date
stringlengths
12
13
title
stringlengths
20
290
text
stringlengths
9
61.3k
10 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : ยกระดับฝากส่งของผิดกฎหมาย
การฝากส่งสิ่งของผ่านไปรษณีย์ ถือเป็นหนึ่งช่องทางที่ทำให้ประชาชนสามารถส่งของถึงกันได้ แต่เมื่อกลุ่มมิจฉาชีพนำไปใช้ในการส่งของผิดกฎหมาย ทำให้ไปรษณีย์ไทยยกระดับความปลอดภัย และการป้องกันการฝากส่งสิ่งของผิดกฎหมาย การเป็นประเด็นที่ต้องกับมาทบทวนอีกครั้งสำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัย กับการส่งพัสดุทางไปรษณีย์ หลังพบกลุ่มมิจฉาชีพใช้ช่องทางบริการขนส่งเอกชน ขนส่งอาวุธ และสิ่งผิดกฎหมาย เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับของเจ้าหน้าที่ นำไปสู่การขยายผลของตำรวจ เพื่อกวดล้างขบวนการผิดกฎหมาย นำไปสู่การยกระดับความเข้มข้นในการดูแลความปลอดภัยและป้องกันการลักลอบฝากส่งสิ่งของผิดกฎหมาย ไปรษณีย์ไทย ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการด้านการขนส่งสินค้า เพิ่มมาตรการในการฝากส่งสินค้า เพื่อสร้างความปลอดภัย และป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย โดยที่ผ่านมาไปรษณีย์ ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการฝากส่งสินค้าที่ผู้ส่งจะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนแก่เจ้าหน้าที่ทุกครั้งในการฝากส่งสิ่งของทางไปรษณีย์ เพื่อป้องกันการส่งสิ่งของผิดกฎหมายเข้าสู่เส้นทางไปรษณีย์ ซึ่งเป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำหรับมาตรการที่ไปรษณีย์จะเพิ่มเติมเพื่อรักษาความปลอดภัย คือการติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือ CCTV ภายในที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ เพื่อเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยในการฝากส่งสิ่งของ พร้อมนำเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดแบบตรวจโลหะมาใช้ในที่ทำการไปรษณีย์ และเครื่อง X-Ray มาใช้ในศูนย์ไปรษณีย์ทั่วประเทศสำหรับตรวจสอบสิ่งของที่สงสัยว่าอาจมีการลักลอบฝากส่งวัตถุระเบิดเข้าสู่เส้นทางไปรษณีย์อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ การฝากส่งวัตถุระเบิด หรือ อาวุธ ผ่านทางไปรษณีย์ ถือเป็นการกระทำที่ "ผิดกฎหมาย" เนื่องจากเป็นสิ่งของต้องห้ามฝากส่งตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และผู้กระทำผิดจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โดย สิ่งของต้องห้ามในการฝากส่งทางไปรษณีย์ได้แก่ สัตว์มีชีวิต สิ่งเสพติด สิ่งลามกอนาจาร หรือสิ่งที่มีถ้อยคำ เครื่องหมาย ลวดลาย หยาบช้า วัตถุระเบิด อุปกรณ์ระเบิดที่มีแรง และไม่มีแรงระเบิด ปลอกกระสุน หรือสิ่งคล้ายคลึง วัตถุไวไฟ วัตถุมีคมที่ไม่มีเครื่องหุ้มห่อ ป้องกัน สิ่งโสโครกหรือสิ่งมีพิษ อาจทำให้เกิดอันตรายแก่เจ้าพนักงาน ธนบัตร สิ่งของปลอมแปลงหรือลอกเลียนแบบโดยละเมิดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ สำหรับการฝากส่งสิ่งของเข้าสู่เส้นทางไปรษณีย์ทางอากาศนั้น ยังมีรายชื่อสิ่งของต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศเพิ่มเติมอีก 4 ชนิดคือ สารออกซิไดซ์และออร์แกนิกเปอร์ออกไซด์ ก๊าซหรือกระป๋องสเปรย์ สารกัดกร่อน และวัตถุและสารต้องห้ามในการขนส่งทางอากาศ อาทิ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งแบตเตอรี่ โดยหากมีการตรวจพบการฝ่าฝืน จะมีโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 80,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นางสมร กล่าวเพิ่มเติม ทั้งหมดนี้ คือ มาตรการความปลอดภัยที่ไปรษณีย์ไทย มุ่งมั่นพัฒนาระบบเครือข่ายการขนส่งและมาตรฐานการให้บริการที่เป็นเลิศ ป้องกันการกระทำความผิดกฎหมาย และเป็นแนวทางที่ผู้ให้บริการฝากส่งสิ่งของเอกชน สามารถนำไปปรับใช้