text
stringlengths
11
12.4k
meta
dict
ชื่อไทย: ปลาเก๋าปะการัง ชื่อสามัญ: Coral grouper ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus corallicola วงศ์ (Family): Serranidae ถิ่นกำเนิด: พบได้ทั่วไปในแนวปะการังน้ำตื้น กองหินชายฝั่ง บางครั้งพบบริเวณปากแม่น้ำตามเสาโป๊ะ รายละเอียด: ครีบหลังประกอบด้วยก้านครีบแข็ง จำนวน 6 เส้น ครีบท้องอยู่ใกล้ครีบก้น ครีบหางเป็นแบบกลม ส่วนหัวและลำตัวปลามีสำน้ำตาลจนถึงสีเทาอมเขียว มีจุดดำขนาดเล็กกระจายทั่วปริเวณ ส่วนหัว ลำตัว และครีบต่าง ๆ ปรากฏเป็นปานสีดำเข้ม จำนวน 3 แห่ง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลากะรังหน้างอน ชื่อสามัญ: Humpback grouper ชื่อวิทยาศาสตร์: Cromileptes altivelis วงศ์ (Family): Serranidae ถิ่นกำเนิด: พบได้ทั่วไปในแนวปะการังทั้งในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รายละเอียด: รูปร่างหัวเรียวแหลม ปากเล็ก ตาเล็ก ครีบหลังต่อเป็นแผ่นเดียว ลำตัวสีเทาอ่อนจะงอยปากโค้งงอนขึ้น มีจุดสีดำขนาดใหญ่กระจายทั่วตัว ครีบหูมีขนาดใหญ่หางกลมแผ่กว้าง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาปักเป้าหน้าหมา ชื่อสามัญ: Black – spotted puffer ชื่อวิทยาศาสตร์: Tetrodon nigropunctatus วงศ์ (Family): Tetraodontidae ถิ่นกำเนิด: แนวปะการังทางฝั่งอันดามัน รายละเอียด: มีลำตัวค่อนข้างกลม ปากยื่น ตาโต ผิวลำตัวเรียบไม่มีหนาม และมีสีแตกต่างกันในปลาแต่ละตัว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาตะกรับห้าแถว ชื่อสามัญ: Indo-Pacific sergeant ชื่อวิทยาศาสตร์: Abudefduf vaigiensis วงศ์ (Family): Pomacentridae ถิ่นกำเนิด: ตามโขดหินโสโครก และหินปะการังน้ำตื้น รายละเอียด: ลำตัวสั้นและแบนทางด้านข้าง ครีบหางเป็นสองแฉก พื้นผิวลำตัวมีลายพาดสีฟ้าอมดำ 4–6 แถบ สลับกับสีเขียวน้ำทะเลอมเหลือง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาเยลโล่แท้ง ชื่อสามัญ: Yellow tang ชื่อวิทยาศาสตร์: Zebrasoma flavescens วงศ์ (Family): Acanthuridae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง รายละเอียด: ปลาที่โตเต็มที่สามารถโตได้ถึง 20 เซนติเมตร ตัวผู้ที่โตเต็มวัยมักจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีสีเหลืองสดในตอนกลางวัน ในเวลากลางคืนสีเหลืองจะจางลงเล็กน้อย มีแถบแต้มสีขาวแนวนอน อยู่ที่คอดหาง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาวัวดำ ชื่อสามัญ: Black triggerfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Odonus niger วงศ์ (Family): Balistidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามซากโป๊ะหรือกองหินใต้น้ำพบทั่วไปในน่านน้ำไทย รายละเอียด: พื้นผิวลำตัวมีสีน้ำเงินอมเทาปากมีลายคาดสีน้ำเงินมายังครีบหูและตา ครีบหลังและครีบทวารมีขอบสีน้ำเงิน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาหางควาย ชื่อสามัญ: Flathead ชื่อวิทยาศาสตร์: Platycephalus indicus วงศ์ (Family): Platycephalidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลน หรือโคลนปนทราย รายละเอียด: ลำตัวเรียวไปทางหาง ปากกว้าง ตาโปนเล็กน้อย ครีบหูแผ่กว้างแบนราบ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาฉลามหูดำ ชื่อสามัญ: Black – tipped shark ชื่อวิทยาศาสตร์: Carcharias spallazani (Lesueur , 1882) วงศ์ (Family): Odontaspididae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ในทะเลทั่วไปมักว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา รายละเอียด: ลำตัวเรียวยาว ส่วนหัวแบนลาดเล็กน้อย พื้นผิวลำตัวทางด้านบนมีสีเทา ด้านล่างมีสีขาว ปลายครีบทุกครีบมีสีดำ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ม้าน้ำสามจุด ชื่อสามัญ: Three spot seahorse ชื่อวิทยาศาสตร์: Hippocampus trimaculatus วงศ์ (Family): Syngnathidae ถิ่นกำเนิด: เขตชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย รายละเอียด: ส่วนหัวค่อนข้างเล็ก ด้านหลังท้ายทอยมีจุดสีดำเรียงกันเป็นระยะ 3 จุด พื้นลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทาดำ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ม้าน้ำดำ ชื่อสามัญ: Common seahorse ชื่อวิทยาศาสตร์: Hippocampus kuda วงศ์ (Family): Syngnathidae ถิ่นกำเนิด: บริเวณชายฝั่งน้ำตื้น ตะกอนทรายในบริเวณที่เป็นโขดหินและแม่น้ำที่มีน้ำกร่อย รายละเอียด: ส่วนของหนามยาว ปลายแหลมคม และปากยาวกว่าม้าน้ำชนิดอื่น ๆ ปลายหนามโค้งเล็กน้อยและมักจะมีสีเข้มหรือดำ มีสีผิวลำตัวแตกต่างกันไป ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาสินสมุทร ชื่อสามัญ: Flagfin angel , Threespot Angelfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Apolemichthys trimaculatus วงศ์ (Family): Pomacanthidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ในลากูน และตามแนวปะการัง รายละเอียด: ลำตัวสีเหลืองสดใส มีริมฝีปากสีฟ้า ครีบก้นมีขอบสีดำ, มีจุดสีดำบริเวณหน้าผาก และจุดจาง ๆ ไม่ชัดเจนอยู่ด้านหลังแผ่นปิดเหงือก เมื่อโตเต็มวัยมีความยาวได้ถึง 26 เซนติเมตร ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: สินสมุทรแคระไบคัลเลอร์ ,ปลาทองทะเล ชื่อสามัญ: Bicolor Angelfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Centropyge bicolor (Bloch 1787) วงศ์ (Family): Pomacanthidae ถิ่นกำเนิด: ตามลากูน และตามแนวปะการังที่ความลาดชัน รายละเอียด: มีส่วนหัวและลำตัวด้านหน้าเป็นสีเหลืองสด ลำตัวด้านหลังเป็นสีน้ำเงินเข้ม บริเวณเหนือตามีแถบสีน้ำเงินกว้าง ครีบหางมีสีเหลือง ปัจจุบันกรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้เป็นผลสำเร็จแล้ว โดยสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: เพอร์โซนิเฟอร์ ชื่อสามัญ: Queensland yellowtail angelfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Chaetodontoplus meredithii (Kuiter, 1989) วงศ์ (Family): Pomacanthidae ถิ่นกำเนิด: แนวปะการังเปิดที่มีหิน ปะการังฟองน้ำ ที่ระดับความลึกมากกว่า 35 เมตร ทางฝั่งตะวันออกของทวีปออสเตรเลีย รายละเอียด: มีลำตัวสีดำ ด้านหน้าเป็นสีฟ้าเป็นสีเทาอมฟ้าและมีจุดสีเหลือง มีแถบสีขาวพาดด้านหลังศีรษะมาถึงบริเวณคอ ครีบอกส่วนใหญ่เป็นสีดำมีขอบสีเหลือง หางมีสีเหลือง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ฟ็อกซ์เฟซสองสี ชื่อสามัญ: Bicolored foxface ชื่อวิทยาศาสตร์: Siganus uspi วงศ์ (Family): Siganidae ถิ่นกำเนิด: พบได้ในพื้นที่ที่มีปะการังแข็งความลึกไม่เกิน 30 เมตร รายละเอียด: ลำตัวรูปไข่แบนด้านข้างมีจมูกยาว ลำตัวมีการแบ่งออกเป็น 2 สี อย่างชัดเจน ประมาณ 2/3 ของร่างกายจะเป็นสีดำน้ำตาลแกมม่วงเข้ม เช่นเดียวกับครีบหลัง และครีบก้น ครีบอกมีสีเหลืองและมีจุดสีขาวที่ซ่อนอยู่ ลำตัวส่วนท้าย ถึงครีบหางมีสีเหลืองสดใส มีแถบสีขาวขนาดใหญ่พาดผ่านจากใต้ริมฝีปาก คาง แผ่นปิดเหงือก และค่อยๆ จางหายเฉียงขึ้นไปยังหลังตา อาจมีขนาดความยาวได้ถึง 24 เซนติเมตร ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า ชื่อสามัญ: Blue Tang ชื่อวิทยาศาสตร์: Paracanthurus hepatus วงศ์ (Family): Acanthuridae ถิ่นกำเนิด: ตามแนวปะการังที่มีความลึก 2 - 40 เมตร รายละเอียด: หางสีเหลืองลักษณะตัดตรงที่คอดหางมีเกล็ดที่พัฒนาให้ยื่นออกมามีความแหลมคม มีหนึ่งอันหรือมากกว่านั้นในแต่ละข้างของโคนหาง ซึ่งใช้เป็นอาวุธได้ ลำตัวสีน้ำเงินเข้มมีลายสีดำคล้ายจานสีพาดลำตัวจากขอบหางมาจนถึงหลังตา ปากมีขนาดเล็ก ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทองทะเล ชื่อสามัญ: Garibaldi damselfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypsypops rubicundus วงศ์ (Family): Pomacentridae ถิ่นกำเนิด: พบได้ในน้ำในระดับความลึกสูงสุด 30 เมตร โดยปกติจะอยู่ตามแนวหินและพื้นหินในทะเล รายละเอียด: มีความยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ลำตัว ครีบต่างๆ มีสีแดงส้ม (แต่ในวัยเด็กจะมีสีซีดมาก มีจุดสีน้ำเงินแดง เป็นจุดเล็ก) ครีบหลังยื่นเลยออกไปทางตอนท้ายลำตัว ตัวผู้มีพฤติกรรมปกป้องรัง หรืออาณาเขตอย่างจริงจังหลังจากที่ตัวเมียวางไข่ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาอมไข่ครีบยาว ชื่อสามัญ: Banggai cardinal fish ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterapogon kauderni วงศ์ (Family): Apogonidae ถิ่นกำเนิด: อยู่รวมกันเป็นฝูงตัวในแนวปะการัง แถบอินโด-แปซิฟิก ไม่พบในน่านน้ำไทย รายละเอียด: มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนจากกันชัดเจนและมีครีบที่ยาวมาก ครีบหางยาวเป็นรูปส้อม ลำตัวมีสีขาวเงิน มีแถบสีดำพาดขวางผ่านลำตัว 3 แถบ คือ ที่ตา, ที่ครีบหลังอันที่ 1 และครีบหลังอันที่ 2 มีจุดสีขาวกระจายทั่วลำตัวและครีบต่าง ๆ ยกเว้นครีบอก ที่มีลักษณะโปร่งแสงจุดสีขาวของปลานี้จะแตกต่างกันไปเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัว ความยาวเต็มที่ 8 เซนติเมตร ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป คือ 4-5 เซนติเมตร เป็นสัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาพยาบาล ชื่อสามัญ: Bluestreak cleaner wrasse ชื่อวิทยาศาสตร์: Labroides dimidiatus วงศ์ (Family): Labridae ถิ่นกำเนิด: บริเวณที่มีปะการังที่อุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบชั้นในและแนวปะการังน้ำลึก รายละเอียด: ขนาดเล็ก มีลำตัวเรียวยาว หัวเรียวแหลม ยาวเฉลี่ย 10 ซม. โตเต็มที่มีขนาด 14 เซนติเมตร ลำตัวด้านหลังมีสีน้ำตาล ด้านท้องสีขาวอมฟ้า ด้านข้างลำตัวมีแถบคาดสีดำ ตามยาวผ่านตาไปยังปลายหาง 1 แถบ ทำหน้าที่ช่วยกำจัดปรสิตที่เกาะอยู่ตามซอกครีบ ฝาปิดเหงือก เหงือกปลา เกล็ดปลา ของปลาที่ใหญ่กว่า ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาเฉี่ยวหิน ชื่อสามัญ: Silver moony ชื่อวิทยาศาสตร์: Monodactylus argenteus วงศ์ (Family): Monodactylidae ถิ่นกำเนิด: พบได้ทั้งในแนวปะการัง ปากแม่น้ำ ป่าชายเลน น้ำกร่อยและบริเวณน้ำขึ้นน้ำลงแม้จะเป็นน้ำจืด รายละเอียด: ลำตัวแบนข้างมากทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เกล็ดสีเงินวาว มีแถบสีดำพาดที่ดวงตาและด้านท้ายของแผ่นปิดเหงือก ครีบหลังและครีบหางสีเหลืองหรือสีส้ม ตามีขนาดใหญ่ ปากมีขนาดเล็ก โตเต็มที่มียาวได้มากถึง 27 เซนติเมตร ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาหมอทะเล ชื่อสามัญ: Giant grouper ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus lanceolatus วงศ์ (Family): Serranidae ถิ่นกำเนิด: ในแนวปะการังน้ำลึก ตามถ้ำ ซากเรือ หรือปากแม่น้ำ รายละเอียด: เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแนวปะการัง มีขนาดหัวที่ค่อนข้างโต ปากกว้าง ครีบหางใหญ่กลมมน ตอนวัยเด็กลำตัวและครีบจะมีลายสีเหลืองสลับอยู่ทั่วลำตัว โดยเฉพาะตามครีบจะเด่นชัดมาก ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาตะกรับเจ็ดแถบ ชื่อสามัญ: Bengal Sergeant ชื่อวิทยาศาสตร์: Abudefduf bengalensis วงศ์ (Family): Pomacentridae ถิ่นกำเนิด: ตามแนวปะการังและริมชายฝั่งทั่วไป รายละเอียด: ลำตัวสีเทาอมเขียว และมีคาดสีฟ้าอมดำตามขวาง 6-7 บั้ง ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กั้งกระดาน ชื่อสามัญ: Locust Lobster ชื่อวิทยาศาสตร์: Thenus orientalis วงศ์ (Family): Scyllaridae ถิ่นกำเนิด: กั้งกระดานอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลน รายละเอียด: ลำตัวแบนหุ้มด้งยเปลือกแข็งสีน้ำตาลอ่อน พื้นผิวเป็นเม็ดเล็ก ๆ กระจัดกระจายทั่วไป ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: เม่นะเล ชื่อสามัญ: Long spined sea urchin ชื่อวิทยาศาสตร์: Diadema setosum วงศ์ (Family): Diadematidae ถิ่นกำเนิด: พบในแนวปะการังและโขดหินริมชายฝั่งทะเลทั่วไป ทั้งอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: มีเปลือกจัดเรียงตัวเป็นรูปทรงกลม ห่อหุ้มอวัยวะภายใน และมีหนามยาวยื่นออกมารอบตัว พื้นผิวเปลือกและหนามมีสีดำ ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาการ์ตูนดำขาว ,ปลาการ์ตูนดำ ชื่อสามัญ: Darwin Misbar ชื่อวิทยาศาสตร์: Amphiprion ocellaris วงศ์ (Family): Pomacentridae ถิ่นกำเนิด: ในธรรมชาติพบที่เมือง Darwin ตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย รายละเอียด: ลำตัวตัวมีดำ มีแถบสีขาว 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณโคนหางส่วนหางสีดำมีขอบเป็นสีขาว ปลาการ์ตูนดำขาว เป็นชนิดเดียวกับปลาการ์ตูนส้มขาวแต่เป็นคนละสายพันธุ์ เนื่องจากมีการผันแปรของสี โดยส่วนที่เป็นสีส้ม ถูกแทนที่ด้วย สีดำ เลยกลายเป็นปลาการ์ตูนดำขาว ในประเทศไทยไม่พบในธรรมชาติ แต่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ และมีการเพาะเลี้ยงได้สำเร็จแล้วในเมืองไทย ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กระพงแถบเหลืองทอง ชื่อสามัญ: Gold-banded , Spanish flag snapper ชื่อวิทยาศาสตร์: Lutjanus carponotatus (Richardson 1842) วงศ์ (Family): Lutjanidae ถิ่นกำเนิด: อ่าวทะเลสาบ แนวเขตปะการัง ที่มีความลึก 1- 80 เมตร รายละเอียด: จมูกแหลม ส่วนหัวลาดชัน ลำตัวสีเทาออกอมฟ้าหรือออกขาว มีแถบสีเหลืองน้ำตาลทอง 8-9 เส้นตามด้านข้างลำตัว ครีบมีสีเหลือง และมีจุดสีดำที่โคนของครีบอก ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปูแมงมุมญี่ปุ่น ชื่อสามัญ: Japanese giant spider crab ชื่อวิทยาศาสตร์: Macrocheira kaempferi วงศ์ (Family): Inachidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามพื้นทรายและหินของไหล่ทวีปและมีความลาดชันที่ระดับความลึกเฉลี่ย 150-300 เมตร รายละเอียด: ในตัวโตเต็มวัยวัดความยาวจากขาข้างนึงมายังอีกข้างนึงอาจมีความยาวได้ถึง 4 เมตร กระดองมีลักษณะกลมคล้ายลูกแพรมีความกว้างประมาณ 30-40 ซ.ม.มีสีส้มเข้มไปจนถึงสีแทนอ่อนส่วนที่ปกคลุมกระดองซึ่งมีหนามแหลมและแข็ง ส่วนกระดองยื่นขยายไปทางส่วนหัวมีรูปร่างเป็นหนามเรียวยาวสองอันที่ยื่นออกมาจากระหว่างดวงตาติดอยู่บริเวณเหนือปาก ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: มังกรทะเลใบหญ้า ชื่อสามัญ: seadragon, Weedy seadragon ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllopteryx taeniolatus วงศ์ (Family): Syngnathidae ถิ่นกำเนิด: ตอนใต้ของออสเตรเลีย อาศัยอยู่ตามกองหินและแนวปะการัง กอสาหร่าย ความลึกถึง 50 เมตร รายละเอียด: ตลอดทั้งตัวมีสีสดใสสีพื้นเป็นสีส้มแดง ลายทางสีน้ำเงิน มีจุดสีขาวและลายแต้มสีเหลืองจำนวนมาก จมูกยาวลักษณะคล้ายท่อ เมื่อโตเต็มที่มีความยาวได้ถึง 45 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปประมาณ 30 เซนติเมตร มีรยางค์เป็นแผ่นคล้ายใบไม้ขนาดเล็กซึ่งมีลักษณะคล้ายสาหร่ายทะเลเอาไว้ใช้อำพรางตอนอาศัยอยู่กับกอสาหร่าย มีครีบหลังยาวและมีครีบอกขนาดเล็กบริเวณหลังศีรษะ ร่างกายภายนอกค่อนข้างแข็ง ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาหมึกยักษ์แปซิฟิก ชื่อสามัญ: Giant Pacific Octopus ชื่อวิทยาศาสตร์: Enteroctopus dofleini วงศ์ (Family): Enteroctopodidae ถิ่นกำเนิด: พื้นโคลนทราย บริเวณน้ำขึ้นลงที่ความลึก 110 เมตร หรืออาศัยอยู่ในถ้ำตามซอกหินที่ความลึกถึง 1,500 เมตร รายละเอียด: เป็นปลาหมึกสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลักษระผิวไม่เรียบ มีสีสีแดงเข้มหรือน้ำตาลแดง และสามารถเปลี่ยนสีได้อย่างรวดเร็วเพื่อพรางตัว มีความยาวลำตัวมากกว่า 20 ซม. น้ำหนักตัวถึง 272 กก. และแขนยาวถึง 9 ม. ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ดาวหมอนปักเข็ม ชื่อสามัญ: Pin-cushion Sea Star ชื่อวิทยาศาสตร์: Culcita novaeguineae วงศ์ (Family): Oreasteridae ถิ่นกำเนิด: พบตามแนวปะการังทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลำตัวเป็นรูปห้าเหลี่ยม แขนสั้นมากด้านบนโค้งนูน ส่วนล่างเรียบ ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ดาวทะเล ชื่อสามัญ: Sea Star ชื่อวิทยาศาสตร์: Pentaceraster sp วงศ์ (Family): Oreasteridae ถิ่นกำเนิด: พบตามหาดทรายและแนวปะการังทั่วไป รายละเอียด: ลำตัวเป็นรูปดาวห้าแฉก แขนมีลักษณะเป็นทรงกระบอกเรียวเล็ก พื้นลำตัวด้านบนสีเทา ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: หมึกกระดองลายเสือ ชื่อสามัญ: Pharaoh cuttlefish ชื่อวิทยาศาสตร์: Sepia pharaonis วงศ์ (Family): Sepiidae ถิ่นกำเนิด: พบอยู่ทั่วไปในอ่าวไทย รายละเอียด: ลำตัวเป็นรูปไข่ ส่วนหัวมีหนวดสั้น จำนวน 4 เส้น พื้นลำตัวด้านบนมีลายตามขวางสีน้ำตาล ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปูม้า ชื่อสามัญ: Blue Swimming Crab ชื่อวิทยาศาสตร์: Portunus pelagicus วงศ์ (Family): Portunidae ถิ่นกำเนิด: พบการกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบชายฝั่งของทะเลอยู่ ใต้ทรายหรือโคลน รายละเอียด: ก้ามเรียวยาว มีสัน หนามข้างกระดองด้านละ 9 อัน อันสุดท้ายมีขนาดใหญ่และยาวที่สุด กระดองแบนกว้างมากมีตุ่มเล็ก ๆ กระจายเต็มไปหมด มีหนามที่ขอบเบ้าตาด้านบน ชอบเบ้าตาล่างมีหนามแหลม 1 อัน ขาเดินมี 3 คู่ กรรเชียงว่ายน้ำ 1 คู่ ตัวผู้มีก้ามเรียวยาวกว่า มีสีฟ้าอ่อน และมีจุดขาวตกกระทั่วไปบนกระดองและก้าม ตัวเมียจะมีก้ามสั้นกว่ากระดองและก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวประทั่วไปทั้งกระดองและก้าม ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลิงส้ม ชื่อสามัญ: Orange Sea Cucumber ชื่อวิทยาศาสตร์: Pentacta anceps วงศ์ (Family): Cucumariidae ถิ่นกำเนิด: พบตามพื้นหินเปลือกหอยและพื้นทะเลที่เป็นทรายในแนวปะการัง รายละเอียด: ตัวเป็นท่อนสั้น พื้นผิวขรุขระสีส้มสลับเหลือง ด้านหน้ามีช่อหนวดแตกแขนงคล้ายกิ่งไม้ยื่นออกมา ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาตั๊กแตนหินสองสี ชื่อสามัญ: Bicolor blenny ชื่อวิทยาศาสตร์: Ecsenius bicolor วงศ์ (Family): Blenniidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ในโพรงหินหรือซอกหินในแนวปะการังที่มีสาหร่ายปกคลุม รายละเอียด: มีรูปร่างป้อมสั้นและแบนข้าง ริมฝีปากหนา เหนือตามีติ่งเป็นเส้นสั้น ๆ ครีบหลังเว้าเป็นสองตอน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเป็นเส้นเล็ก ลำตัวแบ่งเป็นสีสองสีชัดเจน คือ ลำตัวช่วงแรกเป็นสีเทา ขณะที่ด้านหลังไปถึงหางเป็นเหลืองสีส้ม ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทรายแดงโม่ง ชื่อสามัญ: Threadfin bream ชื่อวิทยาศาสตร์: Nemipterus hexodon (Quoy and Gaimard, 1824) วงศ์ (Family): Nemipteridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลำตัวแบนเล็กน้อย พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีชมพูแก่หรือสีแดง ด้านท้องเป็นสีขาวเงิน มีรอยแต้มสีแดงเข้มใด้เส้นข้างตัวในแนวระคับเกล็ดอันที่ห้า ๑ รอย มีแถบเล็กๆ สีเหลือง ๔-- แถบ กับสีขาวเงิน ๓ แถบ พาคไปตามยาวใต้เส้นข้างตัว ครีบหลังมีสีชมพูขอบแดง ครีบต่างๆ มีสีชมพูจางๆ ส่วนครีบหางตอนบนเป็นสีแคง ตอนล่างเป็นสีขาว มีปากกว้าง ฟันเล็กแหลมอยู่บน ขากรรไกร เกล็ดใหญ่ ครีบหลังและครีบกันตอนท้ายมีปลายแหลมแฉกลึก โดยมีแพนหางอันบนยาวกว่าอันล่างเล็กน้อย ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทรายแดงญี่ปุ่น , ปลาทรายแดงหางยาว ชื่อสามัญ: Japanese threadfin ชื่อวิทยาศาสตร์: Nemipterus tambuloides (Bleeker, 1853) วงศ์ (Family): Nemipteridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีชมพูแก่หรือสีแดง ด้านท้องสีขาวเงิน มีแถบสีเหลืองประมาณ ๘ แถบ พาดไปบนเกล็ดใต้เส้นข้างตัว ครีบหลังและครีบกันมีแถบสีเหลืองพาดตอนกลางครีบ ครีบหางตอนบนที่ยาวเป็นเส้นออกไปมีสีเหลือง มีฟันเขี้ยว - ซี่ใหญ่อยู่ข้างหน้าขากรรไกรบน และฟันเล็ก ๔ ซึ่ อยู่ข้างหน้าขากรรไกรล่าง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทรายแดง ชื่อสามัญ: Redspot threadfin ชื่อวิทยาศาสตร์: Nemipterus furcosus (Valenciennes, 1830) วงศ์ (Family): Nemipteridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลักษณะคล้ายกับปลาทรายแคงโม่ง มีจุคสีแดงและเหลืองตรงใต้เส้นข้างตัว ครีบทุกครีบเป็นสีชมพู และมีแถบสีเหลืองพาดบนก้านครีบหลังและครีบก้น ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทรายขาวหูแดง ชื่อสามัญ: Lattice monocle bream ชื่อวิทยาศาสตร์: Scolopsis taeniopterus วงศ์ (Family): Nemipteridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ปลาชนิดนี้มีลำตัวยาว แบนข้าง ส่วนหัวโค้งนูน สันหลังโค้งเล็กน้อยคางย้อยเล็กน้อย ท่อนหางเรียวยาว ครีบอกใหญ่ปลายแหลม ครีบหางปลายเว้าไม่ลึกนัก แฉกบนยาวกว่าแฉกล่าง หลังและส่วนบนเป็นสีเหลืองอมเทา ท้องสีขาวเงิน ฐานครีบอกมีจุดแดงหนึ่งจุด ปลายแฉกบนของครีบหางเป็นสีเหลือง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทรายแดงหลอด ชื่อสามัญ: Redspine threadfin bream ชื่อวิทยาศาสตร์: Nemipterus nemurus วงศ์ (Family): Nemipteridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทย รายละเอียด: ลำตัวด้านบนสีชมพูด้านล่างสีขาวมุก ครีบอกและครีบท้องยาวปานกลาง เยื่อของครีบหลัง 2 อันแรกมีสีแดงสด มีแถบสีเหลืองทองจากริมฝีปากบนผ่านรูจมูกจนถึงขอบตาล่าง และหลังตา ครีบหางด้านบนมีเส้นใยสีเหลืองต่อท้ายยาวออกไปอีก ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทรายแดงหางเหลือง ชื่อสามัญ: Red filament threadfin bream ชื่อวิทยาศาสตร์: Nemipterus marginatus วงศ์ (Family): Nemipteridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ขอบตาล่างอยู่เหนือแนวจากปลายจมูกถึงฐานด้านบนของครีบอก ครีบหางด้านบนมีเส้นใยสีแดงต่อท้ายยาวออกไปอีก หัวมีแถบสีเหลืองเฉียงจากใต้ตา ถึงบริเวณกลางขากรรไกรบนและอีกอันหนึ่งจากตาด้านหน้าถึงปลายจมูก ลำตัวส่วนบนเป็นสีดอกกุหลาบส่วนด้านล่างเป็นสีเงิน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทรายแดง ชื่อสามัญ: Mauvelip threadfin bream ชื่อวิทยาศาสตร์: Nemipterus mesoprion วงศ์ (Family): Nemipteridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ขอบตาล่างอยู่ใต้เส้นที่ลากจากปลายจมูกถึงฐานด้านบนของครีบอก มีแถบสีเหลืองทองเฉียงจากใต้ตาถึงกลางขากรรไกร ลำตัวด้านบนเป็นสีชมพูอมขาวส่วนลำตัวด้านล่างมีสีเงิน ปลาทรายแดงมีลักษณะใกล้เคียงกับ ปลาทรายแดงหางเหลือง แต่ครีบหางไม่มีเส้นใยที่ต่อยาวออกไป ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทรายขาว,สายรุ้ง,นกกะลิง ชื่อสามัญ: Butterfly whiptail ชื่อวิทยาศาสตร์: Pentapodus setosus วงศ์ (Family): Nemipteridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: เกล็ดบริเวณหัวมีไปถึงด้านหน้าระหว่างขอบตาข้างหน้าและรูจมูกด้านหลัง ครีบท้องสั้นไม่ถึงรูทวารหนัก ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอ่อนส่วนล่างของลำตัวเป็นสีขาว มีแถบสีน้ำเงินสองแถบพาดผ่าน เริ่มจากกลางตาถึงปลายจมูก และจากริมฝีปากบนถึงขอบตาล่าง ครีบหางด้านบนมีเส้นใยสีแดงต่อท้ายยาวออกไปอีก ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทรายขาวเกล็ดเหลือง ชื่อสามัญ: Pearly monocle bream ชื่อวิทยาศาสตร์: Scolopsis margaritifera วงศ์ (Family): Nemipteridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: เกล็ดบริเวณหัวลามไปจนถึงจมูกด้านหน้า ครีบท้องยาวเกือบถึงหรือยาวกว่า จุดเริ่มต้นของครีบก้น ลำตัวด้านบนเป็นสีมะกอกส่วนด้านล่างเป็นสีขาว มีแถบสีขาวมุก 2 แถบที่จมูกถึงขอบตาส่วนหน้า ครีบหางส่วนล่างมีสีแดง บางตัวมีผิวหน้าท้องสีเหลือง มีจุดดำระหว่างก้านครีบหลังอันแรกกับอันที่สี่ ชนิดที่อยู่ในมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปรซิฟิกอาจมีรูปแบบสีที่แตกต่างกัน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทรายขาวคอขาว,กรัง,ข้าวเปียก ชื่อสามัญ: Whitecheek monocle bream ชื่อวิทยาศาสตร์: Scolopsis vosmeri วงศ์ (Family): Nemipteridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: สายพันธุ์นี้มีความโดดเด่น มีเกล็ดบริเวณข้างหัวไปจนถึงจมูกด้านหน้า ขอบตาล่างอยู่ในระดับเดี่ยวกับจมูกและฐานครีบอก มีสันกระดูกยืนออกมาจากบริเวณใต้ตา มีเกล็ดที่แผ่นปิดเหงือก 4 – 7 แถว เกล็ดบนลำตัวส่วนใหญ่ (ยกเว้นคอดครีบหาง) มีจุดดำ คอดหางมีสีขาว โดยปกติจะมีแถบสีขาวอยู่ตั้งแต่จุดกำเนิดของเส้นด้านข้างจนถึงด้านล่างส่วนหลังของครีบหลัง บริเวณต้นคอไปยังแผ่นปิดเหงือก เป็นแถบสีขาวกว้าง ฐานด้านบนของครีบอกมีจุดดำเล็ก ๆ ครีบท้องและครีบก้นมีสีแดงเข้มหรือแดงอมส้ม ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทรายขาวแถบ ชื่อสามัญ: Peters' monocle bream ชื่อวิทยาศาสตร์: Scolopsis affinis วงศ์ (Family): Nemipteridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ที่ตำแหน่งขอบ preopercle ด้านล่างมีเกล็ดอ่อน ครีบท้องยาวถึงหรือเกินระดับทวารหนัก มีแถบสีน้ำเงินที่ไม่เด่นชัดมากระหว่างดวงตาและแถบสีขาวแคบ ๆ จากกลางริมฝีปากบนถึงใต้ตา ในวัยเด็กมีแถบสีน้ำตาลเข้มที่ด้านข้างของเส้นกลางหลังด้านหลังและแถบด้านหลังสีน้ำตาลเข้มด้านบนเป็นสีเหลือง ลำตัวเป็นสีเงิน - ขาว ส่วนหัวด้านบนและจมูกมีสีเทาหม่น ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทรายขาวแถบน้ำตาล ชื่อสามัญ: Monogrammed monocle bream ชื่อวิทยาศาสตร์: Scolopsis monogramma วงศ์ (Family): Nemipteridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: มีเกล็ดบริเวณหัวจากขอบตาด้านหน้าไปจนถึงจมูกด้านหน้า ที่ตำแหน่งขอบ preopercle ด้านล่างมีเกล็ดอ่อน ครีบท้องยาวเกือบถึงฐานของครีบก้น ครีบหางตอนบนยาวน้อยกว่าตอนล่างเล็กน้อย มีแถบสีน้ำเงิน 3 แถบ บนจมูก ส่วนบนสุดที่เชื่อมต่อกับดวงตาเหนือรูจมูก ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาปากคมใหญ่ ชื่อสามัญ: Slender lizardfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Saurida elongata วงศ์ (Family): Synodontidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทย รายละเอียด: ลำตัวยาวเรียวกลมคล้ายทรงกระบอก ปากมีฟันคม ลักษณะหัวคล้ายหัวตุ๊กแก มีครีบหลัง ๒ ครีบ คือครีบธรรมคาและครีบไขมันซึ่งยาวเป็นติ่งเล็กๆ ใกล้โคนหาง ก้านครีบอ่อนด้านในของครีบท้องยาวกว่าด้านนอกครีบหางแฉกลึกเป็นรูปส้อม ลำตัวเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทา ครีบต่างๆ เป็นสีเทาหรือขาวเหลือง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาปากคมจุด ชื่อสามัญ: Brushtooth lizardfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Saurida undosquamis วงศ์ (Family): Synodontidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลักษณะคล้ายปลาปากคมชนิดอื่นๆมีรอยแต้มสีคำเรียงกันบนค้านข้างลำตัว และมีจุดสีคำเล็กๆ อยู่ที่ตอนหน้าของครีบหลังและครีบหางตอนบน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาปากคมลาย ชื่อสามัญ: Variegated lizardfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Synodus variegatus วงศ์ (Family): Synodontidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลักษณะคล้ายปลาปากคมชนิคอื่นๆ แต่ปากแหลมกว่า ตลอดแนวสันหลังเป็นสีน้ำตาลอมเทา ส่วนสันท้องสีขาวเงิน บนลำตัวมีแถบลายสีดำพาคขวาง ๘ แถบ ครีบต่างๆ สีขาวเทาหรือเหลืองอ่อน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาปากคมหูดำ , ปลาปากคมจมูกสั้น ชื่อสามัญ: Bluntnose lizardfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Synodus myops วงศ์ (Family): Synodontidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลักษณะคล้ายปลาปากคมชนิดอื่นๆ แต่หัวไม่แบน จะงอยปากสั้นและทู่ ปากกว้างและเฉียงลงมาก ตาเกือบอยู่ปลายสุดหัว คลอดลำตัวลายเป็นแถบยาวสีน้ำตาลอมเหลืองขอบน้ำเงิน เหนือครีบอกมีรอยแต้มเป็นแห่งยาวสีคำ - รอย ครีบต่างๆ เป็นสีขาวเหลือง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาปากคมอิศรางกูร ชื่อสามัญ: Shortjaw saury ชื่อวิทยาศาสตร์: Saurida isarankurai วงศ์ (Family): Synodontidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายเฉพาะบริเวณอ่าวไทย รายละเอียด: ลำตัวเรียวรูปทรงกระบอกยาว ส่วนหัวกลมเรียวส่วนหางแบนข้าง จะงอยปากแหลม ปากกว้าง มุมปากลึกเข้ามาในแนวเฉียงจึงมีลักษณะคล้ายกับหัวของกิ้งก่า มีฟันแหลมคมเรียงกันเป็นแถบซ้อนกันไม่เป็นระเบียบ ตามีแผ่นไขมันปิด มีเกล็ดแบบขอบเรียบ เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ ครีบหลังสองตอน โดยตอนแรกมีก้านครีบอ่อนที่แตกแขนง 10–15 ก้าน ครีบหลังตอนที่สองเป็นครีบไขมัน ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม มีสีพื้นลำตัวเป็นสีนํ้าตาลลำตัว มีความยาวมาตรฐานสูงสุดประมาณ 12 เซนติเมตร อยู่ตามพื้นทรายและพื้นโคลน มีอยู่เฉพาะอ่าวไทยเท่านั้น ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาตาโต, ปลาตาหวาน ชื่อสามัญ: Purplespot bigeye ชื่อวิทยาศาสตร์: Priacanthus tayenus วงศ์ (Family): Priacanthidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: รูปร่างคล้ายรูปไข่ ยาว ด้านข้างแบน หัวใหญ่ ตาโต ตาแคงเข้มเป็นเงามัน เกล็ดเล็กหยาบที่มุมฝาปิดเหงือกมีหนามแหลม ๑ อัน ครีบอกเล็กครีบท้องใหญ่แต่สั้นกว่าความยาวของหัว ในเพศผู้ครีบหางเว้าและเป็นเส้นยาวยื่นออกไป ส่วนในเพศเมียไม่มีเส้นดังกล่าว พื้นลำตัวและครีบเป็นสีแดงหรือชมพูแก่ ครีบท้องมีจุดสีน้ำตาลประอยู่ทั่วไป ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาฤาษี , ปลาหนวดฤาษี ชื่อสามัญ: Red mullet ชื่อวิทยาศาสตร์: Parupeneus heptacanthus วงศ์ (Family): Mullidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: รูปร่างยาว ใต้คางมีหนวด ๒ เส้น ครีบหลังแยกเป็น ๒ อัน ครีบหางเว้าลึกพื้นลำตัวค้านบนเป็นสีชมพูหรือแดง ด้านท้องสีขาวเงิน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาแพะเหลือง ชื่อสามัญ: Sulphur goatfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Upeneus sulphureus วงศ์ (Family): Mullidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: รูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังแยกเป็น ๒ อันมีแถบสีเหลืองพาด ศรีบหางเว้าลึกสีส้มขอบมีสีน้ำตาล พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีส้มเหลืองด้านท้องสีขาวเงินมีแถบสีเหลืองพาคตามความยาวลำตัวไปจนถึงโคนหาง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาแพะหนวดขาว ชื่อสามัญ: Indian goatfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Parupeneus indicus วงศ์ (Family): Mullidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: มีหนวดใต้คางสีขาว ๒ เส้น หัวโต หน้าผากลาดลง ตาเล็ก ครีบต่างๆสมบูรณ์และใหญ่ ครีบหางแฉกลึกรูปส้อม พื้นลำตัวเป็นสีม่วงแดง สีค่อนข้างจาง เหนือเส้นข้างตัวระหว่างครีบหลังทั้งสองมีรอยแต้มเป็นรูปไข่สีเหลืองทองอยู่ ๑ รอย ที่โคนหางมีจุดแต้มสีดำใหญ่ ๑ จุด ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาแพะ ชื่อสามัญ: Ochrebanded goatfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Upeneus sundaicus วงศ์ (Family): Mullidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ครีบหลังสองตอนแยกห่างออกจากกัน ปากเล็กยืดหดได้ ใต้คางมีหนวดยาว 2 เส้นสีเหลืองทำหน้าที่คุ้ยหาเหยื่อที่ฝังตัวอยู่ใกล้พื้นท้องน้ำ ลำตัวสีแดงหรือสีเทาเข้มด้านล่างสีขาว ด้านข้างมีแถบเส้นสีน้ำตาลซีดจากด้านหลังตาถึงฐานครีบหาง ครีบหางด้านบนมีแถบสีแดงหรือสีเทา บริเวณที่จมูกและเหนือตามีสีแดงหรือเทา ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาแพะลาย ชื่อสามัญ: Freckled goatfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Upeneus tragula วงศ์ (Family): Mullidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลำตัวสีขาวหรือสีน้ำตาลเบจ หนวดที่คางสีเหลือง มีแถบสีเหลืองเข้มถึงน้ำตาลจากจมูกไปจนถึงส่วนบนของฐานครีบหาง ตามลำตัวมีจุดสีแดงน้ำตาลหรือดำเป็นจ้ำ ๆ มีจุดสีเข้มขนาดใหญ่ที่ปลายครีบหลังทั้งสองตอน และแถบสีเข้มบนครีบหางและครีบท้อง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทู ชื่อสามัญ: Short-bodied mackerel ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851) วงศ์ (Family): Scombridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลำตัวสัน แบนข้างมาก ความลึกลำตัวโดยเฉพาะบริเวณหลังช่วงเหงือกเท่ากับความยาวหัวหรือมากกว่า ปากกว้างและเฉียงขึ้น มุมปากยื่นเข้ามาใต้นัยน์ตา มีเยื่อเหมือนวุ้นอยู่รอบนัยน์ตา ครีบหลังแยกเป็น ๒ ตอน และตามด้วยครีบฝอย ๕ อัน เช่นเดียวกับครีบกัน ลำตัวสีน้ำเงินแกมเขียว มีจุดคำใต้ครีบหลังประมาณ ๑๒-๑๔ จุค ในบางท้องถิ่นบนลำตัวมีแถบสีน้ำเงินยาวตามลำตัว ครีบหลังอันแรกสีเหลืองขอบครีบคำ ครีบอกและครีบท้องมีจุคคำเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป ครีบอื่นๆสีเหลือง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาลัง ชื่อสามัญ: Indian mackerel ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger kanagurta (Cuvier , 1816) วงศ์ (Family): Scombridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: รูปร่างคล้ายปลาทู แต่มีตาโตกว่า และลำตัวยาว ครีบทุกครีบเป็นสีขาวเหลืองหรือขาวเทา ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาอินทรีย์บั้ง ชื่อสามัญ: Narrow-barred Spanish mackerel ชื่อวิทยาศาสตร์: Scomberomorus commerson (Lacep?de , 1800) วงศ์ (Family): Scombridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: รูปร่างเรียวยาว แบนข้างมาก ผิวเรียบไม่มีเกล็ด ปากกว้าง ครีบหลังแยกเป็น ๒ ตอน แต่ส่วนฐานยังติดต่อถึงกัน เส้นข้างตัวตอนหน้าโค้งตามแนวสันหลัง และหยักลึกตรงเหนือรีบกัน ครีบอกค่อนข้างเล็กปลายแหลมครีบท้องเล็กอยู่ใต้ครีบอก ครีบหางปลายเว้าเป็นแฉกลึก หลังสีน้ำเงินเข้มอมเทา มีแถบสีเทาเข้มเป็นบั้งจำนวนมากพาดขวางลำตัว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาอินทรีย์จุด ชื่อสามัญ: Indo-Pacific king mackerel ชื่อวิทยาศาสตร์: Scomberomorus guttatus (Bloch & Schneider, 1801) วงศ์ (Family): Scombridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: รูปร่างเรียวยาวแบบกระสวย ลำตัวแบนข้าง ปลายหางคอด ผิวหนังเรียบ ไม่มีเกล็ด จะงอยปากแหลม ปากกว้าง ครีบหลังแยกเป็นสองตอนครีบหางเว้าลึก หลังสีน้ำเงินเข้มอมเทา ข้างและท้องสีขาวเงิน มีจุดสีเทาเข้มหลายแถวจากครีบอกถึงคอดหาง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ช่อนทะเล, ไหโหลย ชื่อสามัญ: Cobia ชื่อวิทยาศาสตร์: Rachycentron canadum (Linnaeus, 1766) วงศ์ (Family): Rachycentridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: รูปร่างยาว ลำตัวกลมเป็นรูปทรงกระบอก หัวแบนกว้าง ปากกว้างใหญ่เกล็ดเล็ก ครีบหลังตอนหน้าเป็นหนามสั้นและแยกจากกัน ครีบหางกลมเมื่อยังเป็นปลาขนาคเล็ก แต่เมื่อโคเต็มที่ครีบหางจะเว้าลึกโดยมีแพนหางอันบนยาวกว่าอันล่าง ตลอดลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมเทาสลับด้วยแถบสีขาว ๒ แถบพาดไปตามความยาวลำตัว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาหมูสี , ปลาหมูสีแก้มแดง ชื่อสามัญ: Emperor , Pink ear emperor ชื่อวิทยาศาสตร์: Lethrinus lentjan (Lacep?de, 1802) วงศ์ (Family): Lethrinidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: รูปร่างคล้ายคลึงปลากะพงมาก ที่แตกต่างก็คือปลาหมูสีมีจะงอยปากที่ยาวและแหลมกว่า มีเกล็ดขนาคเล็กที่แก้มอันหลังและลำตัว ลำตัวป้อมท่อนหางยาวปลายคอด หัวโต ปากกว้าง นัยน์ตาโตอยู่ใกล้กะโหลกหัวครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็ง มีปลายเป็นหนามแหลมยื่นพ้นตัวครีบ ส่วนหลังของครีบมีปลายเรียวแหลมเช่นเคียวกับปลายครีบก้น ครีบอกมีปลายแหลม ครีบหางเว้าเล็กน้อย ปลายแฉกแหลม พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลืองเกล็ดทุกเกล็ดมีจุดสีขาว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาสากดำ ชื่อสามัญ: Pickhandle barracuda ชื่อวิทยาศาสตร์: Sphyraena jello (Cuvier, 1829) วงศ์ (Family): Sphyreanidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลำตัวยาว จะงอยปากยาว มุมปากอยู่ใต้ขอบหน้าของนัยน์ต ครีบหลังแยกห่างออกจากกันเป็น 2 ครีบ ครีบหลังอันแรกมีจุดเริ่มอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง ครีบหลังอันที่สองมีจุดเริ่มอยู่หน้าจุดเริ่มต้นของครีบกัน ครีบหางเป็นแฉกลึก หลังสีดำอมเทา สีข้างและท้องสีขาวแถบคำเป็นบั้งๆ จากแนวสันหลังถึงบริเวณท้อง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาสากเหลือง ปลาน้ำคอกไม้ ปลาซัวกุน ชื่อสามัญ: Obtuse barracuda ชื่อวิทยาศาสตร์: Sphyraena obtusata (Cuvier, 1829) วงศ์ (Family): Sphyreanidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลำตัวค่อนข้างกลม และยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง ปากแหลมขากรรไกรล่างยื่นยาวเลยริมขอบปากบน กระดูกแก้มเป็นมุมฉาก มุมปากยื่นไม่ถึงขอบนัยน์ตา ครีบหลังแยกออกเป็น ๒ ตอน จุดเริ่มต้นของครีบหลังตอนที่สองอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบกันเล็กน้อย หลังสี่เหลืองอ่อน ท้องสีขาวบนลำตัวไม่มีบั้ง แถบ หรือจุดสี ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กะพงแดงปานขาว ชื่อสามัญ: Two-spot red snapper ชื่อวิทยาศาสตร์: Lutjanus bohar (Forssk?l 1775) วงศ์ (Family): Lutjanidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ปลาขนาดปานกลางถึงใหญ่ มีลำตัวป้อมและแบนข้างปานกลาง มีเกล็ดปกคลุมลำตัวและแก้มเป็นแบบที่มีขอบหลังเป็นหนาม (ctenoid) ปากกว้าง มีร่องจากจมูกไปถึงด้านหน้าของตา ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงมีแถบสีเข้มเข้มจาง ๆ ครีบท้องอยู่ตำแหน่งอก มีจุดเริ่มต้นอยู่หลังฐานครีบหู ครีบอกมีสีชมพูขอบหลังสีดำเด่นชัด ในวัยเด็กและตอนโตบางตัวอาจมีจุดสีเงินสีขาวสองจุดที่ด้านหลัง ครีบหางมีลักษณะตัดตรง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาข้างเหลือง ชื่อสามัญ: Goldenstriped snapper ชื่อวิทยาศาสตร์: Lutianus lutjanus (Bloch, 1790) วงศ์ (Family): Lutjanidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลำตัวยาวและเกือบกลม ตาโต ปากค่อนข้างเล็ก เกล็ดเล็ก ครีบหางเว้าน้อย พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลอมแดง ด้านท้องสีเหลืองอ่อน เหนือเส้นข้างตัวมีเส้นสีเหลืองทองเล็กๆ หลายเส้น ส่วนใต้เส้นข้างตัวมีแถบสีเหลืองทองพาดจากเบื้องหลังตาไปสุดที่โคนหางด้านบน ถัดจากแถบดังกล่าวเป็นเส้นเล็กๆ หลายเส้นพาดไปตามความยาวขนานกันไป ครีบทุกครีบสีเหลืองส้ม ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กะพงทอง ปลากะพงแดงข้างปาน อังเก่ย ชื่อสามัญ: Golden snapper, John 's snapper ชื่อวิทยาศาสตร์: Lutjanus johnii (Bloch, 1792) วงศ์ (Family): Lutjanidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ปลากะพงทอง มีรูปร่างค่อนข้างป้อม แบนข้าง ลำตัวมีสีเหลืองทอง มีจุดสีดำบริเวณลำตัวค่อนมาทางครีบหางพ่อแม่พันธุ์ปลาเมื่อมีขนาด 4 - 5 กิโลกรัม สามารถนำมาเพาะพันธุ์ในบ่อคอนกรีตที่มีระบบน้ำหมุนเวียน อัตราส่วนเพศผู้ : เพศเมีย 1:1 โดยให้ปลาสดเป็นอาหารและเสริมด้วยวิตามินซี วิตามินอี สาหร่าย สไปรูลิน่า และสารอาหารแคปซูลของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งภูเก็ต เพาะพันธุ์โดย วิธีฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์กระตุ้นให้มีการผสมพันธุ์วางไข่ตามธรรมชาติ ไข่ปลากะพงทองเป็นไข่ลอย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 700 - 800 ไมครอน การเก็บไข่จากบ่อพ่อแม่พันธุ์โดยใช้ผ้าขาวตาละเอียดรวบรวมไข่ในตอนเช้านำมาฟักในถัง ประมาณ 17 - 18 ชั่วโมง ลูกปลาเริ่มฟักเป็นตัว ที่อุณหภูมิน้ำ 29 - 30 องศาเซลเซียส ความเค็ม 28 - 30 ส่วนในพันส่วน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลากะพงแดง ชื่อสามัญ: Malabar blood snapper ชื่อวิทยาศาสตร์: Lutjanus malabaricus (Bloch & Schneider, 1801) วงศ์ (Family): Lutjanidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลำตัวค่อนข้างยาวและแบนกว้าง หัวใหญ่เกล็ดโตพอประมาณ ขอบเกล็ดเรียบ ครีบอกแหลมยาวเกือบจดส่วนหน้าครีบกัน ครีบหางตัดหรือเว้าน้อยลำตัวสีชมพูอมแดง เหนือเส้นข้างตัวมีสีเหลืองจางๆ พาดเฉียงขึ้นไปข้างบน ส่วนใต้เส้นข้างตัวพาดไปตามความยาว มีแถบสีแดงอมม่วงพาดจากแนวหลังนัยน์ตาไปจรดฐานครีบหลัง มีรอยแต้มสีแดงที่โคนหางด้านบน ๑ รอย ครีบทุกครีบมีสีชมพูอมแดง ครีบหลังและครีบหางมีปลายครีบดำ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลากะพงข้างแถว ชื่อสามัญ: Brownstripe snapper ชื่อวิทยาศาสตร์: Lutjanus vitta (Quoy and Gaimard, 1824) วงศ์ (Family): Lutjanidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: เกล็ดเล็ก ครีบทางตัดตรง พื้นลำตัวสีเหลืองอมแดง ด้านข้างลำตัวเป็นสีม่วงแดง ด้านท้องสีขาวเงิน มีแถบเล็กๆ สีเทาปนดำ ๑ แถบ พาดจากเบื้องหลังตาไปสุดที่โดนครีบหางตอนบน ครีบทุกครีบเป็นสีเหลือง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลากะตักหัวแหลม ชื่อสามัญ: shorthead anchovy ชื่อวิทยาศาสตร์: Encrasicholina heteroloba (Ruppell, 1837) วงศ์ (Family): Engruaridae ถิ่นกำเนิด: nan รายละเอียด: มีขนาดเล็ก รูปร่างกลมยาว ท้องกลม เกล็ดที่ท้องรูปร่างเหมือนเข็มมี ๔-๖ เกล็ด มุมปากอยู่เลยนัยน์ตามาก ปากแหลม นัยน์ตาโต ลำตัวสีขาวใสท้องสีขาว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลากะตักควาย, ใส้ตัน ชื่อสามัญ: anchovy , Indian anchovy ชื่อวิทยาศาสตร์: Stolephorus indicus (van Hasselt, 1823) วงศ์ (Family): Engruaridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลำตัวยาวเรียวด้านข้างแบน ท้องเป็นสัน เกล็ดบริเวณหน้าครีบท้องแข็งเป็นหนาม หัวโต จะงอยปากสั้น ปากกว้างและเฉียงขึ้นข้างบน ครีบหลังและครีบกันมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหางลึกเป็นแฉก ครีบอกและครีบท้องมีขนาคเล็กมีแถบสีขาวดาคที่ข้างลำตัวและมีจะงอยปากใหญ่กว่าปลากะตักชนิดอื่น ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลากะตัก,กังฮื้อ ชื่อสามัญ: Thai anchovy ชื่อวิทยาศาสตร์: Stolephorus dubiosus (Wongratana , 1983) วงศ์ (Family): Engruaridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทย รายละเอียด: ลำตัวยาวแบนข้าง จะงอยปากค่อนข้างสั้นส่วนปลายแหลม ปากเปิดออกด้านล่าง มีกระดูกขากรรไกรบนชี้ยาวเลยขอบหลังของ pre-operculum เกล็ดมีขนาดปานกลาง ไม่มีเส้นข้างตัว ท้องเป็นสันคมมีหนามที่ท้อง ครีบก้นสั้นจุดกำเนิดอยู่ ระยะประมาณกลางฐานครีบหลัง มีเส้นสีคู่ด้านหลังบริเวณใต้ครีบหลัง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลากะตักหัวป้าน,กังฮื้อ ชื่อสามัญ: Hardenberg's anchovy ชื่อวิทยาศาสตร์: Stolephorus insularis (Hardenberg , 1933) วงศ์ (Family): Engruaridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ลำตัวยาวแบนข้าง จะงอยปากค่อนข้างสั้นส่วนปลายแหลม ปากเปิดออกด้านล่าง มีกระดูกขากรรไกรบนชี้ยาวเลยขอบหลังของ pre-operculum ไม่มีเส้นข้างตัว ท้องเป็นสันคมมีหนามที่ท้อง ครีบก้นสั้นมีจุดกำเนิดอยู่ด้านล่างประมาณกลางฐานครีบหลัง ทวารหนักใต้ส่วนหน้าของฐานครีบหลัง มีเส้นสีเป็นคู่ที่ด้านหลัง หางสีเหลืองเข้ม ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาแมว ชื่อสามัญ: Hamilton thryssa ชื่อวิทยาศาสตร์: Thryssa hamiltonii (Gray , 1835) วงศ์ (Family): Engruaridae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: รูปร่างเรียวยาวแบนข้าง ไม่มีเส้นข้างลำตัว ท้องมีสันกระดูกแหลมคมคล้ายฟันเลื่อย ปลายจมูกอยู่เหนือระดับกึ่งกลางตาโดยปกติจะอยู่ที่ระดับขอบตาบน กระดูกขากรรไกรบนสั้น มีรอยดำด้านหลังส่วนบนของช่องเหงือก ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาปักเป้าหนามทุเรียน ชื่อสามัญ: Blackblotched porcupinefish ชื่อวิทยาศาสตร์: Diodon liturosus (Shaw, 1804) วงศ์ (Family): Diodontidae ถิ่นกำเนิด: พบอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลในชายฝั่งทั่วไปในอ่าวไทย รายละเอียด: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนมีลำตัวค่อนข้างกลม และแบนทางด้านบนเล็กน้อย หัวขนาดใหญ่เรียวเล็กลงไปทางหาง ตากลมโต กลอกไปมาได้และมีหนังตายื่นลงมาเป็นติ่ง ปากหนามีฟันเชื่อมต่อกัน ครีบหูขนาดใหญ่คลี่ออกคล้ายพัด ครีบหลังมีอันเดียวอยู่เยื้องไปทางหาง ครีบท้องไม่ปรากฎ ครีบทวารอยู่ตรงกับครีบหลัง ครีบหางโค้งกลม ขนาดความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ผิวลำตัวเป็นหนังย่นและมีหนามแข็งพับลู่ไปทางหาง แต่จะตั้งขึ้นเมื่อตกใจหรือถูกรบกวนและพองตัวได้ พื้นลำตัวมีสีเทา มีลายด่างสีดำเป็นปื้นใต้ตา ใต้คาง บนหัว ข้างแก้มและบนหลัง ปลาปักเป้าชนิดนี้ เนื้อของปลาชนิดนี้รับประทานไม่ได้ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาปักเป้าลาย ชื่อสามัญ: Orange-spotted toadfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Torquigener hypselogeneion (Bleeker, 1852) วงศ์ (Family): Tetraodontidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามแนวทรายชายฝั่งตื้นและในปากแม่น้ำ รายละเอียด: ปลาปักเป้าลายมีลักษณะลำตัวสีน้ำตาลเข้ม มีจุดสีเหลืองและมีลวดลายที่ด้านหลัง มีแถบสีเหลืองถึงน้ำตาลทึบตั้งแต่โคนครีบอกด้านบนถึงโคนครีบหาง แถบสีน้ำตาลแนวตั้งกว้าง 4 แถบที่แก้ม (แถบที่ 2 ใต้ตา) และ ส่วนล่างของลำตัวมีสีขาว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปักเป้าลายน้ำตาล ชื่อสามัญ: Half-smooth golden puffer ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagocephalus spadiceus (Richardson, 1844) วงศ์ (Family): Tetraodontidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ในทะเลและตามบริเวณปากแม่น้ำ รายละเอียด: ปักเป้าลายน้ำตาลมีลักษณะลำตัวกลม หัวทู่ ปากสั้น จมูกเป็นท่อ มีเส้นข้างตัวอย่างน้อย 1 เส้น ลำตัวกลม มีก้านครีบหลังและครีบก้นไม่เกิน 16 ก้าน จมูกมีช่องเปิด 2 ช่อง หางเว้าเป็นรูปส้อม แนวข้างลำตัวไม่มีหนาม ไม่มีจุดสีเข้มที่หลังและข้างลำตัว บริเวณของหนามบริเวณหน้าครีบหลังกระจายแคบแล้วกว้างขึ้นจนปกคลุมบริเวณส่วนบนของหัวทั้งหมด อวัยวะหลายส่วนเป็นพิษร้ายแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อมนุษย์ได้ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปักเป้าหลังด่าง ชื่อสามัญ: Suez puffer ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagocephalus suezensis (Clark & Gohar, 1953) วงศ์ (Family): Tetraodontidae ถิ่นกำเนิด: บริเวณชายฝั่งทะเล รายละเอียด: ปักเป้าหลังด่างโดยปกติแล้วจะมีขนาดลำตัวยาว 7 -15 เซนติเมตร ครีบหลังแบบครีบเดี่ยวมีครีบอ่อน 10-19 ก้าน ครีบทวารมีครีบอ่อน 8-12 ครีบหางเว้าเล็กน้อย หัวลักษณะยื่นยาว ปากเล็กและมีที่ฟันแข็งแรง ลำตัวเรียบเนียนไม่มีเกล็ด มีหนามที่เล็กมากสามารถมองเห็นได้ที่บริเวณท้องและบริเวณพื้นผิวด้านหลัง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาปักเป้าเขียว ชื่อสามัญ: Green rough backed puffer ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagocephalus lunaris (Bloch and Schneider, 1801) วงศ์ (Family): Tetraodontidae ถิ่นกำเนิด: ตามพื้นทะเลที่เป็นทราย แนวปะการังชายฝั่ง หรือบริเวณปากแม่น้ำ รายละเอียด: ปลาปักเป้ามีลักษณะลำตัวกลม หัวทู่ ปากสั้น จมูกเป็นท่อ มีเส้นข้างตัวอย่างน้อย 1 เส้น ลำตัวกลม มีก้านครีบหลังและครีบก้นไม่เกิน 16 ก้าน จมูกมีช่องเปิด 2 ช่อง หางเว้าเป็นรูปส้อม แนวข้างลำตัวไม่มีหนาม ไม่มีจุดสีเข้มที่หลังและข้างลำตัว บริเวณของหนามหน้าครีบหลังกระจายเป็นบริเวณกว้างจนคลุมบริเวณส่วนบนของหัวทั้งหมด โดยขอบด้านข้างเว้าเล็กน้อย ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาปักเป้า ชื่อสามัญ: Milkspotted puffer ชื่อวิทยาศาสตร์: Chelonodon patoca (Buchanan, 1822) วงศ์ (Family): Tetraodontidae ถิ่นกำเนิด: พบได้ตามชายฝั่ง ทะเลสาบ ปากแม่น้ำหรือบริเวณป่าชายเลน รายละเอียด: เป็นปลาปักเป้าขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 38 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยจะพบเพียงแค่ 13–15 เซนติเมตร ลำตัวมีลวดลายสะดุดตา โดยเฉพาะมีลายพาดบริเวณหลังในแนวครีบอกและครีบก้น เป็นลายพาดคล้ายอานม้าสีดำมีขอบสีขาว หลังมีสีเขียวอมเหลือง และมีจุดกลมสีขาวขนาดแตกต่างกันกระจายทั่ว ข้างลำตัวมีสีขาวเหลือบเงิน ท้องมีสีเหลืองสด ครีบต่าง ๆ ใสไม่มีสี ยกเว้นครีบหางที่เป็นสีเหลืองสด ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาปักเป้าก้นดำ ชื่อสามัญ: Stellate puffer ชื่อวิทยาศาสตร์: Arothron stellatus (Bloch and Schneider, 1801) วงศ์ (Family): Tetraodontidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปในบริเวณอ่าวไทย ปากแม่น้ำและในทะเลเขตร้อน รายละเอียด: ปลาปักเป้าก้นดำมีลักษณะลำตัวอ้วนกลมและเรียวเล็กน้อย ปากเล็ก ฟันเหมือนนกแก้ว ตากลมโต ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ค่อน ไปทางหาง ครีบหูเล็ก ครีบทวารอยู่เยื้องไปทางด้านซ้ายของครีบหลัง ครีบหางโค้งกลมเป็นรูปพัด ขนาดความยาวประมาณ 40-50 cm พื้นผิวลำตัวสีขาว แต้มด้วยจุดดำปะปนอยู่ทั่วไป ครีบหลังและครีบหูมีสีเหลืองอ่อน สามารถพองตัวออกได้เมื่อตกใจ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาเห็ดโคน, ปลาทราย ชื่อสามัญ: Silver sillago ชื่อวิทยาศาสตร์: Sillago sihama (Forssk?l, 1775) วงศ์ (Family): Sillaginidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ปลาเห็ดโคนมีลักษณะรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว จะงอยปากยาวยื่นออกไป ยาวกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงตา ปากมีขนาดเล็ก เกล็ดเล็ก ครีบหางเว้าน้อย ฟื้นลำตัวด้านบนเป็นสีเทาหรือสีมะกอก ด้านท้องสีขาวเงิน มีแถบสีเงินพาคไปตามความยาวลำตัว ครีบต่าง ๆ เป็นสีเทาคล้ำ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ฉลามกบ ชื่อสามัญ: Brownbanded bambooshark ชื่อวิทยาศาสตร์: Chiloscyllium punctatum วงศ์ (Family): Hemiscylliidae ถิ่นกำเนิด: แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในทะเลบริเวณแนวปะการังเขตน้ำขึ้นน้ำลงแถบอินโดแปซิฟิกตะวันออก รวมถึงประเทศไทย รายละเอียด: เป็นปลากระดูกอ่อนกลุ่มฉลาม ลำตัวเรียวยาว ส่วนหัวและส่วนลำตัวใหญ่ มีอวัยวะคล้ายหนวดที่บริเวณส่วนหน้าของหัว ดวงตามีขนาดเล็ก ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบหางส่วนบนยาวกว่าครีบหางส่วนล่าง สามารถนอนนิ่งกบดานอยู่ที่พื้นทะเลได้นานโดยอาศัยกล้ามเนื้อสูบน้ำผ่านเหงือกช่วยในการหายใจ มักอาศัยบริเวณหน้าดิน กินสัตว์น้ำพวก กุ้ง ปู หอย และสัตว์น้ำหน้าดินอื่นเป็นอาหาร ในระยะลูกปลาจะพบลายขาวสลับดำหรือน้ำตาลพาดขวางจำนวน 13 แถบตลอดลำตัวและสีจะค่อย ๆ จางลงเมื่อโตขึ้น ความแตกต่างของเพศผู้และเมียสังเกตได้จากบริเวณครีบท้อง ปลาฉลามเพศผู้จะมีอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ (Claspers) ลักษณะเป็นติ่งเนื้อยื่นออกมาจากครีบท้องทั้ง 2 ข้างในขณะที่เพศเมียจะไม่มีแต่จะมีอวัยวะสืบพันธุ์อยู่ในช่องทวารร่วม (Cloaca) ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ฉลามกบ ชื่อสามัญ: Hasselt's bambooshark ชื่อวิทยาศาสตร์: Chiloscyllium hasseltii วงศ์ (Family): Hemiscylliidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปตามน่านน้ำอินโด - แปซิฟิกตะวันตก รายละเอียด: เป็นฉลามขนาดเล็ก มีลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก หรือค่อนข้างแบนลงเล็กน้อย ตาอยู่ทางด้านบนในแนวข้างของส่วนหัว ช่องหายใจมีขนาดใหญ่อยู่ทางด้านหลังหรือด้านล่างของตาเพียงเล็กน้อย จมูกสั้น มีร่องเชื่อมระหว่างจมูกกับปาก มีอวัยวะคล้ายหนวดที่จมูกสั้น ปากมีขนาดเล็กอยู่ในแนวขวางของส่วนหัว ครีบหลังทั้งสองครีบมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบอกมีขนาดเล็ก และกลม ครีบก้นกลมมีขนาดเล็ก และสั้นแยกออกจากครีบหางด้วยร่องตื้น ๆ ครีบหางยาว บริเวณครีบหางมีรอยบากเด่นชัด ไม่มีครีบท้องเมื่อยังไม่เจริญพันธุ์จะมีแถบสีน้ำตาลเทาเข้มที่ ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปานกลางถึงน้ำตาลเข้ม เมื่อโตเต็มวัยขอบสีดำจะหายไป ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ฉลามลายหินอ่อน ชื่อสามัญ: Coral catshark ชื่อวิทยาศาสตร์: Atelomycterus marmoratus วงศ์ (Family): Scyliorhinidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปตามน่าน้ำอินโด - แปซิฟิกตะวันตก รายละเอียด: ปลาฉลามลายหินอ่อนมีลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก หัวสั้นและแคบ จมูกสั้นและแบนเล็กน้อย ดวงตาเป็นรูปไข่ในแนวนอน ปากยาวเชิงมุมมีร่องยาวมากที่ขยายไปทั้งขากรรไกรบนและล่าง ครีบอกมีขนาดใหญ่พอสมควร ครีบหลังอันแรกทำมุมไปข้างหลังและครีบหลังที่สองมีรูปร่างคล้ายกัน แต่เล็กกว่า มีจุดสีเทาอ่อนและสีขาว บริเวณกลางสันหลังมีจุดดำแถบและเส้นขนาดใหญ่ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ฉลามหูดำ ชื่อสามัญ: Spot-tail shark ชื่อวิทยาศาสตร์: Carcharhinus sorrah วงศ์ (Family): Carcharhinidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปตามน่านน้ำอินโด - แปซิฟิกตะวันตก รายละเอียด: เป็นฉลามขนาดเล็ก มีลำตัวเรียวยาว จมูกยาวมน ดวงตาทรงกลมขนาดใหญ่ ฟันหยักเฉียง ครีบหลังที่ 1 มีปลายสีเข้มบาง ๆ เด่นชัด ครีบหลังที่ 2 อยู่ค่อนไปทางท้ายลำตัวและที่ปลายมีสีดำ ครีบอกและครีบหางล่างมีปลายสีดำเข้ม ครีบท้องและครีบหางส่วนบนมีสีเทาหรือน้ำตาลเทา บริเวณระหว่างตาและร่องเหงือกมีเงาสีน้ำตาลทองที่ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ไหลงู ชื่อสามัญ: Burrowing snake eel ชื่อวิทยาศาสตร์: Pisodonophis cancrivorus วงศ์ (Family): Ophichthidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปตามแถบอินโด – แปซิฟิก รายละเอียด: ปลาไหลงูมีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวคล้ายงู ทรงกระบอก ขากรรไกรยื่นเลยนัยน์ตา ครีบหลังและครีบหางติดกันยาวสุดปลายหาง ครีบอกมีขนาดเล็ก มีเส้นข้างลำตัวไม่ชัดเจน ลำตัวสีน้ำตาลหรือกลืนกับพื้นทราย มักฝังตัวในทรายและยื่นมาเฉพาะส่วนหัว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ยอดจาก ชื่อสามัญ: Common pike conger ชื่อวิทยาศาสตร์: Muraenesox bagio วงศ์ (Family): Muraenesocidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปตามแถบอินโด - แปซิฟิกตะวันตก รายละเอียด: ปลายอดจากมีลักษณะรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาไหลชนิดอื่น ลำตัวค่อนข้างกลม ไม่มีเกล็ด ส่วนหางแบน ส่วนหัวเรียวยาว ปากกว้าง ขากรรไกรยื่นเลยนัยน์ตา ตาค่อนข้างเล็ก ฟันค่อนข้างใหญ่เป็นฟันเขี้ยวอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ครีบหลีงและครีบหางติดกันยาวจนสุดปลายหาง ครีบอกขนาดเล็ก ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: อีปุดยาว,เล็กฮื้อ,ตาตุ่ม ชื่อสามัญ: Kampen's ilisha ชื่อวิทยาศาสตร์: Ilisha kampeni วงศ์ (Family): Pristigasteridae ถิ่นกำเนิด: พบแพร่กระจายอยู่ในบริเวณทะเลชายฝั่งอันดามันและอ่าวไทย รายละเอียด: เป็นปลาทะเลขนาดเล็ก ประเภทปลาผิวน้ำ ลำตัวยาว แบนข้างมาก ท้องเป็นสันคม ครีบก้นมีฐานยาว ครีบท้อง ครีบอกและครีบหลังมีขนาดเล็ก ครีบหางเว้าลึกเป็นรูปส้อม ปากเฉียงขึ้น สีลำตัวด้านบนมีสีน้ำเงิน ส่วนท้องสีขาวเงิน ครีบทุกครีบจะเป็นสีเหลืองอมส้ม ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: อีปุดตาโต,เล็กฮื้อ,ตาตุ่ม ชื่อสามัญ: Indian ilisha ชื่อวิทยาศาสตร์: Ilisha melastoma วงศ์ (Family): Pristigasteridae ถิ่นกำเนิด: พบแพร่กระจายอยู่ในบริเวณทะเลชายฝั่งอันดามันและอ่าวไทย รายละเอียด: เป็นปลาทะเลขนาดเล็ก ประเภทปลาผิวน้ำ ลำตัวยาว แบนข้างมาก ท้องเป็นสันคม ครีบก้นมีฐานยาว ครีบท้องและครีบหลังเล็ก ครีบหางเว้า ปากเฉียงขึ้น ตาโต สีลำตัวด้านบนมีสีเทาเข้ม ส่วนท้องสีขาวเงิน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ไซตอ, ดาบลาว, ฝักพร้า ชื่อสามัญ: Whitefin wolf-herring ชื่อวิทยาศาสตร์: Chirocentrus nudus วงศ์ (Family): Chirocentridae ถิ่นกำเนิด: พบแพร่กระจายอยู่ในบริเวณทะเลชายฝั่งอันดามันและอ่าวไทย รายละเอียด: เป็นปลาทะเลในวงศ์ Chirocentridae ขนาดโตเต็มที่ 100 เซนติเมตร ลำตัวเรียวยาว และมีทรงแบนด้านข้างมาก ปากมีลักษณะเฉียงขึ้นด้านบน มีฟันเขี้ยวคู่หน้าใหญ่และคม โดยเขี้ยวคู่นี้จะยื่นเลยริมฝีปาก สันท้องคมไม่มีหนาม ครีบหางเว้าลึก ครีบหลังไม่มีรอยแต้มสีดำ ซึ่งเป็นลักษณะที่แยกปลา Chirocentrus nudus ออกจาก Chirocentrus dorab ลำตัวมีสีน้ำเงินเข้มปนเหลือง ท้องสีเงิน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาตะเพียนทะเล ชื่อสามัญ: Chacundagizzard shad ชื่อวิทยาศาสตร์: Anodontostoma chacunda วงศ์ (Family): Clupeidae ถิ่นกำเนิด: มีการแพร่กระจายทั่วไปบริเวณอ่าวไทยและอันดามัน รายละเอียด: ปลาตะเพียนทะเลมีลักษณะลำตัวแบนข้าง ท้องแบนเป็นสัน ปากอยู่ใต้จะงอยปาก ปลายจะงอยปากหู่ปลายมน นัยน์ตาโตและมีวุ้นใสอยู่โดยรอบ ครีบหางเป็นแฉกลึก มีจุดคำขนาfใหญ่หนึ่งจุดบนลำตัวอยู่หลังช่องเหงือก หลังสีเหลือง อมแดง สีข้างและท้องสีขาวเงิน ครีบทุกครีบสีเหลืองอ่อน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: เกล็ดเงิน ชื่อสามัญ: White sardine ชื่อวิทยาศาสตร์: Escualosa thoracata วงศ์ (Family): Clupeidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปตามแถบน่านน้ำอินโด-แปซิฟิกตะวันตก รายละเอียด: เป็นปลาทะเลขนาดเล็กในวงศ์ Chirocentridae ขนาดโตเต็มที่ 10 เซนติเมตร บริเวณลำตัวมีสีเงิน รูปร่างยาวและแบนด้านข้าง ส่วนหัวมีขนาดเล็กกว่าตัวมาก ครีบต่างๆมีสีเงินอมเขียว ในวัยอ่อนจะอาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้น และลงสู่ทะเลลึกเมื่อโตเต็มวัย ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: แชลั้งสองจุด ชื่อสามัญ: Blacksaddle herring ชื่อวิทยาศาสตร์: Herklotsichthys dispilonotus วงศ์ (Family): Clupeidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปตามแถบน่านน้ำแปซิฟิกกลางตะวันตก: อ่าวไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย รายละเอียด: เป็นปลาขนาดเล็กในวงศ์ Chirocentridae ขนาดโตเต็มที่ 8.5 เซนติเมตร มีลักษณะลำตัวแบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็ก ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคล้ำหนึ่งจุด ครีบหลัง และครีบหางสีดำคล้ำอมเหลือง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: หลังเขียวเกล็ดขาว ชื่อสามัญ: White sardinella ชื่อวิทยาศาสตร์: Sardinella albella วงศ์ (Family): Clupeidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปตามแถบน่านน้ำอินโด-แปซิฟิกตะวันตก รายละเอียด: เป็นปลาทะเลขนาดเล็กในวงศ์ Chirocentridae ขนาดโตเต็มที่ 14 เซนติเมตร โดยส่วนหัวมีขนาดเล็กกว่าลำตัวค่อนข้างมาก ลำตัวยาวและแบนด้านข้าง ลำตัวมีสีเงิน ครีบหลังขนาดเลฝ้กและสั้น ส่วนหางมีลักษณะเว้าลึกและมีสีดำ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: หลังเขียวแถบทอง ชื่อสามัญ: Goldstripe sardine ชื่อวิทยาศาสตร์: Sardinella gibbosa วงศ์ (Family): Clupeidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปตามแถบน่านน้ำแปซิฟิกตะวันตก รายละเอียด: เป็นปลาทะเลประเภทผิวน้ำในวงศ์ Chirocentridae ขนาดโตเต็มที่ 29.6 เซนติเมตร ลำตัวมีลักษณะเรียวยาว เส้นข้างลำตัวมีสีทอง ครีบหลังและครีบหางมีขอบทึบ มีแต้มสีดำบริเวณครีบหลัง ครีบหางมีลักษณะเว้าลึก ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ดัก, ปิ่นแก้ว,ซัวม้อ ชื่อสามัญ: Striped eel catfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Plotosus lineatus วงศ์ (Family): Plotosidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปทั่วอ่าวไทย หรือตามแถบน้ำกร่อยและน้ำจืด รายละเอียด: เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลักษณะลำตัวเรียวยาว ด้านข้างแบน ส่วนหัวแบนลงมีหนวด ครีบหลังและครีบหูมีก้านครีบแข็ง (เงี่ยง) มีลักษณะเป็นฟันเลื่อย ไม่มีครีบไขมัน ส่วนหัวแบนยาวเรียวแหลม ครีบหลังตอนที่สอง ครีบก้นและครีบหางติดต่อกัน นกจากนี้มีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจ คือ dendritic organ อยู่ที่รูก้น ด้านหลังลำตัวมีสีดำปนน้ำตาล ด้านท้องสีขาว ในวัยอ่อนจะมีแถบสีขาวปนเหลือง3แถบพาดไปตามความยาวลำตัว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กุเราแคระ ชื่อสามัญ: False lance codlet ชื่อวิทยาศาสตร์: Bregmaceros pseudolanceolatus วงศ์ (Family): Bregmacerotidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปตามแถบน่านน้ำ อินโด-แปซิฟิกตะวันตก รายละเอียด: เป็นลาทะเลขนาดเล็ก รูปร่างเรียวยาว ลำตัวค่อนข้างหนา หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้น ครีบหลัง 2 ตอน โดยมีเยื่อตรงกลางเชื่อมอยู่ไม่แยกออกจากกันชัดเจน ครีบหางเว้าตื้น มีหนวด 4 เส้นที่ยาวมาก ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ข้าวเม่าน้ำลึก, ตาโต ชื่อสามัญ: Squirrelfishes ชื่อวิทยาศาสตร์: Sargocentron rubrum วงศ์ (Family): Holocentridae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปตามแถบน่านน้ำ อินโด-แปซิฟิกตะวันตก รายละเอียด: เป็นปลาทะเลในวงศ์ Holocentridae ขนาดโตเต็มที่ 32 เซนติเมตร ลำตัวค่อนข้างป้อม ลำตัวมีแถบสีน้ำตาลแดงและสีขาวเงิน บริเวณหลังมีหนามสีแดงเข้มมีจุดด่างขาวขนาดใหญ่ตรงกลางเยื่อหุ้มแต่ละอัน (ยกเว้นอันแรก) ครีบหลัง2ตอน ตอนหน้าครีบหลังเปลี่ยนรูปเป็นแถบหนามและครีบหลังตอนที่2มีลักษณะสั้น ครีบทุกครีบจะมีแต้มแถบสีแดง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }