en
stringlengths
9
458
th
stringlengths
13
451
Following the success of the first UN Thematic Working Group (UN TWG)from 2019-2021, this 2ndphase of the UN TWG (2023-2027) is expected to be a key multi-sectoral platform for coordinating the implementation of the UNIATF recommendations and broadly the NCDs strategy and action plan towards achieving the Sustainable Development Goals (SDGs) 3 and other health-related targets
หลังจากความสำเร็จของคณะทำงานด้านโรคไม่ติดต่อของสหประชาชาติ (UN TWG) ระหว่างปี 2562-2564 คาดว่าคณะทำงาน UN TWG ระยะที่ 2 ระหว่างปี 2566-2570 นี้จะเป็นเวทีสำคัญของหลายภาคส่วนในการประสานงานเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะทำงานร่วม UNIATF และขยายกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานด้านโรคไม่ติดต่อไปในวงกว้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ 3 ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 3 พร้อมทั้งเป้าหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ
The meeting was co-chaired by the UN Resident Coordinator, Ms. Gita Sabharwal and the Ministry of Public Health (MoPH), Permanent Secretary, Dr. Opart Karnkawinpong, and participated by more than 30 partners from MoPH, representatives of non-health ministries and Office of the Prime Minister, UN Heads of agencies and/or their representatives, Thai Health, Civil Society Organization (CSO) representatives and senior advisors/experts
นางกีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย และนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานร่วมในการประชุม โดยมีหัวหน้าหน่วยงาน และ/หรือผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ และองค์กรภาคีด้านโรคไม่ติดต่อเข้าร่วมมากกว่า 30 องค์กรจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงและหน่วยงานนอกภาคสาธารณสุข สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ องค์กรภาคประชาสังคม (CSO) และที่ปรึกษาอาวุโส/ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไม่ติดต่อ
In her welcome speech, Ms. Gita Sabharwal underscored the UN TWG as a unique mechanism and best practice that allows for the alignment of interests and priorities of key stakeholders in addressing different aspects of prevention and control of NCDs and mental health"
ในสุนทรพจน์ต้อนรับของนางกีต้า ซับบระวาล ได้กล่าวเน้นว่าคณะทำงาน UN TWG เป็นกลไกที่เป็นเอกลักษณ์และได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่จะช่วยให้เกิดการจัดลำดับความสําคัญของปัญหา และเพิ่มความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ และสุขภาพจิตในแง่มุมต่างๆ"
Dr. Opart Karnkawinpong, emphasized that "there are various challenges that need multi sectors to collaborate together so as to fight NCDs in an effective manner.
ซึ่งนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ เน้นย้ำอีกว่า "มีความท้าทายหลายประการที่ต้องการความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วนในการร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับโรคไม่ติดต่ออย่างมีประสิทธิภาพ"
Dr Krisada Hanbunjerd, Director of the Division of NCDs at the Department of Disease Control, MoPH, provided an overview of the progress and next steps in fully implementing the unfinished agenda under the UNIATF recommendations and key priorities for 2023-2024
นายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงภาพรวมของความคืบหน้า และขั้นตอนต่อไปในการดำเนินงานในวาระที่ยังไม่เสร็จสิ้นตามข้อเสนอแนะของ UNIATF และตามลำดับความสำคัญที่วางไว้ระหว่างปี 2566-2567
The kick-off meeting also tackled obesity as its first thematic topic, with Dr Jos Vandelaer, World Health Organization (WHO) Representative to Thailand, as chair of the session on "Obesity in Thailand and way forward'
การประชุมเริ่มต้นโดยการกล่าวถึงโรคอ้วนเป็นหัวข้อแรก โดยมีนายแพทย์จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำประเทศไทย เป็นประธานการประชุมในหัวข้อ "โรคอ้วนในประเทศไทยและก้าวต่อไปในการจัดการปัญหา"
Dr. Sarawut Boonsuk, Deputy Director General, Department of Health, MoPH, presented the current situation in Thailand, policies and measures, priority actions as well as possible areas of UN support
นายแพทย์ศราวุธ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย นโยบายและมาตรการ การดำเนินการตามลำดับความสำคัญ รวมถึงประเด็นที่หน่วยงานองค์การสหประชาชาติให้การสนับสนุน
He highlighted the importance of making obesity a national agenda and to support the enactment of the "Marketing Restriction of Food and Beverages Affecting Children's Health Act.
โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดให้โรคอ้วนเป็นวาระแห่งชาติ และเพื่อสนับสนุนการออกกฎหมาย "การจำกัดการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก"
In line with this priority agenda, Dr. Direk Khampaen, Deputy Director General, Department of Disease Control, MOPH shared some of the best practices and learnings on NCDs prevention and control, with focus on obesity from the recent exchange visit in Singapore, supported by WHO
เพื่อให้สอดคล้องกับวาระสำคัญนี้ นายแพทย์ดิเรก ขำแป้น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดี และบทเรียนที่ได้รับเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยเน้นไปที่โรคอ้วนซึ่งได้มาจากการไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประเทศสิงคโปร์ครั้งล่าสุด โดยได้รับการสนับสนุนจาก WHO
He highlighted key strategies on healthy eating and physical activities as crucial elements in addressing the growing public health problem of obesity
โดยเน้นย้ำถึงกลยุทธ์สำคัญเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกาย ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ
He also emphasized the important role of digital technology and seamless linkage across Information Technology applications in effective health promotion and prevention programmes across the life course
อีกทั้งบทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลและการเชื่อมโยงระหว่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโครงการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคไม่ติดต่อที่มีประสิทธิผลสำหรับประชากรทุกกลุ่มวัยได้อย่างลงตัวโดยไร้รอยต่อ
Following a series of insightful presentations, participants engaged in a dynamic dialogue with UN agencies, exploring entry points for collaboration
หลังจากการนำเสนอเชิงลึก ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายกับผู้แทนจากหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ เพื่อหาจุดเริ่มต้นสำหรับการทำงานร่วมกัน
Before the meeting ends, Dr Olivia Nieveras, Medical Officer for NCDs at WHO, briefly presented the Terms of Reference (TOR) for the UN TWG for final consultation
ก่อนการประชุมสิ้นสุดลง แพทย์หญิงโอลิเวีย เนเวรัส เจ้าหน้าที่การแพทย์ด้านโรคไม่ติดต่อของ WHO ได้นำเสนอบทบาทและหน้าที่ (TOR) ของคณะทำงาน UN TWG โดยย่อเพื่อขอคำปรึกษาขั้นสุดท้าย
The group agreed to endorse the TOR with additional members
ทั้งนี้ทางกลุ่มเห็นชอบที่จะให้การรับรอง TOR ที่มีสมาชิกเพิ่มเติม
The meeting was concluded by Dr Jos Vandelaer, he stressed the importance of continued collaboration, knowledge-sharing, and commitment to achieving the shared goal of NCDs prevention and control
นายแพทย์จอส ฟอนเดลาร์ กล่าวสรุปการประชุม โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง การแบ่งปันความรู้ และความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
He remarked, "In today's meeting, we are united in our commitment to combat NCDs and further advance health and well-being in Thailand.
โดยกล่าวว่า "ในการประชุมวันนี้ เราได้ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับโรคไม่ติดต่อและพัฒนาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในประเทศไทยต่อไป"
Thailand Recognizes Local Governments for Achieving Healthy Cities Goals
ประเทศไทยยกย่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บรรลุเป้าหมายเมืองที่มีสุขภาพดี
BANGKOK, 25 August 2023 - The Thailand Ministry of Public Health awarded the "Thailand Healthy Cities Awards 2023" at the TK Palace and Convention, recognising local administrative organisations (LAOs) for their remarkable achievements in urban health
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 ณ กรุงเทพมหานคร – กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัล "รางวัลเมืองสุขภาพดีของประเทศไทย ประจำปี 2566" ณ โรงแรมทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น เพื่อเชิดชูเกียรติแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมด้านสุขภาพชุมชนเมือง
Municipalities such as Udon Thani, Phibun Mangsahan, Roi Et, and Nakhon Si Thammarat were among the notable winners
ซึ่งมีเทศบาลที่ชนะรางวัลยอดเยี่ยม เช่น เทศบาลอุดรธานี พิบูลมังสาหาร ร้อยเอ็ด และนครศรีธรรมราช เป็นต้น
With over 250 health professionals and authorities in attendance, the event highlighted Thailand's alignment with the World Health Organization's (WHO) Healthy Cities standards, underlining the country's commitment to boosting urban health and well-being on its own
โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานกว่า 250 คน งานดังกล่าวเน้นย้ำถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานเมืองเพื่อสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งตอกย้ำความมุ่งมั่นของประเทศในการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในชุมชนเมือง
The WHO's emphasis on developing health-friendly urban environments was perceptible at the event
พิธีมอบรางวัลในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของพัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชนเมืองที่เป็นมิตรต่อสุขภาพซึ่งเป็นแนวทางขององค์การอนามัยโลก
Dr. Jos Vandelaer, WHO Representative in Thailand, emphasised the need of "Healthy cities for safe, inclusive, and sustainable communities," referring to the seminal Ottawa Charter on Health Promotion from 1986
นายแพทย์จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของ "เมืองที่มีสุขภาพดีเพื่อชุมชนที่ปลอดภัย ครอบคลุม และยั่งยืน" ซึ่งอ้างอิงถึงกฎบัตรออตตาวาว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529
This charter emphasised the importance of supportive surroundings, community-driven health initiatives, and policies that prioritise health and well-being
โดยกฎบัตรดังกล่าวให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย การดำเนินงานและขับเคลื่อนโครงการด้านสุขภาพโดยชุมชน และนโยบายที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
The Department of Health's Deputy Director-General, Dr. Atthaphon Kaewsamrit, emphasised Thailand's goal of elevating 1,000 cities to "Healthy City" status by 2027
นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เน้นย้ำเป้าหมายของประเทศไทยในการยกระดับ 1,000 เมืองสู่สถานะ "เมืองสุขภาพดี" ภายในปี 2570
This goal is consistent with WHO's vision for urban health
เป้าหมายนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์การอนามัยโลก ด้านสุขภาพในชุมชนเมือง
To accomplish this, health-centric city planning, community participation, and robust monitoring methods to measure health benefits must all be implemented
และเพื่อให้บรรลุผลตามที่วางไว้นี้ หน่วยงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการวางผังเมืองที่เน้นผลลัพท์ด้านสุขภาพ การมีส่วนร่วมของชุมชน และนำวิธีการติดตามที่มีประสิทธิภาพในการประเมินประโยชน์ต่อสุขภาพมาใช้
The award criteria, which include Healthy Environments, Healthy Settings, and Healthy People, align with WHO's overarching idea that health extends beyond hospitals and focuses on fostering flourishing communities
เกณฑ์การให้รางวัลนั้นรวมถึงสภาพแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาพ สถานประกอบการเอื้อต่อสุขภาพ และประชาชนรอบรู้สุขภาพ สอดคล้องกับแนวคิดที่ครอบคลุมขององค์การอนามัยโลก ว่าด้วยเรื่องสุขภาพที่ขยายไปไกลกว่าโรงพยาบาล และมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมชุมชนให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน
Throughout the programme, panel discussions emphasised actual initiatives in urban planning based on health principles
ตลอดโปรแกรมการอภิปรายได้เน้นย้ำถึงการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงในการวางผังเมืองตามหลักการด้านสุขภาพ
The mayors of the award-winning cities offered experiences from their transitions, notably those from industrial to health-focused communities, demonstrating Thailand's forward-thinking approach to urban health
นายกเทศมนตรีของเมืองที่ได้รับรางวัลได้นำเสนอประสบการณ์จากการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะจากชุมชนอุตสาหกรรมไปสู่ชุมชนที่มุ่งเน้นด้านสุขภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวคิดอันล้ำหน้าด้านสุขภาพชุมชนเมืองของประเทศไทย
Group discussions addressed previous accomplishments as well as present obstacles and outlined the next steps, emphasising Thailand's commitment to an urban health vision in accordance with WHO principles
การอภิปรายกลุ่มยังได้กล่าวถึงความสำเร็จในอดีต รวมถึงอุปสรรคในปัจจุบัน และสรุปขั้นตอนที่จะมีการดำเนินต่อไป โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยต่อวิสัยทัศน์ด้านสุขภาพชุมชนเมืองตามหลักการของ องค์การอนามัยโลก
"Thailand's Healthy Cities initiative, which promotes holistic health and environmental harmony, is in sync with WHO's long-standing objective
"โครงการเมืองสุขภาพดีของประเทศไทย ซึ่งส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมและมีการบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อมนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่มีมายาวนานของ องค์การอนามัยโลก
Importantly, our efforts are directly aligned with the Sustainable Development Goals (SDGs), which establish a baseline for comprehensive health and environmental goals
และที่สำคัญคือโครงการนี้ยังสอดคล้องโดยตรงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นการวางรากฐานเพื่อเป้าหมายด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุม
In these trying times, Thailand has envisioned a resilient and health-focused urban future for everybody." Dr. Jos Vandelaer stated
และจะช่วยให้ประเทศไทยเป็นเมืองที่มีความยืดหยุ่นและมีเป้าหมายด้านสุขภาพเป็นศูนย์กลางสำหรับประชาชนทุกคน" นายแพทย์จอส ฟอนเดลาร์ ได้กล่าวว่า
The Joint Needs Assessment exercise aims to identify needs, resources available and gaps in the implementation of WHO FCTC, and to provide recommendations on how to address these gaps.
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทบทวนยุทธศาสตร์ นโยบาย มาตรการควบคุมยาสูบของประเทศไทย และช่องว่างในการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญา WHO FCTC และเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขเพื่อลดช่องว่างเหล่านี้
Multi-sectoral tobacco control stakeholders in Thailand participated, gathering crucial insights, and identifying progress and challenges.
โดยผู้มีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมในการควบคุมยาสูบของประเทศไทยได้เข้าร่วม มีการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญ และระบุความก้าวหน้าและความท้าทาย
The assessment highlighted Thailand's strengths in tobacco control but also emphasized the need to address critical obstacles.
การทบทวนดังกล่าวเน้นย้ำถึงจุดแข็งของประเทศไทยในการควบคุมยาสูบ แต่ก็ยังสะท้อนให้เห็นถึงช่องว่าง และอุปสรรคต่างๆ ที่สำคัญอีกด้วย
Through extensive bilateral meetings with concerned ministries (health, finance, interior and education), civil society organizations, Thai Health and UN agencies, valuable information was collected during the assessment.
จากการประชุมทวิภาคีกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาไทย และกระทรวงศึกษาธิการ) องค์กรภาคประชาสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยงานของสหประชาชาติ ข้อมูลอันมีคุณค่าได้รับการเก็บรวบรวมในระหว่างการประเมิน
These insights and recommendations serve as a driving force for the sustained and strong commitment of Thailand to combat tobacco use and prioritize the well-being of its citizens.
ซึ่งข้อมูลเชิงลึกและข้อเสนอแนะเหล่านี้เป็นข้อมูลนำเข้าที่สำคัญเพื่อการทบทวนนโยบาย และมาตรการเพื่อการควบคุมการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการปกป้องสุขภาพของประชาชนจากพิษภัยของยาสูบ
The Joint Needs Assessment team was welcomed by the Director-General of the Department of Disease Control, MoPH © MoPH 2023.
ทีมทบทวนการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาฯ ได้รับการต้อนรับจากอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข© กระทรวงสาธารณสุข 2566
Bilateral meeting between the Deputy-Permanent Secretary of the Ministry of Interior (MOI) and the Joint Needs Assessment team to learn about the role of MOI on tobacco control © MOI 2023.
การประชุมทวิภาคีระหว่างรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และทีมทบทวนการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาฯเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของกระทรวงมหาดไทยต่อการควบคุมยาสูบ© กระทรวงมหาดไทย 2566
The CEO of Thai Health Promotion Foundation met with the Joint Needs Assessment team to share information on the administration of funds raised through health taxes © Thai Health 2023.
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) พบทีมทบทวนการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาฯ เพื่อแบ่งปันข้อมูลการบริหารกองทุนที่ได้จากภาษีสุขภาพ © สสส. 2566
Needs assessment: Demonstrating Commitment and Advancing Measures
ทบทวนการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาฯ: การแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและมาตรการที่ก้าวหน้า
Thailand's strengths in implementing tobacco and e-cigarette control measures are revealed in the Joint Assessment, along with critical obstacles that require immediate attention.
การทบทวนร่วมกันแสดงให้เห็นถึงจุดแข็งของประเทศไทยในการดำเนินมาตรการควบคุมยาสูบและบุหรี่ไฟฟ้า พร้อมทั้งระบุอุปสรรคสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
The establishment of the "Knowledge Centre for Section 5.3" aims to actively monitor tobacco industries interfering with state policies.
การจัดตั้ง "ศูนย์ความรู้สำหรับมาตรา 5.3" มีเป้าหมายเพื่อติดตามการแทรกแซงนโยบายรัฐโดยอุตสาหกรรมยาสูบอย่างแข็งขัน
Thailand is strongly urged to ratify the protocol against illicit tobacco product trafficking based on the findings from the joint assessment.
ผลจากการทบทวนร่วมกันนี้ เสนอให้ประเทศไทยให้สัตยาบันพิธีสารว่าด้วยการขจัดการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ผิดกฎหมายอย่างเร่งด่วน
Thailand's commendable commitment to tobacco control prioritizes public health over economic considerations, with a comprehensive tobacco product control act and robust efforts from the MoPH.
ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นในการควบคุมยาสูบที่น่าชื่นชม โดยให้ความสำคัญกับสาธารณสุขมากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มีพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ครอบคลุม และมีความพยายามอย่างเข้มแข็งจากกระทรวงสาธารณสุข
Collaboration among various agencies, including the National Tobacco Product Control Board, recognizes the comprehensive nature of effective tobacco control.
ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ รวมถึงคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงการตระหนักในลักษณะที่ครอบคลุมของการควบคุมยาสูบที่มีประสิทธิภาพ
Additionally, Thailand's advanced tax policy has successfully reduced tobacco consumption, surpassing set targets.
นอกจากนี้ นโยบายภาษีที่ก้าวหน้าของประเทศไทยประสบความสำเร็จในการลดการบริโภคยาสูบ เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
However, challenges remain in achieving effective interagency coordination despite multi-sectoral collaboration.
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทายในการบรรลุการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ แม้จะมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วนก็ตาม
Streamlining efforts and improving communication between national and provincial agencies are crucial for efficient implementation.
การปรับปรุงความพยายามให้มีประสิทธิภาพและการพัฒนาการสื่อสารระหว่างหน่วยงานระดับชาติและระดับจังหวัดมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
Further enhancements are needed in adjusting tax rates to account for inflation and discouraging the use of cheaper tobacco products.
จำเป็นต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมในการปรับอัตราภาษีให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ และการยับยั้งการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบราคาถูก
Supporting tobacco farmers in transitioning to sustainable alternative crops and maintaining the e-cigarette ban are also areas requiring attention.
การสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบให้เปลี่ยนไปปลูกพืชทางเลือกที่ยั่งยืน และการคงไว้ซึ่งการห้ามใช้บุหรี่ไฟฟ้าก็เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ
Thailand's Joint Needs Assessment reflects its commitment to public health and tobacco control.
การทบทวนการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาฯ ของประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในด้านสาธารณสุขและการควบคุมยาสูบ
Leveraging the findings and recommendations, Thailand strives to enhance its efforts, setting an example for the region and fostering a healthier nation.
โดยใช้ประโยชน์จากผลการทบทวนและข้อเสนอแนะ ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะยกระดับความพยายาม เป็นแบบอย่างให้กับภูมิภาค และส่งเสริมให้ประเทศมีสุขภาพดีขึ้น
United for a Tobacco-Free Future: Leaders and stakeholders come together at the National Tobacco Product Control Board Meeting at MoPH to reinforce their commitment to combatting tobacco use and safeguarding public health © MoPH 2023
รวมพลังเพื่ออนาคตที่ปลอดจากยาสูบ: ผู้นำและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมารวมตัวกันในการประชุมคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับการใช้ยาสูบและการปกป้องสุขภาพของประชาชน © กระทรวงสาธารณสุข 2566
Establishment of the Knowledge Centre to Prevent Policy Interference from Tobacco Companies:
การจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อป้องกันการแทรกแซงนโยบายจากบริษัทยาสูบ:
Thailand's commitment to tobacco control and global leadership in public health is underscored by the establishment of the "Knowledge Centre for Article 5.3 of the WHO-FCTC."
ความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการควบคุมยาสูบและการเป็นผู้นำระดับโลกในด้านสาธารณสุขได้รับการตอกย้ำโดยการจัดตั้ง "ศูนย์ความรู้สำหรับมาตรา 5.3 ของ WHO-FCTC"
In addition to the Joint Needs Assessment, a MOU signing ceremony involving Thammasat University, Mahidol University, and the WHO-FCTC was organized.
นอกเหนือจากการทบทวนการดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาฯ แล้ว ยังมีการจัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานเลขาธิการของกรอบอนุสัญญา WHO-FCTC
The knowledge centre will serve as a crucial platform to counter the industry's influence and enhance tobacco control measures on a global scale.
โดยศูนย์ความรู้ดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นเวทีสำคัญในการต่อต้านอิทธิพลของอุตสาหกรรมและปรับปรุงมาตรการควบคุมยาสูบในระดับโลก
(L-R) Professor Banchong Mahaisavariya, M.D., Director of Mahidol University; Associate Professor Gasinee Witoonchart, Director of Thammasat University; and Dr. Adriana Blanco Marquizo, Head of the Secretariat of the WHO-FCTC, display the signed MoU, symbolizing their unwavering commitment to combat tobacco use © WHO 2023
(ซ้ายไปขวา) ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ แพทย์หญิงเอเดรียนา บลังโก มาร์กิโซ หัวหน้าสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก แสดงบันทึกความเข้าใจที่ได้มีการลงนาม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ในการต่อสู้กับการใช้ยาสูบ © องค์การอนามัยโลก 2566
Read more:
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่:
Approximately 75% of the victims are users of 2- and 3-wheelers, mainly motorcyclists, and most are young people in the age groups between 15-29 years
ประมาณร้อยละ 75 ของผู้เสียชีวิตเป็นผู้ใช้ยานพาหนะ 2 หรือ 3 ล้อ ซึ่งส่วนมากเป็นรถจักรยานยนต์ และส่วนมากเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาวในช่วงอายุระหว่าง 15 – 29 ปี
But since 2020, the statistics started to look better
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา สถิติเหล่านี้ดูเหมือนจะเริ่มดีขึ้น
Whereas in 2019, 19,904 deaths were reported, the number decreased to 17,983 in 2020, and to 16,494 in 2021
เมื่อปี พ.ศ.2562 มีรายงานผู้เสียชีวิต 19,904 ราย ตัวเลขนี้ลดลงเหลือ 17,983 รายในปี พ.ศ.2563 และเหลือ 16,494 รายในปี พ.ศ.2564 ตามลำดับ
People started asking whether Thailand had finally turned the page, whether road safety was finally improving
จึงทำให้มีการตั้งถามกันว่า หรือประเทศไทยจะ พลิกสถานการณ์ได้แล้วในที่สุด หรือสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้นแล้ว
Sadly, it turns out that this was not the case
แต่เป็นที่น่าเศร้าว่าความจริงแล้ว สถานการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
In recent months, the number of deaths in traffic has increased again, bringing the burden back to levels similar to those in 2019
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ตัวเลขกลับมาใกล้เคียงกับตัวเลขของปี พ.ศ.2562
This coincides with a resumption of normal life, after restrictions that had been imposed to deal with the COVID19 pandemic were lifted
ซึ่งสอดคล้องกับการกลับไปใช้ชีวิตตามปกติหลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการบังคับใช้ เพื่อรับมือกับ สถานการณ์ การระบาดของโรคโควิด 19
During much of 2020 and 2021, many people reduced their movements, resulting in less traffic and less accidents
ในช่วงปี พ.ศ.2563 และ 2564 ประชากรส่วนใหญ่ลดการเดินทางไปมา การสัญจรที่เบาบางลงนี้ ส่งผลให้จำนวนอุบัติเหตุทางถนนลดลง
That period seems to be over now, and unfortunately, people have also returned to their normal unsafe driving habits
ช่วงเวลานั้นเหมือนจะสิ้นสุดไปแล้ว และโชคไม่ดีที่ผู้คนก็กลับไปมีพฤติกรรม ในการขับขี่ ที่ไม่ปลอดภัยเหมือนเดิม
We know what the main causes of accidents are: motorcyclists not wearing a helmet, people drinking and driving, and speeding
เรารู้ว่าสาเหตุหลักของอุบัติเหตุคือผู้ขับขี่จักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย การดื่มแล้วขับ และการใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด
These three risk behaviors, often combined, make traffic dangerous for both the drivers and the passengers, but also for pedestrians, bicyclists and other road users
ซึ่งบ่อยครั้งผู้คนจะมีพฤติกรรมเสี่ยงสามข้อนี้ร่วมกัน ทำให้การสัญจรอันตรายมากขึ้นทั้งสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ตลอดจนผู้เดินเท้า ผู้ขับขี่จักรยาน และผู้ใช้ถนนคนอื่นๆ
The International Health Policy Program, Thailand, has calculated that if everyone (driver and passenger) uses a helmet, 6,984 deaths can be prevented annually and the overall death rate due to traffic accidents can be reduced by a third
สำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณสุขระหว่างประเทศ (ประเทศไทย) ได้ทำการวิจัยไว้ว่า หากทุกคน (ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) สวมหมวกนิรภัย เราจะสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้ถึง 6,984 รายต่อปี และอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนโดยรวมจะลดลงถึงหนึ่งในสาม
Similarly, drunk driving causes 5,529 deaths annually, or roughly 28% of all traffic deaths
ขณะเดียวกัน การดื่มแล้วขับ ก่อให้เกิดการเสียชีวิตถึง 5,529 รายต่อปี หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 28 ของการเสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางถนน ทั้งหมด
If people would wear a helmet when on a motorcycle, and they would not drive after drinking alcohol, over 60% of the lives currently lost on the roads could saved
จากตัวเลขอาจเห็นได้ว่า หากผู้คนสวมหมวกนิรภัยเมื่อขับขี่และโดยสารบนจักรยานยนต์ และหากไม่ขับขี่หลังจากดื่มแอลกอฮอล์ เราจะสามารถช่วยชีวิตคนได้ถึงร้อยละ 60
Two simple actions. Over 12,000 deaths averted every year. It is as simple as that
สองสิ่งนี้ เป็นการกระทำที่ง่ายมาก และสามารถลดการเสียชีวิตได้ถึง 12,000 รายได้ทุกปี ถือเป็นอะไรที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเลย
This means that making Thailand's roads safer is something we can all contribute to
นั่นหมายความว่าการที่จะทำให้ถนนในประเทศไทยปลอดภัยขึ้นเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถช่วยกันได้
Don't get on a motorcycle without a helmet, and if you often use a motorcycle taxi, bring your own helmet
อย่าขึ้นรถจักรยานยนต์โดยที่ไม่มีหมวกนิรภัย และหากต้องโดยสารรถจักรยานยนต์เป็นประจำ ให้นำหมวกนิรภัยของตนเองไป
When partying, make sure one person in the group is the designated driver who does not drink
เมื่อต้องเลี้ยงสังสรรค์ ให้แน่ใจว่ามีอย่างน้อย 1 คนในกลุ่ม ที่ได้รับ มอบหมายหน้าที่ขับรถซึ่งคนนี้ต้องไม่ดื่มแอลกอฮอล์
When on the road, stick to the speed limits
เมื่ออยู่บนถนน เคารพกฎจราจรและ ขับขี่ตามความเร็วที่กฎหมายกำหนด
Simple measures that we can all do. Measures that we MUST all do
มาตรการเหล่านี้เราทุกคนทำได้ เป็นมาตรการที่เราทุกคนต้องทำ
Of course, authorities can do more to improve road infrastructure, pass legislation to make roads and vehicles safer, or enforce the implementation of existing rules and regulations
แน่นอนว่าภาครัฐสามารถทำได้มากกว่านี้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือกำหนดกฎหมาย ที่ทำให้ถนน และยานพาหนะปลอดภัยขึ้น หรือบังคับใช้กฏหมายที่มีอยู่
But improving our safety on the roads does not mean we have to wait for others to step in
แต่ไม่ได้แปลว่าเราต้องรอให้คนอื่นเข้ามาแก้ปัญหาความปลอดภัยบนท้องถนน
If we change the way we behave in traffic, many people's lives will be saved
หากเราเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองในฐานะผู้ใช้ถนน ก็จะมีชีวิตของอีกหลายคนที่ไม่ต้องสูญเสียไป
Including possibly your own and that of a loved one
ซึ่งรวมถึง ชีวิตของคุณเองและคนที่คุณรักด้วย
And we can – together – reach the nation's goal of reducing road traffic deaths to less than 12 per 100,000 people by 2027
เราต้องร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายของประเทศที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือ12รายต่อแสนประชากรให้ได้ภายในปี พ.ศ.2570
Think about this as you celebrate the New Year
ขอให้คำนึงถึงสิ่งนี้ในขณะที่คุณฉลองวันหยุดปีใหม่
And do what you must do
และทำในสิ่งที่คุณต้องทำ
Wear a helmet. Don't drink and drive. Don't drive too fast
คือ สวมหมวกนิรภัย ดื่มไม่ขับ และ อย่าขับรถเร็วเกินกำหนด
Happy 2023 to all people in Thailand
สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกคนในประเทศไทยมีความสุขในปี พ.ศ.2566
Myanmar migrant workers count on vaccination to get back to work
แรงงานข้ามชาติเมียนมาหวังพึ่งการได้รับวัคซีนเพื่อกลับมาทำงาน
Mae Sot is a Thai town close to the Myanmar border
แม่สอด เมืองติดชายแดนเมียนมา
The border reopened in August 2021, allowing Burmese migrant workers in Thailand to return home
ได้เปิดขึ้นอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 จึงทำให้แรงงานเมียนมาในประเทศไทยกลับบ้านได้
This special economic zone has been home to Myanmar people of all ages – from newly born children to grandparents
หลังจากนั้นเป็นต้นมา พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษนี้ได้กลายเป็นบ้านของชาวเมียนมาในทุกกลุ่มอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงรุ่นปู่ย่าตายาย
As Thailand began opening its borders, welcoming back thousands of Myanmar people who work in Thailand's factories, farms and homes, WHO Thailand joined the Department of Disease Control (DDC), Ministry of Public Health, to find out if these returning migrants were educated about protective measures from COVID-19, and what more could be done to ensure infections are minimised
ขณะที่ประเทศไทยเริ่มเปิดพรมแดนเพื่อต้อนรับชาวเมียนมานับหลายพันกลับมาทำงานในโรงงาน ในไร่และตามบ้าน องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยและกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ออกไปหาข้อมูลว่าแรงงานข้ามชาติที่กลับมาได้รับการปกป้องคุ้มครองจากโรคโควิด19 อย่างไร และมีการดำเนินการอะไรบ้างเพื่อลดการติดเชื้อ
In November, DDC carried out a survey among the Myanmar migrant workers in this area to identify their knowledge, attitude, risk perception and health behavioral practices regarding COVID-19, and find out if they'd received any COVID-19 vaccine
ในเดือนพฤศจิกายน 2021 มีการสำรวจในแรงงานข้ามชาติเมียนมาเพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ มุมมองต่อความเสี่ยงและพฤติกรรมทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด19 และเพื่อสอบถามว่าพวกเขาได้รับวัคซีน โควิด19 หรือไม่
The survey was carried out to inform the Thai government of any specific prevention and control measures required for these people, and to determine if a COVID-19 vaccination program needed to be established for Myanmar migrant workers
การสำรวจนี้ทำเพื่อให้ข้อมูลแก่ทางการไทย ในการพิจารณาว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคต่างๆ ที่ควรมีในกลุ่มประชากรนี้คืออะไร และเพื่อพิจารณาว่า จำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนโควิด19 ในประชากรแรงงานข้ามชาติเมียนมาหรือไม่
The activity is part of a project titled 'Enhancing Risk Communication and Community Engagement Among Thai and Non-Thai People on COVID-19 Vaccine Communication' technically supported by WHO and funded by the Australian Government's Department of Foreign Affairs and Trade
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงและทำงานร่วมกับชุมชนในประชากรไทยและประชากรข้ามชาติ ในประเด็นการสื่อสารเรื่องวัคซีนโควิด19" ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากองค์การอนามัยโลก และการสนับสนุนทางการเงินจากกระทรวงการต่างประเทศและการค้า ประเทศออสเตรเลีย
The survey reached out to 500 people from a variety of groups, including migrants with one-day passes working at Mae Sot border checkpoints, local communities, and Myanmar workers in Thailand from agriculture and manufacturing sectors
การสำรวจครั้งนี้ได้มีการไปเก็บข้อมูลจากทั้งสิ้น 500 คนซึ่งมาจากหลากหลายกลุ่ม รวมถึงแรงงานข้ามชาติที่มีใบอนุญาตรายวันให้ข้ามจุดผ่านแดนที่แม่สอด คนในชุมชนท้องถิ่นและแรงงานเมียนมาในประเทศไทยจากภาคเกษตรกรรมและภาคการผลิต
During the two-day visit, over 3,000 migrant workers were also vaccinated by Thailand's Mae Sot district health office, with the support of local healthcare professionals and volunteer organisations
ในช่วงการลงพื้นที่สองวัน แรงงานข้ามชาติกว่า 3 พัน คนได้รับการให้บริการวัคซีนโดยสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สอด โดยการช่วยเหลือของบุคลากรทางการแพทย์และองค์กรจิตอาสาต่างๆ