text
stringlengths
11
12.4k
meta
dict
ชื่อไทย: กะรังหกแถบ ชื่อสามัญ: Sixbar grouper ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus sexfasciatus วงศ์ (Family): Serranidae ถิ่นกำเนิด: ทั่วไปบนทรายปนโคลน อาจมีการกระจายและตามเกาะในมหาสมุทร รายละเอียด: กะรังหกแถบจัดอยู่ในวงศ์ Teraponidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 40 cm ส่วนหัวและลำตัวมีสีน้ำตาลอมเทาอ่อน มีแถบสีน้ำตาลเข้ม 5 แถบบนลำตัว และอีก 1 แถบที่ต้นคอ อาจมีจุดสีซีดกระจัดกระจายตามร่างกาย และมีจุดสีน้ำตาลจางๆ บางจุดมักอยู่ที่ขอบแถบสีเข้ม ครีบหลัง ครีบหาง และครีบอกมีสีเทาหรือสีส้มแดง ส่วนหน้าท้องถึงหัวมีสีน้ำตาลแดงซีด ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กะรังลายเสือ ชื่อสามัญ: Leopard coralgrouper ชื่อวิทยาศาสตร์: Plectropomus leopardus วงศ์ (Family): Serranidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีแนวปะการังอุดมสมบูรณ์ พบทางตอนใต้ของแปซิฟิก รายละเอียด: ปลากะรังลายเสือเป็นปลาตามแนวปะการัง จัดอยู่ในวงศ์ Teraponidae เมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 120 cm หนักประมาณ 23.6 kg. ขากรรไกรส่วนหน้ามีฟันเขี้ยวขนาดใหญ่คู่หนึ่งและฟันล่างมีเขี้ยวขนาดใหญ่ 1-4 อัน ลำตัวยาว หัว ลำตัว และครีบมีจุดสีน้ำเงินจำนวนมาก ลำตัวสีส้มแดง สีเทาอ่อน หรือน้ำตาลเข้ม ครีบหางมีขอบหลังแคบสีขาว ตามตัวมีจุดสีน้ำเงินกระจัดกระจายอยู่ และหน้าท้องสีเหลือง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: อุนรุทธ์ ชื่อสามัญ: Spotted coralgrouper ชื่อวิทยาศาสตร์: Plectropomus maculatus วงศ์ (Family): Serranidae ถิ่นกำเนิด: พบตามแนวปะการัง ในทะเลเขตร้อน รายละเอียด: อุนรุทธ์ถือว่าเป็นปลาที่สวยงามในแนวปะการัง จัดอยู่ในวงศ์ Teraponidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 125 cm น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ 25 kg พื้นลำตัวมีสีส้ม มีบางตัวท้องสีขาว เป็นปลาหนัง มีจุดสีฟ้าเขียวกระจ่ายอยู่ทั่วลำตัวและหัว ยกเว้นส่วนท้อง ครีบมีสีส้มอมเขียว มีจุดสีฟ้าเขียวที่ครีบก้นและครีบหาง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: แป้นแถบ ชื่อสามัญ: Toothpony ชื่อวิทยาศาสตร์: Aurigequula fasciata วงศ์ (Family): Leiognathidae ถิ่นกำเนิด: พบบริเวณปากแม่น้ำ ป่าชายเลนหรือบริเวณที่มีแนวปะการัง ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก รายละเอียด: อยู่ในวงศ์ Leiognathidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 21 cm หัวทรงสามเหลี่ยมมีขนาดเล็กแต่มีตาค่อนข้างโต ลำตัวส่วนล่างมีสีขาว ส่วนบนมีสีเงินและมีลายสีเข้มตัด ครีบมีสีเหลืองอ่อนๆ ครีบหลังตอนเดียวยาวมีครีบแข็ง 8 ก้าน ครีบอ่อน 15-17 ก้าน มีครีบก้นที่เป็นครีบแข็ง 3 ก้าน ครีบอ่อน 13-14 ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: แป้นกระสวย ชื่อสามัญ: Splendid ponyfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Equulites elongatus วงศ์ (Family): Leiognathidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามน่านน้ำชายฝั่ง พบในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของแปซิฟิก รายละเอียด: ปลาแป้นกระสวยอยู่ในวงศ์ Leiognathidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 17 cm มีอายุไขเฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 ปี ลำตัวแบนสีเงิน หัวสั้นตาโต ไม่มีเกล็ด ครีบหลังและครีบก้นแข็ง มีจุดด่างดำบนครีบหลังและแถวๆจมูก ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: แป้นกระโดงยาว ชื่อสามัญ: Elongate ponyfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Equulites leuciscus วงศ์ (Family): Leiognathidae ถิ่นกำเนิด: อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลอินโด-แปซิฟิกตะวันตก รายละเอียด: จัดอยู่ในวงศ์ Leiognathidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 8.1 cm ลำตัวส่วนล่างสีขาวส่วนบนสีเงินมีลายสีเข้ม หัวทรงสามเหลี่ยม ตาโต ครีบมีสีขาวถึงเหลืองอ่อนๆ เป็นปลาหนัง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: แป้น ชื่อสามัญ: Whipfin ponyfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Equulites lineolatus วงศ์ (Family): Leiognathidae ถิ่นกำเนิด: พบในน่านน้ำชายฝั่งที่เป็นพื้นโคลนหรือพื้นทราย ในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Leiognathidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 25 cm ลำตัวสีเงิน ลำตัวส่วนบนมีจุดสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนล่างมีสีเหลืองแซมบ้าง เส้นข้างลำตัวสีเหลือง ก้านครีบหลังอันแรกยาว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: แป้นคอดำ ชื่อสามัญ: Shortnose ponyfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Leiognathus brevirostris วงศ์ (Family): Leiognathidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ในทะเลที่มีความลึกไม่เกิน 40 m ในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Leiognathidae มีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 13.5 cm ลำตัวแบนข้าง ปากปลายชี้ลงด้านล่าง ลำตัวมีสีเงินแวววาว ฐานครีบอกมีสีเหลือง มีแต้มสีเหลืองรูปไข่พาดบนลำตัวใต้ครีบอก ที่โคนของครีบหลังและครีบก้นมีแถบสีเหลืองพาด เส้นข้างลำตัวสีเหลือง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: แป้นกระดาน ชื่อสามัญ: Orangefin ponyfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Photopectoralis bindus วงศ์ (Family): Leiognathidae ถิ่นกำเนิด: พบบนพื้นทรายปนโคลนตามแนวชายฝั่ง และบางครั้งพบตามปากแม่น้ำ ในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาค่อนข้างเล็กในวงศ์ Leiognathidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 11 cm มีลำตัวค่อนข้างแบนสีเงิน มีหัวที่เล็กและสั้นตาโต ปลายครีบมักมีสีเหลืองหรือน้ำตาลเข้ม มีครีบหลังที่เป็นครีบแข็ง 8 ก้าน ครีบอ่อน 16-17 ก้าน มีครีบก้นที่เป็นครีบอ่อน 3 ก้าน ครีบอ่อน 14 ก้าน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: แป้นปากหมู ชื่อสามัญ: Pugnose ponyfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Secutor insidiator วงศ์ (Family): Leiognathidae ถิ่นกำเนิด: พบในน้ำตื้นมักอยู่ตามปากแม่น้ำในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Leiognathidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 11.3 cm ลำตัวสีเงิน หน้าหัก รูจมูกอยู่เหนือตา ปากยืดชี้ขึ้น ปลายขากรรไกรอยู่ต่ำกว่าขอบตาล่าง มีเส้นข้างยาวสุดก่อนครีบหลัง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: แป้นเบี้ย,แป้นป้อม ชื่อสามัญ: Deep pugnose ponyfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Secutor ruconius วงศ์ (Family): Leiognathidae ถิ่นกำเนิด: พบตามแนวชายฝั่ง และมีการกระจายเข้าสู่ปากแม่น้ำในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Leiognathidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 8 cm มีส่วนหัวที่สั้นป้อม มีปากที่สั้นและตาที่โตเมื่อเปรียบเทียบกับลำตัว ลำตัวมีสีเงินทั้งตัวและมีปานสีเหลืองเข้มถึงน้ำตาลในลำตัวส่วนบน โคนครีบมีสีเงิน ส่วนปลายมีสีเหลืองถึงน้ำตาล ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ผีเสื้อเอวดำ ชื่อสามัญ: Ocellate coralfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Parachaetodon ocellatus วงศ์ (Family): Chaetodontidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลน ตามแนวปะการังชายฝั่ง พบในมหาสมุทรอินเดียถึงแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Chaetodontidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 18 cm ลำตัวค่อนข้างแบนสั้นพื้นลำตัวมีสีขาว มีลายสีเหลืองดำตัดทั้งตัวจำนวน 5 แถบ มีปานดำอยู่ระหว่างหลังและครีบหลัง มีครีบหลังที่เป็นครีบแข็ง 6-7 ก้าน ครีบอ่อน 28-30 ก้าน มีครีบก้นที่เป็นครีบแข็ง 3 ก้าน ครีบอ่อน 18-20 ก้าน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กะพงแสม, กะทิขูด, มโหรี, สีกรุด, หัวขวาน ชื่อสามัญ: Saddle grunt ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomadasys maculatus วงศ์ (Family): Haemulidae ถิ่นกำเนิด: พบตามแนวชายฝั่งที่เป็นทรายใกล้ๆแนวปะการัง ในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Haemulidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 59.3 cm หนัก 3.2 kg ลำตัวลึกปานกลางมีสีเงิน ตาโต หัวและตัวโค้งเป็นวงรี สปีชีส์นี้มีลักษณะเด่นด้วยปานสีเข้มขนาดใหญ่ หลายจุดบนลำตัวส่วนบน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: เหยื่อแดง ชื่อสามัญ: Mottled fusilier ชื่อวิทยาศาสตร์: Dipterygonotus balteatus วงศ์ (Family): Caesionidae ถิ่นกำเนิด: อยู่ตามแนวชายฝั่งน้ำตื้น พบตามมหาสมุทรอินเดียถึงแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Haemulidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 14 cm ลำตัวสีน้ำเงินอ่อน มีเส้นสีเหลืองยาวเหนือเส้นข้างลำตัว เรืองแสงในความมืด มีครีบหลังที่เป็นครีบแข็ง 12-15 ก้าน ครีบอ่อน 8-11 ก้าน มีครีบก้นที่เป็นครีบอ่อน 3 ก้าน ครีบอ่อน 9-11 ก้าน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กล้วยแดง ชื่อสามัญ: Goldband fusilier ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterocaesio chrysozona วงศ์ (Family): Caesionidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยตามแนวปะการัง ในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก รายละเอียด: อยู่ในวงศ์ Haemulidae โตเต็มที่ยาวประมาณ 21 cm ลำตัวสีน้ำเงินอ่อนถึงอมน้ำตาล หน้าท้องสีขาวถึงชมพู แถบสีเหลืองใต้เส้นด้านข้างลำตัว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: แถบ, กระบี่แดง ชื่อสามัญ: Bandfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Acanthocepola abbreviata วงศ์ (Family): Cepolidae ถิ่นกำเนิด: พบในมหาสมุทรอินเดีย ถึงทางตะวันตกของแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Cepolidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 30 cm ลำตัวแบนข้างยาวเรียว สีแดง และจุดสีเหลืองหรือแถบด้านข้าง อาศัยที่เป็นโคลน มักอยู่เป็นกลุ่ม แต่ละตัวมีโพรงของตัวเอง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ตะกรับ ชื่อสามัญ: Scats,Spotted scat, Spadefish, Spotted spadefish, Butterfish, Spotted butterfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Scatophagus argus วงศ์ (Family): Scatophagidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามท่าเรือ ปากแม่น้ำ และป่าชายเลน ในมหาสมุทรอินเดียถึงแปซิฟิก รายละเอียด: มีลักษณะลำตัวแบนข้าง (Lateral compress) เป็นปลาที่กินทั้งพืชและสัตว์ (Omivorous fish) เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์หน้าดิน แพลงก์ตอน และสาหร่าย มีลายจุดสีดำ กลมกระจายทั่วลำตัวคล้ายเสือดาวมีสีสันสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ในชื่อปลาเสือดาว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: สลิดทะเลจุดขาว ชื่อสามัญ: Whitespotted spinefoot ชื่อวิทยาศาสตร์: Siganus canaliculatus วงศ์ (Family): Siganidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง แนวปะการัง ปากแม่น้ำ ในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของแปซิฟิก รายละเอียด: ปลาสลิดทะเลจุดขาว เป็นปลาในวงศ์ Siganidae เมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 40 cm สายพันธุ์นี้ร่างกายถูกบีบอัดให้มีความเรียว สีลำตัวแปรผันได้สูงมีสีเทาแกมเขียวถึงน้ำตาลเหลือง มีจุดสีน้ำเงินมุกถึงขาวจำนวนมากที่ต้นคอและลำตัว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กะรังหัวโขนหูดำ ชื่อสามัญ: Ocellated waspfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Apistus carinatus วงศ์ (Family): Scorpaenidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยในพื้นทราย พบในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ปลาหิน(Scorpaenidae) เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 20 cm ลำตัวมีสีเทาอมฟ้า ท้องซีด มีจุดดำขนาดใหญ่ที่ครึ่งหลังของของครีบหลัง ครีบอกมีสีเหลืองและยาว มีครีบหลังที่เป็นครีบแข็ง 14-16 ก้าน ครีบอ่อน 8-10 ก้าน มีครีบก้นที่เป็นครีบอ่อน 3-4 ก้าน ครีบอ่อน 6-8 ก้าน ครีบแข็งมีลักษณะเป็นหนาม ซึ่งหนามนี้มีพิษร้ายแรงมาก ผู้ที่สัมผัสอาจเสียชีวิตได้ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: สิงห์โต, มังกร ชื่อสามัญ: Plaintail firefish ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterois russellii วงศ์ (Family): Scorpaenidae ถิ่นกำเนิด: พบตามแนวปะการังนอกชายฝั่งที่ลึกและเงียบสงบ ในมหาสมุทรอินเดีย-มหาสมุทรแปซิฟิก รายละเอียด: ปลาสิงห์โตอยู่ในวงศ์ Scorpaenidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 30 cm มีลำตัวป้อม มีหัวขนาดใหญ่ สีของลำตัวมีโทนคล้ำมีลายเลอะ ส่วนบริเวณหัวมีหนามจำนวนมาก ผิวหนังสากหนาและเป็นปุ่ม ครีบหลังยาว ที่หลังมีครีบแข็งขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นหนาม ซึ่งหนามนี้มีพิษร้ายแรงมาก ผู้ที่สัมผัส อาจเสียชีวิตได้สปีชีส์นี้มีลักษณะเด่นตรงที่ไม่มีจุดบนครีบตรงกลาง โดยทั่วไปมีครีบหลังที่สั้นกว่าสปีชีส์อื่น ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กะรังหัวโขน ชื่อสามัญ: Yellowfin Scorpionfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Scorpaenopsis cf. neglecta วงศ์ (Family): Scorpaenidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตัวเดียวบนทะเลที่เป็นพื้นทรายและโคลน ในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ปลาหิน (วงศ์ Scorpaenidae) เมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 19 cm ลักษณะคล้ายหิน ลำตัวป้อมเกือบกลม หัวใหญ่ สีลำตัวคล้ำมีลาย ส่วนบริเวณหัวมีหนามจำนวนมาก ลำตัวสากมีหนามเล็กๆ ผิวหนังหนาและเป็นปุ่ม ซึ่งหนามนี้มีพิษร้ายแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กะรังหัวโขนยาว ชื่อสามัญ: Longsnout stinger ชื่อวิทยาศาสตร์: Inimicus cuvieri วงศ์ (Family): Scorpaenidae ถิ่นกำเนิด: พบตามทะเลที่่เป็นพื้นทราย เศษหิน และดินโคลน ความลึกประมาณ 1-50 m ในมหาสมุทรแฟซิฟิก รายละเอียด: จัดเป็นปลาหินที่อยู่ในวงศ์ Scorpaenidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 24 cm ลักษณะคล้ายก้อนหิน มีลำตัวป้อมเกือบกลม มีหัวขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีคล้ำ มีลายเลอะ ผิวหนังหนา สากและมีหนามเล็กๆ ครีบแข็งมีลักษณะเป็นหนาม หนามนี้มีพิษร้ายแรงมาก ทำให้ผู้ที่สัมผัสเสียชีวิตได้ มีครีบหลังที่เป็นครีบแข็ง 17-18 ก้าน ครีบอ่อน 8-9 ก้าน มีครีบก้นที่เป็นครีบอ่อน 2 ก้าน ครีบอ่อน 11-13 ก้าน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กะรังหัวโขนหูด่าง ชื่อสามัญ: Grey goblinfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Minous monodactylus วงศ์ (Family): Scorpaenidae ถิ่นกำเนิด: พบตามแนวชายฝั่ง รวมทั้งบริเวณทะเลกึ่งปิด ในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Scorpaenidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 15 cm มีลำตัวป้อม มีหัวขนาดใหญ่ สีของลำตัวมีโทนคล้ำมีลายเลอะ ส่วนบริเวณหัวมีหนามจำนวนมาก ผิวหนังสาก หนาและเป็นปุ่ม ครีบหลังยาว ครีบอกกว้างมีแถบสีดำ ที่หลังมีครีบแข็งขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นหนาม ซึ่งหนามนี้มีพิษร้ายแรงมาก อันตรายมากอาจทำให้ผู้ที่สัมผัส เสียชีวิตได้ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ช้างเหยียบหัวแบน ชื่อสามัญ: Dwarf flathead ชื่อวิทยาศาสตร์: Elates ransonnetii วงศ์ (Family): Platycephalidae ถิ่นกำเนิด: อยู่ตามทะเลที่มีระดับความลึก 5-53 m ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลาง รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Platycephalidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 19 cm มีที่หัวแข็ง แบนลง ฟันบนส่วนหน้าเป็นแถบเดียวพาดตามขวาง บริเวณหลังและส่วนบนของลำตัวมีสีน้ำตาล ท้องมีสีขาว ขากรรไกรล่างยาวไปสุดใต้รูจมูก ครีบหลังยาวคล้ายดาบปลายปืน เกล็ดด้านข้างมักมีประมาณ 94 เกล็ด ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ช้างเหยียบ, หางควาย ชื่อสามัญ: Tuberculated flathead ชื่อวิทยาศาสตร์: Sorsogona tuberculata วงศ์ (Family): Platycephalidae ถิ่นกำเนิด: พบบนไหล่ทวีปบนพื้นทรายหรือโคลน ในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตะวันตกของแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Platycephalidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 14 cm มีหัวแข็ง แบนลง บริเวณหลังและส่วนบนของลำตัวมีสีน้ำตาล ท้องมีสีขาว ครีบหลังและครีบอกมีสีน้ำตาลบนครีบมีจุดสีดำ ครีบก้นมีสีขาว ครีบหางมีแถบสีดำพาดตามยาว เกล็ดแถวเหนือเส้นข้างลำตัวมีตะขอหรือตุ่มเป็นแถวยาว ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: หูช้างกลม ชื่อสามัญ: Copper batfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Platax orbicularis วงศ์ (Family): Ephippidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งที่มีที่กำบังในน้ำตื้นและอาศัยตามโขดหิน ในมหาสมุทรอินเดียถึงมหาสมุทรแปซิฟิก รายละเอียด: ปลาหูช้างกลมอยู่ในวงศ์ Ephippidae โตเต็มที่มีขนาดมากกว่า 20 ซม. ลำตัวมีสีเงินหรือสีเทาอมเหลือง มีแถบสีเข้มผ่านตาและอีกแถบอยู่ด้านหลังหัว บางครั้งมีจุดดำเล็กๆ กระจัดกระจายตามร่างกาย กลางครีบมีสีเหลือง มีขอบสีดำด้านหลังครีบ ครีบอกสีดำ ตัวอ่อนขนาดเล็กสีน้ำตาลแดง มีจุดสีดำและรอยด่างไม่สม่ำเสมอ และลำตัวเล็กสีขาว (ขอบดำ) มีจุดดำเล็กๆ ที่โคนครีบหลังและครีบก้น 3 อัน ครีบหางโปร่งแสง ยกเว้นโคนมีสีน้ำตาลแดง กรามมีแถบเรียวแบน ฟันแหลมตรงกลางยาวประมาณสองเท่าของสันกรามด้านข้าง ไม่มีฟันบนเพดานปากหรือฟันผุ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: จวดคอดำ ชื่อสามัญ: Goatee croaker ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrophysa russelli วงศ์ (Family): Sciaenidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลตื้น พบในมหาสมุทรอินเดียถึงของมหาสมุทรแปซิฟิก รายละเอียด: อยู่ในวงศ์ Sciaenidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 38.8 cm มีรูปร่างยาวรี ลำตัวมีลักษณะแบนข้าง ก่อนครีบหลังมีปานสีดำ มีรูจมูกอย่างละ 2 ข้างอยู่ใกล้ๆกัน มีหนวด มีเส้นข้างลำตัว 1 เส้น เริ่มตั้งแต่หลังเหงือกไปจนถึงโคนหาง สีลำตัวส่วนบนมีสีน้ำตาล สีลำตัวส่วนล่างมีสีเงิน มีฟันแบบกรวย ขากรรไกรบนและล่างจะมีฟันขนาดเล็ก และขนาดใหญ่สลับกันไปมีครีบหลังที่เป็นครีบแข็ง 11 ก้าน ครีบอ่อน 25-28 ก้าน มีครีบก้นที่เป็นครีบอ่อน 2 ก้าน ครีบอ่อน 7 ก้าน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: จวด ชื่อสามัญ: Belanger’s croaker ชื่อวิทยาศาสตร์: Johnius belangerii วงศ์ (Family): Sciaenidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ในทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Sciaenidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณมี 30 cm รูปร่างยาวรี ลำตัวมีลักษณะแบนข้าง มีรูจมูกอย่างละ 2 ข้างอยู่ใกล้กัน มีเส้นข้างลำตัว 1 เส้น เริ่มตั้งแต่หลังเหงือกไปจนถึงโคนหาง สีลำตัวมีสีเงินมีฟันแบบกรวย ขากรรไกรบนและล่างจะมีฟันขนาดเล็ก และขนาดใหญ่สลับกันไป มีครีบหลังที่เป็นครีบแข็ง 10-11 ก้าน ครีบอ่อน 27-31 ก้าน มีครีบก้นที่เป็นครีบอ่อน 2 ก้าน ครีบอ่อน 7 ก้าน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: จวด ชื่อสามัญ: Bigsnout croaker ชื่อวิทยาศาสตร์: Johnius macrorhynus วงศ์ (Family): Sciaenidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ในน่านน้ำชายฝั่งทะเลตื้น ในทะเลเขตร้อน รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Sciaenidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 30 cm มีรูปร่างยาวรี ลำตัวมีลักษณะแบนข้าง มีรูจมูกอย่างละ 2 ข้างอยู่ใกล้กันแผ่นมีเส้นข้างลำตัว 1 เส้น เริ่มตั้งแต่หลังเหงือกไปจนถึงโคนหาง ส่วนล่างของลำตัวมีสีทอง ครีบอก ครีบท้องและครีบก้นมีสีเหลือง มีจุดสีน้ำเงินจางๆ บนแผ่นเปิดเหงือก มีฟันแบบกรวย ขากรรไกรบนและล่างจะมีฟันขนาดเล็ก และขนาดใหญ่สลับกันไป ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: จวด ชื่อสามัญ: Bearded croaker ชื่อวิทยาศาสตร์: Johnius amblycephalus วงศ์ (Family): Sciaenidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ในน่านน้ำชายฝั่งทะเลตื้น พบในมหาสมุทรอินเดียถึงทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Sciaenidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 38.8 cm มีรูปร่างยาวรี ลำตัวมีลักษณะแบนข้าง มีรูจมูกอย่างละ 2 ข้างอยู่ใกล้กัน มีหนวด ขากรรไกรล่างยาวกว่าขากรรไกรบน มีเส้นข้างลำตัว 1 เส้น เริ่มตั้งแต่หลังเหงือกไปจนถึงโคนหาง สีลำตัวมีสีเงินมีฟันแบบกรวย ขากรรไกรบนและล่างจะมีฟันขนาดเล็ก และขนาดใหญ่สลับกันไป มีครีบหลังที่เป็นครีบแข็ง 11 ก้าน ครีบอ่อน 25-28 ก้าน มีครีบก้นที่เป็นครีบอ่อน 2 ก้าน ครีบอ่อน 7 ก้าน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: จวด ชื่อสามัญ: Caroun croaker ชื่อวิทยาศาสตร์: Johnius carouna วงศ์ (Family): Sciaenidae ถิ่นกำเนิด: เกิดบริเวณชายฝั่งน้ำตื้น โตจะอาศัยอยู่ตามปากแม่น้ำและป่าชายเลน พบในทะเลเขตร้อน รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Sciaenidae เมื่อโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 25 cm มีรูปร่างยาวรี ลำตัวมีลักษณะแบนข้าง มีรูจมูกอย่างละ 2 ข้างอยู่ใกล้กัน แผ่นเปิดเหงือกอันแรกเป็นหยักและมีหนาม 2 อัน มีเส้นข้างลำตัว 1 เส้น เริ่มตั้งแต่หลังเหงือกไปจนถึงโคนหาง สีลำตัวมีสีเงินมีฟันแบบกรวย ขากรรไกรบนและล่างจะมีฟันขนาดเล็ก และขนาดใหญ่สลับกันไป มีครีบหลังที่เป็นครีบแข็ง 11 ก้าน ครีบอ่อน 26-30 ก้าน มีครีบก้นที่เป็นครีบอ่อน 2 ก้าน ครีบอ่อน 7 ก้าน เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 25 cm ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: จวดยาว ชื่อสามัญ: Panna croaker ชื่อวิทยาศาสตร์: Panna microdon วงศ์ (Family): Sciaenidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามชายฝั่งและปากแม่น้ำตื้น วัยเด็กอาศัยอยู่ตามป่าชายเลน ในฝั่งตะวันตกของแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Panna croaker เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 30 cm มีหนามหนึ่งหรือสองหนามงอกขึ้นมาบนหน้าผากในตัวผู้ ที่คอไม่มีเกล็ด มีรูปร่างยาวรี ลำตัวมีลักษณะแบนข้าง มีรูจมูกอย่างละ 2 ข้างอยู่ใกล้กัน ขากรรไกรอาจเท่าหรือขากรรไกรล่างยาวกว่าขากรรไกรบน แผ่นเปิดเหงือกอันแรกเป็นหยักและมีหนาม 2 อัน มีเส้นข้างลำตัว 1 เส้น เริ่มตั้งแต่หลังเหงือกไปจนถึงโคนหาง สีลำตัวส่วนบนมีสีน้ำตาลหรือสีเทา สีลำตัวส่วนล่างมีสีเงินมีฟันแบบกรวย ขากรรไกรบนและล่างจะมีฟันขนาดเล็ก และขนาดใหญ่สลับกันไป ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: จวด ชื่อสามัญ: Donkey croaker ชื่อวิทยาศาสตร์: Pennahia anea วงศ์ (Family): Sciaenidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่ง ในแถบเอเชีย รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Sciaenidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 30 cm มีรูปร่างยาวรีหรือรูปไข่ ลำตัวมีลักษณะแบนข้าง บริเวณจะงอยปากมีรู 4 รู ส่วนตา และรูจมูกมีอย่างละ 2 ข้าง และอยู่ใกล้กันมาก ที่ส่วนหัวและข้างลำตัว ต้นคอมีจุดด่าง ลำตัวเป็นสีขาวเงิน หางเป็นรูปไม้ฮอกกี้ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กบ, ล่อเหยื่อ ชื่อสามัญ: Shaggy angler ชื่อวิทยาศาสตร์: Antennarius hispidus วงศ์ (Family): Antennariidae ถิ่นกำเนิด: ที่อยู่อาศัยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่เต็มไปด้วยโคลนในทะเลลึกหรือทะเลนอกชายฝั่ง พบทั่วไปในทะเลเขตร้อน รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Antennariidae เมื่อโตเต็มที่มีขนาดตัวประมาณ 45 cm สีของหัวและลำตัวสีน้ำตาลอ่อนมีเส้นสีน้ำตาลปนดำ ครีบทั้งหมดมีจุดสีน้ำตาลดำ ครีบหลังก้านแรกยาวกว่าครีบหลังถัดไปที่มีขนาดเล็กโค้งมน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: วัวสามขา ชื่อสามัญ: Silver tripodfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Triacanthus nieuhofi วงศ์ (Family): Triacanthidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยตามชายฝั่งทะเลที่เป็นพื้นดินทรายปนโคลน พบทั่วไปในเอเชียและออสเตรเลีย รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Triacanthidae เมื่อโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 28 cm มีสีดำในก้านครีบหลัง 2 ก้านแรก และสีอ่อนลงระหว่างก้านครีบหลังที่ 3-5 ส่วนหัวถึงก้านครีบหลังและดวงตาค่อนข้างนูน ลำตัวสีเงิน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: สี่เหลี่ยมเขาวัว ชื่อสามัญ: Longhorn cowfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Lactoria cornuta วงศ์ (Family): Ostraciidae ถิ่นกำเนิด: พบตามแถบมหาสมุทรอินเดียถึงมหาสมุทรแปซิฟิก รายละเอียด: มีลักษณะพิเศษตรงที่มีเขายาวบริเวณส่วนหัว เปรียบเสมือนเขาของวัว ไม่มีฝาปิดเหงือกเหมือนปลาทั่วไป โดยถูกเปลี่ยนเป็นรูขนาดเล็กแทน เกล็ดของปลาถูกพัฒนาเป็นเกราะขนาดหกเหลี่ยมต่อกันเป็นรูปกล่องสามเหลี่ยม เนื่องจากลำตัวเป็นกล่องจึงขยับได้เฉพาะหาง โดยเรียกลักษณะว่ายน้ำนี้ว่า การว่ายน้ำแบบ Ostraciform ซึ่งเคลื่อนไหวได้ช้า ทำให้ถูกจับได้ง่ายด้วยมือเปล่า และสามารถทำเสียงขู่ได้เมื่อจับขึ้นมาเหนือน้ำ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปักเป้ากล่อง ชื่อสามัญ: Yellow trunkfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Ostracion cubicus วงศ์ (Family): Ostraciidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่เดี่ยวๆ ในแนวปะการัง หรือกองหินใต้น้ำ พบบ่อยบริเวณที่เป็นโพรง หินหรือถ้ำ รายละเอียด: ลำตัวรูปเหลี่ยมคล้ายกล้องที่ ประกอบด้วยแผ่นกระดูกรูปหกเหลี่ยม ปลาวัยเด็กมีรูปร่างเหมือนกล่อง พื้นตัวมีสีเหลือง เข้มและมีจุดสีดำกระจายอยู่ทั่ว ปลาโตเต็มวัยมี ลำตัวยืดยาวขึ้น ทั่วตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง จุด สีดำเปลี่ยนเป็นจุดสีขาวอมฟ้ามีวงสีดำล้อมรอบ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปักเป้ากล่องจมูกยาว ชื่อสามัญ: Horn-nosed boxfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Ostracion rhinorhynchus วงศ์ (Family): Ostraciidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยตามเศษหินในช่องระหว่างแนวปะการังชั้นใน หรือตามทะเลสาบลึกรอบๆ ใน รายละเอียด: ลักษณะลำตัวเป็นแผ่น กระดูกประกอบเป็นรูปกล่อง ในปลาขนาดใหญ่ จะงอยปากจะยื่นออกมาเห็นได้ชัดเจน คอดหางยาว ครีบหางมน ลำตัวสีเขียวปนเทา ด้านท้องสีขาว โตเต็มวัย 35 ซม. ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: วัวหนามดอก ชื่อสามัญ: Prickly leatherjacket ชื่อวิทยาศาสตร์: Chaetodermis penicilligerus วงศ์ (Family): Monacanthidae ถิ่นกำเนิด: มักพบในบริเวณที่มีวัชพืชและตามแนวปะการังในทวีปเอเชีย รายละเอียด: อยู่ในวงศ์ Monacanthidae เมื่อโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 31 cm ครีบหลังตอนแรกอยู่เหนือครึ่งหลังของตาหรือหลังตาเล็กน้อย ที่ครีบมีจุดสี่น้ำตาลเข้มถึงดำ ตามลำตัวมีเส้นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ สีของลำตัวมีโทนสีอ่อนๆขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: วัวหางพัด ชื่อสามัญ: Fanbellied leatherjacket ชื่อวิทยาศาสตร์: Monacanthus chinensis วงศ์ (Family): Monacanthidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำและแนวปะการังชายฝั่งในแถบเอเชีย รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Monacanthidae มีความยาวประมาณ 40 cm มีจุดสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีจมูกแหลมหงายขึ้น ครีบหลังตอนแรกอยู่เหนือครึ่งหลังของตาหรือหลังตาเล็กน้อย ส่วนหางเป็นรูปพัด และมีเหนียงขนาดใหญ่ที่ด้านล่างของลำตัว สีจะแปรผันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม บางครั้งมีจ้ำและริ้วสีเข้มขึ้นผิดปกติ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: วัวหน้าหมู ชื่อสามัญ: Pig faced leather jacket ชื่อวิทยาศาสตร์: Paramonacanthus choirocephalus วงศ์ (Family): Monacanthidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามแนวปะการังชายฝั่ง ในแถบเอเชีย นิวกินี และทางตะวันตกของแปซิฟิก รายละเอียด: เป็นปลาในวงศ์ Monacanthidae เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 11 cm ครีบหลังตอนแรกอยู่เหนือครึ่งหลังของตาหรือหลังตาเล็กน้อย มีจุดสีน้ำตาลเข้มถึงดำ บางครั้งมีเส้นโค้งเป็นลายเฉียงบนลำตัวสองแถบ โดยเส้นแรกเริ่มจากด้านหลังของครีบหลังถึงครีบอก เส้นที่สองจากฐานครีบหางถึงครีบท้อง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กะบาง, ตุ๊กกา ชื่อสามัญ: Bengal whipray ชื่อวิทยาศาสตร์: Brevitrigon imbricata วงศ์ (Family): Dasyatidae ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปตามน่านน้ำอินโด - แปซิฟิกตะวันตก: ทะเลแดงและมอริเชียสจนถึงอินโดนีเซีย จากอ่าวเปอร์เซียด้วย รายละเอียด: เป็นกระเบนในวงศ์ Dasyatidae รูปร่างคล้ายแผ่นดิสก์ ขนาดโตเต็มวัย 25.5 เซนติเมตร(โดยวัดความกว้างของแผ่นดิสก์) ส่วนหน้าตาจะยื่นยาวแหลม ปากอยู่ทางด้านล่างของแผ่นดิสก์ หางสั้นและแยกจากลำตัวชัดเจน พื้นผิวหน้าท้องของแผ่นดิสก์เป็นสีขาวทั้งหมด บริเวณขอบของแผ่นดิสก์จะมีสีขาว ลำตัวด้านบนแผ่นดิสก์เป็นสีน้ำตาล และมีหนามบริเวณปลายหาง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กุ้งขาวสิชล 1 ชื่อสามัญ: Whiteleg shrimp ชื่อวิทยาศาสตร์: Penaeus vannamei วงศ์ (Family): Penaeidae ถิ่นกำเนิด: ได้รับก่ารปรับปรุงพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำนครศรีธรรมราช รายละเอียด: กรมประมงได้เห็นชอบให้ใช้ชื่อพันธุ์กุ้งขาวที่ปรับปรุงพันธุ์โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำนครศรีธรรมราช ว่า “กุ้งขาวสิชล 1” ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2564 “กุ้งขาวสิชล 1 เป็นหนึ่งในนโยบายของกรมประมง ในการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรองรับความต้องการของตลาด พร้อมเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก เพราะกุ้งขาวนับว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย กรมประมงจึงได้ศึกษาวิจัยปรับปรุงสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อการเพาะเลี้ยงของเกษตรกร ที่ต้องการพันธุ์กุ้งขาวคุณภาพดี เลี้ยงง่ายโตไว ปลอดโรค ให้ผลผลิตสูง” ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กุ้งขาวสิชล 1 ชื่อสามัญ: Whiteleg shrimp ชื่อวิทยาศาสตร์: Penaeus vannamei วงศ์ (Family): Penaeidae ถิ่นกำเนิด: ได้รับก่ารปรับปรุงพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำนครศรีธรรมราช รายละเอียด: กรมประมงได้เห็นชอบให้ใช้ชื่อพันธุ์กุ้งขาวที่ปรับปรุงพันธุ์โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำนครศรีธรรมราช ว่า “กุ้งขาวสิชล 1” ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2564 “กุ้งขาวสิชล 1 เป็นหนึ่งในนโยบายของกรมประมง ในการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรองรับความต้องการของตลาด พร้อมเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก เพราะกุ้งขาวนับว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย กรมประมงจึงได้ศึกษาวิจัยปรับปรุงสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อการเพาะเลี้ยงของเกษตรกร ที่ต้องการพันธุ์กุ้งขาวคุณภาพดี เลี้ยงง่ายโตไว ปลอดโรค ให้ผลผลิตสูง” ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลารากกล้วยจินดา ชื่อสามัญ: Horseface loach ชื่อวิทยาศาสตร์: Acantopsis thiemmedhi (Sontirat 1999) วงศ์ (Family): Cypriniformes ถิ่นกำเนิด: พบกระจายในลุ่มน้ำเจ้าพระยาไล่ตั้งแต่ภาคเหนือลงไปสู่ภาคกลางตอนบน รายละเอียด: ปลารากกล้วยจินดา มีลักษณะลวดลายตามลำตัวมีลักษณะเป็น กล่องสีเหลี่ยมเรียงสลับกัน ชอบอาศัยอยู่ในแม่น้ำบริเวณที่มีพื้นท้องน้ำที่เป็นทราย พบกระจายในลุ่มน้ำเจ้าพระยาไล่ตั้งแต่ภาคเหนือลงไปสู่ภาคกลางตอนบน กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2561 ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลารากกล้วย ชื่อสามัญ: Horseface loach ชื่อวิทยาศาสตร์: Acantopsis rungthipae (Boyd, Nithirojpakdee & Page 2017) วงศ์ (Family): Cypriniformes ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ในแม่น้ำ ลำธารบริเวณที่มีพื้นท้องน้ำที่เป็นทราย และมีกระแสน้ำไหลถ่ายเทปานกลาง รายละเอียด: ปลารากกล้วย ลักษณะลำตัวยาว มีสีเหลืองอมน้ำตาล มีความหลากหลายของลวดลายสูง อาศัยอยู่ในแม่น้ำ ลำธารบริเวณที่มีพื้นท้องน้ำที่เป็นทราย และมีกระแสน้ำไหลถ่ายเทปานกลาง พบกระจายพันธุ์กว้างที่สุดโดยอยู่ในแหล่งน้ำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำโขง เป็นต้น ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาเค้าขาว ชื่อสามัญ: White Sheatfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Wallago attu (Bloch & Schneider 1801) วงศ์ (Family): Siluridae ถิ่นกำเนิด: อาศัยในบริเวณน้ำลึกในแม่น้ำกระแสน้ำไม่แรงมาก และมักซ้อนตัวอยู่ตามซอกหลืบริมฝั่งแม่น้ำ ที่เป็นดินโคลน รายละเอียด: ปลาเค้าขาว เป็นปลาที่ไม่รวมฝูง มีลักษณะนิสัยก้าวร้าวหวงที่ และไม่ค่อยมีการย้ายถิ่น ชอบอาศัยในบริเวณน้ำลึกในแม่น้ำกระแสน้ำไม่แรงมาก และมักซ้อนตัวอยู่ตามซอกหลืบริมฝั่งแม่น้ำที่มีสภาพเป็นดินโคลนพบในแม่น้ำสายหลัก ได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำยม และแม่น้ำแควน้อย แต่พบปริมาณน้อยในภาคใต้ ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาเค้าดำ ชื่อสามัญ: Black Sheatfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Wallago micropogon (Ng 2004) วงศ์ (Family): Siluriformes ถิ่นกำเนิด: พบอาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่ทั้งในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ รายละเอียด: ปลาเค้าดำ เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีดำ ครีบก้นมีลักษณะเป็นแผงยาว พบอาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่ทั้งในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศไทยเช่น แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา แม่น้ำโขงและสาขา แม่น้ำตาปีรวมทั้งในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาค้อ ชื่อสามัญ: River loach ชื่อวิทยาศาสตร์: Schistura spilota (Fowler 1934) วงศ์ (Family): Nemacheilidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยหากินบริเวณหน้าดิน กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร พบเฉพาะบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำปิงเท่านั้น รายละเอียด: ปลาค้อ เป็นปลาค้อที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 10 เซนติเมตร ไม่มีจุดสีดำแดงที่ฐานครีบกระโดง ลายปล้องไม่เป็นระเบียบ บางครั้งพบเป็นลายดอกดวง อาศัยอยู่ตามลำธารที่มีน้ำไหลซึ่งมีคุณภาพน้ำดี บริเวณที่ท้องน้ำเป็นทราย กรวด และหิน อาศัยหากินบริเวณหน้าดิน กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร พบเฉพาะบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำปิงเท่านั้น จัดเป็นปลาถิ่นเดียวของประเทศไทย ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาดุมชี ชื่อสามัญ: Tiger leaf fish ชื่อวิทยาศาสตร์: Nandus oxyrhynchus (Ng, Vidthayanon & Ng 1996) วงศ์ (Family): Nandidae ถิ่นกำเนิด: พบแพร่กระจายในลุ่มน้ำโขง เจ้าพระยาและแม่น้ำแม่กลอง รายละเอียด: ปลาดุมชี เป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดเล็ก พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลปนดำ ลำตัวแบนข้าง อาศัยในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีและมีพืชน้ำ มักพบลอยตัวอยู่ในน้ำที่ไม่ไหลแรงนัก กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร พบแพร่กระจายในลุ่มน้ำโขง เจ้าพระยาและแม่น้ำแม่กลอง ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาปล้องอ้อย ชื่อสามัญ: Giant Kuhli Loach ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangio myersi (Harry 1949) วงศ์ (Family): Cobitidae ถิ่นกำเนิด: พบกระจายพันธุ์ในภาคตะวันออกและภาคใต้ รายละเอียด: ปลาปล้องอ้อย ลำตัวขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวประมาณ 9 -10 เซนติเมตร มีแถบสีน้ำตาลเข้มขนาดใหญ่สลับกับแถบ สีเหลืองขนาดเล็กเป็นปล้อง มีรูปร่างลำตัวยาวแบนข้างเล็กน้อย หัวเล็กทู่ ปากอยู่ต่ำ มีหนวดสั้น ๆ 4 คู่ อยู่บริเวณ ขากรรไกรบน ๒ คู่ บริเวณขากรรไกรล่าง ๑ คู่ และบริเวณจมูก ๑ คู่ มีเกล็ดแบบทรงกลม ขอบเกล็ดเรียบมีลักษณะบางใส ตากลมเล็ก ท้องมน คอดหางกว้าง ครีบหลังและ ครีบก้นอยู่ค่อนไปทางปลายหาง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาอีกอง ชื่อสามัญ: Spanner barb ชื่อวิทยาศาสตร์: Striuntius lateristriga (Valenciennes 1842) วงศ์ (Family): Cyprinidae ถิ่นกำเนิด: ตามลำธารที่น้ำมีคุณภาพดีในภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้ รายละเอียด: ปลาอีกอง มีลักษณะรูปร่างป้อมสั้น มีสีลำตัวขาวอมเหลืองหรือชมพู มีแถบสีดำในแนวตั้ง 2 แถบคล้ายตัว T ลำตัวตอนท้ายจะมีแถบสีดำในแนวนอนยาวไปถึงโคนครีบหาง ครีบทุกครีบมีสีส้มปนแดง ยกเว้นครีบอกมีสีเหลือง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบตามลำธารที่น้ำมีคุณภาพดีในภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาตองลาย ชื่อสามัญ: Blanc’s Striped Featherback ชื่อวิทยาศาสตร์: Chitala blanci (d'Aubenton 1965) วงศ์ (Family): Notopteridae ถิ่นกำเนิด: พบเฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาที่ไหลสู่แม่น้ำโขง รายละเอียด: ปลาตองลาย มีลักษณะลำตัวสีเงิน มีลายเส้น จุด หรือแถบสีดำขนาดเล็กบนตัวพาดเลยไปถึงบริเวณครีบก้นซึ่งเชื่อมกับหาง มีจุดสีดำที่ฐานครีบอก ส่วนหลังและหน้าผากลาดชันน้อยกว่าปลากราย กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น แมลงน้ำ และลูกปลา หากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีขนาดประมาณ 60 ซ.ม. ขนาดใหญ่สุดประมาณ 1 เมตร ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาไหลมอเรย์ ปลาหลดหิน ชื่อสามัญ: Moray eel, Moray ชื่อวิทยาศาสตร์: Gymnothorax javanicus วงศ์ (Family): Muraenidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่ตามโพรงหินหรือซอกปะการังในแนวปะการัง โดยยื่นแต่เฉพาะส่วนหัวพร้อมกับอ้าปากส่ายหัวหาเหยื่อ รายละเอียด: มีรูปร่างเรียวยาว ครีบอกลดรูปหายไปเนื่องจากต้องโผล่เข้าออกจากช่องหรือโพรงตลอดเวลา ครีบหลังเชื่อมต่อกับครีบก้นและครีบหาง ปากแหลม ไม่มีเกล็ดแต่มีหนังหนาลำตัวปกคลุมด้วยเมือก ช่องเปิดเหงือกลดรูปจนเหลือแต่รูขนาดเล็ก มีวงจรชีวิตหลังจากการปฏิสนธิลูกปลาจะมีรูปร่างพิเศษเรียกว่า leptocephalus larvae ซึ่งมีลักษณะใส คล้ายใบไม้ แต่ใสว่ายล่องลอยไปตามกระแสน้ำประมาณ 8 เดือน ก่อนลงสู่พื้น กลายเป็นปลาไหลมอเรย์แบบที่เราเห็นโดยใช้เวลาประมาณ 3 ปี มีอายุยืนตั้งแต่ 6-36 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดและสิ่งแวดล้อม ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาผีเสื้อแปดขีด ผีเสื้อแปดเส้น ชื่อสามัญ: Eightbanded Butterflyfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Chaetodon octofasciatus วงศ์ (Family): Chaetodontidae ถิ่นกำเนิด: ชอบอยู่ตามปะการังกิ่งในแนวปะการังที่คลื่นลมไม่แรง น้ำลึก 3-20 เมตร อาจพบอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ รายละเอียด: มีลักษณะลำตัวแบนข้าง สีพื้นลำตัวเป็นสีขาวหรือสีเหลือง มีลายเส้นสีดำแคบ ๆ 8 เส้นพาดขวางตลอดความยาวลำตัว และมีจุดสีดำที่โคนหาง ชอบอยู่ตามปะการังกิ่งในแนวปะการังที่คลื่นลมไม่แรง น้ำลึก 3-20 เมตร อาจพบอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ ไม่เหมาะกับการเลี้ยงในตู้ เพราะกินปะการังเป็นอาหารหลัก ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในระยะยาว ควรหลีกเลี่ยงการนำปลาชนิดนี้มาเลี้ยง แต่ก็มีบางตัวที่ยอมปรับตัวได้แล้วยอมรับอาหารในที่เลี้ยง ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาผีเสื้อปากยาว ผีเสื้อนกกระจิบ ชื่อสามัญ: Copper band butterflyfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Chelmon rostratus วงศ์ (Family): Chaetodontidae ถิ่นกำเนิด: ปลาผีเสื้อชนิดนี้พบได้ทั่วไปในเขตอินโดแปซิฟิก ในประเทศไทยพบได้ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รายละเอียด: ลําตัวมีสีขาว และมีลายสีส้มพาดตามขวาง 4 แถบ พาดผ่านตา 1 แถบ และบริเวณลําตัว 3 แถบ ปลายครีบบนมีจุดสีดําไว้หลอกให้ศัตรูเข้าใจผิดว่าเป็นตําแหน่งของดวงตา คอดหางมีแถบสีดํา ปากเป็นท่อยาว ใช้สําหรับสอดเข้าไปหาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กตามซอกโพรงกินเป็นอาหาร ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาโนรี ชื่อสามัญ: Pennant coralfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Heniochus acuminatus วงศ์ (Family): Chaetodontidae ถิ่นกำเนิด: พบได้ทั่วไปในเขตอินโดแปซิฟิก รายละเอียด: ลําตัวค่อนข้างกลมแบน ข้างลําตัวส่วนท้ายเฉียงไปด้านหน้า สีลําตัวมีลายสีขาวสลับดํา ครีบหลังมีสีเหลืองอ่อน มีกระโดงยาวสีขาว ปลาวัยเด็กมีรูปร่างหน้าตาแบบเดียวกันแทบไม่ผิดเพี้ยน ปลาที่โตเต็มวัยจะอาศัยอยู่เป็นคู่ หรือออกหากินตามลําพังบริเวณแนวปะการังหรือกองหิน ชอบไล่ตอดสัตว์เกาะติดและแพลงตอนเป็นอาหาร เป็นปลาผีเสื้อยอดนิยมที่เลี้ยงไม่ยาก แต่ต้องการคุณภาพน้ำที่ดีเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อชนิดอื่นๆ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาสลิดหินบั้งหลังเหลือง เสือ ชื่อสามัญ: Indo-Pacific sergeant ชื่อวิทยาศาสตร์: Abudefauf valigiensis วงศ์ (Family): Pomacentridae ถิ่นกำเนิด: พบได้ทั่วไปตามแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในเขตน้ำตื้น รายละเอียด: ทั่วไป ลําตัวแบนข้าง มีลายดําเป็นบั้งจํานวนห้าแถบ หลังเป็นสีเหลือง ก้าวร้าวกับปลาที่มีขนาดเล็กกว่า ว่ายน้ำได้ว่องไว เลี้ยงง่าย ทนทาน กินอาหารได้ทุกอย่าง จัดเป็นปลารับแขกที่มีอยู่ดาษดื่น ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาฉลามเสือดาว ชื่อสามัญ: Leopard shark, Zebra shark, Leppard shark ชื่อวิทยาศาสตร์: Stegostoma fasciatum วงศ์ (Family): Stegostomatidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยในความลึกตั้งแต่ 5-30 เมตร โดยพบในทะเลบริเวณแถบอินโด-แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย รายละเอียด: ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาที่มีครีบหางยาวมาก มีส่วนหัวมนกลมสั้นทู่ พื้นลำตัวสีเหลืองสลับลายจุดสีดำคล้ายลายของเสือดาว ยกเว้นส่วนหัวและหางผิวหนังหยาบเป็นเม็ดเป็นปลาที่มีไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลามชนิดอื่น ๆ มีอุปนิสัยชอบนอนอยู่นิ่ง ๆ บนพื้นทรายและแนวปะการังใต้ทะเล ในความลึกตั้งแต่ 5-30 เมตร ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 3 เมตร โดยปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ในเขตน้ำตื้น ลูกปลาขนาดเล็กอาจจะเข้าไปอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำจืด นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมักพบเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาไหลสวน ไหลสวนจุดดํา ชื่อสามัญ: Spotted garden eel ชื่อวิทยาศาสตร์: Heteroconger hassi วงศ์ (Family): Congridae ถิ่นกำเนิด: มักอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณที่เป็นพื้นทรายในเขตอินโดแปซิฟิก ในประเทศไทยพบในทะเลอันดามัน รายละเอียด: เป็นปลาที่มีพฤติกรรมแปลก โผล่เฉพาะส่วนหัวขึ้นมาจากพื้นทราย เพื่อดักจับ แพลงก์ตอนที่ลอยผ่านมาตามกระแสน้ำเป็นอาหาร ปลาไหลชนิดนี้พื้นมี ลําตัวสีขาว แต้มด้วยจุดสีดําขนาดเล็กทั่วลําตัว และมีจุดสีดําขนาดใหญ่ จํานวนสองจุดบริเวณหลังแผ่นปิดเหงือกและส่วนกลางของลําตัว มักอยู่ รวมกันเป็นฝูงบริเวณที่เป็นพื้นทรายในเขตอินโดแปซิฟิก ในประเทศไทยพบในทะเลอันดามัน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาหมอนกแก้ว นกแก้วแดง (แดง) ชื่อสามัญ: Parrot Cichlid, Blood parrot cichlid ชื่อวิทยาศาสตร์: Cichlasoma sp. วงศ์ (Family): Cichlidae ถิ่นกำเนิด: เป็นพันธุ์ปลาหมอสีที่ได้จากการพัฒนาสายพันธุ์ รายละเอียด: เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างปลาหมอฟลามิงโก้ และปลาหมอซินสไปลุ่ม ถูกผสมพันธุ์ขึ้นมาครั้งแรกที่ประเทศไต้หวันโดยมนุษย์ ทำให้ไม่มีการแพร่กระจายตามธรรมชาติ ลักษณะเด่นมีปากคล้ายกับนกแก้ว ขนาดโตเต็มที่ 10-15 เซนติเมตร มีดวงตาโต ม่านตาใหญ่จนบางคราวดูไม่เหมือนทรงกลม เป็นวงรีหรือไม่ก็เป็นขีด ดำ ๆ หนา ๆ พาด ผ่านตามแนวนอนของ ลูกตา เป็น ปลาที่ค่อนข้างก้าวร้าว แต่ยังสามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่ขนาดเท่ากันได้ สามารถกินได้ทั้งอาหารมีชีวิต อาหารสดและอาหารสำเร็จรูป เช่น กุ้งฝอย หรือ ไรทะเล อาหารสำเร็จรูปและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ประเภท (Catalogy): ปลาหมอสี
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาเสือสุมาตราเขียว (สีเขียว) ชื่อสามัญ: Tiger barb, Sumatra barb ชื่อวิทยาศาสตร์: Puntigrus tetrazona วงศ์ (Family): Cyprinidae ถิ่นกำเนิด: เป็นปลาที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์จากสายพันธุ์ดั้งเดิมโดยมนุษย์ รายละเอียด: ปลาเสือสุมาตรเขียวเป็นการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นจากมนุษย์ จึงไม่พบในธรรมชาติ ลักษณะการกินอาหารสามารถกินได้ทั้งอาหารสด อาหารมีชีวิตและอาหารสำเร็จรูป ประเภท (Catalogy): ปลาสวยงามเลี้ยงในตู้พรรณไม้น้ำ
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาการ์ตูนโกลด์ครอสทันเดอร์ ชื่อสามัญ: Gold x thunder maroon ชื่อวิทยาศาสตร์: Premnas Biaculeatus วงศ์ (Family): Pomacentridae ถิ่นกำเนิด: เป็นปลาการ์ตูนที่ได้จากการพัฒนาสายพันธุ์ รายละเอียด: เป็นปลาทะเลขนาดเล็ก รูปร่างแบนข้างค่อนข้างมาก มีหนามบริเวณแผ่นปิดเหงือก ความยาวสูงสุดประมาณ 17 ซม.ปลาการ์ตูนโกลด์ครอสทันเดอร์เป็นปลาที่ได้จากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาการ์ตูนแก้มหนาม 2 สายพันธุ์คือ ปลาการ์ตูนทองโกลด์นักเก็ตกับปลาการ์ตูนแดงทันเดอร์ สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาทะเลสวยงามอื่น ๆ ในตู้ปลาทะเลสวยงาม แต่ไม่ควรเลี้ยงร่วมกับปลาที่เป็นนักล่า สามารถกินอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้เป็นอย่างดี เลี้ยงได้โดยไม่ต้องมีดอกไม้ทะเล ปลาเพศผู้เจริญพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน ในขณะที่เพศเมียเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 18 เดือน เป็นปลากะเทยนั่นคือปลาเพศผู้สามารถเปลี่ยนเพศเป็นเพศเมียได้ แต่เพศเมียไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเพศผู้ได้ อายุขัยทั่วไปประมาณ 15 ปี ***ความเชื่อสายมูเตลู: ปลาการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่ที่กรมประมงเพาะพันธุ์ได้เชื่อว่าช่วยเสริมความมั่งคั่ง ร่ำรวยเงินทอง มีความสนุกสนาน ร่าเริง ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาการ์ตูนทอง ชื่อสามัญ: Gold stripe maroon clownfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Premnas biaculeatus วงศ์ (Family): Pomacentridae ถิ่นกำเนิด: ไม่พบในน่านน้ำไทย แต่พบได้ทั่วไปในเขตชายฝั่งบริเวณอินโด-แปซิฟิกตะวันตก รายละเอียด: เป็นปลาทะเลขนาดเล็ก รูปร่างแบนข้างค่อนข้างมาก มีหนามบริเวณแผ่นปิดเหงือก ความยาวสูงสุดประมาณ 17 ซม. ปลาการ์ตูนเพอร์แก้มหนามที่พบในธรรมชาติมี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ปลาการ์ตูนแดงซึ่งมีแถบเป็นสีขาว และปลาการ์ตูนทองซึ่งมีแถบเป็นสีทอง เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังมีลำตัวสีส้มแดงหรือสีแดงกำมะหยี่ และมีแถบขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาทะเลสวยงามอื่น ๆ ในตู้ปลาทะเลสวยงาม แต่ไม่ควรเลี้ยงร่วมกับปลาที่เป็นนักล่า สามารถกินอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้เป็นอย่างดี ไม่จำเป็นต้องเลี้ยงร่วมกับดอกไม้ทะเล ปลาเพศผู้เจริญพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน ในขณะที่เพศเมียเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 18 เดือน เป็นปลากะเทยนั่นคือปลาเพศผู้สามารถเปลี่ยนเพศเป็นเพศเมียได้ แต่เพศเมียไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเพศผู้ได้ อายุขัยทั่วไปประมาณ 15 ปี ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาการ์ตูนเพอร์คูลาแพลทินัม ชื่อสามัญ: Platinum percula ชื่อวิทยาศาสตร์: Amphiprion percula วงศ์ (Family): Pomacentridae ถิ่นกำเนิด: เป็นปลาการ์ตูนที่ได้จากการพัฒนาสายพันธุ์ รายละเอียด: เป็นปลาทะเลขนาดเล็ก รูปร่างทรงกระสวย แบนข้างเล็กน้อย ความยาวสูงสุดประมาณ 11 ซม. ปลาการ์ตูนเพอร์คูลาแพลทินัมคือปลาการ์ตูนเพอร์คูลาที่มีลำตัวสีขาว ปลาการ์ตูนเพอร์คูลาสายพันธุ์ดั้งเดิมเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังมีลำตัวสีส้มหรือสีส้มผสมสีดำ และมีแถบขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ แต่สำหรับปลาการ์ตูนเพอร์คูลาแพลทินัมเป็นปลาที่เกิดจากการกลายพันธุ์ในโรงเพาะฟัก ไม่เคยปรากฏในแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลาการ์ตูนเพอร์คูลาแพลทินัมสามารถเลี้ยงร่วมกับปลาทะเลสวยงามอื่น ๆ ในตู้ปลาทะเลสวยงาม แต่ไม่ควรเลี้ยงร่วมกับปลาที่เป็นนักล่า สามารถกินอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้เป็นอย่างดี ไม่จำเป็นต้องเลี้ยงร่วมกับดอกไม้ทะเล ปลาเพศผู้เจริญพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน ในขณะที่เพศเมียเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 18 เดือน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาจาละเม็ดทอง ลื่วลม ชื่อสามัญ: Snubnose pompano ชื่อวิทยาศาสตร์: Trachinotus blochii วงศ์ (Family): Carangidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยในน้ำกร่อยและน้ำทะเลตั้งแต่ที่ตื้นจนถึงที่ระดับความลึกประมาณ 7 เมตร รายละเอียด: ลักษณะลำตัวสั้นป้อม รูปสี่เหลี่ยม แบนด้านข้าง ปากเล็ก ครีบอกสั้น ส่วนครีบหลังและครีบก้นยาว สีโดยทั่วไปจะเป็นสีเงินพื้นท้องเป็นสีเหลือง แต่เมื่อโตเต็มวัยจะเป็น สีส้มทองซึ่งจะเห็นเด่นชัดบริเวณช่องท้อง ขนาดความยาวมากที่สุด 110 เซนติเมตร และมีน้ำหนักได้ถึง 3.4 กิโลกรัม กินสัตวฺน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร สามารถนำมาเลี้ยงเป็นปลาทะเลสวยงาม และใช้ประกอบอาหารได้ ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลากะรังหงส์ กะรังหน้างอน เก๋าหงส์ ชื่อสามัญ: Humpback grouper, Barramundi cod, Panther grouper ชื่อวิทยาศาสตร์: Cromileptes altivelis วงศ์ (Family): Serranidae ถิ่นกำเนิด: ในประเทศไทยพบปลากะรังหงส์ทางภาคตะวันออกและภาคใต้ทั้งฝั่ง อ่าวไทย และอันดามัน รายละเอียด: มีรูปร่างหัวเรียวแหลม ปากเล็ก ตาเล็ก ครีบหลังต่อเป็นแผ่นเดียว พื้นตัวมีสีขาวหรือเทาและมีจุดดำกระจายทั่วลำตัวและครีบ ที่ปลายสุดของส่วนหัว คือ ปากจะงอนเชิดขึ้นเล็กน้อย จึงมีชื่อไทยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กะรังหน้างอน"จึงเป็นปลาทะเลสวยงามที่นิยมเลี้ยงเมื่อโตเต็มที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 1 ฟุต ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 2 ปี น้ำหนักมากกว่า 2.5 กิโลกรัม มีการพบปลากะรังหงส์ขนาดใหญ่ที่สุดที่ประเทศออสเตรเลีย โดยมีความยาวถึง 70 เซนติเมตร น้ำหนัก 4.8 กิโลกรัม แหล่งที่อยู่: พบกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลบริเวณแนวปะการังหรือกองหินที่มีน้ำขุ่น ความลึกตั้งแต่ 2–40 เมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทะเลจีน, ญี่ปุ่น, ปาปัวนิวกินี, มหาสมุทรอินเดีย, หมู่เกาะนิโคบาร์, ออสเตรเลียตอนเหนือ, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซียส่วนในประเทศไทยพบปลากะรังหงส์ตามแนวปะการังบริเวณชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกและภาคใต้ทั้งฝั่ง อ่าวไทย และอันดามัน ประเภท (Catalogy): ปลาทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: หอยหวาน หอยตุ๊กแก หอยเทพรส ชื่อสามัญ: Spotted babylon ชื่อวิทยาศาสตร์: Babylonia areolata วงศ์ (Family): Babyloniidae ถิ่นกำเนิด: อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลที่ระดับความลึก 10-20 เมตร ฝังตัวอยู่ในทรายหรือโคลนปนทราย รายละเอียด: เป็นหอยทะเลฝาเดียว เปลือกค่อนข้างหนา รูปร่างเปลือกเป็นรูปไข่ผิวเรียบ บนลำตัวมีวงเปลือกพองกลม มีแถบสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มเป็นระยะๆ หอยหวานจะยื่นส่วนเท้าออกมาใช้สำหรับการเคลื่อนที่ มีหนวด 1 คู่ และมีตา 1 คู่ อยู่บนหนวด ตาของหอยหวานใช้สำหรับรับรู้เกี่ยวกับแสงสว่าง หอยหวานจะมีส่วนลักษณะคล้ายท่อชูขึ้นมาเป็นท่อสำหรับการดูดน้ำทะเลเข้าสู่ภายในตัว เมื่อหอยหวานกินอาหาร ได้แก่ ซากปลา หอย กุ้ง ที่ตายแล้ว หอยหวานจะยื่นงวงยาวออกมาจากช่องปาก ซึ่งอยู่ระหว่างคู่หนวดไปดูดอาหารเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารเพื่อย่อยและดูดซึมไปใช้ในธรรมชาติหอยหวานจะอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลที่ระดับความลึก 10-20 เมตร ฝังตัวอยู่ในทรายหรือโคลนปนทราย ออกหากินในเวลากลางคืนโดยโผล่ขึ้นมาจากพื้นทะเล ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กุ้งมังกรเจ็ดสี ชื่อสามัญ: Painted spiny lobster ชื่อวิทยาศาสตร์: Panulirus versicolor วงศ์ (Family): Palinuridae ถิ่นกำเนิด: พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในกระแสน้ำอุ่นของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย รายละเอียด: กุ้งมังกรเจ็ดสีกระดองมีลวดลายสีเขียวสีขาวและสีน้ำเงิน ลำตัวเป็นสีน้ำเงินหรือสี เขียว มีแถบสีขาวและสีดำพาดขวางลำตัว ขาเดินมีเส้นสีขาวพาดตามยาว ส่วนต้น ของหนวดคู่ที่ 2 เป็นสีชมพู อาศัยอยู่ตามแนวโขดหิน กุ้งมังกรเจ็ดสี เป็นกุ้งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเนื้อมีรสชาติดี เป็นที่ ต้องการของตลาด ราคาสูง ***ความเชื่อสายมูเตลู:สัตว์มงคลที่เชื่อว่านำพาซึ่งอำนาจวาสนาบารมีร่ำรวยเงินทอง เป็นที่รักเมตตาของเจ้านาย อายุยืนยาว ชีวิตรุ่งเรืองเป็นตัวแทนของความสุขในทุกวัน ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กุ้งกุลาดำ ชื่อสามัญ: Giant tiger prawn, Black tiger shrimp ชื่อวิทยาศาสตร์: Penaeus monodon วงศ์ (Family): Penaeidae ถิ่นกำเนิด: พบแพร่กระจายทั่วไปในเขต Indo-west Pacific ตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา รวมถึงไทย รายละเอียด: กุ้งกุลาดำเป็นกุ้งทะเล ลักษณะลำตัวมีสีแดงอมน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม เปลือกเกลี้ยงไม่มีขน มีลายพาดขวางด้านหลังประมาณ 9 ลาย โดยมีสีออกน้ำตาลเข้มข้างแถบสีขาว ด้านบนของกรีมีฟัน 6-8 ซี่ ด้านล่างมี 2-4 ซี่ ขอบปลายหางและขาว่ายน้ำมีขนสีแดง หนวดยาวสีดำไม่มีลาย สันที่อยู่สองข้างโคนกรี ยาวเกือบถึงฟันกรีอันหลังสุด ซึ่งมีสันแนวข้างเฉียงชี้ไปทางนัยน์ตา สันกรียาวเกือบถึง carapaceขาเดินมีสีแดงปนดำขาว่ายน้ำมีสีน้ำตาลปนน้ำเงิน บริเวณโคนขามีสีขาว ขาเดินคู่ที่ห้าไม่มีexopod ในประเทศไทยกุ้งกุลาดำพบแพร่กระจายทั่วไปในอ่าวไทย แต่จะพบมากบริเวณเกาะช้าง บริเวณนอกฝั่งจังหวัดชุมพรถึงจังหวัดนครศรีธรรมราชและทะเลอันดามัน บริเวณนอกฝั่งของจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดระนอง ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีพื้นดินเป็นทรายปนโคลน ระดับความลึกไม่เกิน 110 เมตร ชอบฝังตัวในเวลากลางวันและหากินในเวลาคืน วางไข่ได้ตลอดทั้งปี แต่วางไข่ชุกชุมระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ในแถบน้ำกร่อยกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์มีความแข็งแรงและทนทาน ***วิธีเพาะเลี้ยงและอนุบาล การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำจะเป็นการเลียนแบบธรรมชาติโดยการเพาะพันธุ์ยังต้องมี การขลิบตากุ้ง (บีบตา) ซึ่งเป็นเทคนิคที่นำมาใช้ในการเพาะฟักกุ้ง เพื่อช่วยเร่งให้แม่กุ้งกุลาดำมีการพัฒนาไข่ที่เร็วขึ้นโดยใช้กรรไกรหรือปากคีบบีบที่ก้านตา เพื่อทำลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ควรทำด้วยความรวดเร็ว แผลจะหายภายใน 1 สัปดาห์ โดยปกติการผสมพันธุ์จะใช้วิธีทางธรรมชาติ ในส่วนการผสมเทียมนิยมใช้ในการคัดเลือกสายพันธุ์ การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นหลังจากกุ้งตัวเมียลอกคราบ โดยตัวผู้จะสอดถุงน้ำเชื้อเข้าไป หลังลอกคราบกุ้งตัวเมียจะเริ่มมีพัฒนาการของรังไข่ เมื่อถึงระยะไข่สุกจะพบว่าบริเวณส่วนท้องปล้องแรกจะขยายขนาดออกทั้งสองข้าง แถบยาวจะหนาขึ้นเห็นเป็นสีเขียวมะกอกขยายจนเต็มช่องท้อง นำแม่กุ้งไข่แก่ ปล่อยลงถังวางไข่200 ลิตร โดยใช้แม่กุ้งกุลาดำ 1ตัว ต่อ 1 ถัง แม่กุ้งไข่แก่จะวางไข่ตอนกลางคืน โดยจะว่ายน้ำลงไปพักอยู่ก้นบ่อและเริ่มว่ายน้ำเป็นวงกลมพร้อมกับปล่อยเชื้อตัวผู้และไข่ให้ออกมาผสมกัน เมื่อแม่กุ้งวางไข่แล้ว ให้แยกแม่กุ้งออกและดูดไข่ออกจากถังวางไข่ โดยการลักน้ำออกและใช้สวิงที่มีขนาดตา เล็กกว่า 250 ไมครอน รองรับไข่กุ้ง โดยมีสวิงที่มีขนาดตาใหญ่กว่า 350 ไมครอน อยู่ข้างบน เพื่อรองรับคราบไขมันและขี้กุ้งไม่ให้ปะปนมากับไข่กุ้ง จากนั้นนำไข่กุ้งมาล้างทำความสะอาดแล้วนำไปฟักในถัง 200 ลิตรโดยมีการให้อากาศเบาๆหลังจากแม่กุ้งวางไข่ได้ 12-14 ชั่วโมงไข่ก็จะฟักเป็นตัวอ่อนว่ายลอยอยู่บนผิวน้ำ ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: กุ้งกุลาลาย กุ้งลาย กุ้งตะเข็บ ชื่อสามัญ: Green tiger prawn ชื่อวิทยาศาสตร์: Penaeus semisulcatus วงศ์ (Family): Penaeidae ถิ่นกำเนิด: ในประเทศไทยกุ้งกุลาลายพบแพร่กระจายทั่วไปในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน รายละเอียด: กุ้งกุลาลายเป็นกุ้งทะเล ที่มีขนาดใหญ่ลักษณะลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว มีแถบสีม่วง อมดำพาดขวางด้านบนของกรีมีฟัน 6-8 ซี่ ด้านล่างมี 2-4 ซี่ ขอบปลายหางและ ขาว่ายน้ำมีขนสีแดง โดยหนวดมีลักษณะเป็นลายปล้องซึ่งแตกต่างจากกุ้งกุลาดำ มีถิ่นที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยกุ้งกุลาลายพบแพร่กระจายทั่วไปในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดา มัน ในบริเวณอ่าวพังงารวมทั้งฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต โดยเฉพาะบริเวณที่มีพื้น ทะเลเป็นทรายความลึกน้ำ 35-40 เมตร ทะเลอันดามัน บริเวณนอกฝั่งของจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดระนองชอบอาศัยอยู่ใน บริเวณที่มีพื้นดินเป็นทรายปนโคลน ระดับความลึกไม่เกิน 110 เมตร ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาบอลลูน ชื่อสามัญ: Sailfin molly ชื่อวิทยาศาสตร์: Poecilia latipinna วงศ์ (Family): Poeciliida ถิ่นกำเนิด: ประเทศอินเดีย แคว้นแบนกัลและอัสสัม รายละเอียด: ปลาบอลลูนเป็นปลาตระกูลปลาสอดปลาบอลลูนเป็นปลามอลลี่ที่นำมาผสมแบบเลือดชิดจนเกิดร่างกายสั้นป้อมมีอุปนิสัยอุปนิสัย : รักสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตกใจง่าย ปลาบอลลูนจัดเป็นปลาในกลุ่มออกลูกเป็นตัวชนิดหนึ่งที่นอกจากจะเลี้ยงง่ายแล้วยังเพาะพันธุ์ง่ายด้วย การเพาะพันธุ์ปลาบอลลูนนั้นสามารถเพาะเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์และในกระชัง ปัจจุบัน ปลาบอลลูน มอลลี่ เป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยเลี้ยงเพื่อการส่งออก โดยส่งไปขายยังฮ่องกง, ไต้หวัน, สหรัฐอเมริกา ฯลฯ เนื่องจากเป็นปลาสวยงามที่มีความหลากหลายสีสันอีกชนิดหนึ่ง ถึงแม้จะมีลวดลายน้อยกว่าปลาหางนกยูง ประเภท (Catalogy): ปลาหางนกยูง
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาเงิน ปลาทอง (ฮอรันดา) ชื่อสามัญ: Oranda goldfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Carassius auratus วงศ์ (Family): Cyprinidae ถิ่นกำเนิด: พัฒนาสายพันธุ์โดยมนุษย์ในประเทศจีน รายละเอียด: เป็นปลาทองที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์ระหว่างปลาทองสายพันธุ์ริวกิ้น และปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์ ทำให้ลักษณะเด่นลำตัวคล้ายรูปไข่หรือรูปรี ครีบทุกครีบยาวใหญ่ โดยเฉพาะครีบหางจะยาวแผ่กว้างย้วยลงมาสวยงาม ปลาทองพันธุ์นี้แบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ได้อีก ตามลักษณะหัวและสีได้แก่ ออรันดาธรรมดา มีลำตัวค่อนข้างยาวรี หัวไม่มีวุ้น ครีบทุกครีบยาวมาก ออรันดาหัววุ้น ลำตัวและหางไม่ยาวเท่า ออรันดาธรรมดา แต่บริเวณหัวจะมีวุ้นคลุมอยู่คล้ายกับหัวปลาทองพันธุ์หัวสิงห์แต่วุ้นจะไม่ ปกคลุมส่วนของหัว ออรันดาอาจแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ตามลักษณะโครงสร้าง คือ 1. ออรันดาปักกิ่ง เป็นออรันดาที่มีโครงสร้างลำตัวเล็กที่สุด ขนาดลำตัวเมื่อโตเต็มวัยประมาณ 3.5-4 นิ้ว 2. ออรันดากลาง เกิดจากการผสมกันระหว่างออรันดาปักกิ่งและออรันดายักษ์ ทำให้ได้ปลาที่มีขนาดพอเหมาะลำตัวโตเต็มที่ประมาณ 5-6 นิ้ว 3. ออรันดายักษ์ เป็นปลาที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อต้องการความใหญ่โตของตัวปลา ตอบสนองความต้องการของผู้เลี้ยงที่ต้องการจะเลี้ยงปลาทองตัวใหญ่ ๆ ส่วนใหญ่ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 8 นิ้ว เป็นปลาทองที่โตช้า วุ้นขึ้น ประเภท (Catalogy): ปลาทอง
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาเทวดาดำ-เทวดาแพลตินั่ม ชื่อสามัญ: Angelfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterophyllum scalare วงศ์ (Family): Cichlidae ถิ่นกำเนิด: ลุ่มน้ำอเมซอน โอริโนโค ในประเทศบราซิล และเวเนซูเอล่า ทวีปอเมริกาใต้ รายละเอียด: มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวมีสีเงินแวววาวทั้งลำตัว ครีบทุกครีบมีสีเงิน มีแถบสีเหลืองอ่อนจาง ๆ บริเวณครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหาง เทวดาแพลทตินั่ม ลำตัวมีสีเงินวาวสะท้อนแสงทั้งลำตัว ครีบทุกครีบใส มีสีเงินวาว เงิน มีแถบขาวจาง ๆ บริเวณครีบหลังและครีบหาง ได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ทำให้มีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย และจากการเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์ทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆและมีการตั้งชื่อต่างๆอีกหลายชื่อ เช่น ปลาเทวดาเงิน (Silver Angelfish) ปลาเทวดาดำ (Black Angelfish) ปลาเทวดาลายม้าลาย (Zebra Angelfish) ปลาเทวดาลายหินอ่อน (Marble Angelfish) ปลาเทวดาสีเทา (Gray Angelfish) ปลาเทวดาสีชอกโกเลต (Chocolate Angelfish) ปลาเทวดาลายดำครึ่งตัว(Half Black Angelfish) ปลาเทวดาขาว (White or Ghost Angelfish) ปลาเทวดาทอง (Gold Angelfish) ปลาเทวดาลายจุด (Spotled Angelfish) และ Koi Angelfish ถึงแม้ปลาเทวดาจะเป็นปลาจากต่างประเทศ แต่นักเพาะเลี้ยงปลาสวยงามในบ้านเราก็สามารถดำเนินการเพาะพันธุ์ และผลิตลูกปลาเทวดาชนิดต่างๆภายในประเทศไทยได้เป็นจำนวนมาก ลักษณะการกิน กินได้ทั้ง ตัวอ่อนแมลงน้ำ ลูกน้ำ ไรน้ำ และแพลงตอนสัตว์ และอาหารเม็ด ประเภท (Catalogy): ปลาหมอสี
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาทองออรันดาไทเกอร์ ชื่อสามัญ: Tiger oranda goldfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Carassius auratus วงศ์ (Family): Cyprinidae ถิ่นกำเนิด: พัฒนาสายพันธุ์โดยมนุษย์ในประเทศญี่ปุ่น ผสมกันระหว่างปลาทองสายพันธุ์ริวกิ้น และปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห รายละเอียด: ปลาทองออรันดาชนิดนี้มีการเพาะพันธุ์ได้ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น จึงเรียกว่า ออรันดาชิชิกะชิระ (Oranda shishigashira) ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Dutch Lionhead เกิดจากการนำปลาทองสายพันธุ์ริวกิ้น และปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์มาผสมกันมีลักษณะเด่น คือ บริเวณหัวด้านบนมีวุ้นมากและวุ้นมีลักษณะละเอียดกว่าวุ้นของปลาทองหัวสิงห์ ถ้ามองจากด้านบนจะเห็นเป็นก้อนกลมหรือเหลี่ยมคล้ายปลาสวมหมวกไว้บนหัว ส่วนครีบหางมีลักษณะแผ่กว้างและไม่สั้นจนเกินไป ปลาทองออลันดาเป็นปลาทองที่มีความนิยมสูงมากในประเทศไทย เนื่องจากว่ามีราคาไม่แพง เลี้ยงง่าย และมีสีสันสวยงาม ความสำคัญทางเศรษฐกิจ: ปัจจุบันปลาออรันดาที่ผลิตในประเทศไทยเป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศ เป็นอย่างมาก “ปลาทองออรันดาไทเกอร์” เป็นหนึ่งในปลาทองที่มีถูกพัฒนาลวดลายให้สวยงามโดยชูลักษณะเด่นของลำตัวสีส้มแดง คาดด้วยลายบั้งสีดำพาดเป็นเส้นตรงระหว่างครีบบนไปถึงช่วงท้องคลายลายเสือพาดกลอน ***ความเชื่อสายมูเตลู: ปลาทองที่มีความเชื่อว่าช่วยเสริมความมั่งคั่ง ร่ำรวยเรียกโชคลาภเสริมทรัพย์สิน อีกทั้งชาวจีนมีความเชื่อว่าเสือเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ฉลาดที่สุดจึงนิยมหยิบมาสร้างสรรค์งานศิลปะให้เป็นสื่อแทนสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงความโกรธให้เป็นปัญญา เป็นที่เคารพยำเกรงของผู้อื่น จึงสื่อถึงการเสริมพลังอำนาจบารมี ความกล้าหาญ แข็งแกร่งให้กับผู้ที่ครอบครอง ประเภท (Catalogy): ปลาทอง
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ฟลาวเวอร์ฮอร์น ครอสบรีด หล่อฮั่น ชื่อสามัญ: Flower Horn, Crossbreed ชื่อวิทยาศาสตร์: Cichlasoma sp. วงศ์ (Family): Cichlidae ถิ่นกำเนิด: เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของมนุษย์ในประเทศมาเลเซีย จนเกิดปลาสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่นมาก รายละเอียด: เป็นปลาหมอสีที่เกิดจากเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ (Cross Breed) จากมนุษย์ครั้งแรกในประเทศมาเลเซีย ปี พ.ศ. 2546 จากปลาหมอสีทวีปอเมริกากลางหลายชนิด เช่นปลาหมอไตรมาคู ปลาหมอซินสไปรุม ปลาหมอเรดเดวิว ปลาหมอเฟสเต ฯลฯ จนเกิดปลาสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่นปลาหลอฮั่นในยุคแรกมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลำตัวหนาและใหญ่ หัวโหนก ตาสีแดง ครีบและหางกางใหญ่ ลำตัวมีสีโทนเหลืองทองถึงเขียวมุก มีมาร์คกิ้งหรือลายสีดำข้างลำตัวคล้ายๆ ตัวหนังสือ และมีสีแดงที่คอและจะลามขึ้นไปจนถึงหลัง และเนื่องด้วยข้างตัวของปลามีมาร์คกิ้งเป็นลายสีดำคล้ายๆ กับตัวหนังสือภาษาจีน (บางตัวสามารถอ่านได้อย่างชัดเจน หากเป็นคำมงคล ปลาตัวนั้นๆ จะสามารถขายได้ในราคาสูงๆ) จึงทำให้ปลาตัวนี้เป็นที่นิยม ในหมู่นักเลี้ยงปลาชาวจีนเป็นอย่างมาก เพราะเชื่อว่าปลาชนิดนี้สามารถเสริมดวงชะตา และโชคลาภให้แก่ผู้เป็นเจ้าของได้ และประกอบกับที่ปลาตัวนี้จะมีหัวที่โหนกคล้ายๆ กับ เทพจ้าวแห่งความสุข (ฮก ลก ซิ่ว) จึงได้ตั้งชื่อให้กับปลาตัวนี้ว่า ปลาหลอฮั่น (อรหันต์)แต่เนื่องด้วยชื่อ หลอฮั่นเป็นภาษาจีนทำให้ชื่อเรียกไม่ติดปากจึงได้คิดชื่อเป็นภาษาอังกฤษเพื่อเป็นการง่ายต่อการเรียกชื่อ โดยดูจากจุดเด่นของปลาอยู่ที่มีหัวโหนก มาร์คกิ้งชัดเจน ตามลำตัวมีสีและลวดลายที่สวยงาม จึงเป็นที่มาของชื่อปลา Flower Horn ลักษณะการกิน:ปลาหมอสีสามารถปรับตัวได้ดีกินอาหารง่าย จะกินอาหารจำพวกอาหารสด ลูกกุ้ง ไรทะเล ไส้เดือน หนอนแดง หรืออาหารสำเร็จรูปเพื่อความสะดวกของผู้เลี้ยง ประเภท (Catalogy): ปลาหมอสี
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาสร้อยขาว สร้อยหัวกลม กระบอก ชื่อสามัญ: Jullien’s mud carp ชื่อวิทยาศาสตร์: Hecorhynchus siamensis วงศ์ (Family): Cyprinidae ถิ่นกำเนิด: พบในแหล่งน้ำหลาก หนองบึง และแม่น้ำขนาดใหญ่ใน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสานของไทย รายละเอียด: มีลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมแบน ปากเล็กอยู่เกือบ ปลายสุดของจงอยปาก เกล็ดใหญ่ ลำตัวสีเงินอมเทา เหนือครีบอกมีจุดสีคล้ำ ครีบหลังเล็ก ครีบหางเว้าลึก โคนครีบหางมีจุดสีจาง ลักษณะการกิน: แพลงก์ตอน และอินทรียสารหน้าดิน ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาตะเพียนเงิน ชื่อสามัญ: Common silver barb ชื่อวิทยาศาสตร์: Barbonymus gonionotus วงศ์ (Family): Cyprinidae ถิ่นกำเนิด: เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบแหลมอินโดจีน ชวา ไทย สุมาตรา อินเดีย ปาก รายละเอียด: มีลักษณะแบนข้าง เกล็ดใหญ่ หัวเล็ก ปากเล็กอยู่ทางด้าน หน้าสุด สีของลำตัวเป็นสีเขียวอมฟ้า ด้านหน้าสีน้ำตาลอมเทา ท้องสีขาวเงิน ครีบก้นสีเหลืองปนส้ม ลักษณะการกิน เป็นปลากินพืชเป็นหลัก เช่น สาหร่าย แพลงก์ตอน ตะไคร่น้ำ ซากสัตว์ ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลากาแดงเผื่อก ชื่อสามัญ: Albino rainbow shark ชื่อวิทยาศาสตร์: Epalzeorhynchos frenatum วงศ์ (Family): Cyprinidae ถิ่นกำเนิด: เป็นปลาที่ได้จากการพัฒนาสายพันธุ์ หรือกลายพันธุ์เป็นเผือก รายละเอียด: เป็นปลากาแดงที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ไม่มีสีลำตัว หรือเป็น สีส้มอ่อน ทำให้มองเห็นลำตัวมีสีขาวหรือสีทอง จุดเด่นอยู่ที่ ดวงตาสีแดง ส่วนครีบต่างๆ เป็นลักษณะเช่นเดียวกับปลากาแดง ลักษณะการกินกินได้ทั้ง ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนแมลงขนาดเล็ก ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: เสือสุมาตราช็อตบอดี้ ชื่อสามัญ: Tiger barb, Sumatra barb ชื่อวิทยาศาสตร์: Puntigrus tetrazona วงศ์ (Family): Cyprinidae ถิ่นกำเนิด: เป็นปลาที่ได้จากการพัฒนาสายพันธุ์โดยมนุษย์ รายละเอียด: เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีพื้นลำตัวสีเหลืองอมส้มเหมือนกัน แถบดำข้างลำตัวมีทั้งหมด 4 แถบ ตัวโตเต็มที่มีขนาดไม่เกิน 7 เซนติเมตร มีอุปนิสัยคล้ายคลึงกับปลาเสือข้างลาย คือ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณกลางน้ำ ในแหล่งน้ำสะอาดที่มีพืชพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น ปลาเสือสุมาตรานั้นได้ถูกนิยมเลี้ยงเป็น ปลาสวยงามมาช้านานแล้ว เลี้ยงง่าย เพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย จึงมีผู้เพาะขยายออกเป็นสีสันต่าง ๆ ปลาเสือ สุมาตรานับว่าเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มักไล่ตอดปลาชนิดอื่นที่ว่ายน้ำช้ากว่า เช่น ปลาทอง หรือ ปลาเทวดา จึงมักนิยมเลี้ยงแต่เพียงชนิดเดียว หรือเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่ใกล้เคียงกันโดยเฉพาะใน ตู้พรรณไม้น้ำ ในปัจจุบันได้มีการเพาะเลี้ยงให้เกิดปลาที่มีลักษณะแปลกใหม่ เช่น ลักษณะตัวสั้น หรือ Short Body โดยปลาจะมีลำตัวที่สั้นกว่าปกติ ลักษณะการกิน: กินตัวหนอน ลูกกุ้งตัวเล็ก ๆ ลูกน้ำ ลูกไร แมลงน้ำและเศษซากพืชและสัตว์เน่าเปื่อย ตลอดจนอาหารสำเร็จรูปเพื่อความสะดวกของผู้เลี้ยง ประเภท (Catalogy): ปลาสวยงามเลี้ยงในตู้พรรณไม้น้ำ
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: จระเข้น้ำเค็ม ชื่อสามัญ: Saltwater crocodile ชื่อวิทยาศาสตร์: Crocodylus porosus วงศ์ (Family): Crocodylidae ถิ่นกำเนิด: พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศออสเตรเลียทางตอนเหนือ รายละเอียด: จระเข้น้ำเค็มเป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ในอดีตพบได้ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีลงไปทางใต้ถึงจังหวัดนราธิวาส บริเวณแม่น้ำตาปีจังหวัดสุราษฎร์ธานี เคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจระเข้น้ำเค็มที่ชุกชุมมาก ปัจจุบันในธรรมชาติพบได้น้อยมาก จระเข้น้ำเค็มมีขนาดใหญ่กว่าจระเข้น้ำจืด ตัวผู้มีความยาวถึง 4 เมตร นิสัยค่อนข้างดุกว่าจระเข้น้ำจืด ***ลักษะเด่นของสัตว์น้ำจระเข้หางหายตัวนี้เป็นความแปลกที่เป็นมาตั้งแต่เกิด เมื่อหางหายทำให้ไม่มีเครื่องมือในการทรงตัวทำให้เดินและวิ่งได้ช้า เวลาลงน้ำก็ไม่มีเครื่องมือช่วยโบกพัดให้ลอยไปข้างหน้าทำให้ว่ายน้ำไม่ได้ อยู่ในธรรมชาติได้ลำบาก ต้องได้รับการดูแลอย่างดีจึงจะมีชีวิตรอดได้ ****ความเชื่อสายมูเตลู: จระเข้หางหายหรือจระเข้หางกุด สัตว์แปลกประหลาดที่เกิดมาผิดธรรมชาติ หาพบได้ยาก คนไทยเชื่อว่าจระเข้เหล่านี้มักให้โชคลาภ ความร่ำรวย กับผู้ที่ครอบครอง ประเภท (Catalogy): สัตว์ทะเล
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาแรด ชื่อสามัญ: GIANT GOURAMI ชื่อวิทยาศาสตร์: Osphronemus goramy วงศ์ (Family): Osphronemidae ถิ่นกำเนิด: พบมากแถบภาคกลางตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์เรื่อยมาจนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดเพชรบุรี และภาคใต รายละเอียด: ปลาแรดมีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้างหัวค่อนข้างเล็กและป้าน ริมฝีปากหนาเฉียงขึ้นยืดหดได้ ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมเรียงอยู่ภายใน เกล็ดมีขนาดใหญ่สากมือ ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง ช่วงที่ยังเป็นลูกปลามีจุดดำที่โคนหาง ฝั่งละ 1 จุด เมื่อโตมีนอที่หัวตอนบน ลำตัวค่อนข้างออกสีน้ำตาลปนดำ ลำตัวตอนล่างมีสีเงินแกมเหลือง ส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป ปลาแรดเพศเมียจะมีจุดสีดำที่บริเวณโคนครีบอกทั้ง 2 ข้าง ส่วนเพศผู้ไม่มี ถิ่นที่อยู่อาศัย: ปลาแรดเป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งตื้นตามแม่น้ำลำคลอง หนอง บึงที่มีทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำ เป็นปลาที่ค่อนข้างเชื่องช้าตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่ในที่เงียบสงบมีพันธุ์ไม้น้ำที่เป็นอาหาร สำหรับประเทศไทยพบมากแถบภาคกลางตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์เรื่อยมาจนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและที่แก่งกระจานจังหวัดเพชรบุรี ภาคใต้พบแถบจังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานีแม่น้ำตาปีและสาขา ภาคใต้เรียกว่า ปลาเม่นหรือปลามิน **ลักษณะการกินอาหาร: ปลาแรดเป็นปลาที่กินอาหารบริเวณผิวน้ำโดยกินทั้งพืชและสัตว์ เมื่อยังมีขนาดเล็กชอบกินพืชและสัตว์ขนาดเล็กๆ เช่น แพลงก์ตอน ผำ สาหร่าย เมื่อมีขนาดตัวเต็มวัยชอบกินอาหารจำพวกพืชผักและผลไม้สุก เช่น ผักบุ้ง แหน จอก ผักกระเฉด ใบมันเทศ หญ้าอ่อน สาหร่าย กล้วยน้ำหว้า ขนุน มะละกอ เป็นต้น **การแพร่กระจาย: ปัจจุบันพบแพร่กระจายอยู่ตามแหล่งน้ำจืดธรรมชาติทั่วไป ในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย สำหรับประเทศไทยพบทั่วไป ตามแม่น้ำสายหลัก และสาขา อ่างเก็บน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงต่างๆ ในทุกภาค ซึ่งพบแพร่กระจายมากในเขตภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม ภาคใต้ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี พัทลุง ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาดุกอุย ชื่อสามัญ: Broadhead catfish, Gunther's walking catfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias macrocephalus วงศ์ (Family): Clariidae ถิ่นกำเนิด: พบว่ามีการแพร่กระจายทั่วไปเกือบทุกภาคของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายละเอียด: เป็นปลาพื้นบ้านของไทยชนิดไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 เส้นที่ริมฝีปาก สีของผิวหนังค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของลำตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ลำตัวค่อนข้างทู่ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้น มีครีบหลังสูงกว่าปลาทั่วไปมาก สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้นๆ โดยใช้ครีบช่วย **ถิ่นที่อยู่อาศัย: สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆ ทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป แม้ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็ยังพบปลาดุก ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อยและถึงแม้ว่าน้ำที่ค่อนข้างกร่อยปลาดุกก็ยังสามารถอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี **ลักษณะการกินอาหาร: ปลาดุกกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ มีนิสัยชอบหาอาหารกินในเวลากลางวันตามบริเวณพื้นก้นบ่อ และจะขึ้นมากินอาหารบริเวณพื้นผิวน้ำเป็นบางขณะ มีนิสัยชอบกินอาหาจำพวกเศษเนื้อที่กำลังสลายตัว ปลาดุกมีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารจำพวกพืช **การแพร่กระจาย: พบว่ามีการแพร่กระจายทั่วไปเกือบทุกภาคของประเทศไทยและในประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า ลาว กัมพูชาอินเดียและบังกลาเทศ ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาสวาย ชื่อสามัญ: Striped catfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon hypophthalmus วงศ์ (Family): Pangasiidae ถิ่นกำเนิด: พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ลุ่มแม่น้ำโขง รวมถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รายละเอียด: ปลาสวายเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ลำตัวยาว มีสันหลังค่อนข้างตรง ส่วนหน้าจะลาดไปถึงบริเวณปาก หน้าทู่ปากกว้างมีหนวด 2 คู่ ลำตัวมีสีนวลขาว บริเวณหลังมีสีเข้ม ครีบมีสีเหลืองอ่อน ปลาสวายขนาดเล็กจะมีแถบสีดำคาดลำตัว พบมีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 120 เซนติเมตร อาศัยในแม่น้ำ หนอง บึง มีการอพยพไปในพื้นที่น้ำท่วมช่วงฤดูน้ำหลาก ลักษณะการกินอาหารปลาสวายเป็นปลาที่มีนิสัยการกินได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น ลูกปลา แมลง กุ้ง ลูกหอย ลูกไม้ ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาสวายเผือก ชื่อสามัญ: Albino striped catfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon hypophthalmus วงศ์ (Family): Pangasiidae ถิ่นกำเนิด: พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ลุ่มแม่น้ำโขง รวมถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นเดียวกับปลาสวาย รายละเอียด: ปลาสวายเผือกเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ดเกิดจากการผ่าเหล่ามาจากปลาสวายปรกติ มีรูปร่างลักษณะทั่วไปเหมือนปลาสวาย แต่จะแตกต่างกันที่สีของลำตัว ปลาสวายเผือกจะมีลำตัวสีขาวนวล ครีบต่างๆ จะมีสีขาวอมชมพู และนัยต์ตาจะมีสีแดง อาศัยในแม่น้ำ หนอง บึง มีการอพยพไปในพื้นที่น้ำท่วมช่วงฤดูน้ำหลาก ลักษณะการกินอาหารปลาสวายเผือกมีนิสัยการกินเหมือนกับปลาสวาย สามารถได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น ลูกปลา แมลง กุ้ง ลูกหอย ลูกไม้ ประเภท (Catalogy): ปลาไทย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ปลาหมอกล้วยหอม (สีเหลือง) ชื่อสามัญ: lemon yellow lab, the blue streak hap ชื่อวิทยาศาสตร์: Labidochromis caeruleus วงศ์ (Family): Cichlidae ถิ่นกำเนิด: ทะเลสาบมาลาวี ทวีปแอฟริกาใต้ รายละเอียด: เป็นปลาหมอสีที่มีเลี้ยงในประเทศไทยมานานแล้ว นิยิมเลี้ยงกันทั้งมือเก่าและมือใหม่เพราะมีสีเหลืองสวยงามสะดุดตาและยังมีราคาถูก นิสัยไม่ดุร้ายมากสามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆที่มีขนาดเล็กได้ จุดเด่นคือมีสีเหลืองสดสวยสะดุดตา ตัดกับขลิบสีดำบนแนวครีบหลังและครีบหาง มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 9 ซม. ปลาหมอกล้วยหอมสามารถเลี้ยงเป็นฝูงกับปลาชนิดเดียวกัน หรือกับปลาหมอมาลาวีชนิดอื่นๆได้ เพราะมีขนาดเล็กและนิสัยไม่ก้าวร้าว ชอบว่ายน้ำเป็นฝูงทำให้ตู้ดูสวยงาม เพศผู้เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์จะเปล่งสีออกมาจัดมาก และปรากฎจุดไข่ปลาสีเหลืองบริเวณครีบก้น ซึ่งตัวที่มีสีสันสวยสะดุดตาที่สุดจะเป็นที่หมายตาของเพศเมีย ซึ่งในปลาหนึ่งฝูงอาจมีเพศผู้ที่สีสวยสดมากๆเพียงตัวเดียวหรือสองตัวเท่านั้นในช่วงผสมพันธุ์ การกินอาหารกินได้ทั้งอาหารสดและสำเร็จรูป เป็นปลาที่กินอาหารเก่งและโตเร็วมาก ประเภท (Catalogy): ปลาหมอสี
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อไทย: ซีบราบลู, มาลาวีฟ้า (สีฟ้า) ชื่อสามัญ: Cobalt Blue Zebra, Cobalt Zebra, Pearl Zebra Former, Zebra Malawi ชื่อวิทยาศาสตร์: Maylandia callainos วงศ์ (Family): Cichlidae ถิ่นกำเนิด: ทะเลสาบมาลาวี รายละเอียด: เป็นปลาหมอสีที่มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบมาลาวี เฉพาะถิ่นในอ่าว Nkhata เท่านั้น ปลาชนิดนี้มีลำตัวยาวแบนข้าง หัวโต ปากแหลมและเฉียงขึ้นเล็กน้อย สันของส่วนหัวเป็นแนวโค้งขึ้นไปจรดหน้าครีบกระโดง ช่วงไหล่กว้าง หางคอดสั้น ครีบกระโดงมีส่วนที่ยกสูงขึ้นคือส่วนที่เป็นก้านอ่อน ส่วนปลายสุดของกระโดงงอลงหาครับหาง ครีบก้นมีปลายครีบยาวเรียว โดยปลาชนิดนี้มีความยาวได้ถึง 8 เซนติเมตร ปลาหมอสีเป็นปลาอมไข่ ที่มีการฟักไข่ และออกลูกจากปลาตัวเมีย โดยปลาตัวเมียจะอมไข่ไว้ในปลา และปลาตัวผู้จะมีจุดไข่ (Egg spots) อยู่บริเวณครีบก้นโดยจุดไข่จะมีลักษณะและขนาดเหมือนไข่จริง โดนปลาตัวเมียจะไปงับบริเวณจุดไข่ของปลาตัวผู้ แล้วปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่ที่อยู่ในปากตัวเมีย ซึ่งตัวเมียแต่ละตัวจะอมไข่ไว้ได้ประมาณ 10 – 50 ฟอง เมื่อไข่และน้ำเชื้อผสมกันแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์จนกว่าลูกปลาจะฟักออกเป็นตัว โดยระหว่างนั้นแม่ปลาจะไม่มีการกินอาหาร ซึ่งลูกปลาจะอาศัยในปากแม่ปลาเป็นเวลา 1 เดือน จนกว่าลูกปลาจะแข็งแรง และสามารถหาอาหารกินเองได้ แม่ปลาจึงปล่อยลูกปลาออกจากปากทั้งหมด มีลักษณะการกินอาหาร เป็นปลากินพืชน้ำขนาดเล็ก โดยในปัจจุบันมีการให้เป็นอาหารเม็ดขนาดเล็กเพื่อให้สะดวกต่อผู้เลี้ยง หรืออาจจะให้อาหารมีชีวิต เช่นอาร์ทีเมียร์ ลูกน้ำ ไรแดง หนอนแดง เป็นต้น ประเภท (Catalogy): ปลาหมอสี
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/aqualib", "title": "Thai aqualib" }
ชื่อ: ปลาฉนากจะงอยกว้าง ชื่อท้องถิ่น: ฉนากน้ำจืด ชื่อสามัญ: Largetooth ชื่อวิทยาศาสตร์: Pristis microdon ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาทะเลที่อพยพเข้ามาในแหล่งน้ำจืดเป็นครั้งคราว นิสัย เป็นปลากินเนื้อ กินปลา และสัตว์หน้าดิน ขนาดที่พบใหญ่สุด มีความยาวมากกว่า 500 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบในทะเลชายฝั่งและปากแม่น้ำต่างๆ ของเขตอินโดแปซิฟิค ในแม่น้ำเจ้าพระยา มีรายงานพบอพยพ ขึ้นจนถึงบึงบอระเพ็ด ปัจจุบันสูญพันธุ์แล้วจากประเทศไทย และ อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตตามบัญชีแดงของ IUCN สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: กระเบนเจ้าพระยา ชื่อวิทยาศาสตร์: Himantura chaophraya ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำสายหลัก นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินปลา กุ้ง ปู และสัตว์หน้าดิน ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความกว้างลำตัว มากกว่า 250 เซนติเมตร และมีน้ำหนักมากถึง 500 กิโลกรัม ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบเป็นบริเวณกว้างตั้งแต่ภูมิภาค เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เขตบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย จนถึงเขตออสเตรเลียตอนเหนือ ในแม่น้ำเจ้าพระยา พบตั้งแต่บริเวณปากแม่น้ำจนถึงบริเวณจังหวัดนครสวรรค์
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: กระเบนลาย ชื่อวิทยาศาสตร์: Himantura oxyrhyncha ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำตอนล่าง และบริเวณปากแม่น้ำ นิสัย เป็นปลากินเนื้อ กินปลา กุ้ง และปู ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความ กว้างลำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบเป็นบริเวณกว้างตั้งแต่ภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงเขตกาลิมันตัน ประเทศอินโดนีเซีย ในประเทศไทย พบในแม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำเจ้าพระยา โดย มีรายงานพบในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ปากแม่น้ำจนถึงบริเวณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปูทะเล ชื่อท้องถิ่น: ปูขาว, ปูทองหลาง ชื่อสามัญ: Mud Crab ชื่อวิทยาศาสตร์: Scylla paramamosain ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นสัตว์น้ำกร่อย มีกระดองแข็งหุ้มลำตัว ขอบระหว่างตามีหนาม 4 อัน ส่วนด้านข้างตาแต่ละข้างมีหนามข้างละ 8-9 อัน ก้ามจะมีหนามแหลม ส่วนขาอื่น ๆ ไม่มีหนาม ตัวผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด อาศัยอยู่ในบริเวณป่าชายเลน มีการอพยพย้ายถิ่นเพื่อการแพร่พันธุ์ โดยปูทะเลเพศเมียจะอพยพจากแหล่งอาศัยในบริเวณเขตนํ้ากร่อย เพื่อออกไปวางไข่ในทะเล ซึ่งการอพยพนี้จะมีขึ้นภายหลังจากที่ได้ผ่านการจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อแม่ปูวางไข่ในทะเลลึกลูกปูจะพัฒนาจากระยะตัวอ่อน จนเข้าสู่ระยะวัยรุ่นจากนั้นจึงว่ายน้ำกลับมาอาศัยหากินยังบริเวณป่าชายเลนในเขตน้ำกร่อยต่อไป ถิ่นที่อาศัย: พบได้ทั่วไปตลอดแนวชายฝั่งทะเลที่มีป่าชายเลนตั้งแต่เขตอบอุ่นถึงเขตร้อน เขตอินโดแปซิฟิกตั้งแต่ทวีปแอฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบการแพร่กระจายอยู่ทุกจังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ฝั่ง แต่พบมากในบริเวณฝั่งทะเลอ่าวไทย ชอบอาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองที่มีอาณาเขต ติดต่อกับแนวชายฝั่งทะเล หรือป่าชายเลน สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปูทะเล ชื่อท้องถิ่น: ปูดำ, ปูแดง ชื่อสามัญ: Mud Crab ชื่อวิทยาศาสตร์: Scylla olivacea ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นสัตว์น้ำกร่อย มีกระดองแข็งหุ้มลำตัว ขอบระหว่างตามีหนาม 4 อัน ส่วนด้านข้างตาแต่ละข้างมีหนามข้างละ 8-9 อัน ก้ามจะมีหนามแหลม ส่วนขาอื่น ๆ ไม่มีหนาม ตัวผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด อาศัยอยู่ในบริเวณป่าชายเลน มีการอพยพย้ายถิ่นเพื่อการแพร่พันธุ์ โดยปูทะเลเพศเมียจะอพยพจากแหล่งอาศัยในบริเวณเขตนํ้ากร่อย เพื่อออกไปวางไข่ในทะเล ซึ่งการอพยพนี้จะมีขึ้นภายหลังจากที่ได้ผ่านการจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อแม่ปูวางไข่ในทะเลลึกลูกปูจะพัฒนาจากระยะตัวอ่อน จนเข้าสู่ระยะวัยรุ่นจากนั้นจึงว่ายน้ำกลับมาอาศัยหากินยังบริเวณป่าชายเลนในเขตน้ำกร่อยต่อไป ถิ่นที่อาศัย: พบได้ทั่วไปตลอดแนวชายฝั่งทะเลที่มีป่าชายเลนตั้งแต่เขตอบอุ่นถึงเขตร้อน เขตอินโดแปซิฟิกตั้งแต่ทวีปแอฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบการแพร่กระจายอยู่ทุกจังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ฝั่ง แต่พบมากในบริเวณฝั่งทะเลอันดามัน ชอบอาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองที่มีอาณาเขต ติดต่อกับแนวชายฝั่งทะเล หรือป่าชายเลน สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปูทะเล ชื่อท้องถิ่น: ปูเขียว, ปูทองโหลง ชื่อสามัญ: Mud Crab ชื่อวิทยาศาสตร์: Scylla serrata ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นสัตว์น้ำกร่อย มีกระดองแข็งหุ้มลำตัว ขอบระหว่างตามีหนาม 4 อัน ส่วนด้านข้างตาแต่ละข้างมีหนามข้างละ 8-9 อัน ก้ามจะมีหนามแหลม ส่วนขาอื่น ๆ ไม่มีหนาม ตัวผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด อาศัยอยู่ในบริเวณป่าชายเลน มีการอพยพย้ายถิ่นเพื่อการแพร่พันธุ์ โดยปูทะเลเพศเมียจะอพยพจากแหล่งอาศัยในบริเวณเขตนํ้ากร่อย เพื่อออกไปวางไข่ในทะเล ซึ่งการอพยพนี้จะมีขึ้นภายหลังจากที่ได้ผ่านการจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อแม่ปูวางไข่ในทะเลลึกลูกปูจะพัฒนาจากระยะตัวอ่อน จนเข้าสู่ระยะวัยรุ่นจากนั้นจึงว่ายน้ำกลับมาอาศัยหากินยังบริเวณป่าชายเลนในเขตน้ำกร่อยต่อไป ถิ่นที่อาศัย: พบได้ทั่วไปตลอดแนวชายฝั่งทะเลที่มีป่าชายเลนตั้งแต่เขตอบอุ่นถึงเขตร้อน เขตอินโดแปซิฟิกตั้งแต่ทวีปแอฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย ชอบอาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองที่มีอาณาเขต ติดต่อกับแนวชายฝั่งทะเล หรือป่าชายเลน สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันพบปูทะเลชนิดนี้น้อยมาก สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปูทะเล ชื่อท้องถิ่น: ปูม่วง ชื่อสามัญ: Mud Crab ชื่อวิทยาศาสตร์: Scylla tranquebarica ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นสัตว์น้ำกร่อย มีกระดองแข็งหุ้มลำตัว ขอบระหว่างตามีหนาม 4 อัน ส่วนด้านข้างตาแต่ละข้างมีหนามข้างละ 8-9 อัน ก้ามจะมีหนามแหลม ส่วนขาอื่น ๆ ไม่มีหนาม ตัวผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด อาศัยอยู่ในบริเวณป่าชายเลน มีการอพยพย้ายถิ่นเพื่อการแพร่พันธุ์ โดยปูทะเลเพศเมียจะอพยพจากแหล่งอาศัยในบริเวณเขตนํ้ากร่อย เพื่อออกไปวางไข่ในทะเล ซึ่งการอพยพนี้จะมีขึ้นภายหลังจากที่ได้ผ่านการจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อแม่ปูวางไข่ในทะเลลึกลูกปูจะพัฒนาจากระยะตัวอ่อน จนเข้าสู่ระยะวัยรุ่นจากนั้นจึงว่ายน้ำกลับมาอาศัยหากินยังบริเวณป่าชายเลนในเขตน้ำกร่อยต่อไป ถิ่นที่อาศัย: พบได้ทั่วไปตลอดแนวชายฝั่งทะเลที่มีป่าชายเลนตั้งแต่เขตอบอุ่นถึงเขตร้อน เขตอินโดแปซิฟิกตั้งแต่ทวีปแอฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย ชอบอาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองที่มีอาณาเขต ติดต่อกับแนวชายฝั่งทะเล หรือป่าชายเลน สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันพบปูทะเลชนิดนี้น้อยมาก สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปูม้า ชื่อท้องถิ่น: ปูม้า ชื่อสามัญ: Blue Swimming Crab ชื่อวิทยาศาสตร์: Portunas pelagicus ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งทะเล ที่มีก้ามเรียวยาว มีสัน หนามข้างกระดองด้านละ 9 อัน อันสุดท้ายมีขนาดใหญ่และยาวที่สุดกระดองแบนกว้างมากและมีตุ่มเล็ก ๆ กระจายทั่วไป มีหนามที่ขอบเบ้าตาด้านบน ขอบเบ้าตาด้านล่างมีหนาม แหลม 1 อัน ขาเดินมี 3 คู่ กรรเชียงว่ายน้ำ 1 คู่ ตัวผู้มีก้ามเรียวยาวกว่า มีสีฟ้าอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปบนกระดองและก้าม ปูม้าเพศเมียเจริญเต็มที่ขนาดความกว้างกระดองประมาณ 15-20 เซนติเมตร ในอายุเท่ากันปูม้าเพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมียและมีสีสันสวยงามกว่า ถิ่นที่อาศัย: ปูม้ามีการแพร่กระจายทั่วไป โดยจะพบตั้งแต่ชายฝั่งทะเลมหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวเปอร์เซียร์ ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไปตลอดแนวชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน โดยอาศัยอยู่ตามบริเวณที่ตื้นชายฝั่งทะเลระหว่างเขตน้ำขึ้นน้ำลง จนถึงระยะห่างจากฝั่งทะเลประมาณ 20 กิโลเมตร ระดับน้ำลึกประมาณ 30-50 เมตร สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาสร้อยขาว ชื่อท้องถิ่น: สร้อยหัวกลม ชื่อสามัญ: Siamese mud carp ชื่อวิทยาศาสตร์: Henicorhynchus siamensis ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาสร้อยขาว เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ลักษณะลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมมน ปากเล็กอยู่เกือบจะสุดจะงอยปาก กึ่งกลางของริมฝีปากมีปุ่มกระดุกยื่นออกมา ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ลำตัวสีน้ำเงินอมเทา เหนือครีบอกมีจุดสีคล้ำ ครีบหลังเล็ก ครีบหางเว้าลึกและมีจุดประสีคล้ำ ถิ่นที่อาศัย: ปลาสร้อยขาว มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในแหล่งน้ำหลาก หนองบึง และแม่น้ำขนาดใหญ่ในทุกภาคของประเทศไทย สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาเค้าขาว ชื่อท้องถิ่น: เค้าคูน ชื่อสามัญ: WHITE SHEATFISH ชื่อวิทยาศาสตร์: Wallago attu ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด มีรสชาติดี ราคาค่อนข้างสูง ปากมีขนาดกว้าง มุมปากยาวเลยหลังของลูกตา มีฟันแหลมเล็กบนขากรรไกร ตาเล็ก มีหนวดที่ริมฝีปากยาวถึงครีบบน มีขนาดโดยเฉลี่ย 70-80 ซ.ม. พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร มักหากินเวลากลางคืน ปลาเค้าขาวมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะสีผิวตามสภาพแวดล้อม ถิ่นที่อาศัย: ปลาเค้าขาวชอบอาศัยในบริเวณน้ำลึกในแม่น้ำ กระเสน้ำไม่แรงมากและมักซ่อนตัวอยู่ตามซอกหลืบริมฝั่งแม่น้ำที่มีสภาพเป็นดินโคลนเป็นปลาไม่รวมฝูง นิสัยก้าวร้าวหวงที่และไม่ค่อยย้ายถิ่น พบอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน่าน บึงบอระเพ็ด และแม่น้ำโขง สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: สังกะวาดเหลือง ชื่อท้องถิ่น: ยอน, ยอนเขียว (อีสาน), ชะวาด ชื่อสามัญ: Pla Sangawad Luang ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasius macronema ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาไม่มีเกล็ดหรือปลาหนัง ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน คือ หัวเล็ก ความยาวไม่เกิน ๒๕%Sl (Standard length) ตามีความกว้างถึง ๙.๖%Sl จะงอยปากเรียวสั้น มุมที่ปลายปากล่างแคบกว่า ๙๐ องศา มีหนวด ๒ คู่ หนวดเป็นเส้นแบนเรียวยาวถึงปลายครีบอก แถบฟันบนเพดานเป็นรูปไข่มี ๒ คู่ แยกจากกัน ฟันที่ขากรรไกรบนเป็นแถบโค้งสั้น ซี่กรองเหงือกเรียวยาวมีมากกว่า ๓๗ อัน รูปร่างแบข้างเรียวกว่าชนิดอื่น ๆ มีความลึกไม่เกิน ๒๕%Sl ปลายครีบหลังและครีบอกในตัวอื่นเป็นเส้นยาว ครีบก้นในตัวผู้แผ่กว้าง ปลาขนาดเล็กมีสีเทาขุ่น ฐานครีบหลังมีแต้มสีคล้ำ ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาคล้ำเคลือบทองหรือเขียว ข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำผสมแนวยาวตั้งแต่โคนครีบอก ครีบสีจาง ครีบหางสีเหลืองอ่อนหรือจางขอบคล้ำ พบขนาดไม่เกิน ๓๕ cm. SL ถิ่นที่อาศัย: ปลาสังกะวาดเหลืองมีการแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา และพบในแถบซุนดาเฉพาะชวาและบอร์เนียว นอกจากนี้ในประทเศไทยพบชุกชุมในอ่างเก็บน้ำบางแห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: จาด, ตะพากส้ม ชื่อสามัญ: Goldfin tinfoil barb ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypsibarbus malcolmi ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: คล้ายปลาตะเพียนขาว แต่ลำตัวเรียวกว่า มีหนวดค่อนข้างยาวทีมุมปาก ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีเงินเทา ครีบสีส้มและมีขอบสีแดงเรื่อหรือชมพู ครีบก้นมีลักษณะโค้งเหมือนเคียว ปลาเพศผู้ ลักษณะของลำตัวจะยาวเรียว เกล็ดบริเวณลำตัว และกระดูกปิดเหงือกหรือแก้ม จะสากมือ และเมื่อใ้ช้มือลูบบริเวณท้องเบา ๆ จะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมา ส่วนปลาเพศเมียที่มีไข่แก่จัดบริเวณท้องจะอูมเป่งและนิ่ม ผนังท้องบาง ช่องเพศขยายใหญ่ และมีสีชมพูเรื่อ ๆ หรือสีแดงอย่างเห็นได้ชัด ถิ่นที่อาศัย: เป็นปลาน้ำจืดที่พบในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และกัมพูชา สำหรับในประเทศไทย มีรายงานพบปลาชนิดนี้ในแม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำตาปี แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำปิง และในอ่างเก็บน้ำบางแห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาตะพาก ชื่อท้องถิ่น: ปลาปีก ปลาปากดำ ชื่อสามัญ: Golden Belly Barb ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypsibabus wetmorei ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขาว แต่มีขนาดใหญ่กว่า บริเวณส่วนท้องมีสีเหลืองทอง บริเวณส่วนหลังมีสีเข้มป็นน้ำเงินอมเขียว ครีบหลัง และครีบหางสีส้มแกมเขียว ครีบท้องสีส้มหรือสีเหลืองอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วละว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา ขนาดความยาวโดยทั่วไป 20-30 เซนติเมตร ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 ซ.ม. พบใหญ่ที่สุดยาว 66 ซ.ม. น้ำหนัก 8 ก.ก. อาหารกินได้หลากหลายเช่น พืชน้ำ แมลงน้ำ รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์เป็นหมู่ ฤดูวางไข่ อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนและตุลาคม-ธันวาคม ไข่เป็นแบบ ครึ่งจมครึ่งลอย ปลาเพศเมียขนาด ความยาวเฉลี่ย 36 ซม. น้ำหนัก เฉลี่ย 763 กรัม มีจำนวนไข่เฉลี่ย 87,533 ฟอง ถิ่นที่อาศัย: แม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำโขง สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }