือเป็นสาเหตุอย่างอื่นที่ศาลอาจเห็นว่าเป็นเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสียก็ได้หรือไม่ โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านที่ 2 มีเนื้อหาและประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเคยยื่นคำร้องขอแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุดไปแล้วหรือไม่ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 เป็นการเฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2552 แม้การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกกฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องยื่นบัญชีเครือญาติพร้อมไปกับคำร้องก็ตาม แต่การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคท้าย บัญญัติให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และมาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลที่เจ้ามรดกให้ความไว้วางใจหรือเป็นบุคคลที่ศาลเห็นว่าน่าจะจัดการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกมากที่สุดและให้สมดังเจตนาของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องพิเคราะห์ดูจากพฤติการณ์และความสุจริตใจของผู้ร้องขอเป็นสำคัญ เมื่อฟังว่าผู้ร้องมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จเพื่อปิดบังข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนทายาทของผู้ตายอันอาจเป็นการเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายที่ถูกปิดบังเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นเหตุอย่างอื่นอันสมควรที่ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่งได้แล้ว นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องไม่เคยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นเลย ซึ่งเมื่อนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก จนถึงวันที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษ จึงเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่ผู้ร้องจะสามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นได้แล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นของผู้ตายจนเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องทำผิดหน้าที่และละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกอันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง การที่ผู้คัดค้านทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทนนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีเหตุที่ศาลจะสั่งถอนได้ ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอาจจะไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมแต่ให้ตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้หากศาลเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทายาททุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากกองมรดกด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอยู่เดิมมีเจตนาปกปิดจำนวนทายาทที่แท้จริงและละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ แต่ก็ปรากฏว่าก่อนที่ผู้ตายจะถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยไปเยี่ยมเยียนผู้ตายเลย แม้ขณะผู้ตายป่วยก็ไม่เคยไปดูแล ทั้งเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ไม่ไปร่วมงานศพ และไม่มีส่วนออกค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพของผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านที่ 1 อาจจะไม่ค่อยมีความผูกพันหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ตายมากนัก การจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านที่ 1 คนใดคนหนึ่งให้เป็นผู้จัดการมรดกเพียงลำพังจึงอาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่อีกฝ่ายและไม่เกิดประโยชน์แก่กองมรดกสมดังเจตนาของผู้ตาย เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ที่ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน
กฎหมายมรดก-พินัยกรรม,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8713
Legal
ใช่หรือไม่ที่ บิดาสามารถร้องศาลให้พิพากษาให้จดทะเบียนรับรองบุตรได้ แม้มารดาเด็กจะไม่ยินยอม
null
ใช่ บิดาสามารถร้องศาลให้พิพากษาให้จดทะเบียนรับรองบุตรได้ แม้มารดาเด็กจะไม่ยินยอม แต่เฉพาะกรณีที่เข้าตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 1. กรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา 2. กรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม 3. กรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กไม่อาจให้ความยินยอมได้ หลักฐานที่บิดาต้องเตรียม - หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ฉันท์สามีภริยา เช่น ภาพถ่าย ข้อความสนทนา เอกสารการจองห้องพัก ฯลฯ - หลักฐานการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ - หลักฐานการช่วยเหลือดูแลบุตร เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าเลี้ยงดู บัตรประกันสุขภาพ ฯลฯ - หลักฐานอื่นๆ ที่สนับสนุนว่าบิดาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร กระบวนการทางศาล บิดายื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กมีภูมิลำเนา ศาลนัดไต่สวนและพิจารณาพยานหลักฐาน ศาลมีคำพิพากษา กรณีที่ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนรับรองบุตร บิดาสามารถนำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนรับรองบุตรกับนายทะเบียนได้ บุตรจะกลายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา บิดามีสิทธิและหน้าที่ต่อบุตรเช่นเดียวกับบิดาชอบด้วยกฎหมายทั่วไป กรณีที่ศาลพิพากษาไม่ให้จดทะเบียนรับรองบุตร บิดาสามารถอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ ข้อควรระวัง การจดทะเบียนรับรองบุตรไม่ส่งผลให้บิดาได้อำนาจปกครองบุตรโดยอัตโนมัติ อำนาจปกครองบุตรยังคงอยู่ที่มารดาเด็ก บิดาสามารถร้องต่อศาลขอเปลี่ยนอำนาจปกครองบุตรได้ สรุป บิดาสามารถร้องศาลให้พิพากษาให้จดทะเบียนรับรองบุตรได้ แม้มารดาเด็กจะไม่ยินยอม แต่เฉพาะกรณีที่เข้าตามเงื่อนไข ดังที่กล่าวมาข้างต้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายเยาวชนและครอบครัว พรบ
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8714
Legal
วิธีการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมาย คนที่ประสงค์รับบุตรบุญธรรม จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่ากี่ปี
1. 15 ปี 2. 20 ปี 3. 25 ปี 4. 25 ปี
คำตอบที่ถูกต้องคือ 4. เพราะว่า วิธีการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายในกรณีที่ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นเด็กค่อนข้างยุ่งยาก กว่าการรับคนที่บรรลุนิติภาวะแล้วเป็นบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมโดยทั่วไปคนรับบุตรบุญธรรม จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 25 ปี ส่วนคนที่จะเป็นบุตรบุญธรรมจะมีอายุเท่าใดก็ได้ แต่จะต้องมีอายุอ่อนกว่า ผู้รับบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ในกรณีที่ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมยังเป็นเด็กอยู่ การรับบุตรบุญธรรมจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอม ของพ่อและแม่ของเด็กเสียก่อน ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งของเด็กตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง การรับบุตรบุญธรรม จะต้องได้รับจากพ่อหรือแม่ซึ่งยังมีอำนาจปกครอง ถ้าไม่มีพ่อแม่ หรือมีแต่พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ หรือไม่ให้ความยินยอม และการไม่ให้ความยินยอมนั้น ปราศจากเหตุผลอันสมควร และเป็นปฏิปักษ์ต่อ สุขภาพความเจริญหรือสวัสดิภาพของเด็ก ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือพ่อหรือแม่ของเด็กหรือพนักงานอัยการ จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของพ่อและหรือแม่ของเด็กก็ได้
กฎหมายเยาวชนและครอบครัว
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8715
Legal
ข้อใดไม่ใช่อำนาจของพ่อแม่ต่อเด็ก ตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567
ก. ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป ข. หน่วงเหนี่ยว กักขัง ค. หน่วงเหนี่ยว กักขัง ง. ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
คำตอบได้แก่ ค. เพราะว่า กฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 ได้บัญญัติเกี่ยวกับอำนาจของพ่อแม่ต่อเด็กไว้ดังนี้ "ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ (1) กำหนดที่อยู่ของบุตร (2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน (3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป (4) เรียกบุตรคืนจากผู้อื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย" เห็นได้ว่ากฎหมายตามมาตรา 1567(2) ก็ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องภายในครอบครัวด้วย แม้กระทั่งการลงโทษลูกก็ยังต้องกระทำตามสมควร และเป็นไปเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนเท่านั้นจะไปทำโทษ เพราะพ่อหรือแม่เครียดมาจากเรื่องอื่นแล้ว มาทำโทษเด็กโดยที่เด็กไม่ได้ทำผิดก็ไม่ได้ อันนี้กฎหมายเขาคุ้มครองส่วนที่ว่าจะลงโทษอย่างไรถึงสมควรนั้นคงต้องดูพฤติการณ์ที่เด็กกระทำผิดว่า ร้ายแรงมากน้อยแค่ไหน และมาตรการที่ใช้ลงโทษเด็กจะต้องมีความเหมาะสม ได้สัดส่วนด้วย ซึ่งคงต้องดูกันเป็นเรื่องๆ ไปแล้วแต่กรณี
กฎหมายเยาวชนและครอบครัว พรบ,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8716
Legal
“บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้” เป็นการบัญญัติในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราใด
1. มาตรา 1564 2. มาตรา 65 3. มาตรา 429 4. มาตรา 1563
ข้อที่ถูกต้องได้แก่ 1. เพราะว่า เพราะกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บัญญัติว่า “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้” วันที่ 31 ธันวาคม 2549 มีเหตุการณ์เกิดระเบิดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร ที่ไม่น่าเกิดขึ้นในวันส่งท้ายปีเก่าต้องรับปีใหม่ ระเบิดครั้งนี้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีโทรศัพท์ขู่วางระเบิดอีกหลายจุด ปลายปีเก่าเลยมีแต่เรื่องเศร้า ไม่มีใครกล้าฉลองปีใหม่ ผู้คนไม่กล้าออกจากบ้าน เกิดความวิตกกังวล บางคนมีอาการเครียด เหมือนเป็นโรคทางประสาท วันที่ 5 มกราคม 2550 หนังสือพิมพ์คมชัดลึก รายงานภาพข่าวชายคนหนึ่งว่า “เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวนาย……….. ผู้ต้องหาขู่วางระเบิด สน.ท่าพระ มาแถลงข่าวที่กองบังคับบัญชาการตำรวจนครบาล 8 ขณะที่แม่ถึงกับปล่อยโฮ ยืนยันลูกชายสติไม่สมประกอบ…” ข่าวในวันต่อมา จับเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่โทรศัพท์ว่าจะมีระเบิดที่โรงเรียน สองเด็กแล้ว เด็กบอกว่า “อยากให้โรงเรียนปิดเรียนบ้าง” ยังมีรายงานข่าวว่ามีเด็กหลายคนโทรศัพท์ไปที่ 191 แจ้งว่าจะมีระเบิดเกิดขึ้น ไม่ทราบบ้านเมืองเรากำลังเกิดอะไรขึ้น ทั้งผู้ใหญ่ เด็ก ต่าง มีความทุกข์ใช่ไหม คนเหล่านี้ไม่รู้จะไปพูดกับใครใช่หรือไม่ ภาพที่แม่ปล่อยโฮ บอกว่ามีลูกชายเป็นโรคประสาท สาเหตุเกิดจากอะไร ไม่มีใครรู้ ภาพแม่ที่อุ้มลูกไปขอทาน ไปขโมยของ ไปทำมาหากินทิ้งลูกไว้ในบ้าน พ่อหรือแม่บางคนต้องวิ่งตามลูกที่มีอาการป่วยทางจิต คนเหล่านี้กำลังมีความทุกข์ ภาพลูกเป็นโรคประสาทโตแล้วอายุคงเกิน 20 ปีตามกฎหมายถือว่าบรรลุนิติภาวะ ซึ่งเขาต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 “บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา” แต่ถ้าชายคนนี้แม่บอกว่าเป็นโรคทางประสาทกฎหมายไม่ได้บอกว่าลูกเป็นโรคนี้ใครเป็นคนต้องดูแลทั้งที่เขาไม่อาจหาเลี้ยงตนเองได้ ตามหลักศีลธรรม พ่อแม่นั่นแหละต้องเลี้ยงดู กฎหมายแพ่ง พ่อแม่จะต้องเลี้ยงดูลูกที่โตแล้วในกรณีนี้เท่านั้น มาตรา 1564 “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้” แต่มาตรา 429 “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคล เช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น” ถ้าลูกที่เป็นโรคทางประสาทจะเป็น “วิกลจริต” หรือไม่ พ่อแม่คงต้องเหนื่อยที่ต้องไปพิสูจน์ว่าลูกและแม่ไม่ต้องร่วมรับผิด คดีอาญา มาตรา 65 ผู้ใดกระทำความผิดในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือนผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ การตีความผู้กระทำผิด ที่ว่า “ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ” “ไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง” “โรคจิต” “จิตฟั่นเฟือน” เป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะตรวจและให้ความเห็นถึงอาการเหล่านี้ พ่อแม่หรือผู้ที่เป็นผู้ปกครองดูแลผู้ป่วยทางจิต ควรนำลูกหลานไปหาหมอเพื่อรักษาประวัติการรักษาเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างมากสำหรับการต่อสู้คดีอาญา
กฎหมายเยาวชนและครอบครัว พรบ,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8717
Legal
ภรรยาของปิยพัทธ์จะต้องรับผิดชอบชำระหนี้ตามคำพิพากษาฎีกาหรือไม่?
(A) ต้องรับผิดชอบชำระหนี้ทั้งหมด (B) ไม่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้ (C) ต้องรับผิดชอบชำระหนี้เพียงบางส่วน (D) ไม่สามารถระบุได้
ข้อที่ถูกต้องคือ (D) ไม่สามารถระบุได้ เพราะว่า เหตุผล: (A) ต้องรับผิดชอบชำระหนี้ทั้งหมด ปิยพัทธ์ สามีของศิริยา เป็นผู้กู้ยืมเงินและนำที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสไปจำนอง ตามกฎหมาย ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส ถือเป็นสินสมรส ศิริยา ในฐานะคู่สมรส มีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นระหว่างสมรส ศาลฎีกาไม่ได้วินิจฉัยว่า ศิริยา ไม่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้ (B) ไม่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้ ศิริยา ไม่ได้เป็นผู้กู้ยืมเงินและไม่ได้เซ็นสัญญาจำนอง ศิริยา อ้างว่าไม่รู้เห็นหรือยินยอมให้สามีนำที่ดินไปจำนอง ตามกฎหมาย คู่สมรสมีสิทธิ์เพิกถอนนิติกรรมที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อให้เกิดขึ้นโดยไม่ได้รับความยินยอม ศาลฎีกาไม่ได้วินิจฉัยว่า ศิริยา ต้องรับผิดชอบชำระหนี้ (C) ต้องรับผิดชอบชำระหนี้เพียงบางส่วน ศิริยา อาจต้องรับผิดชอบชำระหนี้บางส่วนหากศาลพิพากษาว่า ศิริยา รู้เห็นหรือยินยอมให้สามีนำที่ดินไปจำนอง ศาลฎีกาไม่ได้วินิจฉัยว่า ศิริยา ต้องรับผิดชอบชำระหนี้เพียงบางส่วน (D) ไม่สามารถระบุได้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาและพิพากษาใหม่ ยังไม่มีคำพิพากษาที่ชัดเจนว่า ศิริยา จะต้องรับผิดชอบชำระหนี้หรือไม่ ข้อที่ถูกต้อง: (D) ไม่สามารถระบุได้ เหตุผล: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาและพิพากษาใหม่ ยังไม่มีคำพิพากษาที่ชัดเจนว่า ศิริยา จะต้องรับผิดชอบชำระหนี้หรือไม่ ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เช่น ศิริยา รู้เห็นหรือยินยอมให้สามีนำที่ดินไปจำนองหรือไม่ โจทก์รู้หรือไม่ว่าที่ดินที่จำนองเป็นสินสมรส ผลของคดีจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและวินิจฉัยของศาลชั้นต้น หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในทางกฎหมายได้ คดีความแต่ละคดีมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและวินิจฉัยของศาล
กฎหมายเยาวชนและครอบครัว พรบ,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8719
Legal
หญิงที่แต่งงานแล้ว แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส สามารถใช้นามสกุลของสามีได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 ระบุว่า "บุตรที่เกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น" หมายความว่า หญิงที่แต่งงานแล้วแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส บุตรที่เกิดมาจะถือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิงเพียงฝ่ายเดียว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 วรรค 1 บัญญัติว่า "บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา" หมายความว่า บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิใช้นามสกุลของบิดา อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ บุตรที่เกิดจากหญิงที่แต่งงานแล้วแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่ได้ถือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชาย ดังนั้น บุตรจึงไม่มีสิทธิใช้นามสกุลของสามีตามกฎหมาย เพิ่มเติม หญิงที่แต่งงานแล้วแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต้องการใช้นามสกุลของสามี สามารถทำได้โดย: ไปจดทะเบียนสมรสกับสามี เปลี่ยนชื่อสกุลตามกฎหมาย สรุป หญิงที่แต่งงานแล้วแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่สามารถใช้นามสกุลของสามีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องการใช้นามสกุลของสามี ต้องจดทะเบียนสมรส หรือเปลี่ยนชื่อสกุลตามกฎหมาย ข้อควรระวัง การใช้นามสกุลของสามีโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส อาจก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายในอนาคต เช่น กรณีทำธุรกรรมทางการเงิน การรับมรดก ฯลฯ ควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาทนายความก่อนตัดสินใจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายเยาวชนและครอบครัว พรบ
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8722
Legal
ภริยาสามารถฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทโดยไม่ต้องมีหนังสือยินยอมจากสามีได้หรือไม่?
(A) ได้ ถ้าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของภริยา (B) ได้ ถ้าผู้เช่าเป็นบุคคลที่สามีรู้จักและสนิทสนม (C) ได้ ถ้าผู้เช่าไม่ยอมจ่ายค่าเช่า (D) ไม่ได้
ข้อที่ถูกต้องคือ (D) ไม่ได้ เพราะว่า เหตุผล: (A) ได้ ถ้าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของภริยา ตามกฎหมาย ภริยาสามารถฟ้องคดีเกี่ยวกับสินส่วนตัวได้โดยไม่ต้องมีหนังสือยินยอมจากสามี อย่างไรก็ดี ภริยาต้องพิสูจน์ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของเธอ (B) ได้ ถ้าผู้เช่าเป็นบุคคลที่สามีรู้จักและสนิทสนม การรู้จักหรือสนิทสนมกับสามีไม่มีผลต่อสิทธิของภริยาในการฟ้องคดี ภริยาสามารถฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องมีหนังสือยินยอมจากสามี (C) ได้ ถ้าผู้เช่าไม่ยอมจ่ายค่าเช่า การไม่จ่ายค่าเช่าเป็นเหตุผลที่เพียงพอสำหรับการฟ้องขับไล่ผู้เช่า อย่างไรก็ดี ภริยาต้องแจ้งผู้เช่าให้ทราบถึงการผิดสัญญาและให้โอกาสในการแก้ไขก่อน (D) ไม่ได้ ตามหลักกฎหมาย ภริยาต้องมีหนังสือยินยอมจากสามีในการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส ที่ดินพิพาทอาจเป็นสินสมรส ภริยาจึงต้องมีหนังสือยินยอมจากสามีในการฟ้องขับไล่ผู้เช่า ข้อที่ถูกต้อง: (D) ไม่ได้ เหตุผล: ตามหลักกฎหมาย ภริยาต้องมีหนังสือยินยอมจากสามีในการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส ที่ดินพิพาทอาจเป็นสินสมรส ภริยาจึงต้องมีหนังสือยินยอมจากสามีในการฟ้องขับไล่ผู้เช่า แม้ว่าผู้เช่าจะไม่ยอมจ่ายค่าเช่า แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่เพียงพอสำหรับภริยาในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าโดยไม่ต้องมีหนังสือยินยอมจากสามี หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงในการตัดสินคดีได้ การตีความกฎหมายมีความซับซ้อน ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของแต่ละคดี ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเพื่อรับคำแนะนำ
กฎหมายเยาวชนและครอบครัว พรบ,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8725
Legal
งานวันสิทธิความหลากหลายทางเพศที่จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 มีชื่องานว่าอะไร
null
งานวันสิทธิความหลากหลายทางเพศที่จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 เวลา 09.00 17.00 น. ณ โรงภาพยนตร์ลิโด้ สยามสแควร์ กรุงเทพมหานคร จัดขึ้นภายใต้ชื่อ “สิทธิความหลากหลายทางเพศ …กว่าจะถึงวันฟ้าใส” เพื่อกระตุ้นและทบทวนบทบาท รวมทั้งร่วมกำหนดแนวทางการทำงานในประเด็นสิทธิความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยโดยองค์กรต่างๆ ทั้งในและนอกเครือข่าย พร้อมกันนั้นยังเป็นการประชาสัมพันธ์ “หลักการยอกยาการ์ตา” ว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ และประสานความร่วมมือกับเครือข่ายอื่นในระดับนานาชาติ ซึ่งทำงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศเช่นเดียวกัน ทางคณะผู้จัดงานคาดว่างานในครั้งนี้จะได้รับความสนใจจากคนที่ทำงานด้านสิทธิ มนุษยชนเพื่อกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และบุคคลทั่วไป ทั้งที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด มาร่วมงานประมาณ 300 คน จัดงานโดยเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ร่วมกับ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ, ภาคีความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ, Global Fund for Women และสำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ภายในงานจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ เช่น ซุ้มแสดงนิทรรศการ, การเสวนาในประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวกับสิทธิฯ ของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ การแสดงจากเยาวชนเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ, การแสดง Talk Show จากนักพูดชื่อดัง, การเสวนาวิชาการเกี่ยวกับการทำงานเรื่องสิทธิฯ, การฉายหนังสั้นสีรุ้ง และขบวนร่มสีรุ้งโดยผู้เข้าร่วมงาน เพื่อแสดงถึงการสนับสนุนความเท่าเทียมกันด้านสิทธิมนุษยชนของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ
กฎหมายสิทธิมนุษยชน,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),ข่าวสารทั่วไป สถิติต่างๆ
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8726
Legal
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
null
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที 9 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ประกาศว่า โดยที่สมควรมีกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมตามรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับใด ๆในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัด หรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงาน ประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่อ อย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาคราชการ ส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้น โดยพระราชบัญญัต ิหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มี พระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา 5 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำ ในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้อง เจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ ถือว่า กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง มาตรา 6 ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิด ในการนั้น เป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงาน ของรัฐไม่ได้ มาตรา 7 ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ ต้องรับผิด หรือต้องร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิ ขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐแล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความ ในคดีถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับ ผิดให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปถึงหกเดือนนับแต่ วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด มาตรา 8 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิด ของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจ หรือประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใดให้ คำนึงถึง ระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์ โดย มิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้ ถ้ากาละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่อง ของหน่วยงานของรัฐ หรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าว ออกด้วย ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ เจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น มาตรา 9 ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียก ให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงาน ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นแก่ผู้เสียหาย มาตรา 10 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัด หรือไม่ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลมแต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติ หน้าที่ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหม ทดแทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตามวรรคหนึ่งให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่หน่วย งานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และกรณีที่หน่วยงาน ของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐม คำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง มาตรา 11 กรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา 5 ผู้เสียหายจะยื่นคำขอ ต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐาน และพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้วหากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของ หน่วยงานของรัฐก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วย คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัยให้หน่วยงาน ของรัฐพิจารณาคำขอที่ได้รับตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หากเรื่องใด ไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้นจะต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือกำกับหรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นทราบและขออนุมัติขยายระยะเวลาออกไป ได้ แต่รัฐมนตรีดังกล่าวจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาให้อีกได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน มาตรา 12 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหาย ตามมาตรา 8 หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำ ละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหาย มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด มาตรา 13 ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8 และมาตรา 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึงรายได้ ฐานะครอบครัวและความรับ ผิดชอบ และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย มาตรา 14 เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามมาตรา 11 ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง มาตรา 15 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎหมายปกครองว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8728
Legal
ฐานความผิดทางจราจรในข้อใดมีโทษทั้งเพิกถอนใบขับขี่ จำคุก และปรับ
A. ผู้ขับที่รับหรือเสพเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน B. ผู้ขับที่รับหรือเสพเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย C. ขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลและทรัพย์สิน D. ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
คำตอบที่ถูกต้องคือ B. เนื่องจาก ตรงกับโทษตาม ม.43ทวิ, 157ทวิ วรรคสาม ระบุว่า มาตรา 43 ทวิ(1) ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจการมีอำนาจจัดให้มีการตรวจสอบ ผู้ขับขี่รถบางประเภทตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าได้เสพยาเสพติดให้โทษหรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามวรรคหนึ่งหรือไม่ และหากผลการตรวจสอบในเบื้องต้นปรากฏว่าผู้ขับขี่นั้นไม่ได้เสพก็ให้ผู้ขับขี่นั้นขับรถต่อไปได้ ในกรณีที่ผู้ขับขี่ตามวรรคสองไม่ยอมให้ตรวจสอบ ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจการมีอำนาจกักตัวผู้นั้นไว้ เพื่อดำเนินการตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณีเพื่อให้การตรวจสอบเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและเมื่อผู้นั้นยอมรับการตรวจสอบแล้วหากผลการตรวจสอบในเบื้องต้นปรากฏว่าไม่ได้เสพ ก็ให้ปล่อยตัวไปทันที การตรวจสอบตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 157 ทวิ(5)) ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรพนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจการที่ให้มีการตรวจสอบผู้ขับขี่ตามมาตรา 43 ทวิ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการที่ให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ตามมาตรา 43 ตรี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอีกหนึ่งในสาม และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ และถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
กฎหมายจราจร,กฎหมายอาญาความผิดลหุโทษ
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8730
Legal
ฉันสามารถดัดแปลงเพลงที่ได้รับลิขสิทธิ์โดยเปลี่ยนทำนองบางส่วน โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่?
null
ไม่ การดัดแปลงเพลงที่ได้รับลิขสิทธิ์โดยเปลี่ยนทำนองบางส่วน ถือเป็นการ "ดัดแปลง" ตามนิยามในมาตรา 2 (5) ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 การดัดแปลงงานลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ข้อยกเว้น: อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นบางประการที่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงเพลงที่ได้รับลิขสิทธิ์โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวอย่างเช่น 1. การดัดแปลงเพื่อการสอน: การดัดแปลงเพลงที่ได้รับลิขสิทธิ์เพื่อการสอนในสถานศึกษา ถือเป็นการใช้โดยสุจริตตามมาตรา 28 (1) ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2. การดัดแปลงเพื่อการวิจัย: การดัดแปลงเพลงที่ได้รับลิขสิทธิ์เพื่อการวิจัย ถือเป็นการใช้โดยสุจริตตามมาตรา 28 (1) ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 3. การดัดแปลงเพื่อเสียดสีหรือล้อเลียน: การดัดแปลงเพลงที่ได้รับลิขสิทธิ์เพื่อเสียดสีหรือล้อเลียน ถือเป็นการใช้โดยสุจริตตามมาตรา 28 (2) ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ สรุป: โดยทั่วไปแล้ว การดัดแปลงเพลงที่ได้รับลิขสิทธิ์โดยเปลี่ยนทำนองบางส่วน ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นบางประการที่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงเพลงโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการดัดแปลง คำแนะนำ: หากคุณต้องการดัดแปลงเพลงที่ได้รับลิขสิทธิ์ ขอแนะนำให้ปรึกษาทนายความเพื่อขอคำแนะนำทางกฎหมาย หมายเหตุ: คำตอบนี้เป็นเพียงข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้เป็นคำแนะนำทางกฎหมาย คุณควรปรึกษาทนายความเพื่อขอคำแนะนำทางกฎหมายที่เฉพาะเจาะจงกับสถานการณ์ของคุณ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า)
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_8732
Legal
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ บัญญัติว่าอย่างไร
1. กรรมการต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ 2. รัฐพึงมีแนวนโยบายพื้นฐานว่าด้วยกิจการพลังงาน 3. กรรมการต้องมีสัญชาติไทย 4. ให้มีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 5. พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่การประกอบกิจการพลังงานทั่วราชอาณาจักร
ข้อที่ถูกต้องได้แก่ 2. เนื่องจาก เพราะพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ บัญญัติว่า รัฐพึงมีแนวนโยบายพื้นฐานว่าด้วยกิจการพลังงาน ดังต่อไปนี้ (๑) จัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการ มีคุณภาพ มีความมั่นคง และมีระดับราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยเน้นการใช้ประโยชน์และพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนและพลังงานที่มีอยู่ภายในประเทศ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดการพึ่งพาพลังงานนำเข้าจากต่างประเทศ (๒) ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รวมถึงส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและระบบกระจายศูนย์ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อลดการลงทุนในการใช้พลังงาน ลดต้นทุนทางด้านเชื้อเพลิงในกิจกรรมการผลิต และลดผลกระทบด้านสุขภาพและผลกระทบข้างเคียงอื่นๆ จากการผลิตและใช้พลังงาน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ (๓) ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการและตรวจสอบการดำเนินงานด้านพลังงาน เพื่อให้มั่นใจว่าการจัดการและกำหนดอัตราค่าบริการเป็นไปด้วยความโปร่งใสโดยมีองค์กรกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานทำหน้าที่คุ้มครองผู้ใช้พลังงาน และให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย (๔) ส่งเสริมสังคมให้มีความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมที่ถูกต้องต่อการใช้พลังงานอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า (๕) สนับสนุนกิจการไฟฟ้าเพื่อสาธารณูปโภคพื้นฐาน การรักษาความมั่นคงและเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า โดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการในกิจการระบบโครงข่ายไฟฟ้า ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้ประกอบกิจการระบบส่งไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นผู้ประกอบกิจการระบบจำหน่ายไฟฟ้ารวมทั้งการรักษาสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมของกิจการไฟฟ้าของรัฐ
กฎหมายพลังงาน
Multiple choice
cc-by-sa-4.0
Legal_8733
Legal
ช่วยสรุป พระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้หน่อยครับ
สรุปพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ สรุปพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงอื่นๆ ที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา แต่ไม่รวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ “สภาสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สภามหาวิทยาลัยหรือสภาสถาบันอุดมศึกษาแล้วแต่กรณี ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น “ส่วนราชการ” หมายความว่า คณะ สถาบัน สำนัก ศูนย์ หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ทั้งนี้ ที่ได้รับการจัดตั้งให้เป็นส่วนราชการในสถาบันอุดมศึกษา “ส่วนงานภายใน” หมายความว่า คณะ สถาบัน สำนัก ศูนย์ หรือส่วนงานภายในที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ทั้งนี้ ที่ได้รับการจัดตั้งให้เป็นส่วนงานภายในและมิใช่ส่วนราชการ มาตรา ๔ นอกจากการตั้งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาแล้วเมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินภารกิจตามวัตถุประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษา สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจมีมติให้จัดตั้งส่วนงานภายในที่ดำเนินงานจากรายได้ของสถาบันอุดมศึกษาได้ โดยทำเป็นประกาศของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานและคุณภาพในการจัดตั้งส่วนงานภายในคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการจะกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขให้สภาสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติก็ได้ มาตรา ๕ การบริหารและการดำเนินงานของส่วนงานภายในที่จัดตั้งตามมาตรา ๔ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖ ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษากำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการมีสิทธิหรือหน้าที่อย่างใด ให้หัวหน้าส่วนงานภายในมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกัน เว้นแต่ข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาที่ออกตามมาตรา ๕ จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา ๗ ให้บรรดาคณะ สถาบัน สำนัก ศูนย์ หรือส่วนงานภายในที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้อนุมัติให้จัดตั้งขึ้นเป็นส่วนงานภายในหรือเป็นส่วนงานในกำกับของสถาบันอุดมศึกษาอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ​
สรุปพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ พรบ. นี้ให้อำนาจ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐจัดตั้งส่วนงานภายใน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของสถาบันฯ ได้ เช่น คณะ สถาบัน สำนัก ศูนย์ ฯลฯ จากรายได้ของสถาบันฯ โดยทำเป็นประกาศของสถาบันฯ และเพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานและคุณภาพของส่วนงานภายใน คณะกรรมการการอุดมศึกษาฯ จะกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขให้สภาสถาบันฯ ต้องปฏิบัติก็ได้ การบริหารและการดำเนินงานของส่วนงานภายในที่จัดตั้งขึ้นให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบันฯ หัวหน้าส่วนงานภายในมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันกับหัวหน้าส่วนราชการของสถาบันฯ เว้นแต่ข้อบังคับของสถาบันฯ จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนงานในสถาบันฯ เช่น คณะ สถาบัน สำนัก ศูนย์ ฯลฯ ที่มีมาก่อน พรบ. นี้ก็จัดให้เป็นส่วนงานภายในของสถาบันฯ ตามพรบ. นี้
กฎหมายปกครอง(วิธีปฏิบัติราชการ-จัดตั้งและพิจารณาคดีของศาลปกครอง),พระราชกำหนด,พระราชกฤษฎีกา,กฎกระทรวง,ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ(องค์การส่วนปกครองท้องถิ่น)
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8734
Legal
จงสรุป พระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ หมวดที่ 3
ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด นิติกรรมที่ผู้ว่าการกระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง ย่อมไม่ผูกพัน กทพ.เว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน มาตรา ๒๘ ในกรณีที่ผู้ว่าการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงให้รองผู้ว่าการผู้มีอาวุโสสูงสุดตามลำดับเป็นผู้ทำการแทนหรือรักษาการในตำแหน่ง ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนหรือรักษาการในตำแหน่ง ให้ผู้ทำการแทนหรือรักษาการในตำแหน่งมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับผู้ว่าการ เว้นแต่อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการในฐานะกรรมการ มาตรา ๒๙ ประธานกรรมการและกรรมการย่อมได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๓๐ ประธานกรรมการ กรรมการ พนักงาน และลูกจ้าง อาจได้รับโบนัสตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๓๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานกรรมการ กรรมการผู้ว่าการ พนักงาน และบุคคลซึ่งผู้ว่าการมอบหมายตามมาตรา ๔๑ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ การสร้าง การบำรุงรักษาและการดำเนินงานทางพิเศษ มาตรา ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการสร้างหรือขยายทางพิเศษ การบำรุงรักษาทางพิเศษและการป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดแก่ทางพิเศษ ให้ กทพ. มีอำนาจที่จะใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองของบุคคลใด ๆ ซึ่งมิใช่โรงเรือนที่คนอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบธุรกิจเป็นการชั่วคราว โดยกำหนดเงินค่าตอบแทนให้ตามสมควรภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) การใช้สอยหรือเข้าครอบครองนั้นเป็นการจำเป็นสำหรับการสร้างหรือขยายทางพิเศษการบำรุงรักษาทางพิเศษ หรือการป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดแก่ทางพิเศษ (๒) กทพ. มีหนังสือแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ทราบถึงกำหนดเวลาและกิจกรรมที่จะต้องกระทำ รวมทั้งเหตุผลความจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้นั้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนการเข้าใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น และให้ประกาศให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทราบ โดยอย่างน้อยให้ทำสำเนาหนังสือดังกล่าวปิดไว้ ณ ที่ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ และ ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอแห่งท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ทั้งนี้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้รับแจ้งเมื่อพ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันปิดประกาศสำเนาหนังสือ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจยื่นคำร้องแสดงเหตุที่ไม่สมควรทำเช่นนั้นไปยังคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด (๓) หากการใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์มีความจำเป็นที่จะต้องรื้อถอนหรือทำลายสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งมิใช่โรงเรือนที่คนอยู่อาศัย หรือตัดฟันต้นไม้ ให้ กทพ. มีอำนาจรื้อถอนหรือทำลายสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว หรือตัดฟันต้นไม้ได้เท่าที่จำเป็น ในการปฏิบัติตามมาตรานี้ ให้พนักงานและลูกจ้างแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่การปฏิบัติตามมาตรานี้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองหรือผู้ทรงสิทธิอื่นในอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากการกระทำของพนักงานและลูกจ้าง บุคคลนั้นย่อมเรียกค่าเสียหายจาก กทพ. ได้ มาตรา ๓๓ ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วน เพื่อป้องกันอันตรายหรือแก้ไขความเสียหายที่ร้ายแรงภายในทางพิเศษ ให้พนักงานหรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานมีอำนาจเข้าไปในที่ดิน หรือสถานที่ของบุคคลใดในเวลาใดก็ได้ แต่ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้นด้วย ก็ให้พนักงานแจ้งเหตุจำเป็นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบก่อน และให้นำมาตรา ๓๒ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๓๔ เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางพิเศษถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาตามวรรคหนึ่งโดยมิได้มีการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการได้มาและกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดเจน ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาท ทั้งนี้ การคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทและการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใช้ไป ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๓๕ ในกรณีที่ กทพ. สร้างหรือขยายทางพิเศษผ่านแดนแห่งกรรมสิทธิ์บน เหนือหรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำของบุคคลใดโดยไม่จำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ กทพ. ได้จัดทำทางหรือถนนเพื่อเชื่อมระหว่างทางพิเศษกับทางสาธารณะอื่น ผู้ใดจะสร้างทางหรือถนนหรือสิ่งอื่นใดเพื่อเชื่อมต่อกับทางหรือถนนนั้นหรือลอดหรือข้ามทางหรือถนนนั้น ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก กทพ. การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ กทพ. กำหนด และเมื่อมีความจำเป็นแห่งกิจการทางพิเศษ กทพ. จะเพิกถอนเสียก็ได้ ทาง ถนน หรือสิ่งอื่นใดที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนวรรคหนึ่ง ให้ กทพ. มีหนังสือแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองดำเนินการรื้อถอนทาง ถนน หรือสิ่งอื่นใดดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันที่ได้ส่งหนังสือแจ้ง ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด ให้ กทพ. มีอำนาจดำเนินการเช่นว่านั้นได้เอง โดยให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองซึ่งทาง ถนน หรือสิ่งอื่นใดนั้นเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ กทพ. ไม่สามารถส่งหนังสือแจ้งให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองตามวรรคสามได้ให้ กทพ. ประกาศให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทราบโดยอย่างน้อยให้ทำเป็นหนังสือปิดไว้ ณ ที่ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ และ ณ สถานที่ตามมาตรา ๓๒ (๒) โดยระบุกำหนดเวลาที่ กทพ. จะเข้าดำเนินการตามวรรคสาม ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบห้าวันนับแต่วันปิดประกาศแจ้งความ เมื่อ กทพ. ได้ปฏิบัติตามวรรคสี่แล้ว ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองได้รับหนังสือแจ้งนั้นแล้ว ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดแก่ทางพิเศษให้ กทพ. มีอำนาจปิดกั้นทาง ถนน หรือสิ่งอื่นใดนั้นได้ และเมื่อหมดความจำเป็นเร่งด่วนดังกล่าวแล้วให้ กทพ. ดำเนินการตามวรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า มาตรา ๓๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๖ ห้ามมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งอื่นใดหรือปลูกต้นไม้หรือพืชผลอย่างใดๆ ในทางพิเศษ หรือเพื่อเชื่อมต่อกับทางพิเศษ เว้นแต่กรณีหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคมีความจำเป็นต้องปักเสาพาดสาย หรือวางท่อในเขตทางพิเศษ หรือเพื่อข้ามหรือลอดทางพิเศษ ให้หน่วยงานของรัฐนั้นทำความตกลงกับ กทพ. ก่อนและถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ในเหตุลักษณะของงานหรือในเรื่องค่าเช่า ให้เสนอรัฐมนตรีเป็นผู้วินิจฉัยคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด ในกรณีที่การดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำโดยเอกชนที่ได้รับสัมปทาน กทพ. อาจเรียกเก็บค่าตอบแทนในการใช้พื้นที่ดังกล่าวได้ โรงเรือนหรือสิ่งอื่นใดที่สร้างขึ้น หรือต้นไม้หรือพืชผลที่ปลูกขึ้นโดยฝ่าฝืนวรรคหนึ่งให้ กทพ. มีอำนาจรื้อถอนหรือทำลายตามควรแต่กรณี ทั้งนี้ ให้นำความในมาตรา ๓๖ วรรคสามวรรคสี่ วรรคห้า และวรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๓๘ ภายในระยะทางห้าสิบเมตรจากเขตทางพิเศษ ห้ามมิให้ผู้ใดสร้าง ดัดแปลง ติดหรือตั้งป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ทางพิเศษ หรือการจราจรในเขตทางพิเศษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก กทพ. การขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กทพ. กำหนดและให้นำมาตรา ๓๗ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๓๙ ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนด (๑) ทางพิเศษสายใดตลอดทั้งสายหรือบางส่วนที่ต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ (๒) อัตราค่าผ่านทางพิเศษตาม (๑) ตามที่คณะกรรมการกำหนด (๓) ประเภทของรถที่ต้องเสียหรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตาม (๑) มาตรา ๔๐ บุคคลใดใช้รถในทางพิเศษ บุคคลนั้นต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษตามมาตรา ๓๙ (๒) ตามวิธีการที่ กทพ. กำหนด มาตรา ๔๑ ให้พนักงานซึ่งผู้ว่าการแต่งตั้งหรือบุคคลซึ่งผู้ว่าการมอบหมายให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บค่าผ่านทางพิเศษ มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) เรียกเก็บค่าผ่านทางพิเศษตามมาตรา ๓๙ (๒) (๒) สั่งให้บุคคลใดที่ผ่านหรือจะผ่านทางพิเศษหยุดและตรวจสอบเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าผ่านทางพิเศษ (๓) แจ้งให้บุคคลใดๆ มาชี้แจงหรือแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงไม่เสียค่าผ่านทางพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๒ ให้นำกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกมาใช้บังคับแก่การจราจรในทางพิเศษโดยอนุโลม และในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษแก่การจราจรในทางพิเศษ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการจราจรในทางพิเศษได้ มาตรา ๔๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ในทางพิเศษยกเว้นอำนาจเปรียบเทียบ
ว่าด้วยเรื่อง การสร้าง การบำรุงรักษาและการดำเนินงานทางพิเศษ -มาตรา ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการสร้างหรือขยายทางพิเศษ การบำรุงรักษาทางพิเศษและการป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดแก่ทางพิเศษ ให้ กทพ. มีอำนาจที่จะใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองของบุคคลใด ๆ ซึ่งมิใช่โรงเรือนที่คนอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบธุรกิจเป็นการชั่วคราว โดยกำหนดเงินค่าตอบแทนให้ตามสมควรภายใต้เงื่อนไข มีเงื่อนไขดังนี้ 1.ใช้สอยหรือเข้าครอบครองนั้นเป็นการจำเป็นสำหรับการสร้างหรือขยายทางพิเศษการบำรุงรักษาทางพิเศษ 2. กทพ. มีหนังสือแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ทราบถึงกำหนดเวลาและกิจกรรมที่จะต้องกระทำ รวมทั้งเหตุผลความจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้นั้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนการเข้าใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น 3.การสร้าง การบำรุงรักษาและการดำเนินงานทางพิเศษ มาตรา ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการสร้างหรือขยายทางพิเศษ การบำรุงรักษาทางพิเศษและการป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดแก่ทางพิเศษ ให้ กทพ. -มาตรา ๓๓ นกรณีจำเป็นและเร่งด่วน เพื่อป้องกันอันตรายหรือแก้ไขความเสียหายที่ร้ายแรงภายในทางพิเศษ ให้พนักงานหรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานมีอำนาจเข้าไปในที่ดิน หรือสถานที่ของบุคคลใดในเวลาใดก็ได้ แต่ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้นด้วย ก็ให้พนักงานแจ้งเหตุจำเป็นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบก่อน -มาตรา ๓๔ เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางพิเศษถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาตามวรรคหนึ่งโดยมิได้มีการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม -มาตรา ๓๕ ในกรณีที่ กทพ. สร้างหรือขยายทางพิเศษผ่านแดนแห่งกรรมสิทธิ์บน เหนือหรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำของบุคคลใดโดยไม่จำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ -มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ กทพ. ได้จัดทำทางหรือถนนเพื่อเชื่อมระหว่างทางพิเศษกับทางสาธารณะอื่น ผู้ใดจะสร้างทางหรือถนนหรือสิ่งอื่นใดเพื่อเชื่อมต่อกับทางหรือถนนนั้นหรือลอดหรือข้ามทางหรือถนนนั้น ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก กทพ. -มาตรา ๓๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๖ ห้ามมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งอื่นใดหรือปลูกต้นไม้หรือพืชผลอย่างใดๆ ในทางพิเศษ หรือเพื่อเชื่อมต่อกับทางพิเศษ -มาตรา ๓๘ ภายในระยะทางห้าสิบเมตรจากเขตทางพิเศษ ห้ามมิให้ผู้ใดสร้าง ดัดแปลง ติดหรือตั้งป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ทางพิเศษ -มาตรา ๓๙ ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนด -มาตรา ๔๐ บุคคลใดใช้รถในทางพิเศษ บุคคลนั้นต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษตามมาตรา ๓๙ -มาตรา ๔๑ ให้พนักงานซึ่งผู้ว่าการแต่งตั้งหรือบุคคลซึ่งผู้ว่าการมอบหมายให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บค่าผ่านทางพิเศษ -มาตรา ๔๒ ให้นำกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกมาใช้บังคับแก่การจราจรในทางพิเศษโดยอนุโลม และในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษแก่การจราจรในทางพิเศษ -มาตรา ๔๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ในทางพิเศษยกเว้นอำนาจเปรียบเทียบ
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,กฎหมายรัฐธรรมนูญ,พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ,กฎหมายการคลัง
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8735
Legal
พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551 มาตรา ๑๗ บัญญัติว่าอย่างไร
null
พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551 มาตรา ๑๗ บัญญัติว่า เมื่อคู่สัญญาตกลงกันให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาดำเนินการจัดทำสัญญาดูแลผลประโยชน์ตามมาตรา ๖ และดำเนินการเปิดบัญชีดูแลผลประโยชน์เพื่อสัญญารายนั้นกับสถาบันการเงิน และนำเงินที่ได้รับจากคู่สัญญาฝ่ายที่ต้องชำระเงินฝากไว้ในบัญชีดูแลผลประโยชน์ดังกล่าวภายในหนึ่งวันทำการ ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาออกหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการฝากเงินส่งให้คู่สัญญาฝ่ายที่ต้องชำระเงินทุกครั้ง โดยให้ถือว่าหลักฐานดังกล่าวเป็นหลักฐานในการปฏิบัติเกี่ยวกับการชำระหนี้เงินตามสัญญา และให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาแจ้งเป็นหนังสือให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบถึงการฝากเงินนั้นโดยทันที ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คู่สัญญาต้องส่งมอบหรือโอนสิทธิเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญามีหนังสือแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินทราบและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวบันทึกเป็นหลักฐานไว้ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ภายใต้บังคับแห่งสัญญาดูแลผลประโยชน์ และห้ามจดทะเบียนโอนสิทธิในทรัพย์สินนั้นจนกว่าจะได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา มาตรา ๑๘ ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาต้องมีหนังสือแจ้งให้คู่สัญญาทราบถึงรายการฝากหรือโอนเงิน และจำนวนเงินคงเหลือในบัญชีดูแลผลประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_8737
Legal
จงสรุปบทความเรื่อง สรุปพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้หน่อยค่ะ
สรุปพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๐ | เจาะหลัก สกัดฎีกา 5 ดาว เตรียมสอบ 3 สนาม อัพเดท ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม ​ [กลับหน้าหลัก : รวมบทความกฎหมายที่น่าสนใจ] มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “การช่วยเหลือกู้ภัย” หมายความว่า การกระทำหรือกิจกรรมใดที่ได้กระทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือเรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นซึ่งประสบภยันตรายในทะเลหรือน่านน้ำใดๆ “เรือ” หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด “เรือเดินทะเล” หมายความว่า เรือที่มีลักษณะสำหรับใช้ในทะเล ตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย “ทรัพย์สิน” หมายความว่า ทรัพย์สินใดๆ ที่ไม่ได้มุ่งหมายให้ติดตรึงถาวรอยู่กับแนวชายฝั่งและให้หมายความรวมถึงสิทธิที่จะได้รับค่าระวางด้วย “ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม” หมายความว่า ความเสียหายอย่างมากทางกายภาพแก่สุขอนามัยของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตทางทะเล หรือทรัพยากรในน่านน้ำชายฝั่งทะเลในน่านน้ำในประเทศหรือบริเวณต่อเนื่องใกล้เคียง ซึ่งเกิดขึ้นจากมลพิษ การปนเปื้อน อัคคีภัย การระเบิดหรืออุบัติภัยร้ายแรงอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน “เงินตอบแทน” หมายความว่า เงินรางวัล หรือเงินค่าทดแทนพิเศษ ซึ่งต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การช่วยเหลือกู้ภัยที่กระทำในน่านน้ำในประเทศ โดยไม่มีเรือเดินทะเลเข้ามาเกี่ยวข้อง (๒) เรือรบ หรือเรืออื่นใดที่รัฐเป็นเจ้าของและดำเนินการ โดยไม่ได้ใช้หรือมีไว้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการพาณิชย์ในขณะที่ทำการช่วยเหลือกู้ภัยนั้น และได้รับความคุ้มกันของรัฐตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (๓) แท่นที่ตั้งอยู่กับที่หรือลอยน้ำ หรือฐานขุดเจาะในทะเลที่เคลื่อนที่ได้ หากแท่นหรือฐานขุดเจาะนั้นอยู่ในที่ตั้งในขณะที่กำลังทำการสำรวจ แสวงหาประโยชน์ หรือผลิตทรัพยากรแร่ธาตุใต้ท้องทะเล มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมวด ๑ การปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัย ส่วนที่ ๑ สัญญาการช่วยเหลือกู้ภัย มาตรา ๗ ในการทำสัญญาการช่วยเหลือกู้ภัย ให้นายเรือมีอำนาจทำสัญญาแทนเจ้าของเรือและให้เจ้าของเรือหรือนายเรือมีอำนาจทำสัญญาแทนเจ้าของทรัพย์สินบนเรือ มาตรา ๘ ในการบังคับตามสัญญาการช่วยเหลือกู้ภัย ถ้าศาลเห็นว่าสัญญานั้นได้ตกลงทำขึ้นภายใต้ความกดดันโดยมิชอบหรือความกดดันอันเกิดจากภยันตรายที่คุกคาม และมีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม หรือเห็นว่าเงินตอบแทนตามสัญญานั้นได้กำหนดไว้สูง หรือต่ำจนเกินไปเมื่อคำนึงถึงสภาพการปฏิบัติการที่ได้เกิดขึ้นจริง ศาลอาจมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ใช้สัญญานั้นทั้งหมดหรือบางส่วนบังคับแก่คู่สัญญา และใช้บทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับแทน (๒) ปรับเปลี่ยนข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของสัญญานั้น (๓) เพิ่มหรือลดจำนวนเงินตอบแทนที่กำหนดไว้ในสัญญานั้นให้เหมาะสมกับสภาพการปฏิบัติการที่ได้เกิดขึ้นจริง ส่วนที่ ๒ หน้าที่ในการช่วยเหลือกู้ภัย มาตรา ๙ ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยมีหน้าที่ต่อเจ้าของเรือ นายเรือและเจ้าของทรัพย์สินอย่างอื่นที่ประสบภยันตราย ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยด้วยความระมัดระวังตามสมควร (๒) ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) ต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือบรรเทาความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด (๓) ขอความช่วยเหลือจากผู้ช่วยเหลือกู้ภัยรายอื่นเมื่อมีเหตุอันควร (๔) ยอมให้ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยรายอื่นปฏิบัติการหรือเข้าร่วมปฏิบัติการ เมื่อได้รับการร้องขออันควรจากเจ้าของเรือ นายเรือหรือเจ้าของทรัพย์สินอย่างอื่นที่ประสบภยันตราย ทั้งนี้ ถ้าปรากฏว่าการร้องขอดังกล่าวมีขึ้นโดยไม่มีเหตุอันควร ให้การปฏิบัติการหรือเข้าร่วมปฏิบัติการของผู้ช่วยเหลือกู้ภัยรายอื่นนั้นไม่มีผลกระทบต่อเงินรางวัลที่พึงจะได้รับ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่เรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นประสบภยันตราย เจ้าของเรือนายเรือหรือเจ้าของทรัพย์สินอย่างอื่น มีหน้าที่ต่อผู้ช่วยเหลือกู้ภัย ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในระหว่างการปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัย (๒) ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) ต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือบรรเทาความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด (๓) ต้องรับมอบเรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นคืน เมื่อเรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นนั้น ได้ไปอยู่ในสถานที่ปลอดภัยแล้ว และได้รับการร้องขอโดยมีเหตุอันควรจากผู้ช่วยเหลือกู้ภัย มาตรา ๑๑ นายเรือมีหน้าที่ต้องช่วยเหลือบุคคลที่ตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตในทะเลตามความสามารถที่จะกระทำได้โดยไม่ก่อให้เกิดภยันตรายอย่างร้ายแรงแก่เรือและบุคคลบนเรือของตนเจ้าของเรือไม่ต้องรับผิดในผลที่นายเรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หมวด ๒ สิทธิของผู้ช่วยเหลือกู้ภัย มาตรา ๑๒ ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยมีสิทธิได้รับเงินรางวัล ถ้าการช่วยเหลือกู้ภัยนั้น เป็นประโยชน์ต่อการทำให้เรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นปลอดภัย สิทธิในการได้รับเงินรางวัลย่อมไม่เสียไป แม้ว่าเรือที่ปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยจะเป็นเจ้าของเดียวกันกับเรือที่ประสบภยันตราย มาตรา ๑๓ การกำหนดเงินรางวัล ให้ใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้ประกอบกัน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือกู้ภัย (๑) มูลค่าของเรือและทรัพย์สินอย่างอื่นตามสภาพที่ช่วยเหลือกู้ภัยไว้ได้ (๒) ทักษะและความพยายามของผู้ช่วยเหลือกู้ภัยในการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือบรรเทาความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด (๓) ระดับของความสำเร็จของการช่วยเหลือกู้ภัย (๔) สภาพและระดับความรุนแรงของภยันตราย (๕) ทักษะและความพยายามของผู้ช่วยเหลือกู้ภัยในการช่วยเหลือกู้ภัยเรือ ทรัพย์สินอย่างอื่นและชีวิตบุคคล (๖) เวลาที่เสียไปและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น รวมทั้งความสูญเสียที่เกิดแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัย (๗) ความเสี่ยงต่อความรับผิดและความเสี่ยงอย่างอื่นที่เกิดแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการช่วยเหลือกู้ภัย (๘) ความฉับพลันในการให้บริการ (๙) เรือและเครื่องมือต่างๆ ที่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยมีไว้ใช้และที่ได้ใช้ในการช่วยเหลือกู้ภัย (๑๐) การเตรียมพร้อม ประสิทธิภาพและมูลค่าของอุปกรณ์ต่างๆ ของผู้ช่วยเหลือกู้ภัย มาตรา ๑๔ ผู้มีส่วนได้เสียในเรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นต้องจ่ายเงินรางวัลตามส่วนแห่งมูลค่าของเรือและทรัพย์สินอย่างอื่นตามสภาพที่ช่วยเหลือกู้ภัยไว้ได้ ในกรณีที่การช่วยเหลือกู้ภัยเป็นประโยชน์ต่อการทำให้เรือและทรัพย์สินบนเรือปลอดภัยผู้ช่วยเหลือกู้ภัยจะเรียกเอาเงินรางวัลทั้งหมดนั้นจากเจ้าของเรือก็ได้ ในกรณีที่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยใช้สิทธิตามวรรคสอง เจ้าของเรือซึ่งจ่ายเงินรางวัลไปนั้น มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้มีส่วนได้เสียในเรือหรือทรัพย์สินบนเรือตามส่วนที่ผู้มีส่วนได้เสียนั้นจะต้องจ่ายตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๑๕ เงินรางวัลจะต้องไม่เกินมูลค่าของเรือและทรัพย์สินอย่างอื่นตามสภาพที่ช่วยเหลือกู้ภัยไว้ได้ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายในการใช้สิทธิเรียกร้อง มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยได้ปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยเรือ ซึ่งเรือลำนั้นเองหรือสินค้าบนเรือได้คุกคามต่อการที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ช่วยเหลือกู้ภัยไม่ได้รับเงินรางวัลตามมาตรา ๑๓ หรือได้รับเงินรางวัลตามมาตรา ๑๓ แต่น้อยกว่าค่าใช้จ่ายของผู้ช่วยเหลือกู้ภัยผู้ช่วยเหลือกู้ภัยนั้นมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนพิเศษตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้จากเจ้าของเรือลำนั้นเท่ากับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัย หรือส่วนต่างระหว่างค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยกับเงินรางวัลตามมาตรา ๑๓ แล้วแต่กรณี ในกรณีตามที่ได้ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าการปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยซึ่งผู้ช่วยเหลือกู้ภัยได้ป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือบรรเทาความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุดเงินค่าทดแทนพิเศษซึ่งเจ้าของเรือพึงจ่ายให้แก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัย อาจเพิ่มขึ้นได้อย่างสูงถึงร้อยละสามสิบของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัย ทั้งนี้ ศาลอาจเพิ่มเงินค่าทดแทนพิเศษขึ้นได้อีกหากศาลเห็นว่าเป็นธรรมและยุติธรรม โดยพิจารณาตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๓ อย่างไรก็ตามเงินค่าทดแทนพิเศษทั้งหมดที่จะได้รับต้องไม่เกินสองเท่าของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัย ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้หมายถึงค่าใช้จ่ายที่จำเป็นโดยมีเหตุอันควรที่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยต้องจ่ายไป รวมถึงอัตราที่เป็นธรรมสำหรับอุปกรณ์และบุคลากรที่ได้ใช้ไปจริงและมีเหตุอันควร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๓ (๘) (๙) และ (๑๐) ถ้าผู้ช่วยเหลือกู้ภัยประมาทเลินเล่อและไม่ทำการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมหรือบรรเทาความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยนั้นอาจถูกตัดสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนพิเศษตามมาตรานี้ทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน แล้วแต่กรณี บทบัญญัติตามมาตรานี้ไม่กระทบถึงสิทธิไล่เบี้ยของเจ้าของเรือ มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีผู้ช่วยเหลือกู้ภัยหลายราย ให้ใช้เกณฑ์ตามมาตรา ๑๓ เป็นฐานของการคำนวณเงินรางวัลระหว่างผู้ช่วยเหลือกู้ภัยเหล่านั้น มาตรา ๑๘ ในกรณีที่การช่วยเหลือกู้ภัยได้ปฏิบัติการจากเรือไทย การแบ่งเงินรางวัลระหว่างเจ้าของเรือและคนประจำเรือให้พิจารณาว่าการปฏิบัติการนั้นเป็นการนำเรือเข้าเสี่ยงภัยหรือเป็นการปฏิบัติการที่อาศัยทักษะหรือความสามารถเฉพาะตัวของคนประจำเรือ ถ้าปรากฏว่าเป็นกรณีนำเรือเข้าเสี่ยงภัย ให้เงินรางวัลส่วนใหญ่ตกแก่เจ้าของเรือ แต่ถ้าเป็นกรณีที่อาศัยทักษะหรือความสามารถเฉพาะตัวของคนประจำเรือโดยเฉพาะ ให้เงินรางวัลส่วนใหญ่ตกแก่คนประจำเรือทุกคน โดยระหว่างคนประจำเรือด้วยกัน ให้ได้รับส่วนแบ่งเงินรางวัลในอัตราส่วนที่เท่ากัน ทั้งนี้ เว้นแต่จะตกลงกันโดยชัดแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น ในกรณีที่การช่วยเหลือกู้ภัยได้ปฏิบัติการจากเรือต่างประเทศ การแบ่งเงินรางวัลระหว่างเจ้าของเรือและคนประจำเรือ ให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่เรือนั้นชักธง มาตรา ๑๙ ในกรณีที่การช่วยเหลือกู้ภัยไม่ได้ปฏิบัติการจากเรือ การแบ่งเงินรางวัลระหว่างผู้ช่วยเหลือกู้ภัยกับลูกจ้างที่ตนได้ใช้ในการปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่สัญญาระหว่างผู้ช่วยเหลือกู้ภัยกับลูกจ้างนั้น ในกรณีที่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่สัญญาระหว่างผู้ช่วยเหลือกู้ภัยกับลูกจ้างเป็นกฎหมายไทยให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๐ ผู้ที่กระทำการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยไม่มีสิทธิเรียกเงินตอบแทนจากผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตจากการกระทำนั้น ในการช่วยเหลือกู้ภัยที่มีการช่วยชีวิตผู้ประสบภัย ให้ผู้ที่กระทำการช่วยชีวิตนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งที่เป็นธรรมจากเงินตอบแทนที่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยได้รับ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่มีการช่วยชีวิตผู้ประสบภัย ถ้าผู้ที่กระทำการช่วยชีวิตได้กระทำการช่วยเหลือกู้ภัยด้วยในคราวเดียวกัน ศาลอาจเพิ่มเงินตอบแทนที่ผู้กระทำการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยจะได้รับก็ได้ มาตรา ๒๒ ในกรณีที่มีการทำสัญญาไว้ก่อนเกิดภยันตราย การปฏิบัติตามสัญญานั้นไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับเงินตอบแทน เว้นแต่การปฏิบัติการนั้นเป็นการกระทำนอกเหนือไปจากขอบเขตหน้าที่ตามสัญญานั้น มาตรา ๒๓ หากการช่วยเหลือกู้ภัยจำเป็นต้องมีขึ้นหรือต้องยากขึ้นเพราะความผิดหรือการละเลยต่อหน้าที่ของผู้ช่วยเหลือกู้ภัย ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยนั้นอาจเสียสิทธิในการได้รับเงินตอบแทนไปทั้งหมดหรือบางส่วน หากผู้ช่วยเหลือกู้ภัยกระทำการโดยกลฉ้อฉลหรือไม่สุจริต ย่อมสิ้นไปซึ่งสิทธิที่จะได้รับเงินตอบแทนโดยสิ้นเชิง มาตรา ๒๔ การช่วยเหลือกู้ภัยไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับเงินตอบแทน หากได้กระทำไปโดยฝ่าฝืนคำสั่งห้ามอันชัดแจ้งและมีเหตุผลอันสมควรของบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เจ้าของเรือหรือนายเรือ ในกรณีการช่วยเหลือกู้ภัยเรือ ทรัพย์สินบนเรือ หรือทรัพย์สินที่เคยอยู่บนเรือ (๒) เจ้าของทรัพย์สินอย่างอื่นที่ประสบภยันตราย ในกรณีการช่วยเหลือกู้ภัยทรัพย์สินที่ไม่ได้อยู่และไม่เคยอยู่บนเรือ หมวด ๓ สิทธิเรียกร้องเงินตอบแทนและการดำเนินคดี มาตรา ๒๕ ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยย่อมมีบุริมสิทธิทางทะเลเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องในเงินตอบแทนจากการช่วยเหลือกู้ภัยเรือ แต่หากมีการวางหลักประกันเพื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวอันเป็นที่พอใจ ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยนั้นไม่อาจอ้างบุริมสิทธิทางทะเลเหนือเรือนั้นได้อีก มาตรา ๒๖ หากผู้ช่วยเหลือกู้ภัยร้องขอ ให้บุคคลซึ่งต้องรับผิดในเงินตอบแทนจัดให้มีหลักประกันเพื่อสิทธิเรียกร้องในเงินตอบแทนอันเป็นที่พอใจ รวมถึงดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายในการใช้สิทธิเรียกร้องนั้นด้วย มาตรา ๒๗ ก่อนที่จะปล่อยสินค้าไปจากเรือ เจ้าของเรือต้องใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ให้เจ้าของสินค้าจัดให้มีหลักประกันเพื่อสิทธิเรียกร้องในเงินตอบแทนอันเป็นที่พอใจ รวมถึงดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายในการใช้สิทธิเรียกร้องนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ช่วยเหลือกู้ภัยจะร้องขอตามมาตรา ๒๖ หรือไม่ก็ตาม มาตรา ๒๘ ห้ามมิให้เคลื่อนย้ายเรือและทรัพย์สินอย่างอื่นที่ได้รับการช่วยเหลือกู้ภัยออกไปจากท่าเรือหรือสถานที่ที่เรือและทรัพย์สินอย่างอื่นนั้นมาถึงหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยโดยปราศจากความยินยอมจากผู้ช่วยเหลือกู้ภัย เว้นแต่มีการวางหลักประกันเพื่อสิทธิเรียกร้องในเงินตอบแทนของผู้ช่วยเหลือกู้ภัยต่อเรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง มาตรา ๒๙ คำฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการช่วยเหลือกู้ภัยตามพระราชบัญญัตินี้ให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา ๓๐ ในกรณีที่การเรียกร้องเงินตอบแทนเป็นข้อพิพาทเฉพาะเรื่องเงินตอบแทนผู้ช่วยเหลือกู้ภัยอาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องขอต่อศาลในเวลาใดๆ ก่อนพิพากษา ขอให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลซึ่งต้องรับผิดในเงินตอบแทนจ่ายเงินตอบแทนในจำนวนที่ไม่โต้แย้งกัน เมื่อศาลได้รับคำร้องนี้แล้วให้ดำเนินการไต่สวนก่อนก็ได้ ศาลอาจพิจารณาสั่งให้ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยได้รับเงินตอบแทนตามจำนวนที่ร้องขอ เมื่อผู้ช่วยเหลือกู้ภัยได้รับเงินตอบแทนตามจำนวนนั้นแล้ว ให้ลดหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา ๒๖ แก่บุคคลซึ่งต้องรับผิดในเงินตอบแทนตามส่วน มาตรา ๓๑ สิทธิเรียกร้องในเงินตอบแทน ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในสองปีนับแต่วันที่การช่วยเหลือกู้ภัยสิ้นสุดลง ให้เป็นอันขาดอายุความ มาตรา ๓๒ สินค้าซึ่งมิใช่เพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ของรัฐหนึ่งรัฐใดซึ่งได้รับความคุ้มกันของรัฐ ย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้การยึด กัก หรือยึดหน่วงตามกฎหมาย เว้นแต่เป็นกรณีที่รัฐซึ่งเป็นเจ้าของสินค้านั้นให้ความยินยอม มาตรา ๓๓ สินค้าเพื่อมนุษยธรรมซึ่งรัฐหนึ่งรัฐใดได้บริจาค ย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้การยึด กักหรือยึดหน่วงตามกฎหมาย หากรัฐนั้นได้ตกลงจ่ายเงินตอบแทน บทเฉพาะกาล มาตรา ๓๔ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การช่วยเหลือกู้ภัยที่กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “การช่วยเหลือกู้ภัย” หมายความว่า การกระทำหรือกิจกรรมใดที่ได้กระทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือเรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นซึ่งประสบภยันตรายในทะเลหรือน่านน้ำใดๆ “เรือ” หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด “เรือเดินทะเล” หมายความว่า เรือที่มีลักษณะสำหรับใช้ในทะเล ตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย “ทรัพย์สิน” หมายความว่า ทรัพย์สินใดๆ ที่ไม่ได้มุ่งหมายให้ติดตรึงถาวรอยู่กับแนวชายฝั่งและให้หมายความรวมถึงสิทธิที่จะได้รับค่าระวางด้วย “ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม” หมายความว่า ความเสียหายอย่างมากทางกายภาพแก่สุขอนามัยของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตทางทะเล หรือทรัพยากรในน่านน้ำชายฝั่งทะเลในน่านน้ำในประเทศหรือบริเวณต่อเนื่องใกล้เคียง ซึ่งเกิดขึ้นจากมลพิษ การปนเปื้อน อัคคีภัย การระเบิดหรืออุบัติภัยร้ายแรงอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน “เงินตอบแทน” หมายความว่า เงินรางวัล หรือเงินค่าทดแทนพิเศษ ซึ่งต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) การช่วยเหลือกู้ภัยที่กระทำในน่านน้ำในประเทศ โดยไม่มีเรือเดินทะเลเข้ามาเกี่ยวข้อง (๒) เรือรบ หรือเรืออื่นใดที่รัฐเป็นเจ้าของและดำเนินการ โดยไม่ได้ใช้หรือมีไว้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการพาณิชย์ในขณะที่ทำการช่วยเหลือกู้ภัยนั้น และได้รับความคุ้มกันของรัฐตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (๓) แท่นที่ตั้งอยู่กับที่หรือลอยน้ำ หรือฐานขุดเจาะในทะเลที่เคลื่อนที่ได้ หากแท่นหรือฐานขุดเจาะนั้นอยู่ในที่ตั้งในขณะที่กำลังทำการสำรวจ แสวงหาประโยชน์ หรือผลิตทรัพยากรแร่ธาตุใต้ท้องทะเล มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมวด ๑ การปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัย ส่วนที่ ๑ สัญญาการช่วยเหลือกู้ภัย มาตรา ๗ ในการทำสัญญาการช่วยเหลือกู้ภัย ให้นายเรือมีอำนาจทำสัญญาแทนเจ้าของเรือและให้เจ้าของเรือหรือนายเรือมีอำนาจทำสัญญาแทนเจ้าของทรัพย์สินบนเรือ มาตรา ๘ ในการบังคับตามสัญญาการช่วยเหลือกู้ภัย ถ้าศาลเห็นว่าสัญญานั้นได้ตกลงทำขึ้นภายใต้ความกดดันโดยมิชอบหรือความกดดันอันเกิดจากภยันตรายที่คุกคาม และมีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม หรือเห็นว่าเงินตอบแทนตามสัญญานั้นได้กำหนดไว้สูง หรือต่ำจนเกินไปเมื่อคำนึงถึงสภาพการปฏิบัติการที่ได้เกิดขึ้นจริง ศาลอาจมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ใช้สัญญานั้นทั้งหมดหรือบางส่วนบังคับแก่คู่สัญญา และใช้บทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับแทน (๒) ปรับเปลี่ยนข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของสัญญานั้น (๓) เพิ่มหรือลดจำนวนเงินตอบแทนที่กำหนดไว้ในสัญญานั้นให้เหมาะสมกับสภาพการปฏิบัติการที่ได้เกิดขึ้นจริง ส่วนที่ ๒ หน้าที่ในการช่วยเหลือกู้ภัย มาตรา ๙ ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยมีหน้าที่ต่อเจ้าของเรือ นายเรือและเจ้าของทรัพย์สินอย่างอื่นที่ประสบภยันตราย ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยด้วยความระมัดระวังตามสมควร (๒) ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) ต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือบรรเทาความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด (๓) ขอความช่วยเหลือจากผู้ช่วยเหลือกู้ภัยรายอื่นเมื่อมีเหตุอันควร (๔) ยอมให้ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยรายอื่นปฏิบัติการหรือเข้าร่วมปฏิบัติการ เมื่อได้รับการร้องขออันควรจากเจ้าของเรือ นายเรือหรือเจ้าของทรัพย์สินอย่างอื่นที่ประสบภยันตราย ทั้งนี้ ถ้าปรากฏว่าการร้องขอดังกล่าวมีขึ้นโดยไม่มีเหตุอันควร ให้การปฏิบัติการหรือเข้าร่วมปฏิบัติการของผู้ช่วยเหลือกู้ภัยรายอื่นนั้นไม่มีผลกระทบต่อเงินรางวัลที่พึงจะได้รับ มาตรา ๑๐ ในกรณีที่เรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นประสบภยันตราย เจ้าของเรือนายเรือหรือเจ้าของทรัพย์สินอย่างอื่น มีหน้าที่ต่อผู้ช่วยเหลือกู้ภัย ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในระหว่างการปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัย (๒) ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) ต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือบรรเทาความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด (๓) ต้องรับมอบเรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นคืน เมื่อเรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นนั้น ได้ไปอยู่ในสถานที่ปลอดภัยแล้ว และได้รับการร้องขอโดยมีเหตุอันควรจากผู้ช่วยเหลือกู้ภัย มาตรา ๑๑ นายเรือมีหน้าที่ต้องช่วยเหลือบุคคลที่ตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตในทะเลตามความสามารถที่จะกระทำได้โดยไม่ก่อให้เกิดภยันตรายอย่างร้ายแรงแก่เรือและบุคคลบนเรือของตนเจ้าของเรือไม่ต้องรับผิดในผลที่นายเรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หมวด ๒ สิทธิของผู้ช่วยเหลือกู้ภัย มาตรา ๑๒ ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยมีสิทธิได้รับเงินรางวัล ถ้าการช่วยเหลือกู้ภัยนั้น เป็นประโยชน์ต่อการทำให้เรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นปลอดภัย สิทธิในการได้รับเงินรางวัลย่อมไม่เสียไป แม้ว่าเรือที่ปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยจะเป็นเจ้าของเดียวกันกับเรือที่ประสบภยันตราย มาตรา ๑๓ การกำหนดเงินรางวัล ให้ใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้ประกอบกัน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือกู้ภัย (๑) มูลค่าของเรือและทรัพย์สินอย่างอื่นตามสภาพที่ช่วยเหลือกู้ภัยไว้ได้ (๒) ทักษะและความพยายามของผู้ช่วยเหลือกู้ภัยในการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือบรรเทาความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด (๓) ระดับของความสำเร็จของการช่วยเหลือกู้ภัย (๔) สภาพและระดับความรุนแรงของภยันตราย (๕) ทักษะและความพยายามของผู้ช่วยเหลือกู้ภัยในการช่วยเหลือกู้ภัยเรือ ทรัพย์สินอย่างอื่นและชีวิตบุคคล (๖) เวลาที่เสียไปและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น รวมทั้งความสูญเสียที่เกิดแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัย (๗) ความเสี่ยงต่อความรับผิดและความเสี่ยงอย่างอื่นที่เกิดแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการช่วยเหลือกู้ภัย (๘) ความฉับพลันในการให้บริการ (๙) เรือและเครื่องมือต่างๆ ที่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยมีไว้ใช้และที่ได้ใช้ในการช่วยเหลือกู้ภัย (๑๐) การเตรียมพร้อม ประสิทธิภาพและมูลค่าของอุปกรณ์ต่างๆ ของผู้ช่วยเหลือกู้ภัย มาตรา ๑๔ ผู้มีส่วนได้เสียในเรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นต้องจ่ายเงินรางวัลตามส่วนแห่งมูลค่าของเรือและทรัพย์สินอย่างอื่นตามสภาพที่ช่วยเหลือกู้ภัยไว้ได้ ในกรณีที่การช่วยเหลือกู้ภัยเป็นประโยชน์ต่อการทำให้เรือและทรัพย์สินบนเรือปลอดภัยผู้ช่วยเหลือกู้ภัยจะเรียกเอาเงินรางวัลทั้งหมดนั้นจากเจ้าของเรือก็ได้ ในกรณีที่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยใช้สิทธิตามวรรคสอง เจ้าของเรือซึ่งจ่ายเงินรางวัลไปนั้น มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้มีส่วนได้เสียในเรือหรือทรัพย์สินบนเรือตามส่วนที่ผู้มีส่วนได้เสียนั้นจะต้องจ่ายตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๑๕ เงินรางวัลจะต้องไม่เกินมูลค่าของเรือและทรัพย์สินอย่างอื่นตามสภาพที่ช่วยเหลือกู้ภัยไว้ได้ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายในการใช้สิทธิเรียกร้อง มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยได้ปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยเรือ ซึ่งเรือลำนั้นเองหรือสินค้าบนเรือได้คุกคามต่อการที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ช่วยเหลือกู้ภัยไม่ได้รับเงินรางวัลตามมาตรา ๑๓ หรือได้รับเงินรางวัลตามมาตรา ๑๓ แต่น้อยกว่าค่าใช้จ่ายของผู้ช่วยเหลือกู้ภัยผู้ช่วยเหลือกู้ภัยนั้นมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนพิเศษตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้จากเจ้าของเรือลำนั้นเท่ากับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัย หรือส่วนต่างระหว่างค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยกับเงินรางวัลตามมาตรา ๑๓ แล้วแต่กรณี ในกรณีตามที่ได้ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าการปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยซึ่งผู้ช่วยเหลือกู้ภัยได้ป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือบรรเทาความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุดเงินค่าทดแทนพิเศษซึ่งเจ้าของเรือพึงจ่ายให้แก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัย อาจเพิ่มขึ้นได้อย่างสูงถึงร้อยละสามสิบของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัย ทั้งนี้ ศาลอาจเพิ่มเงินค่าทดแทนพิเศษขึ้นได้อีกหากศาลเห็นว่าเป็นธรรมและยุติธรรม โดยพิจารณาตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๓ อย่างไรก็ตามเงินค่าทดแทนพิเศษทั้งหมดที่จะได้รับต้องไม่เกินสองเท่าของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัย ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้หมายถึงค่าใช้จ่ายที่จำเป็นโดยมีเหตุอันควรที่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยต้องจ่ายไป รวมถึงอัตราที่เป็นธรรมสำหรับอุปกรณ์และบุคลากรที่ได้ใช้ไปจริงและมีเหตุอันควร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๓ (๘) (๙) และ (๑๐) ถ้าผู้ช่วยเหลือกู้ภัยประมาทเลินเล่อและไม่ทำการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมหรือบรรเทาความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยนั้นอาจถูกตัดสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนพิเศษตามมาตรานี้ทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน แล้วแต่กรณี บทบัญญัติตามมาตรานี้ไม่กระทบถึงสิทธิไล่เบี้ยของเจ้าของเรือ มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีผู้ช่วยเหลือกู้ภัยหลายราย ให้ใช้เกณฑ์ตามมาตรา ๑๓ เป็นฐานของการคำนวณเงินรางวัลระหว่างผู้ช่วยเหลือกู้ภัยเหล่านั้น มาตรา ๑๘ ในกรณีที่การช่วยเหลือกู้ภัยได้ปฏิบัติการจากเรือไทย การแบ่งเงินรางวัลระหว่างเจ้าของเรือและคนประจำเรือให้พิจารณาว่าการปฏิบัติการนั้นเป็นการนำเรือเข้าเสี่ยงภัยหรือเป็นการปฏิบัติการที่อาศัยทักษะหรือความสามารถเฉพาะตัวของคนประจำเรือ ถ้าปรากฏว่าเป็นกรณีนำเรือเข้าเสี่ยงภัย ให้เงินรางวัลส่วนใหญ่ตกแก่เจ้าของเรือ แต่ถ้าเป็นกรณีที่อาศัยทักษะหรือความสามารถเฉพาะตัวของคนประจำเรือโดยเฉพาะ ให้เงินรางวัลส่วนใหญ่ตกแก่คนประจำเรือทุกคน โดยระหว่างคนประจำเรือด้วยกัน ให้ได้รับส่วนแบ่งเงินรางวัลในอัตราส่วนที่เท่ากัน ทั้งนี้ เว้นแต่จะตกลงกันโดยชัดแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น ในกรณีที่การช่วยเหลือกู้ภัยได้ปฏิบัติการจากเรือต่างประเทศ การแบ่งเงินรางวัลระหว่างเจ้าของเรือและคนประจำเรือ ให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่เรือนั้นชักธง มาตรา ๑๙ ในกรณีที่การช่วยเหลือกู้ภัยไม่ได้ปฏิบัติการจากเรือ การแบ่งเงินรางวัลระหว่างผู้ช่วยเหลือกู้ภัยกับลูกจ้างที่ตนได้ใช้ในการปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่สัญญาระหว่างผู้ช่วยเหลือกู้ภัยกับลูกจ้างนั้น ในกรณีที่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่สัญญาระหว่างผู้ช่วยเหลือกู้ภัยกับลูกจ้างเป็นกฎหมายไทยให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๐ ผู้ที่กระทำการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยไม่มีสิทธิเรียกเงินตอบแทนจากผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตจากการกระทำนั้น ในการช่วยเหลือกู้ภัยที่มีการช่วยชีวิตผู้ประสบภัย ให้ผู้ที่กระทำการช่วยชีวิตนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งที่เป็นธรรมจากเงินตอบแทนที่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยได้รับ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่มีการช่วยชีวิตผู้ประสบภัย ถ้าผู้ที่กระทำการช่วยชีวิตได้กระทำการช่วยเหลือกู้ภัยด้วยในคราวเดียวกัน ศาลอาจเพิ่มเงินตอบแทนที่ผู้กระทำการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยจะได้รับก็ได้ มาตรา ๒๒ ในกรณีที่มีการทำสัญญาไว้ก่อนเกิดภยันตราย การปฏิบัติตามสัญญานั้นไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับเงินตอบแทน เว้นแต่การปฏิบัติการนั้นเป็นการกระทำนอกเหนือไปจากขอบเขตหน้าที่ตามสัญญานั้น มาตรา ๒๓ หากการช่วยเหลือกู้ภัยจำเป็นต้องมีขึ้นหรือต้องยากขึ้นเพราะความผิดหรือการละเลยต่อหน้าที่ของผู้ช่วยเหลือกู้ภัย ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยนั้นอาจเสียสิทธิในการได้รับเงินตอบแทนไปทั้งหมดหรือบางส่วน หากผู้ช่วยเหลือกู้ภัยกระทำการโดยกลฉ้อฉลหรือไม่สุจริต ย่อมสิ้นไปซึ่งสิทธิที่จะได้รับเงินตอบแทนโดยสิ้นเชิง มาตรา ๒๔ การช่วยเหลือกู้ภัยไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับเงินตอบแทน หากได้กระทำไปโดยฝ่าฝืนคำสั่งห้ามอันชัดแจ้งและมีเหตุผลอันสมควรของบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เจ้าของเรือหรือนายเรือ ในกรณีการช่วยเหลือกู้ภัยเรือ ทรัพย์สินบนเรือ หรือทรัพย์สินที่เคยอยู่บนเรือ (๒) เจ้าของทรัพย์สินอย่างอื่นที่ประสบภยันตราย ในกรณีการช่วยเหลือกู้ภัยทรัพย์สินที่ไม่ได้อยู่และไม่เคยอยู่บนเรือ หมวด ๓ สิทธิเรียกร้องเงินตอบแทนและการดำเนินคดี มาตรา ๒๕ ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยย่อมมีบุริมสิทธิทางทะเลเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องในเงินตอบแทนจากการช่วยเหลือกู้ภัยเรือ แต่หากมีการวางหลักประกันเพื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวอันเป็นที่พอใจ ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยนั้นไม่อาจอ้างบุริมสิทธิทางทะเลเหนือเรือนั้นได้อีก มาตรา ๒๖ หากผู้ช่วยเหลือกู้ภัยร้องขอ ให้บุคคลซึ่งต้องรับผิดในเงินตอบแทนจัดให้มีหลักประกันเพื่อสิทธิเรียกร้องในเงินตอบแทนอันเป็นที่พอใจ รวมถึงดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายในการใช้สิทธิเรียกร้องนั้นด้วย มาตรา ๒๗ ก่อนที่จะปล่อยสินค้าไปจากเรือ เจ้าของเรือต้องใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ให้เจ้าของสินค้าจัดให้มีหลักประกันเพื่อสิทธิเรียกร้องในเงินตอบแทนอันเป็นที่พอใจ รวมถึงดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายในการใช้สิทธิเรียกร้องนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ช่วยเหลือกู้ภัยจะร้องขอตามมาตรา ๒๖ หรือไม่ก็ตาม มาตรา ๒๘ ห้ามมิให้เคลื่อนย้ายเรือและทรัพย์สินอย่างอื่นที่ได้รับการช่วยเหลือกู้ภัยออกไปจากท่าเรือหรือสถานที่ที่เรือและทรัพย์สินอย่างอื่นนั้นมาถึงหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยโดยปราศจากความยินยอมจากผู้ช่วยเหลือกู้ภัย เว้นแต่มีการวางหลักประกันเพื่อสิทธิเรียกร้องในเงินตอบแทนของผู้ช่วยเหลือกู้ภัยต่อเรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง มาตรา ๒๙ คำฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการช่วยเหลือกู้ภัยตามพระราชบัญญัตินี้ให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา ๓๐ ในกรณีที่การเรียกร้องเงินตอบแทนเป็นข้อพิพาทเฉพาะเรื่องเงินตอบแทนผู้ช่วยเหลือกู้ภัยอาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องขอต่อศาลในเวลาใดๆ ก่อนพิพากษา ขอให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลซึ่งต้องรับผิดในเงินตอบแทนจ่ายเงินตอบแทนในจำนวนที่ไม่โต้แย้งกัน เมื่อศาลได้รับคำร้องนี้แล้วให้ดำเนินการไต่สวนก่อนก็ได้ ศาลอาจพิจารณาสั่งให้ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยได้รับเงินตอบแทนตามจำนวนที่ร้องขอ เมื่อผู้ช่วยเหลือกู้ภัยได้รับเงินตอบแทนตามจำนวนนั้นแล้ว ให้ลดหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา ๒๖ แก่บุคคลซึ่งต้องรับผิดในเงินตอบแทนตามส่วน มาตรา ๓๑ สิทธิเรียกร้องในเงินตอบแทน ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในสองปีนับแต่วันที่การช่วยเหลือกู้ภัยสิ้นสุดลง ให้เป็นอันขาดอายุความ มาตรา ๓๒ สินค้าซึ่งมิใช่เพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ของรัฐหนึ่งรัฐใดซึ่งได้รับความคุ้มกันของรัฐ ย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้การยึด กัก หรือยึดหน่วงตามกฎหมาย เว้นแต่เป็นกรณีที่รัฐซึ่งเป็นเจ้าของสินค้านั้นให้ความยินยอม มาตรา ๓๓ สินค้าเพื่อมนุษยธรรมซึ่งรัฐหนึ่งรัฐใดได้บริจาค ย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้การยึด กักหรือยึดหน่วงตามกฎหมาย หากรัฐนั้นได้ตกลงจ่ายเงินตอบแทน บทเฉพาะกาล มาตรา ๓๔ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การช่วยเหลือกู้ภัยที่กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,กฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญา,กฎหมายพานิชย์นาวี(ขนส่งทางทะเล-กู้ภัยทางทะเล) พรบ
Summarization
cc-by-sa-4.0
Legal_8738
Legal
คนต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่?
null
ใช่ คนต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะมีความผิดตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 มาตรา 9 บัญญัติไว้ว่า "ห้ามมิให้คนต่างด้าวทำงานใดนอกจากงานตามมาตรา 7 และได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน เว้นแต่คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเพื่อทำงานอันจำเป็นเเละเร่งด่วนที่มีระยะเวลาทำงานไม่เกินสิบห้าวัน แต่คนต่างด้าวจะทำงานนั้นได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบ" หมายความว่า คนต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทย จะต้องได้รับใบอนุญาตทำงานจากนายทะเบียน ก่อน มิฉะนั้นจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย การฝ่าฝืนมาตรา 9 มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ คนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ยังมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 68 บัญญัติไว้ว่า "คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง หรือโดยผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองแต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักร หรืออยู่เกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต หรือฝ่าฝืนข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการให้อนุญาตเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" สรุป: คนต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน มีความผิดตามกฎหมาย โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ยังมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,กฎหมายคนเข้าเมือง-การทำงานของคนต่างด้าว
Classification
cc-by-sa-4.0